หลายคนคงเคยหรือกำลังรู้สึกกังวลกับอาการ ‘คิดมาก’ ของตัวเอง เพราะมันช่างรบกวนชีวิตของเราเหลือเกิน เวลาทำงานก็ไม่ค่อยมีสมาธิ เพราะเอาแต่คิดเรื่องอื่น เวลาจะนอนก็นอนไม่หลับ เพราะสมองยังไม่หยุดคิดสักที UNLOCKMEN เห็นว่าอาการคิดมากเป็นปัญหาใหญ่ของหลายคน และอยากให้ทุกคนก้าวข้ามมันไปได้ จึงอยากเล่าให้ฟังว่า ต้นเหตุของการคิดมากเกิดมาจากอะไร และเราจะแก้ไขมันอย่างไรได้บ้าง ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจนิยามของคำว่า คิดมาก (Overthinking) ก่อน มันหมายถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่หมกหมุ่นกับการคิดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานเกินไป ซึ่งปกติอาการคิดมากจะจำแนกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่ แบบแรกคือ “ครุ่นคิด (rumination)” ถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตซ้ำไปซ้ำมา และ แบบที่สอง “คือความกังวลอย่างหนักต่อเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” บางคนอาจจะเป็นแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือบางคนอาจจะเป็นทั้งสองแบบ โดยสาเหตุหลักของการคิดมากเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การขาดความมั่นใจในความสามารถของตัวเอง(self-doubt), ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง (self-esteem), เคยเจอกับเรื่องร้ายๆ ในอดีต และกลัวว่าจะทำผิดซ้ำซากอีกครั้ง รวมไปถึง นิสัยชอบวิตกกังวลในเรื่องต่างๆ ด้วย ความสามารถในการคิด (thinking) เป็นคุณสมบัติที่ทำให้มนุษย์โดดเด่นกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ มันทำให้มนุษย์สามารถประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และทำการตัดสินใจได้เหมาะกับสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม คนที่มีอาการคิดมากจะได้รับผลกระทบจากการคิดมากกว่าคนทั่วไป เพราะพวกเขามักจะจมอยู่กับปัญหามากกว่าคิดหาทางออกให้กับปัญหานั้น (problem-solving)
น้ำตา บาดแผล และความเจ็บปวดจากการเลิกราถือเป็นความเจ็บปวดที่รับมือได้ยากแสนยากอันดับต้น ๆ คล้ายสมองจะเข้าใจดีว่าเขาต้องจากไป แต่เหมือนหัวใจมันไม่รับรู้ด้วย โดยเฉพาะความสัมพันธ์ที่เคยใช้เวลาร่วมกันมานาน กินของอร่อยมาด้วยกัน ไปเที่ยวที่นั่นที่นี่มาด้วยกัน ทุกคราวที่ของอร่อยเข้าปากน้ำตาจึงร่วง ทุกครั้งที่วนกลับไปเที่ยวที่เก่าความรู้สึกภายในก็กรีดร้องอย่างทรมาน ความเจ็บปวดที่ยากจะรับมือลำพังชนิดนี้ จึงมักผลักดันให้เรารู้สึกว่า “กูไม่อยากอยู่คนเดียวให้ต้องคิดถึงมึงให้เจ็บอีกแล้วโว้ย!” ตัวแรกอันดับต้น ๆ ของการพยายามลืมความปวดเจ็บและหนีปัญหาจากรักที่ผ่านพ้นไป (หรือแม้ประทั่งที่ยังระหองระแหงยื้อกันอยู่) จึงเป็นการ “มีใหม่ เพื่อลืมเก่า” หลายคนสนับสนุนวิธีนี้ แต่อีกหลายคนก็เคลือบแคลงสงสัยว่ามันช่วยได้จริงหรือ? การมีคนใหม่สำหรับบางคนไม่ได้หมายความถึงแค่การลืมคนเก่าเท่านั้น แต่อาจหมายถึงความสัมพันธ์ปัจจุบันที่กำลังร่อแร่เต็มที เราวนมาเจอกับปัญหาซ้ำ ๆ เดิม ๆ ที่ทะเลาะกันเป็นรอบที่ร้อย และเรารู้สึกว่าถ้าเลิกกัน ถ้าเปลี่ยนคนใหม่ เราอาจจะไม่ต้องเผชิญปัญหาซ้ำซากนี้ก็เป็นได้ แต่เพราะสิ่งที่เราคิดหรือรู้สึกอาจไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเสมอไป (Eventual) stability and change across partnerships. จึงเป็นงานวิจัยที่ไขข้อสงสัยนี้ด้วยระเบียบวิธีให้เราได้ โดยงานศึกษาครั้งนี้ใช้เวลา 8 ปี รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 554 คน งานวิจัยนี้มุ่งสำรวจปัญหาในระยะยาว โดยนักวิจัยได้สำรวจผู้คนใน 4 ช่วงเวลา คือ 1 ปีก่อนที่ความสัมพันธ์เดิมของพวกเขาจะสิ้นสุดลง,
ถ้าพูดถึง CEO ไฟแรงที่น่าจับตามองในขณะนี้ สปอตไลท์คงต้องส่องไปที่ คุณรวิศ หาญอุตสาหะ หรือพี่แท๊ป ผู้บริหารไฟแรง แห่งบริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด เจ้าของเพจ Mission to the moon ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 300,000 คน เจ้าของ Podcast ชื่อดังอย่าง Superproductive Podcast และหนังสือติดอันดับมากมายอย่าง Marketing ลิงกลับหัว, คิดจะไปดวงจันทร์ อย่าหยุดแค่ปากซอย, Superproductive และอีกหลายเล่มที่คุณต้องไปติดตาม เกริ่นมาขนาดนี้แล้ว เราคงไม่พลาดที่จะมาเจาะลึก สูตรสำเร็จในการบริหารจัดการสไตล์พี่แท๊ปกันว่า มีเคล็ดลับการบริหารจัดการอย่างไรให้ประสบความสำเร็จทั้งด้านการทำงาน รวมถึงการได้ทำสิ่งที่ตนเองรักอีกด้วย วิธี Motivate ตัวเอง ให้เป็นคนที่ Superproductive ตลอดเวลา สม่ำเสมอโดยไม่ท้อไม่หมดแรง พี่แท๊ป : จริง ๆ ต้องบอกว่าก็ไม่ได้ productive ตลอดเวลาขนาดนั้น ก็มีวันที่หนืด ๆ นอนเฉย ๆ
“ออกเดินทางตามหาความสุขกันเถอะ” เราเคยเชื่อแบบนั้น ก่อนหน้านี้เราอยู่ในยุคที่ผู้คนเชื่อว่าความสุขไม่ได้เกิดจากสิ่งรอบตัว แต่เกิดขึ้นจากการออกเดินทางเพื่อไขว่คว้าความสุขมาครอบครอง การออกไปจากพื้นที่เดิม ๆ คือการเติมเต็มความสุขและความสนุกที่ขาดหายไป แต่ทันทีที่สถานการณ์ COVID-19 พลิกชีวิตเราทุกคนไปจนแทบไม่เหลือเค้าเดิม การออกไปแสวงหาความสุขจากที่ไกล ๆ อาจไม่ตอบโจทย์ชีวิต Next Normal อีกต่อไป เราต่างต้องทบทวนชีวิตและวิธีคิดใหม่ทั้งหมด เมื่อนั้นเราจึงค่อย ๆ เข้าใจว่าการที่เราสามารถมีความสุขโดยไม่ต้องไปหาที่ไหนไกลต่างหากคือชีวิตสมบูรณ์แบบที่เราต้องการ ความสุขไม่จำเป็นต้องอยู่ไกล แต่อยู่ที่ “บ้าน” การสามารถดื่มด่ำความสุขจากสิ่งใกล้ตัวได้ต่างหากที่เป็นคำตอบที่ผู้คนกำลังตามหา แล้วจะดีแค่ไหนถ้าความสุขที่ว่าไม่ได้อยู่ที่ไหนไกล แต่เริ่มต้นจาก “บ้านของเรา” เชื่อว่าช่วง Next Normal หลายคนพยายามหาทางปลดล็อกความสนุกจากการใช้พื้นที่บ้านให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ได้ครอบคลุมที่สุด เพราะการมองบ้านในมุมใหม่ ลุกขึ้นมาจัดการบ้านในมุมใหม่ จะทำให้เราเข้าใจว่าความสุขไม่จำเป็นต้องอยู่ไกล ถ้าจัดการพื้นที่ในบ้านได้ บ้านก็ต่อยอดความสนุกได้เช่นกัน สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าชีวิตช่วง Next Normal นี้จะเริ่มเติมความสนุกให้บ้านหลังเดิมกลายเป็นความสุขใกล้ตัวหรือทำบ้านให้เป็นมากกว่าบ้านได้อย่างไร UNLOCKMEN อยากชวนให้ลองวิธีต่อไปนี้ “แสงในบ้าน” หัวใจสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม งานวิจัย Lighting Psychology: Cognitive and Emotional Responses to Lighting ระบุว่าแสงส่งผลต่ออารมณ์และสมองของเรามากกว่าที่เราคิด ดังนั้นขั้นตอนแรกที่จะเพิ่มความสุขให้บ้านของเรา
“จะซื้อหนังสือมาทำไมถ้าไม่อ่าน?” “อ่านที่มีอยู่ให้หมดก่อนแล้วค่อยซื้อเพิ่มสิ” “โธ่ ก็แค่อยากเท่ใช่ไหม ถึงมีหนังสือไว้แค่ประดับบ้าน” เราเชื่อว่าถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีกองดอง หรือกองหนังสือที่ซื้อมาแล้วแต่ยังไม่ได้อ่านวางดองรอวันที่เหมาะสมอยู่ที่บ้าน คุณต้องเคยเผชิญกับประโยคเหล่านี้จากคนรอบตัวอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตแน่นอน แม้เราอยากจะตอบคำพูดเหล่านั้นกลับไปง่าย ๆ ว่า “หนังสือผม เงินผม ผมจะทำอะไรก็ได้” แต่ก็ไม่ได้ทำ… รวมถึงหลายครั้งที่เราเห็นภาพถ่ายบ้านคนเก่ง ๆ ระดับโลก Elon Musk เอย Bill Gates เอย แล้วเขามีหนังสือจำนวนมากเรียงราย หลายคนคงอดสงสัยไม่ได้ว่า อ่านหมดเหรอ? วันนี้ UNLOCKMEN ชวนมาไขข้อข้องใจว่าทำไมหนังสือต่อให้ซื้อมาแล้วไม่ได้อ่านก็มีประโยชน์อยู่ดี รับรองว่าจะรู้สึกสบายใจกับหนังสือ (ที่ยังไม่ได้อ่าน) ของตัวเองและคนอื่น รวมถึงเข้าใจมากขึ้นว่าทำไมคนเก่ง ๆ หลายคนเขาถึงมีหนังสือจำนวนมากกันขนาดนั้น แม้จะอ่านได้ไม่หมดในชีวิตนี้ก็ตาม antilibrary: หนังสือที่ยังไม่ได้อ่าน เตือนเราว่า “ยังมีเรื่องราวอีกมากที่ยังไม่รู้” เรามักได้ยินคำพูดทำนองว่าคนอ่านหนังสือเป็นคนอวดรู้ หรือคิดว่าตัวเองรู้ดี รู้เยอะกว่าคนอื่น แต่ความเชื่อแบบนั้นอาจต้องเปลี่ยนไปแบบพลิกโลก เพราะสำหรับคนที่มีหนังสือเรียงราย แต่อ่านไม่หมด เขากลับถ่อมตัว (ในสิ่งที่เขารู้) และตระหนักว่าพวกเขายังต้องเรียนรู้อะไรอีกมาก หนึ่งในคนที่เสนอเรื่องยิ่งมีหนังสือไม่ได้อ่าน ยิ่งกระหายการเรียนรู้คือ Nassim Nicholas Taleb เขาคือนักสถิติ
ปัจจุบันปัญหาการนอนไม่หลับ หลับยากหรือนอนหลับไม่สนิทกลายมาเป็นปัญหาที่หนุ่ม ๆ หลายคนต้องพบเจอ และการพักผ่อนที่ไม่มีคุณภาพเหล่านี้กำลังส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจของเรามากขึ้นทุกวันโดยที่เราไม่รู้ตัว ปัญหาการนอนไม่หลับเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุและมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไป อาจเกิดได้จากปัญหาภายนอกไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในห้องนอน ทั้งอุณหภูมิ เสียง และระดับของแสงสว่าง ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่การนอนหลับ แต่หนึ่งในปัญหาสำคัญที่เป็นต้นเหตุของอาการนอนไม่หลับมากที่สุดกลับไม่ใช่ปัญหาจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ แต่กลับเป็นปัญหาจากความเครียดและความกังวลทางจิตใจซึ่งเป็นปัญหาภายในที่ดูเหมือนว่าจะยากต่อการแก้ไข แต่อย่างไรก็ตามทางออกของปัญหาการนอนไม่หลับจากความรู้สึกภายใน ยังมีเทคนิคการหายใจที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดความเครียดทางจิตใจและผ่อนคลายร่างกายให้พร้อมเข้าสู่โหมดนิทรา วิธีดังกล่าวถูกเรียกว่าเทคนิคการหายใจแบบ 4-7-8 ซึ่งเป็นเทคนิคที่เราอยากหยิบมาแนะนำให้หนุ่ม ๆ ที่หลับยากทุกคนได้ลองฝึกไปด้วยกัน และเทคนิคการหายใจรูปแบบดังกล่าวจะมีขั้นตอนอย่างไร และมอบประโยชน์ด้านไหนให้กับเราบ้าง เชิญมาทำความรู้จักไปพร้อมกันได้เลย การหายใจ 4-7-8 คืออะไร ? เทคนิคการหายใจ 4-7-8 ถูกคิดค้นขึ้นโดย ดร.แอนดรูว์ ไวล์ (Andrew Weil) แพทย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดผู้ให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพแบบองค์รวมหรือ Holistic Health ซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพด้วยที่นำแนวทางการรักษาดั้งเดิมมาปรับเข้ากับการบำบัด ขณะเดียวกันดร.แอนดรูว์ ไวล์ ก็มองเห็นถึงประสิทธิภาพของการรักษาหรือบำบัดด้วยเทคนิคการหายใจเข้า-ออก ที่ถูกใช้เยียวยาจิตใจของมนุษย์มานานกว่าพันปี ไม่ว่าจะเป็นการทำสมาธิหรือการฝึกโยคะ ก่อนจะทำการศึกษาและวิจัยเพิ่มเติมจนเกิดเป็นเทคนิคหายใจที่เรียกว่า 4-7-8 ขึ้นมา โดยรูปแบบการหายใจดังกล่าวมีจุดเป้าหมายหลักคือเพื่อลดความวิตกกังวลรวมถึงทำให้ผู้ฝึกสามารถหลับได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในเวลาต่อมามีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นที่มีหลักฐานสนับสนุนว่าเทคนิคการหายใจนี้ใช้ได้ผลจริง การหายใจ 4-7-8 มีหลักการทำงานอย่างไร
พูดถึงสารเคมีในเครื่องดื่มที่ทำให้เราตาสว่าง สิ่งนั้น คือ ‘คาเฟอีน’ (caffeine) ที่เราบริโภคกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ เพราะมีอยู่ในเครื่องดื่มหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โค้ก ชา หรือ กาแฟ เป็นต้น แต่สงสัยไหมว่า ในเมื่อคาเฟอีนมีอยู่ในเครื่องดื่มหลายชนิด ทำไมกาแฟจึงทำให้เรารู้สึกตื่นได้ดีที่สุด? UNLOCKMEN จะอธิบายให้ทุกคนฟัง พร้อมแนะนำวิธีการดื่มกาแฟให้ตื่นอย่างแท้จริงด้วย ทำไมต้องดื่มกาแฟ? คาเฟอีนมีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (หรือ สมอง) ทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น อะดรีนาลีน (adrenaline) หรือ โดปามีน (dopamine) ส่งผลให้ อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ไปจนถึงระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงขึ้น เราจึงรู้สึกกระปรี้กระเปร่าเมื่อได้รับสารคาเฟอีนเข้าสู่ร่างกาย ในเครื่องดื่มแต่ละชนิดจะมีปริมาณคาเฟอีนที่ต่างกัน กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่มีปริมาณคาเฟอีนสูง เมื่อเที่ยบกับเครื่องดื่มประเภทอื่น เช่น ชา ค่าปกติปริมาณคาเฟอีนในกาแฟจะอยู่ที่ 40 มก./100 กรัม ส่วนชาจะอยู่ที่ 11 มก./100 กรัม ซึ่งความแตกต่างในเรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะธรรมชาติของตัวเมล็ดกาแฟ หรือใบชา แต่เกิดจากวิธีการชงกาแฟใช้น้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่า
เคยเป็นมั้ย เวลาคุยกับคนใหม่ๆ คนแปลกหน้า เราจะรู้สึกไม่มั่นใจ เพราะคิดว่าเขาคงคุยกับเราแล้วรู้สึกไม่สนุกเท่าไหร่ ขอบอกเลยว่าคุณไม่ได้เดียวดายในเรื่องนี้ เพราะ ‘Liking Gap’ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกคน แต่ไอ้สิ่งที่เรียกว่า Liking Gap มันคืออะไร? แล้วมันเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความสัมพันธ์ตรงไหน? UNLOCKMEN จะอธิบายให้ทุกคนฟัง พร้อมแนะนำ 3 เคล็ดลับทลายกำแพงการพูดคุยกับคนแปลกหน้าเอาไว้ฝึกฝนสกิลการเข้าสังคม และต้องเริ่มต้นบทสนทนากับพบผู้คนหน้าใหม่ ๆ Liking Gap คือ คำเรียกสภาวะที่เรารับรู้ความชื่นชอบจากคนอื่นไม่ตรงตามความเป็นจริง โดยเรื่องนี้ได้รับการยืนยันโดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่า เรามักประเมินความชอบที่ได้รับจากคนอื่นต่ำกว่าความเป็นจริง งานวิจัยชิ้นนี้ทำโดยทีมวิจัยของ ‘Erica Boothby’ นักจิตวิทยาจาก ‘Cornell University’ ในปี 2018 ซึ่งได้ศึกษาสถานการณ์ที่คนแปลกหน้าพูดคุยกัน (ทั้งในห้องทดลอง และสถานการณ์จริงของผู้เข้าร่วมเวิร์คช็อป) โดยทีมวิจัยได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างใน 2 เรื่อง ได้แก่ แต่ละคนชอบคู่สนทนาของตัวเองมากแค่ไหน? และแต่ละคนคิดว่าคู่สนทนาของตัวเอง รู้สึกชอบเรามากน้อยแค่ไหน ? นักวิจัยได้ทำการศึกษา 5 ครั้ง (มีการเปลี่ยนสถานการณ์ และกลุ่มตัวอย่างระหว่างการทดลอง) ในกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนรวมกันกว่า 700 คน
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น สำนวนไทยที่เราได้ยินบ่อย แต่อาจใช้ไม่ได้กับทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องความสัมพันธ์ เพราะเรื่องความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคนหลายคน มันจึงพัฒนาไม่ได้หากมีใครที่พยายามอยู่ฝ่ายเดียว และในการสร้างความสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จ เราอาจต้องคิดถึงเรื่องความเข้ากันได้ระหว่างเราและฝ่ายตรงข้ามด้วย เพราะหลายครั้งที่เราเห็นการพยายามปรับเข้าหากัน แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นกลับไม่ได้ดีขึ้นเลย วันนี้ UNLOCKMEN จะมาอธิบายให้ทุกคนเข้าใจถึงเรื่องนี้ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ว่าทำไม ความคล้ายกัน ถึงทำให้ความสัมพันธ์ไปได้ไกลกว่า ก่อนอื่นเราอยากให้ทุกคนเข้าใจก่อนว่า ความคล้ายคลึงกันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะที่ไม่เหมือนกัน ได้แก่ คล้ายคลึงกันจริง (Actual similarity) และ เชื่อว่าคล้ายคลึงกัน (Perceived similarity) พูดง่ายๆ คือ คนๆ หนึ่งอาจคล้ายกับอีกคนหนึ่งจริง หรือ เชื่อว่าตัวเองคล้ายกับอีกคนหนึ่ง เช่น เราเชื่อว่าเราชอบสีดำเหมือนที่แฟนเราชอบ ทั้งที่จริง ๆ แล้วเราอาจจะไม่ได้ชอบมากขนาดนั้น แต่อย่างน้อยในเวลานั้น เราก็มีความรู้สึกชื่นชอบสีดำเกิดขึ้นแล้วนั่นเอง ซึ่งในท้ายที่สุดท้ายก็อาจพบว่าตัวเองคิดผิดก็เป็นได้ แต่อย่างน้อยก็มีความคล้ายคลึงกันเกิดขึ้นอยู่ในความรู้สึกแล้วนั่งเอง (ต่างกับความรู้สึกว่า เราไม่มีอะไรคล้ายกันหรือเข้ากันได้เลย และพยายามทดลองปรับตัวเข้าหากันนะครับ) ความคล้ายคลึง 2 ประเภทนี้จะมีบทบาทต่อการสร้างความสัมพันธ์ในบริบทที่แตกต่างกัน actual similarity จะมีบทบาทสำคัญมากในตอนที่ความสัมพันธ์ยังไม่เริ่ม โดย ยิ่งเรามีข้อมูลเกี่ยวกับคนนั้นน้อยเท่าไหร่
“การนอนหลับ” ถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาเพื่อให้ร่างกายและสมองของมนุษย์ได้ชาร์จพลังเพื่อกลับมาใช้ชีวิตอีกครั้งได้อย่างมีคุณภาพ พอ ๆ กับที่การนอนหลับก็ยังมีหลากหลายแง่มุมที่มนุษย์ยังพยายามหาคำตอบ รวมถึงคำถามที่ว่าทำไมบางคนถึงได้นอนหลับง่ายดายและแสนสุข ในขณะที่หลายคนกลับทนทุกข์ทรมาน เพราะไม่สามารถนอนหลับให้เพียงพอได้เลย สารพัดปัจจัยที่ถูกนำมาศึกษาหาคำตอบ ทั้งเรื่องการดื่มกาแฟมากไป พฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม การเข้านอนและตื่นนอนไม่เป็นเวลา ไปจนถึงการใช้สมาร์ตโฟนเป็นเวลานาน ฯลฯ หรือแม้กระทั่ง “รายได้” ก็กลายเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนได้เหมือนกัน ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคประเทศสหรัฐอเมริกาทำแบบสำรวจสอบถามกลุ่มตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา 140,000 คน ระหว่าง ค.ศ. 2011-2014 พบว่ารายได้ส่งผลต่อคุณภาพการนอนของผู้คน โดยรายได้ที่สูงขึ้นมีแนวโน้มจะทำให้คนนั้นสามารถพักผ่อนอย่างเต็มที่ตลอดคืนมากขึ้นตามไปด้วย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคประเทศสหรัฐอเมริกานิยามการ “พักผ่อนเต็มที่ตลอดคืน” ไว้ที่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่ำกว่า “เส้นแบ่งความยากจน” ของประเทศ มีเพียง 64.8% ที่นอนหลับอย่างมีคุณภาพ นั่นหมายความว่า 1 ใน 3 ของคนที่มีรายได้น้อย (ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน) มีคุณภาพการนอนที่ไม่ดี ไม่สามารถเข้าถึงการพักผ่อนที่เพียงพอได้ ในขณะที่ผู้มีรายได้สูงกว่าเส้นแบ่งความยากจนนั้น มีคุณภาพการนอนที่ดีกว่า แล้วใช้อะไรกำหนดว่าใครรวยกว่า ใครจนกว่า? คำตอบก็คือ “เส้นแบ่งความยากจน” ที่ถือเป็นระดับรายได้อันเพียงพอจะใช้ชีวิตในประเทศหนึ่ง โดยแต่ละประเทศก็มีเส้นแบ่งที่แตกต่างกัน ประเทศพัฒนาแล้วจึงอาจมีเส้นแบ่งความยกจนสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา เส้นแบ่งความยากจนของสหรัฐฯ ณ