FASHION

คุยกับเจ้าของตู้เซฟทองคำที่มีรองเท้า Sneakers Boutique แห่งเดียวในประเทศไทย

By: Thada November 8, 2016

เมื่อกระแสเทรนด์ปัจจุบันที่ผู้คนหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการใส่รองเท้าผ้าใบกันอย่างแพร่หลาย  ทำให้ร้านรองเท้าในเมืองไทยเกิดขึ้นพร้อมกันทีเดียวมากมายเต็มไปหมด แต่ร้านส่วนใหญ่กลับไม่ได้มีความแตกต่างกันสักเท่าไหร่ เพราะจะเน้นขายรองเท้ารุ่น Hype ทั่วไป พร้อมแซมรุ่น Resell ที่สามารถทำกำไรได้เข้าไปด้วย จึงทำให้ทุกร้านมีของขายเหมือนกันหมด

แต่มีอยู่ร้านหนึ่งที่ฉีกกระแส นำเสนอความเป็น Underground ด้วยคอนเซ็ปต์ Sneaker Boutique เลือกนำเข้ารองเท้าที่ไม่ได้อยู่ในกระแส และไม่สามารถหาซื้อได้ตามช้อปทั่วไปมาขาย นั่นคือ ร้าน 24 Kilates ที่มีสาขาแรกอยู่ไกลถึงเมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน และอีกสาขาในประเทศไทยเท่านั้น ซึ่ง UNLOCKMEN  เคยมีโอกาสได้มาเยือนที่ร้านนี้แล้วครั้งหนึ่ง บังเอิญมีโอกาสได้คุยกับเจ้าของร้าน 24 Kilates คือ คุณ ตี้ จิรพงศ์ สภาคกุล จึงได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่เป็นมุมมองใหม่ๆ ที่น่าสนใจ จนอยากแชร์ให้กับชาว UNLOCKMEN ได้รับรู้กัน ทำให้วันนี้เราต้องกลับมาที่ร้าน 24 Kilates อีกครั้งเพื่อพูดคุยเรื่องราวที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านที่สนใจในเรื่องของ Sneaker รวมถึงแนวคิดในการทำธุรกิจอีกด้วย

dsc_2177
เราทราบว่าคุณ ตี้ เคยเป็นดีเจมาก่อน ดังนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องไหมที่ทำให้หันมาสนใจเรื่องรองเท้า  ?

messageimage_1477650581130

ผมว่ามันเป็น Lifestyle มากกว่า แฟชั่นสตรีทแวร์ มันเป็นอะไรที่เกี่ยวกับทุก Element ในชีวิตอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ดีเจ  สเก็ตบอร์ด หรืออื่นๆ เมื่อก่อนผมก็เล่นสเก็ตบอร์ดแต่เล่นไม่เก่งเท่าไหร่เลยเลิกเล่น และเผอิญเป็นคนชอบฟังเพลงตั้งแต่เด็ก จึงเลือกมาเดินทางสายนี้ ผมมี Turntable ตัวแรกตั้งแต่ ป.6 จากนั้นผมก็เริ่มฝึกเล่นมาเรื่อยๆ ไลฟ์สไตล์ของเสื้อผ้ากับเพลง มันเป็นอะไรที่สามารถเชื่อมเข้าด้วยกัน จะบอกว่ามีส่วนก็คงใช่ แต่ตัวผมไม่ได้เป็นคนอินกับรองเท้าที่ Hype มากๆ  เพราะยิ่งรองเท้าที่เป็นที่นิยม จะมีคนใส่เยอะ ผมเป็นคนชอบอะไรไม่เหมือนใคร ทำให้ผมจะเลือกเฉพาะคู่ที่คิดว่าสวยจริงๆ

ช่วยเล่าประสบการณ์สมัยที่เป็นดีเจ ถึงความแตกต่างระหว่างดีเจในอดีตกับปัจจุบันให้เราฟังหน่อย ?

messageimage_1477650645503
เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว ดีเจแต่ละคนในสมัยนั้น จะเล่นแนวเพลงแบบเจาะลึก ถ้าชอบแนวไหนก็จะไปสุดเลย เพราะแนวเพลงที่เรียกว่าอิเล็คทรอนิกส์นั้นกว้างมาก อย่าง House ก็แบ่งเป็น Deep House ลงไปได้อีก แต่ละคนก็จะเก่งเฉพาะทางกันไปเลย อย่างเช่น ถ้าอยากฟังเพลงแนวนี้ ต้องไปฟังกับดีเจคนนี้เท่านั้น และเวลาจะมิกซ์เพลง มันยังไม่มีระบบ Automate ต้องใช้หูในการฟังอย่างเดียว

ซึ่งต่างจากสมัยนี้ อาจเพราะด้วยเทคโนโลยีที่กว้างขึ้น จึงทำให้เข้าถึงได้ง่าย ทุกอย่างเป็นระบบดิจิตอลหมด หากคุณไม่ได้ต้องการจะเป็นสกิลดีเจ ไม่จำเป็นต้องเสียเงินไปเรียนด้วยซ้ำ เพียงคุณสามารถเรียนรู้พื้นฐานได้ง่ายๆจากยูทูป ก็สามารถเป็นดีเจได้แล้ว รวมถึงทุกคนจะเหมารวมหมดว่าดีเจสมัยนี้จะเป็นดีเจ EDM ไปหมด ซึ่งเหมือนกับ รถยนต์ อะไรเป็นสี่ล้อก็จะเป็นรถยนต์ทั้งหมด แต่รถยนตร์ก็มีหลายประเภทเช่นเดียวกับดนตรีแนว EDM มันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย คือเราทำอะไรกันได้ง่ายขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความสนุกที่ลดน้อยลง

แล้วคุณตี้ เปิดเพลงแนวไหน

1456670_592952317425569_1291745406_n

ตอนแรกผมเปิดเพลง Hiphop , House แต่ตัวผมเองเป็นคนที่ชอบทำอะไรแตกต่าง อยากหาอะไรเพื่อเป็น Unique ของเราเอง มีวันหนึ่งผมไปร้านแผ่นเสียงที่อังกฤษ ในร้านเปิดเพลง Brazilian drum and bass ผมเดินไปถามที่ร้านว่าเปิดเพลงอะไร ผมรู้สึกว่ามันโคตรเจ๋ง หลังจากนั้นผมจึงเลิกเล่น House และหันมาเล่น drum and bass ที่มีความเป็น Jazzy มาตลอด

หลังจากเป็นดีเจ ได้มาทำร้าน 24 Kilates เลยหรือเปล่า?

หลังๆ ผมเริ่มรู้สึกว่าตัวเองอายุมากขึ้นแล้ว ไลฟ์สไตล์ในการเป็นดีเจมันค่อนข้างหนัก เลยอยากหันมาทำธุรกิจอื่นดูบ้าง ซึ่งบอกก่อนเลยว่าผมเคยทำธุรกิจมาเยอะพอสมควร ส่วนใหญ่ธุรกิจที่ทำ จะเริ่มจากการที่ผมเป็นลูกค้ามาก่อนทั้งนั้น ทุกร้านที่ผมไปเป็นลูกค้า ผมจะรู้สึก ทำไมทำได้แค่นี้เองหรอ  มันน่าจะทำได้ดีกว่านี้ เราเลยเลือกที่จะลองทำเอง ก็มีเปิดร้านแผ่นเสียง ร้าน BBGun เปิดผับ ซึ่งแต่ละธุรกิจมันก็ประสบความสำเร็จในช่วงเวลาของมัน แต่พอหมดเทรนด์ ผมก็หันไปทำธุรกิจอย่างอื่นต่อไป

อย่างตอนทำร้านแผ่นเสียงมันเป็นยุคที่มี MP3 เข้ามา และร้านโดนเวนที่คืนจากสยามพอดี ทำให้เราต้องเลือกระหว่างทำต่อหรือจะเลิก หากทำต่อเราต้องยกระดับตัวเอง ซึ่งเราไม่ได้มีเงินทุนขนาดบริษัทใหญ่ๆ จึงเลือกเก็บไว้เพียง สตูดิโออัดเพลง กับ โรงเรียนสอนดนตรี

อะไรคือจุดเริ่มต้นของร้าน 24 Kilates?

dsc_2205
มันประจวบเหมาะตอนที่ผมเปิดโรงเรียนสอนดีเจ ผมได้มาเจอ Pol กับ Ricky เขามาสมัครเรียนดีเจกับผม แล้วเกิดมีไลฟ์สไตล์ความชอบที่ตรงกัน เลยเป็นเพื่อนกัน จากนั้นเวลา Pol มาไทยก็จะขนรองเท้ามาให้ผมที ตอนนั้นผมก็ไม่ได้สนใจอะไรมากมาย ยังบอกด้วยว่ารองเท้าอะไรหน้าตาน่าเกลียด อยู่มาเรื่อยๆ จนสนิทกันมากขึ้น Pol ก็มาชวนผมทำร้านรองเท้า เพราะชอบเมืองไทย แต่ไม่ไว้ใจใคร ส่วนผมไม่ชอบทำงานหุ้นส่วนกับใคร ก็เลยทำให้ตัวผมคิดหนัก พอสมควร

หลังจากนั้นเลยลองสำรวจตลาดกันก่อน ตอนนั้นเป็นช่วงที่วงการ sneaker ไม่ได้รับความนิยม เพราะช่วงนั้นเทรนด์วินเทจกำลังมาแรง และในบ้านเรามีเรื่องการเมืองเยอะ ผมกับ Pol เลยเบรคไว้ก่อน แล้วจึงค่อยมาเดินหน้าเต็มตัวในปี 2014

ร้าน 24 Kilates สาขา บาร์เซโลน่า กับ กรุงเทพ แตกต่างอย่างไร?

img572a059000878

24 Kilates สาขา บาร์เซโลน่า

dsc_2239

24 Kilates สาขา กรุงเทพ

เริ่มจากองค์กรเราเป็น Family Business พนักงานทุกคนเป็นเพื่อนกันหมดไม่ว่าจะเป็นพนักงานบัญชี คนขาย หรือแม้แต่เจ้าของ หลังเลิกงานเราสามารถไปเที่ยวด้วยกันได้หมด เหมือนกันทั้งสองสาขา ถ้าพูดถึงตัวสินค้าก็จะมีความเหมือนกัน แต่คอนเซ็ปต์ในการตกแต่งร้านจะแตกต่างกันออกไป

ถ้าอย่างนั้นเราขอทราบคอนเซ็ปของร้าน 24 Kilates สาขา กรุงเทพ?

dsc_2139
อย่างที่ผมเคยเกริ่นตอนแรก ช่วงที่ผมเป็นดีเจ ความสนุกของการเป็นดีเจอย่างหนึ่งคือการเดินเข้าร้านแผ่นเสียง และเลือก โดยที่เราไม่รู้เลยว่าเราจะเจอกับเพลงอะไร ผมชอบโมเม้นต์ตรงนั้นจึงนำมาทำกับร้าน 24 Kilates สาขากรุงเทพ ที่เป็นคอนเซ็ป Boutique Sneakers Store เราไม่ได้ต้องการเปิดในห้าง ขยายสาขาใหญ่โต จึงเลือกมาเปิดเป็น Store ของตัวเอง เพราะผมคิดว่า ถ้าเราจะไปกินของอร่อย ต่อให้อยู่ที่ไหน เราก็สามารถตามไปได้ทุกที่

เนื่องจากร้านเราไม่ได้อยู่ในเมือง การเดินทางมาจึงยากหน่อย เราอยากมอบประสบการณ์ดีๆ กลับไป เราเลยมาคิดต่อว่า เฮ้ย รองเท้าเราเป็น Limited ทุกคู่มันมีคุณค่านะ จึงน่าจะทำ Theme เหมือนแบงค์ที่ไว้เก็บของมีค่า จึงดีไซน์เป็นตู้นิรภัย เมื่อคุณเดินเข้าร้านมาในร้าน แต่ละครั้งต้องใช้เวลาในการค่อยๆเปิดทีละตู้ เลือกดู และทุกทีที่กลับมาคุณจะเจอสินค้าไม่เหมือนเดิม  จะมีสินค้าใหม่ๆ มาเซอร์ไพรส์ตลอดเวลา เพราะบางทีทางร้านไม่ได้ลงขายแบบ Online หรือโปรโมตทางโซเชียล เราจึงอยากให้ลูกค้าสนุกกับการช้อปปิ้ง ไม่ใช่การเดินเข้าร้านรองเท้าที่เรารู้อยู่แล้วว่าในร้านขายอะไรบ้าง แบบนั้นผมรู้สึกว่ามันไม่สนุก

จุดเด่นอีกอย่างนอกเหนือจาก Boutique Sneakers คือการ Collab ระหว่างร้านกับแบรนด์รองเท้าพอจะเล่าขั้นตอนการจะดีไซน์รองเท้าออกมาสักคู่ได้ไหม?

dsc_2215

เราจะมี Backup แพลนอยู่ในหัวก่อน ถ้าสังเกตุ Collab ของร้านเราดีๆ จะอ้างอิงกับไลฟ์สไตล์เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกิน เที่ยว ดื่ม กีฬา วัฒนธรรม อย่างรุ่นรองเท้าของสเปนสมัยก่อนจะอิงกับวัฒนธรรมของเมือง Barcelona หรือตัวหนึ่งที่ผมเคยคิด ผมได้แรงบันดาลใจจากขวดเหล้ายี่ห้อหนึ่ง จากนั้นก็มานั่งคิดกัน จนได้เป็น Theme และต่อยอดว่า Theme นี้เหมาะกับรองเท้าอะไร แล้วเราก็ติดต่อไปที่แบรนด์รองเท้าถึงความเป็นไปได้ จากนั้นเราก็จะมีทีมดีไซน์ที่แปลงความคิดของเราให้ออกมาเป็นกราฟฟิคต่อไป รับรองได้ว่า 100% ของรองเท้าที่ออกมาเป็นความคิดของร้านเราหมด ทำให้มีทั้งประสบความสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง แต่บางร้าน หลายคนอาจจะไม่รู้ เพราะเขาจ้างเอเจนซี่เป็นคนออกแบบให้ทั้งหมด

พอจะใบ้ถึง Collab ตัวต่อไปของร้านได้ไหม?

จะมีวางขายในเดือนธันวาคม ซึ่งผมมองว่ามันจะต้องประสบความสำเร็จมาก เป็นการร่วมงานกันระหว่าง 3 แบรนด์ได้แก่ 24 Kilates , X-Large , Diadora จะ Exclusive เฉพาะร้าน 24 Kilates ทั้งสองสาขา และ X-Large ในญี่ปุ่นเท่านั้น

หลายคนคิดว่าเปิดร้านรองเท้า จะได้สิทธิ์พิเศษ Backdoor รองเท้ารุ่น Limited ก่อน?

dsc_2181
เชื่อปะว่าผมไม่มีรองเท้ารุ่น Hype เลยสักคู่ บางทีมีคนบอก พี่เป็นเจ้าของร้านรองเท้าไม่มีคู่นี้ได้ไง คือนิสัยส่วนตัวผมชอบอะไรที่แตกต่างอยู่แล้ว ผมชอบรองเท้า แต่ไม่ได้เป็นนักสะสมรองเท้า ผมจะเก็บเฉพาะรองเท้าที่เป็น Collab ของร้าน แล้วก็รองเท้ารุ่นคลาสสิคที่เป็นสี OG เท่านั้น ผมมีรองเท้ากี่คู่ก็ขายหมด ไม่มีการเก็บไว้เก็งราคา ผมจะแฮปปี้มากกว่า ถ้ารองเท้าพวกนี้ไปอยู่กับคนที่อยากได้มันจริงๆ

ในฐานะที่เป็นเจ้าของร้านรองเท้ามี ยี่ห้อ/รุ่นไหนที่ชอบเป็นพิเศษที่อยากจะแนะนำ?

 

161108-24-1

Reebok Insta Pump Fury / Diadora / Asics Gel Lyte 2

ถ้ารองเท้าที่ผมชอบเป็นการส่วนตัวคือ Asic Lyte Gel 3 เพราะพื้นมันใส่แล้วเดินสบาย เวลาไปเดินไกลมันไม่เมื่อย อีกรุ่นที่ชอบคือ Reebok Insta pump fury อันนี้เป็นเรื่องของรูปทรงโดยเฉพาะ เพราผมคิดว่ารองเท้าอะไรดีไซน์มา 20 ปีแล้ว แต่ทุกวันนี้ยังดูล้ำ อวกาศมาก สุดท้ายคือ Diadora เพราะคุณภาพรองเท้าเขาดีจริงๆ การตัดเย็บ แม้ราคามันจะดูสูงทั้งที่ไม่ได้เป็นรองเท้าในกระแส แต่คุณจ่ายเงินเพื่อแลกกับคุณภาพกลับมา

สุดท้ายนี้หลังจากคุยกับคุณ ตี้ ทำให้เรารู้ว่า คุณ ตี้ เป็นคนที่ผ่านการทำงานมาเยอะมาก เราอยากให้ฝากแนวคิดในการทำธุรกิจเพื่อจะเป็นประโยชน์กับชาว UNLOCKMEN ที่คิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจเป็นของตัวเอง?

dsc_2247

สมัยก่อนผมเป็นคนทำอะไรแล้วต้องทำให้สุด และยึดคติ ทำเอามันส์ ซึ่งคำนี้ทำให้ผมเจ็บมาเยอะ อย่างเช่นเมื่อก่อน ผมเป็นคนแรกๆ ที่มีการ Booking ดีเจมาจัดปาร์ตี้ขายบัตร บางงานแทบไม่มีคนเลยด้วยซ้ำ แต่ผมรู้สึกว่าผมชอบ และอยากทำ ทุกงานที่ผมเลิกทำไม่ใช่เพราะว่ามันเจ๊งจนไม่สามารถทำเงินได้ แต่ผมมักจะเจอทางเลือกเสมอ และมักจะเป็นสิ่งใหม่ที่ท้าทาย

ผมคิดว่าชีวิตคนเราเกิดมาครั้งเดียว ควรเลือกทำอะไรหลายๆอย่าง เพื่อเติมเต็มให้กับชีวิต Motivation ในการทำงานเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ต่อให้เราได้เงินมาก แต่มันไม่สนุก คุณก็จะไม่มีความสุขกับชีวิตของตัวเอง เพราะฉะนั้นต้องวิเคราะห์ให้ดีเสียก่อนจะทำอะไร พออายุมากขึ้นเรื่องปากท้องจึงเป็นเรื่องสำคัญมากดังนั้นเวลาจะเริ่มทำธุรกิจอาจจะต้องคิดให้รอบคอบขึ้น อย่างเช่นร้าน 24  Kilates เรามองถึงสเกล ความเป็นไปได้ เราจึงเลือกทำ

dsc_2160
ซึ่งต้องขอขอบคุณ คุณ ตี้ จิรพงศ์ สภาคกุล เจ้าของร้าน 24 Kilates ที่มาแชร์ประสบการณ์ดีๆ ข้อคิด และถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาก่อนจะมาเป็นร้าน Underground Sneakers สุดเจ๋งแห่งหนึ่งในประเทศไทย รวมถึง เอื้อเฟื้อสถานที่ให้ทีมงานได้มาเยี่ยมชม ถ้าหากชาว UNLOCKMEN คนไหนสนใจอยากมาชมร้านตู้นิรภัยทองคำด้วยตัวเองก็สามารถเดินทางมาได้ที่ ซอย รามคำแหง 24 แยก 20 ซอย 13 เปิดให้บริการตั้งแต่ 12.00 – 20.00 น. หรือสามารถโทรศัพท์ไปสอบถามที่ 089-333-2424 หรือถ้าไม่สะดวกสามารถสั่ง Online ได้ที่เว็ปไซต์ 24 Kts

dsc_2243

jsk_9525

dsc_2236

dsc_2223

dsc_2212

 

Thada
WRITER: Thada
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line