ถ้าทำงานแล้วได้ค่าตอบแทนที่คุ้มค่าหรือมีหัวหน้าที่เข้าอกเข้าใจถึงงานหนักแค่ไหนก็ยังไหว แต่นั่นไม่ใช่กับบริษัทที่มีนโยบายแบบ Black Company เพราะนอกจากจะใช้งานหนักเยี่ยงทาสแล้ว บริษัทสีดำเหล่านี้ยังจ่ายเงินค่าล่วงเวลาในจำนวนที่น้อยนิด หรือถ้าหนักขึ้นไปอีกอาจจะต้องทำงานล่วงเวลาโดยไม่ได้รับค่าจ้างด้วยซ้ำ แถมยังต้องทำงานในวันหยุดอีกด้วย มันเกิดอะไรขึ้น ? แล้วทำไมเหล่ามนุษย์เงินเดือนเหล่านั้นถึงยังต้องยอมทนอยู่ ? ในช่วงสมัยที่ยากูซ่ายังมีอยู่ทั่วทั้งญี่ปุ่น ยากูซ่าเหล่านี้จะเปิดบริษัทเพื่อวัตถุประสงค์หลายอย่างไม่ว่าจะการสร้างช่องทางเป็นแหล่งรายได้เพื่อหล่อเลี้ยงแก๊งของตัวเอง หรือมีไว้เพื่อบังหน้าจากการทำธุรกิจใต้ดินผิดกฎหมาย ทำให้ในสมัยก่อนบริษัทของยากูซ่าเหล่านี้จะถูกเรียกกันว่า Black Company อย่างไรก็ตาม บริษัทสีดำที่ว่าในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงแค่ชื่อเรียกเฉพาะกับธุรกิจของเหล่ายากูซ่าอีกต่อไป แต่มันหมายถึงสำนักงานต่าง ๆ ทั่วเกาะญี่ปุ่นที่ใช้แรงงานพนักงานกินเงินเดือนเยี่ยงทาสอีกด้วย Black company (ブラック企業 burakku kigyō) บริษัทสุดโหดที่ชอบใช้งานพนักงานมากเกินความจำเป็น และมักเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการในสายครีเอทีฟและสายบันเทิงอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสาร บริษัทผลิตเกม และรายการทีวีช่องต่าง ๆ ปัจจุบันบริษัทสีดำในญี่ปุ่นเหล่านี้ก็ขยายวงไปยังวงการอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว นอกจากรายได้อันน้อยนิดกับการทำงานล่วงเวลาที่หนักหน่วง อีกหนึ่งสิ่งที่ตามมาและพบเห็นได้บ่อยครั้งในบริษัทประเภท Black Company คือเรื่องของ power harassment หรือการกดขี่ กดดัน ข่มขู่พนักงานไปจนถึงการทำร้ายร่างกาย ซึ่งเหล่าลูกน้องในบริษัทสีดำเหล่านี้จะต้องน้อมรับแต่โดยดี ห้ามเรียกร้องหรือคัดค้านอะไรทั้งสิ้น ไม่ใช่เพียงแค่ความกดดันหรือการข่มขู่เท่านั้น เพราะในบางครั้งพนักงานที่เป็นผู้หญิงก็มักจะโดน sexual harassment หรือการล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศอยู่บ่อยครั้ง การกล่าวอ้างนี้ก็ไม่ได้เขียนขึ้นลอย
การเลือกตั้งในประเทศกำลังใกล้เข้ามาทุกที ไทยเราห่างหายจากการเลือกตั้งไปเกือบ 5 ปี หลังจากรัฐประหารเมื่อปี 2557 ดังนั้นก่อนที่จะเข้าคูหากาเบอร์พรรคที่ตัวเองชื่นชอบ UNLOCKMEN จะพาไปดูเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างฟิลิปปินส์ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจของการต่อสู้ทางการเมือง เรื่องราวที่ยาวนานและยืดเยื้อเริ่มต้นขึ้นเมื่อ เฟอร์ดินานด์ เอ็มมานูเอล มาร์กอส ได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 10 ของฟิลิปปินส์ ดำรงตำแหน่งเป็นเวลาเกือบ 21 ปี (1965-1986) เขาสร้างชื่อจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะความร้อนแรงและอุดมการณ์อันเต็มเปี่ยมในการต่อต้านจักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อเขาตัดสินใจเล่นการเมือง ชื่อเสียงตั้งแต่ช่วงสงครามโลกของเขารวมถึงนโยบายต่าง ๆ ของพรรคสามารถซื้อใจชาวรากหญ้าและชนชั้นกลางทำให้มาร์กอสชนะการเลือกตั้งในปี 1965 และดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ แรกเริ่มเดิมทีเหมือนทุกอย่างจะดำเดินไปได้ด้วยดี แต่แล้วกลับไม่เป็นอย่างที่ชาวฟิลิปปินส์คาดคิด เมื่อมาร์กอสดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาได้ปรับเปลี่ยนรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ต่าง ๆ สร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองและกลุ่มพรรคพวก อีกทั้งนโยบายประชานิยมของเขาจะต้องยืมเงินมาจากต่างประเทศ ทำให้ประเทศมีหนี้สินจำนวนมาก เมื่อได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในสมัยที่สอง มาร์กอสได้ประกาศกฎอัยการศึกในปี 1972 รวบอำนาจทั้งหมดมาไว้ในมือ เปลี่ยนเป็นผู้นำเผด็จการที่ทำให้ทั้งนักข่าว สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ วุฒิสมาชิกถูกจำกัดเสรีภาพด้วยกฎอัยการศึกและถูกจับตาอยู่ตลอดเวลา สำนักข่าวที่เห็นต่างถูกปิดตัวลงโดยอ้างว่าถ้าสื่อมีเสรีภาพมากเกินไปจะทำให้อำนาจกระบวนการสร้างชาติไม่สามารถดำเนินไปได้ ไม่ว่าจะเป็นสภา ทหาร ไฟฟ้า น้ำมัน สื่อสิ่งพิมพ์ ทุกอย่างตกอยู่ภายใต้ความดูแลของบริษัทเครือข่ายพรรคพวกของประธานาธิบดี เขายังวางแผนที่จะอยู่ในอำนาจยาว ๆ โดยในช่วงเวลาที่มาร์กอสดำรงตำแหน่ง ธนาคารโลกได้เปิดเผยว่าฟิลิปปินส์กลายเป็นประเทศที่มีหนี้สินมากที่สุดในเอเชียจากเดิมราว 2,670