ถ้าให้พูดชื่อซิทคอมยุคปลาย 90s ในดวงใจมาสักเรื่อง มั่นใจเลยว่าไม่มีใครสามารถเลือกเรื่องเดียวได้หรอก ก็ในช่วงเวลานั้นมีทั้ง Sex and the City (1998-2004) และ Friends (1994-2004) ในช่วงเวลาเดียวกัน ยังไม่นับเรื่องอื่น ๆ อีกเต็มไปหมด แต่เราอยากขอให้ทุกคนเหลือที่ว่างในใจเผื่อเอาไว้อีกสักที่ครับ เพราะซิทคอมเรื่อง That ’70s Show เป็นโชว์ที่เราไม่อยากให้ชาว UNLOCKMEN พลาดเด็ดขาด กัญชา, เพลงร็อค และ ชีวิตของวัยรุ่นอเมริกันปี 70s คือสิ่งที่ขับเคลื่อนซิทคอมเรื่องนี้ That ’70s Show คือซิทคอมที่ออกฉายในปี 1998-2006 เล่าเรื่องราวของกลุ่มวัยรุ่นสุดเบียวปินเกลียวผู้ปกครองให้หัวจะปวดไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งโดดเรียน แอบไปกินเบียร์ทั้ง ๆ ที่ยังอายุไม่ถึง หนักถึงขนาดแอบดูดกัญชาอยู่ในห้องใต้ดินในขณะที่พ่อ-แม่อยู่ข้างบน ผ่านฉากหลังของเมือง Point Place (เมืองสมมติ) ในรัฐ Wisconsin (อันนี้มีจริง) ในปี 70s รู้จักตัวละครกับนักแสดงของเรื่อง : Eric Forman (Topher
เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเรียบร้อยกับ Brand Friend คนที่ 3 ของ Seiko นักแสดงที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี ‘อเล็กซ์ เรนเดลล์’ ผู้ร่วมก่อตั้ง Environmental Education Centre หรือ ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา (EEC) องค์กรที่มุ่งหวังในการส่งเสริมให้สังคมมีความรู้ และความเข้าใจต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม พร้อมลงมือปกป้องธรรมชาติให้ยั่งยืนมาโดยตลอด โดยการร่วมมือระหว่าง Seiko ในครั้งนี้ หนุ่มอเล็กซ์มาเพื่อผนึกกำลังให้กับแคมเปญเพื่อโลกที่ชื่อว่า Sustainable for Life พร้อมกับ 2 โปรเจกต์เพื่อรักษาธรรมชาติได้อย่างครอบคลุมทั้งโลกบนบกและโลกใต้ทะเล กับ Seiko Save the Ocean และ Seiko Save the Forest ท่ามกลางบรรยากาศที่โอบล้อมด้วยธรรมชาติอันเขียวชอุ่มในป่าใหญ่ ของโรงแรม Bangkok Marriott Hotel The Surawongse นั้น ทำให้นึกขึ้นได้ว่าจริง ๆ โปรเจกต์ Save the Ocean ที่มีขึ้นเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ท้องทะเลของประเทศไทยของ
ขอเข้าเรื่องแบบไม่รีรอ คอนเทนต์นี้ UNLOCKMEN จะมาแนะนำ 3 ร้านกิน ดื่ม ชิล ที่ต้องไปให้ได้ในช่วงเวลาที่ลมหนาวเดือนธันวาคมยังคงอยู่กับประเทศไทย เลื่อนลงไปอ่านแล้วโทรนัดเพื่อนออกมาเลย เพราะลมหนาวใกล้จะไปแล้ว ! Everyday Mookrata & Cafe (Riverside) : ตอนเช้า American Breakfast / ตอนบ่ายเอ็นจอยหมูกระทะ / ตอนกลางคืนจิบเบา ๆ ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา “หมูกระทะกินกับอะไรก็อร่อย” ไม่มีอะไรจะถูกต้องไปกว่าคำพูดข้างบนไปมากกว่านี้อีกแล้ว ยิ่งช่วงท้ายของปีอากาศของลมหนาวพัดผ่านร่างก็ยิ่งตอกย้ำความถูกต้องในความอร่อยของหมูกระทะมากขึ้นไปอีก และไม่มีร้านหมูกระทะไหนจะสไตล์จัดได้เท่ากับ Everyday Mookrata & Cafe (Riverside) ที่เขาเพิ่งเปิดสาขาใหม่เมื่อเดือนธันวาคมนี่เอง โดดเด่นด้วยการเป็นร้าน 3 in 1 เป็นทั้งคาเฟ่ บาร์ ร้านหมูกระทะ แถมยังอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา วิวหลักล้านเห็น Icon Siam อยู่ฝั่งตรงข้าม ให้เราได้มองพระอาทิตย์ตกดินไปด้วยกัน ข้อดีของ Everyday Mookrata & Cafe
พออายุเข้า 28 แล้วเนี่ย เราพบว่าตัวเองเป็นคนอ่านการ์ตูนที่ชอบเสพมังงะ One-Shot (ตอนเดียวจบไม่มีภาคต่อ) แบบถอนตัวไม่ขึ้นเลยล่ะ แล้วเหตุผลก็ง่ายมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่มีเวลาอ่านการ์ตูนตอนยาว ตัวละครเยอะ เหตุการณ์ซับซ้อน และจำดีเทลได้ไม่หมดด้วย (คนแก่เว่อร์) แต่อีกส่วนสำคัญมันคือ ‘ความกลมกล่อม’ เราพบว่ามังงะ One-Shot ที่ดี มีพลังส่งต่อความรู้สึกได้เท่า ๆ กับมังงะที่ต้องใช้เวลาอ่านถึง 20 เล่มในการปูทางเพื่อจะอิมแพ็ค เรียกว่าน้อยแต่มาก ตอนเดียวน้ำตารื้นได้เลย และ Pen Pal At The End Of The World ที่กำลังจะแนะนำก็มีพลังถึงขนาดนั้นครับ Pen Pal At The End Of The World มังงะปี 2021 ผลงานเดบิวต์ของ Iwata Sekka ที่ทำร่วมกับ Matsuura Kento (ผู้วาด Phantom Seer) –
ระหว่างที่เขียนคอลัมน์นี้อยู่ ก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ Milli (ดนุภา คณาธีรกุล) ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 100 สตรีผู้เป็นแรงบันดาลใจและทรงอิทธิพลจากทั่วโลก ประจำปี 2022 จากสำนักข่าว BBC โอ้มายก็อดส์! ความรู้สึกเดียวที่เรามีให้เลยคือ ‘ยินดีด้วย’ เพราะตลอดการเดินทางของแร็ปเปอร์คนนี้ไม่มีคำว่าฟลุ๊ค จะเป็นการแสดงสดที่เทศกาลดนตรี Cochella หรือการได้ร่วมงานกับค่าย 88 Rising ผงาดพลัง Asia Power สู่เวทีโลก ล้วนสะท้อนภาพความพยายามอย่างหนักทั้งนั้น และอัลบั้มแรกในชีวิตของเธอ ‘BABB BUM BUM (แบบเบิ้มเบิ้ม)’ ภายใต้สังกัด Yupp ก็เป็นอีกผลงานที่เต็มเปี่ยมด้วยความพยายาม ภายใต้อัลบั้มที่มีพาร์ทดนตรีสุดปั่น และไรห์มสุดยียวน นี่คืออัลบั้มที่ศิลปินผู้รู้จักตัวเองเป็นอย่างดี และรู้ว่าเพลงของตัวเองสามารถเป็นอะไรได้บ้างโดยไม่ทำให้เสียเอกลักษณ์ตัวตนแม้แต่น้อย และมันไม่ใช่เพราะว่า Genre ของ Hip-Hop ที่อนุญาตให้ดนตรีหลากหลายด้วยนะ แต่ Milli ทำให้เพลงทั้ง 10 อัลบั้มเป็นเรื่องราวของตัวเองจริง ๆ สำหรับเราในวันนี้ Milli ได้กลายเป็นตัวละครเอกของมังงะชีวิตที่ตัวเองเขียนไปแล้ว เป็นตัวละครที่บ้าพลัง มุทะลุชนทุกกำแพง และแม้จะย่อท้อก็สามารถลุกขึ้นมาร้องเพลงใหม่ได้เสมอ
ในช่วงเวลาปีแรกของการทำงาน (ประมาณ 4-5 ปีที่แล้ว) เราซื้อหนังสือเรื่อง The Catcher in the Rye ของ J. D. Salinger จากร้านหนังสือออนไลน์แห่งหนึ่ง โดยมีเหตุผลไม่ได้ซับซ้อนว่า เป็นหนังสือที่ถูก Name Drop ในหนังไฮสคูลอเมริกันหลายเรื่อง ในแง่ที่ว่าเป็นหนังสือนอกเวลาที่ต้องใช้อ่านเพื่อเขียนเรียงความส่ง ซึ่งหนังที่เรารักที่สุดในชีวิตอย่าง The Perks of Being a Wallflower (2012) ก็พูดถึงวรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้เช่นกัน เราได้อ่านหนังสือเล่มนี้จริง ๆ ตอนออกจากงานแรกที่พูดถึงในรรทัดก่อน แปลกดี (1) หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องของเด็กหนุ่มวัยมัธยม Holden Caulfield กับช่วงเวลาการเติบโตสั้น ๆ ขณะขึ้นรถไฟไปนิวยอร์ก ซึ่งเต็มไปด้วยการตะโกนโหวกเหวกโวยวายของตัวละครตลอดทั้งเรื่อง แปลกดี (2) หลังจากผ่านไป 3 เดือนที่อ่านหนังสือเล่มที่ว่าจบ เราอ่านหนังสือเล่มไหนต่อไม่ได้เลย เพราะเรื่องราวของโฮลเดนยังค้างคาในจิตใจของตัวเอง วนเวียนอยู่ในความทรงจำเป็นระยะ ๆ ตลอดมา UNLOCKMEN ขอแนะนำให้เหล่าหนอนหนังสือได้รู้จักกับ Book
Next Cover, Same Mood ตอนที่ 4 นี้เราขอเปลี่ยนอารมณ์กันเล็กน้อย จาก ‘หนังสือ’ สู่ ‘ภาพยนตร์’ หลังจากที่ทำไป 3 ตอนแรกแล้วพบว่า เพลงบางเพลงจะมีภาพยนตร์อันเป็นตัวแทนอารมณ์ที่เหมาะกว่าหนังสืออยู่บ้างเสมอ ๆ และเพราะวง Dept เอง ก็มีจุดกำเนิดชื่อวงมาจาก Johnny Depp ที่มีความเกี่ยวข้องกับหนังอยู่ด้วย (พยายามหาเหตุผลสุด 555) แต่เชื่อใจเราได้เลย ว่าหนังเองก็สามารถต่ออารมณ์อันไม่ยอม Move On จากเพลงที่รักได้ดีไม่ต่างกันอย่างแน่นอน ถ้าให้พูดถึงหน้าตาของ Sound of Smallroom ใน gen 3 เราสามารถยกเอาวง Dept ขึ้นมาอยู่หัวแถวได้เลย ในความหมายที่ว่า เป็นประตูสู่ซุ่มเสียงเพลง POP ยุคใหม่ของค่ายห้องเล็ก และเป็นเพลงตัวแทนของหลากความรู้สึกของวัยรุ่นไทย Gen y และ Gen z ด้วย .. อัลบั้ม Ceramics Runway
ช่วงกลางดึกคืนหนึ่งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผมบังเอิญได้เห็นหน้าฟีดบนเพจ Facebook ของ Shonen MainStream โพสต์ว่ามีมังงะน่าสนใจออกใหม่ ที่กำลังไฮป์อย่างมากชื่อ Takopi’s Original Sin ซึ่งมียอดอ่านออนไลน์สูงเป็นระดับปรากฎการณ์ของการ์ตูนญี่ปุ่น-ในตอนที่ 1 มีคนกดอ่านรวมกว่า 8 ล้านครั้ง และตอนที่ 16 ซึ่งเป็นตอนจบก็มีคนอ่านภายในวันเดียวถึง 3 ล้านครั้งเลยทีเดียว (อัพเดทข้อมูล 14/11/2022) แต่ทว่า นั่นยังไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ผมสนใจมังงะเรื่องนี้ซะทีเดียว แต่เป็นเป็นเพราะคำเตือนถึง 2 ครั้งของทางเพจ ที่บอกว่าการ์ตูนเรื่องนี้มีเนื้อหาที่สะเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรงมาก ถึงแม้ว่าพล็อตเรื่องจะมีความคล้ายกับ Doraemon ก็ตาม … นี่ล่ะคือสิ่งที่ดึงดูดผมเข้าสู่โลกของ Takopi’s Original Sin ของจริง ขอยอมรับแบบไม่ปกปิด ผมรู้สึกผิดอยู่บ้างที่ไม่เชื่อการเตือนถึง 2 ครั้งอย่างหวังดีนั้น เพราะเรื่องราวของ Takopi’s Original Sin ทำเอาหดหู่อย่างมากหลังอ่านจบ-ในระดับที่เกือบจะเขียนคอลัมน์นี้ไม่ไหว ซึ่งถ้าจะให้อธิบายความรู้สึกของผมออกมาเป็นภาพ มันก็คงเหมือนกับกำลังเดินเข้าหาคมมีดเป็นพันเล่ม โดยที่ก่อนหน้านั้นดื่มยาพิษเข้าไปอึกใหญ่ โลกของมังงะเรื่องนี้เต็มไปด้วยความไม่น่าไว้ใจ ความกระอักกระอ่วน ความเจ็บปวด เกินกว่าจะหายใจได้อย่างเต็มปอดและรู้สึกปลอดภัยขณะที่อ่าน แต่ก็ต้องบอกว่า
การกลับมาของอัลบั้มชุดที่ 6 (เลขจริงที่ไม่ได้ตั้งเอาชื่อมงคลแบบชุดที่ 8) ของวง POP ที่ม่วนที่สุดในค่ายห้องเล็ก Smallroom ชื่อ Tattoo Colour หลังจากที่หายจากการปล่อยอัลบั้มเต็มถึง 5 ปี แล้วก็ต้องบอกว่าพวกเขากลับมาอย่างสม ‘ศักดิ์ศรี’ จริง ๆ ทั้งการมีชื่อด้อมของตัวเองเป็นครั้งแรกว่า ‘ชาวนัวร์’ ไปจนถึงคอนเซปต์ของการทำอัลบั้ม ‘เรือนแพ ชุดที่ 6’ ที่ทั้ง 4 คนเช่าบ้านอยู่ด้วยกันเพื่อตกผลึกเพลงของทั้งอัลบั้ม จนทำให้กลายเป็นอัลบั้มที่สำหรับแฟน ๆ แล้ว ใช้คำว่า ‘ใช่’ ได้อย่างสิ้นเปลืองที่สุด ย้อนเวลากลับไปในปี 2008 ตอนที่อัลบั้ม ‘ชุดที่ 8 จงเพราะ’ กำลังโปรโมทซิงเกิล ‘จำทำไม’ อยู่นั้น มันเป็นตอนเดียวกับที่ผู้เขียนกำลังนั่งเรียนพิเศษเพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามัธยมปลาย ช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อ เขาว่ากันว่าเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญและยากที่สุดในชีวิตวัยรุ่น แต่เราก็โชคดี ที่มีเพลงของ Tattoo Colour เป็นเหมือนซาวด์แทร็คประกอบชีวิต ชุบชูจิตวิญญาณของเด็กคนนั้นให้การเติบโตอย่างไม่ยากจนเกินไปนัก และในปัจจุบันที่เป็นผู้ใหญ่วัยทำงานแล้ว ความเป็นเด็กของเราก็ยังถูกซ่อนไว้ในความทรงจำที่มีร่วมกับเพลงของพวกเขาเสมอ จะเปิดเพลงไหน เปิดเมื่อไหร่
ต้องบอกว่า The Last Of Us เกมจากค่าย Naughty Dog ไม่เคยห่างหายจากเหล่าเกมเมอร์ไปไหนเลยเป็นเวลาเกือบ 10 ปีแล้ว นับตั้งแต่ปล่อยภาคแรกออกมาให้เล่นในปี 2013 บน Playstation 3 เรื่อยมาจนถึง The Last of Us Part II ภาคต่อในปี 2020 บทสรุปของเรื่องราวทั้งหมดของซีรีส์ บน Playstation 4 จนล่าสุดปี 2022 ด้วยความทนกระแสแรงกดดันจากเหล่าเกมเมอร์ไม่ไหว ทางค่ายหมาซนก็ได้ Remaster ภาค 1 จุดเริ่มต้นของเกมใหม่ (อีกครั้งหลังจากที่รีมาสเตอร์ไปครั้งนึงแล้ว) ในชื่อ The Last of Us Part I บนเครื่อง Playstation 5 และไม่ใช่แค่ปรับให้กราฟิกงดงามเท่ากับ The Last of Us Part II