“แต่งตัวแบบนี้คนอื่นหัวเราะเยาะแน่เลย” “เราต้องทำอะไรผิดพลาดไปแน่ๆ ทำไมคนอื่นดูไม่ค่อยพอใจเราเลย” รู้ไหมว่าบางครั้ง คุณอาจคิดไปเองว่าคนอื่นจะสนใจเรามากเกินความเป็นจริง เพราะมนุษย์มีธรรมชาติที่มักเอาตัวเองเป็นที่ตั้งเสมอ และมักมองเรื่องต่าง ๆ ผ่านความรู้สึกและประสบการณ์ของตัวเอง คิดว่าคนอื่นจะต้องทำหรือรู้สึกเหมือนที่ตัวเองรู้สึก ทางหลักจิตวิทยาเรียกปรากฎการณ์นี้เรียกว่า ‘Spotlight Effect’ วันนี้ UNLOCKMEN จะมาอธิบายให้ฟังว่า Spotlight Effect คืออะไร ทำงานยังไง และเราจะก้าวข้ามมันไปได้อย่างไรบ้าง เพื่อให้ทุกคนเข้าใจคำว่า Spotlight Effect ตรงกัน ก่อนอื่นเราอยากให้ทุกคนลองจินตนาการว่า พวกเรากำลังอยู่ในโรงละครที่การแสดงละครเวทีกำลังดำเนินอยู่ บนเวที พระเอกและนางเองกำลังแลกเปลี่ยนบทสนากัน ภายใต้แสง spotlight ที่ส่องมายังทั้งคู่ เพื่อเป็นการบ่งบอกผู้ชมว่านี่คือตัวละครสำคัญในฉาก พร้อมดึงดูดความสนใจของสายตาทุกคู่ที่อยู่ในโรงละครให้จับจ้องไปที่นักแสดงใต้แสง spotlight นั้น Spotlight Effect จึงเป็นคำเรียก ปรากฎการณ์ที่คนคิดไปเองว่าตัวเองได้รับความสนใจจากคนอื่นตลอดเวลา เหมือนกับมีแสง spotlight ส่องมายังพวกเขาตลอดเวลา (ซึ่งในความเป็นจริงไม่ใช่โรงละคร ไม่มีแสง spotlight และคนเราไม่ได้สนใจคนอื่นมากขนาดนั้น) ทำให้พวกเขารู้สึกต้องระแวดระวังตัวเองอยู่เสมอ เพราะกลัวคนอื่นจะสังเกตเห็นความผิดพลาดของตัวเองได้ ยกตัวอย่าง เวลาเล่นกีฬา คนจะรู้สึกว่าเพื่อนร่วมทีมสังเกตข้อบกพร่องของตัวเองมากกว่าความเป็นจริง งานวิจัยหลายชิ้นได้พยายามอธิบายการมีอยู่ของ
“ต้องทำงานให้หนัก ไม่มีหยุดพัก ไม่ต้องคบใคร แล้วคุณจะประสบความสำเร็จ” หากใครฟังไลฟ์โค้ชบ่อย ๆ น่าจะคุ้นกับประโยคปลุกใจทำนองนี้ ซึ่งอาจจะมีส่วนถูกอยู่บ้างบางส่วน เช่นการทำงานที่ช่วยพัฒนาตัวเองมากกว่าคนอื่น ย่อมสร้างโอกาสให้เราได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน หรือในภาวะเศรษฐกิจทรุด ค่าเงินเฟ้อ หลายคนต้องทำงานอย่างหนักหลายช่องทางเพื่อหารายได้เสริม หรือบางคนอาจจะมีค่านิยมว่าต้องทำงานให้หนักอยู่เสมอ ตัวเองถึงจะมีคุณค่า ไม่ว่าคุณจะทำงานหนักด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม หากรู้สึกว่ามันหนักเกินไปจนชีวิตของคุณกำลังพัง แปลว่าคุณกำลังเจอกับอาการ “Toxic Productivity” Toxic Productivity คือความพยายามเป็นคน Productive ตลอดเวลา ไม่คิดจะหยุดพัก แม้ว่างานของวันนี้จะถูกเคลียร์ไปหมดแล้วก็ตาม เป็นสิ่งที่พบเห็นได้มากในกลุ่ม Manager level ขึ้นไป ซึ่งอยู่ในช่วงสำคัญที่ต้องการสร้างผลงานเพื่อเลื่อนขั้นต่อไป หรือ Freelance ที่รับงานมากเกินไป เพราะการมีลูกค้าเข้ามาว่าจ้าง หมายถึงความสามารถที่เหนือกว่าคู่แข่ง และเป็นช่วงกอบโกยรายได้ จะเห็นว่าการนำคุณค่าของตัวเองไปวัดกับประสิทธิภาพการทำงาน จะยิ่งก่อให้เกิดความเครียดจากวงจรการทำงานที่ไม่มีวันหยุดพัก ยิ่งทำงานได้มาก ยิ่งงานออกมาได้ดี ยิ่งแสดงถึงคุณค่าของตัวเองมากขึ้น เพื่อให้หัวหน้าและลูกน้องมองเห็นความสำคัญในการมีอยู่ซึ่งตัวตนแบบอย่าง หากไม่มีงาน เราจะรู้สึกว่าไม่เหลืออะไรในชีวิตให้ทำอีกเลย และเมื่อไหร่ที่นั่งว่างงานเฉย ๆ ระหว่างวัน กลับทำให้รู้สึกว่าเป็นคนขี้เกียจ ด้อยคุณค่าในตัวเองลงไป นอกจากนี้การ Work from home
พวกเราต้องเจอกับ Presentation มาตั้งแต่เด็กจนโต ไม่ว่าจะเป็น PowerPoint หรือ Keynote ก็ตาม หลายครั้งที่เราพยายามตั้งใจดูสไลด์พร้อมกับฟังคำอธิบายในการประชุมอย่างจดจ่อ กลายเป็นว่าสมองยิ่งสับสน ไม่สามารถจดจำเนื้อหาอะไรได้เลยแม้แต่ท่อนเดียว ถ้าคุณเป็นแบบนี้บ่อย ๆ อย่าพึ่งโทษตัวเอง หรือโทษลูกน้องของคุณ เพราะวิทยาศาสตร์ได้อธิบายเหตุการณ์นี้เอาไว้ว่า สาเหตุนั้นมาจากวิธีทำ Presentation เอง การทำสไลด์ที่น่าเบื่อ มีตัวหนังสือพรืดเต็มหน้าจอ พร้อมกับการพูดอธิบายข้อมูลที่ซับซ้อน ทำให้สมองของคนฟังต้องทำงานตีความหมายจากสอง inputs ไปพร้อม ๆ กันแบบ multitasking มากเกินไปโดยไม่รู้ตัว Presentation ที่ดี ไม่ควรมีความซับซ้อน หากใครเคยเห็น Presentation ที่เต็มไปด้วยข้อความหรือ bullet ยิบย่อยมากมาย และคน present ก็พูดอธิบายข้อความเนื้อหาจำนวนมากไปพร้อม ๆ กัน แทนที่จะช่วยย้ำหรืออธิบายข้อมูลให้เข้าใจง่าย กลับกลายเป็นการเพิ่มโหลดให้สมองส่วนจดจำข้อมูล เพราะในขณะที่ตาเราจ้องอ่านข้อความบนสไลด์เพื่อตีความหมาย หูของเราก็ฟังคำอธิบายที่แตกต่างจากบนสไลด์เพื่อตีความหมายไปพร้อม ๆ กัน เมื่อหูและตาเจอกับข้อความที่แตกต่างกัน รวมถึงการเสียสมาธิเพราะต้องสลับโฟกัสระหว่างคำพูดและข้อความบนสไลด์ ทำให้เกิดการส่งข้อมูลที่ซับซ้อนไปสู่สมองจากคนละประสาทสัมผัส ผลคือสมองของเราจะเหนื่อยล้า สมาธิหลุด ส่งผลให้เรารู้สึกเบื่อการประชุม และลืมข้อมูลไปจากความทรงจำอย่างรวดเร็ว
Dangerous Minds คือภาพยนตร์แนวดราม่าที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในยุค 90’s ออกฉายครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 1995 นำแสดงโดย Michelle Pfeiffer มารับบทเป็นคุณครู LouAnne Johnson และกำกับการแสดงโดย John N. Smith ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือ “My Posse Don’t Do Homework” ที่เขียนโดย LouAnne Johnson ตัวจริง Dangerous Minds นำเสนอเรื่องราวของคุณครูคนหนึ่งที่ตกลงปลงใจเข้าสอนกลุ่มนักเรียนพิเศษในระดับไฮส์สคูล หรือจะให้บอกตรง ๆ ก็คือกลุ่มนักเรียนเกเรที่ไม่มีใครอยากสนใจ มีครูมากมายที่ต้องลาออกไปเพราะไม่สามารถที่จะรับมือกับความแสบของเด็ก ๆ กลุ่มนี้ได้ แต่ครู LouAnne Johnson กลับสามารถพิชิตใจนักเรียนกลุ่มนี้ได้ แม้กว่าจะทำสำเร็จก็ต้องผ่านเรื่องราวอะไรต่าง ๆ มากมาย ซึ่งพอมาเปรียบเทียบกับชีวิตของเราแล้ว มันมีอะไรหลาย ๆ อย่างที่เหมาะกับการนำไปปรับใช้เวลาทำงานด้วยเช่นกัน และเราสามารถแบ่งประเด็นที่น่าสนใจออกมาได้เป็นจำนวน 5 ข้อหลัก ๆ ดังนี้ แผนบางอย่างใช้ไมได้กับทุกสถานการณ์
เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางคนถึงมีชีวิตดี ทำธุรกิจอะไรก็ประสบความสำเร็จ ในขณะที่บางคนทำอะไรก็ให้ผลตอบแทนไม่งอกเงยเท่าที่ควร มีผลวิจัยทำสถิติระบุว่า เรื่องนี้อาจอยู่ที่พฤติกรรมการใช้ชีวิตและมุมมองวิธีคิดของแต่ละคน เช่นคนที่มักจะรายล้อมตัวเองด้วยคน Toxic หรือมองความท้าทายเป็นปัญหาที่ไม่กล้าจะก้าวเท้าออกไปเผชิญหน้ากับมัน วันนี้ UNLOCKMEN จึงอยากมาแนะนำพฤติกรรมที่ควรปรับเปลี่ยน เพื่อที่จะช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จในชีวิตในการใช้ชีวิตได้มากขึ้น คบคนพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตพาไปหาผล ดูเหมือนว่าคนรอบตัวจะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จมากกว่าที่เราคิด ถ้าเราอยู่ร่วมกับคนเก่ง เราจะกลายเป็นคนที่เก่งขึ้น ถ้าเราอยู่กับคนขี้แพ้ เราอาจกลายเป็นคนขี้แพ้ไปด้วย งานวิจัยที่ใช้เวลากว่า 25 ปีของ Dr. David McClelland อาจารย์และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า ปัจจัยนึงที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเราได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ กลุ่มอ้างอิง (reference group) หรือกลุ่มคนที่เราใช้ชีวิตอยู่ด้วย พูดคุยด้วย หรือ ทำงานร่วมกันเป็นประจำ คนกลุ่มนี้ส่งผลต่อตัวเราทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อนที่เราเลือกคบนั้นจะมีอิทธิพลต่อเราในทุกด้าน Warren Buffet เคยพูดว่าความสำเร็จเกิดขึ้นจากการใช้เวลาร่วมกับคนที่ดีกว่าตัวเอง เลือกเพื่อนที่มีพฤติกรรมดีกว่าเรา เราจะอยากผลักดันตัวเองให้มีพฤติกรรมที่ดีขึ้นไปด้วย ดังนั้น เราควรมีเพื่อนเก่ง ๆ อย่างน้อยสักหนึ่งคนที่สามารถขอคำแนะนำหรือคำปรึกษาในยามที่เกิดปัญหา ในขณะเดียวกัน ตัวเราเองก็ต้องมีความพร้อมในการมองเห็นและยอมรับปัญหาของตัวเอง เพื่อที่จะได้พัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้นได้แบบ inside-out เรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ คนที่ประสบความสำเร็จมักจะหาความรู้ใส่ตัวตลอดเวลา เพราะเทคโนโลยีและความรู้ในโลกเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเร็วขึ้นเรื่อย ๆ
เวลาขับเครื่องบิน นักบินอาจเจอกับปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครคาดคิดได้ เช่น เจอเครื่องบินอีกลำหนึ่งบินสวนมา หรือ อากาศแปรปวนกระทันหัน ถ้านักบินตัดสินใจแก้ปัญหาเหล่านี้ช้าเกินไป อาจทำให้เกิดการสูญเสียได้ พวกเขาจึงต้องมีสกิลในการตัดสินใจและแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากพอสมควร UNLOCKMEN อยากมาแนะนำเทคนิคที่ชื่อว่า OODA Loop ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทหารอากาศใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เจอตอนขับเครื่องบิน แต่เทคนิคนี้สามารถนำไปใช้กับเรื่องอื่นได้เช่นกันอย่างการแก้ปัญหาในที่ทำงาน OODA Loop เป็นเทคนิคในการตัดสินใจอย่างรวดเร็วของ John Boyd พันเอกประจำกองทัพอากาศสหรัฐในตำนานที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปี 1927 – 1997 และได้ผลิตผลงานชิ้นโบว์แดงออกมามากมาย เช่น การสร้างทฤษฎี Energy-Maneuverability (EM) ที่เป็นต้นกำเนิดของเครื่องบินรบ F15 และ F16 หรือ การเขียนผลงาน Aerial Attack Study ที่นับว่าเป็น ไบเบิ้ลของการต่อสู้ทางอากาศที่ปฎิวัติวงการกองทัพอากาศทั่วโลก เป็นต้น เทคนิคนี้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อรับมือกับ ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ของโลก เพราะมนุษย์ไร้ความสามารถในการเข้าใจข้อมูลทุกอย่างอย่างสมบูรณ์แบบ เราจึงต้องตัดสินใจในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน หรือ ตัดสินใจด้วยข้อมูลที่มีความกำกวมอยู่เสมอ OODA Loop จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการก้าวข้ามเรื่องเหล่านี้ ทุกวันนี้ OODA Loop ถูกนำไปใช้ในหลายด้าน
ถ้าเราเริ่มต้นได้ดี เราจะมีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะเหมือนกับการสร้างตึก ถ้าเราทำฐานตึกดี ต่อให้เราสร้างตึกสูงแค่ไหนก็ตาม ตัวตึกก็จะแข็งแรงคงทน และถล่มได้ยาก การเริ่มต้นปีที่ดี จะทำให้เรามีความสุขตลอดปีได้เช่นกัน UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำเทคนิคในการเริ่มต้นปีใหม่ที่จะช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จในปีนี้ ตั้งเป้าหมายประจำปีที่เป็นไปได้จริง อย่าตั้งเป้าหมายปีใหม่ (New year resolution) ที่แฟนตาซีเกินไปจนเป็นจริงได้ยาก เช่น อยากย้ายไปอยู่ดาวอังคาร หรือ อยากร่ำรวยขึ้นถึง 1,000 ล้านบาทภายในหนึ่งปี เราควรตั้งเป้าหมายที่สามารถทำให้สำเร็จได้ภายในปีนั้น โดยเป้าหมายควรมีความเฉพาะเจาะจง และสมเหตุสมผล ยกตัวอย่างเช่น ในปีนี้เราอยากเปิดธุรกิจร้านอาหาร หรือ อยากเลือนตำแหน่ง เป็นต้น เมื่อเรากำหนดเป้าหมายได้แล้ว เราควรวางแผนที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมายนั้นด้วย เช่น ระบุสกิลที่เราต้องฝึกเพิ่มเติม รวมถึงระยะเวลาที่เราควรฝึกสกิลนั้น เป็นต้น รวมถึงควรติดตามความคืบหน้าของเป้าหมายทุกเดือน และอย่าลืมแชร์เป้าหมายของตัวเองกับคนรอบตัวด้วย เพื่อรับแรงสนับสนุนและมีกำลังใจในการทำตามเป้าหมายต่อไป ไม่ทำผิดเรื่องเดิมซ้ำ ลองมองย้อนไปเมื่อปีที่แล้ว เราทำอะไรผิดพลาดบ้าง เช่น จัดการเวลาผิดพลาด จนทำงานหนักเกินไป และไม่มีเวลาพักผ่อน หรือ ดูแลตัวเองน้อยไป จนสุขภาพเสีย เป็นต้น และเรียนรู้จากข้อผิดพลาดเหล่านั้น เมื่อเรารับรู้แล้วว่าอะไรคือสิ่งที่ผิด
แม้จะเป็นสัปดาห์แห่งวันหยุดแล้ว แต่หลายคนอาจกำลังอยู่หน้าจอคอมหรือมือถือตรวจสอบ Inbox จากอีเมล์ที่ทำงานอยู่ บางคนอาจกังวลว่าจะมีงานด่วนเข้ามารึเปล่า หรือ กลัวว่าจะพลาดการตอบอีเมล์สำคัญไป ส่งผลให้พวกเขาต้องหมั่นเช็คอีเมล์อยู่ตลอดเวลา อาการนี้มีชื่อเล่นว่า Email Anxiety และเป็นอาการที่ทำร้ายเราได้มากกว่าที่คิด มันจะทำให้เราเครียดแม้ในวันหยุด และขัดขวางการพักผ่อนของเรา UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีรับมือกับอาการนี้ให้อยู่หมัด Email Anxiety เกิดขึ้นได้อย่างไร ในช่วงที่เราต้องทำงานอยู่บ้าน เราอาจซัฟเฟอร์กับ Email Anxiety ได้ง่ายขึ้น เพราะการเปลี่ยนวิธีทำงาน มาทำงานที่บ้าน อาจทำให้หลายบริษัทเริ่มจู้จี้กับพนักงานมากขึ้น จนหลายคนเริ่มมีเวลาทำงานที่ไม่แน่นอน และสูญเสียความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต (work-life balance) ไป สุดท้ายสภาพจิตใจของพวกเขาก็ตกอยู่ในอันตราย เมื่อเราไม่รู้ว่าเวลาไหนควรหยุดดูอีเมล์จากที่ทำงาน เราจะไม่สามารถคลายความเครียดและความกังวลเรื่องงานไปได้ เพราะเราจะรู้สึกเหมือนถูกบังคับให้สนใจเรื่องงานตลอดเวลา จนใกล้จะถึงเวลานอนแล้ว เราอาจกำลังดูอีเมล์อยู่ก็เป็นได้ นอกจากนี้ Email Anxiety สามารถเกิดขึ้นได้จากการทำงานของสมอง เช่น ความต้องการอยากทำงานให้สำเร็จ พอเราตรวจสอบอีเมล์จากที่ทำงานเสร็จ สมองจะหลั่งฮอร์โมนโดปามีนซึ่งทำให้เราเกิดความรู้สึกดี เราจึงอยากดูอีเมล์ตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริง อีเมล์อาจไม่ได้เข้ามาในเวลางานเสมอไป หรือ บางวันอีเมล์งานอาจเยอะมากเกินเราจะเช็คหมดในวันเดียว เพราะฉะนั้น การไล่ตามอีเมล์ตลอดเวลา จึงมีแต่ทำให้เรารู้สึกเครียดกังวล
ปฏิเสธได้ยากว่าความมั่นใจเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่หัวหน้าทุกคนควรมี เพราะมันช่วยในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ แต่ความมั่นใจมากเกินก็ส่งผลเสียต่อการทำงานของหัวหน้าเหมือนกัน และคนจำนวนไม่น้อยก็ประเมินตัวเองสูงเกินกว่าความเป็นจริงอีกด้วย เราเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า ความเหนือกว่าเทียม หรือ Illusory Superiority และระดับผู้นำทุกคนควรรู้วิธีรับมือกับมัน What is Illusory Superiority ? ความเหนือกว่าเทียม (Illusory Superiority) คือ cognitive bias ประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคนประเมินคุณสมบัติและความสามารถของตัวเองสูงเกินไป จนคิดว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่น ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว ก็ไม่ได้ต่างอะไรจากคนอื่นมากนัก ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นได้เมื่อการเข้าใจตัวเองในบางเรื่องทำได้ยาก โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นนามธรรมอย่าง ความเฉียวฉลาด (Intelligence) บางคนอาจประเมินเรื่องนี้แบบเข้าข้างตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น คนที่เทพคำนวณ อาจนิยามว่า ความฉลาดคือทักษะคณิตศาสตร์ หรือ บางทีเราก็ไม่ได้รับ feedback ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาตัวเอง เราจึงกลายเป็นคนที่มั่นใจในตัวเองมากเกินไป นอกจากนี้ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมก็ส่งผลต่อการเกิด Illusory Superiority เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น คนเอเชียตะวันออกมักประเมินความสามารถของตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อการพัฒนาตัวเอง และการอยู่ร่วมกับคนในสังคม ในขณะที่ชาวตะวันตกชอบแสดงความเหนือกว่าให้คนอื่นเห็นมากกว่า How to avoid Illusory Superiority
เสื้อสูทนับเป็นไอเทมที่ผู้ชายต้องให้ความสำคัญกับมัน เพราะสูทที่ดีย่อมทำให้เกิด First Impression ที่ดี และจะทำให้เราถือไพ่เหนือในหลายสถานการณ์ เช่น การเจรจาธุรกิจ หรือ การไปออกงานอีเวนท์ทางการต่าง ๆ UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำร้านสูทที่สามารถการันตีได้ทั้งในเรื่องของคุณภาพ และดีไซน์ที่ทันสมัยพร้อมทำให้ผู้ชายทุกคนมีความโดดเด่นขึ้นในทุกสถานการณ์ The Decorum The Decorum ร้านขายเสื้อผ้าสไตล์ Classic Menwear ที่เกิดจากชาย 2 คนที่มีแพสชั่นในการแต่งตัวสไตล์คลาสสิก ได้แก่ ศิรพล ฤทธิประศาสน์ (กาย) และ วรงค์ ภัทรชัยกุล (บอล) ร้านนี้จะนำเข้าสินค้ามาจากต่างประเทศ และสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นของที่เจ้าของร้านเลือกมาตามความชอบของตัวเอง และมีหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็น สูท เบลเซอร์ เชิ้ต รองเท้า เนกไท สำหรับใครที่ต้องการชุดแบบ bespoke ทางร้านยังมีบริการตัดชุดสูทด้วย เรียกได้ว่าเป็นร้านเครื่องแต่งกายผู้ชายแบบครบวงจร Address: 3 Ari Samphan 5 Alley, Khwaeng Samsen Nai,