ความเป็นเกาะของประเทศญี่ปุ่นมีภูมิประเทศที่เป็นภูเขาครอบคลุมพื้นที่มากถึง 73% และป่าปกคลุม 69% ของประเทศ (อ้างอิงจากข้อมูลจากปี 2017) และเป็นที่รู้กันดีว่าแดนอาทิศอุทัยอุดมด้วยเหล่าผู้คนที่หลงใหลในความเร็วแทบจะทุกพื้นที่ เมื่อสมการของสถานที่อันแสนท้าทาย ผสมกับการเกิดของนักแข่งรถที่รักในความเร็ว เราจึงได้ Tōge สนามแข่งรถที่โอบล้อมด้วยความสวยงามแฝงอันตรายของธรรมชาติขึ้นมา UNLOCKMEN ขอพาทุกคนไปรู้จักกับสถานที่แข่งรถในตำนานของญี่ปุ่น ที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับมังงะชื่อ Initial D และเป็นจุดกำเนิดของการ ‘ดริฟต์’ ของโลก พร้อมกับการสร้าง Drift King ขึ้นมา ที่มาของ Tōge หรือ Touge ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า ‘ผ่าน’ ซึ่งใช้เรียกถนนที่สร้างเป็นทางโค้งรูปตัว S ที่ตัดอยู่บนรอบภูเขาที่มีอยู่ทั่วประเทศญี่ปุ่น สร้างขึ้นเพื่อลดการขึ้นของทางอันลาดชัน จนสามารถทำให้รถวิ่งเต็มที่ 2 เลนได้อย่างสะดวก ในอดีตแรกเริ่มเดิมทีมีเพื่อใช้สำรวจภูเขา ต่อมาจึงตัดถนนเพิ่มจนสามารถใช้สัญจรทั้งในการเดินทาง และเชิงพาณิชย์ได้ และเมื่อเข้าสู่ช่วงปี 80s – 90s เหล่านักแข่งรถก็เริ่มมองเห็นเส้นทางใหม่ ที่ท้าทายยิ่งกว่าสนามแข่งไหน ๆ ที่เคยมีมา การใช้เส้นทาง Tōge เป็นสนามแข่งรถนั้น ผิดกฎหมายมาก ๆ ในญี่ปุ่น
พอจะเข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2022 วงที่เรารักก็พร้อมใจกัน Come Back ปล่อยอัลบั้มใหม่หรือเพลงใหม่กันรัว ๆ และหลาย ๆ วง ก็พากันมาทัวร์เยือนเมืองไทย ตอกย้ำคอนเซปต์ #กรุงเทพเมืองคอนเสิร์ต ให้หนักแน่นกันไปเล้ยยย เดือน 8 แล้วคุณพี่ก็ยังคงทยอยประกาศทัวร์กันอย่างต่อเนื่อง เป็นเศร้าไม่มีเงินแล้ว : ( ในการปล่อยเพลงใหม่ในแต่ละครั้ง นอกจากความน่าสนใจในผลงานเพลงที่เติบโตขึ้น บ้างก็เปลี่ยนแปลงไปเลย อีกสิ่งที่มาควบคู่กันทุกครั้งคือ ‘ลุค’ ที่ต้องปรับทุกครั้งที่ปล่อยเพลงใหม่ UNLOCKMEN ขอแคปเจอร์ลุคจากเหล่าฟรอนต์แมนที่เราหลงใหล เป็นแรงบันดาลใจช่วยให้อยากแต่งตัวสนุกในชีวิตจริงกัน Alex Turner (Arctic Monkeys, The Last Shadow Puppet) การกลับมาที่ซีนดนตรี Indy Rock รอคอย กับวงที่เป็นหัวแถวและผู้นำทางดนตรีแห่งยุคสมัย Arctic Monkey ที่ประกาศอัลบั้มใหม่ชื่อ The Car พร้อมกับกำหนดปล่อยให้ฟังพร้อมกันทั้งอัลบั้มในวันที่ 21 ตุลาคมนี้แล้ว เย้! สิ่งที่น่าสนใจทุกครั้งของ Arctic Monkey คือการปรับเปลี่ยนแปลงลุคของฟรอนต์แมน
พลังของ Soft Power นั้นน่ากลัวกว่าที่คิดนะครับ ในหลาย ๆ ครั้งเนื้อหาของคอนเทนต์ก็เข้ามาควบคุมจิตใจเรา สะกดจิตให้เกิดความอยากต่าง ๆ นา ๆ สั่งให้เดินไปที่ตู้เย็นเปิดหยิบน้ำแข็งบ้าง หาเครื่องดื่มเย็น ๆ บ้าง หรือไปจนถึงจัดจานวางถั่วใส่เพื่อกินคู่กันบ้าง เฮ้ออ ขออนุญาตหยิบเครื่องดื่มก่อนจะเขียนบรรทัดถัดไปครับ UNLOCKMEN ชวนทุกคนดูหนังและซีรีส์ในวันที่ต้องการพักผ่อน ปล่อยตัวอยู่บนโซฟา ละเมียดเครื่องดื่มเย็น ๆ แล้วปล่อยให้มันชำระล้างความเหนื่อยล้าของวันจนหมดสิ้น Weakest Beast (2018) ซีรีส์เพชรเม็ดงามจากแดนอาทิตย์อุทัย ซ่อนตัวอยู่ใน Netflix มาหลายเดือนแล้วแต่ไม่ได้ถูกหยิบมาพูดถึงเท่าไหร่ ว่าด้วยเรื่องราวของผู้คนในชีวิตวัยทำงาน ที่มีปัญหาในความฝันกับการใช้ชีวิตซึ่งต้องก้าวผ่านไปให้ได้ ผ่านตัวละครหลัก 2 ตัว ‘โคเซ’ ชายหนุ่มเจ้าของสำนักงานทนายความที่ต้องเลือกระหว่างการทำผิดกฎหมายเพื่อช่วยคนอื่น และ ‘อากิระ’ หญิงสาวพนักงานออฟฟิศที่ Job Description เยอะเกินหน้าที่ จนเธอตั้งคำถามว่าการงานที่ทำอยู่อย่างนี้มันดีแล้วเหรอ ทุกครั้งที่ตัวละครมีเรื่องทุกข์ใจเกิดขึ้น (ซึ่งก็มีทุกตอนแหละ) ทุกคนมักเลือกแก้ปัญหาด้วยการไปที่ร้าน 5 Trap บาร์ที่มีเครื่องดื่มพร้อมกับเจ้าของร้านที่เป็นผู้รับฟังที่ดีคอยบริการอยู่ ปัญหาของพวกเขาค่อย ๆ ได้รับการแก้ไข เมื่อเครื่องดื่มถูกเสิร์ฟเคล้ากับบรรยากาศที่มีแสงไฟสลัวของร้าน
ช่วงนี้บนหน้าฟีดบน Facebook เป็นอะไรไม่รู้ มีแต่ร้านอาหารที่ขายเมนู Fish & Chip เต็มไปหมด โดนอัลกอริทึ่มโจมตีต่อมความหิวอย่างหนัก ตอนเวลาประมาณ 3-4 ทุ่มทุกวันเลย แต่ไม่เป็นไร เพราะโดยทุนเดิมก็เป็นคนรักในวัฒนธรรมอาหารสไตล์อเมริกันอยู่แล้ว จะการตกแต่งร้านก็ดี จะอาหารก็ดี แล้วก็พยายามนึกให้ออกว่าครั้งสุดท้ายที่ไปนั่งกิน Fish & Chip อย่างจริง ๆ จัง ๆ มันคือตอนไหนกันนะ .. เห้ย! นานมากแล้วนี่หว่า นั้นเป็นโอกาสดีเลยที่จะได้อัพเดทกับตัวเองและเพื่อน ๆ ทุกคนที่ชอบ American Diner เหมือนกัน UNLOCKMEN จะพาไปตะลุยร้านอาหารสไตล์ American Diner ที่น่าสนใจในปี 2022 ไปปักหมุดพร้มกันเลย The Diner 3021 ขอเปิดร้านแรกแบบยิ่งใหญ่และเขาเพิ่งเปิดได้ไม่นาน ซึ่งออกตัวเลยว่าเป็น NO.1 ที่เราอยากไปตอนนี้เลย นั่นก็คือ The Diner 3021 ร้านที่ให้อารมณ์เหมือนได้สวมบทเป็นตัวละครจาก Riverdale ซีรีส์
สำหรับปี 2022 ก็เป็นระยะเวลาที่มังงะโจรสลัดอันดับหนึ่งของโลกอย่าง One Piece เข้าขวบที่ 25, ความยาว 1,000 ตอน และ จำนวนเล่มที่ 100 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหล่าแฟนคลับคงจะได้อ่านข้อความขอบคุณผู้อ่านอันยาวเหยียดของอาจารย์ ‘เออิจิโระ โอดะ’ กันแล้วใช่มั้ยครับ ระหว่างที่เขาเขียนจะมีน้ำตารึเปล่าก็ไม่รู้ แต่เชื่อว่าทุกคนที่ติดตามกลุ่มโจรสลัดหมวกฟางมาตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น มีเรือของพวกเขาเทียบท่าอยู่ในใจตลอดมา ต้องเสียน้ำตากันอย่างแน่นอน เมื่ออาจารย์โอดะทิ้งท้ายข้อความจดหมายเอาไว้ว่า ‘เนื้อเรื่องได้เดินทางเข้าสู่ช่วงสุดท้ายกันแล้วครับ’ พอคิดล่วงหน้าถึงวันที่ตอนจบมาถึงก็คงจะเศร้าที่ต้องจากลา แต่ก็คงโล่งใจไม่น้อยที่ได้รู้บทสรุปเสียที เพื่อเป็นการฉลองให้กับความยิ่งใหญ่ของการ์ตูนโจรสลัดกับ The Movie ลำดับที่ 15 ในชื่อตอน One Piece Film RED ซึ่งพาเราไปรู้จักกับตัวละครใหม่อย่าง ‘อูตะ’ สาวน้อยไอดอลในโลกของโจรสลัด และความลับในอดีตของจักรพรรดิผมแดงอย่าง ‘แชงค์’ ที่แฟน ๆ ทั่วโลกอยากรู้มาโดยตลอด One Piece Film RED เข้าฉายแล้วทุกโรงภาพยนตร์ในวันที่ 23 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา แต่สำหรับที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งฉายก่อนตั้งแต่วันที่ 6
นี่เป็นคนชอบอ่านมังงะที่มีความเรียลชีวิตจริงแบบเศร้า ๆ มาก แล้วทุกครั้งจะต้องเศร้าตามพร้อมกับเสียน้ำตาไปหลายลิตร แต่มันไม่ใช่เพราะว่าเราเสพติดความเศร้าหรืออะไรนะ มันเป็นเพราะความเศร้าได้สร้างคุณค่าให้ชีวิตเรา ไปพร้อม ๆ กับเติมเต็มว่าปัจจุบันเรายังมีชีวิตอยู่ วันนี้อยากจะขอพูดถึงมังงะภาพสวย พล็อตแสนเศร้า ซึ่งมาพร้อมกับบทสรุปอันแสนงดงาม ชื่อ My Broken Mariko ผลงานเดบิวต์ปี 2020 ของคุณ Waka Hirako ผู้ที่เขียนพร้อมวาดมังงะเรื่องนี้จากประสบการณ์ตรงในชีวิตของตัวเอง โดยเลือกถ่ายทอดความเจ็บปวดได้อย่างเข้าใจ * Trigger Warning ต้องขอเตือนก่อนเลยว่า My Broken Mariko เป็นมังงะที่มีเนื้อหาซึ่งจะส่งผลกระทบต่อจิตใจอย่างรุนแรง ด้วยภาพของการทำร้ายในครอบครัว และภาพของการพยายามจบชีวิตตัวเองของตัวละคร * แต่ UNLOCKMEN อยากให้คุณได้อ่านการ์ตูนเรื่องนี้ ที่พาเราไปสัมผัสกับ ‘อาการซึมเศร้า’ แบบที่ใกล้ที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งมาพร้อมกับคุณค่าดี ๆ มากมายเพื่อให้เรามีชีวิตอยู่กันต่อไป เรื่องย่อ : หลังจากที่ได้ยินข่าวว่า ‘มาริโกะ’ จากไปอย่างกระทันหันด้วยสาเหตุที่ไม่ใช่แค่เธอเท่านั้น แต่ไม่ว่าใครก็ไม่มีทางรับได้ ‘ชิอิโนะ โทโมยะ’ ผู้เป็นเพื่อนสนิทของเธอ ถ้าจะพูดให้ถูกต้องคือเป็นเพื่อนคนเดียวถึงจะถูกกว่า รู้ถึงสาเหตุเบื้องหลังนี้ จึงออกไปโขมย
เพราะวรรณกรรมเต็มไปด้วยความสวยงามที่เกิดจากความเมามายทางอารมณ์มากมาย ไม่ว่าจะในเนื้อเรื่องที่ถูกแต่งขึ้นก็ดี หรือตัวนักเขียนเองที่ใช้เป็นแรงขับเคลื่อนในการจรดปากกาแต่ละตัวอักษรก็ดี ไปจนถึงการมีแพชชั่นในการดื่มโดยส่วนตัว อย่างผู้เขียน Ernest Hemingway ผู้เขียน Old Man and The Sea ก็ถึงขนาดเปิดแบรนด์เครื่องดื่มของตัวเองขึ้นมาเลย ในนิยายซีไรต์ของ ‘ชาติ กอบจิตติ’ เรื่อง คำพิพากษา เครื่องดื่มเย็น ๆ ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการ ‘ลืม’ โดยหมายถึงการลืมว่าโลกในชีวิตจริงเป็นอย่างไร แล้วอาศัยอยู่ในโลกหลังแอลกอฮอลล์แทน หรืออดีตนายกของประเทศไทย ‘คึกฤทธิ์ ปราโมช’ ก็เขียนรวมเรื่องสั้นขนาดยาวชื่อ หลายชีวิต ที่มีโทษของการใช้เครื่องดื่มเพื่อเป็นสุดยอดนักเขียนบันทึกเอาไว้ด้วย ความสัมพันธ์ระหว่าง ‘เครื่องดื่มเย็น ๆ’ กับ ‘วรรณกรรม’ เป็นสิ่งที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาอย่างยาวนาน เพราะมนุษย์ยังคงดื่มและเขียนอย่างไม่มีทางสิ้นสุด UNLOCKMEN จะพาทุกคนไปรู้จักกับเครื่องดื่มที่ได้แรงบันดาลใจมาจากหนังสือเล่มดังกัน First Rule India Pale Ale (Fight Club) “กฎข้อแรกของไฟต์คลับ ห้ามพูดถึงไฟต์คลับ” จากนิยายเล่มดังของ Chuck Palahniuk สู่หนังไอคอนิกในปี 1999 โดย
หลังจากเคยถอดออกจาก Netflix (ไทย) ไปแล้วครั้งนึง ตอนนี้ Death Proof ภาพยนตร์ปี 2017 ของเจ้าพ่อหนังคัลท์ยุคใหม่ Quentin Tarantino ก็กลับมาสตรีมมิ่งอีกครั้ง ใครที่ยังไม่เคยดูบอกเลยห้ามพลาด! ด้วยเสน่ห์ที่มีกลิ่นอายความสยองขวัญแบบปี 80s ซึ่งมาพร้อมกับความฟิล์มนัวร์ Noise มาเต็มที่ได้อารมณ์มาก ๆ และถ้าคุณรักรถ Vintage อย่าง Chevy Nova เรียกว่าจะได้เชยชมความงามที่มาพร้อมความแรงตลอดเรื่องกันเลยล่ะ สำหรับ Death Proof เควนตินเคยให้สัมภาษณ์ว่าเป็นผลงานที่ชอบน้อยที่สุดตั้งแต่เคยสร้างมา แต่ถ้าถามความเห็นของเราที่เป็นแฟนคลับเขา และเพิ่งจะดูเรื่องนี้อีกครั้งไปเมื่อไม่กี่วันก่อน ต้องบอกว่าไม่ได้รู้สึกว่าแย่ กลับกันคือยังเปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์ (และกวนตีน) สไตล์เควนตินเหมือนเดิม และที่ชอบมากโดยส่วนตัว คือการแตกไอเดียหัวข้อ ‘Death Proof’ อันเป็นเรื่องราวว่าด้วยรถซิ่งของสตั๊นแมนยุคเก่า ที่ใช้เพื่อชนจริง กระแทกจริง ไม่มี CGI ผสมใด ๆ มาเป็นเรื่องราว 2 ชั่วโมงได้อย่างสนุกจนน่าเหลือเชื่อ และปฎิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งที่น่าประทับใจนอกจากการได้เห็น Mary Elizabeth Winstead ใส่ชุดเชียร์ลีดเดอร์สีเหลืองแล้ว
ถ้านึกถึงสิ่งแรกที่คิดถึงประเทศเกาหลีใต้ สำหรับคนที่ยังไม่เคยไปอย่างเราก็คงมีวัฒนธรรมการกินไก่ทอด & เบียร์, วง G-IDLE (เป็นติ่งแหละ), การทำศัลยกรรม อ้อ ๆ แล้วก็แน่นอน ‘การสัก’ ไงล่ะ เสน่ห์ของความมินิมอลบนเรือนร่างเป็นสิ่งที่ไม่มีทางลืมนึกถึงได้เลย เพราะเกาหลีใต้คือหนึ่งในประเทศที่คนบินไปเพื่อสักมากที่สุดที่หนึ่งของโลก อุดมไปด้วย Tattoo Artist มีชื่อเสียงฝีมือฉกาจมากมาย แต่น่าเศร้าที่กฎหมายของประเทศนี้ยังจับคำว่า ‘ถูกกฎหมาย’ ของการสักใส่ไว้ในกรงไม่ให้หนีไปไหน ซึ่งย้อนไปไกลตั้งแต่ปี 1992 จนล่าสุดถึงปี 2022 สาเหตุของความย้อนแย้งของกฎหมายต่อสายตาของผู้คนทั่วโลก ว่าอะไรทำให้ประเทศที่งานศิลปะเจริญรุ่งเรืองสุดขีดในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะดนตรี แฟชั่น และแน่นอนว่า ‘การสัก’ ถึงถูกแบนจากประเทศของตัวเอง UNLOCKMEN ชวนอ่านเรื่องเศร้าของการเป็นช่างสักในเกาหลีใต้ ที่พวกเขารู้สึกว่าถึงแม้จะเป็นประเทศที่เจริญแล้ว แต่ก็ยังถูกปฎิบัติราวกับอาชญากรอยู่ดี The K-TATTOO ความรุ่งเรืองที่สวนทางเรื่องรอยสักในเกาหลีใต้ น่าจะสามารถใช้มาตรวัดที่ไม่มากก็น้อยจากวัฒนธรรมภายในประเทศที่เรียกว่า K-TATTOO อันเป็นคำนิยามในทางเดียวกันกับคำที่ใช้กำหนดแนวดนตรีในประเทศ K-POP หรือซีรีส์แบบ K-DRAMA ความหมายง่าย ๆ ประมาณว่า ‘รอยสักที่อยู่บนเรือนร่างของศิลปินเกาหลี’ นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น รอยสักบนตัวของ
ถ้าพูดถึงประเทศแห่งความฝัน นอกจาก American Dream ก็มีญี่ปุ่นนี่ล่ะที่หัวข้อ ‘สู้เพื่อฝัน’ ถูกยกขึ้นมาพูดอย่างไม่เคยขาดในทุกสื่อ ไม่ว่าจะใน Soft Power หลักอย่างมังงะ อนิเมะ จนถึงวรรณกรรมหลาย ๆ เล่มเองก็ตั้งคำถามถึงสิ่งนี้เสมอ ถ้ายังจำกันได้ ตอนโอลิมปิกส์ปี 2020 ที่ผ่านมา ทีมวอลเลย์บอลของทีมชาติญี่ปุ่น ก็มีท่าตบลูกอย่างกับหลุดออกมาจากเรื่อง Haikyu!! จนเป็นที่ฮือฮาไปทั่วโลก และอีกหนึ่งสื่อสุนทรีย์ที่ขับเคลื่อนชีวิตมนุษย์กว่าศตวรรษอย่าง ‘ภาพยนตร์’ ของญี่ปุ่น เมื่อพูดถึงความฝันเราจึงได้เห็นภาพยนตร์ที่อิงจากชีวิตจริงมนุษย์ ซึ่งพูดถึงการตามความฝันแต่ไม่สำเร็จอยู่บ่อย ๆ UNLOCKMEN จะมาชวนทุกคนถอดบทเรียนจากหนัง 4 เรื่อง ว่าด้วยเรื่องราวของเหล่าผู้คนในวันที่สู้เพื่อฝัน แต่ความจริงก็ซัดหมักหนักใส่ชีวิตเหลือเกิน เพื่อเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังทำตามฝัน หรือเคยมีฝันทุกคนใช้ชีวิตแบบที่ต้องการกันต่อไปครับ Solanin (2010) : จงทำตามความฝันให้เหมือนกับว่าพรุ่งนี้จะไม่ได้ฝันอีกแล้ว ไอเดียสำคัญจากหนังซึ่งดัดแปลงจากมังงะของ Inio Asano เรื่องนี้ คือการพูดกับคนดูด้วยน้ำเสียงปกติ ในวันที่แดดแรงพอจะทำให้ผ้าแห้งว่า “ทำความฝันวันนี้ให้เต็มที่นะ ถ้าพรุ่งนี้ตายไปจะได้ไม่ต้องเสียใจทีหลัง” ‘ความตาย’ เป็นสิ่งใกล้ตัวเราทุกคนเสมอ ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ความตายฟรีสไตล์จริง