จอห์น ซีน่า แท็กทีมเหล่าฮีโร่ต่อสู้กับเหล่าวายร้ายเพื่อพิทักษ์โลก ในซีรีส์เรื่องใหม่ล่าสุด Peacemaker พร้อมเข้าฉายสามตอนแรกในวันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคมนี้ และสามารถรับชมตอนใหม่ได้ทุกวันพฤหัสบดี เฉพาะทาง HBO GO เท่านั้น Peacemaker เล่าเรื่องราวเบื้องหลังต้นกำเนิดของ Peacemaker ชายผู้อวดดีที่เชื่อในสันติภาพจนยอมแลกและทำทุกอย่าง ไม่ว่าเขาจะต้องฆ่าคนสักกี่คนเพื่อให้ได้มันมา ตัวละครที่ปรากฏตัวครั้งแรกในภาพยนตร์ The Suicide Squad ของผู้กำกับเจมส์ กันน์ (James Gunn) รับบทโดย จอห์น ซีน่า (John Cena) พร้อมเสริมทัพด้วยเหล่านักแสดงมากความสามารถ อาทิ แดเนียล บรู๊คส์ (Danielle Brooks) รับบท Leota Adebayo, เฟรดดี้ สโตรมา (Freddie Stroma) รับบท Vigilante, เจนนิเฟอร์ ฮอลแลนด์ (Jennifer Holland) รับบท Emilia Harcourt, สตีฟ เอจี
การไล่ล่าของสองขั้วทางกฏหมาย / การห้ำหั่นของสองนักแสดงระดับตำนาน และการถ่ายทำอันสุดเดือด มีเหตุผลมากมายที่ทำให้หนังเรื่อง Heat หนังสุดเจ๋งแห่งปี 1995 กลายเป็นที่สุดของหนังอาชญากรรมสุดคลาสสิคที่ยากที่หนังเรื่องไหนจะโค่นตำแหน่งได้ลง Unlockmen จึงขอทำการย้อนไปหาต้นตอของความสำเร็จของหนังเรื่องนี้ ว่าเพราะอะไรหนังเรื่องนี้ถึงได้ครองใจทั้งคนดูหนัง, นักวิจารณ์, นักทำหนัง หรือแม้กระทั่งอาชญากรตัวจริงก็ยกให้หนังเรื่องนี้เป็นหนังในดวงใจ เนื้อเรื่องสุดเข้มข้น แม้ความยาวของหนัง Heat จะทำให้เครียดสำหรับคนที่ชอบอะไรที่กระชับรวดเร็ว เพราะความยาวของหนังนั้นยาวถึง 170 นาที หรือ 2 ชั่วโมง 50 นาที แต่ไม่มีวินาทีไหนเลยที่ Heat จะชวนง่วงเหงาหาวนอน เพราะหนังไม่เพียงอัดแน่นไปด้วยการไล่ล่าของ 2 ขั้วทางกฏหมาย หนึ่งคือ Neil McCauley (รับบทโดย Robert De Niro) หัวหน้าแก๊งโจรผู้สุขุมและฉลาดเฉลียว อีกหนึ่งคือ Vincent Hanna (รับบทโดย Al Pacino) ตำรวจตงฉินผุ้พร้อมไล่ล่าท้าชนอาชญากรแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน จากเหตุการปล้นรถขนส่งไปรษณีย์อย่างอุกอาจเพื่อแย่งชิงพันธบัตร แต่แผนที่ผิดพลาด ก็นำไปสู่การตายของเจ้าหน้าที่ ก่อให้เกิดการชิงไหวชิงพริบของทั้ง 2 ท่ามกลางการลุ้นระทึกที่นอกจากจะลุ้นว่าการปะทะครั้งนี้จะจบลงที่ใครเป็นผู้คว้าชัย
หากจะย้อนไปพูดถึงวงร็อกที่ได้รับความนิยมในช่วงยุค 2000’s ที่โดดเด่นมากมายหลายสิบวง หนึ่งในวงเหล่านั้นต้องยกให้ Ebola วงที่นำเสนอความหนักหน่วงที่ติดพ่วงมาตั้งแต่สมัยอันเดอร์กราวน์ ก่อนจะปรับเปลี่ยนซาวด์เพื่อการเติบโตในวงการดนตรีไทย และอีกสิ่งที่ทุกคนต่างพูดถึง ก็คือเสียงสำรอกสุดทรงพลังของชายที่ชื่อว่า “เอ๋ กิตติศักดิ์ บัวพันธุ์” หรือ “เอ๋ Ebola” ชายผู้ไล่ตามความฝันบนเส้นทางสุดเกรี้ยวกราดของดนตรีมาโดยตลอด ชายผู้ตัดสินใจไปทำงานร้านขายซีดีตามไอดอล และยังเป็นชายที่รวบรวมสมาชิกวงร็อกชื่อดังให้เกิดขึ้นมาจนโด่งดังไปทั่วประเทศ เรามาทำความรู้จักผู้ชายคนนี้ให้มากขึ้น กับมุมมองที่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เคยได้สัมผัสมาก่อนกันครับ กลับสู่จุดเริ่มต้นกับชีวิตวัยเยาว์ “เท่าที่จำได้เป็นเด็กทั่ว ๆ ไป ครับ เรียนหนังสือใช้ชีวิตปกติ เราจะใช้ชีวิตเรียบง่าย คุณพ่อผมชอบร้องเพลงมาก เขาจะมีวงที่โรงพยาบาลของเขา ชอบซ้อมดนตรีกัน ผมก็ได้ไปกับพ่อบ่อย ๆ ก็อาจจะได้ซึมซับการเป็นนักร้องจากคุณพ่อมาก็ได้ แล้วคุณพ่อชอบเก็บแผ่นเสียง เช่นพวกวง The Beatles, Led Zeppelin วงสมัยก่อนที่เขาฟังกัน ส่วนวงไทยก็เยอะหน่อยพวกเทปคาสเซตเช่น บรั่นดี, คีรีบูน แต่คุณพ่อจะชอบร้องเสียงแบบ คุณลุงธานินทร์ อินทรเทพ มันก็อาจจะกลายเป็นความชอบติดตัวมาในความเป็นนักร้องครับ” “ส่วนช่วงเรียนที่ผมชอบที่สุดคือการเป็นนักฟุตบอล ผมชอบการ์ตูนเรื่องซึบาสะมาก อินจนแบบว่าทุกเช้าวันเสาร์อาทิตย์ผมกับน้องชาย (โอ๋ มือกีตาร์ Ebola)
หากปีที่แล้ว ดาบพิฆาตอสูร คือ Soft Power ชั้นดีที่ทำให้คนทั้งโลกติดอนิเมะกันอย่างงอมแงม ปีนี้คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Tokyo Revengers คือการรับไม้ต่อของความสำเร็จนั้น เพราะอะไรมังงะที่หน้าฉากเป็นเพียงเรื่องราวนักเรียนนักเลงนี้ ถึงกลายเป็นสิ่งที่สะกิดจิตใจ และคนพูดถึงกันอย่างแพร่หลายกันอย่างเกรียวกราว เรามาย้อนติดตามความสำเร็จครั้งนี้ไปพร้อมๆกัน พล็อตแปลก แหวกความจำเจ มังงะแนวนักเรียนนักเลงนั้น เป็นของคู่กันเสมอของนักอ่านมังงะ ตั้งแต่ “จอมเก Blues” มาจนถึง “เรียกเขาว่าอีกา!” “Clover เพื่อนรักขาลุย” หรือ “แสบกว่านี้มีอีกไหม” ที่เข้าขั้นคลาสสิคและเป็นมังงะที่ฮิตครองใจผู้อ่านทั้งชาวไทยและชาวอาทิตย์อุทัยมาอย่างยาวนาน ซึ่ง Tokyo Revengers นั้นก็เล่าเรื่องของแก๊งนักเรียนนักเลงที่วันๆไม่ทำอะไรมากไปกว่าการตีรันฟันแทงไม่ต่างกัน หากแต่ Ken Wakui ผู้เขียนมังงะเรื่องนี้ กลับเลือกที่จะฉีกแนวด้วยการเล่าเรื่องราวที่ซับซ้อนและแหวกขนบของมังงะ แนวนักเรียนนักเลง ด้วยการเสริมเรื่องราวเหนือธรรมชาติเข้าไปในมังงะเรื่องนี้ Tokyo Revengers เล่าเรื่องของหนุ่ม Loser วัยทำงานนาม “ทาเคมิจิ” ที่เคยมีชีวิตรุ่งโรจน์ในช่วงมัธยมต้นในฐานะนักเลงหัวทอง แต่แล้วชีวิตของเขาก็ลงเอยกับการเป็นพนักงานขี้แพ้คนหนึ่งเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่แล้วชะตาชีวิตของเขาก็เปลี่ยนไป เมื่อ “ฮินาตะ” แฟนสาวของเขาถูก“โตเกียวมันจิไค” สมาพันธ์วายร้ายฆ่าตายอย่างเป็นปริศนา และอุบัติเหตุบนรถไฟฟ้าใต้ดิน ทำให้เขาได้รับโอกาสในการย้อนเวลาเพื่อไปแก้ไขอดีตในยุครุ่งเรือง ได้ทำความรู้จักกับ
ช่วงสองปีที่ผ่านมาเราต้องเผชิญกับความหนักหน่วงในการใช้ชีวิตอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนจากผลกระทบของโรคโควิด ที่ ณ ตอนนี้สถานการณ์ก็ยังไม่ค่อยน่าไว้วางใจซักเท่าไหร่ แต่ชีวิตยังไม่สิ้นก็ต้องดิ้นกันไป แต่การที่เราจะฝ่าฟันมันไปได้บางครั้งก็ต้องหาอะไรมากระตุ้นจิตใจด้วยเช่นกัน ซึ่งเพลงก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ใครหลาย ๆ คนใช้มันแทนความรู้สึก และในบางครั้งมันก็ยังมอบกำลังใจให้เราได้อย่างไม่น่าเชื่อ Unlockmen ขอนำเสนอ 10 เพลงร็อกปลุกใจให้ลุกขึ้นซัดฟัดกับทุกปัญหา ให้เป็นยาชูกำลังให้ทุกคนได้ต่อสู่กับในปี 2022 ครับ 1.SURVIVOR – EBOLA เปิดหัวกันมาด้วยบทเพลงจัดหนักสไตล์นูเมทัลของวง Ebola ที่ใครได้ยินได้ฟังเมื่อไหร่ต้องใจขึ้นกันทุกครั้ง โดยเฉพาะท่อนฮุคที่มาพร้อมเสียงสำรอกสุดสะใจว่า “เราต้องไม่ตาย ไม่ว่าจะยังไง เราต้องไม่ตาย ไม่ว่ายังไง สู้ ต้องสู้ ต้องรอด ไม่สู้ก็ไม่รอด ต้องสู้ ต้องรอด ไม่สู้ก็ไม่รอด ต้องสู้ ต้องรอด ไม่สู้ก็ไม่รอด ต้องสู้ ต้องรอด ไม่สู้ก็จะไม่รอด เราจะต้องสู้ ต้องรอด” สำหรับเพลง “Survivor” เป็นเพลงพิเศษที่ถูกรวมอยู่ในอัลบั้ม Deluxe Edition ของ Enlighten 2.พลังแสงอาทิตย์ – SWEET MULLET ผลงานจากอัลบั้ม
โอกาสสำหรับนักสะสมรถยนต์ที่มีเรื่องราวประวัติศาสตร์น่าสนใจติดตัว เมื่อผู้กำกับ Michael Bay จับมือกับ Curated supercar dealership ใน Miami นำรถยนต์ 4 คัน ดาวดังจาก Transformers จากหลายภาค มามัดรวมชุดเพื่อให้นักสะสมได้ประมูลกันไปในราคาราว $2 million USD การจัดชุดประมูลรถยนต์เป็นล็อต ช่วยเพิ่มเสน่ห์และมูลค่าให้นักสะสมได้เป็นอย่างดี โดยใน collection นี้ประกอบไปด้วยคันแรก ซึ่งเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก “Bumblebee” 2010 Chevrolet Camaro เวอร์ชั่นจากภาค Transformers 3: Dark Side of the Moon ซึ่งเป็นคันเดียวกับที่ใช้ในการถ่ายทำ มีทั้งกันชนหน้า ฝากระโปรง สปอยเลอร์หลัง และสติกเกอร์ตกแต่งที่ใครเห็นก็ต้องจำได้แน่นอน ตามมาด้วยคันท่ีสองจากภาคเดียวกัน เป็นรถยนต์ Mercedes-Benz SLS AMG ที่ขับโดย Rosie Huntington ซึ่งแม้จะไม่ได้มีการตกแต่งเป็นพิเศษอะไร แต่แค่ความเป็น SLS AMG
กระแสดนตรีบางครั้งมันก็ไม่ต่างจากแฟชั่น จากสิ่งที่เคยได้รับความนิยมจนกลายเป็นไม่ได้รับความนิยมตกยุคไป แต่ไม่ได้หมายความว่ามันตายจากไปเพราะมันกำลังรอเวลาและจังหวะที่เหมาะสมในการกลับออกมาเฉิดฉายอีกครั้ง ตัวอย่างที่ชัดเจนมากที่สุดในปัจจุบันคงต้องยกให้ดนตรี “City Pop” ที่กลับมาเกิดใหม่หลังเคยสร้างสีสันและบูมอย่างสุดขีดในยุค 80’s “City Pop” คือผลผลิตซาวด์อันมีเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น เป็นการผสมผสานจากแนวดนตรีที่หลากหลาย ทั้ง ดิสโก้, ฟังก์, แจ๊ซ, อาร์แอนด์บี, ซอฟต์ร็อก และอิเลกทรอกนิกส์ ขับเคลื่อนด้วยจังหวะชวนสนุกจนต้องลุกขึ้นมาขยับร่างกายไปตามเสียงเพลง โดดเด่นด้วยจังหวะกรูฟที่เป็นหัวใจสำคัญของดนตรีแนวนี้ จะเห็นได้ว่าอิทธิพลทางดนตรจริง ๆ แล้วก็มาจากฝั่งตะวันตกทั้งนั้น ทั้งนี้มีการอ้างอิงไปถึงวงอย่าง The Doobie Brothers, Steely Dan หรือแม้กระทั่ง Toto ซึ่งเมื่อลองได้ไปนั่งฟังก็จะพบว่ามันมีซาวด์ที่ถูกนำใช้เป็นวัตถุดิบของ City Pop ค่อนข้างมากเลยทีเดียว ส่วนศิลปินผู้ปูรากฐานให้กับดนตรีแนวนี้ของประเทศญี่ปุ่นประกอบไปด้วย Happy End, Tin Pan Alley, Haruomi Hosono และ Tatsuro Yamashita จนมาถึง Mariya Takeuchi กับซิงเกิ้ลฮิตวาร์ปข้ามเวลา “Plastic Love” และ Miki
จากคอมมิคที่แปลกและแตกต่างของโลก Super Hero ในยุค 60s นับเป็นเวลาที่ยาวนานไม่ใช่น้อยสำหรับไอ้แมงมุม หรือ Spider-Man ที่โลดแล่นบนทั้งหน้ากระดาษ ทั้งจอทีวีในรูปแบบอนิเมชั่น มาจนถึงรูปแบบภาพยนตร์จอใหญ่ แต่ถึงกระนั้น Spider-Man ก็หาได้หยุดนิ่งไม่ สร้างความเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้นในจักรวาลของไอ้แมงมุมมาตลอด 60 ปี และเพื่อต้อนรับหนัง Spider-Man No Way Home ที่ฉายให้ชมกันในโรงภาพยนตร์ เรามาดูการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างของซูเปอร์ฮีโร่ ที่มีทั้งรูปแบบชะตากรรมสุดรันทดจนไปถึงเวอร์ชั่นเกรียนทะลุจอกัน มาดูกันว่าไอ้แมงมุมเวอร์ชั่นไหนที่ตรงใจคุณมากที่สุด จุดกำเนิดไอ้แมงมุม จากการ์ตูนสั้น ปั่นกระแสจนเป็นการ์ตูนคลาสสิค คาแรคเตอร์ไอ้แมงมุมนั้น ถือกำเนิดขึ้นมาแบบไม่ไม่ได้ตั้งใจนัก กล่าวคือ Stan Lee ผู้จุดกำเนิดไอเดีย และ Steve Ditko ศิลปินนักวาดการ์ตูนนั้นกำลังเฟ้นหาไอเดียใหม่ ๆ ของสุดยอดวีรบุรุษหลังจากพวกเขาแบกรับความสำเร็จจากการ์ตูน Fantastic Four ความกดดันถาโถมเขาอย่างหนัก จนกระทั่งวันหนึ่ง เขามองเห็นแมงมุมไต่อยู่ตรงผนัง Stan Lee ก็เกิดไอเดียขึ้นโดยฉับพลัน ถึงเรื่องราวของผู้ชายคนหนึ่งที่ถูกแมงมุมกัดจนเกิดปฏิกิริยาส่งผลให้เขามีพลังเหนือมนุษย์ แต่ในช่วงนั้นเขาพบว่าซูเปอร์ฮีโร่ส่วนใหญ่จะเป็นวัยผู้ใหญ่มากกว่า เขาจึงลองออกแบบดีไซน์ซูเปอร์ฮีโร่วัยรุ่นดูบ้างเพื่อหาไอเดียที่แตกต่างและหลากหลาย แต่ในตอนต้น กองบก.ใน Marvel
Kings Of Leon วงดนตรีสไตล์อัลเทอร์เนทีฟร็อก กับสี่สมาชิกพี่น้องตระกูล Followill พวกเขาประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากกับอัลบั้มที่ 4 ของวงที่มีชื่อว่า “Only By The Night” ซึ่งสามารถทำยอดขายได้ถล่มทลายทั่วโลก อีกทั้งยังกวาดรางวัลสายดนตรีมาอีกหลายสำนัก มันก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไรเท่าไหร่ เพราะดนตรีในอัลบั้มนี้มันช่างเข้มข้มและกลมกล่อม ราวกับกาแฟอเมริกาโน่ที่ดำเข้มกลมกล่อมลงตัว ใบเบิกทางความร้อนแรงของ “Only By The Night” มาจากบทเพลงสุดร้อนแรงแฝงด้วยความอีโรติกนามว่า “Sex On Fire” แค่เห็นชื่อเพลงก็สัมผัสได้ถึงความร้อนแรงแล้ว เพลงนี้ถูกปล่อยมาเป็นซิงเกิ้ลแรกที่ถูกโปรโมตเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2008 และมันก็พุ่งทะยานไปติดชาร์ตอันดับ 1 เกือบทั่วโลก ทุกคนต่างมองภาพและความหมายไปทางเรื่องเซกส์ทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้วจุดเริ่มต้นของเพลงมันกลับไม่ใช่แบบนั้น Nathan Followill มือกลองของวงได้เคยให้สัมภาษณ์ถึงจุดเริ่มต้นในการตั้งชื่อเพลงและ เนื้อหาของเพลงนี้ที่ได้มาอย่างไม่ตั้งใจ “เนื้อเพลงทั้งหมดมันจะความแตกต่างโดยสิ้นเชิง ขึ้นอยู่กับว่าเพลงมันจะขึ้นมาจากตัวเมโลดี้หรือเนื้อเพลงก่อน” “ถ้าเกิดขึ้นด้วยเมโลดี้เราก็จะเล่นซ้ำไปซ้ำมาจนกว่าจะลงตัวและหาเนื้อ เพลงที่เหมาะสมใส่ลงไปได้” “คือจริง ๆ แล้วตอนแรกเพลงนี้มันจะชื่อว่า ‘Set Us On Fire’ แต่ดันมีคนมิกซ์ซาวด์คนหนึ่งเดินเข้ามาในสตูดิโอตอนที่พวกเราเล่นเพลงนี้กันแล้วพูดว่า ‘มันชื่อเพลง
เล่นดนตรีมานานทำไมยังไม่ดังซักที? เป็นคำถามที่พบเห็นได้บ่อยครั้งสำหรับกลุ่มคนที่ยังไปไม่ถึงฝั่งฝันกับเส้นทางสายนี้ ซึ่งสุดท้ายต้องกลับมามองย้อนดูว่าตัวเราเองทำมันได้อย่างถูกจุดและถูกต้องแล้วหรือยัง Unlockmen ขอนำเสนอ 10 วิธีพาวงดนตรีให้ปังดังกว่าที่เคย มาให้ทุก ๆ คนได้ลองปรับไปใช้กัน ไม่ว่าจะเป็นวงเก่าหรือวงหน้าใหม่ก็ตาม ลุยกันเลย! 1.ตั้งชื่อวง เรื่องแรก ๆ ของวงดนตรีที่จะคำนึงถึง ที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่ายแต่จริง ๆ แล้วกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่ละวงต่างก็มีวิธีการหาชื่อวงแตกต่างกันออกไป มาจากชื่อเพลงที่ชอบบ้าง มาจากคำที่ชื่นชอบบ้าง หรือมาจากนามสกุลของตัวเองก็มี แต่จริง ๆ แล้วถ้าจะให้คนจำชื่อวงของเราได้ง่ายขึ้นก็ควรตั้งไม่เกิน 3 พยางค์ อย่างเช่น Potato, Big Ass, Linkin Park, Limp Bizkit หรือ Oasis เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากคุณมีไอเดียที่จะตั้งชื่อวงยาว ๆ ก็ไม่เสียหายหาชื่อวงของคุณเตะตาคนมากพอเช่น “ไปส่งกู บขส. ดู๊” ใครอ่านก็งงจนต้องตั้งคำถามว่าเอ๊ะ!นี่มันวงอะไร จุดนี้มันจะช่วยนำคนไปรู้จักวงของคุณได้มากขึ้นเช่นกัน แต่ต้องไม่ลืมว่าแม้ชื่อวงจะดีเยี่ยมขนาดไหนแต่ถ้าเพลงไม่เอาไหนก็พังได้เหมือนกัน 2.ซ้อมทั้งดนตรีและเพอร์ฟอร์แมนซ์ หากคุณคิดจะเป็นศิลปินที่โดดเด่นและแตกต่างจากนักดนตรีทั่ว ๆ ไป คุณก็ต้องทำมาตรฐานให้มันแตกต่างด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นการซ้อมดนตรีควบคู่ไปกับเพอร์ฟอร์แมนซ์การเอนเตอร์เทนจึงสำคัญมาก ๆ
“Look Up The Stars, Look How They Shine For You, And Everything You Do, Yeah, They Were Yellow” ขึ้นต้นด้วยประโยคนี้มาแฟนเพลงสากลคงร้องตามยาวได้จนจบเพลง เพราะมันคือซิงเกิ้ลระดับเมก้าฮิตของวง Coldplay ที่มีชื่อว่า “Yellow” ผลงานจากอัลบั้มแรก ‘Parachutes’ ที่วางจำหน่ายเมื่อปี 2000’s บทเพลงนี้เกิดขึ้นในช่วงระหว่างในค่ำคืนที่สิ้นสุดการบันทึกเสียงเพลง “Shiver” ณ Rockfield Quardrangle Studio พวกเขาได้ออกมายืนด้านนอกสตูดิโอและเห็นดวงดาวส่องแสงระยิบระยับเต็มท้องฟ้า จนทำให้ Chris Martin ฟรอนต์แมนเสียงพราวเสน่ห์ เกิดปิ๊งไอเดียของเพลงขึ้นมาในหัว แต่ในตอนแรก Chris ไม่ได้จริงจังกับเพลงนี้ซักเท่าไหร่ หลังจากได้เมโลดี้เพลงนี้เขายังล้อเลียนร้องมันด้วยเสียงของ Neil Young ศิลปินคันทรีระดับตำนานอีกต่างหาก แต่นั่นมันได้กลายเป็นสารตั้งต้นของเพลงนี้ เพราะมันมีคำว่า “Star” อยู่นั่นเอง แม้ไอเดียจะป๊อปอัพพรั่งพรูออกมาอย่างรวดเร็ว แต่การจะจบเพลงนี้ได้กลับยากกว่าที่คิด เพราะหาคำที่เหมาะสมในการจบประโยคท่อนเวิร์สไม่ได้ “Look Up
การจะนั่งฟังเพลงที่มีความยาวเกิน 5 นาที ดูจะเป็นอะไรที่ไม่คุ้นชินและดูเหมือนว่าเราจะต้องใช้ความอดทนมากกว่าปกติเพื่อฟังให้จบ เพราะโดยปกติทั่วไปแล้วเพลงที่ฮิต ๆ ติดตลาดมักจะมีความยาวที่ไม่เกิน 3 หรือ 4 นาที แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่วง Oasis เลือกที่จะทำตาม พวกเขาเลือกจะฉีกกฎเพื่อแสดงความเป็นตัวเองออกมาในเพลงบัลลาดสุดคลาสสิคอย่าง “Champagne Supernova” ผลงานจากอัลบั้ม (What’s the Story) Morning Glory? ที่มีความยาวมากถึง 7:27 นาที และที่สำคัญพวกเขาทำเพลงนี้ให้กลายเป็นเพลงฮิตขึ้นมาได้อย่างน่าประหลาดใจ อะไรคือความลับที่ซ่อนอยู่ในเพลงนี้ มันไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญอย่างแน่นอน โครงสร้างเพลงเรียบง่ายแต่ไม่ธรรมดา โครงสร้างของเพลงนี้คือการวางแบบสูตรตายตัวทั่ว ๆ ไปคือมีท่อนเวิร์ส, พรีฮุก และฮุก ตามปกติ เป็นของเบสิคที่วงไหน ๆ ก็ใช้กัน แต่ความแตกต่างมันขึ้นอยู่กับที่คนใช้งานมันมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อมันผ่านมันสมองการเขียนเพลงสุดอัจฉริยะของ Noel Gallagher มันก็ยิ่งทำให้เพลงนี้ดูมีความพิเศษและมีแรงดึงดูดอย่างน่าประหลาดใจ เมโลดี้สะกดคนฟัง บรรยากาศของเพลงค่อนข้างจะไปทางเนิบ ๆ ลอย ๆ เหงา ๆ อินโทรด้วยเสียงคลื่นน้ำกระทบฝั่ง ตามมาด้วยซาวด์กีตาร์ที่มีเมโลดี้สวยงาม ทันทีที่นิ้วกรีดกรายลงไปบนเส้นลวดกีตาร์จนเกิดเป็นโน้ตตัวแรกมันก็สัมผัสได้ถึงพลังอะไรบางอย่างที่พาเราหลุดเข้าไปในโลกของบทเพลงนี้โดยทันที ริฟฟ์กีตาร์คิดไลน์ออกมาได้ไพเราะมีมิติ