ถ้าพูดถึงเรื่องราวของรถมอเตอร์ไซค์คลาสสิก เชื่อว่าชื่อของค่ายรถอย่าง BMW (บีเอ็มดับเบิลยู) คือหนึ่งในค่าย 2 ล้อที่หนุ่ม ๆ หลายคนต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามตลอดช่วงเวลาเกือบ 100 ปี นับตั้งแต่บีเอ็มดับเบิลยูตัดสินใจเริ่มพัฒนาและสร้างรถมอเตอร์ไซค์เพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน พวกเขาได้ฝากผลงานเป็นรถมอเตอร์ไซค์หลากหลายรุ่น บางรุ่นยังคงมีอิทธิพลต่องานออกแบบต่อรถรุ่นหลังมาจนถึงปัจจุบันและ BMW R5 ก็เป็นหนึ่งในตำนานเหล่านั้น BMW R5 ถือเป็นมอเตอร์ไซค์ไอคอนที่กลายมาเป็นมรดกทางความเร็วอันล้ำค่าของค่ายบีเอ็มดับเบิลยู โดยการเปิดตัวของรถรุ่นนี้ได้ทำลายขนบในการสร้างรถมอเตอร์ไซค์แบบเดิม ๆ ในยุคสมัยนั้นทั้งในเรื่องงานออกแบบและขุมพลัง เริ่มจากงานออกแบบที่เป็นตำนานของ BMW R5 ต้องยกเครดิตให้กับ รูดอล์ฟ ชไลเชอร์ (Rudolf Schleicher) ชายผู้หลงรักรถมอเตอร์ไซค์แบบฝังอยู่ในสายเลือด เริ่มต้นเส้นทางจากการเป็นนักแข่งรถหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมถึงเรียนวิศวกรรมเครื่องกลควบไปพร้อมกัน โดยผลของการได้คลุกคลีกับเครื่องยนต์รวมถึงการปรับแต่งรถในทุก ๆ วัน ทำให้ฝีมือการทำงานของรูดอล์ฟไปเข้าตาของ แมกซ์ ฟริสซ์ (Max Friz) ซึ่งในขณะนั้นรับตำแหน่งหัวหน้าทีมออกแบบของบีเอ็มดับเบิลยู ก่อนแมกซ์จะตัดสินใจดึงตัวรูดอล์ฟเข้ามาร่วมงานในปี 1923 เพื่อร่วมกันผลิตรถมอเตอร์ไซค์ รูดอล์ฟ ชไลเชอร์ เข้ามามีส่วนร่วมสำคัญกับงานสร้างรถมอเตอร์ไซค์ของบีเอ็มดับเบิลยูหลากหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็น “BMW R32” รถมอเตอร์ไซค์โมเดลแรกของค่ายใบพัดสีฟ้ารวมถึงโมเดล
ถือว่าเป็นครั้งแรกและที่แรกในโลกเลยทีเดียว สำหรับอีเว้นท์เปิดตัวสุดยิ่งใหญ่ ต้อนรับการกลับมาอีกครั้งของ ‘MSX’ มินิไบค์แนว Sport ที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 ตลอดกาลจากฮอนด้า โดยในคราวนี้ได้ฤกษ์เปิดตัว Generation ใหม่ล่าสุดของเจ้า ‘MSX’ นั่นก็คือ ‘New Honda GROM’ จัดขึ้นที่ Centerpoint Studio Thailand เมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา วันนี้จึงพลาดไม่ได้ที่ UNLOCKMEN จะพาทุกคนไปดูกันว่า ภายในงานเปิดตัว ‘New Honda GROM’ ที่ผ่านมานี้มีสิ่งน่าสนใจอันแน่นมากแค่ไหน เริ่มกันที่ผู้บริหารของทางบริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด เล่าถึงคอนเซ็ปต์ของ ‘New Honda GROM’ ที่ให้คำนิยามว่า ‘Mod It Yourslef’ แต่งใหญ่…ใส่ให้สุด หรือเรียกสั้นๆ ว่า M.I.Y. โดยที่มาที่ไปของคอนเซ็ปต์นี้ ต้องการจะสื่อความหมายที่ซ่อนอยู่ในคำว่า ‘GROM’ ซึ่งหมายถึง ‘จิ๋วแต่แจ๋ว’ หรือที่บ้านๆ อาจจะใช้คำว่า ‘เล็กพริกขี้หนู’ นั่นเอง