Christopher Wallace หรือชื่อที่โลกรู้จักในฐานะ rapper ‘Notorious BIG’ ‘Biggie Smalls’ ‘ Biggie’ แต่ไม่ว่าจะเป็น aka ไหนก็ตาม คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเค้าคือ King of New York rapper มาโดยตลอด แม้จะถูกลอบยิงเสียชีวิตไปตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 1997 วันที่ East Coast vs West Coast rap เหลือไว้เพียงตำนานตลอดกาล ก่อนหน้าวันเสียชีวิต Biggie Smalls มี Photo session เพื่อถ่ายรูปโปรโมตอัลบั้มใหม่ของเค้า มันคือภาพที่ Biggie สวมมงกุฎสีทองอยู่บนศีรษะที่พวกเรารู้จักกันดี ซึ่งมงกุฎนั้นถูกเรียกว่า K.N.O.Y. Crown (ย่อจาก King of New York) วันที่ 6 มีนาคม 1997, Biggie
ถ้าคุณโตมากับดนตรีร็อคยุคหลังปี 2000 เป็นต้นมา คงไม่มีใครไม่รู้จักเว็บ myspace.com เว็บที่เหล่าวงดนตรีทั้งหลายใช้เป็นพื้นที่สำหรับโชว์ผลงานเพลงตัวเองลงบนหน้า profile การได้มีเพลงอยู่บนหน้าเว็บ myspace ของวงเป็นอะไรที่โคตรเท่ ถือเป็นยุคแรก ๆ ของโซเซียลมีเดียแห่งวงการดนตรีเลยก็ว่าได้ มีวงร็อคมากมายที่โด่งดังในกลุ่มอันเดอร์กราวด์ฝั่งอเมริกาตอนนั้น ไม่ว่าจะเป็น SAOSIN, UNDEROATH, THE USED, BLESSTHEFALL, FROM FIRST TO LAST, และ STORY OF THE YEAR ฯลฯ และนั่นก็เป็นยุคเดียวกันกับที่วงร็อคอันเดอร์กราวด์ในไทยกำลังบูม มีกลุ่มแฟน ๆ ติดตามอย่างเหนียวแน่น เรียกได้ว่าเกือบทุกอาทิตย์จะมีคอนเสิร์ต ให้ชาวร็อค ได้ออกไปเสพการแสดงสดอย่างเต็มเหนี่ยว ซึ่งเป็นงานอันเดอร์กราวด์จัดในสถานที่เล็กบ้างใหญ่บ้าง มีทั้งงานโคฟเวอร์เพลงวงต่างประเทศ หรือจะเป็นเพลงออริจินัลจากศิลปินไทยเองก็มีให้ตามชม ตามฟังกันไม่หวาดไม่ไหว ไม่ว่าจะเป็นงาน อ๊าก ว๊าก จ๊าก, Yos Fest ที่ขนเอาศิลปินในเส้นทางร็อคผลัดกันขึ้นไประเบิดความมันส์บนเวที ส่วนคนดูก็มีวัฒนธรรมการชมคอนเสิร์ตที่ภาพอาจจะดูรุนแรง เช่นการ mosh pit (การเหวี่ยงหมัดไปรอบ ๆ) circle
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 นั้นเป็นสิ่งที่สร้างผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกเป็นวงกว้าง ครอบคลุมในทุกมิติทั้งทางด้านการสาธารณสุข เศรษฐกิจ และที่เห็นได้ชัดและใกล้ตัวที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงไปของวิถีชีวิตสู่รูปแบบ New Normal หรือปกติวิถีแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อลดผลกระทบของโรคติดต่อ ซึ่งก่อให้เกิดมาตรการ Lockdown กับความจำเป็นที่ต้องปิดสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นห้างค้าปลีก ร้านอาหาร สถานบันเทิง ฯลฯ ทำให้หลากหลายอาชีพต้อง “ว่างงาน” แม้ในปัจจุบันจะเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ แต่ตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน COVID-19 ทุกคนน่าจะรู้อยู่แก่ใจว่าการใช้ชีวิต การทำมาหากิน คงจะยังไม่คล่องตัวเหมือนยุคก่อน COVID ไปอีกสักพัก และที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ หากจะให้พูดถึงอีกหนึ่งกลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบไปแบบเต็ม ๆ คงหนีไม่พ้นอาชีพ “นักร้อง นักดนตรี ดีเจ” ในร้านอาหาร ผับ บาร์ ที่ในช่วงต้นของมาตรการ Lockdown จำต้องอยู่ในภาวะไร้เวทีในการส่งมอบเสียงเพลง ความมันส์ รวมถึงความสุขให้ผู้ฟัง ซึ่งอีกแง่หนึ่งมันหมายถึงการขาดรายได้ในการหล่อเลี้ยงชีวิตเช่นกัน แต่สุดท้ายในวิกฤติที่ดูมืดมน ก็ได้มีโปรเจ็กต์ “เราไม่ทิ้งกัน มันส์กว่า” จาก LEO ผุดขึ้นมาเพื่อเปิดโอกาสการสร้างรายได้ให้กับนักดนตรี นักร้อง ดีเจ
หากจะให้พูดถึงอย่างค่ายเพลงทางเลือก ที่แม้ไม่ได้มีสเกลขององค์กรที่ขนาดใหญ่โตอะไรมากมาย แต่ได้ผลิตผลงาน ผลิตศิลปินที่มีทั้งเอกลักษณ์ และคุณภาพป้อนสู่วงการเพลงมาอย่างยาวนาน เราเชื่อว่าชื่อแรก ๆ ที่โผล่เข้ามาในหัวของใครหลายคน คงหนีไม่พ้น Smallroom ค่ายเพลงเล็ก ๆ ที่โดดเด่นจนกลายเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของยุคเด็กแนวที่วัยรุ่นส่วนใหญ่ในช่วงเวลานั้นเป็นต้องอ่าน a day, ไปงาน Fat และฟังเพลง Smallroom ค่ายเพลงทางเลือกซึ่งเราพูดถึงในตอนแรกเริ่ม ที่เดินทางผ่านกาลเวลามาไม่ใช่น้อย แต่ก็ยังคงความร่วมสมัยภายใต้ตัวตนที่แทบไม่ต่างไปจากเดิม ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน จากความน่าสนใจนี้ คอลัมน์ ZERO to HERO จึงขอพาชาว UNLOCKMEN ทุกท่าน ร่วมย้อนเหตุการณ์ผ่านความทรงจำ และ ประสบการณ์อันเข้มข้นของ ‘รุ่ง-รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์’ หรือที่ศิลปิน และใคร ๆ ต่างเรียกเขาว่า ‘พี่รุ่ง’ หัวเรือใหญ่แห่งค่าย Smallroom ผู้เป็นที่เคารพรัก และมักจะได้ยินศิลปินในค่ายกล่าวถึงเขาบ่อย ๆ ด้วยสไตล์การทำงานแบบคลุกวงในคอยให้คำแนะนำปรึกษา แต่งเพลง ช่วยโปรดิวซ์ แม้กระทั่งถ่ายทำ MV ให้ เรียกได้ว่ามีส่วนร่วมแทบทุกขั้นตอน กับชุดคำถามที่ว่าทำไมค่ายเพลงอิสระที่เริ่มต้นจากห้องเล็ก ๆ
ทุกคนที่เคยดู Nirvana เล่นคอนเสิร์ตใน MTV Unplugged วันที่ 18 พฤศจิกายน ปี 1993 ต้องจำภาพ Kurt Cobain กับกีตาร์ 1959 Martin D-18E ได้ติดตา ล่าสุดได้มีการนำกีตาร์ตัวนั้นออกประมูลเพื่อการกุศลผ่าน Julien’s Auctions website และมันถูกขายไปด้วยราคาสถิติถึง $6 ล้านเหรียญหรือราว 180 ล้านบาท กีตาร์ 1959 Martin D-18E Serial Number: 166854 กีตาร์ทรง Dreadnought ที่มีจุดเด่นเรื่องความ Balance ของโทนเสียง ซึ่งเป็นตัวที่ 7 จากจำนวนทั้งหมด 302 ตัวในโลก ถูกนำมาโมดิฟายสะพานและสลับสายใหม่สำหรับคนถนัดซ้าย บอดี้ทำจากไม้มะฮอกกานี เปิดประมูลราคาแรกที่ $1 ล้านเหรียญ และมีจำนวนผู้ร่วม bid 7 ราคา ซึ่งราคาที่สูงที่สุดอยู่ที่ $6,010,000
การเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์ ได้สร้างความตื่นตัวให้ผู้คนให้มองเห็นความสำคัญในการต่อต้านการเหยียดสีผิวและเชื้อชาติให้เกิดขึ้นทั่วโลก การประท้วงเรียกร้องความยุติธรรมครั้งนี้ก็กำลังขยายวงกว้างไปทั่วสหรัฐอเมริกาอย่างไม่รู้จะจบเมื่อไหร่ ขณะเดียวผู้คนที่ออกมาประท้วงจำนวนมาก ไม่ได้มาเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับจอร์จ ฟลอยด์เพียงคนเดียวเท่านั้น แต่มันคือการต่อสู้เรียกร้องความเท่าเทียมให้กับมนุษย์ทุกคน เพราะพวกเขาเบื่อเต็มทีกับการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของผู้มีอำนาจและเจ้าหน้าที่รัฐ ในกรณีล่าสุดคือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกมานาน ปัญหาเหล่านี้เคยถูกถ่ายทอดผ่านบทเพลงเสียดสีสังคมจากศิลปินหลากแนวจากหลายยุคสมัย ซึ่งปัจจุบันกำลังกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง แต่บทเพลงไหนจะถูกเปิดฟังมากที่สุดในช่วงการประท้วงครั้งนี้ มาฟังเหตุผลและทำความรู้จักแต่ละบทเพลงไปพร้อมกันได้เลย ‘Alright’: Kendrick Lamar เริ่มต้นกับ Alright ผลงานเพลงจากสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 3 ‘To Pimp a Butterfly’ ของศิลปิน Kendrick Lamar หนึ่งในบทเพลงที่เหล่าคนดำยกให้เป็นเพลงที่ย้ำเตือนถึงการเติบโตอันแสนเจ็บปวด ขณะเดียวกันก็ให้กำลังใจผู้ฟังให้เอาตัวรอดจากชีวิตบัดซบได้อย่างมีพลัง Alright ยังมีเนื้อหาที่สะท้อนถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นล่าสุดอย่าง “Nigga, and we hate po-po Wanna Kill us dead on the street fo sho” ซึ่งไรม์ที่เจ็บแสบแต่กระแทกใจนี่เองที่ทำให้ Alright กลับมาติดอันดับ 26 ในชาร์ตเพลงจากคนฟังทั่วโลกของ Spotify ในช่วงการประท้วงครั้งนี้ ‘This
หลายคนคงรู้จัก ‘เอ้-กุลจิรา’ หรือ ‘เอ้-The Voice’ ในฐานะสาวน้อยเสียงดีมีเอกลักษณ์จากเวทีประกวด The Voice Season 3 แม้จะผ่านเวลามาแล้วกว่า 6 ปี ชื่อนี้ก็ยังคงเป็นที่จดจำแทบทุกพื้นที่สื่อที่เธอปรากฎตัว แต่ถ้าพูดถึง ‘เอ้-Beagle Hug’ เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่านี่คืออีกสเต็ปการเดินทางบนถนนสายดนตรีที่ตอกย้ำอาชีพศิลปินของเธอให้ชัดเจนยิ่งขึ้น กับงานเพลงแนว Experimental Pop และ Trip Hop ที่ เอ้, แบงค์, โบ๊ท และปอม เหล่าพี่น้องสหายดนตรีร่วมกันสร้างสรรค์ในนาม Beagle Hug และ GARAGE สัปดาห์นี้จะพาชาว UNLOCKMEN ไปรู้จักเรื่องราวของเขาและเธอให้มากขึ้น แต่ก่อนจะไปถึงเรื่องราวของ Beagle Hug เราขอพาทุกท่านย้อนกลับไปทำความรู้จักกับ ‘เอ้’ สุภาพสตรีเพียงคนเดียวของวง กับจุดเริ่มต้นบนเส้นทางดนตรี, การเข้ามาของชื่อเสียง ไปจนถึงการเริ่มต้นสร้างสรรค์ผลที่เป็นตัวเองจริง ๆ ในนามวง Beagle Hug “เราชอบฟังเพลงตั้งแต่เด็ก ๆ เติบโตมากับเพลงเก่า ๆ เพลง Oldies
พึ่งจะพาดหัวข่าวไปอย่างร้อนแรง สำหรับของขวัญฉลองวันเกิดครบ 28 ปีให้ตัวเองด้วย hypercar เบอร์ใหญ่ Bugatti Chiron มูลค่าราว 90 ล้านบาทไปหมาด ๆ สะท้อนให้เห็นถึงรสนิยมด้านรถยนต์ที่ไม่ธรรมดาของ Rapper ที่กำลังมาแรงกว่าใคร ทำสถิติจำนวนผู้เข้าชม Concert ในเกม Fortnite แถมล่าสุดยังมีข่าวการ Collaboration กับ Nike ในโปรเจค Travis Scott x Nike SB Dunk Low งานเยอะขนาดนี้ ทำให้เราอดคิดไม่ได้ว่ารถยนต์ใน Collection ของ Scott จะโหดแค่ไหน วันนี้เราจะพาไปเปิดรถยนต์สุดหรูของศิลปินที่มีทรัพย์สินรวมเกือบสองพันล้านบาท แต่บอกให้ก่อนได้เลยว่า Scott น่าจะเป็นสารหรูมากกว่าสายสะสม เพราะเต็มไปด้วย Hypercars และ Supercars รุ่นใหม่ ๆ เพียบ Bugatti Chiron Hypercar มูลค่า 90 ล้านบาท
ผู้ชายอย่างเราอาจตีความหมายคำว่า “ผู้นำ” แตกต่างกันออกไป หลายคนมองว่าผู้นำคือบุคคลที่คอยวางแผน ดูแล รวมไปถึงร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ทีมงานหรือกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง แต่สำหรับอีกหลายคนวิถีความเป็นผู้นำก็สามารถนำไปปรับใช้กับเส้นทางชีวิต เพื่อกำหนดและควบคุมชีวิตของตัวเองให้เดินไปพบกับจุดหมายปลายทางดั่งที่มุ่งหวังเอาไว้ และชาย 2 คนนี้ คือตัวอย่างที่ชัดเจนของการเป็นผู้นำชีวิตให้ตัวเอง จนสามารถก้าวเดินบนเส้นทางแห่งความฝันที่ตั้งใจมาตั้งแต่เด็ก ชื่อของพวกเขาคือ Dimitri Thivaios และ Michael Thivaios หรือที่สาวกเพลงแนว Electronic Dance Music รู้จักกันดีในชื่อ Dimitri Vegas & Like Mike ซึ่งในวันนี้เราจะนำบทสรุปที่น่าสนใจ มาถ่ายทอดมุมมอง ทัศนคติ รวมถึงความหลงใหลในการใช้ชีวิตและการเป็น “ผู้นำของตัวเอง” ก่อนที่ทั้ง 2 คนจะคว้าโอกาสและแสดงฝีมือให้จนได้รับการยอมรับในฐานะดีเจระดับท็อปของโลกมาถึงทุกวันนี้ มาทำความรู้จักกับคู่หูดีเจให้ดีมากขึ้น รวมถึง The Art of Leadership ในแบบฉบับของพวกเขาไปพร้อมกัน Dimitri Vegas & Like Mike คือศิลปินดีเจ 2 พี่น้องคู่หูที่มีชื่อจริงว่า Dimitri Thivaios และ Michael
ต้องบอกว่า ’10 ปี’ คือระยะเวลาไม่ใช่น้อย ๆ กับการที่วงดนตรีสักวงจะยืนหยัดสร้างผลงาน ผ่านเรื่องราวมากมาย จนได้มีโอกาสปักหมุดไมล์ 10 ปีเอาไว้ในหน้าสมุดบันทึกวงการเพลงไทย ยิ่งเป็นวงอย่าง The Yers วงดนตรีที่ยอมรับแต่โดยดีว่า ด้วยแนวเพลง และวิธีนำเสนอของวง เป็นสิ่งที่ไม่อาจทำให้อาชีพศิลปินนั้นกลายเป็นอาชีพหลักอาชีพเดียวที่สามารถหล่อเลี้ยงสมาชิกทุกคนได้ แล้วอะไรคือแรงผลักสำคัญที่ทำให้วงยังคงเดินหน้าต่อไป และคำถามนี้ที่เราเอง และเชื่อว่าอีกหลายคนกำลังสงสัย คงไม่มีใครให้คำตอบได้ดีไปกว่า อู๋-ยศทร บุญญธนาภิวัฒน์ (Vocal & Guitar), ต่อ-พนิต มนทการติวงค์ (Guitar), โบ๊ท-นิธิศ วารายานนท์ (Bass) และ บูม-ถิรรัฐ ภู่ม่วง (Drum) สมาชิกปัจจุบันของ The Yers ซึ่งพวกเขาจะมาเล่าเรื่องราวของวงตลอด 10 ปีที่ผ่านมา และอัพเดทความเป็นไปของ The Yers หลังผ่านหลักไมล์ที่ 10 ให้ทุกคนได้อ่านกันในคอลัมน์ GARAGE ส่งท้ายเดือนเมษายนนี้ จุดเริ่มต้น อู๋: แรกเริ่มเลยเป็นการรวมวงของเพื่อนสมัยประถมของผมมีแค่ 3