ถ้าคุณคิดว่า McLaren F1 คือผู้เปลี่ยนเกมของ Le Mans ปี 1995 คุณคิดถูกครึ่งเดียว—อีกครึ่งคือผลสะเทือนที่กระตุ้น Porsche ให้ตื่นจากการหลับไหล พอ McLaren ขึ้นโพเดียม 1-2-3 ทั้งในคลาสและอันดับรวม Porsche ก็ประกาศลั่นว่า “พอแล้วกับการฝากรถแข่งไว้กับ Dauer ถึงเวลาสร้างรถของตัวเองอีกครั้ง” พวกเขาจึงสั่งให้ Norbert Singer วิศวกรตำนานของแบรนด์ สร้างรถใหม่จากศูนย์ โดยตั้งเงื่อนไขเดียวว่า ต้องยังเป็น 911 อยู่ในทางเทคนิค เขาจึงใช้ด้านหน้าของ 993 ผสมกับด้านท้ายของ 962 สร้างเฟรมใหม่แบบ mid-engine และวางเครื่องยนต์ flat-six twin-turbo 3.2 ลิตร 600 แรงม้า ไว้กลางลำใต้ฝา carbon fiber ที่โคตรล้ำ นี่คือกำเนิดของ 911 GT1 ตัวแข่ง GT1 เปิดตัว Le Mans
ในโลกของ Panerai ทุกครั้งที่แบรนด์นี้ขยับ มักไม่ใช่แค่เรื่อง “เวลา” แต่มันคือการเล่าเรื่องของตัวตนที่ไม่เหมือนใคร — และที่ Watches & Wonders ปีนี้ PAM01575 ก็เดินเข้ามาอย่างเงียบ ๆ แต่เปล่งรัศมีบางอย่างที่ทำให้คนรักกลไกหยุดมอง นี่คือ Panerai Luminor Perpetual Calendar GMT Platinumtech PAM01575 ภาคต่อของ PAM01269 รุ่น Goldtech สุดเอ็กซ์คลูซีฟเมื่อปี 2022 ที่ออกมาเพียง 33 เรือนทั่วโลก — ครั้งนั้นมันเปิดเกมด้วยหน้าปัด smoked sapphire ที่โปร่งใสจนเผยให้เห็นจักรกลใต้ผิวเรือนเวลาได้อย่างเร้าใจ ขณะเดียวกันก็ยังคง DNA ของ Panerai ไว้อย่างครบถ้วน PAM01575 หยิบแนวคิดเดียวกันกลับมาอีกครั้ง แต่แทนที่จะแต่งทอง ก็เปลี่ยนวัสดุหลักมาเป็น Platinumtech — โลหะผสมเฉพาะของ Panerai ที่ถูกพัฒนาให้แข็งแกร่งกว่าแพลตตินั่มปกติถึง 40% ด้วยกระบวนการบ่มพิเศษภายในแบรนด์เอง ส่งผลให้ตัวเรือนขนาด
เพราะมนุษย์เกิดมาเพื่อมีชีวิตร่วมกันเป็นสังคม ไม่แปลกที่หลายครั้งเราเห็นการใช้ชีวิตของคนอื่น แล้วอดย้อนมามองดูตัวเองไม่ได้ โดยเฉพาะการทำงานที่ทำร่วมกันเป็นทีม แผนก หรือองค์กร ที่เราจะได้เห็นผลงาน เห็นความคืบหน้าของเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ ยิ่งช่วงหลัง Covid-19 และในสภาพเศรษฐกิจที่มีแต่ข่าวร้ายทุกวัน หลายคนต้องดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อเข็นโปรเจกต์ออกมาขาย เพื่อทลายขีดจำกัดการทำงานเดิม ๆ เราจึงยิ่งได้เห็นคนทำงานไปไกลกว่าศักยภาพเดิม ๆ ของพวกเขาอยู่ตลอด แต่ยิ่งเป็นแบบนั้น หลายคนก็ยิ่งหดหู่ เพราะในขณะที่เราเห็นผลงานใครต่อใครก้าวไปข้างหน้า แต่ทำไมเรายังดูเหมือนว่าไม่ได้ขยับไปไหน? แล้วในวันที่เราเหมือนย่ำอยู่กับที่ แต่ทุกคนกำลังไปได้ดี เราจะต้องทำอย่างไร? หยุดเปรียบเทียบอย่างเดียวอาจไม่พอ แต่ต้องมาวิเคราะห์ดูว่าเกิดอะไรขึ้น และเราทำอะไรได้บ้าง? “วิเคราะห์และประเมิน” เพราะสิ่งที่รู้สึก อาจไม่ใช่ข้อเท็จจริง กุญแจสำคัญของการก้าวข้ามการเปรียบเทียบ (และรู้สึกน้อยอกน้อยใจ) ไปได้ ไม่ใช่แค่การอยู่ ๆ ก็บอกตัวเองว่า เฮ้ย เราแย่ เราทำงานน้อย เราทำงานไม่ดี แล้วก็ตะบี้ตะบันโหมงานหนัก หรือทำตามคนอื่น ๆ เพื่อให้ทันเขา แต่เป็นการที่เราต้องรู้จักวิเคราะห์และประเมินสิ่งที่เรากำลังทำ ถ้าเรารู้สึกว่า โห คนรอบตัวเรา ทุกคนทำมากกว่าเราทั้งนั้น นั่นอาจเป็นสิ่งที่เรารู้สึกแต่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงเสมอไป เพราะมันไม่ได้มีมาตรวัดการทำงานที่ใช้วัดกับทุกคนได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือเราสามารถประเมินและวิเคราะห์วิธีทำงานของตัวเราเองได้ ลองนึกภาพตัวเราเองนั่งอยู่ในห้องประชุมที่กำลังระดมไอเดียใหม่อย่างดุเดือด กระบวนการนี้กินเวลาทั้งวัน แต่ในช่วงเช้าระหว่างที่เรากำลังนั่งเงียบฟังอยู่นั้น
ประสบการณ์ที่เลวร้ายมักทำให้หลายคนเกิดอาการคิดมากจนเกินไปอยู่เสมอ เช่น บางคนไม่กล้าเปลี่ยนงานใหม่ เพราะกลัวว่าตัวเองจะหางานไม่ได้ หรือ ไม่เจองานที่ดีกว่า หรือ บางคนอาจเครียดเรื่องการเรียน เพราะกลัวว่าผลการศึกษาที่ไม่ดีจะทำให้ตัวเองกลายเป็นแรงงานที่ไร้คุณค่า เป็นต้น เรามักเรียกความกังวลที่เกิดขึ้นว่าเป็น Catastrophizing และถ้าเราไม่รู้จักวิธีการป้องกัน อาจทำให้เราเสียสุขภาพจิตได้ ความหมายของ Catastrophizing Catastrophizing คือ การจินตนาการถึงเหตุการณ์ที่เลวร้าย และเชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นกับตัวเองอย่างแน่นอน โดยคนที่มีอาการนี้มักมองโลกในแง่ลบ และมองเห็นปัญหาที่ตัวเองกำลังเผชิญอยู่นั่นหนักหนาสาหัสเกินความเป็นจริง จนพวกเขารู้สึกสิ้นหวังและตกอยู่ในความเครียดตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพวกเขากังวลกับการสอบตก พวกเขาจะคิดว่า การสอบตกทำให้ตัวเองกลายเป็นนักศึกษาที่ไม่ดี เรียนไม่จบ หรือ ไม่ได้รับใบปริญญา และไม่มีใครรับเข้าทำงาน สุดท้ายพวกเขาจึงด่วนสรุปไปเองว่า การสอบตกจะทำให้พวกเขาไม่มีความมั่นคงในชีวิต ซึ่งในเป็นความจริง คนที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากก็เรียนหนังสือไม่จบ หรือ เคยสอบตกมาก่อน แต่คนที่ Catastrophizing มักไม่คิดถึงเรื่องนี้ และหมกหมุ่นกับความคิดอันเลวร้ายของตัวเองเป็นตุเป็นตะ จนได้รับความเสียหายทางจิตใจอย่างแสนสาหัส ยังไม่มีใครตอบได้ว่า Catastrophizing เกิดขึ้นได้อะไร แต่หลายคนคาดว่ามันเกิดขึ้นได้หลากสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ได้รับข้อความที่มีความหมายกำกวมจนเราเกิดอาการคิดไปไกล เราให้ความสำคัญกับอะไรมากเกินไปจนคิดมาก หรือ เรากลัวอะไรบางอย่างมาเกินไป จนเรายิ่งคิดถึงผลลัพธ์แย่ ๆ ที่จะได้รับจากมัน
วงการรถยนต์คือหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ไม่เคยหยุดนิ่งและเดินหน้าสร้างสิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา โลกใบนี้จึงมีรถยนต์หลายรุ่นที่ประสบความสำเร็จและกลายมาเป็นต้นแบบให้กับรถยนต์ในยุคต่อมา แต่ถ้าพูดถึงรถยนต์จากญี่ปุ่น ประเทศซึ่งปัจจุบันเรารู้ต่างดีว่า พวกเขาคือหนึ่งในมหาอำนาจของวงการรถยนต์โลก แต่ทว่าจุดเริ่มต้นในการสร้างรถยนต์สมรรถนะสูงของพวกเขา เริ่มขึ้นในช่วงเวลาไหน วันนี้ THE ICONIC CAR จะพาทุกคนไปทำความรู้จักช่วงเวลาดังกล่าว รวมถึงหนึ่งในรถยนต์ที่มีอิทธิพลเป็นอย่างมากในเวลานั้น ชื่อของมันคือ Toyota 2000GT ย้อนกลับไปในปี 1960 ญี่ปุ่นก้าวเข้าสู่ช่วงเริ่มสร้างประเทศใหม่หลังยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงเวลานั้นเป็นยุคแห่งความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมการผลิตทุกชนิด แน่นอนว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ก็เช่นกัน แต่ญี่ปุ่นในเวลานั้นไม่ได้เน้นเรื่องสมรรถนะเท่ากับการใช้งานที่เหมาะสม พูดง่าย ๆ คือ ณ ตอนนั้นพวกเขาไม่มีโมเดล 2 ประตูแรง ๆ เหมือนกับค่ายรถยนต์ทางฝั่งยุโรปแต่อย่างใด ยกตัวอย่าง รถของโตโยต้าในตระกูล Toyopet ซึ่งถือเป็นรุ่นแรกที่นำเข้าไปขายในสหรัฐอเมริกา แต่กลับได้รับฉายาว่า Toymotor เปรียบกับรถยนต์ของเล่น ทำให้เป็นการบ้านที่ต้องพัฒนารถยนต์คันใหม่เพื่อจะลบคำสบประมาทที่เคยได้รับ ขณะเดียวกันกระแสความสนใจรถยนต์และการแข่งรถในประเทศญี่ปุ่นก็เพิ่มสูงขึ้น เป็นผลพวงมาจากความสำเร็จของ Japanese Grand Prix ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นในปี 1963 และ 1964
เวลาทำงานเราจำเป็นต้องพูดคุยกับใครหลายคน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน บอส หรือ ลูกค้า ทักษะในการสื่อสารที่ดีจึงสำคัญต่อการทำงานร่วมกับคนอื่นอย่างมาก เพราะถ้าเราคุยกับคนอื่นได้ไม่ดี เราอาจสูญเสียความน่าเชื่อถือและประสบกับความล้มเหลวในการทำงานได้ UNLOCKMEN เลยอยากจะแนะนำ 5 ประโยคที่ไม่ควรพูดในที่ทำงาน โดยหวังว่ามันจะทำให้ทุกคนมีความสุขกับการทำงานมากขึ้น “เราทำแบบนี้มาตลอด” แม้คุณจะเป็นฝ่ายถูก แต่การพูดแบบนี้มักทำให้หัวหน้ารู้สึกว่า “คุณไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง” ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่แย่ของคนทำงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงสามารถนำสิ่งที่ดีกว่ามาสู่องค์กร ดังนั้นจงจำไว้ว่า สิ่งที่ทำมาตลอดไม่ใช่ว่ามันจะดีที่สุดเสมอไป บางสิ่งมันก็ควรเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ เช่น การเปลี่ยนจากทำงานบนกระดาษมาเป็นทำงานเอกสารบนคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตแทน แทนที่เราจะพูดแบบนั้น เราควรถามฝ่ายตรงข้ามกลับไปว่า “อะไร คือ ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการลองวิธีใหม่” ถ้าวิธีการทำงานแบบใหม่ดีกว่าวิธีเก่าจริง พวกเขาก็ควรบอกได้ว่าทำไมมันถึงดีกว่า แต่ถ้ามันไม่ได้ดีกว่าเลย คุณก็ควรบอกเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรใช้วิธีเก่ากันต่อไป “ผมจะลองดู” ถ้าเราใช้คำว่า “จะลองดู” หรือ “จะพยายามทำดู” นั่นหมายความว่า คุณไม่มีความมั่นใจในสิ่งที่ตัวเองจะต้องทำ มันมีโอกาสที่จะล้มเหลวสูง ซึ่งความไม่มั่นใจและความกลัวไม่ใช่เรื่องดีสำหรับการทำงานเลย การทำให้หัวหน้าของคุณรู้สึกแบบนั้นจึงไม่ใช่เรื่องดีต่อตัวคุณเช่นกัน ดังนั้น แทนที่คุณจะพูดว่า “จะลองดู” ให้พูดว่า “จะทำให้อย่างสุดความสามารถดูครับ แล้วเดี๋ยวผมจะสรุปมาให้ว่ามีข้อดีข้อเสียอะไรเพื่อปรับปรุงได้บ้าง” แทน ซึ่งเป็นคำพูดที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพมากกว่า “ขอโทษครับ แต่….” เวลาที่คุณรู้สึกผิดกับความผิดพลาดของตัวเอง คำว่า
เรื่องราวของรถสปอร์ต Mazde RX-7 ซึ่งเป็นตำนานจากดินแดนอาทิตย์อุทัย ที่มีชื่อเสียงกว้างไกลไปทั่วโลก
เมื่อวันที่ 5 เมษายน ที่ผ่านมาคือวันครบรอบ 28 ปีการจากไปของ Kurt Donald Cobain ฟรอนต์แมนของวง Nirvana ผู้สร้างปรากฎการณ์ให้กับวงการดนตรีทั่วโลกไว้มากมาย ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน มีแฟนเพลงมากมายที่ชื่นชอบ Nirvana จนถอนตัวไม่ขึ้น หนึ่งในนั้นคือ “ใหม่ พิชชานันท์ ชัยศิริ” ใหม่เป็นบุคคลที่ขับเคลื่อนชีวิตด้วยซาวด์ดนตรีจากเมืองซีแอตเทิลของวง Nirvana มันได้สร้างอิทธิพลให้เขาสร้างวงดนตรีที่มีชื่อว่า Revive 90’s ขึ้นมา เท่านั้นยังไม่พอมันยังได้ลุกลามกลายเป็นการสร้างกลุ่ม Nirvana Thailand ตามขึ้นมาด้วยเช่นกัน อะไรทำให้ทำให้ผู้ชายคนนี้ต้องบ้าคลั่งวง Nirvana ได้ขนาดนี้ ไปค้นหาคำตอบพร้อม ๆ กันได้เลย SMELLS LIKE TEEN SPIRIT ประตูบานแรกสู่นิพพาน จุดเริ่มต้นการติดตามวง Nirvana เกิดขึ้นช่วงเรียนมัธยม ใหม่ได้มีโอกาสฟังเพลง “Smells Like Teen Spirit” ผลงานจากอัลบั้ม Nevermind ที่ถือได้ว่าเป็นเพลงที่ทำให้ใครหลาย ๆ คนรู้จัก Nirvana ด้วยเช่นกัน
ภาพยนตร์หรือซีรีส์ แน่นอนว่ากว่าจะเกิดขึ้นมาเป็นภาพที่เราได้รับชมมันจะต้องประกอบไปด้วยทีมงานหลายชีวิต ไม่ว่าจะเป็นนักแสดง, ผู้กำกับ, ช่างภาพ, ช่างไฟ และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ภาพเคลื่อนไหวที่ปรากฏออกมาจะไม่สมบูรณ์แบบเลย หากขาดซึ่งสกอร์หรือซาวด์ประกอบเพื่อช่วยเพิ่มบรรยากาศให้ภาพยนตร์หรือซีรีส์ ตอบโจทย์อารมณ์ของแต่ละฉากได้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะเผลอมองข้ามความสำคัญของอีกหนึ่งตำแหน่งเบื้องหลังที่สำคัญไป แต่ไม่ต้องห่วง เพราะวันนี้ Unlockmen จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “ต๋อย-เทิดศักดิ์ จันทร์ปาน” เจ้าของ อาณาจักร Banana Sound Studio ผู้ผลิตสกอร์ให้กับภาพยนตร์และซีรีส์ชื่อดังมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เลือดข้นคนจาง, เด็กหอ, สี่แพร่ง, ห้าแพร่ง, วัยรุ่นพันล้าน, ขุนพันธ์ภาค 1 และ 2, 4Kings รวมไปถึงการร่วมงานกับ Jay Chou ซุปเปอร์สตาร์ชื่อดังจากประเทศไต้หวันในภาพยนตร์เรื่อง “Secret” การทำงานของผู้ผลิตสกอร์จะสนุกขนาดไหน มาติดตามไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ จากนักดนตรีกลางคืนสู่ผู้ทำสกอร์แบบไม่คาดฝัน “ต๋อย-เทิดศักดิ์ จันทร์ปาน” เดิมทีไม่เคยมีความคิด หรือแม้แต่มีความฝันในเส้นทางการผลิตซาวด์ประกอบอยู่ในหัวมาก่อน จนกระทั่งวันหนึ่งในขณะที่กำลังเรียนปี 2 ณ
ที่นี่ไม่ใช่ “Cafe” แต่เป็น “Space” ของคนเสพติดเสียงเพลง และคาเฟอีน ที่เรียกว่า Record Cafe Space & Art ซึ่งต้องการเป็นพื้นที่กิจกรรมให้กับผู้คนที่ผ่านไปมา กาแฟ / แผ่นเสียง / เพลง Jazz / ธนู / Event และงานศิลปะ ทุกสิ่งที่กล่าวมานี้มีอยู่ใน Track Addict! Track Addict นั้นเดิมเป็นร้านขายแผ่นเสียง และกาแฟที่อยู่ในคอนเทนเนอร์หนึ่งหลัง ในพื้นที่ลานจอดรถที่เต็มไปด้วยผืนหญ้า และต้นไม้ใหญ่ที่ช่วยให้ร่มเงาความเขียวขจีสบายตาแก่ร้าน ทำให้ร้านออกมาใน Vibe ของการ Camping นั่งชิล ๆ กินลมชมวิว พร้อมกับมีเสียงเพลงอันไพเราะให้คุณได้ฟัง เมื่อเปิดไปได้สักพักเจ้าของร้านจึงเริ่มมองเห็นประโยชน์ของ Green Space ขนาดใหญ่แห่งนี้ ด้วยความตั้งใจที่อยากจะทำให้ Space แห่งนี้กลายเป็นพื้นที่กิจกรรมให้กับผู้คนที่ผ่านไปมา จึงเริ่มเชิญชวนเพื่อน ๆ มาทำกิจกรรมต่าง ๆ เริ่มจากการมีดนตรีสดในช่วงหน้าหนาว ชวนเพื่อน ๆ