เวลาดูหนังหรือซีรี่ส์สืบสวนสอบสวน เรามักจะเห็นว่าการจับผิดคนทางภาษากายมันทำได้จริง จากการสังเกตเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราแสดงออกมาอย่างไม่รู้ตัว เช่น จังหวะการกระพริบตา หลบตา การกอดอก เม้มปาก และอีกสารพัดอย่างที่เราเผลอทำออกมาในเวลาที่เราตื่นเต้น หวาดกลัว หรือกำลังโกหก นอกจากความรู้สึกเหล่านั้นที่ผลักดันให้เราทำอะไรแปลก ๆ ไม่เป็นตัวเองออกมาแล้ว “ความสงสัย” ก็เป็นอีกอาการที่มักจะทำให้เราเผลอ “เกาหัว” ขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผล จนเหมือนการเกาหัวเป็น Symbol ของความครุ่นคิด สงสัย ไปแล้ว โดยเฉพาะในละครทีวี ภาพยนตร์ ที่มักจะใส่อวัจนภาษาเข้าไปเพื่อแทนที่ไดอะล็อกที่ไม่จำเป็น UNLOCKMEN จะพามาหาคำตอบ ว่าทำไมความคันมันถึงมาเยือนเราเมื่อกำลังใช้สมองครุ่นคิดอะไรบางอย่างแบบอัตโนมัติ เกาทำไม ทำไมต้องเกา ? Matthew Alice คอลัมนิสต์ของ San Diego Reader ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า “คำอธิบายยอดฮิตของการเกาหัวเวลาสงสัยเนี่ย มันเป็นอาการปกติเวลามนุษย์ถูกความหงุดหงิดคุกคาม ซึ่งตรงกับธรรมชาติของเราเมื่อครั้งบรรพบุรุษ ที่มักจะขว้างก้อนหินเมื่ออะไรไม่ได้ดั่งใจ” Alice พยายามหาเหตุผลทางมานุษยวิทยามาอธิบายเรื่องนี้ “เมื่อเราต้องสู้กับปัญหาสุดยุ่งเหยิง จากประสบการณ์ของคนเรา พอเจอกับเรื่องชวนปวดหัวแบบนี้แล้ว บางคนอาจจะหงุดหงิด โมโห และยกมือขึ้นก่อนที่เราจะรู้ตัวซะอีก
เชื่อว่าทุกคนไม่ว่าจะเจนจัด ผ่านโลกมาเยอะแค่ไหน อายุเท่าไร แต่เมื่อต้องพบเจอสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคยหรือวันสำคัญของชีวิตก็อดไม่ได้ที่จะประหม่าทุกครั้งไป บางครั้งก็เล่นเอานอนไม่หลับจนทำงานสำคัญได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เราเองก็เป็นหนึ่งในนั้น และหลังจากหาวิธีแก้ไขมาเนิ่นนาน ในที่สุดก็เจอวิธีที่คิดว่าได้ผล เลยอยากนำมาแชร์ให้ชาว UNLOCKMEN นำไปลองใช้กันจะได้ไม่ทำพลาดในช่วงสำคัญของชีวิต ฝึกการหายใจ เมื่อคนเราตื่นเต้นหรือประหม่ามักจะถอนหายใจบ่อย ๆ จังหวะการหายใจของเราจึงสัมพันธ์กับความประหม่าอย่างมีนัยยะสำคัญ ดังนั้นเมื่อความประหม่ามาเยือนให้คุณลองโฟกัสหายใจเข้าออก ทำใจให้สงบไม่ต้องคิดฟุ้งซ่าน รับรองว่าความประหม่าของคุณจะลดลงอย่างแน่นอน นั่งสมาธิ การฝึกลมหายใจอาจจะช่วยได้ส่วนหนึ่งแต่ถ้าคุณมีสถานที่ที่เหมาะสมและเวลาที่มากพอลองนั่งลง หลับตา เอามือประสานกัน แล้วทำใจให้สงบดู ปล่อยหัวให้โล่งตัดขาดจากความฟุ้งซ่าน ส่วนเวลาการนั่งสมาธินั้นตามแต่สะดวกเลย แต่ไม่ว่าจะนานหรือแค่ช่วงสั้น ๆ แต่เชื่อเถอะว่าตอนลืมตาขึ้นมาภูเขาที่อยู่ในอกคุณจะเล็กลงพอสมควรเลยทีเดียว อะไรคือสาเหตุแห่งการประหม่า? บางครั้งความประหม่าก็เหมือนเป็นก้อนอะไรสักอย่างอยู่ในใจ เกิดความเครียดที่เราอธิบายไม่ได้ขึ้นมา เมื่อเป็นแบบนี้อยากให้คุณลองตั้งสติแล้วหยิบกระดาษขึ้นมาสักแผ่นและค่อย ๆ จำแนกสาเหตุแห่งความประหม่าออกมาเป็นข้อ ๆ เมื่อรู้ถึงสาเหตุแล้วจากนั้นก็หาทางออกให้กับแต่ละข้อ คิดวิธีแก้ไข เพียงเท่านี้คุณก็เบาใจลงไปเยอะเลยล่ะ ปล่อยใจตามเสียงเพลง เสียงเพลงอยู่ในทุกช่วงชีวิต และมันช่วยเราได้เสมอ ยิ่งเป็นตอนที่เรารู้สึกตื่นเต้นหรือประหม่าลองหยิบหูฟังข้างกายขึ้นมาสวม กดเปิดเพลงโปรด ปลดปล่อยความคิดไปกับมัน โฟกัสแค่สิ่งที่เพลงต้องการสื่อสารกับเรา และเมื่อสิ้นเสียงดนตรีถึงแม้ความประหม่าในใจอาจจะไม่หายไปทั้งหมด แต่อย่างน้อยใจคุณจะสงบลงแน่นอน อยู่กับปัจจุบัน จัดการกับความคิด พยายามบอกตัวเองให้โฟกัสอยู่กับปัจจุบัน อย่าฟุ้งซ่านถึงเรื่องที่ยังไม่เกิด เอาเวลาที่มัวแต่ฟุ้งซ่านมาเตรียมตัวรับมือเรื่องที่จะถึงดีกว่า และเมื่อเวลานั้นมาถึงคุณจะได้ทำมันอย่างเต็มที่ ถึงแม้สุดท้ายผลลัพธ์อาจจะไม่ได้ดีอย่างใจหวัง แต่ก็ถือว่าเราได้ทำมันเต็มที่แล้ว