คุณคิดอย่างไรกับ Outdoor Sex? อาจจะรู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องแปลก หรือมองว่าเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ ถ้าเป็นแบบนั้น คุณคิดอย่างไรกับการมีเซ็กซ์แบบเอาท์ดอร์ แล้วมีคนอื่นมามุงดูอย่างใกล้ชิด และบางคนพยายามร่วมแจมระหว่างที่คุณกำลังร่วมรักกับคนรัก? สิ่งนี้อาจมากเกินไปสำหรับหลายคน และดูเกินจริงไปเสียหน่อย แต่ทั้งหมดที่ว่ามานั้นคือเหตุการณ์จริงที่เคยเกิดขึ้นเป็นปกติในประเทศญี่ปุ่น ซ้ำยังมีคนบันทึกหลักฐานไว้ใน Photobook ที่โด่งดังอีกด้วย The Park เป็นหนังสือภาพที่เล่าเรื่องของผู้คนที่แวะเวียนมายังสวนสาธารณะชูโอในย่านชินจูกุ กรุงโตเกียวในช่วง ค.ศ. 1971-1973 ภาพทุกใบถ่ายโดย โคเฮ โยชิยูกิ (Kohei Yoshiyuki) เขาใช้กล้องฟิล์มอินฟราเรดคู่กับการใช้แฟลช บันทึกเรื่องราวทุกอย่างไว้อย่างงดงาม ความแสบของผลงาน The Park เกิดขึ้นเมื่อโยชิยูกิสามารถเก็บภาพคู่รักจำนวนมากที่มาเปลี่ยนบรรยากาศในสวนที่มืดสนิท แทบทุกคืนจะมีชายหญิงเข้ามาในสวนเพื่อพรอดรักหรือหนักถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์ บางคนมาด้วยสภาพเมามาย หลายคู่พากันมาด้วยรอยยิ้ม ก่อนบรรเลงเพลงรักกันในพุ่มไม้โดยไม่สนว่าใครจะเห็น ใครจะมามุง หรือใครจะถ่ายภาพเก็บไว้ ความพิสดารของคู่รักที่มาเอาท์ดอร์โดยไม่กลัวใครเห็นว่าแปลกแล้ว การดูของผู้คนในสวนแห่งนี้นับว่าแปลกยิ่งกว่า ผลงานของโยชิยูกิเผยให้เห็นว่า คนในสวนที่ไม่ใช่แค่ “แอบดู” แต่เดินมา “นั่งดู” การร่วมรักของคู่รักแบบโจ่งแจ้ง บ้างก็มุดพุ่มไม้เข้าใกล้เพื่อให้เห็นภาพแบบเต็มตาที่สุด บางคนชะโงกดู หลายคนมุงจนออกนอกหน้า สร้างความไม่เข้าใจให้กับช่างภาพหนุ่มเป็นอย่างมากว่าเกิดอะไรขึ้นในสวนแห่งนี้กันแน่ ความสงสัยส่งผลให้เขาตามติดวิถีชีวิตของผู้คนในสวนตอนกลางคืนติดต่อกันนานสามเดือน โยชิยูกิเรียกสิ่งที่เห็นว่าเป็นวัฒนธรรมย่อย (Subculture) ของกลุ่มคนที่ไม่อายเวลามีเซ็กซ์กันต่อหน้าคนจำนวนมาก และไม่สนใจหากมีใครถ่ายภาพพวกเขาเอาไว้
มีงานวิจัยแบบ Real-life Finding เกี่ยวกับประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19 จากประเทศอังกฤษที่น่าจะทำให้พวกเรามีความหวังมากขึ้น เพราะจากการติดตามผลจากผู้ฉีดวัคซีนสองตัวคือ Pfizer-BioNTech และ AstraZeneca พบว่าสามารถป้องกันการติดไวรัสและลดความเสี่ยงจากการป่วยหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ตอนนี้หลายคนจะกำลังสงสัยในประสิทธิภาพของวัคซีน AstraZeneca ที่ไทยเลือกใช้เป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมาล้วนเป็นตัวเลขเคลมที่ยังไม่เคยมีการติดตามผลจริง แต่ University of Oxford, the Office of National Statistics and the Department for Health and Social Care ได้ทำวิจัยผลใช้จริงใน UK ซึ่งเป็นไวรัสสายพันธุ์เดียวกับที่กำลังระบาดในบ้านเราตอนนี้ พบว่าหลังฉีดวัคซีน Pfizer และ AstraZeneca ได้ 1 โดส สามารถลดโอกาสการติดไวรัสได้ไม่น้อยกว่า 65% และหลังจากฉีดครบ 2 โดส พบว่ารายงานการติดไวรัสหรือเจ็บป่วยลดลงถึง 90% ซึ่งวัคซีนมีประสิทธิภาพเท่ากันระหว่างกลุ่มอายุเกิน 75 ปี เทียบกับกลุ่มวัยรุ่น ผลการวิจัยนี้มาจากการติดตามข้อมูล
Benedicte Piccolillo สาวอาร์ตมากความสามารถจากฝรั่งเศสเจ้าของ Design Studio ‘Voglio Bene’ ผู้เริ่มต้นจากเส้นทาง Photographer จากนั้นจึงผันตัวสู่การเป็น Digital Graphic จากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผลงานที่โดดเด่นของ Piccolillo คืองานอาร์ตที่ผสมผสานความเป็น Renaissance กับ Modernity เข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว โดยการใช้แรงบันดาลใจจากผลงานศิลป์เก่าแก่จากยุค Middle Ages จาก Italian และ Spanish ที่มักจะเกี่ยวข้องกับศาสนา นำมาเพิ่ม graphci design เข้าไปในงานต้นแบบจนกลายเป็นชิ้นงานที่ดูร่วมสมัย ทำให้มีวัง คฤหาสน์ หรือแม้แต่ Museums ที่มีผลงานเก่า ๆ มากมายมักจะชักชวน Piccolillo เพื่อร่วมงาน Colloboration โดยใช้ ‘coups de Coeur’ หรือการนำชิ้นงานเก่าแก่มา twist เพื่อจัดแสดงเป็น Exhibition ให้กับคนรุ่นใหม่ได้เข้าถึงงานศิลป์เก่าแก่ที่มีคุณค่า นอกจากงานอาร์ตเพื่อจัดแสดง
ใคร ๆ ต่างก็รู้ว่าญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องความบันเทิงยามค่ำคืน หากคุณเดินไปถูกที่ ถูกทาง ถูกแหล่ง คุณจะพบกับความมหัศจรรย์เหมือนเปิดประตูโลกใบใหม่ตั้งแต่ ‘เกอิชา’ ที่มอบความบันเทิงด้านศิลปะและดนตรีชั้นสูง พบกับ JK Bussiness บริการเพื่อนคุยยามเหงาและการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กสาวมัธยมปลาย คลับเฉพาะทางที่มี ‘เด็กนั่งดริ๊ง’ คอยต้อนรับ ไปจนถึง ‘บาร์โฮสต์’ ที่เหล่าบริกรชายจะดลบันดาลความสุขให้ตามต้องการ เมื่อเอ่ยถึงบาร์โฮสต์ ภาพในความทรงจำของคนไทยมักเป็นผู้ชายใส่สูท ผมซอยสั้นสไตล์ญี่ปุ่น ที่มักยืนต้อนรับลูกค้าอยู่หน้าร้าน หรือบางร้านก็ให้หนุ่ม ๆ ไปยืนเรียกลูกค้าตามย่านท่องเที่ยวดัง ทว่าชายที่ถูกเรียกว่า King of Hosts หรือ ‘ราชาแห่งบาร์โฮสต์’ กลับฉีกแนวภาพจำเดิม ๆ ไปไกลกว่าที่คิด เมื่อเขาไว้ผมสีทองยาวสลวยกว่าสุภาพสตรีบางคนที่เป็นลูกค้าของเขาเสียอีก ชายคนดังกล่าวถูกขนานนามด้วยชื่อในวงการว่า “โรแลนด์” โรแลนด์เข้าวงการบาร์โฮสต์ตั้งแต่อายุ 18 ปี ชื่อจริงของเขาคือ โทโจ มาโคโตะ (Toujou Makoto) นักเรียนดีเด่นที่เพิ่งสอบติดมหาวิทยาลัยโตเกียว ทว่าเริ่มเรียนได้นิดเดียวเขาเริ่มตั้งคำถามกับชีวิตตัวเองว่า ‘เรียนจบไปแล้วจะทำอาชีพอะไร?’ คิดใคร่ครวญอยู่นานว่าตัวเองชอบอะไร อยากทำอะไร มีความถนัดอะไร พอคิดวาดภาพชีวิตตัวเองเป็นพนักงานออฟฟิศที่ต้องสวมสูทสีดำเหมือนคนอื่น ๆ เดินไปยังสถานีรถไฟที่อัดคนทำงานเบียดแน่นเต็มโบกี้
แม้ญี่ปุ่นจะเต็มไปด้วยดินแดนแห่งโอกาส แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะโดดเด่นและเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศได้ในเวลาไม่นาน หลายปีที่ผ่านมา ชาวญี่ปุ่นที่ชื่นชอบการดูกีฬาหรืออ่านหนังสือพิมพ์กีฬาอยู่บ่อย ๆ จะต้องเคยได้ยินหรือได้เห็นชื่อของ อิเคเอะ ริคาโกะ (Ikee Rikako) อยู่เสมอ ชื่อของนักว่ายน้ำดาวรุ่งที่ประสบความสำเร็จในสายอาชีพตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี เธอสามารถพาตัวเองไต่ทะยานไปตามเส้นทางนักกีฬา ควบคู่กับการพาธงชาติญี่ปุ่นไปให้โลกได้รู้จัก ในฐานะประเทศที่มีนักว่ายน้ำหญิงอายุน้อยที่เปี่ยมด้วยพรสวรรค์อันแสนน่าจับตามอง เส้นทางชีวิตของริคาโกะถูกชาวญี่ปุ่นยกย่องชื่นชม หลายปีก่อน คนใกล้ชิดต่างแนะนำให้เธอลงชื่อเป็นหนึ่งในตัวแทนคัดเลือกนักกีฬาทีมชาติญี่ปุ่นในการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิก เพราะอยากให้เป็นตัวแทนแข่งขันในปีที่บ้านเกิดของตัวเองเป็นเจ้าภาพ สื่อและนักวิจารณ์ในญี่ปุ่นต่างมั่นใจว่าดาวรุ่งคนนี้จะต้องได้สิทธิเข้าแข่งมาอย่างไม่ยากเย็น ทว่าชีวิตของนักกีฬาหญิงคนนี้กลับต้องเปลี่ยนไปตลอดกาล เมื่อเธอไปตรวจร่างกายแล้วพบว่าตัวเองกำลังเป็นโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อ ‘ลูคีเมีย’ โรคร้ายส่งผลให้เส้นทางชีวิตอันรุ่งโรจน์ของ อิเคเอะ ริคาโกะ หยุดชะงักกลางคัน ฝันที่วางไว้อาจไม่มีวันเป็นจริงอีกต่อไป คนไทยที่ไม่ได้ตามข่าววงการว่ายน้ำอาจไม่รู้ว่า อิเคเอะ ริคาโกะ ประสบความสำเร็จมากถึงขั้นไหน เธอหัดว่ายน้ำก่อนจะเรียนรู้ตัวอักษรคันจิเสียอีก เด็กสาวชื่นชอบการว่ายน้ำเป็นชีวิตจิตใจ และไม่ใช่แค่การว่ายเล่นเอาสนุก เธอหมั่นฝึกฝนอย่างหนักเป็นประจำ ข้อได้เปรียบใหญ่ที่ทำให้เธอโดดเด่นกว่านักกีฬาว่ายน้ำคนอื่น ๆ คือ ริคาโกะพบความฝันของตัวเองตั้งแต่อายุยังน้อย ก่อนตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขันว่ายน้ำเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ 13 ปี และคว้าแชมป์ระดับประเทศในประเภทที่ตัวเองแข่งขัน ถือเป็นใบเบิกทางให้เธอติดหนึ่งในเยาวชนทีมชาติ เธอเป็นเด็กสาวที่มีความสามารถ เปี่ยมด้วยความมั่นใจ และขยันทำลายสถิติการว่ายน้ำท่าต่าง ๆ อยู่เสมอ แม้จะเต็มไปด้วยพรสวรรค์ที่มาคู่กับความพยายาม แต่คนที่เพอร์เฟกต์ที่สุดย่อมต้องเคยพบกับความผิดหวัง
ใครเคยเดินเหยียบเศษหมากฝรั่งที่คนถุยทิ้งไว้บ้าง? มันเป็นสิ่งที่กวนใจ สกปรกเลอะเทอะ เอาออกยาก แต่ด้วยความเหนียวหนืดของมัน จึงมีสองนักเรียนดีไซน์เนอร์ Hugo Maupetit และ Vivian Fischer คิดไอเดียการเปลี่ยนซากหมากฝรั่งให้เป็นล้อสเก็ตบอร์ดได้สำเร็จ ไอเดียนี้แจ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือการสะสมเศษซากหมากฝรั่งด้วยการออกแบบและติดตั้งบอร์ด “Gum Collection Board” ผลิตจาก polymethyl methacrylate (PMMA) plastic ให้คนแปะหมากฝรั่งเคี้ยวแล้วให้เป็นที่เป็นทาง จากนั้นจะมาเก็บไปทั้งกระดานสัปดาห์ละครั้ง 1 บอร์ดจะได้หมากฝรั่งประมาณ 60 ชิ้น ในขณะที่ล้อแต่ละอันจะใช้เศษหมากฝรั่งประมาณ 10 – 30 ชิ้น แล้วแต่ขนาดและความแข็งแรง ทั้งบอร์ดและหมากฝรั่งจะถูกส่งต่อไปที่โรงงานเผื่อผ่านกระบวนการใช้ความร้อนหลอมรวมกันก่อนจะแปลรูป ทำสี และพิมพ์ออกมาเป็นล้อสเก็ตบอร์ดในที่สุด ข้อดีของโปรเจคนี้คือ เมื่อล้อเหล่านี้พังเสียหาย ก็สามารถนำกลับไปกระบวนการแปรรูปได้อีกครั้ง แม้บอร์ด PMMA ที่เต็มไปด้วยเศษหมากฝรั่งจะดูไม่ค่อยสวยงาม แต่เรื่องการใช้งานถือว่าโอเคมาก เพราะลดการคายถุยทิ้งตามพื้นทางเดินได้ไปในตัว เพราะปัญหาการทิ้งเศษหมากฝรั่งใน UK นั้นค่อนข้างหนัก มีเพียง 10% ที่ทิ้งเป็นที่เป็นทาง อีก 90% ถูกทิ้งอย่างไม่เป็นระเบียบ และทุกปีต้องใช้งบประมาณถึง 2,700
เชื่อว่าเช้านี้แฟนบอลหลายคนน่าจะตื่นมาพร้อมกับคำว่า ‘European Super League’ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลที่สโมสรระดับโลกในยุโรป จะจับมือกันสร้างลีกการแข่งขันของตัวเอง ฟังดูเหมือนจะดี แต่ก็มีหลายประเด็นที่ขัดกับหลักการของกีฬาฟุตบอล แน่นอนว่ามีทั้งแฟนบอล สโมสร รวมถึงสมาคมฟุตบอลทั้ง UEFA, FIFA ที่ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพราะมันเกี่ยวกับผลประโยชน์ก้อนใหญ่ระดับหลายพันล้านเหรียญที่แต่ละสโมสรจะได้รับ ว่าแต่ European Super League คืออะไร ใครเป็นนายทุน เรามีสรุปมาให้เข้าใจง่าย ๆ เพื่อช่วยประหยัดเวลาทำความเข้าใจให้ทุกคน จากข้อมูลที่รวบรวมมาล่าสุด ณ เวลานี้ ตอนนี้มีสโมสรที่ร่วมก่อตั้งและสนับสนุน Super League ทั้งหมด 12 ทีม นำโดย Florentino Perez ประธานสโมสร Real Madrid และอีก 11 ยักษ์ใหญ่อย่าง Milan, Arsenal, Atlético Madrid, Chelsea, Barcelona, Inter, Juventus, Liverpool, Manchester City, Manchester United,
หากใครได้ติดตามข่าวการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มาเป็นระยะ คงพอจะทราบกันว่าญี่ปุ่นนับเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เผชิญปัญหาครั้งใหญ่ไม่แพ้ประเทศอื่น ๆ ตอกย้ำซ้ำเติมว่าในเร็ววันนี้เราคงอาจจะยังไม่มีโอกาสได้ไปเหยียบญี่ปุ่นอีกนาน และหากวันที่ญี่ปุ่นเปิดประเทศอีกครั้งพร้อมให้เราได้ไปเยือน เราจะรู้สึกสะดวกใจที่จะไปญี่ปุ่นอยู่หรือไม่ หากรัฐบาลญี่ปุ่นบังคับให้นักท่องเที่ยวต้องอนุญาตให้รัฐติดตามเรา กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น ออกแถลงการณ์ประกาศข้อบังคับใหม่ในยุคไวรัสแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น รวมถึงคนญี่ปุ่นที่กลับประเทศ จะต้องติดตั้งแอปพลิเคชันตามตัวโดยไม่มีข้อยกเว้น โดยจะเริ่มบังคับใช้กฎดังกล่าวตั้งแต่ 18 มีนาคม 2021 แอปพลิเคชันทั้ง 3 ที่จะต้องติดตั้งเมื่อเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นมีดังนี้ OSSAMA แอปพลิเคชันระบุตำแหน่งเจ้าของสมาร์ตโฟนเพื่อบันทึกว่าแต่ละวันบุคคลนั้น ๆ ได้เดินทางไปยังที่ไหนมาบ้าง Skype แอปพลิเคชันนี้จะคุ้นหน้าคุ้นตาคนไทยขึ้นมาหน่อย ผู้มาเยือนญี่ปุ่นทุกคนจะต้องติดตั้งแอปฯ นี้ เผื่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่รัฐจะต่อสายตรงมาสอบถามตำแหน่งหรือข้อมูลจากเจ้าของโทรศัพท์ COCOA แอปพลิเคชัน contact tracing โดยกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น จะแจ้งเตือนเมื่อผู้ดาวน์โหลดเข้าใกล้ผู้ที่มีผลตรวจเชื้อโควิด-19 เป็นบวก ทว่าแอปพลิเคชันนี้เคยถูกชาวญี่ปุ่นตั้งคำถามเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว โดยรัฐบาลยืนยันว่าจะไม่เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่จำเป็นต่อการตามตัวหากสุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัส รัฐบาลจะปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ทุกคน ขอให้ประชาชนใช้แอปฯ ได้แบบไม่ต้องกังวล เพราะยิ่งมียอดดาวน์โหลดมากเท่าไหร่ การทำงานของแอปฯ ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น และระบบจะลบข้อมูลต่าง ๆ อาทิ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมล
ทุกครั้งที่เข้าหน้าร้อนของประเทศไทย อุณหภูมิดูจะร้อนแรงโหดร้ายมากขึ้นเรื่อย ๆ เรียกว่าถ้าโลกนี้ไม่มีแอร์ในบ้าน ในรถ หรือในออฟฟิศ แทบจะใช้ชีวิตกันไม่ได้เลยทีเดียว ทำให้เรานึกอยากขอบคุณผู้คิดค้นแอร์ขึ้นมา เพราะถ้าไม่มีเค้า เรานึกไม่ออกเลยว่าวันนี้มนุษย์จะพัฒนามาได้ไกลถึงวันนี้มั้ย จุดเริ่มต้นของแอร์นั้นไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อความเย็นสบายของมนุษย์ มันมีความสำคัญกับทุกอุตสาหกรรมในยุค Industrial Revolution ถ้าไม่มีแอร์ หลายอย่างจะไม่สามารถพัฒนาได้ เพราะจุดประสงค์แรกของมันคือการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ หัวใจสำคัญในกระบวนการผลิตทุกชนิด ส่วนความเย็นสบายในบ้านหรือแม้แต่ในรถยนต์ของพวกเราคือผลพลอยได้จากการคิดค้นพัฒนาต่อยอดจากระบบอุตสาหกรรมในยุคหลัง ย้อนไปศตวรรษที่ 20 แน่นอนว่ายังเป็นยุคที่ไม่มีแอร์เกิดขึ้น บริษัท Sackett & Wilhelms Lithography and Printing Company ใน New York พบกับปัญหาในการทำงาน ความชื้นที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากอากาศหน้าร้อนที่โคตรร้อน ทำให้บริษัทไม่สามารถคุมคุณภาพการพิมพ์ที่ดีได้ เจอทั้งกระดาษบวม หมึกไม่เสมอกัน พิมพ์ไม่คมชัด แถมสียังเพี้ยน ผลคือต้องทิ้งและพิมพ์ใหม่อยู่ตลอดเวลา เสียทั้งเงินทั้งเวลา ในเมื่อรู้สาเหตุของปัญหา Sackett & Wilhelms จึงคิดว่าต้องหาทางรับมือกับปัญหาอุณหภูมิที่ไม่คงที่แถมยังร้อนจัด หันไปปรึกษาทีมวิศวกร ซึ่ง 1 ในนั้นคือชายในวัย 25 ปี ที่มีชื่อว่า “Willis
ระหว่างที่บ้านเรายังคงรอวัคซีนโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็น Sinovac หรือ AstraZeneca เข้ามาให้คนไทยได้ฉีดกัน ตอนนี้มีงานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพวัคซีนในอเมริกา ซึ่งเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ติดตามผลจากสถานการณ์จริง โดยคนแถวหน้าเช่นหมอ พยาบาล พบว่าวัคซีนของ Pfizer และ Moderna เป็นสองตัวที่ป้องกันเชื้อโควิด-19 ได้มากถึง 90% หลังจากฉีดครบ 2 โดส รายงานชิ้นนี้ไม่ใช่ไก่กา แต่มาจาก CDC (US Centers for Disease Control and Prevention) พบว่าประสิทธิภาพของวัคซีนสองตัวนี้ป้องกันเชื้อได้มากถึง 80% ตั้งแต่โดสแรก และหลังจากฉีดโดสที่สอง ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเป็น 90% โดยการติดตามผลจากกลุ่มแนวหน้าในสถานพยาบาลถึง 4,000 คน ที่ทำงานใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 จาก 8 สถานที่ทั่วประเทศ ตั้งแต่ช่วงกลางธันวาคมถึงกลางมีนาคม วิธีตรวจของ CDC เข้มข้นและละเอียดมาก ทำการตรวจกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4,000 คนโดยไม่สนว่ามีอาการหรือไม่ มีการติดตามสอบถามอาการ และอัพเดท medical reports ทำ