ถ้าให้นึกถึงของดีฝั่งธนแบบไว ๆ คุณจะคิดถึงอะไร ? ให้เวลาคิด 15 วิ … หมดเวลา ! และไม่ว่าคำตอบของคุณจะเป็นอะไร แต่ของเรามันคือ P.Sherman The Enjoyable Ground ร้านแฮงเอาต์ของเรากับแก๊งเพื่อน ที่สามารถเริ่มต้นเจอกันตั้งแต่เช้า และปิดวันนั่งจิบเบา ๆ (รึเปล่า) ได้เลย ! บทความที่ชาว UNLOCKMEN กำลังได้อ่านอยู่นี้ ถูกเขียนขึ้นในช่วงบ่ายแก่ ๆ ของวันศุกร์ โดย Content Creator ใส่แว่นคนหนึ่งที่ก็กำลังปั่นงานอยู่ในร้านโปรดที่เป็นหัวใจหลักของคอนเทนต์นี้อยู่ นั่นแสดงให้เห็นว่าร้านนี้เหมาะกับการนั่งทำงานด้วยเหมือนกัน และเป็นอะไรได้อีกหลายอย่าง ที่เราจะขอป้ายยาทุกคนในบรรทัดถัดไปกันเลย จาก ‘โรงงานเย็บผ้า’ สู่พื้นที่แห่งความหลากหลายของวัยมันส์ ร้าน P.Sherman The Enjoyable Ground ซ่อนตัวอยู่ในย่านอรุณอมรินทร์ ระบุชัด ๆ เลยคือซอยอรุณอมรินทร์ 39 ในอดีตที่นานมากแล้ว กว่า 10 ปีก่อน ตึกแห่งนี้เคยเป็นโรงงานเย็บผ้ามาก่อน ซึ่งเอาจริง
เมื่อพูดถึงช่วงกลางของยุค 2000s ช่วงเวลาที่ซีนดนตรีอันเดอร์กราวด์ Emo / Screamo / Metal เบ่งบานในไทย มันเป็นไปไม่ได้เลยถ้าหากคุณถามผู้คนที่ทันใช้ชีวิตอยู่ในตอนนั้น แล้วไม่มีใครพูดชื่อ Sweet Mullet ออกมา และการไม่พูดถึงเพลงตอบ / หลับข้ามวัน / เพลงของคนโง่ ยิ่งเป็นไปไม่ได้เข้าไปใหญ่ ตั้งแต่ที่อัลบั้มแรก Light Heavyweight (2007) ของ Sweet Mullet ปล่อยออกมา เวลาก็เลยผ่านมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว มีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย ผ่านการสร้างความทรงจำต่อวงและแฟนคลับ จนมาถึงปี 2023 คงไม่มีเรื่องไหนสำคัญต่อแฟนคลับและวงเองได้เท่ากับการที่พวกเขาตัดสินใจว่าจะประกาศยุบวงผ่านการหายไปเงียบ ๆ อีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโชคดีหรือว่าอะไรก็ตาม การที่เราได้นั่งคุยกับพวกเขาเพื่อเขียนเป็นบทความนี้อยู่ นั่นแสดงว่ามันไม่เกิดขึ้นจริง และพวกเขาไม่ได้หายไป หนำซ้ำเรายังสามารถใช้คำว่า “Sweet Mullet กลับมาแล้ว” ได้อีกด้วย เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับการกลับมาของ Sweet Mullet เท่าที่เด็กซึ่งโตในยุค
เข้าสู่ปีที่ 40 แล้วสำหรับ G-SHOCK แบรนด์นาฬิกาจากญี่ปุ่น ที่ไม่ว่าใครหยิบขึ้นมาใส่บนข้อมือก็จะถูกตีตราด้วยความเท่และแข็งแกร่งทันที แต่จิตวิญญาณของสิ่งนี้สำหรับ G-SHOCK มันไม่ใช่แค่การออกแบบภายนอกเท่านั้น แต่รวมไปถึงกลไกภายในด้วยที่ทำให้ DNA ของแบรนด์เดินทางผ่านกาลเวลาอย่างยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบัน และเรือนเวลาซีรีส์ล่าสุด CLEAR REMIX ได้จับนาฬิการุ่นยอดนิยมของ G-SHOCK มาดีไซน์ให้เป็น skeleton เป็นครั้งแรก Skeleton หน้าปัดแบบมองเห็นกลไกด้านใน นำเสนอมุมมองที่โดดเด่นของการจัดวางส่วนประกอบต่าง ๆ มีการใช้วัสดุแบบมองผ่านได้สำหรับหน้าปัด ตัวบอกเวลา และวงแหวนบนหน้าปัด การออกแบบให้การมองเห็นที่ชัดเจนของการขึ้นรูปหน้าปัดที่โดดเด่น ไปจนถึงรูปแบบของส่วนประกอบแต่ละชิ้นในตัวเรือน การพิมพ์สีดำที่ด้านล่างของหน้าปัดช่วยป้องกันการทะลุผ่านของแสงจากภายนอก ซึ่งอาจทำให้เกิดการทำงานผิดปกติ และช่วยเสริมหน้าปัดดูสวยงามน่าประทับใจ See-Through Design คือคอนเซ็ปต์ของงานดีไซน์รุ่นนี้ ความโปร่งใสราวกับคริสตัลตั้งแต่หน้าปัดไปจนถึงสายนาฬิกา มาพร้อมกับการเลือกใช้วัสดุที่พิเศษยิ่งกว่าครั้งไหนๆ ทั้งการเลือกใช้เรซินเสริมใยแก้วแบบใสจนมองทะลุผ่านได้บนตัวเรือน ซึ่งเป็นวัสดุที่ทนทานต่อสภาพอากาศได้ดีเยี่ยม ส่วนประกอบหลักที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างป้องกันการกระแทกได้เป็นอย่างดี และดีไซน์แบบโปร่งใสก็ยังสามารถถูกจับไปแมทช์กับลุคไหนก็ดูแพงไปหมด แสดงออกถึงความโมเดิร์นที่หมุนทันโลกตลอดเวลาของแบรนด์ ต้องบอกว่า G-SHOCK Clear Remix นั้นเป็นเรือนเวลาที่เล่าภาพของการเดินทางอันยาวนานของ G-SHOCK โดยการเคารพต้นกำเนิดของตัวเอง ผ่านแนวคิดในการสร้างสรรที่เรียกว่า Philosophy Reborn ซึ่งแตกออกเป็น 2 คำหลัก
เราทุกคนล้วนมีซีรีส์ที่จัดอยู่ในหมวดค่อย ๆ ดูเพราะไม่อยากให้จบเร็วเกินไปของตัวเองกันทั้งนั้น และเชื่อว่านี่คือซีรีส์ประเภทหนึ่งซึ่งหายาก มาไม่บ่อย ใช้จำนวนนิ้วบนมือนับได้เลย สำหรับเรา One Night Morning (2022) เป็นประเภทของซีรีส์ทำให้เราต้องเสียโควต้านิ้วของตัวเองอีกครั้งหนึ่งล่ะ ซีรีส์ญี่ปุ่นจำนวน 8 ตอน ที่เราใช้เวลา 8 วันกว่าจะดูจบเรื่องนี้ เล่าความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยรูโหว่ข้างในจิตใจ ของหนุ่มสาววัยมัธยมไปจนถึงพนักงานออฟฟิศวัยเกือบ 30 ทั้งคู่จะเติมเต็มส่วนที่หายไปให้กันและกันในช่วงเวลา 1 คืน ก่อนที่จะตื่นขึ้นมาในตอนเช้าพร้อมกับ ‘อาหาร’ หนึ่งอย่าง ซึ่งบันทึกความทรงจำระหว่างทั้งคู่เอาไว้ ประหนึ่งเป็นตัวแทนว่าเรื่องทั้งหมดไม่ใช่แค่เพียงฝันไป และพวกเขาได้ก้าวผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายของชีวิตไปได้เรียบร้อยแล้ว ทั้ง 8 ตอนประกอบไปด้วย – เรื่องราวของหนุ่มออฟฟิศที่แอบชอบเพื่อนคนหนึ่งตั้งแต่ตอนมัธยม แต่ไม่เคยบอกออกไปจนกระทั่งได้พบกันอีกครั้งในงานเลี้ยงรุ่น / ความรักของหนุ่มมหาลัยสุดเนิร์ดกับสาวไร้บ้านที่ตอนแรกแค่ต้องการจะบอกลาเวอร์จิ้นของตัวเอง ก่อนจะพบว่ารู้สึกดีกับอีกฝ่ายไปแล้ว / หญิงสาวออฟฟิศที่มองว่าฐานะทางสังคมเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการใช้ชีวิตหรือรักใครสักคน เพราะปมบางอย่างในอดีตของตัวเอง ความฝังใจของเด็กสาวผู้ขี้กลัวที่เชื่อว่าตัวเองได้ทำร้ายเด็กหนุ่มผู้เขร่งขรึม จนเป็นต้นเหตุให้เขาถูกไล่ออกจากโรงเรียน / เรื่องราวของเพื่อน 2 คน เด็กสาวซอฟต์บอลกับเด็กหนุ่มสุดเด๋อที่แข่งกันแย่งซื้อแซนวิชไข่ทุกพักเที่ยงในโรงเรียน / การไล่ตามความฝันที่สัญญากันเอาไว้ในวัยเยาว์ของเด็กสาวผู้อยากเป็นไอดอลกับเด็กหนุ่มผู้อยากเป็นนักวาดมังงะ / เซ็กเฟรนด์ของหนุ่มสาวออฟฟิศที่ต้องอดทนไม่บอกความรักในใจของกันและกันเพื่อไม่อยากให้อีกฝ่ายและตัวเองเสียใจ / เด็กหนุ่มพนักงานพาร์ทไทมซูเปอร์มาร์คเก็ตผู้ไม่กล้าคุยกับใครเพราะถูกมองว่าไร้ตัวตน
ยังจำวันนั้นได้ดีอยู่เลย วันหนึ่งของเมื่อ 3 ปีก่อน วันที่ฝนตกหนักจนเราเพื่อนต้องพากันไปหลบอยู่ที่แมคโดนัลสาขาลาดพร้าววังหิน บทสนทนามากมายลื่นไหลไปท่ามกลางเสียงเคี้ยวของเฟรนช์ฟรายล้อกับเสียงฝนข้างนอกที่กระทบหน้าต่างของร้าน จนบทสนทนามาถึงจุดที่ใครคนหนึ่งพูดขึ้นมาอย่างนี้ “มึงว่าวงไหนจะเป็น Bodyslam ของยุคต่อไป” คำถามที่หากว่ากันตามประสาของคนอ่านหนังสือการ์ตูน มันคือคำถามระดับที่เรียกว่าว่า “ราชาโจรสลัดคนต่อไปจะเป็นใครกันนะ ?” และวันนั้นเราไม่ได้ตอบคำถามออกไป ถึงแม้คนอื่น ๆ จะโยนวงที่เป็นตัวเลือกมามากมาก็ตาม … เวลาของปี 2020 ผ่านไปจนเกือบจะปลายปี เร็วแบบกะพริบตาครั้งเดียวทุกอย่างก็เปลี่ยนไป เราเองก็เปลี่ยนไป คำตอบของเราชัดเจนในแบบที่ถ้าถามคนอื่น (ในช่วงเวลานั้น) ก็น่าจะตอบเหมือนกันว่าคือวง Three Man Down ถ้าอัลบั้มแรก This City Won’t Be Lonely Anymore ตอนปี 2021 เป็นการแล่นเรือ Going Merry เข้าสู่น่านน้ำของ Grand Line ในปี 2023 พวกเขาก็ได้ขึ้นเรือลำใหม่ Thousand Sunny ของตัวเอง ผ่านอัลบั้มที่มีชื่อว่า 28
** คิดว่าน่าจะสปอยล์ยับ ๆ ไปเลยนะ แต่เอาจริงส่วนตัวคิดว่าไปอ่านสปอยล์หนัง 100% แบบ 2 นาทีจบเลยก็ไม่พลาดอะไรหรอก ** ไม่ได้ตั้งใจจะรีวิวเกรี้ยวกราดเอายอดอ่านอะไรแบบนั้น แต่ถ้าทุกคนจะเอาเวลาเกือบ 8 ชั่วโมง นั่งตั้งใจดูซีรีส์เรื่องนี้อาจจะไม่คุ้มเท่าไหร่ (กันไว้ก่อนเผื่อมีคนดูที่ชอบซีรีส์เข้ามาอ่าน) เว้นแต่ว่าจะอยากเห็นรอยยิ้มโลกสดใสของคุณ Mei Nagano นั่นก็เป็นอีกเรื่องนึงล่ะ Burn The House Down เป็นซีรีส์ที่ดัดแปลงมาจากมังงะชื่อเดียวกันของอาจารย์ Moyashi Fujisawa ที่เขียนตอนปี 2021 ซึ่งเราเชื่อว่าดีกว่าฉบับซีรีส์แน่นอน ดูสิ เพียงแค่ 2 ปีก็ถูกเอามาทำเป็นซีรีส์ออริจินัลของเน็ตฟลิกซ์เลย เนื้อเรื่องของ Burn The House Down เริ่มต้นขึ้นด้วยเหตุการณ์เลวร้ายของครอบครัว Mitarai ที่บ้านหลังใหญ่ของพวกเขาถูกไฟไหม้จนไม่เหลืออะไร ท่ามกลางกลองเพลิงที่มีชาวบ้านรายล้อมอยู่นั้น Satsuki Mitarai แม่ของลูกสาวสองคนผู้เป็นเจ้าของบ้าน ได้แต่คุกเข่าขอโทษลูก ๆ และสามีตัวเอง เพราะเชื่อว่าเธอเป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านถูกไฟไหม้จากการลืมปิดเตาแก๊สตอนทำกับข้าว … เหตุการณ์ผ่านไป 13 ปีจากเหตุการณ์ไฟไหม้ที่เปลี่ยนหลายสิ่งอย่างจากหน้ามือเป็นหลังมือ อย่างแรกคือการที่
เข้าใจได้เลยว่าทำไมหนังเรื่องนี้มันถึงไวรัลทันทีที่ Netflix ปล่อยภาพนิ่งเมื่อต้นเดือนก่อน เอาจริง ๆ ถ้าแค่มีคนมาเล่าเรื่องย่อให้ฟังแบบยังไม่เห็นภาพอะไรเลย ประมาณว่า ‘ทราย’ สาวอีสานบ้านทุ่งที่ไปทำงานบัญชีในกรุงเทพ กับ ‘เอิร์ล’ ผัวฝรั่งในบริษัทเดียวกัน บึ่งรถกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดอีกครั้งในช่วงเวลาพายุใหญ่ประจำฤดูกำลังจะถล่มต่างจังหวัด แต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันรอคอยพวกเขาอยู่ นั่นคือฆาตกรต่อเนื่อง กับศพของเกือบทุกคนในคืนนั้น จบ. อีพิคมาก ! อีสานกายะก็มีแล้ว อีสาน Hip-Hop ก็มาแล้ว มาคราวนี้บ้านเรามี ‘อีสานฆาตกรรม’ ที่หมายถึงหนังไทยชอง Mystery & Suspence แคปเจอร์ภาพวัฒนธรรมความเป็นคนอีสานเอาไว้ โดย ‘วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง’ ที่เซตติ้งคือทุกอย่าง “Setting is god !” อย่าเรียกว่ารีวิวเลยละกันนะ เพราะคงไม่ได้ใส่ fact อะไรมากเท่าไหร่ ยิ่งความดีงามของผู้กำกับผู้ส่งหนังเข้าเทศกาลเมืองคานส์คนแรกของไทย การวิเคราะห์หนังเรื่องล่าสุดของเขาอ้างอิงกับหนังไอคอนิกเรื่องก่อน ๆ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เราขอพูดถึงสิ่งที่ชอบไม่ชอบเพียว ๆ ไปเลย ให้เข้าใจง่ายดีเด้อ อีสานเซอร์เรียลสไตล์ เมอร์เด้อเหรอ คือหนังอีกเรื่องที่เป็นเหมือนสนามเด็กเล่นของผู้กำกับ ส่วนตัวเราชอบอารมณ์ของเรื่องนี้มาก บ้านไม้เก่า
เวลา 22:26:36 (01/07/2023) สนามมวยราชดำเนิน “ตอนเด็ก ๆ เราก็อยากจะเป็นนักฟุตบอลครับ เราก็เล่นบอลเตะบอลกับเพื่อน ฝีมือเราก็พอได้อยู่เหมือนกัน ผมชอบเมสซี่ครับ (ยิ้ม)” เป๊ง !!! เสียงระฆังตีบอกหมดเวลาที่ 22:26:36 การต่อสู้อันยาวนานจบลงไปพร้อมกับความฝันในวัยเด็กของเขาที่ก็ค่อย ๆ พร่าเลือนจนมองเห็นไม่ชัดเหมือนก่อน ฝันที่ถูกกลบแทนที่ด้วยเสียงของเหล่าผู้คนทั่วเวทีศักสิทธิ์ของสนามมวยราชดำเนิน ซึ่งไม่มีทีท่าว่าจะเงียบลงในเร็วนี้ ไม่ต่างกันเลยกับเสียงเชียร์ของคนที่ดูไลฟ์สดอยู่ในคอนโด ร้านเหล้าในซอยรางน้ำ หรือในบ้านทรงวินเทจสักหลังของย่านลาดพร้าว ‘เสียงเชียร์’ จำนวนไม่น้อยเหล่านั้นครั้งหนึ่งเคยเป็นคำดูถูกที่ทำให้เขาต้องสู้เพื่อพิสูจน์ตัวเอง เหมือนที่เขาทำมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนที่ตัดสินใจเดินเข้าสนามซึ่งล้อมรอบด้วยตู้คอนเทนเนอร์ของ Fight Club Thailand เมื่อ 2 ปีก่อน ‘เหยิน โจ๊กเกอร์’ นักมวยจากข้างถนนผู้บ้าเลือด แสยะยิ้มเมื่อเห็นคู่ต่อสู้กลัวจนหัวหดคือตัวตนที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการนั้น ตัวตนที่แทบจะไม่มีอะไรคล้ายกับสิ่งที่เขาเป็นจริง ๆ ในชื่อของ ‘เปา-ทรัพย์พูลผล ทิพย์ผล’ เลยแม้เพียงสักนิดเดียว เปาพูดคำว่า ‘เวทีศักสิทธิ์’ ทุกครั้งเวลาพูดถึงสนามมวยแห่งนี้ ด้วยน้ำเสียงที่มีความเจียมตัวถึงความไม่ควรคู่อยู่ในคำพูดของตัวเองทุกครั้งเช่นกัน และนั่นคือหนึ่งในสิ่งที่อธิบายตัวตนของเปาที่ต่างกับโจ๊กเกอร์ได้เป็นอย่างดี เด็กหนุ่มวัย 21 ชาวไทยในมุมสีน้ำเงิน ต้องต่อยกับมุมสีแดง โคตะ มิอุระ
แฟนคลับรู้กันดีว่าราชานิยายสยองขวัญ ‘สตีเวน คิง (Stephen King)’ เขียนเรื่องราวโดยการเอาปากกาจุ่มหมึกตรา ‘ชีวิตจริง’ ของตัวเองเสมอ อย่าง Carrie นิยายเล่มแรกที่เปลี่ยนชีวิต ในปี 1974 ได้แรงบันดาลใจมากจากเพื่อนผู้หญิงในโรงเรียนคนหนึ่งของคิง ที่มีแม่เป็นคนแปลก ๆ ให้ลูกแต่งตัวมาโรงเรียนด้วยชุดแบบเดียวกันตลอดทั้งเทอม และเมื่อเธอซื้อเสื้อผ้าใหม่ใส่มา กลับโดนเพื่อนทั้งโรงเรียนบูลลี่ หรือในเรื่องสั้น The Body (ที่ถูกทำเป็นหนัง coming of age ชื่อ Stand By Me ในปี 1986) ก็มาจากความทรงจำเรือนลางตอน 4 ขวบของคิง ที่เพื่อนของเขาถูกรถไฟชนจนเสียชีวิต และในปี 1983 เองก็ไม่ต่างกัน เมื่อคิงได้บังเอิญอ่านข่าวเกี่ยวกับรถผีสิงที่น่ากลัวที่สุดของอเมริกาตอนช่วงยุค 60s มันช่วยทำให้เขาประกอบรถของตัวเองขึ้นมาบ้าง-รถที่แฟนคลับหนังสือของเขาติดตาไม่มีลืมคันนั้นใช้ชื่อว่า Christine ส่วนรถต้นขั้วความสยองขวัญคือ The Golden Eagle รถที่ว่ากันว่าฆ่าคนไปกว่า 32 ศพ ! Chapter 1 The (3)
เหตุการณ์เดิมวนซ้ำ ๆ กับมนุษย์สตริมมิ่ง Netflix ที่ต้องการจะหาหนังหรือการ์ตูนดูสักเรื่องหลังจากทำงานเหนื่อยมาทั้งวัน ไล่จากลิสต์รายการ (ดอง) โปรดก็แล้ว , อ่านรีวิวจากเพจ Neflix Review ก็แล้ว , คอลกลุ่มไปถามเพื่อนก็แล้ว ก็ยังไม่รู้จะดูอะไรดี โอเคนั้นต้องงัดไม้ตายมาใช้ คนอื่นทำไงไม่รู้ แต่เราใช้วิธีเข้าที่ช่อง ‘ค้นหา’ ซ้ายบนของจอ แล้วเลือกเรื่องค้นหายอดฮิตที่อยู่ซ้ายบนทุกรอบ และนั่นทำให้เราเจอกับ Nimona อนิเมชั่นหมวดเด็ก ที่ผู้ใหญ่ควรได้ดู (เนื้อหาหลักเริ่มบรรทัดต่อไปนะ ข้างบนไม่ต้องอ่านก็ได้) ก่อนจะเป็น Nimona ใน Netflix อนิเมชั่นเรื่องนี้เคยเป็นกราฟิกโนเวลมาก่อน เคยถูกวางเป็นโปรเจคต์ใหญ่ของ Blue Sky Studios แต่ถูกสั่งยกเลิกการถ่ายทำไปในวันก่อนจะเปิดกล้องไม่นาน … การที่ Nimona ได้สตรีมมิ่งให้เราดูอยู่ในตอนนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแม้แต่นิดเดียว แต่เป็นเรื่องราวของเหล่าผู้คนที่ไม่ทิ้งความฝัน พร้อมกับต้องการมอบสิ่งที่ดีให้โลกใบนี้ ND Stevenson และนิโมน่าในชีวิตจริงของเธอ ย้อนกลับไปในปี 2015 สำหรับสายนิยายภาพทุกคน ถ้าลองเสิร์ชหา Best Graphic Novel ประจำปีนั้นดู