กฎข้อแรกของแฟนหนังไฟต์คลับ คือ ต้องจำหนุ่มออฟฟิศหน้าตาซื่อบื้อได้ ชีวิตเฮงซวยกับหน้าตาเบื่อโลก ทำให้บทของเขาในเรื่องนี้เป็นที่จดจำ หรือจะเป็นพี่ชายตัวแสบหัวรุนแรงใน American History X กับคาแรกเตอร์ Neo-Nazi ที่แสนจะติดตา และอีกหลายเรื่องที่การแสดงของเขาโดดเด่นจนทำให้เราเชื่อว่าเขาเป็นตัวละครนั้นจริง ๆ แค่สองเรื่องที่พูดถึงมา คงไม่มีใครกังขาในความสามารถของเขา เราจะพามาสำรวจชีวิตเบื้องหลังจอเงิน อะไรที่ผลักดันให้เขาสวมบทบาทได้เหมือนสวมวิญญาณเข้าไปขนาดนี้ THE GREAT NORTON ปฐมบทของการแสดง เริ่มต้นจากภาพยนตร์เรื่อง Primal Fear (1996) ฝีมือการกำกับของ Gregory Hoblit ช่วงเริ่มโปรเจ็กต์ เขามองหานักแสดงวัยละอ่อนที่จะมาประกบคู่กับ Richard Gere ในตอนแรกบทนี้ถูกเสนอให้กับ Leonardo DiCaprio แต่เป็นอันล้มเลิกไป เลยเป็นอันต้องพักกอง รอจนกว่าจะเจอดวงดาวที่ใช่ จนกระทั่งมาพบกับ Edward ในรอบออดิชั่นที่เอาชนะคู่แข่งอีกนับพันคนไปได้แบบลอยตัว และความเจิดจรัสของเขาไม่หยุดอยู่แค่รอบออดิชั่น ฝีมือการแสดงส่งผลให้เขาได้เข้าชิงออสการ์สาขา Best Supporting Actor กันตั้งแต่ผลงานเรื่องแรก เพียงสองปีต่อมา Edward ได้แจ้งเกิดแบบพลุแตกกับบทบาท Neo-Nazi ตัวจี๊ดแห่ง American History
บทความนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของคนชอบดูหนังคนหนึ่งเท่านั้นและมีการสปอยตอนจบของภาพยนตร์หลายเรื่อง ครั้งก่อนเราเขียนถึงเพลงตอนจบภาพยนตร์สุดประทับใจ (ย้อนอ่านได้ที่ 7 เพลงตอนจบภาพยนตร์สุดประทับใจ) แต่ยังไม่หมดแค่นั้น ตอนจบภาพยนตร์คือสิ่งที่เราหลงใหล วันนี้เราจะพูดถึงตอนจบภาพยนตร์เพียว ๆ แบบไม่มีเพลงมาเกี่ยวข้อง แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ประทับใจไม่รู้ลืม ตกผลึกอยู่ในความทรงจำไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหน Gone with the Wind (1939) Director: Victor Fleming, George Cukor ‘Frankly, my dear, I don’t give a damn’ นี่คือประโยคสุดท้ายจากภาพยนตร์เรื่อง Gone with the Wind และเป็นประโยคอันดับ 1 ตลอดกาลจากการจัดอันดับของ American Film Institute ถ้าใครไม่เคยดู Gone with the Wind คงสงสัยว่าประโยคนี้มีอะไรพิเศษ ก็ดูเป็นประโยคตัดความสัมพันธ์ธรรมดา แต่สิ่งที่ทำให้มันพิเศษคือเรื่องราวภายใต้ประโยคนี้ ถ้าจะอธิบาย Gone with the Wind ให้เข้าใจโดยง่าย มันคือละครน้ำเน่าที่มาในรูปแบบภาพยนตร์ โศกนาฏกรรมความรักท่ามกลางบรรยากาศสงคราม ผู้พูดประโยคนี้คือตัวละคร Rhett Butler
หลังจากเปิดตัวภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่หญิงคนแรกของมาร์เวลอย่าง Captain Marvel ไปเมื่อสัปดาห์ก่อน Marvel Cinematic Universe ก็ไม่รอช้าปล่อยตัวอย่างที่ 2 ของ Avengers: Endgame มาติด ๆ โดยเหล่าแฟนหนังไม่ยังไม่ได้พักหายใจ จากตัวอย่างครั้งนี้ก็มีฉากใหม่ ๆ กับคำถามที่ตามมาว่า Trailer นี้บอกข้อมูลอะไรกับเราบ้าง ? ประเด็นที่ถูกพูดถึงมากบนโซเชียลมีเดียคือข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับชะตากรรมของโทนี่ สตาร์ค และเนบิวล่า ถ้าดูจากตัวอย่าง ทั้งสองคนสามารถกลับสู่โลกอย่างปลอดภัย อาจเป็นไปได้ว่าทั้งสองคนพบ Captain Marvel กลางทาง อย่างไรก็ตามประสบการณ์ที่เหล่าแฟนหนังเคยได้รับจากแฟรนไชส์ซูเปอร์ฮีโร่มาร์เวล คือ อย่าเพิ่งเชื่อทุกอย่างที่ Trailer บอก เพราะ MCU เคยสับขาหลอกคนดูด้วยตัวอย่างหนังมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว ในเรื่อง Thor: Ragnarok จากตัวอย่างทำให้รู้ว่าธอร์เทพเจ้าสายฟ้าสามารถปลดล็อกตัวเองทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ทั่วทั้งตัวรวมถึงดวงตาทั้งสองข้าง แต่ในภาพยนตร์กลับไม่เหมือน Trailer เพราะว่าธอร์สูญเสียดวงตาไปข้างหนึ่งจากการต่อสู้กับพี่สาว นอกจากนี้ Avengers: Infinity War ก็เคยหลอกแฟน ๆ เรื่องจำนวน Infinity Stone บนถุงมือของธานอส
‘ฉันคือคนที่จะเป็นราชาโจรสลัด!’ นี่คือคำประกาศกร้าวของ มังกี้ ดี ลูฟี่ เด็กหนุ่มพลังยางยืดจากอีสต์บูลในขณะที่ตัวเองกำลังจะโดน บากี้ โจรสลัดตัวตลกประหารในเมืองโล้คทาวน์ ในตอนนั้นมันช่างเป็นคำพูดที่ดูน่าขำสำหรับคนทั่วไป เพราะลูฟี่ยังเป็นเพียงโจรสลัดไร้ชื่อเสียงเรียงนาม การนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับ โกลด์ ดี โรเจอร์ อดีตราชาโจรสลัดผู้ยิ่งใหญ่จึงดูเป็นเรื่องเพ้อฝันเกินตัว แต่ผ่านมาเพียง 2 ปี จากโจรสลัดไร้ค่าหัวในตอนนั้น ตอนนี้ลูฟี่คือโจรสลัดผู้มีค่าหัวสูงถึง 1,500 ล้านเบรี พร้อมฉายา ‘จักรพรรดิหมวกฟาง’ แถมยังได้รับการยกย่องให้เป็นจักรพรรดิคนที่ 5 แห่งท้องทะเล แน่นอนว่าเมื่อกลายเป็นคนยิ่งใหญ่ สิ่งที่ตามมาคือคู่ต่อสู้ระดับพระกาฬที่เขาต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็น 4 จักรพรรดิอย่าง ไคโด และมาร์แชล ดี ทีช (หนวดดำ) หรือแม้กระทั่งรัฐบาลโลกที่มีกองกำลังสุดแข็งแกร่งอยู่ในมือ ด้วยสเกลการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ ลำพังแค่ตัวลูฟี่กับลูกเรืออีก 9 ชีวิตคงไม่สามารถต่อกรได้แน่นอน กลุ่มพันธมิตรและมิตรสหายจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มโจรสลัดหมวกฟางในตอนนี้ ‘ใคร ๆ ก็รักลูฟี่’ ด้วยความที่เป็นคนจิตใจดี ไม่มีพิษภัย ที่สำคัญคือรักพวกพ้องมาก ๆ ลูฟี่จึงซื้อใจคนได้มากมาย จนเริ่มมีกองกำลังและพันธมิตรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พวกเขาเหล่านี้นี่เองคือกุญแจดอกสำคัญที่จะส่งพ่อหนุ่มหมวกฟางของเราขึ้นไปเป็นราชาโจรสลัด ดังนั้นเรามาทำความรู้จักพวกเขาก่อนดีกว่า กองกำลังพันธมิตรมิ้งค์ แมว หมา นินจา
หากเราเป็นศิลปิน เราจะทำยังไงให้คนจดจำเราได้ ? เราจะใช้โลโก้สุดเท่ เราจะเป็นแฟชั่นไอคอน ขายคาแรกเตอร์สุดจี๊ดจ๊าด หรือเราจะระเบิดความมันส์ อาศัยลีลาการร้องเล่นจากฝีมือ ทั้งหมดนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นภาพลักษณ์โดยรวมของวง ที่สมาชิกต่างยอมรับและให้มันเป็นภาพแทนของพวกเขา มันจึงต้องคิดมาอย่างดีแล้ว เพราะมันเป็นเหมือน First Impression นั่นแหละ แต่ละวงต่างก็มีภาพลักษณ์ที่แตกต่างกันไป คล้ายบ้าง ซ้ำบ้าง แต่สุดท้ายมันก็คือคนละตัวตนกันอยู่ดี เรื่องของเรื่องคือเราอยากแนะนำวงอินดี้ร็อกอย่าง The Neighbourhood ที่มีจุดเด่นอันชัดเจนคือ ภาพขาวดำ ทั้งปกอัลบั้มและ MV มาล้วงลึกถึงเบื้องหลังสีสันอันหม่นหมองและบทเพลงที่มอดไหม้ ของพวกเขาไปพร้อมกัน ทำความรู้จัก The Neighbourhood สำหรับคอเพลงอินดี้ร็อก คงจะคุ้นหูกันดีกับเพลงของ The Neighbourhood ที่ดูเผิน ๆ เหมือนคำนี้มันจะสะกดไม่ถูก แต่ชื่อวงดนตรีเนี่ย มันไม่ใช่เรื่องที่จะพลาดกันได้ง่าย ๆ แน่นอนว่ามันคือความตั้งใจของทางวงที่จะสะกดแบบนี้ ไม่ใช่ตั้งใจสะกดผิด แต่มันเป็นการสะกดแบบ British เพื่อไม่ให้ชื่อไปซ้ำกับวงสัญชาติอเมริกันที่มีอยู่แล้วนั่นเอง ห้าหนุ่มจาก California ที่เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่ไหนแต่ไร พวกเขาใช้ชีวิตแบบแสบพอตัว บางคนไม่พบไฮสกูลด้วยซ้ำ แต่ประสบการณ์แสบสันเหล่านั้น ทำให้พวกเขาเหนียวแน่นกันมาจนถึงตอนนี้ รวมตัวกันเมื่อปี 2011 ใช้เวลาหนึ่งปีถ้วนในการขับเคี่ยวเอาผลงานแรกออกมาสู่วงการ เป็น
บทความนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวจากคนชอบดูหนังคนหนึ่งเท่านั้นและมีการสปอยตอนจบของภาพยนตร์หลายเรื่อง ตลอดระยะเวลาชั่วโมงครึ่ง 2 ชั่วโมง หรืออาจมากกว่านั้นของภาพยนตร์หนึ่งเรื่อง ทุกช็อต ทุกซีน ทุกไดอะล็อก ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามซีนที่ทำให้ผู้ชมจดจำภาพยนตร์เรื่องนั้นได้ดีที่สุดและตราตรึงในใจไปอีกนานสำหรับเรามันคือซีนจบ เพราะมันคือการสรุปเรื่องราวทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้นมันเป็นการปูทางให้เราได้รู้ชีวิตของตัวละครหลัง End Credit ที่เราจะไม่ได้เห็นแล้ว ภาพยนตร์ทุกเรื่องมีตอนจบในแบบของตัวเอง แต่สำหรับเราตอนจบจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นถ้าได้เพลงเพราะ ๆ เข้ากับเนื้อเรื่องบรรเลงขึ้นมา วันนี้เราจะมาพูดถึงเพลงเหล่านั้น เป็นการย้อนรำลึกความทรงจำ ที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ความประทับใจก็ไม่เคยเสื่อมคลาย Song: A Real Hero – College & Electric Youth Movie: Drive (2011) แค่ชื่อเพลง A Real Hero ก็อธิบายภาพยนตร์เรื่องนี้ได้หมดทุกอย่างแล้ว เพราะ Drive ผลงานการกำกับของ Nicolas Winding Refn เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนักขับรถนิรนามอย่าง Driver ที่ในตอนกลางวันประกอบอาชีพสุจริตเป็นสตันท์แมนให้กับกองถ่ายภาพยนตร์ แต่ในตอนกลางคืนเขาอาศัยอยู่ในโลกมืด ทำหน้าที่ขับรถพาอาชญากรหลบหนี ชีวิตแต่ละวันของ Driver ผ่านไปอย่างไร้ความหมาย จนกระทั่งเขาได้เจอกับเพื่อนบ้านสาวอย่าง Irene ความสัมพันธ์ที่งดงามก็ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นอย่างช้า ๆ แต่ทั้ง 2 ต่างก็รู้ดีว่ามันคือความรักที่เป็นไปไม่ได้
หากเราเปิดภาพยนตร์สักเรื่องดู แบบที่ไม่รู้มาก่อนว่านี่คือเรื่องอะไร สิ่งที่ทำให้เราเดาได้ว่านี่คือหนังของผู้กำกับคนไหน คงจะเป็น Signature ของภาพที่เราได้เห็นและเทคนิคการเล่าเรื่อง เหมือนกับเวลาเราคุ้นตากับลายเส้นอันเป็นเอกลักษณ์ของนักวาดการ์ตูน คุ้นกับสำนวนสละสลวยของนักเขียน ผู้กำกับหลายคนก็มักจะมีเอกลักษณ์ของตัวเองจนเรารู้ได้ในทันทีว่านี่คือผลงานของเขา อย่างภาพยนตร์หม่นหมองของ Tim Burton สีฟ้าอมเขียวและภาพสโลวโมชั่นแบบไร้ที่มาของ Zack Snyder และทุกอย่างที่ดูสมมาตรไปหมดในมุมมองของ Wes Anderson หากใครได้ดูภาพยนตร์ของ Anderson มาบ้าง คงพอจะนึกภาพ Mood and tone ของเรื่องออก ว่าเรากำลังจะพูดถึงอะไร ไม่ว่าจะเป็นการจับคู่สีที่ชาญฉลาด ตัวละครเพี้ยน ๆ รวมทั้งมุมมองที่แสนจะสมมาตรมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนสิ่งเหล่านี้กลายเป็นเอกลักษณ์ของเขา ชนิดที่ว่าดูเรื่องไหนก็เจอมันเรื่องนั้นนั่นแหละ แฟน ๆ หลายคนเองก็ชื่นชอบภาพยนตร์ของเขาเพราะฟินกับความสมมาตรที่ได้ชม เคยสงสัยกันบ้างไหม ว่าทำไมรูปร่าง ภาพ มุมมองที่สมมาตร มันถึงทำให้เราฟินจนรู้สึกว่ามันคือสัดส่วนที่ใช่ของมวลมนุษยชาติ เราจะมาหาคำตอบนี้ไปพร้อมกัน สัดส่วนสุดพึงใจ ความลงตัวของสัดส่วนธรรมชาติ ความสมมาตรคือสัดส่วนที่เราคุ้นเคยกันดี เพราะมันคือสัดส่วนที่ธรรมชาติรังสรรค์ ไม่ต้องมองหาที่ไหนไกลเลย ลองมองที่ตัวเราเองนี่แหละ ตอนที่เราแบ่งเซลล์แล้วประกอบร่างมาเป็นตัวเราอย่างในทุกวันนี้ มันคือการประกบเข้าหากันแบบสมมาตร ลองสังเกตดูว่าร่างกายของเรา มันจะมีเส้นตรงกลางลำตัว ชัดเจนที่สุดคงเป็นเส้นตรงหน้าท้อง หากผ่าร่างกายเราในแนวแกน Y มันจะแบ่งครึ่งได้แบบสมมาตรพอดิบพอดี
เรื่องราวเร้นลับชวนขนหัวลุกสุดคลาสสิกจากทั้งวงการวรรณกรรมและภาพยนตร์ อย่าง Dracula ถูกนำมาสร้างในเวอร์ชั่นจอแก้วและจอเงินหลายต่อหลายครั้ง รวมทั้งหนังสือเองที่ได้รับการตีพิมพ์แบบนับไม่ถ้วน ด้วยเนื้อเรื่องสุดคลาสสิกที่ใคร ๆ ต่างรู้จักตำนานผีดูดเลือดแห่ง Transylvania จึงทำให้ทุกเวอร์ชั่นเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างง่ายดาย แต่สำหรับวงการภาพยนตร์ เรื่องราวผีดูดเลือดของท่าน Count Dracula จะให้นับว่าเวอร์ชั่นไหนที่เป็นตำนานที่สุด ทุกเสียงคงชี้ไปในทิศทางเดียวกันที่ Bram Stoker’s Dracula (1992) ฝีมือการกำกับของ Francis Ford Coppola ที่ได้รับกระแสตอบรับในแง่บวกอย่างล้นหลาม ไม่ใช่แค่ยุคนั้น แต่ยังคงขึ้นชื่อมาจนถึงทุกวันนี้ มาแกะรอยความคลาสสิกของที่ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นตำนานของฝั่ง Horror ในวงการจอเงิน รวมทั้งอิทธิพลของเรื่องนี้ที่ส่งต่อมาถึงภาพยนตร์สยองขวัญรุ่นหลัง Dracula จากปลายปากกาของ Bram Stoker ชื่อของ Bram Stoker ที่ปรากฎอยู่บนชื่อภาพยนตร์อย่างเป็นทางการเนี่ย เป็นชื่อของนักเขียนชาวไอริช เจ้าของผลงานนวนิยายเรื่อง Dracula เรื่องราวของแวมไพร์ในปราสาทที่เรารู้จักในชื่อ Count Dracula ตัวละครเรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก Vlad Țepeș ผู้ปกครองเมือง Transylvania ที่เป็นฉากหลังในเรื่องนั่นเอง ซึ่งเนื้อเรื่องก็เป็นอย่างในภาพยนตร์ที่เราได้ดูกันนั่นแหละ สรุปง่าย ๆ ก็คือ Francis Ford Coppola ทำภาพยนตร์สยองขวัญโดยการหยิบเอาเรื่องของท่าน Count Dracula จากต้นเนื้อเรื่องฉบับเวอร์ชั่นนิยายของ Bram Stoker มาถ่ายทอดสู่จอเงิน เนื่องจากใช้เนื้อเรื่องเดียวกันแทบทั้งหมด
เราคุ้นเคยกับ The Secret Life of Walter Mitty ผลงานการกำกับและแสดงเป็นตัวเอกของ Ben Stiller ในแง่ของการเป็นหนังปลุกพลัง Feel Good ให้กับเหล่ามนุษย์ออฟฟิศชีวิตจำเจ มีเหตุให้ได้ออกไปผจญภัยตามสถานที่ต่าง ๆ ที่วิวธรรมชาติโคตรสวย จนเราไม่อยากจะเชื่อว่ามีวิวแบบนี้อยู่จริง ไม่ได้เปิดหูเปิดตาแค่ตัวเอกอย่าง Mitty เท่านั้น แต่ยังทำให้เรามีไฟลุกออกไปตามหาสถานที่แสนพิเศษแบบนั้นบ้าง เอาจริง ๆ หนังก็ดูเป็นพล็อตสูตรสำเร็จ แต่ทำไมมันถึง Impact กับคนดูจนเกิดกระแสปากต่อปากได้ขนาดนี้ เราจะมาแกะรอยประเด็นต่าง ๆ ที่เจอในเรื่องนี้ (เท่าที่เก็บได้) ซึ่งมีการเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของเรื่องบางส่วน เอาเป็นว่า ใครที่ยังไม่ได้ดู เราแนะนำให้ไปดูแล้วกลับมาอ่านอีกทีจะดีกว่า ส่วนใครที่ดูแล้ว ลองมา Recap เรื่องราวและประเด็นที่น่าสนใจไปพร้อมกับเรา Recap เรื่องย่อ ภาพยนตร์เรื่อง “The Secret Life of Walter Mitty” เรื่องราวชีวิตที่แสนจำเจของ Walter Mitty (Ben Stiller) พนักงานออฟฟิศที่อยู่ในตำแหน่งเดิมของนิตยสาร LIFE มายาวนาน เขารักบริษัท ทุ่มเทกับหน้าที่ที่ได้รับ
ทุกการจากไปสร้างความเจ็บปวดให้กับคนที่อยู่ข้างหลังเสมอ โดยเฉพาะการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของใครสักคน เพราะความสูญเสียแบบที่ไม่อาจย้อนคืนได้ มันทำให้เราทำได้เพียงระลึกถึงสิ่งที่เขาทิ้งไว้ให้เท่านั้น เช่นเดียวกับ Keith Flint ที่จากไปอย่างกะทันหัน ไม่มีเวลาให้ใครได้ตั้งตัวทัน ทั้งคนรอบตัวและแฟนเพลงทั่วโลก เราคงไม่อยากเจาะจงลงไปว่า สาเหตุของการจากไปของเขาคืออะไร ขุดคุ้ยขึ้นมาก็ไม่น่าเป็นผลดีกับฝั่งไหน เราจึงขอพูดถึงเรื่องราวแสนพิเศษที่เขาได้ทิ้งไว้ให้กับวงการดนตรีและโลกใบนี้ เพื่อเป็นการระลึกถึงเขาอย่างนอบน้อมที่สุด เราคงคุ้นเคยกับ Flint ในภาพลักษณ์สุดแสบ ทรงผมและสีสันแสนจะสะดุดตา ที่เห็นแล้วเป็นอันต้องเหลียวมอง ก่อนที่เขาจะมาอยู่ในภาพลักษณ์นี้ เขาเป็นเพียงเด็กน้อยที่ต้อง Suffer กับโรคประจำตัวอย่าง “Dyslexia” หรือโรคบกพร่องทางการอ่าน ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเขาอย่างมาก จนต้องออกจากโรงเรียนตั้งแต่อายุ 15 มาทำอาชีพช่างซ่อมหลังคา เขาเริ่มต้นการก้าวเข้ามาในวงการด้วยเรื่องสนุก ๆ ที่เขาเริ่มกับ Liam Howlett ในตอนที่ยังเป็นดีเจในคลับ เมื่อครั้งที่พบเจอกันครั้งแรก การพูดคุยอย่างออกรสเรื่องรสนิยมทางดนตรี พาให้บทสนทนาของทั้งคู่เดินไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว เรื่องราวในวันนั้นจบลงที่ Liam ทำ Mixtape ให้สำหรับ Flint ใช้ในโชว์ จนสุดท้ายความไปด้วยกันได้ทั้งในเรื่องมิตรภาพและการร่วมงาน ทำให้พวกเขาเริ่มก่อตั้งวงอิเล็กทรอนิกส์ The Prodigy ในปี 1990 ร่วมกับเพื่อน ๆ ของเขา รวมทั้ง Liam ที่มาเป็นมือคีย์บอร์ดและคนแต่งเพลงให้กับวง และการแจ้งเกิดกับ “Firestarter”
จากที่เคยเป็นเหมือนวัฒนธรรมไกลตัว แต่ตอนนี้ต้องยอมรับว่า ‘ไอดอล’ ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยอย่างสมบูรณ์แล้ว แน่นอนว่าเมื่อมีคนชอบก็ต้องมีคนไม่ชอบเป็นธรรมดา แต่ก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์อะไรเราก็อยากให้ทุกคนรู้จักกับวัฒนธรรมนี้จริง ๆ เสียก่อน ภาพยนตร์สารคดีที่เราหยิบมาพูดถึงในวันนี้อาจจะมีคำตอบให้ใครหลายคนได้ว่าไอดอลคือใคร? พวกเธอมีบทบาทหน้าที่อย่างไร? หรือแท้จริงแล้วพวกเธอเป็นเพียงวัตถุทางเพศที่อุ้มชูวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่เท่านั้น? Tokyo Idols และเรื่องราวของริโอะ Tokyo Idols เลือกที่จะเล่าเรื่องราวของ ‘ริโอะ’ ไอดอลสาวใต้ดินวัย 19 ที่ถึงแม้ว่าเธอจะยังไม่โด่งดังมากนักแต่ก็มีฐานแฟนคลับเหนียวแน่นพอสมควร แต่อย่าเพิ่งเข้าใจว่านี่คือสารคดีตามติดชีวิตไอดอล เพราะถึงแม้ตัวหนังจะโฟกัสที่ตัวริโอะเป็นหลัก ถ่ายทอดให้ผู้ชมได้เห็นภาพว่าเธอทุ่มเทกับอาชีพนี้ขนาดไหน ถึงขนาดปั่นจักรยานไปทั่วประเทศญี่ปุ่นเพื่อพบปะแฟนคลับ แต่ก็มีอีกหลายมุมมองจากหลายฝ่ายที่น่าสนใจไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของไอดอลเด็ก, ไอดอลระดับชาติอย่าง AKB48, ความคิดเห็นของนักหนังสือพิมพ์และนักวิเคราะห์, หรือแม้กระทั่งเหล่าโอตะที่ทุ่มเททุกอย่างเพื่อคนที่เขารัก ตัวหนังพยายามจะตั้งคำถามถึงวัฒนธรรมไอดอลตลอดเวลา ทั้งในแง่ความหมิ่นเหม่ทางศีลธรรมเรื่องเพศ, ความเกี่ยวข้องกันระหว่างไอดอลกับวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่, ความเหงาที่ดูเหมือนจะส่งเสริมวัฒนธรรมนี้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น, หรือแม้กระทั่งการวิพากษ์เหล่าโอตะว่าเป็นตัวปัญหาของสังคม ซึ่งด้วยมุมมองแบบนี้ของตัวหนัง Tokyo Idols จึงเป็นสารคดีที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ไม่ว่าคุณจะคิดเห็นเกี่ยวกับไอดอลว่าอย่างไรก็ตาม ความรักที่บริสุทธิ์หรือแค่ความเพ้อฝันจอมปลอม? สำหรับบางคนความรักของโอตะที่มีต่อไอดอลอาจจะดูเพ้อฝันหรืออาจจะถึงขั้นน่าขยะแขยง แต่สำหรับ ‘โคจิ’ ดูเหมือนว่ามันจะมีความหมายและยิ่งใหญ่กว่านั้นมาก โคจิคือหนุ่มใหญ่วัย 43 กะรัต เขาเคยมีชีวิตที่เพียบพร้อม เคยมีคนรักและถึงขั้นเกือบจะได้ลั่นระฆังวิวาห์ แต่แล้วทุกสิ่งก็ไม่เป็นไปตามที่คิด เขาจึงเลือกหันหลังให้กับความรักในชีวิตจริงและใช้เงินเก็บทั้งชีวิตเปย์ให้ริโอะ ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจติดตามเธอไปทุกที่ บ้าหรือเปล่า? ไม่แปลกที่คนภายนอกจะมองโคจิว่าเพ้อฝัน เพราะต่อให้เปย์ยังไงริโอะก็ไม่มีทางหันมามองเขาหรอก อย่างไรก็ตามคำอธิบายของโคจิก็ทำให้เราเข้าใจมากขึ้น เขาเล่าว่าชีวิตเขานั้นมันพังทลายลงไปแล้ว
จัดซีรีส์ตามหมวดมาให้ก็หลายครั้ง แต่ซีรีส์ที่ค้างอยู่ในหัวก็ไม่หมดไปเสียที ถ้าจะมัวแนะนำแต่เรื่องเด็ดเรื่องดัง จนไปที่ไหนก็เจอลิสต์เดิม ๆ คงน่าเบื่อแย่ หากอยากลองรสชาติใหม่ ๆ กับอะไรที่มัน Underrated ลองมาดู 5 เรื่องนี้ที่เราแนะนำ สารพัดให้เลือกดูตามความชอบ อาจจะไม่คุ้นหูสักเท่าไหร่ แต่ทุกเรื่องเราดูมาแล้ว อยากบอกต่อ Empire เกมหักเหลี่ยมกันในครอบครัว เข้มข้นไม่ต่างจาก Game Of Thrones เรื่องราวของครอบครัว Lyon เจ้าของค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ในอเมริกา Lucious Lyon (Terrence Howard) เสาหลักแห่งครอบครัวและค่ายเพลงผู้ถีบตัวเองขึ้นมาจากสลัม ไต่เต้าขึ้นมาด้วยพรสวรรค์ด้านเพลง Hip-Hop ที่เขามีอยู่เต็มเปี่ยม ด้วยความช่วยเหลือจาก Cookie Lyon (Taraji P. Henson) ที่ยอมติดคุกแทน Lucious เพื่อให้เขาและลูก ๆ ทั้งหมดได้มีอนาคตต่อไป ด้วยสุขภาพที่ไม่แน่นอน Lucious จึงอยากหาคนมารับไม้ต่อจากเขา จึงเป็นบททดสอบลูก ๆ ทั้งสามที่ต่างมีคาแร็กเตอร์และความสามารถที่ต่างกันออกไป การเฉือนคมของพี่น้องที่เหมือนจะรักกันก็เกิดขึ้นจากตรงนี้ รวมทั้งสิงโตที่ยอมกินลูกตัวเองหากถูกแว้งกัดอย่าง Lucious ก็ไม่รามือให้กับลูก ๆ ของตัวเองเช่นกันหากใครคิดจะชิงบัลลังก์ของเขาไปก่อนเวลาที่เหมาะสม Forever การมีชีวิตเป็นอมตะนั้นเป็นพรจากสวรรค์หรือเป็นคำสาปจากนรกกันแน่