Kazuhiro Hori เริ่มวาดรูปเด็กสาวมัธยมในชุดนักเรียนแบบกะลาสีเรือตั้งแต่ปี 2009 และมันมีความหมายแฝงที่ห่างไกลจากการสร้างความลุ่มหลงทางอารมณ์ให้คนดูยิ่งนัก ตุ๊กตาหมีขนปุย เด็กผู้หญิงในเครื่องแบบชุดนักเรียน ขนมหวาน และสีชมพู เป็นของ 4 สิ่งที่ไม่ว่าจะอยู่ในองค์ประกอบเดียวกัน หรือแยกออกมาเป็นปัจเจกก็ให้ความรู้สึกของความน่ารักที่เปี่ยมด้วยความสดใสน่าดูเลยใช่มั้ยครับ แต่ถ้าคุณได้ดูภาพวาดจากงานของ Kazuhiro Hori ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งเหล่านี้คงไม่มีวันเหมือนเดิมได้อีกเลย UNLOCKMEN จะพาทุกคนไปรู้จักกับศิลปินญี่ปุ่นผู้วาดภาพที่เต็มไปด้วยองค์ประกอบทั้งหมดที่เราเกริ่นมา ซึ่งตั้งใจแสดงออกถึงความลุ่มหลงทางเพศให้คนดู แต่แฝงนัยยะให้เกิดผลกระทบสร้างความแขยงต่อความคิดของการล่วงละเมิดทางเพศโดยตรง Kazuhiro Hori เกิดปี 1969 ในประเทศญี่ปุ่น จบจากโรงเรียนศิลปะ Kanazawa College of Art ด้วยเอกวิชาภาพวาดสีน้ำมัน (Oil Painting) ปัจจุบันโฮริมีงานหลักเป็นอาจาย์สอนวิชา Fashion Design ในมหาวิทยาลัยพร้อมกับรับงานรองสอนศิลปะกับวาดรูปไปด้วย โดยรูปแบบงานของโฮริจัดอยู่ในหมวดของศิลปินจิตกรรมสายเหนือจริง (Surrealism) ขอเกริ่นรูปแบบงานพร้อมชมกิตติมศักดิ์ของคุณโฮรินิดนึง โดยงานของเขาจะเล่าเรื่องของวัฒนธรรมญี่ปุ่นแบบเรียกว่า 100% เลยก็ว่าได้ และโฮริไม่เคยมั่นใจเลยว่างานของตัวเองจะสามารถไปในระดับ Global ได้ “งานของฉันจะถูกเข้าใจในความคิดของชาติอื่นได้มั้ย?” แต่แล้วด้วยความชัดเจนของลายเส้นและความหนักแน่นต่อสิ่งที่ต้องการจะพูด งานของโฮริมันก็ไวรัลในสายตาของคนทั่วโลกไปแล้ว ทั้งจัดแสดงในลอสแอนเจลิส, นิวยอร์ก, มิวนิค และเพิ่งมาจัดแสดงที่ประเทศไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2022
ในหนึ่งชีวิตนี้เราทุกคนล้วนเคยป่วย เราอาจเคยเป็นหวัดเพราะอากาศเปลี่ยน เราอาจเคยเป็นไข้เลือดออกเพราะโดนยุงลายที่มีเชื้อกัด เราอาจเคยเป็นไมเกรนเพราะเครียดกับงานที่ทำมากเกินไป การป่วยจึงเกิดขึ้นได้กับทุกคนเป็นปกติ และอาการป่วยส่วนใหญ่รักษาให้หาย หรือหาวิธีร่วมอยู่กับอาการได้ เมื่อร่างกายป่วยได้ ก็หมายความว่าความรู้สึก จิตใจที่ผ่านการสั่งการจากสมองนั้นป่วยได้เช่นกัน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรถ้าเราจะได้เจอคนที่ป่วยใจในชีวิต บางคนเป็นโรคซึมเศร้า บางคนอาจเป็นไบโพลาร์ บางคนอาจเป็นโรคเครียด ฯลฯ แต่เมื่อคนใกล้ตัว โดยเฉพาะคนที่เรารักป่วยใจ เราคงอยากรู้ว่าเราควรเข้าใจโรคซึมเศร้าแบบไหน มีอะไรที่เราต้องยอมรับบ้าง วันนี้ UNLOCKMEN ชวนทำความเข้าใจไปพร้อมกัน แง่บวกมากไปไม่ช่วยอะไร เราล้วนเลือกทำอะไร พูดอะไรกับคนที่เรารัก เพราะความหวังดี โดยเฉพาะเมื่อเขาป่วย เรายิ่งรู้สึกว่าอยากไล่เมฆหมอกแห่งความอึมครึมหม่น ๆ ที่เขารู้สึกออกไปให้พ้น เราเลยเลือกโยน “ก้อนการมองแง่บวก” ใส่เขารัว ๆ ในวันที่เขาบอกความรู้สึกว่าเศร้า เราก็ดันไปบอกเขาว่าอย่าคิดมากเลย มีคนลำบากตั้งเยอะ, เศร้าทำไม ชีวิตมีสิ่งสวยงามอีกมาก แม้เราจะพยายามชวนให้เขามองโลกในแง่บวกเพราะเจตนาดี แต่อย่าลืมว่าการทำมากไป หรือบ่อยไป มันไม่ต่างจากการที่เรามองข้ามสิ่งที่เขารู้สึก หรือบอกว่าเขาผิดเองที่ไม่มองโลกในแง่บวก ดังนั้นคุณต้องอย่าลืมว่าเขาไม่ได้อยู่ ๆ อยากเศร้าหรือห่อเหี่ยวแบบนี้ แต่มันคืออาการของโรค เหมือนเวลาเป็นหวัดแล้วน้ำมูกไหล เราห้ามน้ำมูกไม่ได้ เช่นเดียวกับที่จะไปห้ามเขาเศร้าไม่ได้ สิ่งที่ดีที่สุดคือการพยายามรับฟังเวลาเขาบอกว่าเขารู้สึกอะไร โดยไม่ตัดสินสิ่งที่เขารู้สึก ยืนเคียงข้างทุกเป้าหมายของเขา สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อป่วยเป็นโรคซึมเศร้าคือการขาดแรงจูงใจ
ความรัก ความสัมพันธ์ไม่ใช่แค่ความหอมหวานราบรื่น ถึงตอนจีบกันใหม่ ๆ ดูจะใช่ไปหมด น่ารักไปทุกสิ่ง แต่ทันทีที่มนุษย์สองคนต้องใช้ชีวิตร่วมกัน (โดยเฉพาะเมื่อต้องย้ายมาอยู่ด้วยกัน) ความน่ารักโรมแมนติกสวยหรูที่เคยฉาบไว้ตอนต้น ก็จะค่อย ๆ หลุดร่อนเผยให้เห็นแก่นแห่งความสัมพันธ์ บางเรื่องก็ยังน่าหลงใหล แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่ชวนให้เบือนหน้าหนี จึงเป็นเรื่องปกติที่เมื่อความสัมพันธ์ดำเนินไป หลายคู่เข้ากันได้ดีกว่าเดิม แต่อีกหลายคู่ที่ไปกันไม่รอด แต่เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางคู่ก็เห็นทะเลาะกันแสนจะบ่อย มีเรื่องให้ต้องถกเถียงกันก็หลายครั้ง แต่ยังไม่เลิกกันสักที? แถมบางหนคู่ที่ดูทะเลาะ ๆ กันนี่แหละดันคบกันยาวยิ่งกว่าคู่ที่ดูราบรื่นเสียอีก? ผลสำรวจชิ้นหนึ่งระบุว่าคู่ที่ทะเลาะกันอย่างมีประสิทธิภาพมีแนวโน้มที่จะมีความสุขกับความสัมพันธ์มากกว่าคู่รักที่ไม่ทะเลาะกัน 10 เท่า! ถ้าอ่านเผิน ๆ คงรู้สึกว่าจะเป็นไปได้ไง? คนทะเลาะกันก็ต้องแปลว่ามีเรื่องคิดเห็นไม่ตรงกัน หรือมีอะไรขัดแย้งกันสิ มันจะมีความสุขกว่าหรือคบกันนานกว่าได้ด้วยเหรอ? แต่การทะเลาะกันอาจไม่ได้เป็นแบบที่เราเข้าใจเสมอไป การเติบโตมาในสังคมที่ทำให้เข้าใจว่าความขัดแย้งหรือการคิดเห็นไม่ตรงกันเป็นเรื่องไม่สงบ แต่จริง ๆ แล้วการที่เรารู้สึกไม่พอใจแล้วเลือกบอกอย่างตรงไปตรงมา หรือคิดเห็นไม่ตรงกันแล้วเลือกแลกเปลี่ยนกันให้ชัดเจนนั้น ถือเป็นการทะเลาะกันอย่างมีประสิทธิภาพที่จะทำให้เราเข้าใจกันได้มากขึ้น ในขณะที่การเงียบ นิ่งเฉย ไม่เคยทะเลาะกันเลย (ถ้าเป็นไปเพราะเข้ากันได้ทุกเรื่องก็นับเป็นกรณีหนึ่ง) แต่จริง ๆ แล้วมีปัญหาสารพัด เรื่องไม่พอใจหลาย ๆ แบบ แล้วเลือกซุกซ่อนปัญหานั้นไว้ใต้พรม สักวันหนึ่งความไม่พอใจเล็ก ๆ เหล่านั้นก็จะสะสมจนเป็นปัญหาเรื้อรังที่แก้ไม่ได้อีกต่อไป คู่รักหลาย ๆ
น้ำตา บาดแผล และความเจ็บปวดจากการเลิกราถือเป็นความเจ็บปวดที่รับมือได้ยากแสนยากอันดับต้น ๆ คล้ายสมองจะเข้าใจดีว่าเขาต้องจากไป แต่เหมือนหัวใจมันไม่รับรู้ด้วย โดยเฉพาะความสัมพันธ์ที่เคยใช้เวลาร่วมกันมานาน กินของอร่อยมาด้วยกัน ไปเที่ยวที่นั่นที่นี่มาด้วยกัน ทุกคราวที่ของอร่อยเข้าปากน้ำตาจึงร่วง ทุกครั้งที่วนกลับไปเที่ยวที่เก่าความรู้สึกภายในก็กรีดร้องอย่างทรมาน ความเจ็บปวดที่ยากจะรับมือลำพังชนิดนี้ จึงมักผลักดันให้เรารู้สึกว่า “กูไม่อยากอยู่คนเดียวให้ต้องคิดถึงมึงให้เจ็บอีกแล้วโว้ย!” ตัวแรกอันดับต้น ๆ ของการพยายามลืมความปวดเจ็บและหนีปัญหาจากรักที่ผ่านพ้นไป (หรือแม้ประทั่งที่ยังระหองระแหงยื้อกันอยู่) จึงเป็นการ “มีใหม่ เพื่อลืมเก่า” หลายคนสนับสนุนวิธีนี้ แต่อีกหลายคนก็เคลือบแคลงสงสัยว่ามันช่วยได้จริงหรือ? การมีคนใหม่สำหรับบางคนไม่ได้หมายความถึงแค่การลืมคนเก่าเท่านั้น แต่อาจหมายถึงความสัมพันธ์ปัจจุบันที่กำลังร่อแร่เต็มที เราวนมาเจอกับปัญหาซ้ำ ๆ เดิม ๆ ที่ทะเลาะกันเป็นรอบที่ร้อย และเรารู้สึกว่าถ้าเลิกกัน ถ้าเปลี่ยนคนใหม่ เราอาจจะไม่ต้องเผชิญปัญหาซ้ำซากนี้ก็เป็นได้ แต่เพราะสิ่งที่เราคิดหรือรู้สึกอาจไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเสมอไป (Eventual) stability and change across partnerships. จึงเป็นงานวิจัยที่ไขข้อสงสัยนี้ด้วยระเบียบวิธีให้เราได้ โดยงานศึกษาครั้งนี้ใช้เวลา 8 ปี รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 554 คน งานวิจัยนี้มุ่งสำรวจปัญหาในระยะยาว โดยนักวิจัยได้สำรวจผู้คนใน 4 ช่วงเวลา คือ 1 ปีก่อนที่ความสัมพันธ์เดิมของพวกเขาจะสิ้นสุดลง,
ความสุขมีมากมายหลายรูปแบบ กิจกรรมหวามไหวก็เป็นอีกหนึ่งความสุขที่คลายเครียดทั้งกายและใจให้เราได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อขึ้นชื่อว่าเซ็กซ์แล้ว การประกอบกิจกรรมย่อมทำได้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (ใครจะมากกว่านั้นก็แล้วแต่ความชอบส่วนบุคคล) ดังนั้นเซ็กซ์ที่สมบูรณ์แบบจึงควรเป็นเซ็กซ์ที่อิ่มเอมกันทุกฝ่าย ไม่ใช่พอใจอยู่ฝ่ายเดียว เรื่องง่าย ๆ ที่ผู้ชายหลายคนไม่รู้จึงเป็นเรื่องของจังหวะอารมณ์ที่ไม่เท่ากัน ผู้ชายอาจจุดติดง่ายไฟลุกโชติช่วง ทันทีที่มีอารมณ์ก็พร้อมจะกระโจนเข้าสมรภูมิได้เลย แต่ผู้หญิงไม่ได้เป็นแบบนั้นทุกคน ผู้หญิงจำนวนมากที่ต้องการการกระตุ้นเร้าที่เหมาะสม เพื่อจุดไฟรัญจวนให้ติด “การเล้าโลมจึงมีความหมาย” และนี่คือ 5 สิ่งที่เราอยาก UNLOCK วิธีคิดผูายสายจุดติดไวทั้งหลายว่าการมีเซ็กซ์ไม่ใช่แค่สอดใส่ แต่เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องเรียนรู้ร่วมกัน เพราะความหวามไหว เริ่มต้นตั้งแต่นอกห้องนอน เราไม่สามารถเอาความรู้สึกตัวเองไปสวมแทนความรู้สึกคนอื่นได้ เซ็กซ์เองก็เช่นกัน ต่อให้เรารู้สึกทะลักล้นปริ่ม ๆ มาตลอดวันเพียงใด ตกกลางคืนเจอหน้าเธอที่เรารัก แล้วกระโจนเข้าใส่ โดยหวังให้เธอมีอารมณ์ทะลักล้นระดับเดียวกันจึงเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ เพราะแบบนี้การเล้าโลมจึงมีความหมาย และจงจำให้ขึ้นใจว่าการเล้าโลมเริ่มได้ตั้งแต่นอกห้องนอน! ไม่ต้องรอให้ขึ้นเตียงแล้วค่อยเริ่ม แต่เราสามารถส่งขอ้ความหวามไหว ไปกระตุ้นเร้าเธอได้ตั้งแต่ตอนที่ยังไม่เจอกัน เช่น “คิดถึงจัง อดใจรอการจะได้เจอคุณคืนนี้ไม่ไหวแล้ว”, “อยากสัมผัสคุณจะแย่แล้ว แค่นึกถึงเรียวขาคุณก็แทบอดใจไม่ไหว” หรือประโยคอื่น ๆ ที่เป็นตัวเองกว่านี้ เต็มไปด้วยอารมณ์กว่านี้ และเป็นการสื่อสารกับเธออย่างจริงใจว่าคุณรู้สึกอยากกระโจนเข้าใส่เธอแค่ไหน การส่งข้อความนำไปก่อน เป็นทั้งการบอกความรู้สึกของคุณ เป็นการปรับระดับอารมณ์ของเธอให้มาอยู่ในระดับเดียวกัน รวมถึงกระตุ้นให้เธอรู้สึกมากขึ้น จินตนาการมากขึ้น ถ้าไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร
ในวันที่กระแสส่วนใหญ่บนโลกใบนี้เชื่อว่ายิ่ง “หนัก” อาจหมายถึงยิ่งดี คนทำงานหนักกว่าได้รับการยกย่องมากกว่า คนแบกรับภาระมากกว่าหมายถึงรับผิดชอบมากกว่า “ความเบา” กลายเป็นสิ่งที่ผู้คนหลงลืมกันไป ในวันที่โลกทั้งใบเชื่อในสิ่งหนัก ๆ แต่ใครบางคนอาจเชื่อในความบางเบา คล่องตัว ยืดหยุ่นและพร้อมรับความหลากหลาย แต่ก็ยังมีไลฟ์สไตล์ที่เต็มไปด้วยคุณภาพทุกอณู “ฟ้า-ษริกา สารทศิลป์ศุภา” ยูทูเบอร์สาวก็เป็นหนึ่งในนั้น เธอเคยลองเป็นนักร้อง รับงานนักแสดง มีธุรกิจเป็นของตัวเอง รวมถึงไลฟ์สไตล์และความสนใจที่หลากหลายจนเราอดสงสัยไม่ได้ว่า “ทำทั้งหมดได้อย่างไร?” ความเบา ความคล่องตัวอยู่ตรงไหนในชีวิตที่ทั้งประสบความสำเร็จและมีความสุขนี้? เบากว่า ตรงเป้ากว่า: เพราะชีวิตไม่จำเป็นต้องหนัก แค่ต้องปล่อยสิ่งที่ไม่จำเป็น โลกตอนนี้อาจบีบบังคับให้เราต้องทำหลาย ๆ สิ่งพร้อมกัน และต้องทำอย่างหนักเพื่อให้ทุกสิ่งออกมาดีที่สุดด้วย ตอนแรกฟ้าเองก็เชื่อแบบนั้น แต่คำถามก็คือ “ชีวิตคนเราต้องหนักขนาดนั้นไหม?” นั่นเองคือจุดเริ่มต้นที่ฟ้าเริ่มมองว่า ความเบาอาจเติมเติมเต็มเธอได้มากกว่า จนเธอตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อทำสิ่งที่เธอรัก “ช่วงมัธยมฟ้าเริ่มเป็นศิลปินฝึกหัด เริ่มมีงานถ่ายแบบเป็นงานในวงการเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรายังทำได้ในช่วงนั้น แต่พอใกล้เข้ามหาวิทยาลัย มันเริ่มหนักจริง เราอยากทำธุรกิจของตัวเอง อยากทำอะไรใหม่ ๆ และเป็นช่วงสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วย เลยเหนื่อยและหนักเป็นพิเศษ” “ช่วงที่หนักที่สุดคือตอนเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว เราเริ่มเรียนรู้ระบบมหาวิทยาลัยว่ามีสอบ มีส่งงาน ตอนนั้นเราเป็นนักร้องอยู่ด้วย
“กระอักกระอ่วน” คงไม่มีใครชอบหรืออยากเผชิญความรู้สึกนี้ โดยเฉพาะเรื่องชวนหน้าแตก อับอายที่เกิดขึ้นระหว่างกิจกรรมที่ควรจะเซ็กซี่ยวนใจที่สุดอย่างกิจกรรมบนเตียง แต่เพราะเซ็กซ์คือกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างเรือนร่าง 2 เรือนร่าง (หรือมากกว่านั้น) เราจึงไม่สามารถควบคุมร่างกายของเราและของเธอให้อยู่ในบรรยากาศชวนพิศวาสดังใจได้เสมอไป อย่างไรก็ตามการมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นระหว่างมีเซ็กซ์ แม้จะไม่ตรงกับที่เราคาดหวัง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องผิดปกติเสมอไป ดังนั้นมาทำความเข้าใจบรรดาเรื่องชวนกระอักกระอ่วนระหว่างกิจกรรมสวาทให้ถี่ถ้วน พร้อมวิธีคร่าว ๆ ว่าเราจะรับมือกับเรื่องชวนเขินตอนมีเซ็กซ์เหล่านั้นอย่างไร เพื่อให้เราไม่ดูตื่นตระหนกเกินเบอร์ หรือทำให้อีกฝั่งรู้สึกแย่จนหมดอารมณ์ เพราะบางเรื่องก็เกิดขึ้นได้จนแทบจะเป็นปกติ ขอแค่เราเข้าใจมันเท่านั้น น้องสาวผายลมได้ ไม่ต้องตกใจ อารมณ์กำลังขึ้นสูงสุด จังหวะร่างกายโหมกระหน่ำระรัวตามอารมณ์ไปติด ๆ แต่แล้วก็ “ปุ้ด!?” เสียงลมดันตัวแทรกผ่านช่องแคบ ๆ ออกมา จะว่าเราเผลอตดก็ไม่น่าใช่ “ปุ้ด!?” อีกรอบ คราวนี้เราจึงมั่นใจว่านี่คือเสียงลมที่ออกมาจากอวัยวะส่วนนั้นของเธอเป็นแน่ ก่อนอื่นจงเข้าใจไว้ว่าการที่น้องสาวของเธอมีลมผุดออกมาระหว่างมีเซ็กซ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่ไม่ได้แปลว่าน้องสาวเธอตดออกมาเหมือนการตดที่ออกมาจากก้นแต่อย่างใด แต่เกิดจากการเสียดสีเอาอากาศเข้าไป ส่วนนั้นของเธอจึงขับลมออกมา ซึ่งอาจหมายความว่าเราใช้แรงมากและเร็วเกินไปจนอากาศเข้าไปมากก็เป็นได้ วิธีรับมือก็เพียงแต่ปล่อยให้มันเป็นไป เพราะมันไม่ต่างอะไรจากการมีเซ็กซ์แล้วเหงื่อออก มีเซ็กซ์แล้วเหนื่อยหอบ ไม่ต้องเอ่ยปากถามเธอ ไม่ต้องทำเป็นหัวเราะกลบเกลื่อน ปฏิบัติให้คล้ายกับว่าเรามีบางอย่างปกติธรรมดาเกิดขึ้น การรับมือแบบนี้นอกจากจะไม่ทำให้สาว ๆ รู้สึกสูญเสียความมั่นใจ (ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องเสียความมั่นใจใด ๆ อยู่แล้ว) ยังทำให้เราดูเข้าอกเข้าใจสรีระ และไม่เป็นมนุษย์ที่ช่างตัดสินอีกด้วย ถุงยางอนามัยเจ้ากรรม ทำพิษ!
ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ แต่ว่ากันว่าจากนี้ไปโลกจะไม่มีวันกลับไปเป็นเหมือนเดิม นอกจากนั้นหลายสิ่งหลายอย่างจะถูกแบ่งออกเป็นยุค Pre-COVID-19 และ Post-COVID-19 เพราะสรรพสิ่งจะพลิกกลับตีลังกาหงายหน้าหงายหลังแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนอันเนื่องมาจาก COVID-19 ทั้งไลฟ์สไตล์ วิธีการทำงาน วิธีการเดินทางท่องเที่ยว การรักษาสุขอนามัยส่วนตัว ไปจนถึง “เรื่องบนเตียง” เซ็กซ์ของผู้คนก่อน COVID-19 มาถึงเป็นอย่างหนึ่ง และหลังจากนี้หลายสิ่งหลายอย่างอาจเปลี่ยนไปจนเราตกตะลึง ความปลอดภัยมาก่อน “ความโหยหา” โลกยุค Pre-COVID-19 โหยหาเมื่อใด ต้องการความอบอุ่นจากร่างกายใครสักคนตอนไหน เราก็แค่เข้าแอปพลิเคชันสักแอปปัดซ้ายย้ายขวาไม่กี่หนก็ได้ใครสักคนที่ถูกใจแล้ว ปัจจัยในการตัดสินใจ “มีเซ็กซ์” นั้นมีเพียงแค่โหยหาใครสักคน ถูกใจ ไปกันต่อ แล้วเรื่องราวก็อาจจบลงภายในคืนนั้น (หรือไม่กี่ชั่วโมงนั้นด้วยซ้ำ) หรือจะสานต่อความสัมพันธ์กระชับความสัมพันธ์บนเตียง หรือรูปแบบอื่นต่อก็ย่อมได้ ทว่าโลก Post-COVID-19 ไม่ได้เป็นแบบนั้น ความโหยหา ความต้องการยังคงมีเต็มเปี่ยม แต่วิธีเรื่องความปลอดภัยของเราจะเปลี่ยนไป เราไม่สามารถนัดเจอมนุษย์ทุกคนที่เราอยากเจอได้ หรือแม้แต่หนึ่งคนที่อยากเจอที่สุดก็ไม่มีอะไรการันตีอีกต่อไปว่าเขาคนนั้นจะไม่นำความเสี่ยงมาให้ รวมไปถึงการเดินทาง สุขอนามัยของสถานที่ที่ใช้เป็นสมรภูมิรักอีกต่างหาก หากเทียบกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีวิธีการป้องกัน และรณรงค์กันมาหลายทศวรรษ เลือกใช้ได้ทั้งถุงยางอนามัย การกินยา Pre ยา Prep การไม่สัมผัสสารคัดหลั่ง ฯลฯ แต่กับ COVID-19
“โลกเปลี่ยนไปแล้ว” ในหลากหลายมิติ วิธีการเดินทางของเรา รูปแบบการทำงานของเรา การกิน การใช้เงิน ไปจนถึง “การตกหลุมรัก” COVID-19 ทำให้เราหมดโอกาสเจอใครสักคนที่ชอบในบาร์เดิมที่ไปทุกวันศุกร์ COVID-19 ทำให้ Dating App ที่เคยปัดซ้าย ปัดขวา ได้เจอใครสักคนคลายเหงาอย่างน้อยเดือนละคนสองคนกลายเป็นศูนย์ COVID-19 ทำให้คอนเสิร์ตที่เคยไปโยกหัวมองหาสาวที่อินกับเพลงเดียวกันกลายเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ไปอีกนานแสนนาน การตกหลุมรักแบบที่เราคุ้นเคยจึงเปลี่ยนรูปแปลงร่างตามหลายอย่างในชีวิตเราไปด้วยเช่นกัน การตกหลุมรักออนไลน์เข้ามาแทนที่ แต่ไม่ใช่การแทนที่แบบโต้ง ๆ (เพราะเราก็รู้สึกว่าก่อนหน้านี้ก็เดตออนไลน์อยู่เยอะแล้ว) แต่การตกหลุมรักออนไลน์จะเปลี่ยนไปถึงราก วิธีที่เราเลือกคนมองคน ไปจนถึงการออกเดต และการคบกัน เราตามหารักแบบไหนช่วง COVID-19 COVID-19 ทำให้เราตัดหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตออกไปได้ชัดเจนขึ้น บางอย่างเราเคยคิดว่าถ้าไม่มีมันแล้วเราคงอยู่ไม่ได้ แต่เมื่อสถานการณ์บีบบังคับ เราก็ยิ่งเข้าใจว่า “อะไรที่เราต้องการจริง ๆ” ไม่ต่างจากการตกหลุมรัก การจีบกัน และการเดต ในช่วงเวลาปกติผู้คนรู้สึกว่าจะจีบทิ้งจีบขว้าง นัดแล้วนัดอีกกี่รอบก็ได้ แต่เมื่อเราไม่สามารถออกไปไหนได้อย่างเสรี การจะตกหลุมรักและทุ่มเวลาช่วงนี้ให้ใครสักคน จึงต้องรอบคอบและใส่ใจที่คุณภาพมากกว่าปริมาณอย่างที่เป็นมา Helen Fisher นักมานุษยวิทยาชีวภาพประจำ Kinsey Institute ระบุว่าพฤติกรรมการเดตของผู้คนและวิธีการมองความโรแมนติกจะเปลี่ยนไป เราจะจัดลำดับความสำคัญทางความสัมพันธ์ใหม่ เพื่อที่จะหาว่าอะไรกันแน่ที่มีความหมายกับเราจริง ๆ ในขณะที่
เมื่อสถานการณ์รอบตัวเปลี่ยนไป มีสารพัดสิ่งละอันพันละน้อยที่ผู้ชายอย่างเราต้องปรับตัวตาม ตั้งแต่เรื่องที่ต้องรับผิดชอบอย่างหน้าที่การงาน วิถีชีวิต ไม่เว้นแม้กระทั่ง “ความรัก” และ “ความสัมพันธ์” เมื่อวิกฤตไวรัสฯ ส่งผลกระทบต่อชีวิตเราเพื่อความปลอดภัยที่สุดของทั้งเราและคนสำคัญของเราจึงทำให้ต้องห่างกันสักพัก การกุมมือกันดูหนังเรื่องโปรดก็ต้องยกเลิกไปโดยปริยาย อาหารร้านอร่อยที่ชวนกันไปกินบ่อย ๆ ก็ต้องงดไปอีกระยะ รวมถึงกิจกรรมเดินเล่นผ่อนคลาย ไปจนถึงทริปทะเลที่ได้นอนเล่นรับแดดอุ่น ๆ เคียงข้างกัน แม้ความรักและความรู้สึกคล้ายจะเป็นแกนหลักของความสัมพันธ์ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการได้เจอกัน มีกิจกรรมดี ๆ สานบทสนทนาราบรื่นต่อหน้า และการสร้างประสบการณ์ร่วมกันก็มีส่วนหล่อเลี้ยงให้ความสัมพันธ์คงอยู่ต่อไปได้ แต่เมื่อสถานการณ์ไวรัสที่กำลังแพร่ระบาดทำให้เราต้องห่างกันสักพัก จะมีวิธีไหนที่ยังประคับประคองความสัมพันธ์นี้ให้ราบรื่นต่อไปได้บ้าง? “โกรธ เศร้า หึง น้อยใจ” จงใช้เวลามากขึ้นก่อนรู้สึก ยิ่งตัวอยู่ไกลกันมากเท่าไร ระยะเวลาที่ยืดยาวออกไปไม่ได้เจอกันขึ้นมากเท่าไหน เราก็ยิ่งโหยหาคิดถึงอยากเจอคนที่เรารักมากขึ้นเท่านั้น ระยะห่างจึงมีข้อดีของมัน แต่ระยะห่างก็เป็นดาบ 2 คม เมื่อเราไม่ได้เจอกันต่อหน้า สภาวะการณ์รอบกายมีเรื่องให้ตึงเครียดจนอารมณ์ขุ่นมัว เราก็ยิ่งมีเรื่องให้เข้าใจกันผิดได้มากยิ่งขึ้น สิ่งหนึ่งที่จะทำให้ประคองระยะความสัมพันธ์ให้ราบรื่นต่อไปได้คือ “การใช้เวลาทบทวนสิ่งที่ตัวเองรู้สึกมากขึ้น” จากปกติเราเห็นหนุ่ม ๆ มาคอมเมนต์แฟนเราแบบสนิทสนมแล้วเราอาจจะโกรธทันที โทรหาเธอเพื่อโวยวาย ณ ตอนนั้น แต่ในสถานการณ์ที่ต้องห่างกันนาน ๆ ลองปรับระยะเวลาการแสดงออกให้ยืดยาวออกไป เพื่อให้อารมณ์เจือจางลงก่อน การให้อารมณ์เจือจางแล้วถึงแสดงออกจะช่วยลดระดับความรุนแรงทางอารมณ์ที่เราส่งไป หรือบางครั้งเมื่อเราให้เวลาได้ทบทวนดี