อะไรคือ CPTPP นะ ? ทำไมเขาไม่ แล้วมี CP นี่คือของเจ้าสัว CP หรอหรืออะไร ? ช่วงนี้หลายคนคงเคยเห็นตัวย่อ CPTPP ผ่านตากันบ้างแล้ว บางคนเห็นศัพท์วิชาการยาว ๆ ก็ถอยออกมา บางคนเห็นมีตัวย่อ CP เดาไว้ก่อนว่าเกี่ยวกับเซเว่น แต่ยังไม่อ่านสักที เอาเป็นว่าถ้าคุณปัดผ่านมานานแต่อยากรู้เรื่องแบบเนื้อ ๆ ไม่เอาน้ำ UNLOCKMEN จะสรุปให้คุณเข้าใจมันง่าย ๆ กูต้องรู้เรื่องนี้ไหม ? ก่อนอ่าน ใครตั้งคำถามว่า “กูต้องรู้เรื่องนี้ไหม” เราขอตอบกลับไปเลยว่า “มึงต้องรู้” เพราะ 1. มันเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของเราโดยตรง ทั้งเรื่องกินอยู่ปกติไปจนถึงเรื่องงาน 2. มันเกี่ยวกับประเทศเรา การขาดดุลทางผลประโยชน์ ซึ่งสุดท้ายถ้าเราไม่ take action อาจจะได้แต่ยืนดูไกล ๆ แล้วต้องยืนรับชะตาชีวิต 3. มันเป็นข้อตกลงระดับโลก ที่สร้างผลกระทบระดับราก แต่ดันมาแบบเงียบ ๆ CPTPP คืออะไร CPTPP
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกทำให้เรามีโอกาสเห็นภาพถ่ายของเมืองต่าง ๆ ที่เคยวุ่นวายได้กลับกลายเป็นเมืองที่เงียบร้างเพราะการกักตัวอยู่ในบ้านของผู้คน แต่เมื่อไม่นานมานี้มีการเปิดเผยชุดภาพถ่ายที่บันทึกมุมเมืองอันเงียบสงบของเมืองฮานอยเอาไว้ และที่น่าสนใจก็คือผลงานเหล่านี้ถูกถ่ายเอาไว้ก่อนการระบาดจะเริ่มขึ้นเสียอีก ภาพถ่ายอันเงียบสงบของเมืองฮานอยถูกเผยแพร่โดย Vice เผยให้เห็นถนนหนทางและบ้านเรือนที่เงียบสงบของเมืองที่เคยพลุกพล่านไปด้วยผู้คน อย่างไรก็ตามภาพทั้งหมดไม่ได้ถูกถ่ายในช่วงที่เกิดการระบาด แต่ภาพเหล่านี้ถูกถ่ายขึ้นมาในช่วงเวลาที่สถานการณ์ต่าง ๆ ยังคงปกติ โดยฝีมือของชายที่ชื่อ Wouter Vanhees Wouter Vanhees เป็นช่างภาพชาวเบลเยียมที่เดินทางมาอาศัยอยู่ในเมืองฮานอยตั้งแต่ปี 2018 โดยเขาตั้งใจจะเก็บบันทึกภาพในเวลาค่ำคืนที่สวยงามของกรุงฮานอยให้เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งก่อสร้างใหม่ที่กำลังเข้ามาและของเก่าที่ยังคงอยู่ อย่างไรก็ตามเมื่อเริ่มออกเดินทางไปรอบเมือง ๆ ตัวเขายังได้พบมุมที่สงบนิ่งของเมืองแห่งนี้ การเก็บภาพของเขาดำเนินไปอย่างต่อเนื่องทุกค่ำคืนจนในที่สุด Emptiness หรือความว่างเปล่า ก็กลายมาเป็นธีมหลักของการบันทึกภาพเมืองหลวงของเวียดนามของเขา แต่หลังจากที่การระบาดของไวรัสโควิด-19 เกิดขึ้นที่เวียดนามในปลายเดือนมกราคม ความว่างเปล่าในฮานอยก็เกิดขึ้นจริงจากการประกาศเคอร์ฟิวของรัฐบาล โดยไม่ต้องไปหามุมสงบเพื่อเก็บภาพฮานอยในค่ำคืนที่อ้างว้างแต่อย่างใด เมื่อท้องถนนมีแต่ความว่างเปล่า Wouter Vanhees ก็ออกเดินทางถ่ายภาพบนท้องถนนอีกครั้ง ซึ่งภาพถ่ายชุดต่อมาเป็นการบันทึกละแวกที่อยู่ของเขาในระหว่างที่อาศัยอยู่ในฮานอย Wouter พูดถึงเมืองแห่งนี้ก่อนจะต้องย้ายออกมาว่า “ฮานอยเป็นเหมือนบ้านอีกหลังของผม และจะเป็นสถานที่แห่งนี้จะพิเศษสำหรับเขาเสมอ ชมผลงานภาพถ่าย Wouter Vanhees เพิ่มเติมต่อด้านล่าง Source: 1
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในเวลานี้อาจส่งกระทบต่อหนุ่ม ๆ หลายคนและ UNLOCKMEN ก็อยากเป็นส่วนหนึ่งที่ยืนเคียงข้างให้ทุกคนกลับมามีพลังฮึดสู้อีกครั้งในวันที่ทุกอย่างกลับมาเป็นปกติ วันนี้คอลัมน์ MOTIVATHLETE จึงอยากเพิ่มแรงกระตุ้นให้ทุกท่านด้วยมุมมองความคิดที่น่าสนใจของยอดนักกีฬาอย่างไมเคิล จอร์แดน ผ่านเรื่องราวในสารคดีที่ชื่อ THE LAST DANCE THE LAST DANCE เป็นสารคดีกีฬาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับทีมบาสเกตบอลอย่างชิคาโก้ บูลล์ในปี 1997-98 ฤดูกาลที่พวกเขาคว้า Three-Peat หรือคว้าแชมป์ 3 สมัยติดต่อกันได้สำเร็จเป็นครั้งที่ 2 แต่หลังฉากความสำเร็จที่ถูกเผยแพร่ออกมากลับมีสิ่งที่หลายคนไม่เคยรับรู้มาก่อนซ่อนอยู่ โดยเรื่องราวถูกเล่าผ่านตำนานผู้เล่นในทีม ไม่ว่าจะเป็นไมเคิล จอร์แดน, สก็อตตี้ พิพเพ่น, และเฮดโค้ชอย่างฟิล แจ๊คสัน รวมถึงคนดังที่มีส่วนร่วมทั้งในและนอกวงการ พร้อมกับฟุตเทจบางส่วนที่ทีมงานของ ESPN ถ่ายทำเก็บไว้นานกว่า 20 ปี ปัจจุบัน (27 เมษายน 2563) สารคดีออกอาการไปแล้ว 4 ตอน จากทั้งหมด 10 ตอน ส่วนเนื้อหาที่เราหยิบยกมาพูดถึงจะมาจาก 2 ตอนแรกเท่านั้น และแนวคิดของยอดนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จอย่างไมเคิล จอร์แดนที่เราได้เรียนรู้ผ่าน
เคยรู้สึกไหมว่าบ้านเป็นที่ ๆ ไม่น่าอยู่เอาเสียเลย ในชีวิตจริงเรามองเห็นหน้าต่างบ้านฝั่งตรงข้าม ไฟเปิดปิดสลับไปมาวันแล้ววันเล่า แต่ไม่มีโอกาสเห็นการใช้ชีวิตข้างใน ส่วนโลกโซเชียลในมือ ต่อให้ไม่ต้องแม้แต่เคาะประตูบ้าน ก็มีคนเปิดให้รู้เรื่องราวชีวิตทุกอย่างช่วงกักกัน ส่วนใหญ่ก็โชว์แต่โลกที่น่าอิจฉาด้วยกันทั้งนั้น จนเจอสเตตัสหนึ่งในเฟสบุ๊กของเพื่อนที่พูดว่า “บ้านไม่ใช่ที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน” มันเล่าว่าบ้านสำหรับเด็กบางคนน่าเจ็บปวด เป็นฝันร้าย ประสบการณ์ที่หลายคนแชร์ผ่านทวิตเตอร์บอกให้รู้ว่าคนร่วมบ้านอาจไม่ใช่คนที่มอบความสุขให้ได้ แสงสว่างของบางคนคือการออกไปอยู่นอกบ้าน ไปโรงเรียน ไปเจอเพื่อนและใช้เวลาอยู่ในบ้านให้น้อยที่สุด การอยู่แต่บ้านเวลานี้ต่างหากที่เป็นวิกฤต จากสเตตัสที่สะกิดใจ เราตัดสินใจไปลองหาข้อมูลอีกด้านที่ไม่ค่อยมีคนพูดแทน “หยุดเชื้อเพื่อชาติ ที่ทำให้หลายคนต้องทรมาน” มันจะลึกหรือจะแย่สักแค่ไหนกัน แล้วยังจะพอมีทางออกหรือทางเลือกเหลือไว้สำหรับสถานการณ์นี้บ้างไหม ABUSE บ้านคือพื้นที่ความรุนแรง ข้อมูลจากองค์การ UNICEF เผยสถิติการก่อเหตุความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นจากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่าเฉพาะในมณฑลหูเป่ย ประเทศจีน ที่ได้รับผลกระทบเต็ม ๆ เป็นแห่งแรก ได้รับร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าหากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่ผ่านมา นอกจากจีนแล้วอีกหลายประเทศล้วนได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน Rola Dashti เลขาธิการคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมเอเชียตะวันตกแห่งสหประชาชาติ (ESCWA) ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวว่า เหตุผลของความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาจากมาตรการกักกันที่บีบบังคับให้คนอยู่ร่วมกันท่ามกลางเศรษฐกิจที่แย่ เริ่มจากความเครียด ความกังวล ขาดหนทางเข้าถึงอาหาร ทำให้จิตใจคนเริ่มบิดเบี้ยวตาม แต่ผลกระทบส่วนใหญ่ระบุว่ามักจะเกิดกับผู้หญิงมากกว่า เพราะผู้หญิงทำหน้าที่ดูแลบ้านและงานในครอบครัว พอแนวโน้มอาหารไม่พอ ความเครียดสะสม เธอจะเกิดความอ่อนล้าทั้งกายและใจจนเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดโรคมากขึ้น HOME =
เชื่อว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้คงทำให้หลายคนพบเจอกับหลายสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป บางคนต้องทำงานและใช้ชีวิตต่างไปจากเดิมซึ่งมีผลกระทบน้อยมากแตกต่างกันออกไป แต่สำหรับคนที่ยังสู้และรอโอกาสเริ่มต้นใหม่ วันนี้ UNLOCKMEN มีเรื่องราวและมุมมองดี ๆ จากชายที่ต้องหยุดพักการเดินทางรอบโลกซึ่งใช้เวลากว่า 6 ปีลง เพราะไม่สามารถเดินทางต่อได้ในระหว่างที่หลายประเทศเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอยู่ ซึ่งอาจส่งผลให้การเดินทางทั้งหมดต้องถูกยกเลิกไป ทั้ง ๆ ที่เหลือจุดหมายอีกแค่ 9 ประเทศจากทั้งหมด 203 ประเทศเท่านั้น ในเวลาที่เรื่องสำคัญที่สุดในชีวิตจำเป็นต้องหยุดพักลง ตัวเขาจะมีวิธีจัดการกับมันอย่างไร เราอยากพาทุกท่านไปทำความรู้จักและหาคำตอบไปพร้อมกัน โทล์บยอน ปีเตอร์เซน (Torbjorn C Pedersen) คือชื่อของชายวัย 42 ปี เจ้าของทริปเดินทางรอบโลก 203 ประเทศโดยไม่ใช้เครื่องบิน ที่ตั้งชื่อว่า Once Upon a Saga โดยตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ตัวเขาเดินทางไปเยือนมาแล้วถึง 194 ประเทศและเหลือเพียง 9 ประเทศเท่านั้น แต่ดูเหมือนโชคจะไม่เข้าข้างตัวเขาสักเท่าไหร่ เพราะในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ระหว่างนั่งเรือไปยังประเทศฮ่องกงเพื่อเปลี่ยนเส้นทางไปยังจุดหมายในช่วงท้าย กลับกลายเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่เชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มแพร่ระบาดไปทั่วโลก ทำให้การเดินทางที่ต่อเนื่องยาวนานต้องหยุดลงเป็นครั้งแรก และจวบจนถึงตอนนี้ตัวเขาได้ติดแหง่กอยู่ในฮ่องกงมาแล้วกว่า 80
หลายคนสูญเสียหลายอย่างไปกับโรคระบาดที่เราไม่ได้ตั้งตัวมาก่อน ความมั่นคง เงิน งาน สุขภาพจิต แต่นอกจากความปกติในชีวิตที่เราต้องเสียไปแล้ว COVID-19 ยังเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งวิธีคิดเรื่องการรักษาความสะอาดเพื่อสุขอนามัย วิธีคิดเรื่องการกินอาหาร วิธีคิดเรื่องการพักผ่อน ฯลฯ ความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ส่งผลไปถึงเทคโนโลยี ธุรกิจอีกหลายรูปแบบที่จะต้องปรับตัว แต่น่าเสียดายที่บางอย่างต่อให้ปรับตัวก็ไม่สามารถรอดไปได้ หลัง COVID-19 จึงไม่ได้มีแค่เทคโนโลยีและธุรกิจใหม่ ๆ ที่ผุดขึ้นมาเพื่อเติมเต็มความต้องการของผู้คนที่เปลี่ยนไปในช่วงนี้ แต่เทคโนโลยีหรือธุรกิจบางแบบต้องหายไปตลอดกาลเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน Touch Screens ในที่สาธารณะ ครั้งหนึ่งการไปเดินห้างสรรพสินค้า หรือต้องการข้อมูลจากจุดไหนเป็นพิเศษแล้วมีหน้าจอ Touch Screens วางหารอให้เราพุ่งตรงเข้าไปใช้บริการ มันช่างเป็นตัวแทนของความทันสมัย ใช้งานง่าย สะดวก ตอบโจทย์ผู้บริโภค และเป็นภาพลักษณ์เชิงบวกกับธุรกิจหรือองค์กรนั้น ๆ จนไม่ว่ามองไปทางไหน Touch Screens ก็มีให้เห็นละลานตา แต่เมื่อ COVID-19 มาถึง Touch Screens ที่เคยเป็นตัวแทนความสะดวก กลายเป็นพื้นที่รวบรวมนิ้วใครต่อนิ้วใคร และอาจรวมถึงเชื้อโรคไม่พึงประสงค์นานาชนิด ดังนั้นธุรกิจจะต้องพิจารณาเรื่องนี้ใหม่ Touch Screens ทำให้ลูกค้าจำนวนมากมองว่านี่คือความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ไม่ว่าพวกจะพยายามทำความสะอาดบ่อยแค่ไหน บรรดาตู้ ATM จอในรถเช่า
“ถ้าเราเหนื่อยล้าจงเดินเข้าป่า” เนื้อเพลงท่อนฮิตที่ฮิตติดลมบนอยู่หลายเดือนท่อนนี้คงยังติดหูใครหลายคนมาจนถึงตอนนี้ ที่เศร้ากว่าตอนนั้นก็คือ ไม่ว่าเราจะเหนื่อยล้าแค่ไหน ตอนนี้อย่าว่าแต่เดินเข้าป่า เข้าเขา เข้าทะเลที่ไหน เข้าร้าสะดวกซื้อใกล้บ้านก็ยังมีเวลาจำกัด (เพื่อความปลอดภัย) จึงไม่แปลกที่มนุษย์สายเที่ยว หรือแม้แต่สายไม่เที่ยวจะนั่งหน้าเหี่ยวหมดอาลัยตายอยากกันไปหมด แต่ทุกปัญหาต้องมีทางออกสินะ? ทำไมเหนื่อยล้าต้องเดินเข้าป่า? ธรรมชาติเยียวยาเราจริงไหม บางทีก็สงสัยใครรู้ว่าเหนื่อยล้าแล้วเดินเข้าป่าแล้วจะหายอย่างที่เพลงร้องเอาไว้จริงไหม? แต่หลาย ๆ ครั้งเวลาได้ไปเที่ยวท่ามกลางธรรมชาติทีไร หัวใจก็พองโตทุกที ก็ไม่รู้ว่าพองเพราะธรรมชาติ เพราะอากาศดี หรือเพราะได้หยุดงานไปเริงร่ากันแน่? แต่เมื่ออยู่บ้านนาน ๆ (ออฟฟิศก็ไม่ต้องไป รถติดก็ไม่ต้องฝ่า) เรากลับพบว่าผนังห้อง เตียงนุ่ม หรือการดูซีรีส์ทั้งวันมันไม่อาจเยียวยาเราได้ขนาดนั้น ธรรมชาติจึงอาจช่วยเยียวยาเราได้จริง นักวิจัยจาก Stanford ทำการทดลองที่แบ่งคนออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งให้เดินผ่านพื้นที่ในเมือง ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งให้เดินผ่านพื้นที่ที่มีธรรมชาติ ผลออกมาว่าคนที่เดินผ่านพื้นที่สีเขียว สมองส่วนที่เชื่อมโยงกับภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลทำงานลดลง ยิ่งไปกว่านั้นการออกกำลังกายในพื้นที่ธรรมชาติยังเกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มขึ้นของการยอมรับนับถือตนเองและมีอารมณ์ดีขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อสถานการณ์ตอนนี้ไม่เอื้ออำนวยให้บึ่งรถไปเขาใหญ่หรือขึ้นเครื่องบินไปดอยอินทนนท์ นักวิจัยจะว่ายังไงเรื่องนี้? งานวิจัยที่ชื่อ Principles of Neural Science หาคำตอบรอไว้ให้แล้ว โดยสรุปนั้นแม้เราจะไม่ได้ไปเดินป่าจริง ๆ ไม่ได้ไปดื่มด่ำธรรมชาติของแท้ แต่การได้ดูภาพของต้นไม้หรือป่าอันอุดมสมบูรณ์ผ่านหน้าจอก็ช่วยส่งเสริมระบบประสาทส่วนกลางที่ส่งผลทำให้เกิดความสงบได้ ดังนั้นแม้เราจะพากายหยาบออกไปท่องโลกกว้างไม่ได้ แต่มั่นใจได้เลยว่าด้วยตาสองดวง และหนึ่งสมองที่เต็มไปด้วยจินตนาการของเรา
การออกแบบที่ดี ต้องมีทั้งความคิดสร้างสรรค์และสามารถใช้งานเพื่อยกระดับชีวิตให้ดีขึ้น นี่คือไอเดียที่ Eisuke Tachikawa ดีไซน์เนอร์ชาวญี่ปุ่นผู้ก่อตั้ง ‘Nosigner’ platform ที่มี Vision ชัดเจนในการออกแบบเพื่ออนาคตที่ดีกว่า ในสถานการณ์ที่หลายประเทศขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันตัวเองจากไวรัส SARS-CoV-2 อย่างหนัก เนื่องจากหน้ากากทางการแพทย์ต้องส่งไปให้บุคลากรแถวหน้าเช่น หมอ พยาบาล ในการรักษาผู้ป่วย Coronavirus ประชาชนปกติอย่างพวกเราที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า สามารถเลือกใช้หน้ากากผ้าหรือ Face Shields ที่มีความปลอดภัยรองลงมาได้ จึงเป็นหน้าที่ของ Designer หลายคนต่างระดมสมองเพื่อหาสารพัดวิธีในการออกแบบหน้ากากต่าง ๆ ออกมา ไอเดียล่าสุดที่เราหยิบมานำเสนอของ Eisuke Tachikawa นับเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีสำหรับทั้งพวกเราและเจ้าหน้าที่ที่ต้องการ Face Shields แบบเร่งด่วนและทำได้ง่าย โดยการแจก template ให้เอาไป DIY กันอย่างง่ายดาย เพียงแค่ใช้แฟ้มเอกสารและกรรไกร ตัดตามรอยเส้นที่ระบุเอาไว้ก็เรียบร้อยภายใน 1 นาที เข้าไป download template แบบ high-resolution ได้ที่ NOSIGNER GG
ถ้ายังวิ่งแบบเดิม ๆ อยู่ เราจะเป็นได้แค่กระต่ายที่รอวันเต่าวิ่งแซง ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกวันนี้การไล่ตามเทคโนโลยีให้ทัน ไม่ว่าจะอยู่ในสาขาหรือสายงานอะไรก็ถือเป็นเรื่องจำเป็นด้วยกันทั้งนั้น อธิบายง่าย ๆ ว่า “เทคโนโลยี” เข้ามาเป็นอีกสกิลที่ทำให้ทำงานได้ดี มีโอกาสมากกว่าคนอื่นและเป็นโอกาสที่สร้างได้จากทั่วทุกมุมโลกไม่ต่างจากสกิลด้านภาษาที่เราทุกคนให้คุณค่ากับมัน Bernard Mar นักกลยุทธ์ธุรกิจและนักเขียน Best Seller ผู้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับ Big Data ได้สรุปเทรนด์ของเทคโนโลยี 25 ตัวที่น่าจับตามองภายในปี 2020 นี้ไว้ หลายสกิลเราได้ยินชื่อของมันมานานหลายปี ลองมาสำรวจว่าคุณรู้จักอะไรกันบ้างและจะใช้สกิลเหล่านั้นประยุกต์กับสิ่งที่ทำอยู่ได้อย่างไร Wearables and augmented humans อุปกรณ์สวมใส่เพื่อเติมเต็มชีวิตมนุษย์ แม้จะไม่น่าเชื่อว่าวันหนึ่งเราจะสวมเทคโนโลยีบางอย่างติดตัวแล้วเชื่อใจมันจนไม่ต้องไปหาเทรนเนอร์หรือหมอ หันมาเฝ้าติดตามสุขภาพร่างกายเราแต่ละวันผ่านอุปกรณ์เล็ก ๆ นี้แทน ทั้งจำนวนก้าวเดิน ชีพจรของตัวเอง รวมทั้งไว้ใจให้มันทำหน้าที่บังคับเรากลาย ๆ เพื่อสร้างสุขภาพดี ๆ แต่สิ่งนี้ก็เกิดขึ้นแล้วและน่าจะติดเทรนด์ไปยาว ๆ ในปีนี้ ถ้ามองตัวเลขจากยอดของ Smart Watch ที่จำหน่ายในตลาด ไม่ว่าจะเป็นค่าย Apple หรือ Samsung คงทำให้เห็นว่าผู้คนกำลังให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีชิ้นนี้ขนาดไหน
ถ้าให้เลือกได้ เราก็คงเลือกไม่ให้วิกฤต COVID-19 เกิดขึ้นบนโลกใบนี้เลย แต่เมื่อเราเลือกไม่ได้และยังพอมีเวลาเหลือให้เลือกทำอะไรอยู่บ้าง “การเรียนภาษา” ยังถือเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ที่ไม่ว่าสถานการณ์รอบตัวจะเป็นอย่างไร การสื่อสารได้มากกว่า 1 ภาษาก็มักจะทำให้เราก้าวไปข้างหน้าอยู่หนึ่งก้าวได้เสมอ คนเหงา คนเศร้า คนเครียด หรือคนที่กลัวว่าวันข้างหน้าการงานที่ทำอยู่จะมั่นคงไหม อย่าปล่อยเวลาให้หมดไปกับความรู้สึกเหล่านั้น รวบรวมพลังมาเรียนภาษาไปด้วยกัน เพราะคอร์สเรียนภาษาเหล่านี้ไม่เพียงแค่ออนไลน์เรียนจากที่ไหนก็ได้ในโลก แต่ยังฟรี แถมได้เรียนจากมหาวิทยาลัยและสถาบันชั้นนำอีกด้วย ภาษาอังกฤษ กับมหาวิทยาลัยมหิดล แม้ภาษาอังกฤษออนไลน์ที่ฟรีนั้นจะหาเรียนไม่ได้ยากมากนัก แต่การเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ที่ฟรีกับมหาวิทยาลัยเบอร์ต้น ๆ ของประเทศคงไม่ได้มีมาให้กันบ่อย ๆ เราจึงไม่อยากให้ใครพลาดโอกาสดี ๆ ที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดคอร์ส “Listening and Speaking for Communication” ที่จะมาสอนเรื่องการสื่อสารทั้งฟังและพูกภาษาอังกฤษแบบเน้น ๆ เหมาะกับใครที่กล้า ๆ กลัว ๆ อยู่นาน อยากพูดได้ ฟังได้ แต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน เห็นแกรมมาร์แล้วก็สยองขวัญ คอร์สนี้จะเน้นไปที่สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน เน้นการสนทนา ไปจนถึงการดูบริบทรอบ ๆ การตีความ