ตอนนี้อายุ 29 แล้วทำอะไรอยู่ล่ะ ? เราพบว่าตลอดขวบปีก่อนเข้าเลข 30 ของตัวเอง จะมีวันที่คำถามนี้ถูกกระซิบเบา ๆ ด้วยเสียงที่ดังมาจากตรงไหนสักแห่งภายในหัวของตัวเองอยู่เสมอ ทั้งวันที่ดื่มโค้กซีโร่สองกระป๋องจนนอนไม่หลับ หรือแม้กระทั่งวันที่กำลังน้ำตาไหลกับหนังเรื่องโปรดของโคเรเอดะเมื่อวานก่อนเสียงนี้ก็โผล่มาให้ได้ยินเป็นระยะ ๆ เรารู้ดีว่าคำถามนี้มีต้นตอมาจากไหน และทำไมยังคงอยู่ เมื่อหลายปีก่อนเคยให้สัญญากับเพื่อนที่เรียนมหาลัยคณะดนตรีด้วยกันเอาไว้ ว่าถ้าอายุ 30 แล้วเพลงที่ทำด้วยกันยังไม่ดังก็จะขอเลิกนะ คำพูดติดตลกในวันนั้น ส่งผลรุนแรงกว่าที่คิดเยอะเลย พอกระดาษสัญญาที่เซ็นเอาไว้ด้วยชื่อ-นามสกุลของเราคนเดียวด้วยปากกาลมปากกำลังจะถูกฉีกทิ้งในอีกไม่ช้า ถ้าไม่มีฝันนี้แล้วจะเอายังไงต่อ .. เราถูกตัวเองถามอีกครั้งในขณะที่นับถอยหลังอีกไม่กี่วันก็จะอายุครบ 30 และคำตอบของเราส่วนหนึ่งอาจจะอยู่ในมังงะเล่มของอาจารย์ Keigo Shinzo ในโพสต์นี้ล่ะมั้ง ก็เลยอยากเขียนถึงหน่อย มังงะที่ตัวเอกของเรื่องบังเอิญอายุเท่ากัน แล้วยังเคยบ้าบอวิ่งไล่ตามความฝันแบบมองไม่เห็นความจริงเหมือนกันอีก Hirayasumi เล่าเรื่องของ ‘อิคุตะ ฮิโรโตะ’ เด็กหนุ่มอายุ 29 ที่ได้รับมรดกเป็นบ้านเก่า ๆ หลังหนึ่งจากคุณยายที่บังเอิญสนิทกันด้วยเหตุผลบางอย่าง เขาทำงานเป็น Freeter (คำที่คนญี่ปุ่นใช้เรียกฟรีแลนซ์ที่ทำงานนู่นนั่นนี่ไปเรื่อย ๆ) ในกรุงโตเกียวแบบมีความสุขดี และอยู่บ้านหลังนี้กับลูกพี่ลูกน้องชื่อ ‘โคบายาชิ นัตสึมิ’ ผู้ที่ออกจากบ้านเกิดเพื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัยศิลปะตามฝันของตัวเองไม่ต่างจากฮิโรโตะตอนมาถึงโตเกียวใหม่ ๆ วันแสนธรรมดาของทั้งคู่ประกอบไปด้วยน้ำตา รอยยิ้ม ความสุข
** คิดว่าน่าจะสปอยล์ยับ ๆ ไปเลยนะ แต่เอาจริงส่วนตัวคิดว่าไปอ่านสปอยล์หนัง 100% แบบ 2 นาทีจบเลยก็ไม่พลาดอะไรหรอก ** ไม่ได้ตั้งใจจะรีวิวเกรี้ยวกราดเอายอดอ่านอะไรแบบนั้น แต่ถ้าทุกคนจะเอาเวลาเกือบ 8 ชั่วโมง นั่งตั้งใจดูซีรีส์เรื่องนี้อาจจะไม่คุ้มเท่าไหร่ (กันไว้ก่อนเผื่อมีคนดูที่ชอบซีรีส์เข้ามาอ่าน) เว้นแต่ว่าจะอยากเห็นรอยยิ้มโลกสดใสของคุณ Mei Nagano นั่นก็เป็นอีกเรื่องนึงล่ะ Burn The House Down เป็นซีรีส์ที่ดัดแปลงมาจากมังงะชื่อเดียวกันของอาจารย์ Moyashi Fujisawa ที่เขียนตอนปี 2021 ซึ่งเราเชื่อว่าดีกว่าฉบับซีรีส์แน่นอน ดูสิ เพียงแค่ 2 ปีก็ถูกเอามาทำเป็นซีรีส์ออริจินัลของเน็ตฟลิกซ์เลย เนื้อเรื่องของ Burn The House Down เริ่มต้นขึ้นด้วยเหตุการณ์เลวร้ายของครอบครัว Mitarai ที่บ้านหลังใหญ่ของพวกเขาถูกไฟไหม้จนไม่เหลืออะไร ท่ามกลางกลองเพลิงที่มีชาวบ้านรายล้อมอยู่นั้น Satsuki Mitarai แม่ของลูกสาวสองคนผู้เป็นเจ้าของบ้าน ได้แต่คุกเข่าขอโทษลูก ๆ และสามีตัวเอง เพราะเชื่อว่าเธอเป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านถูกไฟไหม้จากการลืมปิดเตาแก๊สตอนทำกับข้าว … เหตุการณ์ผ่านไป 13 ปีจากเหตุการณ์ไฟไหม้ที่เปลี่ยนหลายสิ่งอย่างจากหน้ามือเป็นหลังมือ อย่างแรกคือการที่
แล้วฤดูใบไม้ร่วงปีนี้ก็ไม่เหมือนเดิมอีกเลย Chino Yumiko ต้องใช้ชีวิตในวัย 65 คนเดียว หลังจากที่สามีเสียชีวิตไปได้เกินเดือนแล้ว เธอใช้ชีวิตประจำวันราวกับว่าถูกตั้งโปรแกรมเอาไว้ ตื่นเช้าออกมารับแดด ตอนบ่ายทำกับข้าว แต่ทว่าวันหนึ่ง Yumiko กลับออกนอกโปรแกรมอย่างไม่รู้ตัว เธอหยิบวิดีโอม้วนเก่าที่เคยดูกับสามีเพื่อที่จะเปิดดูอีกครั้งก่อนที่จะพบว่าเครื่องเล่นได้เสียไปแล้ว วันแปลกประหลาดของ Yumiko ยังไม่จบลงแค่นั้น เธอตัดสินใจออกจากบ้านเข้าโรงหนังหลังจากที่ไม่ได้ไปมากว่า 20 ปี ที่นั่นเอง เธอได้เจอกับเด็กหนุ่มนักศึกษาเอกภาพยนตร์ชื่อ Kai ด้วยเคมีอะไรบางอย่าง เด็กหนุ่มชวน Yumiko ให้ทำหนังของตัวเอง สิ่งที่ทำคือ ตัดสินใจเรียนเอกภาพยนตร์ที่เดียวกับเขา เพื่อเข้าใจอะไรบางอย่างในชีวิตที่กำลังหลงทางอยู่ .. แล้วฤดูใบไม้ร่วงปีนี้ก็ไม่เหมือนเดิมอีกเลย Umi ga Hashiru End Roll คือมังงะของอาจารย์ John Tarachine ที่ได้อันดับ 1 ที่ผู้หญิงอ่านมากที่สุด จากการจัดอันดับของหนังสือไกด์บุ๊ค Kono Manga ga Sugoi! จากปี 2022 ในปีเดียวกันมีมังงะตัวเต็งจากฝั่งผู้ชายอย่าง Look Back
‘ฝันร้าย ฝันร้าย และฝันร้าย’ คงจะเป็นหนึ่งในคำที่เหมาะที่สุดสำหรับแฟนผลงานมังงะสยองขวัญของอาจารย์อิโต้ จุนจิ เพื่อใช้นิยาม Junji Ito Maniac: Japanese Tales of the Macabre ออริจินอลซีรีส์ของ Netflix ซึ่งดัดแปลงมาจากรวมเรื่องสั้น One-Shot เลื่องชื่อ ‘คลังสยอง’ ที่หลอนกันมาตั้งแต่เวอร์ชั่นมังงะ และหลอนทะลุขึ้นอันดับ 1 ซีรีส์ของไทยในช่วงเวลานี้ (24/01/2023) สำหรับคอมังงะที่อยากรู้จักอาจารย์ Junji Ito ให้มากขึ้น สามารถอ่านบทความ NIHON STORIES ของ UNLOCKMEN จะอ่านก่อนหรือหลังบทความนี้ก็ได้เลย : https://www.unlockmen.com/nihon-stories-ito-junji/ แล้วถ้าพูดมังงะเรื่องไหนก็ได้ของอาจารย์อิโต้ จุนจิกันบ้างล่ะ ฝันร้ายของพวกคุณคือเล่มไหนกัน ? สาวแววตาเสน่ห์สุดอันตราย ‘โทมิเอะ (Tomie)’ เหล่าซากปลาเน่าใน ‘ปลามรณะ (Gyo)’ หรือความตายสุดเซอร์เรียลแบบหัวลอยได้ใน ‘ลูกโป่งหัวมนุษย์ (Hanging Balloons)’ แต่เชื่อได้เลย คำตอบต้องไม่ได้มีน้อยกว่า 1 เรื่องแน่
อีก 2 วันสุดท้ายก็จะเข้าปีใหม่แล้ว (ไวมาก !) ใครที่ยังเลือกกิจกรรมทำในช่วงวันหยุดยาวอยู่ UNLOCKMEN ขอแนะนำมังงะ 6 เล่มที่ต้องอ่านก่อนหมดปี 2022 เพราะในหน้ากระดาษเหล่านั้นเต็มไปด้วยข้อคิดในการใช้ชีวิตดีมากมาย ซึ่งจะเป็นแรงซัพพอร์ตชีวิตในปี 2023 ของทุกคนได้เป็นอย่างดี : ) Look Back (Tatsuki Fujimoto) ตั้งคำถามกับความฝันของตัวเองให้แน่ใจ ว่ามันใช่ความฝันของเราจริงมั้ย ? ที่สุดของมังงะ One Short (ตอนเดียวจบไม่มีภาคต่อ) ของปี 2022 และของชีวิตเรา ในช่วงเวลาที่มังงะโชเน็นเรื่อง Chainsaw Man กำลังไฮป์อย่างสุดขีด ทั้งยอดขายต่อเล่ม และการถูกนำไปต่อยอดทำเป็นอนิเมะโดยสตูดิโอ MAPPA จนทำให้เกิดคำถามมากมายว่า ‘สมการความเก่งของนักเขียนการ์ตูนที่ชื่อ ‘ฟูจิโมโตะ ทัตสึกิ’ มาจากไหน’ มังงะเรื่อง Look Back มีคำตอบของคำถามนั้นซ่อนอยู่ในรูปแบบของจดหมายที่คุณฟูจิโมโตะเขียนถึงตัวของเขาเองในฐานะของนักเขียนการ์ตูนคนหนึ่ง เรื่องย่อ : Fujino เด็กนักเรียนหญิงชั้นประถมที่เป็นมือวาดการ์ตูนแก๊กประจำหนังสือพิมพ์ประจำสัปดาห์ของห้อง ถูกอาจารย์ประชั้นไหว้วานขอให้ช่วยแบ่งพื้นที่บนหน้าหนังสือพิมพ์ให้หน่อย เพราะอยากให้เพื่อนที่อยู่ห้องข้าง ๆ ชื่อ
พออายุเข้า 28 แล้วเนี่ย เราพบว่าตัวเองเป็นคนอ่านการ์ตูนที่ชอบเสพมังงะ One-Shot (ตอนเดียวจบไม่มีภาคต่อ) แบบถอนตัวไม่ขึ้นเลยล่ะ แล้วเหตุผลก็ง่ายมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่มีเวลาอ่านการ์ตูนตอนยาว ตัวละครเยอะ เหตุการณ์ซับซ้อน และจำดีเทลได้ไม่หมดด้วย (คนแก่เว่อร์) แต่อีกส่วนสำคัญมันคือ ‘ความกลมกล่อม’ เราพบว่ามังงะ One-Shot ที่ดี มีพลังส่งต่อความรู้สึกได้เท่า ๆ กับมังงะที่ต้องใช้เวลาอ่านถึง 20 เล่มในการปูทางเพื่อจะอิมแพ็ค เรียกว่าน้อยแต่มาก ตอนเดียวน้ำตารื้นได้เลย และ Pen Pal At The End Of The World ที่กำลังจะแนะนำก็มีพลังถึงขนาดนั้นครับ Pen Pal At The End Of The World มังงะปี 2021 ผลงานเดบิวต์ของ Iwata Sekka ที่ทำร่วมกับ Matsuura Kento (ผู้วาด Phantom Seer) –
ระหว่างที่เขียนคอลัมน์นี้อยู่ ก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ Milli (ดนุภา คณาธีรกุล) ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 100 สตรีผู้เป็นแรงบันดาลใจและทรงอิทธิพลจากทั่วโลก ประจำปี 2022 จากสำนักข่าว BBC โอ้มายก็อดส์! ความรู้สึกเดียวที่เรามีให้เลยคือ ‘ยินดีด้วย’ เพราะตลอดการเดินทางของแร็ปเปอร์คนนี้ไม่มีคำว่าฟลุ๊ค จะเป็นการแสดงสดที่เทศกาลดนตรี Cochella หรือการได้ร่วมงานกับค่าย 88 Rising ผงาดพลัง Asia Power สู่เวทีโลก ล้วนสะท้อนภาพความพยายามอย่างหนักทั้งนั้น และอัลบั้มแรกในชีวิตของเธอ ‘BABB BUM BUM (แบบเบิ้มเบิ้ม)’ ภายใต้สังกัด Yupp ก็เป็นอีกผลงานที่เต็มเปี่ยมด้วยความพยายาม ภายใต้อัลบั้มที่มีพาร์ทดนตรีสุดปั่น และไรห์มสุดยียวน นี่คืออัลบั้มที่ศิลปินผู้รู้จักตัวเองเป็นอย่างดี และรู้ว่าเพลงของตัวเองสามารถเป็นอะไรได้บ้างโดยไม่ทำให้เสียเอกลักษณ์ตัวตนแม้แต่น้อย และมันไม่ใช่เพราะว่า Genre ของ Hip-Hop ที่อนุญาตให้ดนตรีหลากหลายด้วยนะ แต่ Milli ทำให้เพลงทั้ง 10 อัลบั้มเป็นเรื่องราวของตัวเองจริง ๆ สำหรับเราในวันนี้ Milli ได้กลายเป็นตัวละครเอกของมังงะชีวิตที่ตัวเองเขียนไปแล้ว เป็นตัวละครที่บ้าพลัง มุทะลุชนทุกกำแพง และแม้จะย่อท้อก็สามารถลุกขึ้นมาร้องเพลงใหม่ได้เสมอ
ช่วงกลางดึกคืนหนึ่งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผมบังเอิญได้เห็นหน้าฟีดบนเพจ Facebook ของ Shonen MainStream โพสต์ว่ามีมังงะน่าสนใจออกใหม่ ที่กำลังไฮป์อย่างมากชื่อ Takopi’s Original Sin ซึ่งมียอดอ่านออนไลน์สูงเป็นระดับปรากฎการณ์ของการ์ตูนญี่ปุ่น-ในตอนที่ 1 มีคนกดอ่านรวมกว่า 8 ล้านครั้ง และตอนที่ 16 ซึ่งเป็นตอนจบก็มีคนอ่านภายในวันเดียวถึง 3 ล้านครั้งเลยทีเดียว (อัพเดทข้อมูล 14/11/2022) แต่ทว่า นั่นยังไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ผมสนใจมังงะเรื่องนี้ซะทีเดียว แต่เป็นเป็นเพราะคำเตือนถึง 2 ครั้งของทางเพจ ที่บอกว่าการ์ตูนเรื่องนี้มีเนื้อหาที่สะเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรงมาก ถึงแม้ว่าพล็อตเรื่องจะมีความคล้ายกับ Doraemon ก็ตาม … นี่ล่ะคือสิ่งที่ดึงดูดผมเข้าสู่โลกของ Takopi’s Original Sin ของจริง ขอยอมรับแบบไม่ปกปิด ผมรู้สึกผิดอยู่บ้างที่ไม่เชื่อการเตือนถึง 2 ครั้งอย่างหวังดีนั้น เพราะเรื่องราวของ Takopi’s Original Sin ทำเอาหดหู่อย่างมากหลังอ่านจบ-ในระดับที่เกือบจะเขียนคอลัมน์นี้ไม่ไหว ซึ่งถ้าจะให้อธิบายความรู้สึกของผมออกมาเป็นภาพ มันก็คงเหมือนกับกำลังเดินเข้าหาคมมีดเป็นพันเล่ม โดยที่ก่อนหน้านั้นดื่มยาพิษเข้าไปอึกใหญ่ โลกของมังงะเรื่องนี้เต็มไปด้วยความไม่น่าไว้ใจ ความกระอักกระอ่วน ความเจ็บปวด เกินกว่าจะหายใจได้อย่างเต็มปอดและรู้สึกปลอดภัยขณะที่อ่าน แต่ก็ต้องบอกว่า
ในช่วงที่โลกเต็มไปด้วยความโกลาหลจากเหตุการณ์เลวร้ายที่เข้ามาไม่หยุดหย่อนแบบนี้ หลาย ๆ คนก็คงมีวิธีคลายเครียดต่างกันออกไป แต่สำหรับคนที่หลบจากโลกความจริงเอาใจไปปล่อยในมังงะอย่างพวกเรา การมาถึงของอนิเมะบู๊เลือดสาดอย่าง Chain Saw Man ที่กำลังไฮป์ที่สุดในทุกแพลตฟอร์มตอนนี้ ดูจะหนักเกินไปเหลือเกิน ก็ชอบแหละ แต่ขอห่างกันสักพักไปก่อน เพราะตอนนี้มังงะแบบ Slice Of Life น่าจะตอบโจทย์ชีวิตตอนนี้มากกว่า มังงะแนว Slice Of Life เป็นการ์ตูนที่จะพาเราปล่อยใจ พร้อมค้นหาความหมายของชีวิตบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในความสามัญธรรมดาในทุกวันที่ผ่านไป จริง ๆ ถ้าลองสังเกตุดี ๆ ก็จะเห็นว่ามังงะแทบทุกเรื่องจะมีตอนที่เป็น Slice Of Life ซ่อนอยู่เสมอ เป็นวันที่ตัวเอกของตอนนั้น ๆ ทำอะไรเรื่อยเปื่อย ไม่คิดอะไรมาก แค่เดินไปตามท้องถนนเฉย ๆ ให้คนอ่านได้พักหายใจก่อนที่จะออกเดินทางเสพเนื้อเรื่องหลักอันเข้มข้นต่อไป UNLOCKMEN ขอแนะนำมังงะ Slice Of Life ที่ผู้เขียนอ่านเอง รักเอง และเชื่อว่าคนอ่าน UNLOCKMEN น่าจะชอบด้วยเหมือนกัน เพราะโลกมันเครียดมากแล้ว เพราะฉะนั้นคงไม่มีอะไรดีเท่ากับการที่มังงะสักเล่มจะสามารถสร้างวันหยุดให้กับใจเราทุกครั้งที่เปิดอ่านนี่ล่ะ : ) โคทาโร่อยู่คนเดียว
ในช่วงเวลาที่ชื่อของ Junji Ito ถูกแปะด้วยป้ายนักเขียนราชาสยองขวัญยุคใหม่ (ยังคงมีผลมาถึงปัจจุบัน) อย่างไร้ข้อกังขาใด ๆ ด้วยองค์ประกอบของผลงานที่สร้างความหวาดกลัวสุดขีด ด้วยจังหวะและงานภาพแสนประณีต กับเรื่องราวที่ไม่มีคนอ่านสามารถจับทางได้สักครั้ง และ UNLOCKMEN เคยพูดถึงเรื่องราวของราชาคนนี้เอาไว้อย่างละเอียดในบทความ NIHON STORIES : ITO JUNJI ในคอลัมน์นี้เราจึงไม่ได้จะพูดถึงคุณจุนจิ แต่จะพาไปรู้จักกับมังงะสยองขวัญอีกรสชาติของ Hirohisa Sato นักเขียนที่ค่อนข้าง underrated ในบ้านเรา และเรื่องที่จะพูดถึงก็ติดเรทด้วยภาพของความรุนแรง จนไม่สามารถแปลลิขสิทธิ์เข้ามาอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทยได้ ชื่อของมังงะเรื่องนั้นก็คือ Shiga Hime มังงะปี 2016 ว่าด้วยผู้เป็นอมตะและสาวกทาสรับใช้ของพวกเธอ ขออนุญาตให้เกร็ดของนักเขียนคนนี้เพื่ออรรถรสสักนิดนึง คุณซาโตะเป็นนักเขียนมังงะที่ปัจจุบันมีผลงานทั้งหมด 3 เรื่อง คือ Suzuki Just Wants a Quiet Life (2014), Shiga Hime (2016), และเรื่องล่าสุด Mother Parasite (2020) ความเก่งกาจก็คือมังงะทั้งหมดของคุณซาโตะมีความแตกต่างด้าน Story ออกจากกันอย่างสิ้นเชิง