บนโลกออนไลน์ไวรัลมีมยังคงทำงานอย่างไม่หยุดหย่อน บางครั้งก็เกาะกระแสสถานการณ์โลกไปเรื่อย ๆ หรือบางทีก็เกิดขึ้นอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ยแล้วแพร่กระจายออกไป ไม่เว้นแม้แต่ช่วงโควิด-19 เพราะช่วงนี้ถือเป็นช่วงที่หลายคนมีโอกาสอยู่บ้านและไถฟีดในโลกออนไลน์มากกว่าปกติจึงอาจเห็นมีมแปลก ๆ สร้างสรรค์ไม่เว้นแต่ละวัน “Safety Match” หรือมีมไม้ขีดไม่โดนเผา แอนิเมชันสั้น ๆ เพื่ออธิบายความหมายของ Social Distance คือหนึ่งในไวรัลที่เกิดขึ้นและแชร์กันไวบนโลกออนไลน์ หลายคนชื่นชมเพราะการอธิบายด้วยภาพ ทำให้เข้าใจได้ง่าย ว่าการทำ Social Distance มันมีประโยชน์อย่างไรในชีวิตจริง ลดความเสียหายได้มากมายขนาดไหน และถ้าเราทุกคนทำ Social Distance เช่นนี้วงจรการติดเชื้อจะลดลงได้อย่างรวดเร็ว สิ่งที่หลายคนอาจยังไม่รู้คือ งานนี้ถ่ายทำรวมตัดเสร็จภายใน 1 วัน ใช้ iPhone เป็นอุปกรณ์ถ่ายทำทั้งภาพและเสียง สร้างและจบงานใน Adobe Premiere สำหรับใครที่ยังไม่เคยเห็นลองมาดูอีกครั้งพร้อม ๆ กัน งานนี้ใครออกแบบ Juan Delcan และ Valentina Izaguirre 2 สามีภรรยาคือศิลปินเจ้าของผลงานการออกแบบแอนิเมชัน “Safety Match” โดย Izaguirre ทำหน้าที่ออกแบบฉาก ส่วน Declan
ถ้าเลือกได้ เราเชื่อว่าไม่มีใครต้องการให้ชีวิตตกอยู่ในสถานการณ์อันยากลำบาก แต่เพราะชีวิตไม่ได้อยู่ในมือเราเสมอไป เราจึงต้องเผชิญสิ่งที่ไม่เป็นไปอย่างใจหวัง โดยเฉพาะห้วงเวลาที่วิกฤตไวรัสส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน ต่อความเครียด และสภาพเศรษฐกิจ UNLOCKMEN เข้าใจดีว่าทุกคนกำลังเผชิญความท้าทายครั้งสำคัญ เราเองก็อยากอยู่ตรงนี้ข้าง ๆ คุณเพื่อบอกว่าต่อให้ “ชีวิตมันเศร้า แต่เราจะไม่ยอมแพ้” เราจะผ่านมันไปด้วยกัน และถ้าแค่คำพูดมันไม่เพียงพอ เราอยากชวนดูหนัง 5 เรื่องที่จะให้เข้าใจความหมายของการ “ไม่ยอมจำนนต่อโชคชะตา” เพราะเหนือสิ่งอื่นใด ในบางชั่วขณะของชีวิต เราต้องหาบ่อน้ำแห่งความหวังมาปลอบโยนหัวใจที่กำลังเหนื่อยล้าไว้บ้าง และเราหวังว่าหนัง 5 เรื่องนี้จะช่วยให้หัวใจของทุกคนมีเรี่ยวมีแรงขึ้นมาได้บ้าง Unbroken ถ้าคุณเชื่อว่าชีวิตคือกราฟ ลงสุด และขึ้นสุดได้จากการไม่ยอมแพ้เพียงหนึ่งครั้ง คุณอาจต้องคิดใหม่ Unbroken คือหนังที่สร้างจากเค้าโครงชีวิตของหลุยส์ ลูอี้ แซมเพอรินี มนุษย์ผู้เริ่มจากศูนย์ พุ่งทะยานสู่จุดสูงสุด ก่อนจะร่วงหล่น ทุกข์ทรมาน แล้วทะยานขึ้นไปได้ใหม่ เพราะหัวใจนักสู้ของเขาที่ไม่เคยหมดหวังที่จะก้าวสู่วันที่ดีกว่า หนังเล่าเรื่องราวของ หลุยส์ ลูอี้ แซมเพอรินี ตั้งแต่วัยเด็กที่มีพื้นเพเป็นผู้อพยพ และใช้ชีวิตแบบไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ลักเล็กขโมยน้อย จนกระทั่งเขาพบความฝันยิ่งใหญ่แห่งชีวิตคือการเป็นนักวิ่งลมกรด เขาไม่ฝันเปล่า ๆ แต่พยายามและไม่ยอมแพ้ จนเป็นนักกีฬาโอลิมปิกที่คว้าชัยชนะและทำให้ผู้คนทั่วโลกประหลาดใจในความสามารถเขามาแล้ว แต่กราฟชีวิตที่พุ่งสูงไม่ได้การันตีว่าชีวิตจะมีความสุขตลอดไปเช่นในนิทาน
หากใครได้เรียนประวัติศาสตร์หรือดูภาพยนตร์ต่างประเทศอยู่บ่อย ๆ จะต้องเห็นความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่คนผิวดำเจอมาตลอด เราเห็นการเหยียดสีผิวผ่านหนัง ได้ยินเรื่องเล่าการเดินทางอันแสนทรหดของทาสที่ถูกล่าอาณานิคม และสุดท้ายก่อให้เกิดการต่อสู้เพื่ออิสรภาพที่ทำให้รู้ว่าคนผิวดำถูกพวกคนขาวกดขี่มาตลอด ภาพยนตร์ที่เราดูมักมีเรื่องราวจากโลกคู่ขนาน เห็นง่าย ๆ จากหนังซูเปอร์ฮีโร่ Marvel มีมหานครนิวยอร์กเหมือนโลกแห่งความจริง มีระบบการปกครองไม่ผิดเพี้ยนจากเรา ต่างก็เพียงมียอดมนุษย์คอยพิทักษ์โลก มีมนุษย์ต่างดาวจ้องทำลายล้างโลก และมีชาวแอฟริกันผู้กุมเทคโนโลยีล้ำยุคหลบซ่อนอยู่ในเมืองลับแลไกลจากสายตาของชาวโลก UNLOCKMEN เจอซีรีส์ที่มีเนื้อเรื่องน่าสนใจไม่น้อย โดย Noughts + Crosses (2020) ดัดแปลงมาจากนวนิยายชุด Noughts & Crosses ของ Malorie Blackmen ที่ขอให้ผู้ชมลืมประวัติศาสตร์แบบเดิมที่เคยร่ำเรียนกันมาให้หมดสิ้น เพราะเรื่องราวของโลกในนี้จะถูกเขียนโดยคนแอฟริกันพื้นเมืองที่ได้เปรียบทางด้านกำลังคน การศึกษา และเทคโนโลยีที่เหนือกว่าพวกคนขาว ชาวผิวดำเข้มแข็งจนสามารถล่าอาณานิคมคนขาวยึดยุโรปให้อยู่ภายใต้การดูแลของตัวเองได้สำเร็จ โลกอีกใบคนขาวกลายเป็นทาสแรงงาน ถูกเหยียดหยามโดนกดภายใต้คนผิวดำ เรื่องราวในซีรีส์จะเล่าว่าคนแอฟริกันครองโลกมานับร้อยปี และสังคมปัจจุบันได้เลิกทาสไปเรียบร้อยแล้ว แม้กฎหมายแรงงานไม่เป็นธรรมจะถูกลบไปจากหน้าประวัติศาสตร์ แต่การเหยียดผิว ความไม่เท่าเทียม การแบ่งแยกชนชั้นด้วยสีผิวก็ยังคงอยู่ เราจะเห็นเด็กเสิร์ฟในงานรื่นเริง คนงาน คนสวน พลทหารชั้นผู้น้อยล้วนเป็นคนขาว ส่วนผู้ดีมีการศึกษาหรือทหารยศนายพลล้วนเป็นชาวแอฟริกัน ชาวพื้นเมืองของอังกฤษในโลก Noughts + Crosses จะถูกเรียกว่า Noughts ไม่ได้ถูกเรียกว่า ‘ผู้ดีอังกฤษ’ เหมือนโลกของผู้ชม
เรือนจำคือสถานที่ไม่น่าอภิรมย์ ไร้อิสรภาพ ต้องถูกจองจำอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการมีชีวิต ไม่ว่ายุคสมัยไหนคุกก็ไม่ใช่สิ่งดี คนส่วนใหญ่ถ้าเลือกได้ก็ไม่อยากก้าวเท้าเข้าไปในสถานที่ที่มีแต่ความทุกข์และความตึงเครียด แถมเรื่องราวชีวิตของคนคุกก็ถูกถ่ายทอดออกมาให้เห็นอยู่บ่อยครั้งผ่านสารคดี ซีรีส์ และภาพยนตร์ แต่เราเชื่อว่าคงไม่มีใครเคยทำหนังเรือนจำแนวตั้งที่แบ่งแยกชนชั้นแบบสุดโต่งอย่างเรื่อง The Platform (2020) THE PLATFORM The Platform (2020) ภาพยนตร์สัญชาติสเปนที่จะฉายทาง Netflix เล่าเรื่องราวของคุกไม่ซ้ำใคร ผ่านชายหนุ่มคนหนึ่งผู้ตื่นขึ้นมาในสถานที่ประหลาดมีแต่กำแพงสีเทา ไร้ประตู ไร้หน้าต่าง ไม่มีทางออก มีเพียงช่องสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่เป็นรูอยู่กลางห้อง และชายแปลกหน้านั่งหมดอาลัยตายอยากอยู่อีกฝั่งของห้อง จนเขาได้รู้ว่าตัวเองอยู่ในคุกประหลาดสูง 33 ชั้น ที่จะแบ่งนักโทษออกเป็นห้องละ 2 คน โลกของ The Platform อาจไม่เหมือนกับโลกที่เราอาศัยอยู่ในปัจจุบัน มันอาจโหดร้ายกว่า บิดเบี้ยวกว่า ดูได้จากระบบการจัดการเรือนจำที่ตัวเอกของเรื่องฟื้นขึ้นมา รูสี่เหลี่ยมตรงกลางห้องไม่ได้มีไว้เท่ ๆ หรือมีไว้ระบายอากาศเท่านั้น แต่เป็นช่องสำหรับขนส่งอาหารจำนวนมากมีทั้งคาวหวานและเหล้าชั้นเยี่ยมให้นักโทษได้ลิ้มรส แต่การกินนั้นแฝงไปด้วยความอยุติธรรม เพราะคนชั้นบน ๆ จะได้กินก่อน มีสิทธิเลือกอาหารที่ตัวเองอยากกินตามต้องการ จากนั้นไล่ระดับลงมาเรื่อย ๆ และคนอยู่ชั้นล่าง ๆ ก็ต้องกินของเหลือจากนักโทษชั้นสูงกว่า และในบางครั้งก็แทบไม่เหลืออะไรให้นักโทษชั้นล่างกินด้วยซ้ำ
ถ้าใครตามข่าวสังคมการเมืองอยู่ตลอดคงไม่พลาดข่าวเรื่อง 1MDB กันอย่างแน่นอน และทันทีที่เรื่องราวของกองทุนนี้ถูกจับจ้องจากทั่วโลก เราก็มีข่าวเกี่ยวกับ 1MDB ให้ตามอ่านไม่รู้จบ จนบางคนอาจสับสน ยิ่งอ่านยิ่งไม่เข้าใจ เราจึงอยากแนะนำภาพยนตร์สารคดีเรื่องหนึ่งที่อาจทำให้เรารู้จักกับกองทุนฉาวโลกของประเทศมาเลเซียกันมากขึ้น แถมยังเป็นแบบย่อยง่ายกว่าการอ่านข่าวจากสำนักข่าว “โจราธิปไตย” การโกงชาติครั้งใหญ่ของชนชั้นปกครอง ภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องกองทุน 1MDB หรือ 1Malaysia Development Berhad มีชื่อว่า The Kleptocrats (2018) แปลเป็นภาษาไทยอย่างตรงตัวว่า “โจราธิปไตย” การฉ้อราษฎร์บังหลวงของนักการเมือง ผู้มีอำนาจ และเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อเพิ่มทรัพย์สินและอำนาจให้ตัวเอง โดยแสร้งว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นคือความสุจริตเพื่อประชาชน ซึ่งโจราธิปไตยนี้มักปรากฏขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาที่ถูกปกครองโดยระบบอำนาจนิยม เรื่องราวสุดอื้อฉาวของกองทุนความมั่นคงแห่งชาติของประเทศมาเลเซียที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 2009 โดยรัฐบาลของนาจิบ ราซัก และกระทรวงการคลังคอยกำกับดูแล วัตถุประสงค์ของการตั้งกองทุนนี้คือเพื่อนำเงินมาพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศระยะยาว ทุ่มเงินไปกับอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจพลังงาน การท่องเที่ยวเพื่อสร้างกำไรกลับสู่ประเทศชาติ เดิมทีกองทุน 1MDB มีเงินตั้งต้นเพียง 7.5 ล้านบาท จากการกู้ยืมเงินของต่างประเทศโดยต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับประเทศเจ้าหนี้ แต่ตั้งมาเพียง 5 ปี กองทุนกลับมีเงินติดลบกว่า 5 พันล้านบาท โดยเหตุผลที่ทางรัฐบาลบอกกับประชาชนคือเพราะภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้กับต่างประเทศ ความไม่ชอบมาพากลนี้ทำให้หนังสือพิมพ์ชื่อดังของโลกอย่าง The
เท่าที่พอจำความได้มีวงดนตรีเพียงไม่กี่วงที่ถูกบรรจุในความทรงจำวัยเด็กของเรา และยังแน่วแน่ทำเพลงใหม่อย่างไม่เคยหมดมุขหรือเหน็ดเหนื่อยจนถึงปัจจุบัน แล้วคงพูดได้เต็มปากว่า ‘Scrubb’ (สครับ) เป็นหนึ่งในไม่กี่วงนั้น Scrubb คือวงดนตรีป๊อปร็อกอายุ 20 ปี ของ บอล – ต่อพงศ์ จันทบุบผา และ เมื่อย – ธวัชพนธ์ วงศ์บุญศิริ คู่หูต่างชั้นปีจากรั้วมหาวิทยาลัยเดียวกัน พวกเขาสร้างสรรค์ดนตรีหลากสไตล์ กลั่นกรองคำร้องและท่วงทำนองที่บางครั้งก็อบอุ่นฟังสบาย แต่บางทีก็ลึกซึ้งราวกับพาเราดำดิ่งไปสัมผัสอารมณ์โคตรเศร้าที่เป็นหนึ่งส่วนของความสัมพันธ์ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่โตมากับเพลงเธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ ฟังเพลงกลัวและผ่านไปแล้วตอนเศร้าหม่น เปิดเพลงใกล้และรอยยิ้มฟังเพลิน ๆ ตอนแอบชอบใครสักคน หรือเคยใช้เพลงคู่กัน คนนี้ และเข้ากันดีมอบให้แฟนคนใดคนหนึ่ง เราอยากให้คุณรู้จักและหลงรัก Scrubb อีกครั้ง ผ่านบทสนทนาของสองหนุ่มต่างสไตล์ที่โลดแล่นบนเส้นทางดนตรีมา 20 ปี ซึ่งสิ่งที่เหมือนกันและยังทำมาจนถึงทุกวันนี้คือ ‘การทำเพลง’ หลายคน ‘ยังอยากรู้’ ว่าจุดเริ่มต้นของ Scrubb เกิดขึ้นตอนไหน? เมื่อย: เราเจอกันในมหาวิทยาลัยศิลปากร อยู่ในชมรมดนตรีเหมือนกัน จนวันนึงอยากมีเพลงเป็นของตัวเอง เลยพยายามไปเสนอค่าย แต่ก็ไม่มีใครเอา (หัวเราะ) ก็เลยลองทำเพลงใต้ดินกันเอง มีเครื่องอัดสี่แทร็ก
ถ้าพูดถึงมังงะเรื่อง Rurouni Kenshin หรือชื่อภาษาไทยคุ้นตาอย่าง “ซามูไรพเนจร” เด็กผู้ชายส่วนใหญ่ก็ต้องร้องอ๋อกันแน่นอน เพราะผลงานจากปลายปากกาของอาจารย์วาสึกิ โนบุฮิโระ (Watsuki Nobuhiro) สามารถเข้าไปเป็นมังงะในดวงใจของใครหลายคนได้ง่ายดาย แถมยังโด่งดังจนถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ฉบับคนแสดงไปแล้วเมื่อปี 2012 ล่าสุดมีประกาศอัปเดตว่าเรื่องราวของโรนินจะถูกสร้างเป็นหนังอีกครั้งแถมยังวางกำหนดฉายออกมาสองภาคในปีเดียวอีกด้วย ก่อนจะมาเป็นภาพยนตร์แอกชันดวลเพลงดาบ แรกเริ่มเดิมทีซามูไรพเนจรเป็นมังงะที่เขียนลงในนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ Shonen Jump มาตั้งแต่ปี 1994 -1999 สามารถต่อยอดกลายเป็นแอนิเมชันออกฉายทางโทรทัศน์ญี่ปุ่นในปี 1996 พร้อมกับการเติบโตทั้งยอดขายและความนิยมจนสามารถมีภาพยนตร์ฉบับคนแสดงออกมาให้เราได้ดูกันเป็นครั้งในปี 2012 ตอนนี้ซามูไรพเนจรฉบับคนแสดงกลับมาอีกครั้งในปี 2020 โดยนำเรื่องราวจากตอน ‘ทัณฑ์มนุษย์ (Jinchu)’ ซึ่งเป็นพาร์ตสุดท้ายจากฉบับมังงะมาเล่าเรื่อง เผยให้เห็นการเผชิญหน้ากันระหว่างรูโรนิ เคนชิน (Rurouni Kenshin) อดีตซามูไรที่รับงานเป็นมือสังหาร กับ เอนิชิ โยกิชิโระ (Enishi Yukishiro) ศัตรูผู้แข็งแกร่งที่สุดของเคนชิน พวกเขามีปมแค้นกันมาก่อนและรอวันที่จะได้ฟาดฟันวิชาดาบใส่กัน ซามูไรพเนจรทั้งสองภาคที่เตรียมฉายในปี 2020 ไม่เพียงแต่ทำให้บอสใหญ่มาเจอกับตัวเอกของเรื่อง แต่ยังเล่าย้อนกลับไปยังช่วงที่เคนชินยังทำงานรับจ้างฆ่าคน เฉลยปมชีวิตว่าเขาไปได้บาดแผลใหญ่บนใบหน้ามาจากไหน และเพราะเหตุใดนักฆ่าสุดฝีมือเยี่ยมอย่างเขาถึงยอมทิ้งทุกอย่างและหันหลังให้กับวงการ ซาโต้ ทาเครุ (Satoh Takeru) กลับมารับบทเป็นรูโรนิน เคนชิน (Rurouni Kenshin) อีกครั้ง
เราสามารถเรียกบุรุษผู้ข่มเหงสตรีเหมือนพวกเธอเป็นเครื่องระบายอารมณ์ทางเพศว่ากษัตริย์ที่ดีได้หรือไม่? ก็อาจจะได้ แต่ถ้าชายคนเดียวกันนี้หมกมุ่นกับความแค้น พังสุสานของย่า ขูดรีดประชาชน ไม่ว่างานราชการมัวแต่เมาเหล้า ดูละคร ร้องเพลงกับสาวสวย ขอถามอีกครั้งว่าเรายังจะเรียกเขาว่ากษัตริย์ที่ดีได้อีกหรือไม่? มาหาคำตอบไปพร้อมกันในภาพยนตร์เรื่อง The Treacherous (2015) The Treacherous (2015) ภาพยนตร์ที่ถูกจัดระดับไว้ 18+ อัดแน่นเรื่องเพศและความรุนแรงหากใครอายุยังไม่ถึงควรได้รับคำแนะนำ โดยหนังดำเนินเรื่องเกี่ยวกับราชวงศ์เกาหลีใต้ยุคโชซอนสมัยพระเจ้ายองซันผู้ครองราชย์ในเวลาสั้น ๆ คาบเกี่ยวกับต้นเรื่องของซีรีส์แดจังกึม พระเจ้ายองซันเป็นเด็กมีปมชีวิต แม่ของเขาถูกเสด็จย่าสั่งประหารชีวิต (เพราะทำความผิดร้ายแรง) แต่หลานชายเติบโตขึ้นกลับแค้นย่าที่สั่งฆ่าแม่ตัวเองโดยไม่สนใจว่าแม่ทำผิดร้ายแรงจนราชวงศ์เกือบล่มสลาย แม้เวลาที่ย่าจากไป เขายังไปป่วนหลุมศพของคนตาย ตามสั่งเก็บผู้เกี่ยวข้องรู้เห็นเหตุการณ์ทั้งหมด แถมเรื่องฉาวเหล่านี้ยังได้รับการบันทึกไว้ทำให้นักประวัติศาสตร์เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “การสังหารหมู่นักปราชญ์ปีมูโอ” เมื่อกำจัดเสี้ยนหนามตำใจจนหมดสิ้น พระองค์เริ่มทำให้รั้ววังปั่นป่วนอีกครั้งด้วยนำ ‘กีแซง’ หญิงสาวที่มีหน้าที่ให้ความบันเทิงของผู้ชายเข้ามาในราชวัง แต่งตั้งให้เธอเป็นพระสนม ถือเป็นเรื่องผิดแปลกจากธรรมเนียมเดิมที่สืบทอดกันมายาวนาน และมีกิจกรรมโปรดน่าสนใจอย่างการจัดปาร์ตี้เซ็กซ์อยู่บ่อยครั้ง เมื่อกษัตริย์ไม่ทำงาน ระบบการปกครองกับอำนาจทางการเมืองทั้งหมดตกไปอยู่กับขุนนาง ส่วนราชาใช้ชีวิตสำราญได้เต็มที่เท่าใจต้องการ The Treacherous พาเราไปเจอมุมมองของชนชั้นปกครอง มองเห็นผ่านมุมมองขุนนางจากลูกชายของมหาเสนาบดีมีงานหลักรับใช้พระราชาด้วยการจัดหาสาวงามวัยแรกแย้มเข้าวังมาปรนเปรอ และมุมมองของฝ่ายผู้เสียอำนาจที่โดนพระเจ้ายองซันสั่งฆ่าล้างตระกูลจนอยากแก้แค้นให้กษัตริย์รับผิดชอบกับสิ่งที่ตัวเองเคยทำไว้ The Treacherous นำเสนอมุมมืดของราชวงศ์ควบคู่ไปกับฉากเซ็กซ์บ้าคลั่งวาบหวิว ความวิปริตทางเพศของชายที่ขึ้นชื่อว่าเป็นราชา ผูกปมความแค้นการถูกกดขี่ของกลุ่มขุนนางและประชาชนได้น่าประทับใจ ถือว่าเป็นภาพยนตร์ติดเรตที่มีเนื้อหาเข้มข้นน่าสนใจไม่แพ้ฉากอย่างว่าที่มีมาให้เห็นตลอดทั้งเรื่อง จนหนุ่ม ๆ บางคนดูแล้วยังบอกเลยว่าแม้ฉากเซ็กซ์น่าสนใจมาก แต่เนื้อเรื่องมันเข้มข้นมากจนเผลอลืมไปเลยว่าตอนแรกตั้งใจจะดูหนังเรื่องนี้เพราะ
ครั้งหนึ่งในกาแลคซี่ทางช้างเผือก มนุษย์อย่างเราเคยมั่นอกมั่นใจเหลือเกินว่าชีวิตบนดาวเคราะห์สีน้ำเงินดวงนี้เต็มไปด้วยความหวังมากกว่าดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ อีกหมื่นแสนดวง เพราะบนดาวเคราะห์สีน้ำเงินดวงนี้มีอากาศให้หายใจ มีชีวิต มีการเกิดใหม่ มีความเป็นไปได้ให้เราฝันและหวังไม่สิ้นสุด แต่ในทางกลับกันเมื่อมนุษย์รวมตัวกันเป็นจำนวนมาก เชื้อกลายพันธุ์ โรคระบาด ก็สามารถแพร่ไปได้รวดเร็วราวกับไฟลามทุ่ง เมื่อวันนั้นมาถึง โรคร้ายจึงทำให้โลกที่เคยดี กลายเป็น “โลกร้าย” ที่กลิ่นของความตายลอยคละคลุ้ง เมืองพังพินาศ ระบบการจัดการล้มเหลวและผู้คนกำลังจะตาย ในห้วงเวลาเช่นนั้นมนุษย์จะเผยให้เห็นความสิ้นหวัง ความมืดหม่นแห่งความคิดและจิตใจออกมาได้อย่างชวนขนลุกขนพอง แม้ในความเป็นจริงมวลมนุษยชาติจะยังไม่เคยก้าวไปถึงจุดนั้น แต่เราเชื่อว่าหนังสือว่าด้วยโลกร้าย 5 เล่มนี้จะพาคุณไปรู้จักความสิ้นหวังจากโรคระบาดให้เราได้ดำดิ่ง และเตรียมตัวล่วงหน้าเผื่อวันแห่งหายนะนั้นมาถึง บอด : José Saramago เพราะดวงตาคือความหวัง คือแสงสว่าง คืออวัยวะที่ช่วยให้มวลมนุษยชาติมองเห็น การสูญเสียการมองเห็นจึงไม่ได้หมายความถึงแค่อวัยวะหนึ่งล้มเหลว แต่หมายถึงมนุษย์จะต้องเผชิญกับความมืดบอดของโลกและอยู่กับความสิ้นหวังที่จะเห็นสรรพสิ่งไปตลอดกาล “บอด” คือวรรณกรรมผลงานนักเขียนรางวัลโนเบลที่ว่าด้วยโรคลุกลามแพร่ระบาดที่ทำให้มนุษย์มองอะไรไม่เห็นอีกต่อไป! เรื่องเริ่มที่ชายคนหนึ่งขับรถติดไฟแดงอยู่ดี ๆ ฉับพลันดวงตาเขาก็ขาวโพลน ไม่อาจมองสิ่งใดเห็น หลังจากนั้นอาการตาบอดก็แพร่ออกไปจากคนหนึ่ง สู่อีกคนหนึ่ง และอีกคนหนึ่ง ตอนนั้นเองที่ทุกอย่างตกอยู่ในความโกลาหล วรรณกรรมเรื่องนี้ไม่เพียงแค่พาเราดิ่งลึกลงไปในความมืดบอดและโรคติดเชื้อ แต่มวลมนุษยชาติผู้สิ้นหวัง สับสน รัฐบาลที่แก้ปัญหาอย่างมืดบอดไม่แพ้อาการตาบอดที่แพร่ระบาด ไปจนถึงมาตรฐานศีลธรรมที่ในเวลาปกติเราเคยยึดถือ แต่เมื่อทุกคนกระเสือกกระสนหนีตาย ศีลธรรมก็คล้ายเป็นเพียงลมปากที่ไม่มีความหมายอีกต่อไป
สำหรับคอดนตรีร็อกในเมืองไทย เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อเสียงของ “The Rock Pub” หนึ่งในแหล่งรวมตัวคนชอบดนตรีร็อกที่จัดว่ามีชื่อเสียงเป็นอันดับต้น ๆ ในกรุงเทพฯ รวมถึงในบ้านเราเลยทีเดียว ชาวร็อกหลายคนอาจจะเคยไปมาแล้วไม่รู้กี่ครั้ง แต่สำหรับบางคนที่ยังไม่รู้ว่าร้านนี้ตั้งอยู่ส่วนไหนในประเทศ ลองคิดดูดี ๆ ว่าคุณเคยเห็นตึกอิฐที่ดูน่าเกรงขามข้าง Coco Walk ติด BTS ราชเทวี ตึกนั้นหรือไม่? ใช่ครับที่นั่นคือที่ตั้งของ The Rock Pub ภายนอกสถานที่แห่งนี้อาจทำให้หลายคนคิดว่า ‘ดูเก่า’ ไม่ก็อาจจะคิดว่าดูน่ากลัว แต่สำหรับคนที่เคยเข้าไปคลุกคลีเสพดนตรีทั้งคืนจนถึงร้านปิดอย่างเราแล้วกลับไม่เป็นเช่นนั้นเลย ที่นี่เต็มไปด้วยผู้คนหลากหลาย ที่เข้ามาเต้น มาร้อง มากระโดด มาพูดคุย บ้างก็นั่งเฉย ๆ ฟังดนตรีกันอย่างตั้งอกตั้งใจ เป็นสถานที่สำหรับผู้ที่มีใจรักต่อดนตรีร็อกอย่างแท้จริง บางครั้งก็อาจจะมากกว่าเครื่องดื่มที่พวกเขาถือในมือเสียอีก ด้วยความที่เห็น The Rock Pub มาอย่างช้านาน เราจึงเกิดคำถามว่าใครเป็นเจ้าของสถานที่แห่งนี้? และเขาทำอย่างไรให้ร้านเป็นดนตรีเฉพาะกลุ่มลักษณะนี้ให้ดำรงอยู่ได้? วันนี้ UNLOCKMEN จึงเข้ามาสนทนากับ “คุณเต๋า – นนทเดช บูรณะสิทธิพร” ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของคนปัจจุบันของร้าน และเราก็ได้พบว่า The
หากจะกล่าวถึงวงดนตรีแนว Goth-Rock ที่ขึ้นหิ้งเป็นระดับตำนานไปแล้ว เชื่อว่า The Cure จะเป็นชื่อแรก ๆ ที่ใครหลายคนคิดถึง พวกเขาก่อตั้งวงมาตั้งแต่ปี 1976 สมาชิกในวงเข้า ๆ ออก ๆ ผลัดเปลี่ยนมาไม่รู้กี่ยุคกี่สมัย มีผลงานสตูดิโออัลบั้มมากถึง 13 ชุด ถึงแม้ในช่วงที่ผ่านมาพวกเขาจะออกทัวร์อยู่เนือง ๆ และเพิ่งจะจัดคอนเสิร์ตใหญ่ครบรอบ 30 ปีอัลบั้ม Disintegration ไป แต่อัลบั้มล่าสุดอย่าง 4:13 Dream มันก็ผ่านมานานกว่า 12 ปีแล้ว เพราะถูกปล่อยออกมาตั้งแต่ปี 2008 หลังจากที่ปล่อยข่าวออกมาสักพักแล้วว่า The Cure กำลังอยู่ในกระบวนการทำอัลบั้มใหม่ แต่ก็รอกันเนิ่นนานจนแฟนเพลงแซวว่า Robeth Smith แกล้งอำให้แฟนเพลงดีใจเล่น ล่าสุดฟรอนต์แมนวัยเก๋าท่านนี้ก็ออกมาคอนเฟิร์มเรื่องนี้ที่งาน NME Awards เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2020 ที่ผ่านมา โดยเขากล่าวว่า “เดี๋ยวเพลงแรกจะถูกปล่อยออกมาเร็ว ๆ นี้แหละครับ เราอัดกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว
เชื่อว่าชาวร็อกหลายคนต้องคุ้นเคยกับชื่อนี้ ‘Ozzy Osbourne’ เพราะเขาคือบุรุษแห่งความมืดมิด อดีตนักร้องนำ Black Sabbath วงดนตรีวงแรก ๆ ของโลกที่บุกเบิกดนตรีแนวเฮฟวีเมทัล เขาเป็นหนึ่งในคนที่ใช้ชีวิตคุ้มมาก เหล้า ยา ปาร์ตี้ พี่แกเอาหมด จนหลาย ๆ คนถึงกับสงสัยว่าพี่แกรอดชีวิตมาถึงวันนี้ได้อย่างไร ห้อยพระอะไรถึงหนังเหนียวเสียเหลือเกิน ใครจะไปคาดคิดว่า Osbourne ในวัย 71 ปี จะออกมาเผยว่าตัวเองต้องทนต่อสู้กับโรคพาร์กินสัน (ภาวะอาการในกลุ่มการเคลื่อนไหวผิดปกติ) มาตั้งแต่ปี 2003 แล้ว เล่นเอาแฟนเพลงทั้งโลกตะลึงเพราะไม่เคยมารู้มาก่อน แถมเจ้าตัวยังออกทัวร์และไปร่วมงานกับศิลปินท่านอื่น ๆ ดูเป็นปกติสุขมาตลอด ถึงจะมีอาการมาตั้งแต่ปี 2003 แต่เพิ่งจะถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้จริง ๆ หลังประสบอุบัติเหตุหกล้มเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีก่อนนี้เอง และเมื่อเดือนมกราคม 2020 ที่ผ่านมา เขาก็ได้ออกมาเผยเรื่องนี้ต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งแรกในรายการ Good Morning America โดยเขาได้กล่าวว่า “ผมไม่ตายเพราะพาร์กินสันหรอก ผมอยู่กับมันมาเกือบทั้งชีวิต ผมโกงความตายมาไม่รู้กี่ครั้งแล้ว ถ้าพรุ่งนี้คุณเจอข่าว Ozzy Osbourne ไปสบายแล้วในเช้าวันนี้ คุณคงจะไม่ตื่นเต้นแบบ ‘โอ้พระเจ้า!’ แต่คุณจะแบบ