Life
MINDSET IS EVERYTHING
  • Life

    Money or Time ? เมื่อความสุขเกิดขึ้นจาก ‘เงิน’ และ ‘เวลา’ เราควรใช้จ่ายด้วย mindset แบบไหน

    By: unlockmen November 11, 2021

    หลังจากที่เราเรียนจบมหาวิทยาลัย และกำลังเข้าสู่วัยทำงาน หลายคนคงเคยเจอกับสถานการณ์ที่ต้องเลือกระหว่าง “งานที่เงินดีแต่ไม่มีเวลาทำอย่างอื่น” หรือ “งานที่เงินอาจจะให้เงินไม่ดีมากเมื่อเทียบกับงานแรก แต่ก็ทำให้เรามีเวลาไปใช้ชีวิตมากกว่า” แต่ละคนคงมีเหตุผลในการเลือกงานที่แตกต่างกันไป บางคนกำลังเจอกับปัญหาเรื่องการเงินก็เลยเลือกงานที่มีเวลาว่างน้อย หรือ บางคนที่ไม่มีความเครียดเรื่องเงินก็อาจเลือกงานที่ได้เงินเดือนคุ้มค่ากับเวลา แต่ไม่ว่าคุณเลือกงานแบบไหน อาจต้องคิดถึง ‘ความสุข’ ของตัวเองด้วย เพราะงานวิจัยบอกเราว่าคนที่ให้ความสำคัญกับเงินอาจไม่ใช่คนที่มีความสุขมากเท่าไหร่ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง (2019) ได้ขอให้นักศึกษาที่กำลังเรียนจบจาก University of British Columbia จำนวนกว่า 1,000 คน ทำแบบประเมินที่วัดว่าพวกเขามีแนวโน้มจะให้คุณค่ากับเวลามากกว่าเงิน หรือ เงินมากกว่าเวลา ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูล นักวิจัย พบว่า เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ (61.7 %) ให้ความสำคัญกับเวลามากกว่าเงิน ในขณะที่เด็กนักเรียนเกือบ 40% ให้ความสำคัญกับเงินมากกว่า นอกจากนี้นักวิจัยยังขอให้พวกเขารายงานระดับความ พึงพอใจในชีวิตของตัวเอง (life satisfaction) โดยการตอบคำถามเช่น “Taking all things together, how happy would you say you are?”

    อ่านต่อ
  • Life

    หยุดกดดันตัวเองมากเกินไป !! เพราะมันอาจทำให้ชีวิตพังได้ง่ายกว่าที่คิด

    By: unlockmen November 8, 2021

    เวลาทำงานสักชิ้น หลายคนคงอยากจะทำให้มันดีที่สุด ผิดพลาดน้อยที่สุด และเป็นไปตามที่เราหวังไว้มากที่สุด แต่หลายครั้งเหมือนกันที่เราพบว่า แม้งานโดยรวมจะออกมาจะดี แต่ข้อผิดพลาดเล็กบ้างน้อยบ้างที่เกิดขึ้น ทำให้เรารู้สึกหัวเสียมากกว่าที่จะดีใจกับงานที่สำเร็จแล้ว เป็นเพราะธรรมชาติของเรามีกลไกที่เรียกว่า ‘อคติเชิงลบ (negativity bias)’ ที่ทำให้สมองของเรามองว่าเรื่องเลวร้าย ข้อผิดพลาด หรือ ข้อเสีย มีความสำคัญมากกว่า เรื่องดี ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต งานวิจัยที่ทำโดย John Cacioppo ได้ทำการโชว์ภาพที่กระตุ้นอารมณ์เชิงบวก (เช่น ภาพรถเฟอร์รารี่ หรือ พิซซ่า) ภาพที่กระตุ้นอารมณ์ด้านลบ (เช่น ภาพแมวตาย) และภาพที่ให้อารมณ์เป็นกลาง (เช่น ภาพจาน หรือ เครื่องเป่าผม) แก่ผู้ที่เข้าร่วมการทดลอง พร้อมกับทำการบันทึกกิจกรรมของกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นใน เปลือกสมอง (cerebral cortex) ซึ่งมีความสำคัญต่อการรับข้อมูล จากงานวิจัย Cacioppo พบว่า สมองจะมีปฏิกริยาอย่างรุนแรงต่อสิ่งเร้าเชิงลบ โดยมันจะทำให้เกิดการทำงานของกระแสไฟฟ้ามากขึ้นในสมอง กล่าวได้ว่า ทัศนคติของเราได้รับอิทธิพลอย่างมากจากข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี ด้วยการทำงานของสมองแบบนี้ เราจึง ‘วิจารณ์ตัวเอง (self-criticism)’ บ่อยครั้งด้วยคำพูด เช่น

    อ่านต่อ