ในโลกของยาเสพติดคงไม่มีชื่อไหนโด่งดังไปกว่า ‘Pablo Escobar’ เจ้าพ่อโคเคนแห่งโคลัมเบีย เขาเปรียบเสมือน Michael Jackson แห่งวงการสิ่งผิดกฎหมาย เรื่องราวของเขาถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์มากมาย แต่ที่ประสบความสำเร็จที่สุดก็ต้องยกให้ซีรีส์ Narcos จาก Netflix ยุค 80 เป็นยุคที่ยาเสพติดกำลังเฟื่องฟูถึงขีดสุด มีผู้ค้ารายใหญ่หลายก๊กหลายเหล่า แต่ Pablo Escobar สามารถพาตัวเองไปอยู่บนจุดสูงสุดของพีระมิดได้ แค่ความใจถึงและเหี้ยมเกรียมคงไม่เพียงพอแน่นอน เขาต้องมีกลยุทธ์ในการทำธุรกิจที่ดีด้วย ถึงแม้ว่าธุรกิจของ Pablo Escobar จะเป็นธุรกิจผิดกฏหมาย แต่ก็ต้องยอมรับในความเด็ดขาดและฉลาดในกลยุทธ์ ดังนั้นเราคิดว่าเคล็ดลับการทำธุรกิจของเขาก็มีประโยชน์และสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจของทุกคนได้แน่นอน Escobar ตั้งใจจะทำให้โคเคนของเขาเป็นโคเคนที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก มีความบริสุทธิ์สูงกว่าเจ้าอื่น ๆ จึงเข้มงวดเรื่องคุณภาพการผลิต เขาไม่เชื่อในกลไกตลาดที่จะต้องตัดราคาแข่งกันเพื่อทำยอดขายให้ได้มากกว่า เพราะถ้าสินค้ามีคุณภาพต่อให้ราคาจะสูง ยังไงลูกค้าก็ยินดีจ่าย โดยเฉพาะในโลกยาเสพติดอย่างโคเคน ที่คุณภาพเป็นสิ่งที่จับต้องได้ไม่ยาก และยิ่งทำให้คนติดงอมแงมมากขึ้นด้วย และข้อนี้ถือว่า Escobar คิดถูก ส่งผลให้ยอดขายโคเคนของเขาพุ่งสูงว่าแก๊งค้ายาใด ๆ บนโลก โดยเฉพาะการขยายไปตลาดอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง ต่อจากข้อด้านบน Escobar รู้ดีว่ากำลังซื้อของตลาดเป็นสิ่งสำคัญ ในโคลัมเบีย เขาขายโคเคน 1 กรัมได้ราคาแค่
เราอยู่ในยุคที่ทุกอย่างดูจะเดินทางได้เร็วไปหมด ไม่ว่าจะเป็น การพูดคุย การรับส่งข่าวสาร หรือ การทำงาน ฯลฯ ซึ่งวิถีชีวิตที่เร็วขึ้นกว่าแต่ก่อนนี้ อาจทำให้เรากลัวการใช้ชีวิตแบบ slow life ขึ้นมา ด้วยเหตุผลหลายอย่าง เช่น กลัวว่าจะตามกระแสไม่ทัน กลัวว่าจะทำงานไม่ทัน เป็นต้น และถ้าความกลัวหนักข้อขึ้น มันจะพัฒนาเป็น Hurry Sickness ได้ ซึ่งอาการนี้กระทบต่อความสุขของเราได้พอสมควร เราเลยอยากมาพูดถึงวิธีการรับมือกับ Hurry Sickness ให้อยู่หมัด Hurry Sickness คือ ภาวะที่เรารู้สึกว่าต้องทำทุกอย่างด้วยความเร่งรีบตลอดเวลา โดยคนที่มีอาการนี้มักจะรู้สึกกดดันหรือตื่นตระหนกเหมือนต้องแข่งขันกับเวลา ส่งผลให้พวกเขาทำทุกเรื่องด้วยความเร่งรีบ ซึ่งสาเหตุที่อาการนี้เกิดขึ้นมา อาจเป็นเพราะรู้สึกว่าเวลาหนึ่งวันมีน้อยเกินไปสำหรับทำสิ่งต่าง ๆ หรือกลัวว่าถ้าทำอะไรช้าไปแล้ว จะพลาดอะไรบางอย่างไป จึงต้องรีบทำสิ่งต่าง ๆ ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว กล่าวคือ Hurry Sickness เกิดขึ้นจากอาการยอดฮิตอย่าง Fear of Missing Out (FOMO) ได้เหมือนกัน พฤติกรรมที่ชัดเจนในกลุ่มที่เป็น Hurry Sickness คือ
ต้องบอกเลยว่า การ Work From Home ช่วงนี้ไม่ธรรมดา ใครจะคิดว่าการทำงานที่บ้าน จะทำให้รู้สึกว่าทำงานหนัก ทำงานเยอะกว่าปกติ หลายสิ่งมาพร้อมกัน ทำให้การทำงานไม่เสร็จสักที จะทำงานนี้ก่อน หรืองานนู้นก่อน คิดไปคิดมายังไม่ได้เริ่ม เรื่องนี้เราเข้าใจดี UNLOCKMEN จึงขอเปิดสูตรการทำงานให้เสร็จเร็วขึ้น Overclock ตัวเองโดยไม่ลดคุณภาพงานภายในบทความสั้น ๆ ไม่เกิน 5 นาที ใครพร้อมแล้วตั้งสติอ่านทุกบรรทัดแล้วเอาไปทำตาม ปีนี้แม้เราจะไม่มีน้ำให้เล่นแต่จะหันมาตะลุยงานให้หมดกองจนโต๊ะโล่งรวดเดียวจนจบ ทำเสร็จเวลาที่เหลือจะได้เอาไปใช้สร้างความบันเทิงเป็นของขวัญให้ตัวเอง POMODORO Technique นี่คือเทคนิคการสร้างประสิทธิภาพการเคลียร์งานระดับนาทีขั้นเทพที่ได้แรงบันดาลใจจากเครื่องจับเวลาตอนทำกับข้าวรูปมะเขือเทศ (คำว่า Pomodoro เป็นภาษาอิตาเลียนแปลว่ามะเขือเทศ) ที่นักศึกษาคนหนึ่งคิดขึ้น แต่หลายคนในโลกทำแล้วได้ผล เขาใช้เวลาแค่ 25 นาทีจับเวลาเพื่อสะสางงานนั้นตาม 6 ขั้นตอนต่อไปนี้ เลือกงานที่ตั้งใจทำให้เสร็จ ตั้งนาฬิกาให้เตือนใน 25 นาที ทำงานจนกว่านาฬิกาจะดัง จบ 1 รอบให้จดและนับไว้ เบรกไปพักสักสมองสัก 5-10 นาที ครบ 4 รอบ เพิ่มเวลาพักเป็น 20-30
หลายคนน่าจะเจอเคยเจอกับความรู้สึกที่ว่า “ทำดีไปก็ไม่ช่วยอะไร” พอเจอกับความรู้สึกแบบต้องมีดาวน์ หรือ ไม่อยากทำสิ่งที่ทำอยู่กันบ้าง ซึ่งมันอาจเกิดขึ้นได้จากปรากฎการณ์ GOLEM EFFECT ที่นอกจากจะส่งผลเสียต่อการทำงานของลูกน้องแล้ว ยังส่งผลเสียต่อผลวานขององค์กรโดยรวมได้ด้วย เราเลยจำเป็นที่จะต้องรู้เท่าทันมัน พร้อมรับมือกับมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อะไร คือ GOLEM EFFECT ? นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเรื่องผลของ “ความคาดหวัง” ที่มีต่อคนมานานแล้ว ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยจากประเทศอิสราเอล ในปี 1982 ซึ่งพบว่า เด็กนักเรียนที่ถูกคาดหวังต่ำในห้องเรียนที่มีครูเป็นคนอคติสูง จะได้รับการปฏิบัติจากครูที่แย่กว่า และมีผลงานที่เลวร้ายกว่าเด็กนักเรียนคนอื่น ๆ หรือ งานวิจัยในปี 2007 ซึ่งพบว่า ความคาดหวังผลงานของนักเรียนในแง่ลบส่งให้พวกเขาทำผลงานที่ต้องใช้ความคิด ( cognitively based tasks ) ออกมาได้แย่ลง เป็นต้น งานวิจัยเหล่านี้ได้ยืนยันการมีอยู่ของ ‘GOLEM EFFECT’ หรือ ปรากฎการณ์ที่ ‘ความคาดหวังในแง่ลบของคนอื่น’ ส่งผลให้คนที่โดนคาดหวังทำผลงานได้แย่ลงกว่าปกติ เราอาจเห็น GOLEM EFFECT ได้ในห้องเรียนที่ครูแบ่งแยกนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
หลายคนน่าจะเคยมีช่วงเวลาที่โกรธใครสักคนมาก ๆ แล้วลงมือทำร้ายพวกเขาโดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ตัว พอนึกย้อนกลับไปก็อาจจะรู้สึกแย่ และคิดว่าไม่น่าทำอย่างนั้นลงไปเลย เหตุการณ์นี้อาจเป็นตัวอย่างของ amygdala hijack ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่ทำให้เราไม่สามารถควบคุมตัวเองและใช้เหตุผลได้ ส่งผลให้เราทำอะไรบางอย่างตามอารมณ์ และอาจสร้างปัญหาที่ยากเกินกว่าจะแก้ไขได้ในภายหลัง อะไร คือ AMYGDALA HIJACK ? amygdala hijack เป็นคำที่นิยามโดย แดเนียล โกลแมน (Daniel Goleman) นักจิตวิทยาผู้โด่งดังเรื่องแนวคิด ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) ซึ่งคำนี้ใช้อธิบายถึงปรากฎการณ์ที่สมองเทคโอเวอร์ความสามารถในการตัดสินใจของมนุษย์ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่รวดเร็ว ในเวลาที่เราเจอกับปัญหาที่สร้างความเครียดอย่างหนัก ซึ่ง amygdala hijack จะเกิดขึ้นจากการทำงานของ อะมิกดาลา (amygdala) ซึ่งเป็นกลุ่มของเซลล์ที่อาศัยอยู่ในด้านข้างสมองสองซีกของเรา ซึ่งสมองส่วนนี้จะทำงานเกี่ยวข้องกับการจดจำ และการให้ความหมายของอารมณ์แต่ละประเภทที่เรามี และมันยังทำหน้าที่ในการจับคู่อารมณ์กับการตอบสนองทางกายที่เฉพาะเจาะจงด้วย เช่น บางคนที่มีนิสัยชอบทำร้ายคนอื่นเวลาโกรธ ก็อาจจะเกิดจากการทำงานของสมองส่วนนี้ amygdala ยังมีบทบาทสำคัญต่อการตอบสนองแบบ สู้หรือหนี (fight-or-flight response) อีกด้วย ซึ่งการตอบสนองประเภทนี้เป็นกลไกเอาตัวรอดสำคัญที่มนุษย์ใช้มาอย่างยาวนาน เพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่จะมาทำร้ายหรือฆ่าพวกเขา เช่น สัตว์ร้าย หรือ ศัตรูฝั่งตรงข้าม
รู้ไหมว่ามันมีเส้นบาง ๆ ระหว่าง ‘แก้ปัญหา’ กับ ‘กังวล’ หลายคนมักสับสนและมองว่าสองสิ่งนี้เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงมันต่างกันอย่างสิ้นเชิง และทำให้เราคลี่คลายปัญหาได้ต่างกันด้วย UNLOCKMEN เลยอยากมาอธิบายว่า การแก้ปัญหา กับ การกังวล มันต่างกันอย่างไร ? WHAT IS PROBLEM SOLVING ? เวลาเราเผชิญหน้ากับปัญหา แต่ละคนอาจมีวิธีแก้ปัญหาแตกต่างกัน บางคนใช้ ‘ทักษะในการแก้ปัญหา’ (problem solving skills) ในการแก้ปัญหาจริง ๆ แต่หลายคนก็มักใช้ ’ความกังวล’ ในการแก้ปัญหา อาจเป็นเพราะเข้าใจว่า ‘กังวล’ กับ ‘แก้ปัญหา’ เป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่ สองอย่างนี้มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กังวล (worrying) คือ การคิดเพื่อแก้ปัญหาเหมือนกับ problem-solving แต่ต่างกันตรงที่ว่า มันจะโฟกัสกับเรื่องร้าย ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอย่างเดียว โดยไม่ดูเรื่องดี ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเลย เมื่อเราเกิดความกังวล
ความมั่นใจในตัวเองถือเป็นคุณสมบัติที่ผู้ขายควรมีติดตัว เพราะมีหลายสถานการณ์เหมือนกันที่ต้องการการติดสินใจของผู้ชาย รวมถึง ความเป็นผู้นำด้วย แต่บางครั้งความมั่นใจที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดความเห็นแก่ตัวได้ เราไม่รับฟังความคิดเห็นคนอื่น คิดว่าตัวเองสามารถแก้ได้ทุกปัญหา หรือ แก้ปัญหาโดยใช้ความเคยชินของตัวเองมากกว่าที่จะใช้วิธีใหม่ ๆ ที่ได้มาจากคนอื่น สุดท้ายเราก็อาจมานั่งกลุ้มใจทีหลังว่า งานที่ออกมาทำไมมีข้อผิดพลาดมากมายขนาดนี้ ทำไมตอนทำอยู่เราถึงไม่สังเกตเห็นมันกันนะ นี่เป็นตัวอย่างของคนที่มีวิสัยทัศน์อุโมงค์ (Tunnel Vision) ซึ่งเป็นมายเซ็ทที่ส่งผลเสียต่อการทำงานของเราอย่างมาก มันอาจทำให้เราผิดพลาดมากขึ้น ได้ประโยชน์จากงานน้อยลง และส่งผลเสียต่อทีมเวิร์กอีกต่างหาก เราเห็นคนทำงานหลายคนเป็นแบบนี้กัน เลยอยากมาอธิบายซะหน่อยว่ามีวิธีอะไรบ้างที่จะช่วยให้เราสามารถออกมาจากอุโมงค์ได้ WHAT IS TUNNEL VISION ? ลองจินตนาการดูว่า เรากำลังขับรถ หรือ นั่งอยู่บนรถสักคันหนึ่ง เมื่อมันเคลื่อนที่เข้าสู่อุโมงค์ที่อยู่เบื้องหน้า แน่นอนว่า การมองเห็นของเราก็คงจะเริ่มแคบลง จากเดิมที่เรามองเห็นถนนกว้าง ๆ บ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง หรือ ธรรมชาติ ที่อยู่ริมถนน การเข้าอุโมงค์ก็ทำให้เราเห็นเพียงกำแพง ทางเดินรถแคบ ๆ และรถคันอื่นที่ร่วมทางกับเราเท่านั้น ส่วนสิ่งที่อยู่ภายนอกนั้น เรามองไม่เห็นมันเลยจนกว่าจะออกมาจากอุโมงค์ วิสัยทัศน์อุโมงค์ (Tunnel Vision) จึงเปรียบได้กับการที่เราโฟกัสไปที่ส่วนหนึ่งของปัญหาหรืองานอย่างหนัก จนเราไม่ได้โฟกัสไปที่ปัญหาอื่น ซึ่งสุดท้ายเราอาจจะแก้ไขปัญหานั่นไม่ได้ หรือ
ถึงแม้ว่าแรงกดดัน เช่น เวลาในการทำงานที่จำกัด จะช่วยให้เราเกิดความโปรดักทีฟมากขึ้นได้ แต่ในทางกลับกัน มันก็อาจทำให้เราเกิดอาการแพนิค และทำงานแย่ลงได้เหมือนกัน เพราะเวลาเรากลัวว่าตัวเองจะทำงานไม่ทัน เรามักรีบคิดและรีบปั่นงานให้เสร็จโดยไว ผลสุดท้าย งานที่ออกมาอาจไม่ได้รับการตรวจที่ถี่ถ้วนมากพอ จนมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เมื่อแรงกดดันเป็นเหมือนกับดาบสองคม มีทั้งข้อดีข้อเสีย เราเลยจำเป็นต้องรับมือกับมันให้ได้อย่างดี บทความนี้ UNLOCKMEN จึงนำเทคนิคดี ๆ มาฝากทุกคนกัน ซึ่งถ้ารู้แล้ว เราจะทำงานภายใต้ความกดดันได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน ตั้งสติก่อนสตาร์ท !!! เวลาเราทำงานในช่วงที่เดดไลน์ใกล้เข้ามาแล้วนั้น เรามักจะโคตรเครียด เสียสติ และไม่คิดหรือตรวจงานให้ดี สุดท้ายงานที่ออกมามันก็แย่ หากใครเจอกับอะไรแบบนี้ เราอยากให้ลองตั้งสติ และพยายามเปลี่ยนโฟกัสจากความเครียดความกังวล มาเป็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเราดู ลองถามตัวเองว่าตอนนี้เรากำลังเห็นอะไร ? กำลังได้ยินอะไร ? เราหายใจเป็นยังไง ? แบบนี้จะช่วยให้เรารู้สึกถึงแรงกดดันน้อยลง มีสติมากขึ้น และแก้ปัญหาได้ดีกว่าด้วย มองย้อนกลับไปทบทวนความกดดันที่ผ่านมา ความกดดันมักเกิดขึ้นแบบเป็นแพทเทิร์น และเราอาจเจอกับแพทเทิร์นนั้นซ้ำ ๆ อยู่ก็ได้ ดังนั้น แทนที่จะปล่อยให้ประสบการณ์ความกดดันเหล่านั้นผ่านไปเฉย ๆ เราควรใช้เวลาในการเรียนรู้ และวิเคราะห์หาแพทเทิร์นของความกดดันจะดีกว่า เพราะมันจะช่วยให้เราหาแผนรับมือกับความกดดันได้อย่างมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราพบว่า
ขึ้นชื่อว่าการเจรจาต่อรองแล้ว ไม่ว่าจะในเชิงธุรกิจที่ขับเคี่ยวกันดุเดือด หรือหน้าที่การงานที่ต้องสู้เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด เราทุกคนล้วนแต่ต้องการเจรจาต่อรอง แลกเปลี่ยนให้ผลที่ได้ออกมาพอใจร่วมกันทุกฝ่าย โดยปกติการเจรจาต่อรองก็ย่อมต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์ จะไปแบบมั่ว ๆ ไม่รู้อะไรเลยไม่ได้อยู่แล้ว แต่การเจรจาต่อรองที่ “เรามีอำนาจต่อรองน้อยกว่า” หรือรู้ทั้งรู้ว่าเราก็ไม่ได้มีผลประโยชน์อะไรไปแลกกับอีกฝ่ายมากนัก ยิ่งเป็นความท้าทายที่หลายคนเผลอถอดใจไปล่วงหน้า (ก็ดูรูปการณ์แล้ว ไม่น่าจะไปต่อรองอะไรกับเขาได้) แต่เราอยากชวนมาปลดล็อกความเข้าใจผิด ๆ เสียใหม่ อย่างน้อยก็ต้องลองสักตั้งก่อนถอดใจ แม้หลายการต่อรอง เราอาจเลี่ยงได้ แต่กับบางสถานการณ์คับขันตรงหน้าต่อให้รู้ว่าอำนาจน้อยกว่าก็ต้องกระโจนลงไปอยู่ดี ดังนั้นลองเอาวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้ เพราะแม้จะไม่ได้มีอำนาจล้นมือ แต่ถ้ารู้เท่าทัน การเจรจาต่อรองให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการก็อาจไม่ยากอย่างที่คิด “ผลลัพธ์ที่ต้องการอาจไม่ได้มีแค่หนึ่ง” การเป็นฝ่ายเหนือกว่าในการเจรจาต่อรอง ไม่ว่าจะทางธุรกิจ หน้าที่การงาน หรือเรื่องไหน ๆ คือการที่เราสามารถพูดคุยไปถึงจุดที่ “เราได้ในสิ่งที่เราต้องการ” หลายครั้งเมื่อเราดูมีอำนาจต่อรองน้อยกว่า หรือไม่น่ามีอะไรไปแลกจนอีกฝั่งพึงพอใจได้ เราจึงมักคิดว่าเราเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่เสมอ แต่จริง ๆ แล้ว การเจรจาเพื่อ “ได้ในสิ่งที่เราต้องการ” นั้นไม่ได้มีเพียงหนึ่งทาง การนึกถึงผลลัพธ์ในหลากหลายหนทาง หลาย ๆ วิธีไว้ล่วงหน้า ก็เป็นอีกวิธีที่จะทำให้เราเจรจาต่อรองได้ลื่นไหลมากขึ้น ถ้ามัวยึดอยู่แค่ว่าจะไปเอาผลลัพธ์นี้อยู่ผลลัพธ์เดียวและยึดติดกอดไว้ โดยไม่ทันนึกภาพผลลัพธ์อื่น ๆ ทันทีที่โดนอีกฝ่ายพลิกเกมไปทางที่เขาได้ประโยชน์ หรือเขาปฏิเสธทางที่เราเสนอไว้ เราจะตัน ไปต่อไม่ได้
หลายคนคงไม่กล้าพูดคนเดียวเสียงดังเท่าไหร่นัก เพราะมองว่าเป็นเรื่องที่น่าอาย รบกวนคนอื่น ทำแล้วอาจถูกมองว่าเป็นคนไม่มีมารยาทได้ แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ก็ได้มีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการพูดคนเดียวเสียงดัง หนึ่งในนั้น คือ งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยบังกอร์ในประเทศอังกฤษ ที่พบว่า การพูดคนเดียวเสียงดังช่วยให้เราโฟกัสกับงานได้มากขึ้น แถมยังช่วยให้เราทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย งานวิจัยชิ้นนี้ ได้ศึกษาผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งหมด 28 คน ซึ่งแต่ละคนจะได้รับข้อความคำสั่ง และถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ต้องอ่านข้อความเสียงดัง และ กลุ่มที่ต้องอ่านเงียบ ๆ คนเดียว และหลังจากนั้น ผู้เข้าร่วมการทดลองจะได้รับการมอบหมายงาน และทีมวิจัยจะประเมินประสิทธิภาพในการทำงานของคนแต่ละกลุ่ม ผลการวิจัยออกมาว่า ผู้เข้าร่วมการทดลองที่อ่านข้อความเสียงดังจะมีสมาธิและทำผลงานได้ดีกว่ากลุ่มที่อ่านเงียบ ๆ กับตัวเอง อย่างไรก็ตาม แม้จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวจิยัชิ้นนี้จะน้อยเพียง 20 กว่าคน แต่ก็มีงานวิจัยชิ้นอื่นที่มาสนับสนุนผลลัพธ์ของงานวิจัยชิ้นนี้เหมือนกัน เช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่ง พบว่า ผู้เข้าร่วมการทดลองทำภารกิจหาของเสร็จเร็วขึ้น เมื่อพวกเขาพูดกับตัวเอง เป็นต้น เพราะฉะนั้น ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบพูดกับตัวเอง อย่ากลัวที่จะทำมัน เพราะเกรงใจคนอื่น นั่นอาจทำให้เราทำงานได้แย่ลงก็เป็นได้ ลองพูดให้กำลังใจตัวเอง พูดถึงสิ่งที่กำลังทำหรือหาอยู่แทน และที่สำคัญต้องตั้งใจฟังในสิ่งที่ตัวเองพูดด้วย เหล่านี้อาจช่วยให้เราทำงานได้ดีขึ้นได้ แต่อย่าพูดเสียงดังมากเกินไปละ เดี๋ยวคนที่นั่งข้าง ๆ