หลังจากเคยถอดออกจาก Netflix (ไทย) ไปแล้วครั้งนึง ตอนนี้ Death Proof ภาพยนตร์ปี 2017 ของเจ้าพ่อหนังคัลท์ยุคใหม่ Quentin Tarantino ก็กลับมาสตรีมมิ่งอีกครั้ง ใครที่ยังไม่เคยดูบอกเลยห้ามพลาด! ด้วยเสน่ห์ที่มีกลิ่นอายความสยองขวัญแบบปี 80s ซึ่งมาพร้อมกับความฟิล์มนัวร์ Noise มาเต็มที่ได้อารมณ์มาก ๆ และถ้าคุณรักรถ Vintage อย่าง Chevy Nova เรียกว่าจะได้เชยชมความงามที่มาพร้อมความแรงตลอดเรื่องกันเลยล่ะ สำหรับ Death Proof เควนตินเคยให้สัมภาษณ์ว่าเป็นผลงานที่ชอบน้อยที่สุดตั้งแต่เคยสร้างมา แต่ถ้าถามความเห็นของเราที่เป็นแฟนคลับเขา และเพิ่งจะดูเรื่องนี้อีกครั้งไปเมื่อไม่กี่วันก่อน ต้องบอกว่าไม่ได้รู้สึกว่าแย่ กลับกันคือยังเปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์ (และกวนตีน) สไตล์เควนตินเหมือนเดิม และที่ชอบมากโดยส่วนตัว คือการแตกไอเดียหัวข้อ ‘Death Proof’ อันเป็นเรื่องราวว่าด้วยรถซิ่งของสตั๊นแมนยุคเก่า ที่ใช้เพื่อชนจริง กระแทกจริง ไม่มี CGI ผสมใด ๆ มาเป็นเรื่องราว 2 ชั่วโมงได้อย่างสนุกจนน่าเหลือเชื่อ และปฎิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งที่น่าประทับใจนอกจากการได้เห็น Mary Elizabeth Winstead ใส่ชุดเชียร์ลีดเดอร์สีเหลืองแล้ว
ถ้านึกถึงสิ่งแรกที่คิดถึงประเทศเกาหลีใต้ สำหรับคนที่ยังไม่เคยไปอย่างเราก็คงมีวัฒนธรรมการกินไก่ทอด & เบียร์, วง G-IDLE (เป็นติ่งแหละ), การทำศัลยกรรม อ้อ ๆ แล้วก็แน่นอน ‘การสัก’ ไงล่ะ เสน่ห์ของความมินิมอลบนเรือนร่างเป็นสิ่งที่ไม่มีทางลืมนึกถึงได้เลย เพราะเกาหลีใต้คือหนึ่งในประเทศที่คนบินไปเพื่อสักมากที่สุดที่หนึ่งของโลก อุดมไปด้วย Tattoo Artist มีชื่อเสียงฝีมือฉกาจมากมาย แต่น่าเศร้าที่กฎหมายของประเทศนี้ยังจับคำว่า ‘ถูกกฎหมาย’ ของการสักใส่ไว้ในกรงไม่ให้หนีไปไหน ซึ่งย้อนไปไกลตั้งแต่ปี 1992 จนล่าสุดถึงปี 2022 สาเหตุของความย้อนแย้งของกฎหมายต่อสายตาของผู้คนทั่วโลก ว่าอะไรทำให้ประเทศที่งานศิลปะเจริญรุ่งเรืองสุดขีดในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะดนตรี แฟชั่น และแน่นอนว่า ‘การสัก’ ถึงถูกแบนจากประเทศของตัวเอง UNLOCKMEN ชวนอ่านเรื่องเศร้าของการเป็นช่างสักในเกาหลีใต้ ที่พวกเขารู้สึกว่าถึงแม้จะเป็นประเทศที่เจริญแล้ว แต่ก็ยังถูกปฎิบัติราวกับอาชญากรอยู่ดี The K-TATTOO ความรุ่งเรืองที่สวนทางเรื่องรอยสักในเกาหลีใต้ น่าจะสามารถใช้มาตรวัดที่ไม่มากก็น้อยจากวัฒนธรรมภายในประเทศที่เรียกว่า K-TATTOO อันเป็นคำนิยามในทางเดียวกันกับคำที่ใช้กำหนดแนวดนตรีในประเทศ K-POP หรือซีรีส์แบบ K-DRAMA ความหมายง่าย ๆ ประมาณว่า ‘รอยสักที่อยู่บนเรือนร่างของศิลปินเกาหลี’ นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น รอยสักบนตัวของ
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า AI น่าจะเป็นสิ่งที่มีบทบาทกับชีวิตมนุษย์อย่างมากยิ่งในปี 2022 ก็ถูกพูดถึงอย่างเข้มข้นอย่างมากในแทบจะทุกด้านของชีวิตเรา และเมื่อเร็ว ๆ นี้สำหรับวงการศิลปะเอง ก็มีข่าวคึกคักของการใช้ AI ในการสร้างงานศิลปะได้มหากาพย์ความงามจนน่าทึ่ง ซึ่งปัญญาประดิษฐ์ตัวนี้มีชื่อว่า Midjourney ความมหัศจรรย์ของ Midjourney สร้างแรงกระเพื่อมให้เกิดคำถามมากมายถึงความหมายของ ‘ศิลปิน’ เมื่อ AI เองก็สามารถสร้างงานภาพสุดคราฟต์ไม่ต่างจากที่เหล่าศิลปินชื่อดังทำได้ ที่ทางของศิลปิน (มนุษย์) จะอยู่ตรงไหนทั้งในการสร้างงาน ไปจนถึงการทำงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ? (ภาพทั้งหมดในคอลัมน์นี้ถูกสร้างขึ้นจาก Midjourney ) ถ้าลอกตาม About Me ที่ทาง Midjourney เขียนถึงตัวเองเอาไว้ใน Discord ความหมายของมันจะเป็นอย่างนี้ “พวกเรา Midjourney คือกลุ่มนักวิจัยอิสระเล็ก ๆ ที่มีกันอยู่ 11 คน ซึ่งต้องการสำรวจแนวความคิดใหม่ ๆ ในจินตนาการของเผ่าพันธุ์มนุษย์” หลังจากเปิดให้ทดลองในเซิร์ฟเวอร์แชทของ Discord มาเป็นเดือน
ถ้าพูดถึงประเทศแห่งความฝัน นอกจาก American Dream ก็มีญี่ปุ่นนี่ล่ะที่หัวข้อ ‘สู้เพื่อฝัน’ ถูกยกขึ้นมาพูดอย่างไม่เคยขาดในทุกสื่อ ไม่ว่าจะใน Soft Power หลักอย่างมังงะ อนิเมะ จนถึงวรรณกรรมหลาย ๆ เล่มเองก็ตั้งคำถามถึงสิ่งนี้เสมอ ถ้ายังจำกันได้ ตอนโอลิมปิกส์ปี 2020 ที่ผ่านมา ทีมวอลเลย์บอลของทีมชาติญี่ปุ่น ก็มีท่าตบลูกอย่างกับหลุดออกมาจากเรื่อง Haikyu!! จนเป็นที่ฮือฮาไปทั่วโลก และอีกหนึ่งสื่อสุนทรีย์ที่ขับเคลื่อนชีวิตมนุษย์กว่าศตวรรษอย่าง ‘ภาพยนตร์’ ของญี่ปุ่น เมื่อพูดถึงความฝันเราจึงได้เห็นภาพยนตร์ที่อิงจากชีวิตจริงมนุษย์ ซึ่งพูดถึงการตามความฝันแต่ไม่สำเร็จอยู่บ่อย ๆ UNLOCKMEN จะมาชวนทุกคนถอดบทเรียนจากหนัง 4 เรื่อง ว่าด้วยเรื่องราวของเหล่าผู้คนในวันที่สู้เพื่อฝัน แต่ความจริงก็ซัดหมักหนักใส่ชีวิตเหลือเกิน เพื่อเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังทำตามฝัน หรือเคยมีฝันทุกคนใช้ชีวิตแบบที่ต้องการกันต่อไปครับ Solanin (2010) : จงทำตามความฝันให้เหมือนกับว่าพรุ่งนี้จะไม่ได้ฝันอีกแล้ว ไอเดียสำคัญจากหนังซึ่งดัดแปลงจากมังงะของ Inio Asano เรื่องนี้ คือการพูดกับคนดูด้วยน้ำเสียงปกติ ในวันที่แดดแรงพอจะทำให้ผ้าแห้งว่า “ทำความฝันวันนี้ให้เต็มที่นะ ถ้าพรุ่งนี้ตายไปจะได้ไม่ต้องเสียใจทีหลัง” ‘ความตาย’ เป็นสิ่งใกล้ตัวเราทุกคนเสมอ ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ความตายฟรีสไตล์จริง
Kazuhiro Hori เริ่มวาดรูปเด็กสาวมัธยมในชุดนักเรียนแบบกะลาสีเรือตั้งแต่ปี 2009 และมันมีความหมายแฝงที่ห่างไกลจากการสร้างความลุ่มหลงทางอารมณ์ให้คนดูยิ่งนัก ตุ๊กตาหมีขนปุย เด็กผู้หญิงในเครื่องแบบชุดนักเรียน ขนมหวาน และสีชมพู เป็นของ 4 สิ่งที่ไม่ว่าจะอยู่ในองค์ประกอบเดียวกัน หรือแยกออกมาเป็นปัจเจกก็ให้ความรู้สึกของความน่ารักที่เปี่ยมด้วยความสดใสน่าดูเลยใช่มั้ยครับ แต่ถ้าคุณได้ดูภาพวาดจากงานของ Kazuhiro Hori ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งเหล่านี้คงไม่มีวันเหมือนเดิมได้อีกเลย UNLOCKMEN จะพาทุกคนไปรู้จักกับศิลปินญี่ปุ่นผู้วาดภาพที่เต็มไปด้วยองค์ประกอบทั้งหมดที่เราเกริ่นมา ซึ่งตั้งใจแสดงออกถึงความลุ่มหลงทางเพศให้คนดู แต่แฝงนัยยะให้เกิดผลกระทบสร้างความแขยงต่อความคิดของการล่วงละเมิดทางเพศโดยตรง Kazuhiro Hori เกิดปี 1969 ในประเทศญี่ปุ่น จบจากโรงเรียนศิลปะ Kanazawa College of Art ด้วยเอกวิชาภาพวาดสีน้ำมัน (Oil Painting) ปัจจุบันโฮริมีงานหลักเป็นอาจาย์สอนวิชา Fashion Design ในมหาวิทยาลัยพร้อมกับรับงานรองสอนศิลปะกับวาดรูปไปด้วย โดยรูปแบบงานของโฮริจัดอยู่ในหมวดของศิลปินจิตกรรมสายเหนือจริง (Surrealism) ขอเกริ่นรูปแบบงานพร้อมชมกิตติมศักดิ์ของคุณโฮรินิดนึง โดยงานของเขาจะเล่าเรื่องของวัฒนธรรมญี่ปุ่นแบบเรียกว่า 100% เลยก็ว่าได้ และโฮริไม่เคยมั่นใจเลยว่างานของตัวเองจะสามารถไปในระดับ Global ได้ “งานของฉันจะถูกเข้าใจในความคิดของชาติอื่นได้มั้ย?” แต่แล้วด้วยความชัดเจนของลายเส้นและความหนักแน่นต่อสิ่งที่ต้องการจะพูด งานของโฮริมันก็ไวรัลในสายตาของคนทั่วโลกไปแล้ว ทั้งจัดแสดงในลอสแอนเจลิส, นิวยอร์ก, มิวนิค และเพิ่งมาจัดแสดงที่ประเทศไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2022
‘สเก็ตบอร์ด’ กีฬาที่น่าจะแสดงภาพของความอิสระของมนุษย์มากที่สุด ทั้งความเร็วที่เราเป็นคนกำหนดด้วยแรงของตัวเอง หรือการทะยานขึ้นไปบนอากาศเหมือนกับนกที่กำลังบิน แต่ความ ‘อิสระ’ ของสเก็ตบอร์ด มักถูกแปะด้วยภาพของผู้ชายเต็มไปหมด เหล่าสเก็ตเตอร์หญิงอยู่ตรงไหน และคำว่า ‘อิสระ’ นั้นอิสระจริงใช่มั้ย? เราชื่อว่าทุกสังคม ทุกกีฬา มีความไม่เท่าเทียมบางอย่างอยู่ในตัว แต่การปลดล็อคสิ่งนั้นเพื่อทลายกำแพงลง ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ ย้อนกลับไปในปี 2012 มีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ต้องการจะทำลายกำแพงที่ว่าโดยการตั้งกลุ่มสเก็ตบอร์ดที่มีแต่ผู้หญิงชื่อ The Skate Kitchen ขึ้น … เรื่องราวการต่อสู้ของพวกเธอถูกทำเป็นภาพยนตร์ในปี 2018 และถูกทำเป็นซีรีส์ 2 ซีซั่น ฉายทาง HBO มาแล้ว UNLOCKMEN อยากแนะนำให้ทุกได้รู้จักกับกลุ่มสเก็ตเตอร์หญิงจากนิวยอร์ก The Skate Kitchen ผู้ลุกขึ้นสู้เพื่อความเท่าเทียม ที่ไม่ใช่แค่เพื่อตัวเอง หรือเพื่อพื้นที่ของผู้หญิงต่อความเป็นปิตาธิปไตยของกีฬาสเก็ตบอร์ดเท่านั้น แต่พวกเธอทำเพื่อให้ทุกคนได้เล่นสเก็ตบอร์ดอย่างที่อยากจริง ๆ ลานสเก็ตบอร์ดของ Nina Moran พื้นที่ซึ่งผู้หญิงไม่ได้ถูกรับเชิญ ไม่ว่าคุณจะดูภาพถ่ายรวมกลุ่มของ The Skate Kitchen กี่ครั้ง เสื้อมัดย้อมที่ทำขึ้นเองซึ่งเข้าชุดมากับการสวมหมวกตลอดเวลาของ Nina Moran
นาทีนี้คงไม่มีข่าวเทคโนโลยีอะไรจะฮอตไปกว่าการรีวิว MacBook Air M2 ของ Apple บนสื่อออนไลน์-ออฟไลน์ทุกหัวอีกแล้ว (ใช้คำโบราณรู้อายุเลย) ก็เขาเล่นเปลี่ยนชิปประมวลผลตัวใหม่รุ่น M2 เรียกว่าล้ำสมัยที่สุดของ Apple บรรจุใส่ซีรีส์ MacBook Air อันกระทัดรัด ที่แรงจนไม่มีใครอดใจไหว แต่ออกรุ่นใหม่มาทั้งที จะอัพเกรดแค่ชิปประมวลผลก็ยังไงอยู่ ทาง Apple เลยออกสีใหม่ให้ตาวาวด้วยเลยละกัน พร้อมกับใส่ฟังก์ชั่นอีกมากมายเพิ่มเข้ามาด้วย เรามาดูกันดีกว่าว่ารุ่นนี้จะสเป็กบางเบาเป็นอากาศเหมือนชื่อ หรือแรงอย่างที่เคลมจริง ๆ หลังจาก UNLOCKMEN ได้ทดลองใช้งานจริง พร้อมกับสัมภาษณ์ตัวเองแล้วว่าชอบอะไรกับเจ้าเครื่องนี้บ้าง ไปดูกัน ขอชมดีไซน์การใช้งานภายนอกก่อนเข้าตัวเครื่องกันเสียหน่อย มาในเรื่องของ ‘สี’ และน่าจะเป็นสีใหม่ที่คนอยากเห็นของจริงพร้อมอยากได้มากที่สุด อย่าง Starlight Color ซึ่งผลคือ เป็นอย่างที่หลายคนคิดครับ … สวย! สีของจริงมิติคนละระดับกับในรูปบน istudio เยอะ การันตีความสวยจากการพกไปนั่งทำงานที่ Star Buck แล้วคนที่ผ่านไปมามองตลอดเวลา MacBook Air M2 มาด้วยขนาด 13 นิ้ว
ในความสัมพันธ์ของคู่รักเวลาที่ทะเลาะกันคุณเป็นคนแบบไหน ระหว่าง ‘ไม่พูดให้ปัญหาคลายตัวเอง’ หรือ ‘พูดให้หมดและจบตรงนั้น’ แน่นอนว่าไม่มีแบบที่ถูกและแบบที่ผิดแบบ 100% มีแต่แบบที่เหมาะสมสำหรับแต่ละสถานการณ์และของแต่ละคู่ต่างหาก แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นคนแบบไหน เราคิดว่าความสัมพันธ์จะยังไปต่อได้ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติเวลาอยู่ในอารมณ์หงุดหงิดของอีกฝ่ายเป็นอย่างดี พร้อมกับจัดการกับตัวเองให้ได้ว่าต้องไม่ทำให้เรื่องบานปลาย ควบคู่ไปกับการพิจารณาหนทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์นั้น เพราะปัญหาเกิดขึ้นแล้ว คุณย้อนเวลากลับไปไม่ได้ จงดีล วิท อิท แมน! ขอคุยกันเลยได้มั้ย ไม่อยากให้เราทะเลาะไปมากกว่านี้ ดอกเตอร์ Jason Whiting เปรียบปัญหาความของสัมพันธ์เป็นเหมือนเมล็ดของวัชพืช และบางปัญหาต้องรีบจัดการตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่รากจะหยั่งแล้วยุ่งเหยิงยิ่งกว่าเดิม ในการทำงานกับความเครียดที่เกิดขึ้นนั้น การจับเข่าเข้าคุยกันเป็นหนทางที่ดีสำหรับการเริ่มต้นเคลียร์ และส่วนที่สำคัญคือคำพูดเปิดประโยคที่เลือกมาต้องถูกไตร่ตรองมาอย่างแม่นยำต่อความรู้สึกของอีกฝ่าย เช่นคุณอาจจะเริ่มต้นว่า “ผมไม่ต้องการให้เราทะเลาะกันเลย และผมก็ให้มีความรู้สึกแย่ ๆ ติดตัวเราสองคน มาคุยกันหน่อยได้มั้ย” ในงานวิจัยของดอกเตอร์เจสันยังเสริมต่อไปอีกว่า ถ้าแสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนไปเลยตั้งแต่ต้น อีกฝ่ายมักจะแสดงผลตอบรับที่ดีกลับมา และอาจนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ในที่สุด คิดเป็นผลลัพธ์ที่จบลงตัวอย่างดีมีค่าตัวเลขมากถึง 96% และปัญหาจะจบลงภายใน 3 นาทีที่คุยกัน ย้ำอีกครั้งว่า การเริ่มต้นคุยด้วยคำถามที่คิดมาอย่างดีและเยือกเย็น บทสนทนาจะต่างจากการใส่อารมณ์ เค้นถาม และจี้อีกฝ่ายแบบหน้ามือเป็นหลังมือ การให้ความเคารพต่อกันและกันเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าคุณจะอยู่ในฝ่ายที่สร้างปัญหาขึ้นมาหรือไม่ ต้องไม่ลืมที่จะจริงใจและแสดงความรับผิดชอบกับปัญหาเสมอ ถ้ายังต้องการที่จะไปต่อ พูดถึงการเริ่มต้นประโยคแล้ว
ประตูสู่โลกอนาคตได้ถูกผลักออกให้กว้างขึ้นอีกครั้ง เมื่อ Siam Discovery จับมือกับ 3 ขุมพลังแห่งยุคดิจิทัล Nimit Studio สตูดิโอสถาปนิกแห่งโลกเสมือน, Cryptomind บริษัทที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำ และ Fairtex ผู้นำธุรกิจอุปกรณ์การต่อสู้มวยไทย พาทุกคนท่องสู่ Metaverse ใน The Sandbox ที่ถูกจำลองขึ้นมาอยู่บนพื้นที่จริง กับโปรเจค Fight For The Future พร้อมเปิดตัว Jinta Valley แลนด์แรกที่สร้างขึ้นโดยฝีมือคนไทย ให้เราได้เข้าไปเล่นก่อนใครในโลก! ตัวงานจะแบ่งออกเป็น 2 โซนอยู่ที่ ‘ชั้น G’ กับ ‘ชั้น 4’ และ UNLOCKMEN ได้ไปเห็นโลกอนาคตนี้มาแล้ว เราจะมาสปอยล์รายละเอียดและกิจกรรมแบบเลียงตามลำดับชั้น ที่บอกเลยว่านี่คือโลกของคนยุคใหม่จริง ๆ ก่อนที่ทุกคนจะไปดูงานกัน จุดเริ่มต้นของทุกอย่างของงานอยู่ในชั้น G ตรงส่วนที่ให้เรา Customize ตัว Avatar เป็นของตัวเอง ซึ่งถูกต้องมาก ๆ
นักฆ่าขวัญใจทุกคน John Wick กลับมาแล้วในภาคที่ 4 พร้อมปล่อยตัวอย่างจนแฟน ๆ ทั่วโลกแทบจะอดใจรอกันไม่ไหว ซึ่งนอกจากความมันส์ กับคุณคีอานูที่เข้าถึงคาแรคเตอร์แบบเท่สุด ๆ แล้ว ประเด็นเรื่อง ‘การต่อต้าน’ หรือ ‘การฝืน’ ในสิ่งที่เราไม่อยากเป็น แม้ว่าจะทำสิ่งนั้นได้ดีแค่ไหนก็ตามเป็นอีกสิ่งที่น่าสนใจของหนังเรื่องนี้ ใน John Wick คือการแก้แค้นให้กับสิ่งที่เขารัก พร้อมกับการตระหนักถึงศีลธรรมว่าอาชีพของตัวเองมีความเทาอยู่สูง แล้วจะเคลียร์อย่างไรถึงจะสามารถไปใช้ชีวิต ‘ปกติ’ ที่มีบ้าน มีอาหาร 3 มื้อ มีสิ่งที่รักให้ยึดเกาะชีวิตในแต่ละวันได้ล่ะ การที่ยังมีภาคต่อออกมาเรื่อย ๆ แสดงว่ามันยังไม่ใช่สิ่งที่เขาจะสำเร็จได้ง่าย ๆ และเราทุกคนได้แต่หวังว่าในหนังภาคสุดท้าย (ไม่รู้ว่าปีไหน) จอห์นจะได้ใช้ชีวิตแบบที่ต้องการ UNLOCKMEN ชวนอ่านมังงะ 6 เล่ม ว่าด้วยนักฆ่ากลับใจ ผู้พยายามอย่างหนักเพื่อหนีจากชีวิตที่ตัวเปรอะไปด้วยเลือด แล้วมุ่งหน้าสู่ความสามัญแสนเรียบง่ายให้ได้ แม้จะรู้ตัวดีว่ามันจะยากกว่าทุกงานที่พวกเขาเคยได้รับก็ตาม The Fable (2014) เมื่อนักฆ่าในตำนานผู้ใช้ฉายาว่า The Fable ถูกหัวหน้าขององค์กรที่สังกัดอยู่สั่งให้วางมือซะ แล้วจงไปใช้ชีวิตเงียบ ๆ อยู่ในเมืองเล็ก