มีใครสักคนเคยบอกไว้ว่า คนที่เคยสร้างเสียงหัวเราะให้เรา เมื่อใดที่เขาจากไป เขาจะทำให้เราร้องไห้มากกว่าปกติหลายเท่า และทฤษฎีนี้ก็เป็นความจริง เมื่อเราได้รับข่าวสุดช็อคถึงการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของนักแสดงสายฮา ที่แม้ไม่เคยมีโอกาสได้รับบทเด่นนักแสดงนำ แต่ชายผู้นี้กลับสร้างความรู้สึกที่ดี และเป็นที่จดจำพูดถึงได้ในฐานะนักแสดงสมทบมาอย่างยาวนาน UNLOCKMEN ขอพาทุกคนนั่งไทม์แมชชีน สำรวจ 5 บทบาทอันยอดเยี่ยมที่ผ่านมา ที่บางเรื่องยังสามารถหาชมได้ทางสตรีมมิ่งในขณะนี้ ไปย้อนดูความเก่งกาจของนักแสดงผู้ยิ่งใหญ่และอารมณ์ดีท่านนี้ ที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม อู๋ม่งต๊ะ นักแสดงสมทบยอดเยี่ยมตลอดกาล A Moment to Romance (1990) – ผู้หญิงข้า…ใครอย่าแตะ ผลงานที่ทำให้เขาคว้ารางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จากเด็กหนุ่มจากจีนแผ่นดินใหญ่ เดินทางมาไกลเพื่อเต็มเติมฝันในฐานะนักแสดงจากทีวีบีในยุค 70s อู๋ม่งต๊ะ แม้หน้าตาของเขาจะไม่หล่อดุจเทพบุตร แต่เขาก็พยายามค้นหาตัวตนจากการรับบทตัวประกอบมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่เขาจะเลือกรับบทตัวร้าย เหตุผลเพราะในยุค 80s นั้นที่ว่างของตำแหน่งนี้ยังมีให้เขาได้รับอยู่เสมอ อู๋ม่งต๊ะจึงพยายามเล่นหนังที่เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ ขอให้ได้แสดง ก็เพียงพอแล้ว แต่บทบาทที่ทำให้คนดูหนังตราตรึง กลับหาใช่บทตัวร้ายที่เขาพยายามมาโดยตลอดไม่ แต่กลับเป็น Rambo ชายกระจอกไร้บ้าน รับจ้างล้างรถที่มาจอดแลกเศษเงิน เป็นทั้งลูกพี่และลูกกระจ๊อกของหลิวเต๋อหัวในคราวเดียวกัน ในหนังที่สร้างชื่อให้หลิวเต๋อหัวได้เป็นขวัญใจนักดูหนังชาวไทย นั่นก็คือ “ผู้หญิงข้า…ใครอย่าแตะ” นั่นเอง บทบาทนักเลงปลายแถวสุดกระจอก อวดดี และอยากเป็นนักเลงโตของอู๋ม่งต๊ะ ฉายภาพของคนจรไร้รากได้ทั้งน่าหมั่นไส้และน่าสงสารในคราวเดียวกัน
แม้จะผ่านปี 2021 มาแล้ว 2 เดือน แต่สถานการณ์ของวงการหนังก็ยังไม่สู้ดีนัก โดยเฉพาะโรงหนังที่ยังไม่มีสตูดิโอไหนกล้าที่จะปล่อยหนังเด็ดหนังใหญ่ให้ได้ดูกันแบบปกติเหมือนปีก่อน ๆ เช่นเคย แต่ช้าก่อน…ถึงแม้บางคนยังไม่กล้าที่จะดูหนังในโรง แต่สตรีมมิ่งอย่าง Netflix ก็ยังเสนอความร้อนแรงผ่านหนังหลากหลายให้ได้ชมกันเช่นเดิม และในเดือน มีนาคม 2021 นี้ Netflix ก็ยังมีหนังดี ๆ หลากแนว หลายรูปแบบให้ชม ทั้งสารคดี / หนังแอ๊คชั่น ไปยันหนังตลกก็มีให้ชมอย่างจุใจ แถมยังมีหลายสัญชาติให้คอหนังได้ลองลิ้มชิมรสชาติที่แตกต่างอีกด้วย ไปดูกันว่าเดือนนี้ มีหนังอะไรเด็ด ๆ ที่ UNLOCKMEN ภูมิใจเสนอให้ดูกันบ้าง เริ่มต้นด้วยสารคดีที่เล่าถึงแร็ปเปอร์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้สร้างประวัติศาสตร์หน้าสำคัญให้กับวงการ Hip Hop ก่อนถูกลอบสังหารอย่างเป็นปริศนาที่ค้างคาใจครอบครัวมาตลอด 24 ปี หนังเล่าเรื่องของ Christopher George Latore Wallace หรือ ฉายา Biggie Smalls ที่มีพรสวรรค์ทางด้านดนตรีมาตั้งแต่เด็ก ๆ และเกือบจะได้เป็นศิลปินแจ๊ส ก่อนชีวิตจะหักเหไปสู่หนทางแห่งการค้ายา อำนาจ และพลังแห่งดนตรี
ช่วงเวลานี้ ในแวดวงดนตรีคงไม่มีอะไรข่าวอะไรที่ช็อควงการเท่ากับการยุติบทบาททางดนตรีของ Daft Punk คู่หู Robot Electro ที่บอกลาความยิ่งใหญ่ตลอด 28 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ยุค 90’s จวบจนปัจจุบัน แต่ถึงแม้จะเป็นการอำลาที่แสนเศร้า แต่ผลงานที่ผ่านมาก็ได้พิสูจน์ตัวตนของพวกเขาแล้วว่ายิ่งใหญ่ขนาดไหน และวันนี้เราจะมาสรุปว่ามีบทเรียนอะไรบ้างที่พวกเราควรยึดถือความเจ๋งของ Daft Punk เป็นแบบอย่าง Pre – Daft Punk – Darlin’ (1992-1993) จุดเริ่มต้นของ Daft Punk ไม่ใช่ Duo แต่เป็น Trio อาจจะแปลกและแตกต่างกับวงอื่น ๆ ไปสักหน่อย ที่ร่องรอยการเริ่มต้นของพวกเขานั้นหาได้เริ่มต้นจากดนตรีสังเคราะห์ไม่ แต่ Thomas Bangalter ได้ชักชวนเพื่อนซี้ที่เรียนมัธยมมาด้วยกันอย่าง Guy-Manuel de Homem-Christo และสมทบด้วยเพื่อนนักดนตรีอีกคนที่สมัครเข้ามาภายหลังอย่าง Laurent Brancowitz โดย Laurent Brancowitz ได้กล่าวถึงการเจอคู่หูทางดนตรีคู่นี้ในวันแรกกับรายการวิทยุ BBC ว่า “ผมเห็นป้ายประกาศรับนักดนตรีที่ร้านขายแผ่นเสียง ผมเลยตามไปสมัคร โดยที่ผมได้เจอกับ
ถึงแม้ดนตรี Rock & Roll ในช่วงแรกเริ่มจะเป็นเหมือนเด็กหัดคลาน เนื่องจากยังไม่สามารถแยกออกจากดนตรีดั้งเดิมไม่ว่าจะเป็น R&B / Country หรือ Blues ได้ และกว่าที่ดนตรีร็อคจะเริ่มจากตั้งไข่เป็นเดินเตาะแตะ กาลเวลาก็หมุนมาหยุดที่ปี 1955 ที่เรียกได้ว่าเป็นการตัดริบบิ้นเปิดตัวดนตรี Rock & Roll อย่างเป็นทางการ และได้ถือกำเนิดบรรพบุรุษแห่งดนตรี Rock พร้อมกันถึง 3 คนในปีนั้นโดยมิได้นัดหมาย โดยที่ทั้ง 4 ไม่เพียงแต่จะเป็นบรรพบุรุษผู้ปลุกกระแสดนตรีโยกคลึงให้กลายเป็นหมุดหมายสำคัญแห่งดนตรีโลก คนแรกที่ UNLOCKMEN อยากแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จัก ก็คือร็อคสตาร์ที่เริ่มต้นไขลานนาฬิกาให้โลกได้รู้จัก Rock & Roll นั่นก็คือ Bill Haley & His Comets นั่นเอง ชายหนุ่มเจ้าเสน่ห์ ที่การบกพร่องทางการมองเห็น ไม่อาจกั้นขวางความเท่ที่เขามีต่อสาว ๆ ทั่วทั้งโลก แม้แต่ควีนอลิซาเบธก็ยังพ่ายให้เสน่ห์ของเขา ชายหนุ่มผู้ทำให้ดนตรี Rock & Roll ที่สดใหม่ในยุคนั้นมีชีวิตชีวาและเป็นบทเริ่มต้นสำคัญที่ยิ่งใหญ่เหนือกว่าดนตรีแนวอื่นๆทั้งหลายทั้งปวง อุบัติเหตุที่ผิดพลาด ผงาดพรสวรรค์ประจักษ์
“เพลงอะไร เพราะดี ไม่เคยฟังมาก่อน” คือคำพูดที่ชวนให้คนรุ่นใหม่ต้องแสลงหู เมื่อเราลองให้คนอายุ 30 ปีขึ้นไปบางกลุ่มลองฟังเพลงใหม่เหล่านี้ กว่า 80% มักจะไม่อินกับเพลงใหม่ และเราก็ได้ค้นพบงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตั้งสมมติฐานอันน่าสนใจว่า “เรามักจะหยุดรับเพลงใหม่ตอนอายุ 30 ปี” โดยงานวิจัยนี้ได้ค้นพบในปี 2015 บล็อก Skynet & Ebert จากการสำรวจข้อมูลจากผู้ฟัง Spotify จำนวน 1,000 คน แม้ข้อมูลนี้จะผ่านมาเนิ่นนานถึง 6 ปีแล้ว แต่ข้อมูลยังคงน่าสนใจและยังใช้ได้จนถึงปัจจุบัน ว่าเพราะเหตุใดเราถึงหยุดการอัพเดทเพลงใหม่ทั้งๆที่ในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างพากันผลักดันให้การฟังเพลงนั้นชิดใกล้เพียงปลายนิ้วสัมผัส Unlockmen จึงขอย่อยงานวิจัยอันยุ่งเหยิงเหล่านี้ให้ชวนเข้าใจกันง่ายๆดังต่อไปนี้ ในงานวิจัยพบว่าวัยรุ่นในวัย 12-22 ปี สมองจะตื่นตัวต่อการตอบรับสิ่งใหม่ ๆ ได้ดี ในขณะที่คนอายุ 30 ขึ้นไป หากเปรียบสมองเป็นฟองน้ำ พวกเขาก็รับประสบการณ์ต่าง ๆ จนบวมน้ำกันไปหมดแล้ว ดังนั้นจึงไม่แปลกหากเราจะหยุดรับข้อมูลใหม่ ๆ ไปซะดื้อ ๆ ซึ่งในการวิจัยนี้ได้ย่อยลึกลงไปอีกว่า อายุที่มากที่สุดที่สนใจในการค้นหาเพลงใหม่ คืออายุ 24 ปี และโดยเฉลี่ย
ช่วงนี้กระแสของการเล่น SurfSkate & Skateboard กลายเป็นเทรนด์ฮิตอย่างมาก ไม่เพียงแค่หมู่วัยรุ่นเท่านั้น แม้แต่วัยทำงานที่เคยมองผ่านกีฬา Extreme ชนิดนี้ในยุครุ่งเรืองก็เล่นกันให้เต็มบ้านเต็มเมืองเลยทีเดียว เหล่า celeb ที่โหมจนเซิร์ฟบกกลายเป็น Mega เทรนด์ใหม่ รวมไปถึงเด็ก ๆ ต่างก็พากันจับจองพื้นราบพื้นเนินตามสวนสาธารณะ เพื่อเล่นกีฬาสุดฮิตนี้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อปล่อยตัวไปตามไปตามแรงลมและลู่ล้อแห่งความอิสระเสรี เรามาดูวิวัฒนาการผ่านหนัง Surf Skate & Skateboard ที่แม้บางเรื่องจะหาดูยาก แต่ก็ไม่เกินความสามารถในการรับชมได้ทาง Internet และบางเรื่องก็บันทึกช่วงเวลาสำคัญแห่งนักสเก็ตบอร์ดชื่อดังในตำนาน UNLOCKMEN ไม่อยากให้คุณพลาดกับที่สุดของหนังเหล่านี้ ถ้าพร้อมแล้ว ไถหน้าจอแล้วไปหาดูกันได้เลย คุณูปการสำคัญสำหรับ Skaterdater คือหนังที่ได้รับการบันทึกว่า “เป็นหนังสเก็ตบอร์ดเรื่องแรกของโลก” หนังสั้นไร้ไดอะล็อคเรื่องนี้ บันทึกภาพของเหล่าเด็กสเก็ตเท้าเปล่าที่โชว์ความโลดโผนบนท้องถนน ผ่านสายตาผู้คนในชุมชนมากมายที่บ้างมองด้วยความทึ่ง บ้างมองด้วยความดูถูกดูแคลน แต่หนุ่มน้อยคนหนึ่งในแก๊งกลับผ่าเหล่าเมื่อเขาได้ชนกับเด็กสาวที่ขี่จักรยานโดยบังเอิญ จนกลายเป็นความรัก / ความขัดแย้งของกลุ่ม / การแบทเทิ่ล และการเรียนรู้ของชีวิตในแบบ Coming-of-Age จนเรียกได้ว่าเป็น “แฟนฉัน” ฉบับ Skateboard ได้เลย หนังสั้นเพียง 15
เพราะกระบวนการทำหนังนั้นมีผู้เกี่ยวข้องที่หลากหลายกว่าจะเสร็จสิ้นจนเป็นหนังที่สมบูรณ์แบบให้ทุกคนได้รับชมกัน ซึ่งหัวเรือใหญ่ที่นำพาให้หนังเรื่องหนึ่งถึงฝั่งได้สำเร็จนั้นเป็นที่เข้าใจกันว่า “ผู้กำกับภาพยนตร์” ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกเพียงแค่ครึ่งเดียว หากแต่กระบวนการสุดท้ายที่แท้จริงนั้นจะตกอยู่กับทั้ง สตูดิโอผู้สร้าง, นายทุน (Executive Producer) และผู้อำนวยการสร้าง (Producer) ที่มีสิทธิ์อันชอบธรรมในการนำเสนอภาพยนตร์ไปสู่ขั้นตอนสุดท้าย และเป็นข้อตกลงปกติที่ผู้กำกับจะรับทราบและปล่อยผ่านให้ 3 ตำแหน่งนี้มีสิทธิ์เด็ดขาดในการควบคุมหนังในวินาทีสุดท้ายก่อนฉายให้ได้ชมกัน จึงมีหนังหลายต่อหลายเรื่องที่ท้ายที่สุดอาจจะออกมาไม่ถูกใจผู้กำกับ และจำยอมต้องให้หนังเรื่องนี้ออกฉายไปด้วยความจำยอม ซึ่งส่วนใหญ่ข้อพิพาทระหว่างผู้กำกับกับผู้อำนวยการสร้างและนายทุน ไม่พ้นความยาวของหนังที่ยาวกว่าปกติจนต้องหั่นสั้นเพื่อให้ฉายทำรอบได้ หรือการตีความใหม่ของผู้กำกับที่ลึกล้ำเกินกว่าคนทั่วไปจะเข้าถึง ซึ่งทำให้บางเรื่องเมื่อถูกบิดเบือนไปจากผู้กำกับ ก็นำมาซึ่งหายนะทางตารางทำเงิน ไปจนถึงการโห่ไล่ของนักวิจารณ์และแฟน ๆ จนเกิดทางเลือกใหม่ของนักดูหนัง นั่นก็คือหนังฉบับ Director’s Cut ที่ออกฉายที่หลังแต่เป็นความตั้งมั่นและสาสน์ของผู้กำกับที่ต้องการเล่าเรื่องในแบบที่เขานั้นต้องการโดยไม่ผ่านเงื่อนไขทั้งในเรื่องความยาวหรือการตีความในเชิงศิลปะ ดังเช่นผู้กำกับคนดังอย่าง Zack Snyder ต้องการบูรณะหนัง Justice League หลังจากที่บทวิจารณ์ในช่วงฉายใหม่ ๆ ไม่ค่อยสู้ดีนัก ก่อนที่เราจะไปชมที่มาของซีรีส์ขนาดยาวของ Justice League เรามาย้อนดูหนังที่ผู้กำกับบูรณะใหม่แล้วปังเพื่อดูแนวคิดของพวกเขากัน และคุณจะรู้ว่า หนังฉบับ Director’s Cut นั้นมีคุณค่ากว่าที่คุณคิด หนังคาวบอยที่ทิ้งทวนยุคสมัยของฮีโร่บนหลังม้าที่มักจะเสนอแต่ภาพฮีโร่โรแมนติก แต่ Sam Peckinpah ผู้กำกับจอมซาดิสต์กลับมองว่า “หนังที่ยิงกันเลือดไม่สาด มันจะสวยสดงดงามได้ยังไงวะ” ว่าแล้วก็จัดหนักให้กลายเป็นหนังคาวบอยที่ปฏิวัติรูปโฉมของโลกตะวันตก
หนึ่งในการโจรกรรมเหนือเวหาระดับตำนานจากยุค 70 ที่ผ่านกาลเวลายาวนานกว่าสองทศวรรษ แต่ยังคงถูกพูดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ในฐานะคดีลึกลับของชายที่ใช้นามแฝง “D. B. Cooper” ก่อเหตุจี้เครื่องบินเรียกเงินค่าไถ่จำนวนมหาศาล และหนีหายไปอย่างไร้ร่องรอยจน FBI ไม่สามารถไขคดีได้จนถึงปัจจุบัน ย้อนกลับไปในช่วงบ่ายของวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1971 มีชายผิวขาววัยกลางคน บุคลิกสุขุมเงียบขรึม ใส่เสื้อเชิ้ตสีขาว ผูกเนคไทสีดำ และสวมเสื้อสูทสีดำเหมือนนักธุรกิจ เขาเดินตรงมาที่เคาน์เตอร์ของสายการบินนอร์ธเวสต์ แอร์ไลน์ (Northwest Airlines) เขาใช้เงินสดซื้อตั๋วเที่ยวบิน 305 ที่มุ่งหน้าไปยังซีแอตเทิล เมืองท่าชายฝั่งในรัฐวอชิงตัน ภายใต้นามแฝง แดน คูเปอร์ (Dan Cooper) เครื่องบินลำดังกล่าวคือเครื่องโบอิ้ง 727 เขาเลือกนั่งในตำแหน่ง 18C ที่ด้านหลังสุดของห้องโดยสาร เขาได้สั่งเบอร์เบินกับโซดามานั่งจิบแบบสบายอารมณ์ และในเวลา 14:50 น. เที่ยวบิน 305 ได้ออกบินตามกำหนดเวลา และเพียงแค่ 10 นาทีต่อมา คูเปอร์ได้ยื่นกระดาษโน้ตให้แอร์โฮสเตสที่นั่งใกล้เขามากที่สุด ฟลอเรนซ์ แชฟฟ์เนอร์ (Florence Schaffner)
หลังจากมนุษยชาติต่างพากันโล่งใจที่วิกฤติ Y2K ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เมื่อตัวเลขดิจิตอลเปลี่ยนเลขสหัสวรรษ จาก 19 สู่ 20 โลกของดนตรีก็ขานรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เราไม่จำเป็นต้องพกคาสเซ็ทท์หรือซีดีเทอะทะ เพราะไฟล์เพลงเริ่มแปรรูปเป็น MP3 ส่วนแนวดนตรี Emo / Nu Metal และ Garage ที่ตั้งไข่ตั้งแต่ปลายยุค 90s ก็เริ่มกระหึ่มในยุค 2000s เสียงกริ่งโทรศัพท์มือถือเริ่มเป็นเสียงริงโทนจากจังหวะเพลงฮิตในยุคนั้น Unlockmen ขอนำทุกท่านย้อนกลับไปฟังเพลงสุดฮิตในยุคนั้น ที่แค่ขึ้น Intro ก็ใส่กันยับแล้ว นับว่าเป็นเพลงชาติแห่งยุค 2000s ที่ได้ยินเมื่อไหร่ ก็นึกถึงช่วงเวลานั้นทันที Papa Roach – Last Resort เพลง Nu Metal ที่ผสมสัดส่วนของเพลงร็อคและเพลงแร๊พได้อย่างลงตัว เป็นเพลงเดบิวท์ที่ทำให้โลกรู้จักวงร็อคคณะป๊ะป๋าแมลงสาบอย่างเป็นทางการ แม้บทเพลงจะมันส์ชวนโยกอย่างรุนแรง แต่เนื้อหานั้นกลับพูดถึงเรื่องซีเรียสอย่างการฆ่าตัวตาย โดยเนื้อหาของเพลงนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูมเมทที่พยายามจะฆ่าตัวตาย เพื่อนๆจึงพาเขาไปบำบัดทางจิตเพื่อช่วยให้เขาเลิกคิดสั้น ซึ่งเนื้อเพลงอธิบายความทรมานผ่านท่อนฮุคที่ชวนโดดได้ว่า ‘Cause I’m losing my sight, losing my
ภาพยนตร์ที่ทั้งสมชายชาตรี ดูกี่ทีก็ไม่มีเบื่อ ต้องยกให้ภาพยนตร์แนวสงครามบู๊แหลกลาญเลือดสาดจากเหล่าทหาร โดยเฉพาะเรื่องที่สร้างแบบ Based on true story ยิ่งทำให้ความมันส์เพิ่มเป็นทวีคูณ ได้ทั้งความบันเทิงและความรู้ บางเรื่องดูไปต้องเปิด Wikipedia ควบคู่ตามไปด้วยเพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชม และสำหรับคนที่ไม่ได้มีแพลนจะไปออกไปเที่ยวที่ไหน อยากจะอยู่บ้านติดหน้าจอเพื่อพักผ่อนให้เต็มที่ เราได้ระดมรายชื่อหนังสงครามที่จะดูดให้ตูดคุณติดโซฟาได้ยาวนานถึงวันทำงานมาฝาก ที่คุณต้องทำก็แค่เตรียมเบียร์เย็น ๆ ไว้ในมือขวา พร้อม remote กดสั่งเช่าหนังดูทางออนไลน์ผ่าน Online Streaming ที่มีให้เลือกมากมายก็พอ 13 Hours: The Secret Soldiers of Benghazi ภาพยนตร์เรื่องราวของทหารรักษาความปลอดภัยจากหน่วยงาน Global Response Staff (GRS) ที่ต้องเอาตัวรอดจากใจกลางฐานทัพผู้ก่อการร้าย พร้อมป้องกันชีวิตเจ้าหน้าที่ CIA, พนักงาน และประชาชนภายในที่มั่นสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาในเบนกาซี ประเทศลิเบีย ซึ่งการบุกโจมตีหลายระลอกโดยผู้นำ Ansar al-Sharia นั้นบอกเลยว่าหนักหน่วง จึงเป็นหน้าที่ของ Jack Silva และเพื่อนทหาร ในการยันข้าศึกเพื่อรอความช่วยเหลือให้ได้อย่างน้อย 13 ชั่วโมง ภาพยนตร์สร้างจากการดัดแปลงเนื้อหาในหนังสือ 13