World
HAPPENING RIGHT NOW
  • World

    NIHON STORIES: “นครโตเกียว 1970″ความเหงาและแสงไฟทำให้เมืองกลายเป็นหนัง SCI-FI

    By: unlockmen March 20, 2020

    ภาพจำเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่นอย่างกรุงโตเกียวของคุณคืออะไร ? ภาพทางม้าลายหลายสายที่ผู้คนหลายร้อยสัญจรไปมาพร้อมกัน ภาพโบกี้รถไฟฟ้าที่อัดแน่นไปด้วยเหล่ามนุษย์เงินเดือน ภาพเหล่าวัยรุ่นแข่งกันแต่งตัวหลุดโลกย่านฮาราจุกุ หรือภาพเมืองตอนกลางคืนเหมือนกับหนัง Sci-Fi บรรยากาศหว่องจนจำไม่ได้ว่านี่คือเมืองที่เต็มไปด้วยแสงสีและผู้คน Greg Girard ก็มีภาพจำของโตเกียวในมุมของตัวเอง เขาชื่นชอบการสำรวจบ้านเรือนในประเทศเอเชียพร้อมบันทึกความทรงจำที่พบเจอผ่านกล้องถ่ายรูป ตระเวนไปทั่วทั้งฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ และมีภาพถ่ายเซตหนึ่งที่ UNLOCKMEN ให้ความสนใจเป็นอย่างมากนั้นคือภาพถ่ายนครโตเกียวช่วงปลายทศวรรษ 1970 (1976-1983) ทำให้เราเห็นเมืองหลวงญี่ปุ่นในมุมที่ไม่เคยเห็นมาก่อน  การจะมองเห็นภาพแท้จริงของแต่ละเมืองเราต้องไม่เลือกดูแค่สถานที่ที่ประเทศเตรียมไว้พรีเซนต์ชาวต่างชาติ แต่การเดินไปยังย่านทำงาน ห้างสรรพสินค้าที่คนท้องถิ่นนิยมไปเดิน โรงภาพยนตร์ไปจนถึงย่านพักอาศัยราคามหาโหดยันแฟลชรูหนูคือการได้เห็นวิถีชีวิตจริง ๆ ของพวกเขา  Greg Girard ช่างภาพหนุ่ม (ในสมัยนั้น) ออกจากห้องพักมุ่งหน้าไปยังคาบูกิโจ (Kabukicho) ย่านที่รวบรวมสถานบันเทิงน้อยใหญ่ทุกรูปแบบที่เปิดรอต้อนรับเหล่ามนุษย์เงินเดือนผู้เคร่งเครียดจากการทำงานทั้งวัน ในคืนฝนตกแหล่งบันเทิงที่ควรจะคึกคักกลับดูเงียบผิดหูผิดตา และเมื่อนำบรรยากาศของคาบูกิโจปี 1977 มาเทียบกับปัจจุบัน จะเห็นเลยว่าสถานบันเทิงในญี่ปุ่นเติบโตขึ้นต่อเนื่องจริง ๆ  โปสเตอร์ภาพยนตร์สุดฉาวที่มีคนดูแล้วอ้วกจริง ๆ กับเรื่อง Solo: 120 Days of Sodom (1975) หรือชื่อภาษาไทย ‘สุขนาฏกรรมอเวจี’ ผลงานการรวมทุนสร้างของค่ายหนังอิตาลีและฝรั่งเศส ก็ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ของโตเกียวปี 1977 ซึ่งตัวของช่างภาพที่ถ่ายรูปโปรเตอร์สุดวินเทจนี้เก็บไว้ก็ไม่รู้ว่าคนญี่ปุ่นมีมุมมองอย่างไรบ้างเกี่ยวกับหนังวิตถารเรื่องนี้  โตเกียวปี

    อ่านต่อ
  • World

    ผู้นำพูดอะไรยามวิกฤต? “ชัดเจน โปร่งใส ระวังภัย แต่ไม่แตกตื่น”หัวใจการสื่อสารเมื่อมีภัย

    By: unlockmen March 20, 2020

    “ผู้นำ” คือแกนหลักสำคัญของประเทศ องค์กร หน่วยงาน ผู้คนจำนวนมากไว้วางใจเลือกผู้นำคนใดคนหนึ่งขึ้นมา เพราะเชื่อมั่นในศักยภาพและความสามารถเต็มเปี่ยม แต่การเป็นผู้นำไม่ได้หมายความแค่การนำพาประเทศหรือองค์กรให้ไปข้างหน้าแค่ในช่วงเวลาอันสงบสุขเท่านั้น แต่หมายความว่าในสภาวะคับขัน ภัยมา หรือถูกจู่โจมแบบฉับพลัน ผู้นำจะสามารถรับมือกับเรื่องเลวร้ายเหล่านั้นได้สมกับที่ผู้คนไว้วางใจ การบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตก็สำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญมากไม่แพ้กันคือ “การสื่อสาร” ในสถานการณ์สุดตึงเครียด ในสภาวะที่ประชาชนหวาดกลัว การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและทรงพลังจากผู้นำนั้นมีส่วนสำคัญที่ทำให้หลายอย่างคลี่คลาย หรืออย่างน้อยที่สุดก็ควรเรียกความเชื่อมั่นจากฝูงชนให้พร้อมเผชิญอุปสรรคไปพร้อมกัน   Angela Merkel วิกฤตล่าสุดที่คนทั้งโลกกำลังเผชิญความท้าทายร่วมกันคือวิกฤตไวรัสโควิด 19 ที่กำลังน่าเป็นห่วงในหลายพื้นที่ ผู้นำแต่ละชาติมีมาตรการรับมือ ป้องกันและแก้ไขแตกต่างกันไป รวมถึงสปีชกับประชาชนในชาติตัวเองที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำของแต่ละคนด้วย Angela Merkel สมุหนายกแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (ที่ปกติว่ากันว่าเธอไม่ได้ออกมาแถลงอะไรลักษณะนี้บ่อยนัก) แถลงข่าวผ่านทางโทรทัศน์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2020 โดยสปีชครั้งนี้ของเธอได้รับการกล่าวขวัญไปเป็นวงกว้างทั้งความตรงไปตรงมา มีเหตุมีผล เห็นอกเห็นใจผู้คน และสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้คนไปได้พร้อม ๆ กัน Angela Merkel ระบุว่าตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 มา ไม่มีอุปสรรคใดที่คุกคามประเทศของเราได้มากขนาดนี้ ซึ่งทำให้เรายิ่งต้องร่วมมือกัน แม้หลายคนจะเคยกังวลว่าถ้าเป็นผู้นำแล้วออกมาพูดว่ามีปัญหาตรง ๆ จะทำให้คนมองว่าเราไม่มีประสิทธิภาพหรือเปล่า? Angela Merkel ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าการยอมรับว่านี่คือปัญหาที่หนักหนาที่สุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

    อ่านต่อ