สำหรับเหล่าชาวสเก็ตต่างต้องรู้จัก NIKE SB กันเป็นอย่างอยู่แล้ว เพราะนี่คือชื่อย่อของ NIKE Skateboarding เปิดตัวอย่างเป็นทางการช่วงเดือนมีนาคม 2002 เพื่อตีตลาดกลุ่มรองเท้าและเครื่องแต่งกายสำหรับชาวสเกตบอร์ดโดยเฉพาะ และได้รับความนิยมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ตอนนี้ NIKE SB พร้อมจะสร้างประวัติศาสตร์เป็นของตัวเองอีกครั้งด้วยการกระโจนเข้าสู่มหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่างโอลิมปิก ซึ่งปีนี้ไปจัดกัน ณ เกาะญี่ปุ่นใจกลางกรุงโตเกียวด้วยการออกแบบเครื่องแต่งกายของนักกีฬาสเกตบอร์ดจากทีมชาติสหรัฐอเมริกา ทีมชาติบราซิล และทีมชาติฝรั่งเศส ด้วยสีสันอันเป็นเอกลักษณ์จากธงชาติของแต่ละประเทศ ย้อนกลับไปเมื่อก่อนตั้งแต่ราวทศวรรษที่ 50 เราจะพบเหล่าวัยรุ่นเอาดีไซน์จากกระดานโต้คลื่นที่ใช้กลางทะเลมาดัดแปลงและติดล้อเล่นกันตามสวนสาธารณะ เมื่อเวลาผ่านไปการเล่น ‘สเกตบอร์ด’ ก็เข้าไปอยู่ในใจของเหล่าวัยรุ่นชายหญิงจนถึงปัจจุบันเสียแล้ว แต่ถ้าจะให้มองว่าสเกตบอร์ดเป็นกีฬาก็คงจะพูดได้ไม่เต็มปาก (ความคิดส่วนใหญ่ของผู้คนก่อนปี 2020) หรือถ้าจะมองว่าเป็นกีฬาก็คงเป็นกีฬานอกสายตาจากชาวโลก เพราะหลายคนมองว่าเป็นแค่การเล่นกันของพวกเด็กวัยรุ่น แถมมันยังอันตรายและเกิดอุบัติเหตุจากการเล่นได้ง่าย จากกีฬาเฉพาะกลุ่มเติบโตขึ้นกลายเป็นกีฬาของมหาชน ในที่สุดสเกตบอร์ดก็ได้รับการบรรจุเข้าสู่โอลิมปิกอย่างเป็นทางการในปี 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ เหตุผลนี้หนักแน่นพอให้ NIKE SB ไม่รอช้าดีไซน์เครื่องแบบทีมสเกตบอร์ดออกสู่สายตาชาวโลก ยูนิฟอร์มของนักกีฬาทีมชาติสหรัฐฯ บราซิล และฝรั่งเศส เกิดขึ้นจากความสร้างสรรค์ของ Piet Parra ศิลปินนักออกแบบที่ร่วมงานกับ Nike มาเป็นเวลานาน ออกแบบชุดสำหรับการแข่งขันโดยเลือกใช้วัสดุคุณภาพเพื่อความสะดวกต่อนักกีฬา เนื้อผ้าทำจากโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล 100% ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์ได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเสื้อของทีมชาติสหรัฐฯ
ต่อให้ไม่รู้จักชื่อหรือที่มาที่ไปแน่ชัด แต่เชื่อว่าหนุ่ม ๆ หลายคนคงเคยเห็นการออกแบบสไตล์บรูทัลลิสต์ (Brutalist) ผ่านตากันมาบ้าง บรูทัลลิสต์ถือเป็นงานดีไซน์ที่เน้นโครงสร้างและชูความโดดเด่นของสัจจะวัสดุอย่าง ‘คอนกรีต’ เป็นหลัก แต่บางครั้งก็นำรูปทรงเรขาคณิตและแพตเทิร์นซ้ำไปซ้ำมามาใช้ในงานออกแบบ เพื่อเติมความสนุกสนานหรือลูกเล่นให้งานนั้น ๆ แม้บรูทัลลิสต์จะเกิดขึ้นในช่วงปี 1950-1970 แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสไตล์นี้ยังมีเสน่ห์และผู้คนยังนิยมจวบจนทุกวันนี้ แม้แต่ Annabell Kutucu นักออกแบบและตกแต่งภายใน ผู้คร่ำหวอดในวงการออกแบบบ้านหรูมากว่า 10 ปี ก็นำสไตล์บรูทัลลิสต์มาผนวกเข้ากับงานของเธอด้วย เธอได้รับโจทย์จาก NOA – No Ordinary Agency ให้ออกแบบ ‘Brutalist Silence’ ออฟฟิศกึ่ง Co-working Space ริมแม่น้ำชเปร (Spree) ในกรุงเบอร์ลิน ออฟฟิศแห่งนี้ถูกฉาบด้วยพื้นผิวคอนกรีตไล่ตั้งแต่พื้น ผนัง ไปจนถึงเพดาน เน้นชูความโดดเด่นของคอนกรีตตามสไตล์บรูทัลลิสต์โดยไม่ปรุงแต่ง ผิวคอนกรีตที่เป็นพระเอกหลักไม่เพียงสร้างบรรยากาศเงียบสงบเหมาะกับการทำงาน หากยังทำให้ออฟฟิศนี้ดูเรียบง่าย เนี้ยบเท่ และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เติมความเคร่งขรึมให้สเปซที่ว่างเปล่าด้วยเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ ชั้นวาง built-in รวมทั้งผนังกั้นห้องที่ทำจากไม้โอ๊ครมควัน นอกจากนั้นยังมีของตกแต่งโบราณหลากชิ้นตั้งวางตามจุดต่าง ๆ ในออฟฟิศ ไม่ว่าจะเป็นชามเซรามิกสีเอิร์ธโทน