อาจเพราะช่วงนี้ได้ยินชื่อของ “โชค บูลกุล” บ่อยในโซเชียล ไม่ว่าด้วยความบังเอิญ หรือ AI จัดสรร ทำให้พอวันนี้จะเขียนเรื่อง Unlock Corp เราก็คิดถึงธุรกิจของเขาขึ้นมาทันที เพราะเรื่องราวการบริหารกับเหตุการณ์ที่เขาต้องเจอจัดว่าเป็นวิกฤตที่หลายคนยังคงจดจำได้และฮาร์ดคอร์ทีเดียว ธุรกิจของฟาร์มโชคชัยเป็น Case Study ที่น่าสนใจ ยิ่งวันที่อยู่ในมือของ “โชค บูลกุล” ด้วยแล้ว ยิ่งต้องยอมรับว่าหลายเรื่องน่าทึ่งและไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครจะตัดสินใจแก้ไขปัญหาแบบเดียวกับเขา ใช้วิธีปลดหนี้ 500 ล้านจากการแบ่งขายธุรกิจบางส่วนที่เป็นหน้าเป็นตาในวันนั้น กรีดหัวใจและความเชื่อมั่นจากคนในและคนนอกที่มองมา เวลานั้นคงไม่มีใครคิดว่าฟาร์มโชคชัยที่กำลังดิ่ง ๆ จะฟื้นกลับมาหน้าตาหล่อเหลา มีเงินสดไหลเวียนธุรกิจได้ในระดับพันล้านเหมือนวันนี้ 2537 ฟาร์มโชคชัยไม่ใช่เจ้าของแบรนด์นมสดที่ชื่อฟาร์มโชคชัย ดร. โชคชัย บูลกุล คือผู้บุกเบิกฟาร์มโชคชัย เขาเครซี่คาวบอยและฝันอยากเป็นสัตวบาลมาแต่ไหนแต่ไรจนวันหนึ่งลุกมาทำฟาร์มปศุสัตว์ขนาดใหญ่ ทำเกษตรผสมผสานในโคราชบนเนื้อที่ขนาด 250 ไร่ จากอดีตจนถึงตอนนี้ถ้าถามหาเรื่อง “ตำนานคาวบอย” ในประเทศไทย ชื่อของเขายังคงเป็นชื่อแรกที่ทุกคนนึกถึง ส่วน “โชค บูลกุล” ผู้บริหารคนปัจจุบันเป็นลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของเขา สายเลือดของการเป็นสัตวบาลที่ยังเข้มข้นทำให้เขาเลือกเรียนด้านปศุสัตว์ ไม่ได้เรียนด้านการบริหารธุรกิจ แต่เพราะความแตกต่างนี้นี่แหละที่ทำให้มุมมองการทำธุรกิจและแก้ปัญหาของเขาแตกต่างจากคนอื่น รวมทั้งเทคนิคที่เรามองว่ามันคือหัวใจสำคัญของการทำงานสไตล์เขาที่มักให้สัมภาษณ์ทุกสื่อจนเป็นคำติดปากว่า “ผมเรียนไม่เก่ง”
แค่เห็นชื่อ Ads ก็กดข้าม เจอคำว่า Sponsors ก็หงุดหงิด คงต้องบอกว่ายุคนี้เป็นยุคของคนช่างเลือกที่ระแวงการรับสื่อและ Clickbait ยิ่งกว่าอะไรดี ขายของอะไรก็ไม่ง่าย ดังนั้นหนึ่งในเครื่องมือทางการตลาดที่คนใช้อย่าง Banner Ads จึงได้รับผลกระทบ ของที่เคยใช้ได้ดีในยุคหนึ่ง จะไร้ค่าในยุคถัดไป วัฏจักรที่เรารู้ดีว่ามันจะเกิดวันนี้มาถึงสิ่งที่เรียกว่า ‘Banner Ads’ เครื่องมือการตลาดของแบรนด์ที่เรารู้ว่าทุกวันนี้มันยังคงต้องมี เพราะมัน Remind Brand ให้ติดอยู่ในใจผู้บริโภค และเก็บสถิติเชิงตัวเลขไว้อย่างครบถ้วน สัมพันธ์กับเรื่องการขายและการวางกลยุทธ์ Banner Ads หรือโฆษณารูปแบบดิจิทัล ชิ้นแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 1994 จากบริษัท AT&T บริษัทข้ามชาติด้านโทรคมนาคมของสหรัฐอเมริกา โดยเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ You will แคมเปญเล่าเรื่องความก้าวหน้าของการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่ AT&T สามารถเป็นผู้นำได้ และหนึ่งในนั้นก็คือ Banner Ads สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ แคมเปญ “You will” ผลลัพธ์ครั้งนั้นถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่มันเป็นของใหม่ แต่ประโยคทำนอง Clickbait นี้ ทำให้ผู้บริโภคที่เห็นแบนเนอร์เลือกคลิกกดไปยังลิงก์ต้นทางได้ถึง
2 ปีก่อนตอนที่ตัดสินใจว่าจะทำงานด้านออนไลน์แทนออฟไลน์ เพราะรู้ปรากฏการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงของวงการสื่อสารมวลชน จำได้ว่าสื่อออนไลน์ที่เป็นที่รู้จักในตลาดมีอยู่เพียงไม่กี่เจ้าในวันนั้น ส่วนมากมักเป็นบริษัทใหญ่หรือองค์กรที่อยากผันจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ 700 กว่าวันที่ผ่านมาสอนให้รู้ว่า “สื่อ” วันนี้แตกต่างจากที่เราคิดไปโดยสิ้นเชิง เพราะเบื้องหลังของคอนเทนต์ไวรัลที่มีคนติดตามหลักแสนหลักล้านวันนี้ อาจเกิดขึ้นจากคนเพียงคนเดียวที่นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเครื่องเดียวเท่านั้น อินเทอร์เน็ตกับความไฮเทคของเทคโนโลยีบีบช่องว่างที่เคยกว้างให้แคบ และระยะห่างที่หดตัวทำให้ทุกคนต้องวิ่งนำขึ้นไปอีกสเต็ปก่อนจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง หาเครื่องมือใหม่มาเพื่อสร้างความยั่งยืน นั่นจึงเป็นสิ่งที่ทำให้ “Data” กลายเป็นคีย์เมสเสจมาตลอดหลายปี เริ่มจากวงการธุรกิจและบริการ จนถึงตอนนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า “สื่อ” เองก็จำเป็นต้องใช้เครื่องมือนี้แล้ว และถ้าใครไม่มี…อีกไม่นานอาจจะเกมก่อนเจ้าอื่นไม่รู้ตัว เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ Gilad Lotan รองประธานและหัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์ข้อมูลจากสื่อใหญ่อย่าง BuzzFeed เว็บไซต์สื่อระดับโลกจากสหรัฐฯ ที่มีผู้ใช้หน้าใหม่เยี่ยมชมจำนวนกว่า 200 ล้าน ประเด็นการใช้ Data และบทบาทหลังจาก Specialist ด้านข้อมูลอย่างเขาเข้ามาทำงานได้ 3 ปีและใช้เทคโนโลยีด้านข้อมูลหนุน BuzzFeed ขึ้นเป็นผู้นำ ที่งาน Digital Thailand BigBang 2019 ที่ผ่านมา จริง ๆ แล้วการเข้ามาของ Gilad นับว่าสร้างความเปลี่ยนแปลงและความแข็งแรงกับมีเดียอย่าง BuzzFeed มาก เพราะส่วนตัวเขามีพื้นความสามารถด้าน Data
สำหรับผู้ที่ใช้แอปพลิเคชัน Spotify ฟังเพลง เดือนสุดท้ายของปีแบบนี้ก็เป็นธรรมเนียมที่ทางแอปฯ จะปล่อยฟีเจอร์สนุก ๆ อย่าง Spotify Wrapped ออกมาให้พวกเราเล่น ซึ่งเจ้าสิ่งนี้ก็เปรียบเสมือน ‘รายงานประจำปี’ ที่แกะพฤติกรรมการฟังเพลงของเราบนแอปฯ ทุกกระเบียดนิ้ว เราฟังศิลปินคนไหนมากที่สุด ฟังเพลงไหนมากที่สุดในรอบปี ฟังเพลงจากศิลปินกี่ประเทศ มันจะทำการรายงานพร้อมขึ้น Rank จัดอันดับให้โดยละเอียด (ใครยังไม่ได้เล่นลองสังเกตบนหน้าแอปฯ ดูว่าป๊อปอัปขึ้นมาให้กดหรือยังนะครับ) ดูเผิน ๆ ก็เหมือนเป็นแค่การเล่นสนุกทั่ว ๆ ไป แต่อันที่จริงสิ่งนี้นับว่าเป็นการตลาดที่แข็งแกร่งอย่างยิ่งของ Spotify เลยนะครับ เพราะเจ้าสิ่งนี้กลายเป็นไวรัลได้ในชั่วข้ามคืนโดยที่ Spotify ไม่ต้องเสียเงินซื้อสื่อโฆษณาสักแดงเดียว เหตุใดผู้คนจึงชื่นชอบมันถึงขนาดนี้ ? เว็บไซต์ Producthunt.Com เขาได้ลงบทความดี ๆ เขียนโดย Sarah McBride ที่วิเคราะห์สิ่งนี้เอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ โดยเธอได้ให้เหตุผลใหญ่ ๆ เอาไว้ 4 ประการ ทั้งหมดที่เรากำลังจะกล่าวนี้ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ไม่เกี่ยวกับความซับซ้อนทางเทคโนโลยี แต่มาจาก ‘ความเข้าใจที่มีต่อผู้บริโภค’ ล้วน ๆ
ในชีวิตมนุษย์ทำงานทุกคน เราล้วนต้องเผชิญหน้ากับคำวิจารณ์หรือฟีดแบ็คอยู่เสมอเพื่อพัฒนาตัวเองและผลงานให้ดียิ่งขึ้น คำวิจารณ์เชิงบวกไม่ต่างอะไรจากของขวัญล้ำค่าที่เรารอคอย ในขณะที่คำวิจารณ์หรือฟีดแบ็คเชิงลบเป็นสิ่งที่เราอยากหนีไปสุดหล้าฟ้าเขียว เพราะฟังทีไรก็เจ็บลึก สร้างแผลทางความรู้สึกไปนานแสนนาน แต่อยากให้รู้ไว้ว่าบนโลกใบนี้ ไม่มีใครที่รับฟีดแบ็คด้านลบได้อย่างร่าเริงเสมอไป เพียงแต่โลกใบนี้มีมีหนทาง “รับฟีดแบ็คด้านลบแบบมืออาชีพ” อยู่ ที่ต่อให้ข้างในเราจะกระทบกระเทือนเพียงไหน แต่เราจะสามารถรักษาความเป็นมืออาชีพและสามารถนำฟีดแบ็คนั้นมาพิจารณาอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดได้ เพราะในชีวิตการทำงานหรือแม้แต่ชีวิตด้านอื่น ๆ ฟีดแบ็คเชิงลบนี่เองที่จะทำให้เราเห็นข้อผิดพลาด หรือส่ิงที่ต้องปรับปรุง รวมถึงได้เห็นตัวเองในเวอร์ชันที่เราอาจไม่เคยมองเห็นมาก่อน UNLOCKMEN จึงเอาทั้งศาสตร์และศิลป์แห่งการ “รับฟีดแบ็คด้านลบแบบมืออาชีพ” มาฝากกัน รับฟังคำวิจารณ์ครั้งต่อไป เราจะรับฟังอย่างสง่างาม มืออาชีพ และนำมาปรับปรุงตัวเองได้ดีขึ้นแน่นอน ศาสตร์แห่งการไม่หัวร้อน: เพราะคำวิจารณ์ด้านลบ ทำลายภาพที่เราเห็นตัวเอง วินาทีแรกที่เราถูกวิจารณ์ ไม่แปลกที่เราจะโกรธ เนื่องจากนี่คือกลไกอัตโนมัติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคนเมื่อตัวเองได้ฟังฟีดแบ็คที่เราไม่เชื่อว่าตัวเราเป็น โดยขั้นแรกเราจะเริ่มโมโห หัวร้อน จากนั้นเราจะเริ่มสร้างเกราะมาปกป้องตัวเองทุกหนทางเท่าที่จะทำได้ และเราจะจบลงด้วยขั้นสุดท้ายคือการเข้าข้างตัวเอง และโยนคำวิจารณ์นั้นทิ้งไป (ทั้ง ๆ ที่มันอาจมีประโยชน์ต่อเรามาก) Tasha Eurich นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาระบุไว้ในบทความ The Right Way to Respond to Negative Feedback ว่าทั้งหมดนั้นเป็นกลไกปกติ แต่ถ้าเราอยากเป็นมืออาชีพมากขึ้น และรับฟีดแบ็คลบ
ตอนนี้ข่าวเรื่องแบนอเมริกาว่อนโลกโซเชียล แต่หลายคนยังจับต้นชนปลายเรื่องนี้ไม่ค่อยถูกว่ามันมีที่มายังไง รู้แค่ว่าประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐอเมริกาเซ็นระงับสิทธิ์ GSP สินค้าส่งออกจำนวน 571 รายการจากไทย เรื่องนี้ทำให้หลายคนเริ่มออกมาแสดงวิสัยทัศน์แบนสินค้าอเมริกา เข้าทำนองแบนมาแบนกลับไม่โกง แต่เอาเข้าจริง เรารู้บ้างไหมว่าวันนี้สินค้าจากอเมริกามีอะไรบ้าง และการโดนระงับสิทธิ์ GSP ที่สหรัฐอเมริกาทำกับเรามันกระทบกับเราแค่ไหน เราควรง้อหรือเดินหน้าไปทางไหนดี วันนี้ UNLOCKMEN จะสรุปคร่าว ๆ ให้เข้าใจ ทรัมป์ไม่เซ็น GSP ว่าแต่ GSP นี่มันอะไรนะ? เรื่องนี้มันเริ่มต้นจาก GSP (Generalized System Preference) คือสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรที่ประเทศพัฒนาแล้วยกให้ประเทศกำลังพัฒนา ไม่ต้องเสียหรือลดหย่อนภาษีสินค้านำเข้าเวลาส่งไปขายในประเทศผู้ให้สิทธิ์ จะได้สามารถส่งออกสินค้าไปแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้ เช่น จีนมีกำลังการผลิตสูง ถ้าแข่งตามปกติและโดนภาษีนำเข้าด้วย ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ อาจจะไม่สามารถแข่งขันได้เลย เป็นต้น เขาให้ฟรีหรือเปล่า ? คำตอบคือ “เปล่า” ถึงแม้ประเทศที่ให้สิทธิ์จะไม่เรียกร้องประโยชน์ในรูปแบบตัวเงิน แต่เขาก็มีเงื่อนไขสำหรับการมอบสิทธิ์ GSP ให้เราทำตาม สำหรับกรณีของสหรัฐฯ ที่กำลังเป็นคู่กรณีกับเราตอนนี้ก็วางเงื่อนไขแบบพอสังเขปไว้ตามด้านล่างมานานแล้ว รายได้ประชากรต่อหัว
เรามักสนใจสิ่งรอบข้าง หรือวิธีสู่ให้สำเร็จมากเกินไป จนลืมไปว่า สิ่งที่แรกที่เราควรเข้าใจและพัฒนาที่สุดคือ ตัวเราเอง
พูดถึงเรื่อง Mindset หลายคนอาจยังไม่เข้าใจความหมายที่ชัดเจน ว่าตกลงแล้ว Mindset คือนิสัยที่ติดตัวเรามาหรือเปล่า
ถ้าความฝันคือ “สูตรสำเร็จ” ที่คนในยุคนี้ต้องการ ถ้า “ธุรกิจของตัวเอง” คือทางออกของอิสระการใช้ชีวิต เคยสงสัยไหมว่าทำไมถึงยังมีคนคิดต่างจากเราและมีความสุขกับการเป็นลูกจ้าง ไม่ต้องลุกมาเป็นเจ้าของธุรกิจอะไรไปจนเกษียณ ทำไมเวลาเราดูรายการญี่ปุ่น เรามักเห็นพนักงานมีอายุหรือคนหนุ่มสาวที่ทุ่มเทและตั้งใจทำงาน ทั้งที่เขาเป็นเพียงพนักงานตัวเล็ก ๆ แต่กลับมุ่งมั่นทำงานอย่างเต็มที่และมีความสุขจนทำให้เรารู้สึกอิจฉา คำตอบนี้เราได้มันมาหลังจากมีโอกาสได้พูดคุยกับ ดร. กฤตินี พงษ์ธนเลิศ อาจารย์สอนการตลาดที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ที่หลายคนรู้จักเธอในชื่อ “เกตุวดี Marumura” นี่ถือเป็นหนึ่งในคำถามที่ผุดขึ้นมาระหว่างพูดคุยกันช่วงสัมภาษณ์ยาว (ใครอยากดูฉบับเต็มรอติดตามได้) แต่เชื่อว่าประเด็นนี้ถือว่าค่อนข้างน่าสนใจ คิดว่าชาว UNLOCKMEN น่าจะอยากรู้เหมือนกัน เราเลยสรุปและนำมาแบ่งปันแล้วด้านล่าง แรงงานต่างชาติน้อยกว่า ดร. กฤตินี เริ่มประเด็นแรกด้วยเรื่องแรงงาน ชี้ปัจจัยความต่างเบื้องต้นว่า “สังคมญี่ปุ่นเขาไม่ได้มีแรงงานจากประเทศข้างเคียงมากเท่ากับไทย” นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คนที่ทำงานตลอดสายพาน ตั้งแต่งานในโรงงานจนถึงงานนั่งโต๊ะ ส่วนใหญ่เป็นคนญี่ปุ่นทั้งหมด ดังนั้น เรื่องนี้คงต้องบอกว่าปัจจัยทางสังคมส่งเสริมให้คนญี่ปุ่นเขาเป็นลูกจ้างด้วย ขณะที่ไทยอาจจะมีคนที่เข้ามาทำหน้าที่นี้ทดแทนได้ เพราะมีแรงงานจากประเทศข้างเคียงทั้งพม่า ลาว ฯลฯ ที่เข้ามาทำงานในไทยมากกว่า องค์กรทำงานเป็นทีมและร่วมแรงร่วมใจกัน ทำไมคนไทยส่วนใหญ่ถึงทุกข์กับการเป็นลูกจ้าง แต่ญี่ปุ่นกลับไม่ใช่อย่างนั้น? เหตุผลที่เราอยากอยู่เหนือคนอื่น อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ อยากเติบโตไว ส่วนหนึ่งจะมองว่าเป็นเรื่องขั้นบันไดการเติบโตที่จำเป็นจะต้องไต่ขึ้นไปเรื่อย ๆ ก็ได้
หากคุณกำลังจิตตกจากตลาดหุ้น ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีเมื่อหุ้นตก เรามีคำตอบให้คุณ