การตั้งอาณานิคมใหม่นอกโลกเคยเป็นเพียงเรื่องที่เราดูผ่านภาพยนตร์ SCI-FI หรือจินตนาการเอาตอนเล่นกับเพื่อนสมัยเด็ก ๆ เท่านั้น แต่เมื่อมวลมนุษยชาติเดินทางมาถึงปี 2020 เรื่องราวการย้านถิ่นฐานไปดาวอื่น ทั้งเทคโนโลยีการเดินทาง ไปจนถึงความพยายามพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและที่อยู่อาศัยให้มนุษย์ออกไปใช้ชีวิตนอกดาวเคราะห์สีน้ำเงินก็ไม่ใช่เรื่องฝันเพ้ออีกต่อไป แม้ดาวอังคารดูจะเป็นดาวที่มนุษย์สนใจจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่มากที่สุดดาวหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อมหาเศรษฐีระดับโลกอย่าง Elon Musk แถลงข่าวว่าเขาจะสร้างเมืองที่พึ่งพาตัวเองได้ 100% บนดาวอังคาร มนุษย์จะใช้ชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องใช้พลังงานใด ๆ จากโลก โดย Starship ยานอวกาศที่ถูกคิดค้นมาเพื่อทำภารกิจนี้จะเริ่มเดินทางราว ๆ ปี 2024 ที่กำลังจะมาถึง แต่ดวงจันทร์ก็เป็นดาวอีกดวงหนึ่งที่ NASA เห็นศักยภาพ นั่นจึงเป็นที่มาของโครงการ Artemis ภารกิจเดินทางไปกลับดวงจันทร์ของ NASA ซึ่งภารกิจนี้ไม่ใช่การเดินทางระยะสั้นต้องการการตั้งฐานแบบถาวรบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ โดยไม่ใช่แค่เพื่อปฏิบัติภารกิจการสำรวจเท่านั้น แต่ Artemis Base Camp จะเป็นรากฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจบนดวงจันทร์ในอนาคตอีกด้วย แม้ความต้องการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและที่อยู่อาศัยบนดวงจันทร์จะชัดเจน แต่โจทย์ที่ท้าทายเหล่านักบุกเบิกอวกาศคือการที่สภาพพื้นผิวดวงจันทร์นั้นไม่สามารถนำอุปกรณ์ก่อสร้าง หรือยานพาหนะหนัก ๆ ลงจอดได้เลย เครน รถบรรทุก รถถมดิน ฯลฯ ที่มีส่วนสำคัญในการก่อสร้างบนดาวเคราะห์สีน้ำเงินจึงไม่อาจใช้ในการก่อสร้างบนดวงจันทร์ได้ เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์
อย่างที่รู้กันดีอยู่แล้วว่ารอยสักสำหรับคนญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่จะต้องถูกซ่อนเอาไว้ใต้ร่มผ้า หรือไม่เปิดเผยให้คนอื่นเห็นมากนักเพราะไม่อย่างนั้นคุณจะต้องพบกับสายตาดูแคลนปะปนกับสายตาหวาดกลัว ซ้ำยังถูกโรงอาบน้ำสาธารณะหรือซาวน่าหลายที่ปฏิเสธที่จะให้เข้าไปใช้บริการ แม้ว่าเราจะมีเงินและเป็นลูกค้าคนหนึ่งเหมือนกัน ก่อนหน้านี้ UNLOCKMEN เคยเล่าเรื่องราวความเป็นมาของการสักและรอยสักที่ชาวญี่ปุ่นมองว่าเป็นสิ่งผิดแปลกจากสังคมหรือจารีตไปแล้วใน (NIHON STORIES: รอยสักญี่ปุ่น ศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ที่ผู้คนทั่วโลกจับตามอง) ทั้งที่ในเวลาเดียวกันชาวต่างชาติกลับรู้สึกยกย่องและชื่นชมศิลปะญี่ปุ่นอันเป็นเอกลักษณ์ที่ถูกเล่าบนเนื้อหนังของบุคคลนั้น ๆ ซึ่งผู้สักชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักจะเป็นยากูซ่าหรือไม่ก็เป็นศิลปินที่ไม่ต้องทำงานออฟฟิศ ซึ่งบุคลิกและการทำงานอาจมีส่วนเล็กน้อยที่ทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างในสังคม เมื่อพูดถึงรอยสักเราจะไม่พูดถึงช่างสักก็คงไม่ได้ เพราะพวกเขาคือผู้สร้างสรรค์ศิลปะอันประณีตที่จะอยู่กับคนที่มาสักไปตลอดชั่วชีวิต และในประเทศญี่ปุ่นมีช่างสักผู้โด่งดังคนหนึ่งนามว่า ‘Horimitsu’ (โฮริมิตสึ) ที่มีส่วนช่วยทำให้วัฒนธรรมการสักของญี่ปุ่นยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน ซ้ำยังสร้างชื่อไปทั่วทุกมุมโลก และช่างสักก็ได้มีส่วนช่วยให้คนรุ่นใหม่เริ่มไม่ได้มองว่ารอยสักเป็นเรื่องน่ากลัวอีกต่อไป แต่มันคือศิลปะแขนงหนึ่งที่งดงามต่างหาก “คนที่ไม่มีรอยสักหรือไม่ชอบการสักมักมองว่าคนที่มีรอยสักจะต้องเกี่ยวข้องกับยากูซ่า แต่ทั้งสองสิ่งอย่างยากูซ่าและรอยสักไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องลึกซึ้งกันขนาดนั้น” – Horimitsu โฮริมิตสึ หรืออีกชื่อที่คนในวงการเรียกสั้น ๆ ว่า ‘มิตสึซัง’ เป็นช่างสักที่เปิดร้านสักอยู่ในย่านอิเคะบุคุโระ ณ กรุงโตเกียว ด้วยประสบการณ์ที่เรียกได้ว่าคร่ำหวอดในวงการนานกว่า 30 ปี ทำให้ชื่อเสียงของเขาถูกพูดถึงในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบการสักและช่างสักด้วยกัน ประกอบกับสไตล์การใช้เข็มวาดลวดลายของเขาจะใช้เทคนิคการสักญี่ปุ่นดั้งเดิมที่เรียกว่า ‘Tebori’ (เทโบริ) อายุกว่า 400 ปี ที่ขึ้นชื่อเรื่องสีสันสดสวยคงทนเหมือนกับวันแรกที่ไปสักแม้จะเวลาจะล่วงเลยมาพักหนึ่งแล้วก็ตาม เทคนิคการสักแบบเก่าแก่ของมิตสึซังจะกินเวลานานกว่าการสักแบบปกติ เขาจะใช้ปากกาสีส้มวาดภาพที่ต้องสักบนผิวหนังแบบช้า ๆ ด้วยความพิถีพิถัน จากนั้นค่อยใช้ปากกาเส้นพู่กันวาดซ้ำอีกรอบ มิตสึซังมักไม่ใช่เครื่องสักในการทำงาน และชอบใช้ใบมีดสเตนเลสแบบด้านเดียวที่ติดอยู่กับด้ามไม้แท่งยาวกรีดลงไปบนเนื้อ ย้ำซ้ำไปซ้ำมาจนกว่าจะได้สีสันลวดลายตามที่เขาพอใจ
บอกตรง ๆ ว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก Swatch เรือนเวลาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดินแดนที่เปรียบเสมือนมหานครแห่งโลกนาฬิกา แต่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้ว่าสวิตเซอร์แลนด์เคยเกือบเสียตำแหน่งเบอร์หนึ่งแห่งอุตสาหกรรมเครื่องบอกเวลาไปกับวิกฤตการณ์ Quartz ในช่วงยุค 70 – 80 จนกระทั่งในปี 1983 เหล่าผู้ประกอบการธุรกิจนาฬิกาสวิสได้ปรึกษาหารือแล้วว่าจะไม่ทนอีกต่อไป จึงได้ร่วมมือกันกอบกู้สถานการณ์ ด้วยการพัฒนานาฬิกาพลาสติกระบบ Quartz ตัวเรือนบางเฉียบ ดีไซน์เรียบง่ายทันสมัย สีสันหลากหลายราคาไม่แพง ออกมาแลกหมัดกับนาฬิกา Quartz จากแดนปลาดิบให้รู้ดำรู้แดงกันไป ผลสุดท้าย ด้วยคุณภาพอันเป็นที่ร่ำลือของนาฬิกา Swiss Made ที่จับต้องได้ในราคาเป็นมิตร ทำให้นาฬิกากู้ชาติของสวิสเรือนนี้ได้รับความนิยมถล่มทลายไปทั่วโลก ช่วยพลิกฟื้นธุรกิจส่งออกนาฬิกาของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ให้กลับมาผงาดอีกครั้ง และเจ้านาฬิกาพลาสติกเรือนที่ว่าก็คือนาฬิกา Swatch ที่ใคร ๆ ต่างก็รู้จัก และน่าจะเคยครอบครองมาแล้วอย่างน้อยคนละเรือนสองเรือน จากการ Debut สู่สายตา และข้อมือชาวโลกในฐานะนาฬิกาพลาสติก ราคาประหยัด สีสันสดใส ทำให้ใคร ๆ ต่างก็มีภาพจำกับความเป็นนาฬิกาพลาสติกของ Swatch แต่จริง ๆ แล้วตลอด 37 ปีที่ผ่านมา Swatch ได้สร้างสรรค์เรือนเวลาหลากรูปแบบ หลายฟังก์ชัน
หากเอ่ยถึงชื่อแบรนด์ Breitling (ไบร์ทลิ่ง) ขึ้นมา สาวกเรือนเวลาน่าจะรู้กันดีถึงกิตติศัพท์ด้านการจับเวลาที่เที่ยงตรงแม่นยำของจักรกลบอกเวลา ที่มีต้นกำเนิดจากหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งใน Saint-Imier (แซงต์ อิมิเยร์) ตั้งอยู่ใกล้เทือกเขา Jura (ชูรา) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งก่อตั้งโดยนาย Leon Breitling ช่างทำนาฬิกาที่ริเริ่มประดิษฐ์นาฬิกาจับเวลาในปี 1884 ด้วยชื่อเสียงเรื่องความแม่นยำทำให้จักรกลจับเวลาภายใต้ชื่อแบรนด์ Breitling ถูกนำไปใช้งานสำหรับภารกิจเหินเวหาอย่างมากมาย จนได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้บุกเบิกในการพัฒนานาฬิกาข้อมือแบบจับเวลาซึ่งได้มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในช่วงเวลาสำคัญในการพิชิตเวหาของมวลมนุษยชาติ จวบจนปัจจุบัน Breitling ยังเดินหน้าพัฒนานาฬิกาคุณภาพสูงขึ้นมาด้วยเป้าหมายเดียวกันกับวันแรกที่ Leon Breitling ผู้ก่อตั้งแบรนด์ได้เริ่มประดิษฐ์นาฬิกาจับเวลาขึ้นมา นั่นก็คือการสร้างสรรค์นาฬิกาจับเวลาที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมระดับโลก และยังคงผลิตกลไกเองแบบ In-House ซึ่งนาฬิกาทุกเรือนของ Breitling นั้นผ่านการผลิตจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้รับรองคุณภาพตามมาตรฐาน Chronometer จากสถาบัน COSC และเมื่อได้พูดคุยถึงเรื่องราวของ Breitling สิ่งที่จะขาดไปไม่ได้เลยคือ Chronomat (โครโนแมท) เรือนเวลาที่เปรียบเสมือนคอลเลคชันสําคัญในประวัติศาสตร์ของ Breitling ที่เปิดตัวมาในปี 1984 ซึ่งเป็นยุคที่นาฬิกา Quartz เรือนบางเฉียบจากญี่ปุ่นกําลังเป็นที่นิยมจนสามารถครองตลาดมาตั้งแต่ช่วงยุค 70s สวนทางกับนาฬิกาจักรกลสวิสเมดที่ความนิยมหดหายจนแทบเข้าขั้นวิกฤติ แต่ถึงกระนั้น
งานศิลปะทางการเมือง Political Art ในนาม “Headache Stencil” ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นคนที่ไม่ชอบเปิดเผยหน้าสักเท่าไร แต่หลาย ๆ คนก็รู้จักเขาผ่านทางผลงานที่เล่าเรื่องคอนเซ็ปต์เกี่ยวกับ ประเด็นทางการเมือง หรือประเด็นที่บางคนไม่กล้าพูดถึง รับรองว่าใครที่เขาได้ mention ถึงในผลงานได้มีอาการ “ปวดหัว” เป็นแน่แท้ ก่อนหน้านี้หลังจากที่เขาปล่อยผลงานที่แสดงถึงการต่อต้านเผด็จการ จึงถูกคุกคามจากกลุ่มคนนิรนาม ถึงบ้านพัก บางครั้งก็ถูกขับรถตาม เรียกได้ว่า “บ้าน” ก็ยังไม่ปลอดภัยสำหรับเขา ยิ่งถูกคุกคามมากเท่าไร เขายิ่ง “พร้อมจะตีแผ่ความจริงของประเทศให้โลกได้รับรู้มากเท่านั้น” การพูดความจริงไม่สามารถพูดได้ในที่สาธารณะ แต่เขายังคงยืนหยัดที่จะสร้างผลงาน เพื่อต่อต้านเผด็จการ หรือประชาธิปไตยจอมปลอมต่อไป โดยผลงานของเขาได้ถูกสื่อต่างประเทศอย่าง reuters ตีแผ่เพื่อให้โลกได้รับรู้ และถูกขนานนามว่าเป็น Banksy (ศิลปินชาวอังกฤษ) แห่งเมืองไทย และล่าสุด การตีแผ่ความจริงทางการเมืองในเชิงศิลปะ ของเขาถูกจัดแสดงขึ้นที่ สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย ซึ่งคิดว่าเป็นเพราะ เพื่อไม่ให้ถูกแทรกแซงจากกลุ่มบุคคลอื่น และเป็นที่สนใจของสื่อต่างประเทศเป็นอย่างมาก ภายใต้ชื่องานที่ว่า ดู-ดาย (Do or Die) : HEADACHE STENCIL SOLO
กุชชี่ (Gucci) ลักชัวรี่แฟชั่นแบรนด์ระดับโลก ผู้บุกเบิกโปรเจ็คคอลลาบอเรชั่นระดับแถวหน้าแห่งโลกดิจิทัล เปิดตัวโปรเจ็คล่าสุด ที่ครีเอทีฟ ไดเร็คเตอร์ อเลสซานโดร มิเคเล่ ได้เชื้อเชิญเหล่าศิลปิน visual artists จากทั่วโลก มาร่วมตีความและนำเสนองานศิลป์ผ่าน นาฬิกา G-Timeless automatic ในมุมมองที่แตกต่างกันไป ผลงานในโปรเจ็คนี้รังสรรค์ขึ้นเป็นพิเศษโดยบรรดาศิลปิน ทั้งนักวาดภาพประกอบ จิตรกร และดิจิทัลอาทิสต์ ที่ได้รับโจทย์ให้ร่วมถ่ายทอดจินตนาการและสร้างสรรค์ผลงานศิลป์ที่มีต่อนาฬิกา G-Timeless automatic หลากหลายรุ่น ถือเป็นความ ท้าทายในการตีความอย่างสร้างสรรค์ตามแบบของตนเอง โดยมีเอเลเมนต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของรุ่น G-Timeless เป็นธีมหลัก ทั้งลวดลายรูปผึ้ง ที่เป็นไอคอนของแบรนด์มาตั้งแต่ยุค 1970s ซึ่งถูกนำมาใช้ตกแต่งเป็นไอเทมหลักบนหน้าปัดสโตน รวมถึง อินเด็กซ์บอกชั่วโมง ศิลปินแต่ละท่านถือเป็นตัวแทนชุมชนระดับโลกอย่างแท้จริง ในขณะที่บางศิลปิน เช่น Winnie Chi จากจีน และ Kieron Livingstone จาก UK เคยร่วมงานคอลแลบกับ Gucci มาก่อนแล้ว แต่ส่วนใหญ่เป็นการค้นพบศิลปินหน้าใหม่สำหรับแบรนด์ เช่น Oh de
บรรดาแฟนหนัง และเหล่าผู้หลงใหลในเรือนเวลา คงรู้กันดีว่านาฬิกา Hamilton เป็นแบรนด์โปรดของเหล่าผู้สร้างภาพยนตร์มานานหลายทศวรรษ ได้รับบทบาทสำคัญในภาพยนตร์มาหลายต่อหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาที่ออกแบบสำหรับ 2001: A Space Odyssey ในปี 1968 ซึ่งเป็นภาพยนตร์ระดับขึ้นหิ้งของผู้กำกับ Stanley Kubrick และยังเป็นผลงานที่สร้างแรงบันดาลใจให้มีการประดิษฐ์นาฬิกาดิจิทัลเรือนแรกของโลกขึ้นมา นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งเรือนที่เรียกได้ว่าเป็นอีกชิ้นงาน Masterpiece ที่ Hamilton ได้รังสรรค์ให้กับวงการภาพยนตร์ กับ The Murph Watch จาก Interstellar ของผู้กำกับ Christopher Nolan ที่ได้กลายมาเป็นนาฬิกาข้อมือยอดนิยมของแฟนหนังเรื่องนี้ ที่ยังคงตราตรึงกับเรื่องราวความรักความผูกพันของพ่อลูกในภาพยนตร์ที่ถูกเชื่อมโยงเอาไว้ด้วย The Murph Watch จาก Hamilton จากวันนั้นถึงวันนี้ ความร่วมมือครั้งยิ่งใหญ่ระหว่าง Hamilton และ Hollywood ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง กับการรวมเอายอดทีมนักออกแบบและวิศวกรจาก Hamilton และ ทีม Production Design ระดับหัวกะทิผู้อยู่เบื้องหลังภาพยนตร์เรื่อง TENET มาสร้างสรรค์เรือนเวลารุ่นพิเศษสำหรับใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งเป็นผลงานล่าสุดของโคตรผู้กำกับอย่าง Christopher
ลืมทุกโซฟาที่คุณเคยคิดว่านั่งสบายไปซะ แล้วมาทำความรู้จักกับ Dhyan Chaise Lounge โซฟาที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความสงบแบบ Zen ให้กับผู้นั่งได้อย่างลึกซึ้งด้วยน้ำตกและต้นไม้ Dhyan Chaise Lounge ออกแบบโดยบริษัท Karimeen inc. ได้แรงบันดาลใจมาจากความสงบของพุทธศาสนาและความสงบของสวนญี่ปุ่น ผสมเข้ากับ Modern design ที่หรูหรา เพื่อมอบความรู้สึกผ่อนคลายจากภายในที่ลึกซึ้งไปอีกขั้น ด้วยการเชื่อมต่อมนุษย์และธรรมชาติเข้าไว้ด้วยกันผ่านโซฟายาวสไตล์ Chaise Lounge ตัวนี้ โดยสามารถเลือกรูปแบบของโซฟาได้ถึง 3 รูปแบบ คือ standard mode, water-pond mode และ garden mode คำว่า Dhyan (ธนายะ) ของเก้าอี้ตัวนี้มาจากภาษาสันสกฤต มีความหมายว่า ฌาณ หรือการทำสมาธิ ถูกนำมาใช้เป็น design concept หลักของการออกแบบ ไม่ว่าคุณจะเครียดมาแค่ไหนจากภาระหน้าที่ระหว่างวัน เมื่อคุณกลับมาเจอเก้าอี้ตัวนี้ คุณจะพบกับความสงบที่แท้จริง โดยสามารถเลือกรูปแบบความสงบที่ต้องการได้ 3 รูปแบบ เริ่มจาก Standard mode
ผู้ชายสายลุยอาจต้องอดลุยกันมาพักใหญ่ ๆ เนื่องจาก COVID-19 แม้ตอนนี้หลายสถานที่ในประเทศจะเริ่มกลับมาเปิดตามปกติ และการคลายมาตรการบางส่วนทำให้เราออกเดินทางไปต่างจังหวัดได้บ้างแล้ว แต่ก็ต้องบอกตามตรงว่าไม่รู้เมื่อไรเราถึงจะกลับมาผจญภัย ออกเดินทาง หรือมีทริปแบบปกติ ๆ เหมือนก่อน COVID-19 มาเยือนได้อีก UNLOCKMEN เข้าใจหัวอกสายลุยดียิ่งกว่าดี จึงไม่มีอะไรเยียวยาได้ตรงจุดไปกว่า SPACE by Ecocapsule® เพราะนี่คือบ้านแคปซูลขนาดกะทัดรัด ดีไซน์ล้ำ ฟังก์ชันคูลที่ให้ความรู้สึกเหมือนการไปตั้งแคมป์ (แถมจะไปตั้งที่ไหนก็ได้เพราะไม่ง้อไฟฟ้า) ไม่ต้องคอยระวังอะไรเหมือนไปพักตามรีสอร์ทอีกต่างหากว่าเราเผลอละเมิดกฎ New Normal อะไรไปบ้างหรือเปล่า ส่วนใครเบื่อ ๆ บรรยากาศในบ้าน จะเอามาตั้งในสวนแยกตัวมามีเวลาส่วนตัวแบบคูล ๆ ก็ไม่ผิดกติกา เรียกว่าดีต่อใจสายลุยในวันที่ไม่ได้ออกไปลุยมานานได้กริบทุกมิติจริง ๆ วัสดุภายนอก SPACE by Ecocapsule® ทำจากเปลือกไฟเบอร์กลาสหุ้มฉนวนโครงเหล็ก มาพร้อมระบบการผลิตพลังงานที่สายรักษ์โลกก็ต้องรัก ส่วนสายลุยก็ยิ่งชอบเพราะไม่ต้องกังวลว่าจะไปตั้งที่ไหน มีไฟฟ้าไหม? เดินไฟให้วุ่นวายหรือเปล่า? SPACE by Ecocapsule® ใช้ระบบการผลิตพลังงานจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูงติดตั้งบนเสาแบบยืดหดได้ ให้กำลังไฟ 200W ส่วนระบบความร้อนและการระบายอากาศนั้น SPACE by Ecocapsule® ดีไซน์หน้าต่างที่สามารถเปิดเป็นช่องรับลมไม่ว่าจะตั้งอยู่ที่ไหน
เคยตื่นขึ้นมาพร้อมความรู้สึกว่างเปล่ากันบ้างไหม? ของบางอย่างที่เคยมี คนใกล้ชิดที่อยู่ด้วยกันมาหลายสิบปีหรืออาจจะทั้งชีวิต พอพวกเขาตายจากไปเราถึงเข้าใจความรู้สึกนี้ได้ดีขึ้น ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งที่เคยอยู่ด้วยกันมาหลายปี วันหนึ่งกลับคล้ายไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่มีหลักฐานว่าพวกเขาเคยอยู่ตรงนี้ อย่างเดียวที่ยืนยันการมีอยู่ครั้งหนึ่งได้คงมีเพียงแค่ความทรงจำของเราเท่านั้น จะดีแค่ไหนถ้าเราสามารถเก็บความทรงจำที่สวยงามนั้นไว้ติดตัวเราได้ตลอดเวลา เชื่อว่าหลายคนคงคิดไม่ต่างกัน กระทั่งในที่สุดความคิดนี้ก็เกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นจากการสร้างสรรค์ของ Gemories Thailand บริษัทจิวเวลรีไทยย่านสุขุมวิทที่เปลี่ยนอินทรียสารของคนที่เรารัก ไม่ว่าจะเป็นเถ้ากระดูก เส้นผม เส้นใยผ้า ดอกไม้ ฯลฯ ให้กลายเป็นรูปของผลึกพลอยเจียระไนแวววาวพร้อมสวมใส่ วันนี้ UNLOCKMEN โอกาสได้พูดคุยกับ คุณเบนซ์ – คุณปทิตตา หอมจันทร์ Marketing Director และเป็นหนึ่งในผู้บริหาร บริษัท เจมโมรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด แบบเอ็กคลูซีฟและได้เห็นทุกขั้นตอนกระบวนการผลิตที่ทำให้หายข้องใจว่า ส่วนประกอบต่าง ๆ จากคนที่เรารักสามารถแปรเป็นอัญมณีได้อย่างไร และทำไม Gemories ถึงต้องการสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ขึ้น บอกก่อนว่าทั้งหมดนี้เรามองในแง่วิทยาศาสตร์ ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องลี้ลับ อย่างไรก็ตามอย่าลืมใช้วิจารณญาณในการอ่านทุกบรรทัดด้วยนะ ถ้าจะบอกว่าธุรกิจที่นี่มีจุดเริ่มจาก “จุดจบ” ก็คงไม่ผิด คุณเบนซ์เล่าให้เราฟังว่า เดิมคุณพลอย-ภัสสร ภัสสรศิริ ผู้ริเริ่มธุรกิจ Gemories เคยทำธุรกิจเตาเผาไร้มลพิษและ Pet Master