ในช่วงเวลาที่สถานการณ์การเมืองไทยกำลังครุกกรุ่น ยังมองไม่เห็นเส้นทางชัดเจนว่าจะออกหัวแน่ หรือว่าจะสปินไปทางก้อยกันนะแบบนี้ UNLOCKMEN อยากชวนทุกคนข้ามน้ำข้ามทะเลปักหมุดไปที่ประเทศโปแลนด์ ย้อนกลับไปเมื่อสักประมาณ 30 ปีก่อนหน้า (ซึ่งสถานการณ์ทาวการเมืองร้อนแรงไม่แพ้กัน) เพื่อไปรู้จักกับหนึ่งในพรรคการเมืองที่แปลกที่สุดในโลกชื่อ Polish Beer-Lovers Party แค่ชื่อพรรคก็รู้เลยใช่มั้ยครับว่ามีอุดมการณ์อะไร และมาทางปั่นแน่นอน แต่ผิดครับ ! ท่ามกลางพรรคการเมืองมากมายบนโลกนี้ หนึ่งคืออีกหนึ่งพรรคการเมืองจากโปแลนด์ที่แน่วแน่ในอุดมการณ์ของตัวเองอย่างจริงจังท่สุด และหวังอยากเห็นประเทศดีกว่านี้ผ่านความสวยงามของเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ค.ศ.1989 จากการปกครองของคอมมิวนิสต์สู่ระบอบประชาธิปไตย ในหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศโปแลนด์ตอนปี 1989 นั้น มีเหตุการณ์สำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศเกิดขึ้น ซึ่งถูกจารึกในภายหลังว่า ‘การเจรจาโต๊ะกลม (Round-table talks)’ ระหว่างรัฐบาลคอมมิวนิสต์และฝ่ายต่อต้านที่นำโดยสหภาพแรงงาน Solidarity การเจรจาในครั้งนั้นทำให้การปกครองแบบระบอบคอมมิวนิสต์มาหลายทศวรรษได้ตายลง และนำพาประเทศเข้าสู่ระบอบการเมืองแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยอย่างที่ประชาชนหวังกันไว้ในที่สุด แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือการเลือกตั้งรัฐสภาใหม่ของประเทศ แล้วในปี 1990 นั้นเอง ชายหนุ่มหุ่นหมีอายุ 30 ต้น ๆ ชื่อ Janusz Rewiński หนึ่งในประชาชนของโปแลนด์ มองเห็นปัญหารูโหว่ขนาดใหญ่ของประเทศตั้งแต่ช่วงเวลาของคอมมิวนิสต์ และเก็บความอึดอั้นตันใจมานานแล้ว คำถามที่เหมือนจะระเบิดอยู่ในหัวตลอดเวลาอย่างไม่เข้าใจว่า “ทำไมเบียร์ถึงไม่ถูกสนับสนุนแบบวอดก้าบ้างนะ” กำลังจะถูกปลดปล่อยออกมา และหากต้องการให้คนอื่นรับรู้ถึงปัญหาที่มีอยู่นี้ด้วย ไม่มีอะไรจะช่วยได้เท่ากับสนามการเมืองอีกแล้ว เพราะฉะนั้น Janusz
ปฏิเสธไม่ได้ว่าพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับ พื้นที่ข่าวทางหน้าจอโทรทัศน์ ไปยันบทสนทนาของผู้คนในชีวิตประจำวัน ณ ขณะนี้ มีเรื่องสถานการณ์ทางการเมืองเป็นหนึ่งในหัวเรื่องหลักด้วยเสมอ ๆ ไม่ว่าคุณจะคือคนที่สนใจการเมืองมาก สนใจน้อย หรือไม่สนใจเลย แต่เมื่อข่าวสารบ้านเมืองไหลเร็วและพุ่งมาจากทุกทิศทุกทางก็อาจนำความตึงเครียดมาสู่จิตใจได้โดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะถ้าคุณคือคอการเมืองตัวยง สนใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นรายวันหรือบางครั้งไหลเร็วถึงขั้นรายชั่วโมง รายนาที การตื่นตัวและทันเหตุการณ์อยู่เสมอนั้นไม่ใช่เรื่องผิด แต่เมื่อไรก็ตามที่เริ่มรู้สึกนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ปวดหัว ไม่เป็นอันทำการทำงาน อยากติดตามความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ฯลฯ นั่นก็อาจเป็นสัญญาณเตือนให้หันมาดูแลสุขภาพจิตใจของเราแล้ว สุขภาพจิตใจของเราก็มีความหมายไม่แพ้เรื่องการเมือง UNLOCKMEN จึงอยากชวนมารับมือกับความเครียด ในห้วงเวลาที่ข่าวสารบ้านเมืองกำลังร้อนระอุเช่นนี้ แบ่งเวลาให้ความสุขของตัวเองไม่ใช่เรื่องผิด สิ่งหนึ่งที่ต้องเข้าใจคือเราไม่ต้องรอให้ใครมาอนุญาตให้เรามีความสุข เราสามารถเป็นคนที่ติดตามและตื่นตัวทางการเมืองไปพร้อม ๆ กับการมีความสุขและดูแลสุขภาพจิตตัวเองได้ โดยเฉพาะถ้าคุณคือคนที่ติดตามการเมืองอยู่เสมอ วิธีการรับมือกับความเครียดที่ดีมากอย่างหนึ่งคือการกำหนดเวลาพักให้ตัวเอง อาจจะเป็นการกำหนดว่าทุกวันอาทิตย์เราจะพัก ไม่เปิดเฟซบุ๊ก ไม่ไถทวิตเตอร์ ไม่รับข้อมูลข่าวสารใด ๆ หรืออาจจะกำหนดเวลาพักรายชั่วโมงในแต่ละวัน เช่น ทุก ๆ วันจะมีเวลา 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอนที่เราจะปิดการรับรู้ข่าวสารทุกอย่าง โดยในเวลาพักเหล่านี้หาสิ่งที่เยียวยาหัวใจตัวเองทำ ถามตัวเองว่าอะไรที่เราทำแล้วมีความสุข (แม้จะเป็นความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ตาม) เล่นกับแมวที่บ้าน ออกไปวิ่งที่สวนสาธารณะ ดูซีรีส์สืบสวนให้ตาแฉะ
สงคราม กระสุนยาง ลูกตา เลือด ชุมนุม บอยคอตสินค้า และการปิดสนามบิน ข่าวที่วนเวียนตลอดหลายเดือนของฮ่องกงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วง 2 วันนี้ที่ทั่วโลกกำลังจับตามองความรุนแรงที่เกิดขึ้น ลุกลามไร้การยับยั้งถึงขนาดมีคนกล่าวว่า “ฮ่องกง” อาจเป็นเวทีของสงครามโลกครั้งที่ 3 ของมหาอำนาจ ที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ข้อยุติจบลงที่ตรงไหน ใครบ้างที่ถูกพาดพิงว่าเป็นต้นเหตุของเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ ก่อนเหตุการณ์จะคลี่คลาย UNLOCKMEN ขอสรุปสถานการณ์โลกสั้น ๆ มาให้ทำความเข้าใจกัน ชนวนปิดสนามบิน เริ่มจากความตายของหญิงสาว กว่าการลุกฮือของประชากรชาวฮ่องกงจะดำเนินมาถึงตรงนี้ ไม้ขีดก้านแรกที่จุดขึ้นมา เริ่มต้นจากคดีคู่รักชาวฮ่องกงที่เดินทางไปประเทศไต้หวัน ตามข่าวกล่าวว่าฝ่ายชายวัย 19 ปีฆาตกรรมแฟนสาวที่กำลังท้องในแผ่นดินไต้หวันแล้วตัวเองบินกลับฮ่องกง ด้วยความที่ไต้หวันและฮ่องกงรวมทั้งจีนไม่มีการร่างกฎหมายการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนต่อกัน คดีสะเทือนใจนี้จึงไม่สามารถดำเนินคดีได้ ไม่มีกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน จึงไม่มีคนผิดต้องรับโทษ หญิงสาวผู้น่าสงสารจบชีวิตลงแสนเศร้า ทว่าเรื่องสะเทือนขวัญนี้กลายเป็นต้นทางของความขัดแย้งทันทีที่ Carrie Lam ผู้บริหารสูงสุดเกาะฮ่องกงลุกมาผลักดัน “ออกร่างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเมื่อมีข้อต้องสงสัยว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดทางอาญา ไปรับการพิจารณาคดีที่จีนแผ่นดินใหญ่ได้ (Fugitive Offenders and Mutual Legal Assistance in Criminal Matters Legislation
“ไม่รวยงวดนี้ จะไปรวยชาติไหน” ใช้ชีวิตมันต้องมีค่าใช้จ่าย ทุกวันนี้ “เงิน” คือสิ่งที่ทำให้เราเป็นคนเหมือนกันแต่คุณภาพชีวิตไม่ค่อยเหมือนกัน ดังนั้น ทุกวันที่ 1 และ 16 ของทุกเดือน พวกเราเลยแบ่งเวลาที่มี เจียดเงินในกระเป๋าจำนวนหนึ่งไปซื้อสลากกินแบ่งและหวยใต้ดิน พร้อมความคาดหวังว่าเงินก้อนนี้จะดับเบิ้ลหลายเด้ง สร้างชีวิตที่ดีกว่าให้ ยิ่งถ้างวดไหนนิมิตดี ๆ หน่อย เลขไม่เคลื่อน อัตราความสำเร็จอาจจะสูงขึ้น (ตามความเชื่อ) ทำให้เงินหลักสิบกลายเป็นหลักพัน หลักล้าน ได้ชั่วข้ามคืน “แต่งวดที่ผ่านมาหวยก็แดกอีกแล้วครับ…” ความเจ็บไม่จำเพราะรางวัลมันล่อใจทำให้การตั้งโพสต์ “ถูกหวย(แดก)” กลายเป็นเรื่องปกติในหน้า Feed โซเชียล แต่จู่ ๆ ระหว่างที่เราเจ็บใจกับการกลับหน้า กลับหลัง ลังกาเลขพลาดวันที่ 16 ที่ผ่านมา วันที่ 17 ก็เจอนโยบายจากพรรคการเมืองหนึ่งออกมาบอกว่าจะทำ “หวยบำเหน็จ” ให้เราได้มีสิทธิ์ลุ้นรางวัลโดยเงินต้นไม่หาย นำไปใช้ได้ยามเกษียณ แค่ฟังชื่อนโยบายก็น้ำลายหกแล้วจริงไหม แต่มีอะไรในนั้นบ้าง ใครที่แค่ผ่านตา แต่ยังไม่ได้อ่านรายละเอียดด้านใน เราขอมา RECAP ก่อนจะนำมาวิเคราะห์อีกครั้งว่า นโยบายนี้มีข้อสังเกตใดที่น่าสนใจบ้าง ถือว่าใช้เป็นตัวเลือกก่อนตัดสินใจกากบาทในคูหาปลายสัปดาห์นี้ ต้นกำเนิดจาก
เราล้วนแต่เติบโตมาพร้อม ๆ กับคำกำชับสั่งสอนของผู้ใหญ่ว่า “ห้ามคุยกันเรื่องการเมืองและศาสนา ถ้าไม่อยากมีความบาดหมาง ขัดแย้ง” แต่ในทางกลับกัน UNLOCKMEN คิดว่าการซุกปัญหาไว้ใต้พรมเหมือนปัญหาและความขัดแย้งไม่เคยมีอยู่ต่างหากที่จะยิ่งทวีพลังความอัดอั้นในตัวเราแล้วระเบิดออกสู่สังคมอย่างรุนแรง เมื่อความรุนแรงของการเมืองปะทุขึ้นเรื่อย ๆ เราเลยอยากชวนผู้ชายทุกคนปลดล็อกตัวเองไปอีกขั้น ด้วยการพูดคุยเพื่อแสดงความคิดเห็นของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็รับฟังทัศนคติทางการเมืองของผู้อื่น เพื่อเรียนรู้แลกเปลี่ยนและนำข้อมูลที่มีเพิ่มขึ้นใช้ตัดสินใจลงคะแนนเสียงเพื่อชี้ชะตาประเทศได้อย่างมีวิจารณญาณที่สุด โดยเฉพาะในจังหวะที่บรรยากาศทางการเมืองและการหาเสียงกำลังดุเดือดเลือดพล่านแบบนี้ บางขณะที่เราก็ยังไม่พร้อมพูดคุยเรื่องนี้กับใคร แต่ก็อาจมีบางคนพยายามชวนเราคุยเรื่องนี้อยู่ดี นี่จึงเป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างความฉลาดทางอารมณ์ไว้ล่วงหน้า ไม่ให้เราระเบิดอารมณ์ใส่ใครเพียงเพราะคุยกันเรื่องการเมือง ไม่ลดทอนความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น เราจะเชียร์ใคร สนับสนุนใคร หรือฟากการเมืองใดก็ได้ เช่นเดียวกันกับที่คนอื่นก็มีสิทธิ์สนับสนุนความคิดเห็นทางการเมืองของฝั่งที่เขาเลือก ดังนั้นขั้นตอนแรกที่ต้องท่องจำให้ขึ้นใจคือทุกคนคือมนุษย์ที่มีสิทธิและมีเสียงเท่า ๆ กันกับเรา หลีกเลี่ยงการยัดเยียดว่าใครเป็นควาย เป็นเหี้ย เป็นหมา ฯลฯ เพียงเพราะเขาไม่สนับสนุนฝั่งเดียวกับเรา หรือสนับสนุนฝั่งที่เราไม่ชอบ การลดทอนความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น และการเพิ่มความเกลียดชังทางคำพูด ไม่ทำให้บทสนทนาราบรื่นแน่นอนไม่ว่าจะเรื่องทางการเมืองหรือเรื่องไหน ๆ บทสนทนาคือการพูดและฟัง ไม่ใช่แค่การหักล้าง การสนทนาเรื่องการเมืองกับใครก็ตาม อาจไม่ได้หมายถึงแค่การเอาชนะ กดดันหรือโน้มน้าวใจอีกฝั่งให้เชื่อเหมือนเรา คิดเหมือนเรา หรือเชื่อเหมือนเราเท่านั้น การสนทนาเรื่องการเมืองอาจหมายถึงการแลกเปลี่ยนโดยเราได้พูดเพื่อแสดงความคิดเห็นของเรา ในขณะเดียวกันเราก็รับฟังความคิดเห็นของคนที่คิดต่างจากเรา เราอาจไม่เข้าใจสิ่งที่เขาพูดออกมา แต่เราควรรับฟังเพื่อรู้ว่าเขาคิดอะไร โดยใช้เหตุและผลคุยกันมากกว่าอารมณ์และความเกลียดชัง ถ้าเจอคนเกรียนใส่ จงเลี่ยงออกมา บทสนทนาเรื่องการเมืองจะไปข้างหน้าได้ก็ต่อเมื่องทั้งเราและคนในวงสนทนาต้องการแลกเปลี่ยน เข้าใจและรับฟังซึ่งกันและกัน เมื่อใดก็ตามที่ในวงสนทนานั้นมีคนเกรียนใส่ไม่ยั้ง
“ความจนมันน่ากลัว” คนที่ลำบากทำงานเดือนชนเดือนสายตัวแทบขาดย่อมเข้าใจคำพูดนี้ดี และมันคงยิ่งการันตีได้ชัดเจนขึ้นกับประเทศที่เราอยู่ เพราะดันมีรายงานจาก CS Global Wealth Report 2018 เผยว่าระดับความเหลื่อมล้ำในไทยติดอันดับแรกของโลก เนื่องจากคนที่ร่ำรวยที่สุดซึ่งคิดเป็น 1% มีทรัพย์สินรวมคิดเป็น 66.9 % ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ ล้มอดีตแชมป์อย่างรัสเซีย พอเงินไม่มีแล้วรัฐในฐานะผู้ปกครองก็เริ่มมานั่งกุมขมับว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ลงเอยแล้วนโยบายการให้เงินอุดหนุนหรือสวัสดิการอุดช่องว่างจึงเหมือนสูตรสำเร็จที่ใช้กันทุกประเทศมาหลายทศวรรษ ไม่เว้นแม้แต่ในไทยที่นายกรัฐมนตรีนักทำตามสัญญา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพิ่งทำล่าสุดกับการให้เพิ่มบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอีก 3.1 ล้านใบ ซึ่งเมื่อรวมทั้งหมดราว 14.5 ล้านใบ แหวกกระเป๋างบจากกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม มาใส่ในบัตรให้กดกันเพลิน ๆ เปย์เงินท่วมท้นด้วยงบประมาณ 7,250 ล้านบาทเพื่อเป็นของขวัญรับปีหมา ทว่าประเด็นเรื่องการให้เงินเป็นเรื่องทอดทิ้งหรือโอบอุ้มคนจน เราต้องสอนคนจับปลาหรือจับปลามาให้เขากิน ก็ยังถกกันอยู่ไม่หยุดหย่อน เพื่อให้ชาว UNLOCKMEN ได้ใช้ดุลยพินิจกับมันให้เต็มที่ เราขอส่งต่อแง่มุมเรื่องการอุดหนุนเงินคนจนจากภาครัฐทุกแง่มุมมาฝากกัน ให้เงินมันดีอย่างไร มองกันให้เป็นกลางเรื่องนโยบายที่หลายคนสงสัยกันนักกันหนาว่าการเอาภาษีของเราไปแจกเป็นเงินสดมันช่วยอะไรได้ เรื่องนี้อธิบายไว้ในงานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ใน published research paper (paywall) ของ David Evans จากธนาคารโลกและ Anna Popava จาก Standford
ในเวลานี้คงไม่มีประเด็นไหนจะร้อนแรงและน่าสนใจสำหรับชาวโลกมากไปกว่า ‘การเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐอเมริกา 2018’ เพราะถึงแม้จะเป็นเรื่องราวภายในประเทศ แต่ก็ต้องยอมรับว่าสหรัฐอเมริกาคือมหาอำนาจของโลก ทุกนโยบายที่ผ่านสภาคองเกรสออกมาย่อมส่งผลต่อคนทุกหย่อมหญ้าไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก ซึ่งตอนนี้ถึงแม้การนับคะแนนจะยังไม่สิ้นสุด แต่โฉมหน้าของผู้ชนะก็ปรากฏแล้ว อย่างไรก็ตามก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักการเลือกตั้งกลางเทอมกันก่อนดีกว่า What is U.S. Midterm Elections? ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจโดยง่ายการเลือกตั้งกลางเทอมคือการประเมินว่าพอใจกับการทำงานใน 2 ปีที่ผ่านมาของประธานาธิบดีหรือเปล่า ถ้าไม่พอใจก็จะมีสิทธิตัดสินใจอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตามจะไม่มีการเปลี่ยนตัวประธานาธิบดีในการเลือกตั้งกลางเทอม ในการเลือกตั้งกลางเทอมนี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะลงคะแนนเลือกสมาชิกสภาคองเกรส ซึ่งในที่นี้ก็คือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคน และ 1 ใน 3 ของสมาชิกวุฒิสภา สภาคองเกรสคือการรวมกันของสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา สมาชิกทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีทั้งหมด 435 คน โดยแต่ละคนคือตัวแทนจากเขต ๆ หนึ่ง มีวาระการปฏิบัติงานสองปี จำนวนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นอยู่กับประชากรของมลรัฐนั้น ๆ สำหรับจำนวนสมาชิกวุฒิสภานั้น ทุกรัฐจะมีสมาชิกวุฒิสภาสองคนเท่ากันหมด ดังนั้น สหรัฐอเมริกาจึงมีสมาชิกวุฒิสภาทั้งสิ้น 100 คน วาระการปฏิบัติงานของสมาชิกวุฒิสภาคือ 6 ปี ความสำคัญของการเลือกตั้งกลางเทอมคือเป็นการกำหนดว่าพรรคใดจะคุมอำนาจในสภาคองเกรสซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการปกครองประเทศของสหรัฐอเมริกาที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบัญญัติกฎหมาย คำถามต่อมาคือเมื่อ 2 ปีที่แล้วพรรค Republican ของโดนัล ทรัมป์คว้าเสียงข้างมากไปครอง แต่ถ้าในครั้งนี้สถานการณ์เกิดพลิกผัน พรรค Democrats เกิดพลิกกลับมาเป็นเสียงข้างมาก ผลที่ตามมาคืออะไร
“การเมืองไม่ใช่เรื่องของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง” เพราะมันเกี่ยวพันถึงสวัสดิภาพ ความเป็นอยู่ของเรา มันเลยอาจทำให้เราติดภาพว่าเรื่องของการเมืองเป็นเรื่องที่จริงจัง แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้มันจำกัดอยู่แค่ในรูปแบบของข่าวที่จริงจังบนหน้าหนังสือพิมพ์ หรือข่าวออนไลน์เท่านั้น การเมืองและศิลปะยังคงเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันกันมาตลอดหลายยุคหลายสมัย UNLOCKMEN อยากพาทุกคนมาลิ้มรสเข้ม ๆ ของการเมืองในรูปแบบม้วนฟิล์มกันดูบ้างกับหนังการเมือง 5 เรื่องหลากหลายแนว ที่ไม่ได้เป็นแค่หนังไดอะล็อกนั่งคุยเครียด ๆ เสมอไป The Ides of March Director : George Clooney หนังการเมืองขนานแท้ที่เส้นเรื่องจะอยู่ที่ Stephen Meyers (Ryan Gosling) ผู้มีหน้าที่จัดการทุกอย่างเกี่ยวกับการหาเสียงให้กับนักการเมือง ตั้งแต่ภาพลักษณ์ เทคนิคการปราศัย การเล่นเกมการเมือง และนั่นทำให้เขามีโอกาสได้เห็นเบื้องหลังของวงการนี้อย่างแท้จริงและยิ่งทำให้รู้ว่าการเมืองก็ไม่ต่างจากการเล่นละครฉากหนึ่ง เมื่อเขาที่เคยคิดว่าตัวเองเป็นคนสำคัญของนักการเมือง เป็นไม้ตายของการเลือกตั้ง กลายเป็นเพียงหมากเบี้ยตัวเล็ก ๆ ที่จะถูกเขี่ยออกไปเมื่อไหร่ก็ได้ การแสดงของ George Clooney และ Ryan Gosling ที่ว่าเฉียบคมแล้ว ยังไม่สู้บทของเรื่องนี้เขาก็มีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่าเหมาทุกอย่างอยู่ในกำมือตั้งแต่กำกับ เขียนบท แสดงนำและเขาก็ทำมันออกมาได้โคตรเจ๋ง Argo Director : Ben Affleck หากรู้สึกว่าเรื่องแรกออกจะเครียดไปหน่อย ลองให้เรื่องนี้เป็นตัวเลือกของคุณ เรื่องราวสถานการณ์คุกรุ่นในอิหร่าน จนเกิดเหตุการณ์บุกสถานทูตอเมริกาในอิหร่าน กักขังเจ้าหน้าที่เอาไว้ข้างในแต่มี
ความสงบคือสิ่งที่หาได้ยากในดินแดน ‘ฉนวนกาซา’ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1948 หลังจากพรมแดนถูกแบ่งโดยกองทัพอิสราเอลและอียิปต์เมื่อสงครามอาหรับ-อิสราเอลสิ้นสุดลง ส่งผลให้สหราชอาณาจักรเลิกการครอบครองปาเลสไตน์ หลังจากนั้นฉนวนกาซาถูกปกครองโดยอียิปต์โดยตลอด มีเพียงช่วง 4 เดือนสั้น ๆ ในช่วงวิกฤตการณ์คลองสุเอซที่อิสราเอลได้กลับมาปกครองแผ่นดินผืนนี้ แต่เมื่ออิสราเอลชนะสงครามหกวัน ใน ค.ศ. 1967 ฉนวนกาซาก็ตกเป็นหนึ่งในดินแดนที่อียิปต์เสียให้อิสราเอล จนกระทั่ง ค.ศ. 1993 อิสราเอลและปาเลสไตน์ได้ตกลงกันเซ็น สนธิสัญญาออสโล ซึ่งใจความสำคัญคือการอนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์มีอำนาจในการปกครองตัวเอง (อย่างจำกัด) ในเขตฉนวนกาซา ต่อมาในค.ศ. 2005 ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Ariel Sharon อิสราเอลได้ดำเนินการถอนทหารและประชาชนชาวอิสราเอล ที่อาศัยอยู่ในฉนวนกาซาทั้งหมด ซึ่งหมายถึงการหมดอำนาจปกครองของอิสราเอลที่ยาวนานมาถึง 36 ปี แต่ในปัจจุบันอิสราเอลยังคงควบคุมการเข้าออกฉนวนกาซาจากภายนอก ส่วนสถานะทางการเมืองระหว่างประเทศของฉนวนกาซายังไม่ได้ข้อยุติ ด้วยเหตุนี้ฉนวนกาซาจึงเป็นพื้นที่สีแดงที่ไม่เคยเว้นว่างจากการสู้รบ ชีวิตมากมายที่ต้องดับลง เลือดที่เจิ่งนองบนพื้น เปรียบเสมือนสิ่งแลกเปลี่ยนกับอำนาจอธิปไตยที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องการ ปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยระยะเวลาที่ยาวนาน และเรื่องราวที่ดูเหมือนจะไม่มีตอนจบ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้คนโดยทั่วไปจะเริ่มรู้สึกชินชากับความรุนแรงในพื้นที่แห่งนี้ ฉนวนกาซากลายเป็นเหมือนพื้นที่ลับแลที่เสียงสะท้อนแห่งความรุนแรงส่งไปไม่ถึงโลกภายนอก จนกระทั่งในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2018 มีชาวปาเลสไตน์ เสียชีวิต 55 คน จากการประท้วงครั้งใหญ่ จึงทำให้โลกภายนอกเริ่มกลับมาสนใจความเป็นไปในพื้นที่แห่งนี้อีกครั้ง เหตุการณ์เดือนพฤษภาคมเป็นเหมือนเชื้อไฟที่เพิ่มดีกรีความร้อนแรงของฉนวนกาซาขึ้นมาอีกครั้ง การประท้วงโดยประชาชนปาเลสไตน์ยังดำเนินมาเรื่อยมา การห้ำหั่นที่ยาวนานทำให้เรื่องราวในดินแดนนี้โดนชาวโลกหลงลืมอีกครั้ง
สำหรับคนที่ไม่ได้ตามการเมืองต่างประเทศจริงจัง เมื่อพูดชื่อ Donald Trump ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบันขึ้นมา สิ่งแรกที่นึกถึงเกี่ยวกับเขาคงหนีไม่พ้นบุคลิกจอมโวยวายโผงผาง การตอบคำถามสื่อมวลชนและการใช้ Social Network ที่มักจะจุดประเด็นดราม่าขึ้นมาเสมอ ส่วนเรื่องมุมมองของเขาต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในโลกนั้นเราแทบจะไม่รู้เลย แต่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา สำนักข่าว CNN ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ Trump ยาวนานถึง 1 ชั่วโมงเต็ม ๆ ล้วงลึกถึงทุกประเด็นที่ทั่วทั้งโลกอยากรู้ ดังนั้นนี่จึงเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะได้รู้จักตัวตนของชายที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกในเวลานี้ให้มากขึ้น การเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซีย ผู้รับหน้าที่สัมภาษณ์ Trump ในคราวนี้คือ Lesley Stahl นักข่าวรุ่นใหญ่เปี่ยมด้วยบารมี เธอจึงกล้าเผชิญหน้ากับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาแบบไม่เกรงกลัว และประเด็นแรกที่เธอยิงคำถามใส่เขาคือการเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซียเมื่อปี 2016 ที่ผ่านมานั้นคิดว่าถูกแทรกแซงหรือไม่ “แน่นอนว่ามีการแทรกแซง ไม่ใช่แค่ที่รัสเซีย แต่รวมถึงจีนและประเทศอื่น ๆ ในโลกก็เช่นกัน” Trump ตอบคำถามดังกล่าวก่อนที่เขาจะกล่าวเสริมว่า “แต่จากใจผมเลยนะ ผมคิดว่าจีนคือปัญหาที่ใหญ่กว่าในตอนนี้” James Mattis ประเด็นต่อมาคือข่าวการลาออกจากตำแหน่งของ James Mattis เลขาธิการกระทรวงการต่างประเทศ Lesley Stahl ถาม Trump ถึงสาเหตุของเหตุการณ์ดังกล่าว “ผมไม่ทราบ เขาไม่ได้บอกผม แต่ผมกับเขามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันถึงแม้ว่าเขาจะมาจากพรรค Democrat ก็ตาม สาเหตุการลาออกของเขาก็คงเหมือน ๆ กับที่คนทั่วไปลาออกจากงานนั่นแหละ”