DESIGN

MASTERPIECE: MUSEUM AT HOME ศิลปะชิ้นเอกนอกแกลเลอรีของ “เบียร์-พันธวิศ”

By: unlockmen September 6, 2019

‘ศิลปะ’ เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดอีกแขนงหนึ่งของโลกที่ไม่เพียงสะท้อนความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ และแรงบันดาลใจในการรังสรรค์ผลงานของศิลปิน หากยังเป็นสิ่งที่ช่วยจรรโลงจิตใจมนุษย์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย แล้วคงปฏิเสธไม่ได้ว่าแทบทุกรายละเอียดยิบย่อยในชีวิตเราล้วนมีศิลปะเกี่ยวพันอยู่เสมอ

แม้ศิลปะจะไม่เคยหยุดอยู่กับที่และถูกนิยามความหมายใหม่ในบริบทที่แตกต่างกัน แต่ผู้คนส่วนใหญ่ยังจำกัดศิลปะไว้เพียงในแกลเลอรีและพิพิธภัณฑ์เท่านั้น ติดภาพจำเดิม ๆ ว่าศิลปะต้องเป็นภาพวาดหรืองานประติมากรรมที่ตั้งตระหง่าน แต่ในความเป็นจริงแล้วศิลปะกว้างขวางมากกว่านั้น

แล้วความสงสัยใคร่รู้ด้านศิลปะแขนงใหม่ก็พาเราเดินดุ่มมาหาคุณ ‘เบียร์-พันธวิศ’ คอลเลกเตอร์มือทองควบตำแหน่งพ่อมดแห่งวงการอีเวนต์ที่เชื่อเหมือนเราว่า ศิลปะไม่จำเป็นต้องอยู่ในแกลเลอรีเสมอไป

 มุมมองของคนเล่นของและศิลปะนอกแกลเลอรี

“เบียร์-พันธวิศ” ถ้าเอ่ยชื่อนี้ในวงการอีเวนต์ เชื่อว่าหลายคนคงพอคุ้นหูกันอยู่บ้าง เพราะเขาคือหนุ่มนักสร้างสรรค์ที่มีไอเดียในหัวพลุ่งพล่านไม่รู้จบ เป็นเจ้าของบริษัทด้าน New Media & Interactive Media, บริษัทตกแต่งภายใน, บริษัทร่วมทุนรับเหมาก่อสร้าง หรือแม้แต่ดิจิทัลเอเจนซี่น้องใหม่ที่กำลังมาแรงในตอนนี้

นอกจากตำแหน่งงานในหลากมิติอุตสาหกรรม สิ่งหนึ่งที่หลายคนยังไม่รู้คือคุณเบียร์ พันธวิศ ลวเรืองโชค เป็นหนึ่งในคอลเลกเตอร์ตัวยงที่รวบรวมของสะสมไว้เต็มโกดัง เพราะเขาเชื่อว่าสิ่งที่ทำอยู่นี้คือศิลปะอย่างหนึ่งที่แตกแขนงแยกย่อย

 “ศิลปะมันไม่ใช่อะไรที่สูงส่ง แค่เป็นสิ่งที่คนเข้าถึงได้”

“ตั้งแต่เด็ก ๆ มาจนถึงตอนนี้ ผมรู้สึกว่าคนที่ทำงานในแวดวงศิลปะกำลังถูกละเลย ไม่ว่าจะนักออกแบบ ศิลปิน หรืออาชีพอะไรต่อมิอะไร เพราะหากพูดถึงงานศิลปะ ผู้คนมักจะนึกถึงภาพวาดและงานประติมากรรมเท่านั้น แต่แก้วน้ำ เสื้อผ้า จานชาม ผ้าห่ม หรือเฟอร์นิเจอร์ก็เป็นศิลปะเหมือนกัน หากอยู่ใกล้ตัวมากไปจนผู้คนมองข้าม แค่นั้นเอง”

แรงบันดาลใจที่เปลี่ยน ‘คนเล่นของ’ ให้กลายเป็น ‘คนขายของ’

“ผมเชื่อว่าจุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจในแต่ละคนนั้นต่างกัน แต่สำหรับผมการเดินทางคือแรงบันดาลใจ ถ้าย้อนไปประมาณ 7 ปีที่แล้ว เป็นช่วงที่ผมเดินทางค่อนข้างบ่อย บวกกับมีนิสัยชอบเก็บของเก่าที่คนอื่นไม่ค่อยสนใจ ตั้งแต่นั้นผมก็เริ่มเก็บหอมรอมริบและสะสมสิ่งของมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วก็โชคดีที่ผมมองเห็นความสำคัญของมัน ขณะที่คนอื่นมองไม่เห็น

จากคนเล่นของกลายมาเป็นคนเก็บของและคนขายของ ที่นำของสะสมมากชิ้นในโกดังมาต่อยอดทางธุรกิจพร้อมเพิ่มมูลค่าให้สิ่งของชิ้นนั้น ๆ เมื่อของที่เก็บไว้เริ่มล้นมือและสะเปะสะปะ เขาจึงเริ่มคิดวิธีจำแนกแยกประเภทและนำของที่สะสมมาตลอดหลายปีจัดวางใหม่ในอีกบริบทหนึ่ง ที่ทำให้พวกมันเป็นมากกว่าแค่ ‘ของเก่า’

“บางครั้งต้องขอบคุณโซเชียลเน็ตเวิร์ก ที่ทำให้เหล่าคอลเลกเตอร์ในมุมมืดอย่างผมเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ทำให้อาชีพคนเล่นของเริ่มแตกหน่อออกมาเป็น subculture เล็ก ๆ แถมโลกโซเชียลยังช่วยให้เราได้อวดของสะสม ตีแผ่ และสอนให้รู้ว่าของที่ไม่รู้จัก ใช่ว่ามันจะไม่มีราคา”

MUSEUM AT HOME โปรเจกต์ที่มอบความหมายใหม่ให้ ‘ศิลปะ’ และ ‘บ้าน’

จากประสบการณ์การทำงานในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ ทำให้เบียร์-พันธวิศ ได้ล่วงรู้ความลับบางอย่าง นั่นคือการที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ต่างหาหนทางเปลี่ยนนิยามของคำว่า “บ้าน” ซึ่งแปลว่าบ้านอาจไม่ได้มีหน้าตาเดิม ๆ อีกต่อไปแล้ว

และแปลว่ามันสามารถกลายเป็นพิพิธภัณฑ์รวมของสะสม เป็นร้านอาหาร หรือแม้แต่เป็นอะไรก็ได้ อย่างในโปรเจกต์ Museum At Home ของโครงการ The Primary V ที่นำศิลปะมาผนวกรวมกับบ้านโดยสมบูรณ์ ทั้งเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งสไตล์วินเทจที่สอดแทรกอยู่ตามจุดต่าง ๆ ล้วนถูกคัดสรรมาเป็นอย่างดี เพื่อให้บ้านหลังนี้สะท้อนรสนิยมผู้พักอาศัยและเป็นอะไรมากกว่าแค่บ้าน

“โปรเจกต์ Museum At Home ไม่ได้เป็นแค่โครงการบ้านอสังหาริมทรัพย์และไม่ใช่แค่บ้านตัวอย่าง แต่มันคือบ้านที่ผสมผสานรวมกันกับพิพิธภัณฑ์ศิลปะ ซึ่งมีวิถีชีวิตของผู้คนในอีก 10 ปีข้างหน้าเป็นโจทย์หลักของการออกแบบ พูดง่าย ๆ ก็คือโปรเจกต์นี้มอบนิยามใหม่ให้กับบ้าน เหมือนกับที่มอบความหมายใหม่ให้ศิลปะที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในแกลเลอรีอีกต่อไป”

Museum At Home เป็นหนึ่งในวิธีการเล่าเรื่องและสื่อสารศิลปะในรูปแบบใหม่ ทดลองนำศิลปะที่ไม่ใช่แค่ภาพวาดและงานประติมากรรมมาตั้งวางในโมเดลใหม่ ๆ ทำให้บ้าน แกลเลอรี และพิพิธภัณฑ์ผนวกรวมกัน จนศิลปะเข้าแนบชิดใกล้กับผู้คนมากขึ้นกว่าเดิม

“นอกจากจะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ศิลปะยังมี ‘คุณค่า’ ที่แปรเปลี่ยนเป็น ‘มูลค่า’ ได้อีกด้วย”

ขณะที่ตลาด niche เริ่มมีการขยายตัวมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนซื้อขาย ทั้งนาฬิกา รองเท้า เสื้อผ้า หรือแม้แต่เฟอร์นิเจอร์แต่งบ้าน ซึ่งนี่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ตอกย้ำว่าของทุกอย่างรอบตัวเราล้วนมีคุณค่าในตัวเองเสมอ แต่ของชิ้นนั้นจะมีมูลค่าสูงหรือไม่ ต้องอยู่กับว่ามันถูกขายให้กับใครมากกว่า

“จริงอยู่ที่บอกว่าการสร้างบ้านคือการลงทุน แล้วคุณอยากรู้ไหมล่ะครับว่าบ้านแบบไหนที่ลงทุนแล้วได้กำไร หรือเอาง่าย ๆ คือบ้านแบบไหนที่อยู่แล้วรวย? ถ้าเราไปซื้อเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่ง หรือแม้แต่ซื้อบ้าน รอไม่นานเดี๋ยวราคามันก็จะลดฮวบลงเรื่อย ๆ แต่ถ้าเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่งในโปรเจกต์ Museum At Home จะต่างกันที่ราคาของมันดันเพิ่มสูงขึ้นทุกปี”

THE PRIMARY V บ้านเดี่ยวที่เปลี่ยนความหมายของ ‘บ้าน’ ไปตลอดกาล

THE PRIMARY V เป็นโครงการบ้านเดี่ยว 4 ชั้น ในย่านเกษตร-นวมินทร์ ที่เปลี่ยนความหมายของคำว่าบ้านให้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ด้วยสไตล์การตกแต่งที่ได้แรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมเอเชียและยุโรป จนเกิดเป็น Asian-Nouve

ที่ถ่ายทอดทั้งความหมายและรายละเอียดผ่านเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งสไตล์วินเทจ สอดแทรกความร่วมสมัยและไปด้วยกันได้ดีกับไลฟ์สไตล์คนเมืองในยุคนี้ ทั้งยังมีพื้นที่ว่างมากพอให้ความทันสมัยแทรกตัวเข้ามาอย่างกลมกลืน

เฟอร์นิเจอร์แทบทุกชิ้นจะ customized ขึ้นมาจากช่างฝีมือคนไทย ทั้งผนังห้องน้ำที่ถอดแบบมาจากกำแพงวัด เฉดสีใหม่ที่ผสมขึ้นมาเอง หรือแม้แต่การนำลวดลายปะกนแบบไทยมาประยุกต์ใช้กับการดีไซน์บ้านหลังนี้ สมทบด้วยผ้าม่าน พรม กระเบื้อง จานชาม และของตกแต่งอื่น ๆ ที่เป็นของสะสมของคุณเบียร์เอง เรียกได้ว่าเป็นการผสมผสานแฟชั่น หลักการออกแบบบ้าน และงานศิลปะเข้าด้วยกันอย่างไร้ที่ติ

‘ภาวะน่าสบาย’ อาจเป็นคำนิยามของบ้านที่ดีในทางสถาปัตยกรรม ซึ่งจะต้องตอบโจทย์ทั้งการด้านฟังก์ชันการใช้งาน โครงสร้างแข็งแรงทนทาน แถมยังต้องมอบประสบการณ์การพักอาศัยที่ถูกใจเจ้าบ้านอีกด้วย แต่นอกจากโครงสร้างที่เป็นพื้นฐาน แทบไม่อยากจะเชื่อว่าศิลปะก็เป็นอีกหนึ่งมิติที่สร้างความจรรโลงใจและเพิ่มมูลค่าให้กับบ้านในเวลาเดียวกัน

หากหนุ่มคนไหนว่าง ๆ UNLOCKMEN ก็ขอเชิญมาชมโปรเจกต์ Museum At Home ของโครงการ The Primary V ที่จะตอบคำถามของคุณได้ว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ชีวิตพวกคุณจะเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยขนาดไหน ของเก่าที่กลับมามีชีวิตอีกครั้งหรือการพักอาศัยที่แวดล้อมด้วยงานศิลปะเช่นนี้จะส่งผลอย่างไรต่อคุณภาพชีวิตคุณ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่ หรือโทร 098-262-2782

PHOTOGRAPHER: Warynthorn Buratachwatanasiri

unlockmen
WRITER: unlockmen
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line