Shonen Jump และอาจารย์ทาเคฮิโกะ อิโนอุเอะ ผู้เขียนการ์ตูน SLAM DUNK เตรียมปล่อยสมุดภาพชุด “SLAM DUCK ILLUSTRATION 2” ที่มาพร้อมงานอาร์ตเวิร์กชิ้นพิเศษจำนวนมาก รวมถึงภาพวาดที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน! SLAM DUNK (แสลมดังก์) คือหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นหรือมังงะที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่นยุค 90’s ไม่เพียงแค่ในประเทศไทยแต่ทั่วทั้งโลก โดยทำให้วัยรุ่นได้รู้จักกับกีฬาบาสเกตบอลมากขึ้น รวมถึงเป็นแรงบันดาลใจให้ชายหนุ่มหลายคนตัดสินใจเริ่มเล่นกีฬาชนิดนี้อย่างจริงจัง และตอนนี้เวลาก็ผ่านมาถึง 29 ปีแล้ว นับตั้งแต่การ์ตูนตอนแรกเผยแพร่ออกมา มังงะในตำนานเรื่องนี้เขียนโดย อาจารย์ ทาเคฮิโกะ อิโนอุเอะ เผยแพร่ครั้งแรกทางนิตรสาร Shonen Jump ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ปี 1990 ก่อนจะสิ้นสุดในวันที่ 17 มิถุนายนปี 1996 เป็นมังงะ 31 เล่มจบ นับเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นก็ขายไปมากกว่า 120 ล้านเล่ม โดยความนิยมในเวลานั้นทำให้ผู้สร้างแอนิเมชันชั้นนำอย่าง Toei Animation นำมาสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหว ก่อนเผยแพร่และถูกแปลไปหลายภาษาทั่วโลก ทั้งหมดทำให้ SLAM
การ์ตูนญี่ปุ่นหรือมังงะ ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่อยู่คู่กับผู้ชายไทยมาตั้งแต่เด็กจนโต บางคนเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็อาจเลิกอ่านมังงะหันไปชื่นชอบสิ่งอื่นแต่สำหรับใครหลายคนมังงะเหมือนกับเพื่อนคู่ใจที่โตมาด้วยกัน เพราะไม่ว่าวันไหนที่เหนื่อยจากการเรียนหนัก หรือท้อจากชีวิตการทำงาน เพียงแค่กลับมาที่ห้องและพักผ่อนไปกับการ์ตูนเรื่องโปรดก็สามารถทำให้เรามีแรงไปสู้ต่อในวันรุ่งขึ้นได้แล้ว UNLOCKMEN ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มคนที่เติบโตมากับมังงะด้วยเช่นกัน จึงทำให้เราอยากพาหนุ่ม ๆ ทุกท่านมาพบกับ 5 อันดับมังงะจาก Shonen Jump นิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ของสำนักพิมพ์ Shueisha ที่ตีพิมพ์มานานกว่า 51 ปี ว่ามังงะเรื่องไหนจะโดดเด่นทั้งเรื่องราวและตัวละครจนได้รับความนิยมจากผู้ชมมาโดยตลอด อันดับ 5 SLAM DUNK ถ้าพูดถึงมังงะเกี่ยวกับกีฬาบาสเกตบอลใคร ๆ ก็จะต้องพูดถึงเรื่อง Slam Dunk อย่างแน่นอน ผลงานจากอาจารย์ Inoue Takehiko ทั้งหมด 31 เล่ม สามารถจำหน่ายได้มากกว่า 100 ล้านเล่มทั่วโลก Slam Dunk เป็นมังงะที่สามารถถ่ายทอดความสุขและความเศร้าของเหล่านักกีฬาจำเป็นได้อย่างครบถ้วน เพราะตัวเอกของเรื่องเป็นเด็กอันธพาลเกลียดการเล่นบาสฯ แต่สุดท้ายก็ต้องจำใจเดินเข้าสนามแข่งเพื่อแย่งลูกกลม ๆ ยัดลงห่วง เพียงเพราะสาวที่เขาแอบปลื้มชื่นชอบนักกีฬาบาสเกตบอล จึงทำให้เรื่องวุ่น ๆ เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน เมื่อเด็กหนุ่มไม่สนใจกีฬาบาสได้มาอยู่ในวงการ สัมผัสกับความฝันของคนในทีม
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากมังงะเรียกเขาว่าอีกาเล่ม 1-26 และ Worst เล่ม 1-33 เท่านั้น ถ้าถามเด็กผู้ชายยุค 90-2000 เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักผลงานมังงะอันเลื่องชื่อของอาจารย์ ฮิโรชิ ทากาฮาชิ เรื่อง เรียกเขาว่าอีกา ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะนี่คือหนึ่งในมังงะสายนักเลงที่ประสบความสำเร็จที่สุด ครั้งหนึ่งเราเคยอยากสูบบุหรี่ยี่ห้อ Seven Stars เคยอยากขี่มอเตอร์ไซค์ เคยอยากใช้กำลังเป็นตัวตัดสินถูกผิด เลียนแบบตัวละครในเรื่อง แต่สุดท้ายเมื่อได้อ่านจนจบ สิ่งที่เราได้จากมังงะเรื่องนี้กลับเป็นมุมมองด้านมิตรภาพที่ไม่สามารถหาได้จากหนังสือเรียนเล่มไหน เมื่อพูดถึง เรียกเขาว่าอีกา ก็ต้องนึกถึง โรงเรียนมัธยมปลายซูซูรัน โรงเรียนของเหล่าตัวเอกในเรื่อง เป็นโรงเรียนที่เปรียบเหมือนฝูงอีกาฝูงใหญ่ ไม่มีใครสามารถรวมให้เป็นหนึ่งได้ ทุกคนต่างยึดมั่นในศักดิ์ศรีไม่ยอมตกเป็นเบี้ยล่างใคร อย่างไรก็ตามท่ามกลางฝูงอีกาอันเกรี้ยวกราด ก็มีอีกาบางตัวที่แข็งแกร่งกว่าตัวอื่น ๆ เราเรียกพวกเขาว่า ผู้ยิ่งใหญ่แห่งซูซูรัน พวกเขาเหล่านี้คือผู้ใกล้เคียงที่จะรวบรวมฝูงอีกาให้เป็นหนึ่งเดียวมากที่สุด และวันนี้เราจะไปทำความรู้จักพวกเขากัน โบยะ ฮารุมิจิ โบยะ ฮารุมิจิ พระเอกของเราคือนักเรียนรุ่นที่ 25 แห่งโรงเรียนมัธยมซูซูรัน เขาปรากฏตัวขึ้นอย่างลึกลับในวันเปิดเรียนวันแรกในฐานะนักเรียนมัธยมปลายชั้นปีที่ 2 ไม่มีใครรู้ที่มาที่ไปว่าเจ้าหนุ่มผมทอง ท่าทางกวนอวัยวะเบื้องล่าง เจ้าชู้ชีกอ ดูไม่มีพิษมีภัยนี้เป็นใครมาจากไหน ถึงจะไม่ได้ไประรานใครก่อน แต่ด้วยเอกลักษณ์ที่ใครเห็นก็ต้องหมั่นไส้ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะโดนเหล่าอันธพาลในโรงเรียนหาเรื่อง ซึ่งตอนนั้นก็เป็นครั้งแรกที่เราคนอ่านและบรรดานักเรียนของซูซูรันได้รับรู้พร้อมกันว่าภายใต้นิสัยที่ดูไม่เอาไหน แท้จริงแล้วเจ้าผมทองคนนี้มีฝีมือการชกต่อยแสนร้ายกาจ สามารถล้มคู่ต่อสู้นับสิบได้แบบสบาย ๆ ใช้เวลาไม่นาน ชื่อของ โบยะ
บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของการ์ตูนเรื่อง Bakuman ‘วงการการ์ตูน’ คือหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศญี่ปุ่น ในแต่ละปีสร้างรายได้ให้กับประเทศนับล้าน ๆ เยน นับเป็นสิ่งหอมหวานที่ใคร ๆ ก็อยากเข้าหา แต่ภายใต้ฉากหน้าที่สวยหรู แท้จริงแล้ววงการนี้ก็มีความโหดร้ายที่คร่าชีวิต ทำลายความฝันของผู้คนมาแล้วมากมาย เพียงแต่ไม่ได้ถูกถ่ายทอดออกมาให้ภายนอกรับรู้ แต่ในปี 2008 ‘Bakuman วัยซนคนการ์ตูน’ มังงะผลงานของอาจารย์ สึงูมิ โอบะ และ ทาเกชิ โอบาตะ ที่เคยฝากฝีมือไว้ในมังงะชื่อดังอย่าง Death Note ก็ตีพิมพ์ออกมา นี่คือมังงะที่กล้าจะนำเสนอเรื่องราวของอุตสาหกรรมการ์ตูนญี่ปุ่นอย่างเจาะลึก ทั้งด้านดีและร้าย ตีแผ่ทุกแง่มุม เนื่องจากมังงะเรื่องนี้เปรียบเสมือนบันทึกชีวิตของอาจารย์ผู้เขียนทั้ง 2 ทุกอย่างในเรื่องจึงออกมา ‘จริง’ และ ‘เชื่อถือได้’ นอกจากนั้นยังมีการผสมผสานธีมการวิ่งตามความฝันของเด็กหนุ่มเข้าไปได้อย่างลงตัว Bakuman จึงออกมาเป็นมังงะที่กลมกล่อม สุข เศร้า เหงา ซึ้ง มีครบทุกรสชาติของชีวิต ทำลายกำแพงความกลัวด้วยความกล้า มาชิโระ โมริทากะ เป็นเด็กหนุ่มวัยมัธยมต้นปีสุดท้าย เขาเป็นคนจืดชืด ใช้ชีวิตอย่างไร้จุดหมาย ไร้ความฝัน มีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นที่เขาชัดเจนคือความรักที่มีต่อ อาซึกิ มิโฮะ เด็กสาวเพื่อนร่วมห้องที่เขาแอบชอบมานาน แต่ก็ไม่กล้าบอกเธอเนื่องจากอาซึกิเปรียบเหมือนดาวประจำโรงเรียน มีแต่หนุ่ม ๆ รุมล้อม ส่วนเขาเป็นเพียงคนไร้ตัวตน อย่างไรก็ตามหนึ่งสิ่งที่คนธรรมดาอย่างเขาทำได้ดีคือ
‘ฉันคือคนที่จะเป็นราชาโจรสลัด!’ นี่คือคำประกาศกร้าวของ มังกี้ ดี ลูฟี่ เด็กหนุ่มพลังยางยืดจากอีสต์บูลในขณะที่ตัวเองกำลังจะโดน บากี้ โจรสลัดตัวตลกประหารในเมืองโล้คทาวน์ ในตอนนั้นมันช่างเป็นคำพูดที่ดูน่าขำสำหรับคนทั่วไป เพราะลูฟี่ยังเป็นเพียงโจรสลัดไร้ชื่อเสียงเรียงนาม การนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับ โกลด์ ดี โรเจอร์ อดีตราชาโจรสลัดผู้ยิ่งใหญ่จึงดูเป็นเรื่องเพ้อฝันเกินตัว แต่ผ่านมาเพียง 2 ปี จากโจรสลัดไร้ค่าหัวในตอนนั้น ตอนนี้ลูฟี่คือโจรสลัดผู้มีค่าหัวสูงถึง 1,500 ล้านเบรี พร้อมฉายา ‘จักรพรรดิหมวกฟาง’ แถมยังได้รับการยกย่องให้เป็นจักรพรรดิคนที่ 5 แห่งท้องทะเล แน่นอนว่าเมื่อกลายเป็นคนยิ่งใหญ่ สิ่งที่ตามมาคือคู่ต่อสู้ระดับพระกาฬที่เขาต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็น 4 จักรพรรดิอย่าง ไคโด และมาร์แชล ดี ทีช (หนวดดำ) หรือแม้กระทั่งรัฐบาลโลกที่มีกองกำลังสุดแข็งแกร่งอยู่ในมือ ด้วยสเกลการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ ลำพังแค่ตัวลูฟี่กับลูกเรืออีก 9 ชีวิตคงไม่สามารถต่อกรได้แน่นอน กลุ่มพันธมิตรและมิตรสหายจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มโจรสลัดหมวกฟางในตอนนี้ ‘ใคร ๆ ก็รักลูฟี่’ ด้วยความที่เป็นคนจิตใจดี ไม่มีพิษภัย ที่สำคัญคือรักพวกพ้องมาก ๆ ลูฟี่จึงซื้อใจคนได้มากมาย จนเริ่มมีกองกำลังและพันธมิตรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พวกเขาเหล่านี้นี่เองคือกุญแจดอกสำคัญที่จะส่งพ่อหนุ่มหมวกฟางของเราขึ้นไปเป็นราชาโจรสลัด ดังนั้นเรามาทำความรู้จักพวกเขาก่อนดีกว่า กองกำลังพันธมิตรมิ้งค์ แมว หมา นินจา
ท่ามกลางอนิเมะมากมายใน Netflix ‘Kakegurui’หรือในชื่อไทย ‘โคตรเซียนโรงเรียนพนัน’ ผลงานของอาจารย์ โฮมูระ คาวาโมโตะ กับอาจารย์ โทรุ นาโอะมูระ คือหนึ่งในเรื่องที่มีความโดดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากที่สุด ไม่ว่าจะด้วยพล็อตแปลกใหม่ไม่ซ้ำกับใคร ฉีกขนบเนื้อเรื่องแนวโรงเรียนแบบเดิม ๆ อย่างไม่มีชิ้นดี งานภาพโดดเด่นหวือหวา ฉูดฉาดเร้าอารมณ์ นอกจากนั้นการออกแบบตัวละครก็ทำได้ยอดเยี่ยม ทุกตัวละครมีมิติในตัวเอง จนทำให้คนดูอย่างเราทั้งรักทั้งเกลียดได้อย่างประหลาด โดยรวมแล้ว Kakegurui คืออนิเมะชั้นเลิศที่สมควรหามาดูด้วยประกาศทั้งปวง และไม่ใช่แค่ความบันเทิงเท่านั้นที่จะได้รับ ภายใต้เรื่องราวของโรงเรียนที่เต็มไปด้วยการพนันแห่งนี้ยังแฝงประเด็นที่น่าสนใจเอาไว้มากมาย ซึ่งในวันนี้เราจะมาพูดถึงมันกัน เอาล่ะ ไปเล่นการพนันแบบหลุดโลกกันเถอะ! ในโลกจำลองที่การพนันคือทุกสิ่ง เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นเมื่อ ยูเมโกะ จาบามิ เด็กสาวลึกลับได้ย้ายเข้ามาเรียนในโรงเรียนเอกชน เฮียคคะโอ ในช่วงกลางเทอม ซึ่งถ้าจะอธิบายโรงเรียนแห่งนี้ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ มันคือโรงเรียนคนรวย ที่ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็เต็มไปด้วยลูกคนใหญ่คนโตของประเทศญี่ปุ่น และนอกจากการเป็นโรงเรียนสำหรับชนชั้นสูงแล้ว ความพิเศษอีกอย่างของเฮียคคะโอที่ไม่มีที่ไหนเหมือนคือที่นี่ตัดสินทุกอย่างด้วย ‘การพนัน’ เนื่องจากโรงเรียนนี้เต็มไปด้วยเหล่าลูกคนรวย ดังนั้นเงินคือทุกอย่าง ชนชั้นสถานะของนักเรียนทุกคนถูกกำหนดด้วยเงิน ไม่ใช่หน้าตา ผลการเรียน หรือกีฬา ยิ่งไปกว่านั้นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดของโรงเรียนกลับไม่ใช่ผู้อำนวยการ แต่คือเหล่าคณะกรรมการนักเรียนที่มั่งคั่งด้วยเงินตราและฝีมือด้านการเล่นพนัน เมื่อคุณไม่มีเงิน คุณก็ต้องเล่นพนันเพื่อให้ได้มันมา! เด็กใหม่อย่างยูเมโกะ จาบามิรู้สึกยังไงกับกฎประหลาดของโรงเรียนนี้? ทุกคนต่างคิดว่าเธอจะเป็นปลาเล็กให้เหล่าเซียนพนันในโรงเรียนงาบได้แบบสบาย ๆ แต่ผิดคาด เพราะแท้จริงแล้วยูเมโกะคือคนที่บ้าการพนันยิ่งกว่าใคร และฝีมือเธอก็ยอดเยี่ยมเสียจนสามารถทำให้โลกการพนันของเฮียคคะโอต้องปั่นป่วนหลังจากเข้ามาเพียงไม่กี่วัน ไม่มีเงินก็จงกลายเป็นสัตว์เลี้ยง ไม่ใช่แค่ความสนุก แต่ Kakegurui
Spoil Alert! บทความนี้มีการพูดถึงเนื้อหาสำคัญของอนิเมะบางเรื่อง ‘อนิเมะ’ หรือ ‘การ์ตูนญี่ปุ่น’ มักจะถูกตีค่าว่าเป็นสื่อเพื่อความบันเทิง เน้นความสนุกสนาน ตลกโปกฮา หรือตื่นเต้นเร้าใจเป็นหลัก แต่ถ้าใครเสพอนิเมะเป็นประจำแล้วละก็ คงรู้ดีว่าอนิเมะญี่ปุ่นไปไกลกว่านั้นมาก บางเรื่องเนื้อหาเข้มข้นตึงเครียดยิ่งกว่าภาพยนตร์คนแสดงเสียอีก อย่างที่เราเคยเห็นใน Akira (1988) ที่นำเสนอโลกดิสโทเปียผสมความ Cyberpunk ออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม จนอดไม่ได้ที่จะคิดถึงภาพยนตร์เรื่อง Blade Runner ของผู้กำกับ Ridley Scott หรือเรื่อง Perfect Blue (1997) ที่พาคนดูดำดิ่งสู่จิตใจมนุษย์ ภายใต้บรรยากาศหลอนประสาท ไม่ต่างอะไรจากภาพยนตร์เรื่อง Black Swan หรือ Suspiria แต่อนิเมะที่เราจะพูดถึงในวันนี้ไม่ได้หนักหน่วงขนาดนั้น เพียงแต่ทุกเรื่องฉาบไปด้วยความเศร้าที่แม้แต่ลูกผู้ชายอกสามศอกยังกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ The Tale of the Princess Kaguya (2013) ไม่เฉพาะแค่อนิเมะ แต่นี่คือภาพยนตร์ที่ทำให้เราร้องไห้หนักที่สุดในชีวิต ถึงแม้หน้าหนังของ The Tale of the Princess Kaguya ที่หยิบยกเรื่องราวนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่น เจ้าหญิงกระบอกไม้ไผ่ มาเล่าจะดูเข้าถึงยาก เนื่องจากเนื้อเรื่องที่ดูโบราณ นอกจากนั้นยังเลือกวิธีการเล่าเรื่องผ่านแอนิเมชันสีน้ำที่คนส่วนใหญ่ไม่คุ้นชิน แต่ในเมื่อ The Tale of the Princess Kaguya กำกับโดย อิซาโอะ
ประเทศไทยในเวลานี้คงไม่มีเรื่องไหนจะร้อนแรงและน่าสนใจไปกว่าประเด็นทางการเมืองอีกแล้ว เพราะตอนนี้หลังจากที่เรารอคอยมาเกือบ 5 ปี ในที่สุดอีกแค่ 1 เดือนเราก็จะสามารถใช้สิทธิ์ใช้เสียงในการเลือกตั้งได้เสียที ยิ่งไปกว่านั้นการเปิดตัวแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของแต่ละพรรคการเมืองก็เป็นอีกหนึ่งตัวจุดชนวนชั้นดีที่ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้น่าตื่นเต้นขึ้นไปอีกโดยเฉพาะพรรคไทยรักษาชาติ… ก่อนจะเลยเถิดไปไกล ขอจบประเด็นการเมืองไทยไว้เพียงเท่านี้ เรามาเข้าเรื่องมังงะประจำสัปดาห์กันดีกว่า แต่ยังไงก็หนีการเมืองไม่พ้น เพราะในบรรยากาศแบบนี้ถ้าจะหามังงะสักเรื่องมาอ่านคงไม่มีแนวเรื่องไหนที่จะเหมาะไปกว่ามังงะการเมืองอีกแล้ว วันนี้เราจะมาแนะนำเรื่องที่เราชอบ 5 เรื่องด้วยกัน เอาไว้อ่านอุ่นเครื่องก่อนจะเดินเข้าคูหาในเดือนหน้า (มีนาคม 2562) มาเรียนรู้ผ่านลายเส้นกันก่อนว่า 1 เสียงของประชาชนธรรมดาอย่างเราก็มีค่าเหมือนกัน คุนิมิตซึ คนจริงจอมกะล่อน Written by ยูมะ อันโดะ, มาซาชิ อาซากิ โดยปกติถ้ามังงะสักเรื่องจะพูดถึงประเด็นการเมืองก็มักจะมาในรูปแบบของส่วนประกอบเสริมมากกว่า เช่นมังงะแอ็คชั่นการเมืองหรือแฟนตาซีการเมือง เพราะการเมืองกับมังงะนั้นดูจะไปกันได้ยาก แต่ Kunimitsu no Matsuri คุนิมิตซึ คนจริงจอมกะล่อน คือมังงะการเมืองเพียว ๆ ไม่จำเป็นต้องใช้ส่วนผสมใด ๆ เพิ่มเติม ความสนุกของมันอยู่ที่การหักเหลี่ยมเฉือนคม ชิงไหวชิงพริบในเกมการเมืองล้วน ๆ ก็ตามชื่อเรื่อง นี่คือเรื่องราวของ มุโต้ คุนิมิตซึ ลูกชายเจ้าของร้านยากิโซบะธรรมดา ๆ ที่จับพลัดจับผลูได้ไปเป็นหัวคะแนนให้กับสจ.ของเมือง ๆ หนึ่ง แน่นอนว่าหน้าที่ของเขาคือการใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ ผลักดันสจ.คนนี้ให้ก้าวขึ้นไปเป็นผู้ว่าเมืองให้ได้ ระหว่างทางเราจะได้เห็นเล่ห์เหลี่ยมมากมาย
ในสังคมปัจจุบันที่อุดมไปด้วยความเครียด ‘มังงะ’ หรือ ‘การ์ตูนญี่ปุ่น’ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสื่อบันเทิงหลักที่ช่วยผ่อนคลายอารมณ์และให้ความบันเทิง และด้วยความที่อุตสาหกรรมการ์ตูนญี่ปุ่นมีขนาดใหญ่ จึงมีมังงะมากมายหลายประเภทถือกำเนิดขึ้น แม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่าประเภทที่ได้รับความนิยมที่สุดคือ ‘มังงะสไตล์โชเน็น’ ที่เน้นเรื่องการต่อสู้ผสมกับพลังมิตรภาพเป็นหลัก อย่างไรก็ตามมังงะอีกประเภทหนึ่งที่จะขาดไม่ได้เลยคือ ‘มังงะแก๊ก’ ที่ถึงแม้จะได้รับความนิยมไม่เท่าแต่ก็เป็นสีสันที่เรียกเสียงหัวเราะได้เสมอ วันนี้เราจะมาแนะนำมังงะสายฮา 5 เรื่อง ที่เราชอบ มันช่วยเราให้อารมณ์ดีขึ้นในวันที่ยากลำยากของชีวิต เราเลยหวังว่าทั้ง 5 เรื่องนี้จะช่วยทุกคนได้เช่นกัน เทวดาหน้าโฉด Written by: โนริฮิโร่ ยากิ ถ้าใครเป็นแฟนการ์ตูนญี่ปุ่นยุคเก่าคงรู้จักเรื่องนี้แน่นอน เพราะ ‘เทวดาหน้าโฉด’ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในมังงะสายแก๊กระดับตำนาน ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1992 และด้วยเรื่องราวที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ดังนั้นถ้าใครเคยอ่านรับรองว่าไม่มีทางลืม เทวดาหน้าโฉดว่าด้วยเรื่องราวของ คิตาโน่ เซอิจิโร่ เด็กหนุ่มมัธยมปลายที่จิตใจดีราวกับเทวดา แต่งตัวเรียบร้อย อยู่ในโอวาท ไม่ว่าใครจะกำลังเดือดร้อนเขาก็พร้อมช่วยเหลือเสมอ แต่ด้วยหน้าตาที่ไม่ต่างอะไรจากเจ้าพ่อยากูซ่า ผู้คนรอบข้างต่างหวาดกลัวเขา ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ ทำให้คิตาโน่ต้องย้ายโรงเรียนอยู่บ่อย ๆ และด้วยหน้าตาอันหน้ากลัวนี้เอง ทำให้คิตาโน่ต้องเข้าไปพัวพันกับเหตุการณ์วายป่วงเรียกเสียงฮาครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นความน่าสงสารที่คนอ่านอย่างเราอดหัวเราะไม่ได้ ถึงจะเป็นมังงะเก่า แต่ก็ยังพอหาอ่านได้อยู่ ใครคิดว่าชีวิตตัวเองแย่แล้ว เรื่องราวของคิตาโน่จะทำให้คุณรู้สึกโชคดีขึ้นมาแน่นอน คุโรมาตี้ โรงเรียนคนบวม Written by: เอย์จิ โนนากะ นี่คือโรงเรียนมัธยมปลายที่มีกอริลล่า, เฟรดดี้ เมอร์คิวรี่ขี่ม้า,
ช่วงสิ้นปีคือช่วงแห่งการประมวลความทรงจำว่าตลอดช่วง 300 กว่าวันที่ผ่านมาว่ามีอะไรน่าประทับใจบ้าง และสำหรับโอตาคุอย่างเราคงไม่มีคอนเทนต์อะไรจะเหมาะไปกว่าการเขียนถึงมังงะที่ในปี 2018 ได้ระเบิดฟอร์มขั้นสุดยอด ดำเนินเรื่องได้น่าติดตาม จนคนอ่านแทบจะลงแดงเมื่ออ่านจบตอน ไม่อยากอารมัภบทอะไรให้มากความ เอาเป็นว่าไปดูกันเลยดีกว่าว่าในปี 2018 มีมังงะเรื่องไหนบ้างที่สนุกจนเรายกให้ว่าปีนี้คือปีของเค้าจริง ๆ One Piece by เออิจิโระ โอดะ ถึงแม้ One Piece จะเป็นมังงะที่คงความสนุกน่าติดตามมาตั้งแต่ตีพิมพ์ครั้งแรก จนส่งผลให้มันกลายเป็นมังงะขายดีที่สุดตลอดกาลไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่สำหรับปี 2018 ต้องบอกว่ามันยอดเยี่ยมขึ้นไปกว่านั้นอีกขั้น ถึงแม้เนื้อเรื่องจะใช้เวลาค่อนปีวนเวียนอยู่บนเกาะ Whole Cake ของบิ๊กมัมก็ตาม ซึ่งเรายอมรับว่าเนื้อเรื่องช่วงต้นบนเกาะขนมหวานนั้นค่อนข้างน่าเบื่อ แต่หลังจากนั้นคือเซอร์วิสแบบที่อาจารย์โอดะมอบให้ผู้อ่านแบบจัดเต็ม ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้สุดมันส์ระหว่างลูฟี่กับแม่ทัพขนมหวาน ‘คาตาคุริ’ ต่อด้วยการเปิดเผยค่าหัวของ ‘ซาโบ้’ และ ‘หนวดดำ’ การปรากฏตัวของ ‘อิม’ ผู้อยู่เหนือ 5 ผู้เฒ่าผู้คุ้มกฎ เนื้อเรื่องสุดเข้มข้นในวาโนะคุนิดินแดนแห่งซามูไร กองทัพปฏิวัติบุกดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ‘แมรี่จัวร์’ และการเผยปมสำคัญในเนื้อเรื่องอีกมากมาย ดังนั้นถึงแม้อาจารย์โอดะจะเปิดหัวปี 2018 ได้น่าค่อนข้างผิดหวังแต่ด้วยการปล่อยของในช่วงท้ายปี One Piece จึงกลายเป็นหนึ่งในมังงะที่สนุกที่สุดในปี 2018 อย่างไร้ข้อกังขา Dragon Ball by