เมื่อก่อนการเดทหลังอกหัก คงเป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับใครหลายคน อาจเพราะยังมูฟออนกับรักครั้งเก่าไม่ได้ หรือ กลัวว่าความสัมพันธ์ครั้งใหม่จะลงเอยแบบเดิม จึงต้องทำใจอยู่นานกว่าความรักครั้งใหม่จะเริ่มต้นขึ้น แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่า ความคิดของคนเราจะเปลี่ยนไปจากเดิม คือ คนที่เพิ่งอกหักหลายคนรู้สึกตื่นเต้นกับเดทครั้งใหม่ และพร้อมที่จะมีความรักครั้งใหม่มากขึ้น จนมีการนิยามคำว่า Oystering ขึ้นมาเป็นเทรนด์การหาคู่ที่น่าจับจาในปีนี้ Oystering ไม่ใช่พฤติกรรมการเดท แต่มัน คือ วิธีการมองโลกของคนอกหักที่มองว่าโลกเหมือนเป็นหอยนางรมที่สามารถหากินได้ตลอดเวลา โดยคำนี้ได้รับความนิยมมากขึ้น หลังจากที่ Badoo แอพหาคู่ชื่อดัง ได้เปิดเผยงานวิจัยของตัวเอง ซึ่งพบว่าคนโสดที่เพิ่งเลิกกับแฟนมาจำนวนเกือบครึ่ง (46%) รู้สึกตื่นเต้นที่จะออกเดทอีกครั้ง ในขณะที่คนโสดกว่า 50% พร้อมเริ่มต้นการเดทที่จริงจังในปี 2022 เชื่อกันว่า ความคิดในการเดทหลังอกหักได้รับอิทธิพลมาจาก pop culture เช่น ภาพยนตร์ ละคร หรือ ดนตรี ซึ่งทำให้คนเห็นความสำคัญของ ‘การซ่อมแซมตัวเอง’ หลังจากสูญเสียคนรักมากขึ้น อย่างการเดทก็เป็นวิธีการซ่อมแซมตัวเองที่ดีวิธีหนึ่ง เพราะมันสร้างความสนุกสนานและเยียวยาจิตใจที่อ่อนล้าของเราได้จริง เพราะฉะนั้นแทนที่เราจะเปิดเพลงอกหัก และจมปักอยู่กับความรู้สึกเศร้าสร้อย การมองหาความรักครั้งใหม่จึงเป็นวิธีเยียวยาจิตใจที่น่าสนใจในสายตาของใครหลายคน นอกจาก Oystering แล้ว ทาง Badoo ยังพูดถึงเทรนด์การเดทแบบอื่นที่น่าจับตามองในปีนี้ด้วย เช่น Untyping
หลายคนมักเชื่อว่า “ผู้หญิงเป็นเพื่อนกับผู้ชายไม่ได้” เพราะเวลาผู้ชายมีแฟน การทำตัวสนิทสนมกับเพื่อนผู้หญิง อาจทำให้แฟนเกิดอาการหึงหวงจนความสัมพันธ์ร้าวฉานได้ ดังนั้น ผู้ชายบางคนจึงยอมตัดขาดกับเพื่อนซี้ เพื่อทำให้หวานใจรู้สึกสบายใจ แต่ความเป็นจริง สุภาพบุรุษไม่จำเป็นต้องเจ็บตัวขนาดนั้นเพื่อแฟนก็ได้ เพราะความสัมพันธ์แบบเพื่อนสนิท หรือ ที่เราเรียกกันว่า Platonic Relationship ช่วยลดความเครียดและดีต่อสุขภาพจิตของเรา หากเราสูญเสียความสัมพันธ์ประเภทนี้ไป เราอาจเจอกับวิกฤตด้านสุขภาพจิตก็เป็นได้ รู้จักกับ Platonic Relationship ย้อนกลับไปในยุคกรีกโบราณ Plato นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ของโลกได้อธิบายว่า ความรักแบบไม่ต้องการเซ็กซ์ เป็นความรักขั้นสุดยอดที่จะทำให้เราใกล้ชิดกับพระเจ้า ซึ่งความรักประเภทนี้ถูกตั้งชื่อว่าเป็น Platonic Love หรือ ความรักแบบเพลโต โดย เซอร์วิลเลี่ยม เดวีแนนท์ (Sir William Davenant) ในปี 1636 จนถึงปัจจุบัน Platonic Love คือ ความรักบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเรื่องเพศมาเกี่ยวข้อง เมื่อคนสองคนมอบความรักประเภทนี้ให้แก่กัน จะเกิดเป็น ความสัมพันธ์แบบเพลโต้ (Platonic Relationship) หรือ ความสัมพันธ์แบบรักกัน ผูกพันกัน เข้าใจกันทุกเรื่อง แต่ไม่ต้องการเซ็กซ์ขึ้นมา
พอรู้ว่าลูกชายหรือลูกสาวที่ตัวเองเลี้ยงมากับมือตั้งแต่เล็กจนโต จะต้องออกจากบ้านไปทำงานหรือเรียนในที่ห่างไกลการดูแล ผู้ปกครองมักรู้สึกสับสนหรือรู้สึกไม่สบายใจจากการสูญเสียสมาชิกในบ้าน และบรรยากาศรอบตัวที่เหงาลง เราเรียกอาการที่เกิดขึ้นว่าเป็น ‘Empty Nest Syndrome’ ซึ่งทำลายสุขภาพจิตของผู้นำครอบครัวได้อย่างมาก หากไม่ได้รับการดูแลที่ดี UNLOCKMEN จึงอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จักวิธีรับมือกับอาการนี้ให้อยู่หมัดกัน Empty Nest Syndrome คือ อะไร Empty Nest Syndrome คือ อาการโศกเศร้าของผู้ปกครองที่เกิดขึ้นหลังจากลูกของพวกเขาได้ออกจากรังหรือบ้านของพวกเขาไป การสูญเสียสมาชิกในบ้านทำให้ผู้ปกครองต้องเจอกับการสูญเสียครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น สูญเสียหน้าที่และชีวิตประจำวันในฐานะผู้ปกครอง หรือ สูญเสียการใช้เวลาร่วมกับลูกตัวเอง เป็นต้น ส่งผลให้พวกเขาเกิดความเจ็บปวด และอาจต้องใช้เวลาพักใหญ่กว่าจะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ ความน่ากลัวของอาการ Empty Nest คือ มันทำให้ผู้ปกครองเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและอาการติดสุรามากขึ้น เพราะความรู้สึกแย่ ๆ ที่เกิดขึ้นค่อนข้างบั่นทอนจิตใจพวกเขามากสมควร จนบางคนอาจเลือกที่จะหนีจากความเจ็บปวดโดยการใช้ของมึนเมาเป็นตัวช่วย แต่ในอีกด้านหนึ่ง มันก็ช่วยลดความขัดแย้งเรื่องงานหรือครอบครัวได้เหมือนกัน เพราะคู่รักบางคู่อาจโฟกัสกับเรื่องลูกเป็นหลักมาตลอด จนเมื่อภาระเรื่องลูกหายไป พวกเขาก็สามารถกลับมาโฟกัสกับเรื่องความสัมพันธ์ได้มากขึ้น และมีชีวิตสมรสที่มีคุณภาพมากกว่าเดิม เราจะรับมือกับ Empty Nest Syndrome ได้อย่างไรบ้าง คนที่เจอกับ Empty Nest
หลายคงรู้จักกับใครสักคนที่คลั่งไคล้ดารา ศิลปิน หรือ คนดังแบบหัวปักหัวปำแบบตามติดตามชีวิตของคนดังในทุกฝีก้าวกันมาบ้าง พวกเขาอาจรักมากจนยอมควักเงินก้อนโตเพื่อทำป้ายวันเกิด หรือ ซื้อของสะสมของไอดอลคนนั้นมาประดับห้องหลายชิ้น บางคนอาจสงสัยว่าทำไมเราถึงรักคนที่ไม่สนใจใยดีเราได้ขนาดนี้ วันนี้เราจะคลายความสงสัยของทุกคนด้วยการอธิบายเรื่อง ‘Parasocial Relationship’ หรือ ความสัมพันธ์แบบกึ่งมีส่วนร่วมทางสังคม เกี่ยวกับ Parasocial Relationship “เก็บเรื่องของนางเอกที่ชื่นชอบไปฝัน” หรือ “การทำตัวเองให้ดูเท่แบบพระเอกในหนังเรื่องโปรด” ล้วนเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าเราอาจตกอยู่ในความสัมพันธ์แบบ “Parasocial Relationship” กับคนบนหน้าจอที่เราหลงใหล โดยความสัมพันธ์ประเภทนี้ได้รับการนิยามโดยสองนักจิตวิทยาทางสังคม Donald Horton และ R. Richard Wohl ตั้งแต่ปี 1956 ซึ่งเป็นปีที่พวกเขาได้ทำงานวิจัยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคนดูและบุคคลที่ปรากฎในทีวี เช่น ผู้ประกาศข่าว หรือ นักแสดงละครน้ำเน่า จนค้นพบปรากฎการณ์ที่น่าสนใจจากงานวิจัยดังกล่าว จากการวิจัย พวกเขาพบว่า ผู้ชมทีวีชาวอเมริกัน ได้เกิดความสัมพันธ์ face-to-face relationship แบบหลอก ๆ กับตัวละครในทีวีขึ้นมา หรือ พูดง่าย ๆ คือ พอพวกเขามองตัวละครในทีวีไม่ต่างจากเพื่อนหรอคนที่อยู่ตรงหน้าพวกเขาในโลกความเป็นจริง พอพวกเขาได้เห็นชีวิตของตัวละครเหล่านี้บ่อย ๆ
หลายคนน่าจะเคยเจอกับเหตุการณ์เศร้า ๆ บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็น อกหักจากคนที่ชอบ พ่ายแพ้ในการแข่งขัน หรือ ตัดสินใจผิดพลาดจนได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจออกมา เหตุการณ์เหล่านี้คงสร้างความเครียดให้กับเราได้มากพอสมควร บางคนอาจใช้เวลาทำใจเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือ เป็นปี กว่าจะฟื้นฟูจากความเครียด และรู้สึกเจ็บจากบาดแผลทางใจน้อยลง จนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนเดิม แต่สำหรับบางคนประสบการณ์ที่เลวร้าย ไม่ได้ทำให้เกิดบาดแผลทางใจเท่านั้น แต่มันทำให้ ‘หัวใจ’ ของพวกเขาทำงานผิดปกติด้วย เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ เป็นต้น เราเรียกอาการแบบนี้ว่าเป็น Broken Heart Syndrome ซึ่ง UNLOCKMEN เห็นว่าเป็นอาการที่อยู่ใกล้ตัวและอันตรายกับเราทุกคน จึงอยากให้ทุกคนรู้จักวิธีรับมือกับมัน Broken Heart Syndrome เกิดขึ้นได้อย่างไร ร่างกายและจิตใจของเรามีความใกล้ชิดกันมากกว่าที่หลายคนคิด ถ้าสุขภาพจิตของเราดี ร่างกายของเรามักดีตาม แต่ถ้าสุขภาพจิตแย่ เราอาจมีอายุขัยสั้นกว่าคนอื่น งานวิจัยบางชิ้นบอกว่า สภาพจิตใจที่ดี (หรือ สภาพจิตใจเชิงบวก) ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจวาย และเส้นเลือดในสมองแตกได้ สุขภาพจิตจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เรามีอายุที่ยืนยาว ไม่ตายก่อนวัยอันควร ตอนนี้ยังไม่มีใครรู้ว่า Broken Heart Syndrome เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า
เมื่อเราเจอกับเรื่องที่น่าผิดหวังบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น ทำงานพลาด โดนแฟนทิ้ง หรือ ไม่ได้รับในสิ่งที่หวังไว้ สิ่งที่เกิดขึ้น คือ เรามักคิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่า และไม่สมควรได้รับความรักจากใครแม้แต้ตัวเอง พอนาน ๆ เข้า เราก็อาจจะดาวน์ และนำไปสู่ปัญหาด้านการใช้ชีวิตในที่สุด การรักตัวเอง หรือ self-love จะเป็นสกิลสำคัญในเวลาที่เจอเรื่องแบบนี้ มันจะช่วยให้เรารอดพ้นจากเรื่องแย่ ๆ ได้ และสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขดังเดิม ทำไม self-love ถึงเป็นสกิลเอาตัวรอด ? หลายคนคงได้ยินคำว่า ‘รักตัวเอง’ บ่อยแล้วจากคนรอบข้าง แต่พอจะหันมารักตัวเองจริง ๆ อาจเริ่มรู้สึกสับสน เพราะคำนี้มีความหมายค่อนข้างกว้าง เราเลยอยากอธิบายบริบทของการ ‘รักตัวเอง’ ที่กำลังจะกล่าวถึงว่ามันคืออะไรกันแน่ self-love คือ การรักตัวเอง และยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็น คนที่รักตัวเองจะเข้าใจว่าตัวเองอยากทำอะไร และเข้าใจด้วยว่าความคิดและอารมณ์ส่งผลต่อตัวเองอย่างไร เมื่อเรารักตัวเอง เราจะมองเห็นคุณค่าของตัวเองอยู่เสมอ แม้เราจะเจอกับเรื่องที่ทำให้เราโกรธ เกลียด หรือ ผิดหวังในตัวเองมากแค่ไหนก็ตาม เราก็จะไม่ดาวน์ และสามารถรับมือกับมันได้เป็นอย่างดี คนที่รักตัวเองมักทำเรื่องเหล่านี้ ได้แก่ พูดสิ่งดี
ในหนึ่งชีวิตนี้เราทุกคนล้วนเคยป่วย เราอาจเคยเป็นหวัดเพราะอากาศเปลี่ยน เราอาจเคยเป็นไข้เลือดออกเพราะโดนยุงลายที่มีเชื้อกัด เราอาจเคยเป็นไมเกรนเพราะเครียดกับงานที่ทำมากเกินไป การป่วยจึงเกิดขึ้นได้กับทุกคนเป็นปกติ และอาการป่วยส่วนใหญ่รักษาให้หาย หรือหาวิธีร่วมอยู่กับอาการได้ เมื่อร่างกายป่วยได้ ก็หมายความว่าความรู้สึก จิตใจที่ผ่านการสั่งการจากสมองนั้นป่วยได้เช่นกัน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรถ้าเราจะได้เจอคนที่ป่วยใจในชีวิต บางคนเป็นโรคซึมเศร้า บางคนอาจเป็นไบโพลาร์ บางคนอาจเป็นโรคเครียด ฯลฯ แต่เมื่อคนใกล้ตัว โดยเฉพาะคนที่เรารักป่วยใจ เราคงอยากรู้ว่าเราควรเข้าใจโรคซึมเศร้าแบบไหน มีอะไรที่เราต้องยอมรับบ้าง วันนี้ UNLOCKMEN ชวนทำความเข้าใจไปพร้อมกัน แง่บวกมากไปไม่ช่วยอะไร เราล้วนเลือกทำอะไร พูดอะไรกับคนที่เรารัก เพราะความหวังดี โดยเฉพาะเมื่อเขาป่วย เรายิ่งรู้สึกว่าอยากไล่เมฆหมอกแห่งความอึมครึมหม่น ๆ ที่เขารู้สึกออกไปให้พ้น เราเลยเลือกโยน “ก้อนการมองแง่บวก” ใส่เขารัว ๆ ในวันที่เขาบอกความรู้สึกว่าเศร้า เราก็ดันไปบอกเขาว่าอย่าคิดมากเลย มีคนลำบากตั้งเยอะ, เศร้าทำไม ชีวิตมีสิ่งสวยงามอีกมาก แม้เราจะพยายามชวนให้เขามองโลกในแง่บวกเพราะเจตนาดี แต่อย่าลืมว่าการทำมากไป หรือบ่อยไป มันไม่ต่างจากการที่เรามองข้ามสิ่งที่เขารู้สึก หรือบอกว่าเขาผิดเองที่ไม่มองโลกในแง่บวก ดังนั้นคุณต้องอย่าลืมว่าเขาไม่ได้อยู่ ๆ อยากเศร้าหรือห่อเหี่ยวแบบนี้ แต่มันคืออาการของโรค เหมือนเวลาเป็นหวัดแล้วน้ำมูกไหล เราห้ามน้ำมูกไม่ได้ เช่นเดียวกับที่จะไปห้ามเขาเศร้าไม่ได้ สิ่งที่ดีที่สุดคือการพยายามรับฟังเวลาเขาบอกว่าเขารู้สึกอะไร โดยไม่ตัดสินสิ่งที่เขารู้สึก ยืนเคียงข้างทุกเป้าหมายของเขา สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อป่วยเป็นโรคซึมเศร้าคือการขาดแรงจูงใจ
“โลกเปลี่ยนไปแล้ว” ในหลากหลายมิติ วิธีการเดินทางของเรา รูปแบบการทำงานของเรา การกิน การใช้เงิน ไปจนถึง “การตกหลุมรัก” COVID-19 ทำให้เราหมดโอกาสเจอใครสักคนที่ชอบในบาร์เดิมที่ไปทุกวันศุกร์ COVID-19 ทำให้ Dating App ที่เคยปัดซ้าย ปัดขวา ได้เจอใครสักคนคลายเหงาอย่างน้อยเดือนละคนสองคนกลายเป็นศูนย์ COVID-19 ทำให้คอนเสิร์ตที่เคยไปโยกหัวมองหาสาวที่อินกับเพลงเดียวกันกลายเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ไปอีกนานแสนนาน การตกหลุมรักแบบที่เราคุ้นเคยจึงเปลี่ยนรูปแปลงร่างตามหลายอย่างในชีวิตเราไปด้วยเช่นกัน การตกหลุมรักออนไลน์เข้ามาแทนที่ แต่ไม่ใช่การแทนที่แบบโต้ง ๆ (เพราะเราก็รู้สึกว่าก่อนหน้านี้ก็เดตออนไลน์อยู่เยอะแล้ว) แต่การตกหลุมรักออนไลน์จะเปลี่ยนไปถึงราก วิธีที่เราเลือกคนมองคน ไปจนถึงการออกเดต และการคบกัน เราตามหารักแบบไหนช่วง COVID-19 COVID-19 ทำให้เราตัดหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตออกไปได้ชัดเจนขึ้น บางอย่างเราเคยคิดว่าถ้าไม่มีมันแล้วเราคงอยู่ไม่ได้ แต่เมื่อสถานการณ์บีบบังคับ เราก็ยิ่งเข้าใจว่า “อะไรที่เราต้องการจริง ๆ” ไม่ต่างจากการตกหลุมรัก การจีบกัน และการเดต ในช่วงเวลาปกติผู้คนรู้สึกว่าจะจีบทิ้งจีบขว้าง นัดแล้วนัดอีกกี่รอบก็ได้ แต่เมื่อเราไม่สามารถออกไปไหนได้อย่างเสรี การจะตกหลุมรักและทุ่มเวลาช่วงนี้ให้ใครสักคน จึงต้องรอบคอบและใส่ใจที่คุณภาพมากกว่าปริมาณอย่างที่เป็นมา Helen Fisher นักมานุษยวิทยาชีวภาพประจำ Kinsey Institute ระบุว่าพฤติกรรมการเดตของผู้คนและวิธีการมองความโรแมนติกจะเปลี่ยนไป เราจะจัดลำดับความสำคัญทางความสัมพันธ์ใหม่ เพื่อที่จะหาว่าอะไรกันแน่ที่มีความหมายกับเราจริง ๆ ในขณะที่
ในวันที่ต้องทำงานอยู่กับบ้านมากขึ้น และโลกเต็มไปด้วยบทความหรือวิธีการให้เราเก่งขึ้น โปรดักทีฟขึ้น มีพลังมากขึ้น เราเชื่อว่ามีคนทำได้และสนุกกับการเก่งขึ้นทุกวัน โปรดักทีฟขึ้นทุกวันในสถานการณ์ที่หลายอย่างไม่เอื้ออำนวย แต่เพราะมนุษย์มีมากกว่าหนึ่งรูปแบบ เราจึงเชื่อว่ามีใครหลายคนที่เผชิญกับสภาวะชวนหดหู่ช่วงนี้ และพยายามยิ่งกว่าที่เคยพยายามมา แต่เหมือนไอเดียจะไม่พลุ่งพล่านเหมือนเดิม พลังในการทำงานก็มอดดับลงเรื่อย ๆ ยิ่งมองเห็นคนรอบตัวทำกับข้าว สร้างงานศิลปะ ออกกำลังกาย หรือทำงานได้ดีกว่าเดิม ใจก็พาลหดหู่ลงและคิดว่า “หรือเราแม่งห่วยเองวะ?” ในวันที่ไม่รู้ว่าเศรษฐกิจถูลู่ถูกังพาเราไปในทิศทางไหน ชั่วขณะที่หน้าที่การงานเคยมั่นคงจนเรายึดถือมาตลอด คืนค่ำที่ไม่ได้ออกไปผ่อนคลายได้อย่างที่ทำเป็นปกติ รวมถึงความอันตรายจากโรคภัยที่ไม่รู้จะมาถึงตัวเราเมื่อไร สิ่งเหล่านี้โบยตีและใจร้ายกับเรามากพอแล้ว มีคนคิดงานออกก็ดีใจกับเขาด้วย แต่การที่เราจะท้อบ้าง คิดงานไม่ออกบ้าง ทำชีวิตให้เป็นเหมือนห้วงเวลาปกติไม่ได้บ้าง ไม่ได้หมายความว่าเราห่วยหรือแย่กว่าคนอื่นแต่อย่างใด UNLOCKMEN เชื่อในความหลากหลายของมนุษย์ เราจึงไม่จำเป็นต้องเป็นเหมือนใคร และเชื่อว่ามันไม่เป็นอะไรเลยถ้าคุณไม่สามารถทำอะไรราบรื่นได้อย่างที่เคย เรามีสิทธิทุกประการที่จะหงุดหงิด แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าทุกอย่างใจร้ายกับเรามามากพอแล้ว เราคือคนเดียวที่จะรักและใจดีกับตัวเองได้ในช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ แต่ถ้าไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหน ลองไม่กี่วิธีง่าย ๆ ที่เราอยากชวนคุณมาผ่อนคลาย ยอมรับความเปลี่ยนแปลง และเผชิญหน้ากับตัวเองในเวอร์ชันใหม่ที่อาจจะพาเราไปสู่ปลายทางที่เราไม่เคยคิดมาก่อนก็ได้ เมื่อ “ลงมือเขียน” เมื่อนั้นเราได้เผชิญหน้ากับตัวตนของเราเอง มนุษย์มีวิธีโอบกอดและยอมรับสิ่งที่ตัวเองเป็นได้หลายวิธี บางวิธีต้องลงทุนลงแรง ในขณะที่บางวิธีขอแค่มีกระดาษกับปากกาก็เพียงพอแล้ว ใช่ เรากำลังพูดถึงวิธีเยียวยาตัวเองด้วย “การเขียน” วิธีง่าย ๆ ที่เรามักหลงลืมมันไป เพราะไม่คิดว่ามันจะช่วยได้จริง แต่วันที่เราไม่ได้ออกไปไหน
ต่อให้ผู้ชายอย่างคุณจะไม่ได้อินในสายสัมพันธ์โรแมนติก หรือถูกจริตกับการคิดหาสารพัดวิธีเซอร์ไพรส์แฟนมากเท่าหนุ่มนักรักคนอื่น ๆ แต่เราเชื่อว่าคุณยังศรัทธา ‘ความรัก’ และคำนามธรรมคำนี้คงมีพลังมากพอจะช่วยขับเคลื่อนชีวิตคุณ แม้จะคิดว่าความรักเริ่มต้นมาจากความรู้สึกในจิตใจที่สั่งการไปยังสมองส่วนรับรู้และทำให้รู้ว่าเรารัก แต่วิทยาศาสตร์กลับมองความรักเป็นสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของมนุษย์เท่านั้น เชื่อว่ามนุษย์ต้องรักและสืบพันธุ์เพียงเพื่อรวมกลุ่มหรือต่อต้านภัยคุกคาม ซึ่งความคิดนั้นอาจไม่ได้น่าเชื่อถือเท่าไรในยุคที่ผู้คนถลําลึกลงในรักและเสียน้ำตาให้กับรักนับไม่ถ้วน บางคนบอกว่าความรักเปลี่ยนแปลงพวกเขาให้เป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิม บ้างว่าเปี่ยมไปด้วยขุมพลังที่ช่วยให้ฝ่าฟันอุปสรรคโดยไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก แต่ไม่ว่าข้อดีของความรักจะเป็นอย่างไร ในบรรดาความรักหลากหลายเฉดสีบนโลกมีคำว่า ‘Limerence’ หรือ สภาวะลุ่มหลงทางอารมณ์ปะปนอยู่ด้วย ถ้าคุณเคยตกหลุมรักใครสักคนหมดหัวใจหรือหมกมุ่นนึกถึงสาวคนใดหัวปักหัวปำ เราอยากชวนคุณมาสังเกตรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของการตกหลุมรัก ย้อนไปในวันที่โดนความสวยและน่ารักโจมตีเข้าอย่างจัง ราวต้องมนต์สะกดและตกอยู่ในภวังค์ที่ยากจะหลุดพ้น ในวันนั้นคุณตกหลุมรักหรือแท้ที่จริงแค่ตกหลุมพรางจากความหลงใหลกันแน่? Limerence ความหลงใหลที่ทำให้ใครเข้าใจว่ารัก Stephen Snyder เจ้าของหนังสือ Love Worth Making: How to Have Ridiculously Great Sex in a Long-Lasting Relationship มองว่า Limerence เปรียบได้กับซอฟต์แวร์ด้านจิตวิทยาที่มนุษย์เราต้องใช้สำหรับชีวิตคู่ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่จะช่วยให้เราตกหลุมรักใครสักคนและนำมาซึ่งการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน จริง ๆ แล้วคำว่า ‘Limerence’ ปรากฏขึ้นครั้งแรกบนหนังสือ