News | Video
UNLOCKMEN Logo
News | Video
Unlockmen Facebook Page Unlockmen Twitter Unlockmen YouTube channel
  • World
  • Entertainment
    :
    Films
    |
    Music
  • Guide
    :
    EVENT
    |
    MENU
    |
    TRAVEL
  • TECH
    :
    APPS
    |
    CARS
    |
    GADGETs
  • Style
    :
    DESIGN
    |
    FASHION
    |
    GROOMING
  • Business
  • Girls
  • Life
  • Work
  • Play
  • Survival
UNLOCKMEN Logo

News

World Entertainment Guide TECH Style Business Girls Life
Work Play Survival

Videos

Tag "work"

  • Life
    By: unlockmen May 20, 2020
    ยิ่งกักตัวยิ่งหัวร้อน! ‘วิธีจัดการความโกรธ’ให้มีประสิทธิภาพแบบคนฉลาดทางอารมณ์

    การได้อยู่บ้านอย่างสงบ ไม่ต้องฟันฝ่าการจราจรการเบียดเสียดไปทำงานถึงออฟฟิศ อาจเคยเป็นภาพฝันของใครหลายคน ท่ามกลางความสุขสบายภายในบ้าน ทำงานจากมุมโปรดของตัวเอง เราคิดว่านี่คือความสุขสูงสุดที่จะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายได้อย่างน่าอัศจรรย์ แต่โชคร้ายที่การต้องทำงานอยู่บ้านนาน ๆ ที่เราเผชิญอยู่ตอนนี้ไม่ได้เป็นไปตามภาพฝันที่เราเคยจินตนาการ เนื่องจากมาพร้อม COVID-19 ความเครียดเรื่องเศรษฐกิจที่รุมเร้า ความไม่มั่นคงเรื่องงานที่ตามมาติด ๆ ไหนจะเป็นการที่ไม่สามารถออกไปพักผ่อนหย่อนใจได้อย่างเคย ทำให้เกิดก้อนความเครียดสะสม จนกลายเป็นมวลความโกรธ ความหัวร้อนที่เรารู้สึกว่าเราช่างคุมอะไรไม่ได้เอาเสียเลย! เราไม่ได้โกรธอยู่ลำพัง แต่สภาวะไม่ปกติทำให้ทุกคนเกรี้ยวกราด ประการแรกเราอยากให้ทุกคนเข้าใจว่าคุณไม่ได้หัวร้อนอยู่เพียงลำพัง ความโกรธ ความเกรี้ยวกราด หัวเสียนี้ หลายคนบนโลกกำลังเผชิญสภาวะนี้ร่วมกัน (สภาวะที่หัวร้อนง่ายกว่าช่วงเวลาปกติ) ดร. Aimee Daramus นักจิตวิทยาคลินิกให้ความเห็นว่า “ทุกเรื่องเครียด ๆ ของเรา รวมถึงสิ่งกระตุ้นความเครียดในอดีต กำลังแสดงตัวออกมาในช่วงเวลานี้ เพราะชีวิตประจำวันของเราที่เคยใช้กดเรื่องเหล่านี้มันหายไป”  “ความโกรธเองก็มีหลายระดับ ความโกรธบางระดับเรามักจะกดมันเอาไว้ได้ แต่เมื่อ COVID-19 มาเราก็มีความโกรธใหม่ ๆ ความเครียดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอีกมาก ในขณะเดียวกันความโกรธจากแผลเก่า ๆ ก็ไม่ได้หายไปไหน ดังนั้นพอมีคนมาพูดหรือทำอะไรบางอย่างที่เวลาปกติเราก็ไม่ได้โกรธอะไร แต่กลายเป็นว่าตอนนี้อะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ทำให้เราโกรธมาก ๆ

  • Work
    By: unlockmen May 5, 2020
    นุ่มนอกแต่แกร่งใน ถอดรหัส “ทำไมผู้นำหญิงจัดการได้ดีกว่า?”เมื่อหายนะมาเยือน

    ยุคสมัยที่ผู้นำส่วนใหญ่บนดาวเคราะห์ดวงนี้มีแต่ผู้ชายสุดแข็งแกร่งนั้นอาจเลือนรางลงไปนานแล้ว ความเท่าเทียมในหลายมิติทำให้มนุษย์ไม่ว่าเพศสภาพไหน ๆ ก็สามารถขึ้นกุมบังเหียนเพื่อบริหารองค์กรหรือประเทศได้ แม้ภายนอกคล้ายจะเป็นแบบนั้น แต่การเป็นผู้นำผู้หญิงนั้นกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เนื่องจากผู้นำผู้หญิงมักถูกกล่าวหาด้วยภาพเหมารวมความเป็นหญิงบางอย่าง เช่น ผู้หญิงนั้นเจ้าอารมณ์ ไม่มั่นคง ไม่เด็ดขาด ผู้หญิงไม่แข็งแกร่งพอ ผู้หญิงไม่มีความรู้เรื่องการบริหารดีเท่าผู้ชาย ฯลฯ รวมไปถึงความกดดันที่ผู้นำผู้หญิงต้องพยายามพิสูจน์ตัวเองมากกว่าผู้นำผู้ชาย เพื่อให้ทุกคนในองค์กร (หรือแม้แต่ระดับประเทศ) ยอมรับ Abbie Griffith Oliver ผู้ช่วยศาสตราจารย์จาก Georgia State University ทำงานวิจัยสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกันพบว่าเมื่อพูดถึง “ผู้นำที่พวกเขาชื่นชม” คนจำนวน 80% จะนึกถึงผู้ชาย และเมื่อ Abbie Griffith Oliver ถามนักศึกษาในชั้นเรียนว่าคิดอย่างไรกับผู้นำผู้หญิง มีเพียง 5% เท่านั้นที่พอจะนึกถึงผู้นำหญิงออกสักคน แน่นอนว่ามีผู้นำหญิงในหลายองค์กรที่ทำให้เห็นว่าผู้หญิงเองก็สามารถบริหารจัดการได้ดีไม่แพ้ผู้ชาย แต่เมื่อ COVID-19 ที่ถือเป็นวิกฤตการณ์สำคัญระดับโลกมาเยือน ทั้งโลกต่างได้เห็นบทบาทของผู้นำหญิงชัดเจนขึ้น เนื่องจากหลายประเทศที่มีผู้นำหญิงเป็นผู้บริหารนั้นสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือแม้แต่มีจำนวนผู้เสียชีวิตน้อยกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ ผู้นำหญิงจากหลายประเทศถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง ทั้ง Angela Merkel จาก Germany, Jacinda Ardern จาก

  • Work
    By: unlockmen April 24, 2020
    สู้วันนี้เพื่อให้ตัวเราในวันหน้าภูมิใจ “คนทำงานต้องปรับตัวยังไงในโลกยุค COVID?”

    จังหวะการหมุนของโลกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อ COVID-19 มาถึง ปกติคนทำงานอย่างเรา ๆ ก็หาทางอัปสกิล เอาตัวรอด เพิ่มศักยภาพให้ตัวเองอยู่ตลอดอยู่แล้ว แต่คล้ายว่าทุก ๆ ช่วงที่สิ้นปีเก่ากำลังจะจากไป และต้นปีใหม่กำลังจะมาถึงเป็นหมุดหมายสำคัญที่จะอัปเดตว่าเทรนด์ไหนกำลังมา ปีหน้าปีสกิลไหนที่ต้องเพิ่ม ความรู้ไหนที่ต้องทิ้งไปกับปีเก่า คนทำงานใช้ชั่วจังหวะที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ครบรอบพอดีเป็นฤกษ์ในการอัปเกรดเวอร์ชันการทำงานให้ตัวเองอย่างจริงจัง แต่เมื่อ COVID-19 มาถึง ไม่เฉพาะการทำงานเท่านั้นที่ต้องเปลี่ยน แต่ชีวิตทั้งชีวิตต้องเปลี่ยนตาม โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจผันผวน สภาพการเงินของบริษัทไม่แน่นอน อัตราการปลดพนักงานในหลายที่ก็มีให้เห็นอยู่เนือง ๆ ถ้าจะรออัปเกรดตัวเองอีกทีตอนสิ้นปี ถึงเวลานั้นอาจจะสายเกินไปก็เป็นได้ UNLOCKMEN ชวนเอาชีวิตรอดว่าเราควรทำอะไรบ้างในโลกการทำงานหลัง COVID-19 มาเยือน “เจ้านายเก่า บริษัทเดิม คนในสายงานเดียวกัน” สายสัมพันธ์นี้มีความหมายกว่าที่คิด ความสามารถ ศักยภาพ นั้นสำคัญอย่างมาก แต่ถ้ามี “โอกาส” ที่ดีด้วย ทั้งหมดที่มีอยู่ในตัวเราก็จะยิ่งพุ่งทะยานไปได้ไกลกว่าเดิม ผู้เชี่ยวชาญหลายคนออกมาแนะนำตรงกันว่าในช่วงวิกฤต COVID-19 สิ่งที่อยากแนะนำให้คนทำงานทำคือการติดต่อกับเจ้านายเก่า ผู้คนในบริษัทเดิม ทีม HR หรือคนในสายงานที่เราทำอยู่ นั่นเป็นเพราะว่าเมื่อองค์กรกำลังจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง หรือกำลังจะพาตัวเองฝ่าฟันวิกฤตไปได้ สิ่งที่องค์กรต้องการที่สุดคือคนที่รู้มือกัน เข้าใจลักษณะองค์กร และสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดีโดยไม่ต้องมาเริ่มสอนงานกันใหม่ จึงไม่แปลกที่

  • Life
    By: unlockmen April 21, 2020
    เลิกยึดติด! แค่แข็งแกร่งไม่พออีกต่อไป โลกใบใหม่ “ปรับตัวได้ก่อนถึงจะรอด”

    เราเคยเชื่อว่าโลกหมุนไวแสนไวขึ้นนับตั้งแต่การเดินทางมาถึงของเทคโนโลยี การเดินทางไร้พรมแดน และการสื่อสารไร้ขีดจำกัด อินเทอร์เน็ตชวนให้สรรพสิ่งหมุนไวจนหลายครั้งแค่เราไปเปิดสมาร์ตโฟนแค่วันเดียว เราก็ตามหลายข่าวไม่ทันเสียแล้ว แต่เมื่อ COVID-19 คุกคามโลกทั้งใบ โลกไม่ได้หมุนไวขึ้นเหมือนที่เราเคยรู้สึกก่อนหน้านี้ แต่โลกพลิกตีลังกากลับหัว จนเราต้องปรับทุกสิ่ง เปลี่ยนทุกอย่างในชั่วเวลาไม่กี่อึดใจ ในสภาวะเช่นนี้ หลายสิ่งที่เราเคยยึดถือต้องรีบทิ้งให้ไวก่อนจะพากันแย่ บางอย่างที่เราเห็นว่าไม่เคยสำคัญเรายิ่งต้องรีบคว้าเอาไว้ เช่นเดียวกับที่เราเคยมองว่าคนทำงาน ผู้นำ หรือแม้แต่คนทั่วไป ใครที่มั่นคง แข็งแกร่ง เด็ดขาด นั้นมีแนวโน้มจะเอาตัวรอดอย่างราบรื่น แต่สถานการณ์ที่พลิกผันรายวัน รายชั่วโมงอย่างตอนนี้ “คนที่ปรับตัวได้เร็ว” ต่างหากที่จะรอด แต่ทุกคนเรียนรู้ได้ ไม่เคยเรียนรู้ที่จะปรับตัวมาก่อนในชีวิต เริ่มตอนนี้ก็ยังไม่สาย และนี่คือหนทางปรับนิสัยตัวเองให้เป็นคนที่ปรับตัวเข้ากับทุกสิ่งได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น   “จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า…” การตั้งคำถามที่ต้องฝึกทุกวัน นิสัยหลายครั้งปรับจากพฤติกรรม หรือสิ่งที่เป็นรูปธรรม แต่บางครั้งก็ต้องปรับที่วิธีคิด ทัศนคติ และสมอง ถ้าทั้งชีวิตเรายืนอยู่บนความมั่นคงมาตลอด รู้ว่ายอดเขานี้ไม่มีวันสั่นคลอน คิดแต่ว่าจะปีนขึ้นไปให้สูงขึ้น ๆ กว่านี้ได้อย่างไร? ก็ไม่แปลกที่เมื่อหลายอย่างเริ่มพังทลาย ยอดเขาที่ยืนอยู่มีแต่จะทรุดตัวแล้วเราปรับอะไรไม่ถูก ฝึกตัวเองตั้งแต่วันนี้ด้วยการโยนคำถามให้ตัวเองในทุกวัน “จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า…” จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าพรุ่งนี้เราโดนปลดออกจากงานประจำ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าอีก 2 เดือนต่อจากนี้เศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น

  • Work
    By: unlockmen April 16, 2020
    หมัดเด็ด! ‘วิธีใช้ภาษากายให้ทรงพลัง’ประชุมทาง VIDEO CALL กี่ครั้งก็มืออาชีพ

    COVID-19 เข้ามาเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตเรา โดยเฉพาะวัฒนธรรมการทำงานที่ไม่มีทีท่าว่าจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมได้ในเร็ววันนี้ การทำงานในส่วนที่ต้องใช้การสื่อสาร ยิ่งกระตุ้นให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเองครั้งใหญ่ เราไม่ได้เข้าพรีเซนต์งานต่อหน้าคนทั้งห้องอีกต่อไป เราไม่ได้ประชุมแบบเห็นหน้าค่าตากันโดยสะดวกอีกแล้ว ทำให้หลายคนคิดว่า “ภาษากาย” ไม่ใช่สิ่งจำเป็น แต่ผิดถนัดยิ่งการประชุมผ่านวีดีโอคอล หรือเทคโนโลยี คนที่ปรับตัวได้เร็วกว่า รู้จักการใช้ภาษากายผ่านเทคโนโลยีอย่างมืออาชีพมากกว่า คนนั้นคือคนที่ได้เปรียบในสมรภูมิการงานที่ต้องฟาดฟันกันอย่างดุเดือดขึ้นเรื่อย ๆ สายตายังสำคัญ  อย่ามองกล้อง อย่ามองจอ แบบตรง ๆ หัวใจสำคัญที่สุดของภาษากาย หากต้องการสื่อสารให้ทรงพลังก็ยังคงเป็น “อายคอนแทค” อยู่นั่นเอง แต่เมื่อเปลี่ยนสถานที่ทำงาน เปลี่ยนรูปแบบการทำงานและการประชุม ความท้าทายก็เปลี่ยนไป จากปกติที่เราอาจไม่กล้าสบตาคนในห้องประชุม หรือผู้เข้าร่วมประชุมเยอะเกินไปจนเลือกสบตาไม่ถูก การ Video Conference ก็มีอุปสรรคในแบบของตัวเองเช่นกัน สิ่งที่คนทำงานไม่ชินเมื่อต้อง Video Conference คือเราไม่แน่ใจว่าการสบตายังจำเป็นอยู่มากน้อยแค่ไหน? และถ้ามันจำเป็นเราจะสบตาคนที่อยู่คนละฝั่งโลก ฝั่งประเทศ หรืออยู่คนละมุมของเมืองอย่างไร? คำตอบก็คืออายคอนแทคยังคงเป็นภาษากายที่มีความหมายมาก เพราะนี่คือการสื่อทุกอารมณ์ ความรู้สึกที่คำพูดอาจบอกได้ไม่ครบถ้วน หรือช่วยเน้นย้ำคำพูดที่พูดออกไปให้ชัดเจนขึ้น การสร้างอายคอนแทคผ่าน Video Conference นั้นไม่จำเป็นต้องจ้องไปที่กล้องของเรา หรือจ้องที่หน้าจอ มันอาจดูไม่ชินในครั้งแรก ๆ แต่อย่าลืมว่าหลายคนอาจพลาดท่าหรือทำให้เสียบุคลิกเพราะเอาแต่จ้องภาพเคลื่อนไหวของตัวเองที่อยู่บนหน้าจอ จุดที่ควรจ้องนั้นผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าอาจเป็นด้านข้างของกล้องหรือข้างของจอ เนื่องจากที่จุดนั้นเราจะรู้สึกสบาย

  • Entertainment
    By: unlockmen April 16, 2020
    5 TED TALKS ระเบิดศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในวันต้องทำงานผ่านทางไกล

    วันนี้ “ทุกอย่างต้อง from home” แต่ตอนนี้เราก็ยังรู้สึกว่าตัวเองปรับตัวไม่ค่อยได้ เราเหงา เรารู้สึกไม่พร้อม เราไม่มีใจจะทำงานให้จบเลย นั่นอาจเป็นเพราะยังไม่มีรุ่นพี่มาคอยบอกเราจริง ๆ ว่า “เฮ้ย! วิธีนี้มันเวิร์กกว่าที่คิด และต้องทำแบบนี้” UNLOCKMEN อยากให้ทุกคนมีไฟแต่ต้องมีวิธีแก้ไขติดตัวให้ทำได้มาด้วย จึงขอแนะนำเทคนิคจากชาว TED TALK ที่เขาผ่านน้ำร้อนมาก่อน ว่าสิ่งไหนเราควรทำ ไม่ควรทำ และพวกเขาควบคุมงานผ่านห้องนั่งเล่นยังไง ทำงานอยู่บ้าน ดีกับธุรกิจจะตาย! ถึงแม้จะมีธุรกิจหลายประเภทต้องอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันถึงจะทำได้ แต่การทำงานทางไกลสำหรับหลายธุรกิจก็อาจจะเหมาะสมกว่าอย่างที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เรื่องนี้ขึ้นทอล์กโดย Matt Mullenweg ซีอีโอจากบริษัท Automattic บริษัทที่ทำงานอยู่เบื้องหลังบริษัทชั้นนำทั้ง wordpress.com, Jetpack และ WooCommerce เขาทำงานร่วมกับพนักงานถึง 900 คนผ่านระบบทางไกลจากต่างสถานที่มานาน และทำมันได้เวิร์กสุด ๆ แต่ถ้าใครอยากรู้ว่าวิธีการทำงานของเขา Step by Step เป็นอย่างไร แนะนำว่าไม่ควรพลาด เพราะบางอย่างที่ได้เรียนรู้จากคลิปนี้อาจเป็นสิ่งที่องค์กรของคุณกำลังตามหา 10 วิธีสร้างการสนทนาไกลให้เหมือนใกล้ การทำงานต่างสถานที่ ปัญหาน่ากลัวกว่างานไม่เดินคือคนไม่คุยกัน เพราะวันนี้ต่างฝ่ายต่างอยู่บ้าน แถมการพิมพ์และการพูดคุยผ่านช่องทางนี้อาจทำให้การสื่อสารผิดพลาด

  • Featured
    By: unlockmen April 10, 2020
    งานสร้างสรรค์ในห้องปิดตาย: 6 ศิลปินที่เราชื่นชมทำงานอย่างไรในสภาวะกดดันเช่นนี้?

    รูปแบบการทำงานของใครหลายคนเปลี่ยนไปแบบพลิกโลก จากที่มีออฟฟิศเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ กลายเป็นต้องพึ่งอินเทอร์เน็ต น้ำ ไฟ จากที่บ้าน จากที่ทำงานเหนื่อย ๆ ตกเย็นหาที่ฟังเพลงจิบเครื่องดื่มคล่องคอหล่อเลี้ยงหัวใจ ก็เหลือแค่ห้องเดียวกับที่นั่งทำงานมาทั้งวันให้เอกเขนกดูซีรีส์จนตาแฉะ คนทำงานแต่ละประเภทจึงต้องเผชิญความท้าทายในรูปแบบที่ต่างกันไป รวมถึง “คนทำงานสร้างสรรค์” ศิลปิน นักดนตรี นักวาด นักเขียน ฯลฯ เมื่องานต้องการพลังสร้างสรรค์เท่าเดิม (หรือบางงานต้องการมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ) แต่การทำงานสร้างสรรค์ในห้องปิดตาย หรือสถานที่เดิม ๆ ซ้ำ ๆ นั้นไม่ง่ายที่จะขุดขุมพลังฉูดฉาดมาได้เหมือนที่เคยเป็นมา ทางออกคืออะไร? เราเชื่อว่าสายสร้างสรรค์หลายคนคงอยากฟังคำตอบจากเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ วันนี้ UNLOCKMEN รวบรวม 6 คำตอบจากคนทำงานสร้างสรรค์ว่าในสถานการณ์ชวนอึดอัดนี้และออกไปหาแรงบันดาลใจที่อื่นไม่ได้ พวกเขาทำอะไรเพื่อยังผลิตผลงานหรือใช้ชีวิตให้ไม่ทำร้ายศักยภาพตัวเองเกินไปนัก?    ป๊อก-ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล ป๊อก-ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล ศิลปินผู้เชื่อเรื่องการแบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้เพื่อนมนุษย์ เขาเลือกใช้ศิลปะช่วยเหลือคนไร้บ้าน สำหรับเขาในห้วงวิกฤตเช่นนี้ อีกหนทางที่คนผลิตงานสร้างสรรค์ยังพอทำได้ คือการพยายามมองหาส่วนที่ดีที่สุดจากสิ่งที่เกิดขึ้น อาจไม่ได้เพื่อลืมแต่เพื่อหาหนทางที่จะใช้ผลงานของเรา ช่วยเหลือหรือสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่น ๆ เท่าที่พอทำได้ในช่วงเวลาที่ทุกสิ่งนั้นไม่ง่ายเลย “ผมพยายามมองด้านบวกว่าในเหตุการณ์นี้พอมีเรื่องอะไรดีอยู่บ้าง เราจะมีเวลาเพิ่มมากขึ้น ได้มีเวลาวางแผนการงานและชีวิต เห็นวิกฤตเป็นความท้าทาย พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปกับมัน

  • Work
    By: unlockmen April 7, 2020
    5 คำถาม 15 คำตอบ! เทคนิคสัมภาษณ์งานออนไลน์จากปาก HR และคุณสมบัติผู้สมัครที่บริษัทถูกใจ?

    ในช่วงที่คนค่อนประเทศต้อง Work from Home กันแบบไม่มีกำหนด อันเนื่องมาจากวิกฤต COVID-19 ที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ฝั่ง HR ของบริษัทเองก็รีบเร่งหาคนมายัดตำแหน่งที่ว่างอย่างเหน็ดเหนื่อยไม่แพ้กัน แม้บางบริษัทจะปิดตัวลงหรือเลิกจ้างพนักงานบางส่วนเพื่อถ่วงดุลรายรับรายจ่ายในช่วงวิกฤต แต่ยังมีหลายบริษัทที่อาศัยจังหวะเดียวกันนี้เปิดรับสมัครพนักงานเพิ่ม เตรียมรอพลิกวิกฤตเป็นโอกาสและวางแผนการทำงานในอนาคตอย่างเต็มรูปแบบ บริษัทจำนวนมากจึงหันมาใช้การสัมภาษณ์งานออนไลน์แทนการสัมภาษณ์งานแบบปกติ บอกเลยว่าการสัมภาษณ์งานออนไลน์เป็นอีกวิธีคัดกรองคนที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะผู้สมัครสามารถสัมภาษณ์งานได้จากที่บ้าน ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลาเดินทาง แถมยังสอดคล้องกับการเว้นระยะห่างจากสังคม หรือ Social Distancing ที่ชาวโลกกำลังให้ความสำคัญอยู่ตอนนี้ ดูเผิน ๆ แล้วการสัมภาษณ์งานออนไลน์จะแทบไม่ต่างอะไรจากการสัมภาษณ์ปกติ แต่ผู้สมัครจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ที่ต่างออกไป และอาจซ่อนรายละเอียดยิบย่อยที่หนุ่มมนุษย์เงินเดือนหลายคนไม่รู้ก็ได้ วันนี้ UNLOCKMEN เลยจะมาถามจากปาก HR ให้เคลียร์ ว่าการสัมภาษณ์งานออนไลน์ที่ดีควรเป็นแบบไหนและผู้สมัครคนใดที่จะถูกใจบริษัท? ในช่วงวิกฤตแบบนี้คิดอย่างไรกับการที่บางบริษัทเลิกจ้างคน ขณะที่บางบริษัทเร่งหาคนเพิ่ม? HR Manager, Marketing Agency: ถ้าบริษัทที่ได้รับผลกระทบไม่มากก็คงไม่ได้อยากเลิกจ้างและอาจขอความร่วมมือให้ปรับลดเงินเดือนแทน แต่ถ้าบริษัทนั้น ๆ ถึงขั้นต้องเลิกจ้างพนักงานก็คงได้รับผลกระทบมาหนักจริง ๆ ส่วนตัวคิดว่าบริษัทที่กำลังรับคนเพิ่มในตอนนี้เป็นเพราะมีโปรเจกต์พิเศษ รับสมัครพนักงานแบบลูกจ้างชั่วคราว ไม่ก็การสื่อสารในองค์กรเกี่ยวกับนโยบายการทำงานในช่วง COVID-19 ยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ จนทำให้พนักงานแห่กันลาออกยกทีม HR, Digital

  • Work
    By: unlockmen March 31, 2020
    ทำงานที่บ้านเหนื่อยกว่าออฟฟิศ ค้นอาการหมดแรงใจที่พนักงาน WFH หลายคนรู้สึกและอยากหาทางแก้

    ช่วงนี้ออฟฟิศหลายแห่งกำลังขยายความกดดันจากผลกระทบของโควิด-19 การทำงาน Work from Home มันจึงเป็นบาลานซ์ความรู้สึกของคน 2 ฝั่ง ระหว่างนายจ้างกับคนทำงาน เพราะความตึงเครียดของรายจ่ายที่สวนกับรายรับ จึงอาจก่อให้เกิดหลายสถานการณ์ที่ทำให้เผลอแสดงอาการกระทบกระทั่งกัน ชวนให้หมดใจและย่ำอยู่กับที่ “ทำงานอยู่บ้านไม่ได้สบายอย่างที่คิดสักหน่อย” เราเชื่อว่ามนุษย์กำพร้าออฟฟิศหลายคนตอนนี้กำลังรู้สึกแบบนี้ แต่คุณรู้สาเหตุของความรู้สึกเหนื่อยล้าอ่อนแรงนั้นจริง ๆ หรือเปล่าว่ามันเกิดจากอะไรและจะแก้ได้อย่างไร UNLOCKMEN จะพาคุณไปทำความเข้าใจความรู้สึกเหนื่อยล้าจากข้างในของคุณเอง เราไม่ได้อยากทำงานที่บ้าน เหตุผลแรกคือ “บ้าน” อาจไม่ใช่สถานที่ที่สะดวกสำหรับการทำงานของทุกคน คุณรู้สึกว่า “เราไม่ได้อยากจะขอ Work from Home” สักหน่อย ไม่ได้อยากให้กิจวัตรมันเปลี่ยนไปจากเดิม สถานการณ์มันบังคับต่างหาก อิสรภาพที่ไม่ได้เลือกจึงอาจนำอาการสับสนและหงุดหงิดมาให้ วิธีแก้: หลายคนบอกว่าฟีลออฟฟิศมันให้งานเราได้มากกว่า งั้นเติมเต็มทุกวันเวลาด้วยตารางที่ทำให้กิจวัตรการทำงานเราไม่ต่างจากการทำงานออฟฟิศปกติ ทั้งการทั้งประชุม การควบคุมเวลาทำงาน การหยุดพัก สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นวิธีลดความหงุดหงิดได้ เพราะมันทำให้คุณควบคุมช่วงเวลาการทำงานและความเป็นอิสระได้เหมือนตอนที่ยังทำงานที่ออฟฟิศตามปกติ เราเหนื่อยกับการเรียนรู้เทคโนโลยี สายครีเอทีฟหลายคนยังจำเวลาคิดงานที่ระดมเป็นก้อนเดิมที่แค่ลุกจากโต๊ะขยับไปนิดนึงก็สามารถเขียนไว้บน whiteboard ได้ แต่ทุกวันนี้เราเริ่มเหนื่อยล้ากับบางจุดที่ขลุกขลัก ทั้งเรื่องการเรียนรู้ซอฟต์แวร์ที่งานผ่านทางไกลเพื่อแบ่งปันกับทีม ยิ่งถ้ามีปัญหารับสารได้ไม่ตรงกันเหมือนแต่ก่อน ต้องปรับแก้เทคโนโลยีที่บางคนรู้สึกว่าไม่ค่อยถูกกัน เรื่องนี้ก็ทำให้เหนื่อยได้มากกว่าปกติจริง ๆ วิธีแก้ : ทางออกคือพยายามต่อไป เรื่องนี้ตั้งต้นอาจจะเหนื่อยหน่อย แต่ก็ต้องยอมรับว่าเราต้องคิดต้องทำต่อเนื่องเพราะมันกำลังเป็นสิ่งที่เราจะต้องทำ

  • Life
    By: unlockmen March 30, 2020
    “5 วิธีเอาชนะความโดดเดี่ยว”จากนักบินอวกาศผู้อยู่บนสถานีฯสุดเดียวดาย 1 ปีเต็ม

    ชีวิตยามปกติที่เคยนอนในบ้าน กินอาหารข้างนอก ทำงานที่ทำงาน อยากผ่อนคลายก็ไปทะเลสักแห่ง ถูกสถานการณ์ COVID-19 บีบบังคับให้เราต้องกิน นอน ทำงาน ผ่อนคลาย มีชีวิตเกือบ 100% เต็มในสถานที่จำกัด บางคนอาจมีบ้านยังพอเดินไปเดินมาให้ผ่อนคลาย (แต่ก็ไม่อิสระเหมือนการได้ไปข้างนอกอยู่ดี) แต่หลายคนที่อาศัยอยู่ในห้องขนาดไม่ใหญ่มาก ยิ่งต้องเผชิญความท้าทาย ความกดดันทางอารมณ์มากขึ้นไปอีก ความโดดเดี่ยวในสถานที่คับแคบ การแบ่งเวลางานและเวลาพักผ่อน การพยายามหาหนทางผ่อนคลายให้ตัวเองจึงไม่ง่ายเลยสำหรับใครหลายคน จะมีใครเข้าใจ “วิธีมีชีวิตรอดในความโดดเดี่ยว” ดีไปกว่า Scott Kelly นักบินอวกาศผู้ต้องใช้เวลาบนสถานีอวกาศยาวนาน 1 ปี เขากิน นอน ทำงาน และผ่อนคลายที่นั่น ไม่ได้ออกไปใช้ชีวิตกลางแจ้ง หรือห่างจากสถานีอวกาศไปไหนไกลและนี่คือเคล็ดวิธีที่เขาอยากแนะนำ ในห้วงเวลาที่เราต้องอยู่ติดบ้านไปอีกพักใหญ่ อย่าปล่อยเวลาให้ไหลไป “กำหนดตารางเวลา” ให้ตัวเองเสมอ สิ่งหนึ่งที่ Kelly แนะนำคือเมื่อเราต้องอยู่ในสถานที่เดียวนาน ๆ แต่ทำสารพัดอย่าง เราต้อง “กำหนดตารางเวลา” ให้ตัวเอง ตัวเขามีตารางเวลาที่แน่นขนัด ตั้งแต่วินาทีที่ลืมตาตื่นไปจนถึงเข้านอน เพราะเรานั้นไม่สามารถใช้ “สถานที่” มาเป็นตัวกำหนดเวลาและกิจกรรมได้อีกแล้ว เช่น เมื่อก่อนเราไปถึงออฟฟิศ เราจะรู้โดยอัตโนมัติว่านี่คือเวลาทำงาน

« Previous 1 … 8 9 10 11 12 … 36 Next »

HOT THIS WEEK

#7daysinarow

< Prev Next >

most popular video of the week

#7daysinarow

THE REAL EP 1 : Tamaryn Cooper
Unlockmen Channel
19,432

EVERYTHING GUYS NEED
TO UNLOCK YOUR TRUE
POTENTIAL EVERYDAY

Unlockmen

Subscribe now

Unlockmen
  • About Us
  • Our team
  • Jobs
  • Contact Us
  • Terms of Use
  • Privacy Policy
© 2016 whiteline thaithayan. All rights reserved.
Use of this site constitutes acceptance of our User Agreement (effective 1/4/2016) and Privacy Policy (effective 1/4/2016).The material on this site may not be reproduced,
distributed, transmitted, cached or otherwise used, except with prior written permission of thaitayan ltd.