มหกรรม Tokyo Olympic 2020 ที่ถึงแม้จะล่าช้าจากโรคระบาดที่สะเทือนไปทั่วทั้งโลก แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งสปิริตอันแรงกล้าของเจ้าภาพญี่ปุ่นที่ข้ามพรมแดนของโรคระบาด พร้อมประกาศจัดงานอย่างอลังการ เพื่อให้รู้ว่าพลังของมนุษย์นั้นยิ่งใหญ่พอที่จะสามารถก้าวข้ามทุกอุปสรรคเพื่อยืนหยัดสู่ที่ 1 ของโลกให้จงได้ และในประวัติศาสตร์ของมหกรรมกีฬาระดับโลกนี้ ไม่แปลกใจเลยที่โลกของภาพยนตร์ ได้บันทึกเรื่องราวอันหลากหลาย ที่น่าทึ่ง ทั้งซาบซึ้ง ทั้งระทึกใจ และนี่คือหนังเกี่ยวกับมหกรรมโอลิมปิก ที่คุณควรหาชม เพราะสนุกไม่ต่างกับการลุ้นการแข่งขันจริง ๆ เลย Tokyo Olympiad (1962, Kon Ichikawa) เริ่มต้นด้วยสารคดีที่บันทึกความยิ่งใหญ่สมัยที่โตเกียวเป็นเจ้าภาพในการจัดงานโอลิมปิคในครั้งแรกเมื่อปี 1964 ที่ได้ผู้กำกับระดับตำนาน Kon Ichikawa บันทึกภาพทั้งความยิ่งใหญ่ในการจัดงาน เพื่อแสดงให้เห็นความพร้อมของประเทศญี่ปุ่นหลังพ่ายแพ่ต่อสงครามโลกครั้งที่ 2 และใช้เวลาเยียวยาพัฒนาจนกลับมายิ่งใหญ่ ขณะเดียวกันหนังก็ได้รับการยกย่องในฐานะการสรรสร้างศิลปะบนเฟรมด้วยการถ่ายภาพระดับ Super Close-Up ที่ใกล้ชิดจนเห็นถึงกล้ามเนื้อและหยดเหงื่อ ทั้ง ๆ ที่การถ่ายทำนั้นไม่ได้มีการเซ็ทใด ๆ ผู้กำกับและตากล้องที่มีเพียง 2 คน ต่างสามารถบันทึกภาพงดงามของการแข่งขันในเสี้ยววินาทีราวกับงานศิลปะสุดอ่อนช้อย เข้มแข็ง และยิ่งใหญ่อย่างเหลือเชื่อ หนังพูดน้อยมากเพื่อให้เราซึมซับภาพการแข่งขันอันสุดทะเยอทะยานชุดนี้ แม้มีความยาวถึง 2 ชั่วโมง 50 นาที
แสงสี / ปาร์ตี้อันเย้ายวนใจ / ความเมามาย และเสียงเชียร์กระหึ่มเมื่อทีมบอลในดวงใจคว้าชัยชนะ อาจจะกลายเป็นเพียงภาพในอดีตที่ไม่สามารถย้อนคืนกลับมาได้อีกต่อไป เนื่องจากอุตสาหกรรมไนท์คลับในอังกฤษกำลังถึงกาลอวสาน ทั้ง ๆ ที่เปิดประเทศไปแล้ว ไม่ใช่เพียงบ้านเราเท่านั้นที่ธุรกิจกลางคืนไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐ เพราะขนาดประเทศอังกฤษ เมืองที่มีผับ บาร์ และไนท์คลับคับคั่งประเทศหนึ่งในโลก ต่างก็กำลังเผชิญวิกฤตปิดตายไม่ต่างกัน ทั้ง ๆ ที่ธุรกิจกลางคืนนั้นเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจชั้นดีเสมอมา เกิดอะไรขึ้นกับประเทศที่สามารถเล่นคอนเสิร์ตและผู้ชมสามารถถอดแมสค์เพื่อรับชมคอนเสิร์ตได้ ไหนจะรับวัคซีนจนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่แล้ว แต่ทำไมธุรกิจกลางคืนยังไม่สามารถกลับมาเปิดได้ ซ้ำร้ายยังถูกหลายสื่อฟันธงว่า “มันถึงจุดสิ้นสุดของยุค และธุรกิจไนท์คลับได้ถูกทำลายอย่างย่อยยับไปแล้ว” ทำไมธุรกิจไนท์คลับถึงไม่สามารถกลับมาได้เหมือนเดิม ? เว็บไซท์ของสำนักข่าว Bloomberg ได้ตั้งคำถามถึงวิกฤตขอวธุรกิจสถานบันเทิงเอาไว้อย่างน่าสนใจ สืบเนื่องจากอังกฤษได้ยืนกรานที่จะคืนเสรีภาพและการใช้ชีวิตของผู้คนให้เป็นปกติ โดยใช้วันดีเดย์คือวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นวันแห่งเสรีภาพ หรือ Freedom Day ด้วยการคลายมาตรการรับมือกับเชื้อโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นการไม่จำกัดจำนวนคนในการชุมนุม ไปจนถึงสามารถถอดหน้ากากอนามัยได้อย่างเสรี หากแต่ธุรกิจไนท์คลับนั้นกลับไม่สามารถเปิดได้แบบปกติ 100% เพราะเหตุผลหลายประการ ประการแรกคือ การติดเชื้อที่ไม่มีวันลดลง แม้อังกฤษจะเปิดประเทศด้วยการพยายามตอกย้ำว่า “เราต้องอยู่กับโรคระบาดนี้ให้ได้” แต่จำนวนผู้ป่วยนั้นกลับมาอยู่ที่ระดับ 50,000 รายต่อวันอีกครั้ง ซ้ำยังเป็นสายพันธุ์เดลต้า สายพันธุ์ล่าสุดที่แม้จะรับวัคซีนครบ
การออกมาส่งเสียงเรียกร้องความยุติธรรม และความถูกต้องมันเป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกคนควรมี โดยเฉพาะในดินแดนที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยด้วยแล้ว เสียงของคนส่วนใหญ่นั้นคือสิ่งสำคัญ และเมื่อมีอะไรไม่ถูกต้องหรือข้อสงสัย ผู้คนก็ควรที่จะออกมาส่งเสียงทักถึงประเด็นที่ควรแก้ไขนั้นได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร เพศอะไร รวยหรือจน คนก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องความถูกต้องและการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าได้ ยกตัวอย่างเช่น ศิลปินคนดังระดับโลกมากมายตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันที่สามารถส่งเสียงได้ดังกว่าและไกลกว่าคนทั่วไป เมื่อต้องการเรียกร้องความถูกต้อง เราจึงเห็นการออกมาเป็นกระบอกเสียง หรือที่เราเรียก ‘Call Out’ จากคนมีชื่อเสียงกันเป็นเรื่องปกติ แต่ในยุคปัจจุบัน เรากลับได้เห็นผู้มีอำนาจสั่งให้ศิลปิน สื่อ หรือเหล่าคนดังหุบปาก ห้ามออกมาวิจารณ์ และห้ามแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ที่กระเทือนภาพลักษณ์ของรัฐบาล รวมถึงห้ามเป็นกระบอกเสียงเรียกร้องในสิ่งที่ถูกต้อง แต่ก็น่าตลกที่เวลาหน่วยงานรัฐหรือเจ้าหน้าที่ทำโครงการช่วยสังคมเพียงนิดหน่อย กลับจ้างศิลปินเหล่านี้มาช่วยกันตะโกนโปรโมทกันปาว ๆ มันช่างย้อนแย้งซะจริง ๆ การ Call Out ในอดีตเกิดขึ้นนับครั้งไม่ถ้วน ยกตัวอย่างเช่น การต่อต้านการเหยียดสีผิว ต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ ต่อต้านการเหยียดเพศ ต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศ ต่อต้านสิ่งเหลื่อมล้ำต่าง ๆ ที่ไม่ยุติธรรม ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่เหล่าศิลปินนักดนตรีเท่านั้น แต่นักกีฬาชื่อดัง นักแสดงระดับซุปเปอร์สตาร์ของ Hollywood ก็มักจะออกมาสนับสนุน และเป็นกระบอกเสียงเรียกร้องในสิ่งที่ถูกต้องกันอย่างเสรีโดยไม่มีใครมาห้าม ตั้งแต่เริ่มมีการประท้วงของชาวนาในประเทศอังกฤษที่มีต่อระบบศักดินา ไปจนถึงการประท้วงครั้งใหญ่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน คนมีชื่อเสียง ศิลปิน นักดนตรี
ท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสที่ทำลายทุกวงการ โดยเฉพาะวงการภาพยนตร์ที่ต่างต้องหยุดฉายเลื่อนวันกันจนเสียขบวน จากสถานการณ์ที่ส่งผลให้โรงหนังในประเทศไทยถูกปิดอย่างไม่มีกำหนด แต่วิกฤตที่ว่าหนักหน่วงนี้ ก็ไม่อาจปิดกั้นประกายแห่งความสำเร็จและความยอดเยี่ยมของผู้กำกับสายเลือดไทย ที่ได้ออกไปสร้างชื่อเสียงความยิ่งใหญ่ในต่างแดน ในฐานะผู้นำพาความภาคภูมิใจ และประจักษ์แก่ฝีมือว่าฟิล์มเมคเกอร์ไทยนั้นมีฝีมือไม่แพ้ขาติใดในโลก UNLOCKMEN ขอนำคุณไปรู้จักกับผู้กำกับสุดยอดฝีมือทั้ง 3 ท่าน ที่มีผลงานคว้ารางวัลระดับโลก และขึ้นอันดับ 1 หนังทำเงินอย่างสมภาคภูมิ และมาดูกันว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จในครั้งนี้เกิดขึ้นจากอะไรบ้าง เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้นำไปปรับใช้ได้สำหรับทุกคน เริ่มจากผู้กำกับที่หลักไมล์ในวงการหนังไทยอาจดูน้อยเมื่อเทียบกับผู้กำกับท่านอื่น ๆ เนื่องจากมีผลงานที่ผ่านตากับหนังเรื่องยาวเพียง 2 เรื่องเท่านั้น นั่นคือ Countdown (2012) และ ฉลาดเกมส์โกง (2017) แต่เพราะผลงานหนังเรื่องฉลาดเกมส์โกง ได้สร้างรูปแบบเฉพาะตัว จนกลายเป็นงานเปี่ยมล้นด้วยสไตล์ที่ล้ำสมัยและสื่อสารทั้งคนไทยและชาวต่างชาติได้อยู่หมัด ทำให้ชื่อของ “บาส นัฐวุฒิ” กลายเป็นฟิล์มเมคเกอร์รุ่นใหม่ที่ฝีไม้ลายมือเป็นที่กล่าวขานในระดับสากล โดยที่หนัง ฉลาดเกมส์โกง หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Bad Genius ได้สร้างชื่อเสียงในระดับอินเตอร์โดยเฉพาะประเทศจีนที่สามารถทำรายได้ระดับปรากฏการณ์ ทำให้ชื่อของบาส ทำลายกำแพงภาษา เป็นที่เตะตาของผู้สร้างระดับโลกที่อยากจะชวนเขามาร่วมงานด้วย และผู้โชคดีที่ได้ร่วมโปรเจกต์หนังเรื่องต่อมาของบาสก็คือ ผู้กำกับผู้ทรงอิทธิพลของคนยุคใหม่อย่าง หว่องการ์ไว (Wong Kar-wai) นั่นเอง ใน One for the
แม้ในช่วงล็อคดาวน์ช่วงนี้ จะเป็นช่วงที่ซบเซาของฟากฝั่งหนังโรง อย่างงานประกาศผลออสการ์ปีล่าสุดคอหนังในไทยจะได้ดูหนังน้อยลงจนน่าใจหาย แต่สำหรับคอซีรีส์แล้ว ปีนี้นับเป็นปีทองและคึกคักเป็นที่สุด เพราะซีรีส์เรื่องเยี่ยมที่เข้ารอบสุดท้ายในการชิงรางวัล Emmy Awards รางวัลออสการ์ฝั่งซีรีส์ที่จัดมาเป็นครั้งที่ 73 แล้วในครั้งนี้ คอซีรีส์ชาวไทยได้ลุ้นกันอย่างเต็มเหนี่ยวเนื่องจากซีรีส์ที่เข้ารอบชิงในส่วนของ Drama มีฉายในสตรีมมิ่งครบทั้งหมด เราจึงขอเสนอซีรีส์ที่ได้เข้ารอบชิงชัยในสาขาใหญ่ นั่นก็คือสาขาซีรีส์ดราม่ายอดเยี่ยม เป็นไกด์ในการตัดสินใจดู มาเช็คกันว่าเรื่องไหนจะตรงใจ และเชียร์ชาว UNLOCKMEN ทั้งหลายกำลังเชียร์เรื่องไหนกันบ้าง The Boys 2 (Season 2) เริ่มกันที่ซีรีส์ Anti-Heroes ที่เราเคยเสนอกันไปแล้วในฐานะซีรีส์สุดแหวก ที่ในที่สุดความดีงามก็เปล่งประกายให้เห็นในฐานะซีรีส์ที่ได้เข้าชิงในหมวดซีรีส์ดราม่ายอดเยี่ยม เรื่องราวในยุคที่เหล่าซูเปอร์ฮีโร่ครองโลก ซึ่งแฝงด้วยด้านมืดและต้องการครอบงำโลกมนุษย์ด้วยการทำดีฉากหน้าแต่เบื้องหลังกลับเต็มไปด้วยความฟอนเฟะและความอำมหิตจนยากเกินต้าน จนเหล่ามนุษย์ธรรมดาที่มีปมหลังกับเหล่าฮีโร่ต้องรวมพลเพื่อที่จะต่อต้านและกำจัดให้หมดไป แต่การกำจัดยอดมนุษย์เหล่านี้ก็เหมือนเอาไม้ซี่ไปงัดไม้ซุง มันสมองและความบ้าเลือดเท่านั้นที่จะกำกัดเหล่าวีรุบุรษสุดโฉดเหล่านี้ได้ ซีรีส์เข้มข้นที่นับเป็นความกล้าหาญที่ฉีกกระชากหน้ากากวีรบุรุษ เพื่อเผยให้เห็นด้านอันชั่วร้ายเรื่องนี้ ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องมา 2 ซีซั่น จนได้ไปต่อในซีซั่นที่ 3 นี้ ค่อย ๆ เผยความชั่วร้ายและความลับของการครองโลกของเหล่าฮีโร่อย่างดุเดือด ขณะเดียวกันก็แทรกมุกตลกร้ายและเลือดที่นองจอ พร้อมจิกกัดคนบ้าอำนาจที่ใช้อำนาจผิดได้อย่างเหนือชั้น นับเป็นหนึ่งในซีรีส์ที่ทั้งสนุก เข้มข้น และเต็มไปด้วยความบ้าคลั่งที่น่าติดตามอย่างมาก สาขาที่ได้เข้าชิง Outstanding Drama Series
ในยุคสมัยที่โลกไร้พรมแดน แม้โรคระบาดจะปิดกั้นการเดินทาง แต่ไม่อาจขวางผลงานคุณภาพของศิลปินไทย ที่สร้างผลงานจนเป็นที่สะดุดตาสื่อดนตรีผู้ทรงอิทธิพลระดับโลกได้ โดยเฉพาะ NME สื่อดนตรีที่ยิ่งใหญ่แห่งเกาะอังกฤษ ที่นอกจากผลักดันศิลปินรุ่นใหม่มากมายมาอย่างยาวนานแล้ว ยังเปิดพื้นที่พูดถึงศิลปินจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ปลายปี 2020 และกลางปี 2021 ที่ผ่านมา NME ได้จัดอันดับ The 25 best Asian albums of 2020 และ The 10 best Southeast Asian albums and EPs of 2021 – so far โดยมี 5 อัลบั้ม และอีพี ของศิลปินไทยที่ได้เข้ารอบลึก ซึ่งศิลปินทั้ง 5 ล้วนสร้างความแตกต่างและความแปลกใหม่ให้กับวงการเพลงไทย จนสื่อใหญ่ยังต้องคารวะ เรามาดูกันว่า NME พูดถึงอัลบั้มเหล่านี้อย่างไรบ้าง และ UNLOCKMEN จะพูดถึงศิลปินเหล่านี้อย่างไรบ้าง TAITOSMITH –
โลกแฟนตาซีที่ไร้ซึ่งศีลธรรม มหกรรมแห่งการโรมรันอันเร่าร้อนบนจอ Porn Movie หรือ ภาษาชาวบ้านเรียกว่า หนังโป๊ / หนังผู้ใหญ่ / หนังเอวี แม้จะอยู่ขั้วตรงข้ามกับความดีงามและความถูกต้อง แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หนังอินดี้ที่ประหยัดงบคอสตูม ถ่ายกันอยู่ไม่กี่คน กลับเป็นแรงผลักดันมหาศาลต่อธุรกิจความบันเทิงมานานนับศตวรรษ และปั้นเม็ดเงินจนได้ให้กำเนิดนวัตกรรมสำคัญแห่งโลกเทคโนโลยีในปัจจุบัน และเพื่อต้อนรับซีรีส์ The Naked Director 2 เรามาทำความรู้จักกับหนังแนวนี้กันทีละก้าว เพื่อรู้ว่า หนังโป๊ที่เสื่อมศีลธรรม กลับสร้างนวัตกรรมมากมาย และผลักดันเศรษฐกิจให้กับโลกใบนี้ได้อย่างเหลือเชื่อ ก่อนศตวรรษที่ 20 Porn Movie เรื่องแรกของโลก ย้อนกลับไป ตั้งแต่โลกใบนี้เพิ่งรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่าภาพยนตร์ใหม่ ๆ ตั้งแต่ยุคหนังเงียบนั้น หนังที่เปลืองเนื้อหนังมังสาก็คลานตามกันมาไม่นานเช่นกัน มีข้อถกเถียงมากมายว่าหนังเรื่องไหนที่ควรนับเป็นหนังอีโรติกเรื่องแรก ถ้าเป็นการ “ถอดทีละชิ้น” เพื่อเห็นปทุมถันและของพึงสงวน หนังเรื่องแรกที่ควรได้รับตำแหน่งนั้นก็น่าจะเป็นหนังเงียบจากประเทศฝรั่งเศสเรื่อง “Le Coucher de la Mariée” ที่นักแสดงตลกสาว Louise Willy ลงทุนเปลื้องผ้าจะจะตาให้เห็นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1899 แต่ถ้าหนังอิโรติกที่มีฉากร่วมรักกันให้เห็น หนังเรื่อง
จากดนตรีอินดี้หัวก้าวหน้าที่มาเพื่อโค่นดนตรี Punk รุ่นแรก ที่นักวิจารณ์กล่าวขานว่าเป็น “คลื่นลูกใหม่” เพราะอะไรดนตรีขบถของคนรุ่นก่อน ถึงย้อนเข็มนาฬิกากลับมาอินอีกครั้งในยุคนี้ มาทำความรู้จักแนวดนตรีที่เปรียบดั่งความหวังของทศวรรษใหม่ไปพร้อมๆกัน Post-Punk / New Wave Then – The Birth of Post-Punk แนวดนตรี Post-Punk นั้นเกิดขึ้นจากจากการต่อต้านดนตรี Punk ในยุคปลายทศวรรษที่ 70s เหตุจากวง Punk เหล่านั้น ที่มีหัวหอกอย่าง Sex Pistol / The Clash / The Damned นั้นมักจะหัวรุนแรง กักขฬะ และขวางโลกอย่างไร้อารยะ แถมบางวงยังใช้ความ Punk เล่นดนตรีราวกับคนเล่นดนตรีไม่เป็น เน้นทำตัวแปลกแยกสังคมก็ดังแล้ว กลุ่มนักดนตรีกลุ่มหนึ่งที่มีแนวคิดต่อต้านสังคมเช่นกัน แต่มีความสนใจในศิลปะ และความลุ่มลึกทางดนตรีที่มากกว่า จึงตั้งใจทำดนตรีที่อาร์ต มีความใส่ใจทางดนตรีอันซับซ้อนที่วง Punk ที่เน้นแต่ความรุนแรงสั้นกระชับจนเกินไปให้ไม่ได้ แถมยังเปิดกว้างในแนวทางที่หลากหลายและกว้างขวาง แนวเพลง Post-Punk คือ Punk
กลับมาอีกครั้งกับเดือนกรกฎาคมที่ยังคงคุกรุ่นด้วยความทะมึนของไวรัสและวัคซีน เป็นอีกเดือนที่โรงหนังยังคงปิดเช่นเคยแถมร้านอาหารก็ยังมาปิด เราเลยไม่พลาดที่จะคัดโปรแกรมหนังเด็ด ๆ จาก Netflix ประจำเดือนกรกฎาคม 2021 ที่จะช่วยให้คุณลืมความเครียดในช่วงเวลานี้ไม่มากก็น้อย Kingdom: Ashin of the North กำหนดฉาย 23 กรกฎาคม เริ่มกันด้วยไฮไลท์ประจำเดือนนี้ จากซีรีส์ K-Zombie ชื่อดัง กับ Side Story ที่เล่าถึงมือปราบซอมบี้แห่งเผ่าเหนือ ที่กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตผีดิบออกอาละวาดไม่แพ้ตำหนักวังหลวง โดยหนังเรื่องนี้เล่าถึงเด็กสาวอาชิน ที่สูญเสียครอบครัวจากโศกนาฏกรรมปริศนา ทำให้เธอต้องเติบโตอย่างโดดเดี่ยวและแข็งแกร่ง พร้อมรอวันล้างแค้นและล้างบางกองทัพผีดิบนี้ สิ่งที่พิเศษสำหรับหนังภาคแยกนี้คือการมารับบทบาทของยัยตัวร้าย ชอน จี ฮยอน ที่ทั้งสวย เด็ด เผ็ด ดุ กับบทบาทมือปราบซอมบี้สาวสุดแกร่งที่พกแรงแค้นรอวันชำระ ซึ่งมั่นใจได้ว่า สนุก มันส์ ระห่ำ เลือดกระฉูดจอ อย่างแน่นอน Fear Street Trilogy (1994 / 1978 / 1666) กำหนดฉาย
“เพราะการเดินทาง คือการเติมเต็มชีวิต และค้นหาตัวตน” ใครบางคนเคยกล่าวคำเท่ ๆ เอาไว้ ถึงการเดินทางท่องเที่ยวไปยังถิ่นเมืองแปลก จะด้วยการไปเพื่อผ่อนคลายหรือไปเพื่อผจญภัยก็ตาม แต่คนที่กล่าวอาจจะไม่ทันได้คิดว่าโลกจะเข้าสู่วิกฤตโรคระบาด ที่รุนแรงถึงขั้นมนุษย์ไม่อาจจะเดินทางไปไหนได้ไกลจากรั้วบ้าน ซึ่งมันก็ผ่านไปปีกว่าแล้ว ยังคงไร้วี่แววที่เราจะแพ็คกระเป๋าออกเดินทางไหนได้เลย เราเข้าใจในความอึดอัดนี้ จึงขอแบ่งปันหนังเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวที่เราคิดว่ายอดเยี่ยมที่สุด อย่างน้อยก็ได้เที่ยวทิพย์ผ่านการดูหนังก็ยังดี โดยเราแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ เพื่อความชอบตามไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกันไป ถ้าพร้อมแล้วก็หยิบรีโมทค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวที่ใช่ แล้วออกเดินทางแบบเที่ยวทิพย์ไปพร้อมๆกันเลย Wild (2014) เรื่องราวที่สร้างจากชีวิตจริงของ Cheryl Strayed ผู้ทิ้งความหดหู่ของชีวิตในเมืองใหญ่ ตัดสินใจแบกเป้เดินเท้ากว่า 1,100 ไมล์ เพื่อออกตามหาความหมายของชีวิต หนังกล่าวถึงการต่อสู้ในจิตใจสับสนจากอดีตอันแสนช้ำตรม เพื่อมาสัมผัสธรรมชาติที่แม้จะโหดร้าย แต่กลับช่วยเยียวยาจิตใจ และช่วยให้เข้าใจความหมายอันถ่องแท้ของชีวิต Wild สร้างและแสดงนำโดย Reese Witherspoon หลังจากที่เธอได้อ่านหนังสือ Wild: From Lost to Found on the Pacific Crest Trail บทบันทึกที่เล่าถึงการเดินทางไปยัง “แปซิฟิก เครสต์ เทรล” ซึ่งเป็นเส้นทางเดินป่าตามสันเขาที่ทอดยาวตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของสหรัฐ