รูปแบบการทำงานของใครหลายคนเปลี่ยนไปแบบพลิกโลก จากที่มีออฟฟิศเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ กลายเป็นต้องพึ่งอินเทอร์เน็ต น้ำ ไฟ จากที่บ้าน จากที่ทำงานเหนื่อย ๆ ตกเย็นหาที่ฟังเพลงจิบเครื่องดื่มคล่องคอหล่อเลี้ยงหัวใจ ก็เหลือแค่ห้องเดียวกับที่นั่งทำงานมาทั้งวันให้เอกเขนกดูซีรีส์จนตาแฉะ คนทำงานแต่ละประเภทจึงต้องเผชิญความท้าทายในรูปแบบที่ต่างกันไป รวมถึง “คนทำงานสร้างสรรค์” ศิลปิน นักดนตรี นักวาด นักเขียน ฯลฯ เมื่องานต้องการพลังสร้างสรรค์เท่าเดิม (หรือบางงานต้องการมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ) แต่การทำงานสร้างสรรค์ในห้องปิดตาย หรือสถานที่เดิม ๆ ซ้ำ ๆ นั้นไม่ง่ายที่จะขุดขุมพลังฉูดฉาดมาได้เหมือนที่เคยเป็นมา ทางออกคืออะไร? เราเชื่อว่าสายสร้างสรรค์หลายคนคงอยากฟังคำตอบจากเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ วันนี้ UNLOCKMEN รวบรวม 6 คำตอบจากคนทำงานสร้างสรรค์ว่าในสถานการณ์ชวนอึดอัดนี้และออกไปหาแรงบันดาลใจที่อื่นไม่ได้ พวกเขาทำอะไรเพื่อยังผลิตผลงานหรือใช้ชีวิตให้ไม่ทำร้ายศักยภาพตัวเองเกินไปนัก? ป๊อก-ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล ป๊อก-ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล ศิลปินผู้เชื่อเรื่องการแบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้เพื่อนมนุษย์ เขาเลือกใช้ศิลปะช่วยเหลือคนไร้บ้าน สำหรับเขาในห้วงวิกฤตเช่นนี้ อีกหนทางที่คนผลิตงานสร้างสรรค์ยังพอทำได้ คือการพยายามมองหาส่วนที่ดีที่สุดจากสิ่งที่เกิดขึ้น อาจไม่ได้เพื่อลืมแต่เพื่อหาหนทางที่จะใช้ผลงานของเรา ช่วยเหลือหรือสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่น ๆ เท่าที่พอทำได้ในช่วงเวลาที่ทุกสิ่งนั้นไม่ง่ายเลย “ผมพยายามมองด้านบวกว่าในเหตุการณ์นี้พอมีเรื่องอะไรดีอยู่บ้าง เราจะมีเวลาเพิ่มมากขึ้น ได้มีเวลาวางแผนการงานและชีวิต เห็นวิกฤตเป็นความท้าทาย พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปกับมัน
ในวันที่ต้องทำงานอยู่กับบ้านมากขึ้น และโลกเต็มไปด้วยบทความหรือวิธีการให้เราเก่งขึ้น โปรดักทีฟขึ้น มีพลังมากขึ้น เราเชื่อว่ามีคนทำได้และสนุกกับการเก่งขึ้นทุกวัน โปรดักทีฟขึ้นทุกวันในสถานการณ์ที่หลายอย่างไม่เอื้ออำนวย แต่เพราะมนุษย์มีมากกว่าหนึ่งรูปแบบ เราจึงเชื่อว่ามีใครหลายคนที่เผชิญกับสภาวะชวนหดหู่ช่วงนี้ และพยายามยิ่งกว่าที่เคยพยายามมา แต่เหมือนไอเดียจะไม่พลุ่งพล่านเหมือนเดิม พลังในการทำงานก็มอดดับลงเรื่อย ๆ ยิ่งมองเห็นคนรอบตัวทำกับข้าว สร้างงานศิลปะ ออกกำลังกาย หรือทำงานได้ดีกว่าเดิม ใจก็พาลหดหู่ลงและคิดว่า “หรือเราแม่งห่วยเองวะ?” ในวันที่ไม่รู้ว่าเศรษฐกิจถูลู่ถูกังพาเราไปในทิศทางไหน ชั่วขณะที่หน้าที่การงานเคยมั่นคงจนเรายึดถือมาตลอด คืนค่ำที่ไม่ได้ออกไปผ่อนคลายได้อย่างที่ทำเป็นปกติ รวมถึงความอันตรายจากโรคภัยที่ไม่รู้จะมาถึงตัวเราเมื่อไร สิ่งเหล่านี้โบยตีและใจร้ายกับเรามากพอแล้ว มีคนคิดงานออกก็ดีใจกับเขาด้วย แต่การที่เราจะท้อบ้าง คิดงานไม่ออกบ้าง ทำชีวิตให้เป็นเหมือนห้วงเวลาปกติไม่ได้บ้าง ไม่ได้หมายความว่าเราห่วยหรือแย่กว่าคนอื่นแต่อย่างใด UNLOCKMEN เชื่อในความหลากหลายของมนุษย์ เราจึงไม่จำเป็นต้องเป็นเหมือนใคร และเชื่อว่ามันไม่เป็นอะไรเลยถ้าคุณไม่สามารถทำอะไรราบรื่นได้อย่างที่เคย เรามีสิทธิทุกประการที่จะหงุดหงิด แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าทุกอย่างใจร้ายกับเรามามากพอแล้ว เราคือคนเดียวที่จะรักและใจดีกับตัวเองได้ในช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ แต่ถ้าไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหน ลองไม่กี่วิธีง่าย ๆ ที่เราอยากชวนคุณมาผ่อนคลาย ยอมรับความเปลี่ยนแปลง และเผชิญหน้ากับตัวเองในเวอร์ชันใหม่ที่อาจจะพาเราไปสู่ปลายทางที่เราไม่เคยคิดมาก่อนก็ได้ เมื่อ “ลงมือเขียน” เมื่อนั้นเราได้เผชิญหน้ากับตัวตนของเราเอง มนุษย์มีวิธีโอบกอดและยอมรับสิ่งที่ตัวเองเป็นได้หลายวิธี บางวิธีต้องลงทุนลงแรง ในขณะที่บางวิธีขอแค่มีกระดาษกับปากกาก็เพียงพอแล้ว ใช่ เรากำลังพูดถึงวิธีเยียวยาตัวเองด้วย “การเขียน” วิธีง่าย ๆ ที่เรามักหลงลืมมันไป เพราะไม่คิดว่ามันจะช่วยได้จริง แต่วันที่เราไม่ได้ออกไปไหน
เชื่อว่าชีวิตของหนุ่ม ๆ หลายคนในช่วงนี้คงไม่พ้นการต้องกักตัวอยู่ในบริเวณบ้านหรือห้องตัวเอง บางคนมีงานให้ต้องสะสาง ขณะที่หลายคนเลือกจะพักผ่อนด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่ตัวเองชอบ แต่สำหรับคนที่กำลังเผชิญปัญหา ท้อแท้หรือหมดกำลังใจกับชีวิตในช่วงเวลานี้อยู่ เราอยากชวนคุณหลบมุมเพื่อพักผ่อนและเติมพลังชีวิตไปกับ Sport Documentary ดี ๆ ที่มีให้ทั้งความรู้ ความสนุกสนาน MOTIVATHLETE วันนี้ถือโอกาสเลือกสารคดีกีฬา 5 เรื่อง 5 สไตล์ที่หวังจะสามารถให้มุมมองและแง่คิดดี ๆ กับทุกคนได้ไม่มากก็น้อย ไปดูกันว่าเราจะหยิบเรื่องราวของนักกีฬาคนไหนมาแนะนำบ้าง Conor Mcgergor: Notoriouus สารคดีที่เล่าถึงเรื่องราวชีวิตของคอเนอร์ แม็คเกรเกอร์ นักกีฬาต่อสู้ศิลปะป้องกันตัวแบบผสมผสานอดีตแชมป์ 2 รุ่นน้ำหนักคนแรกของ Ultimate Fighting Championship หรือ UFC ชายปากมากที่มีทั้งคนรักและเกลียดเพราะฝีมือการต่อสู้ของเขามีมากพอ ๆ กับน้ำลาย ตัวสารคดีจะเกริ่นรู้จักตัวคอเนอร์ตั้งแต่ช่วงแรกที่เข้าวงการมวยกรง 8 เหลี่ยมสู่แมตซ์เปิดตัวอันน่าประทับในบนสังเวียน UFC และการแข่งขันที่เข้มข้นกับทั้ง Chad Mendes และ Nate Diaz ที่สอดแทรกมุมมองชีวิตส่วนตัวจากปากคอเนอร์เองและคนใกล้ชิด หวังเรื่องราว 1.30 ชั่วโมงจะทำให้ทุกคนเข้ามากขึ้นว่าชีวิตของชายคนนี้ไม่ได้ก้าวขึ้นมามีชื่อเสียงและร่ำรวยบนเส้นทางที่ราบเรียบ
ก่อนหน้านี้หลายคนไม่เชื่อว่าเราจะต้องใช้เวลาอยู่บ้านนานนับเดือน ยังคิดกันเอาเองว่าการ WORK FROM HOME หรือทำทุก ๆ อย่าง FROM HOME มันดีจะตาย และคงจะเป็นเรื่องขำ ๆ ที่เกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น แต่มาวันนี้ต้องยอมรับว่าเราคงต้องอยู่ในสภาพนี้ไปอีกนาน พ่วงมาพร้อมความเครียดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ด้วยความที่เรายังต้องอยู่บ้านนาน ทำให้ระยะนี้มีข้าวของต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นใหม่ออกมามากมายเพื่อให้การใช้ชีวิตอยู่บ้านตลอดเวลารื่นรมย์มากขึ้น และนี่คือ 5 ไอเทมการอยู่บ้านให้น่าอยู่ที่เราเลือกมา บางอย่างเพื่อตอบโจทย์ความบันเทิง บางอย่างก็เป็นเรื่องความโปรดักทีฟ แต่ไม่ว่าจะชิ้นไหนเราว่าก็ขาดไม่ได้พอกัน ‘THE BEAN’ Samsung Galaxy Buds ถ้าการอยู่บ้านของพวกเรา ไม่ใช่การอยู่คนเดียว แต่ต้องแชร์พื้นที่ร่วมกับคนอื่นในบ้าน ชนิดที่หาความเป็นส่วนตัวและสมาธิไม่ค่อยจะได้ สิ่งแรกที่จำเป็นต้องหามาใช้คือ “หูฟัง” ดี ๆ เพราะการเปิดเพลงคลอสำหรับตัดโลกบางช่วงเวลาจะสร้างสมาธิให้เราได้ ที่สำคัญจังหวะดนตรียังช่วงปรับมู้ดการทำงานและใช้ชีวิตให้มีพลังอย่างไม่น่าเชื่อ ทว่าหูฟังธรรมดา เราคงไม่เอามาแนะนำให้เสียเวลา ไอเทมชิ้นแรกจึงขอแนะนำเป็น Samsung Galaxy Buds หน้าตาคล้ายเมล็ดถั่วที่กำลังมาแรงตัวนี้ที่ว่ากันว่ารูปที่เราเห็นอยู่คือภาพหลุด เพราะชิ้นนี้ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาของค่าย Samsung ความเจ๋งอยู่ที่มันเป็นหูฟังประเภท In-ear ที่ออกแบบมาให้พอดีกับทรงใบหูโดยไม่ต้องยัดซิลิโคนเหมือนที่แล้วมา เนื่องจากแต่ละข้างมีลำโพงขนาดเล็ก 2
ในยุคที่เชื้อไวรัส COVID-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก ประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาเริ่มรับช่วงต่อจากจีนแผ่นดินใหญ่และกลายมาเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสชนิดนี้แทน นำมาซึ่งการปิดบางเมืองในกลุ่มเสี่ยง งดประชาชนออกนอกเคหสถาน และเพิ่มมาตรการตรวจสอบข้อมูลรายคนแบบละเอียดยิบ ขณะเดียวกันรัฐบาลก็เริ่มหยิบยืมความช่วยเหลือจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมล้ำสมัย เข้ามาช่วยต่อสู้ฟาดฟันกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 มากขึ้น โดยพวกเขาเชื่อว่าเทคโนโลยีอาจเป็นความหวังเดียวที่จะแก้ปัญหาวิกฤตครั้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากนโยบายเว้นระยะห่างจากสังคมและการประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อจำกัดการออกนอกบ้านของประชาชน อาจยังไม่เพียงพอที่จะทำลายห่วงโซ่ของการแพร่กระจายไวรัสได้ รัฐบาลของหลายประเทศจึงใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการตรวจสอบการเคลื่อนไหว ประเมินความเสี่ยงของผู้ติดเชื้อ รวมถึงยับยั้งการแพร่กระจายเชื้อไวรัสที่ติดต่อจากคนสู่คน ทำให้ปัญหาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ถูกนำมาใช้งานอย่างหลากหลาย ตั้งแต่การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ไปจนถึงระบุตัวตนผู้ที่ไม่สวมใส่หน้ากากอนามัย หรือแม้แต่อากาศยานไร้คนขับอย่างโดรนที่เรารู้จักกันดี ยังถูกใช้ถ่ายภาพความร้อนเพื่อค้นหาผู้ที่ติดเชื้อไวรัส ตลอดจนพ่นยาฆ่าเชื้อในพื้นที่ที่ปนเปื้อนได้อย่างปลอดภัย สิงคโปร์กับแอปพลิเคชัน TraceTogether รัฐบาลสิงคโปร์เปิดตัวแอปพลิเคชัน ‘TraceTogether’ เพื่อติดตามการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสและตรวจสอบว่าผู้ใช้ปฏิสัมพันธ์หรือใกล้ชิดกับใครบ้าง เมื่อผู้ใช้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันนี้และเจ้าของสมาร์ตโฟน 2 เครื่องอยู่ใกล้กันภายในระยะ 6 ฟุต TraceTogether จะแลกเปลี่ยน temporary ID ระหว่างเครื่องโดยอัตโนมัติ ผู้ใช้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลการติดต่อของกันและกันได้ มีเพียงเซิร์ฟเวอร์เท่านั้นที่รู้ว่าเจ้าของสมาร์ตโฟนเครื่องนั้น ๆ เป็นใคร แล้วเมื่อใดที่ตรวจพบเชื้อ COVID-19 เจ้าหน้าที่จะขอเข้าถึงข้อมูลว่าผู้ใช้คนดังกล่าวได้แลกเปลี่ยน temporary ID กับใครไปแล้วบ้าง เพื่อประเมินความเสี่ยงและติดตามการแพร่กระจายของเชื้อต่อไป ฟีเจอร์เจ๋งและความเข้มงวดของรัฐบาลจีน นอกจากประเทศจีนจะใช้ DingTalk,
ถ้าใครพอรู้จักสไตล์การใช้ชีวิตกับความคิดของคนญี่ปุ่น เราจะรู้ว่าพวกเขามุ่งเน้นความคิดและจิตวิญญาณ การทำบางสิ่งจากความต้องการภายใน การเคารพธรรมชาติ บูชิโด อิคิไกและคิสึงิ ดังนั้นเมื่อมีคนทำผิดกฎหมายพวกเขาต้องรับโทษไม่ต่างจากคนทำผิดในประเทศอื่น ๆ ความแตกต่างที่น่าสนใจของกระบวนการยุติธรรมญี่ปุ่นคือพวกเขาไม่ต้องการให้นักโทษรู้สึกสูญสิ้นตัวตน ไม่ได้บอกว่าคนทำผิดเป็นคนสารเลว พยายามดึงให้คนที่จิตใจต่ำทรามที่สุดรู้สึกสำนึกให้กลับมาเป็นคนดีอีกครั้ง ผ่านการบีบคั้นอยู่ในห้องสอบสวนเป็นเวลานาน ๆ เพื่อให้นักโทษรับสารภาพให้ได้ ฟังเหมือนหนังสือการ์ตูนลูกผู้ชาย แต่ระบบความยุติธรรมและความคิดส่วนใหญ่ของชาวญี่ปุ่นเป็นแบบนี้จริงๆ หลายคนเมื่ออ่านแล้วอาจยังไม่อยากปักใจเชื่อ ดังนั้น UNLOCKMEN จะพาทุกคนไปสำรวจคุกญี่ปุ่นไปพร้อมกันว่าภาพของเรือนจำตรงกับที่จินตนาการไว้ตอนแรกหรือไม่ ภายใต้ความเรียบง่ายนั้นซ่อนความกดดันมหาศาลให้กับเหล่านักโทษอย่างไรบ้าง หลังผ่านกระบวนการสืบสวนสอบสวนสุดหนักหน่วงและพิสูจน์แล้วว่ามีความผิด คนเหล่านั้นถูกส่งตัวไปยังเรือนจำ พอเข้ามาในเขตเรือนจำก็พบกับสไตล์สุดมินิมัลตามแบบฉบับญี่ปุ่น บรรยากาศโล่ง ไม่อึดอัด ไม่สกปรก สีขาวสะอาดตาตัดกับลูกกรงสีเทาสูงเลยหัวและพื้นกระเบื้องสีน้ำตาลอ่อน เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย แถมห้องพักของนักโทษญี่ปุ่นจะแตกต่างจากคุกประเทศอื่น ๆ ปกติแล้วห้องนอนในคุกควรเป็นเตียงเหล็กสองชั้นสามหลัง นอนได้หกคนท่ามกลางบรรยากาศทึบ สีเทาของพื้นปูน กำแพงคอนกรีตไร้หน้าต่าง แต่ญี่ปุ่นนำสไตล์การแต่งห้องดั้งเดิมอย่างการปูเสื่อทาทามิ มีฟูกพับได้ให้นอนที่พื้น บางห้องอยู่คนเดียว บางห้องจุคนได้ 6-12 คน การจัดห้องให้ความรู้สึกเหมือนบ้านและสะท้อนภาพลักษณ์ชาตินิยมอย่างชัดเจน แถมห้องอาบน้ำยังมีบ่อแช่ตัวเหมือนโรงอาบน้ำสาธารณะข้างนอกเรือนจำ การใช้จ่ายภายในเรือนจำเหมือนกับภาพยนตร์หรือซีรีส์คุกที่เคยดูทั้งของญี่ปุ่นและต่างประเทศ นักโทษจะไม่ได้รับอนุญาตให้พอเงินสดแต่เงินที่ญาติ ๆ ส่งมาจะถูกเปลี่ยนเป็นแสตมป์ โดยนำโทษนำแสตมป์ไปซื้อสิ่งของที่ต้องการได้ ณ ร้านสหกรณ์เหมือนอย่างซีรีส์เรื่อง Orange is the New Black
เชื่อไหมครับว่าภาพยนตร์หลายพันเรื่องที่เคยผ่านตาเรา ล้วนสอดแทรกโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจเอาไว้ และถ้าคุณหลงใหลงานดีไซน์มากพอก็คงจะรับรู้ได้ เนื่องจากสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อมนุษย์ แถมยังครอบคลุมตั้งแต่การพักอาศัยไปจนถึงการใช้ชีวิต การออกแบบสถาปัตยกรรมจึงนับว่ามีบทบาทไม่น้อยต่อภาพยนตร์ นอกจากจะเป็นฉากหลังประกอบเนื้อเรื่องที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสายตาผู้ชมแล้ว สถาปัตยกรรมในแต่ละฉากตอนยังสะท้อนถึงสภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงยุคสมัยที่ปรากฏในภาพยนตร์แต่ละเรื่องได้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นรายละเอียดเล็ก ๆ ของงานสถาปัตยกรรมยังช่วยเสริมแนวคิดตลอดจนเนื้อเรื่องของภาพยนตร์ให้เด่นชัดขึ้นในเวลาเดียวกัน แล้วนี่คือภาพยนตร์ 5 เรื่อง 5 รสชาติที่ซ่อนความพิเศษทางสถาปัตยกรรมบางอย่างที่เราอยากให้คุณได้รับชม! PARASITE, 2019 ภาพยนตร์สัญชาติเกาหลีของผู้กำกับ Bong Joon-ho ที่นอกจากจะคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและอีกหลายรางวัลใหญ่บนเวทีออสการ์ ยังซ่อนผลงานสถาปัตยกรรมสุดน่าทึ่งเอาไว้ด้วย เนื้อเรื่องของ Parasite เล่าถึงครอบครัวต่างฐานะของเกาหลีใต้ที่ฝั่งหนึ่งใช้ชีวิตสุขสบายในคฤหาสน์หรู แต่อีกฝั่งต้องกัดฟันสู้ชีวิตท่ามกลางสภาพสังคมที่เหลื่อมล้ำ ภาพยนตร์เรื่องนี้โดดเด่นด้วยการเสียดสีสังคมและเผยให้เห็นช่องโหว่ของคนรวยกับจนอย่างโจ๋งครึ่ม ซึ่งหนึ่งในองค์ประกอบหลักที่ช่วยให้ผู้ชมซึมซับความต่างระหว่างชนชั้นคือผลงานสถาปัตยกรรมในเรื่องนี้ ผนังหน้าบ้านของครอบครัวคนรวยดีไซน์ด้วยกำแพงสูงทึบตัน ที่ช่วยแบ่งกั้นระหว่างภายในกับภายนอกอย่างชัดเจน ทางเดินเข้าบ้านยกระดับให้สูงขึ้นสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้พักอาศัย และเหมือนบอกโดยนัยว่าไม่ต้องการให้ใครเข้าถึงง่าย ภายในยังสร้างบันไดไว้บริเวณจุดศูนย์กลางบ้านช่วยแบ่งพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนมากขึ้น แม้จะใช้กระจกบานกว้างเพื่อเปิดรับแสงธรรมชาติและบ่งบอกถึงรสนิยมหรูหรา แต่กลับเลือกเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้นที่ดูเรียบง่ายมาตกแต่ง บวกกับโทนสีในบ้านและเปลือกนอกอาคารที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ราวกับบอกว่าบ้านหลังนี้ซ่อนความลับบางอย่างเอาไว้ BLACK PANTHER, 2018 แม้แต่ Black Panther ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ลำดับที่ 8 ในจักรวาลมาเวล ยังเต็มไปด้วยรายละเอียดยิบย่อยของสถาปัตยกรรมผังเมืองฝีมือ Zaha Hadid สถาปนิกหญิงชื่อก้องโลกผู้คร่ำหวอดในแวดวงสถาปัตยกรรม
การระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้คนในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีอัตราผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้โรงพยาบาลหลักหลายแห่งเริ่มไม่เหลือพื้นที่เพียงพอสำหรับรักษาและกักตัวผู้ติดเชื้อทั้งหมด สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้บริษัทด้านสุขภาพอย่าง Jupe เร่งพัฒนาโปรเจกต์ “อาคารดูแลผู้ป่วยแบบติดตั้ง” เพื่อเตรียมนำมาใช้งานจริงในสถานที่ห่างไกลจากโรงพยาบาล โดยตึกพยาบาลแบบ Standalone ทั้งหมดจะประกอบไปด้วยอะไรบ้างมาชมไปพร้อมกัน Jupe คือบริษัทด้านสุขภาพที่ก่อตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่ชื่อ Jeff Wilson และนายแพทย์ Esther Choo โดยได้เงินสนับสนุนจากเศรษฐีผู้สนใจงานด้านมนุษยธรรมอย่าง Cameron Sinclair ซึ่งทั้ง 3 คนมีความเห็นตรงกันว่าอยากจะสร้างศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินเคลื่อนที่ ที่สามารถขนส่งและติดตั้งในสถานที่ไหนก็ได้ รวมถึงใช้เวลาประกอบเพียงชั่วข้ามคืนจนออกมาเป็นผลงานที่ชื่อว่า Jupe Health Jupe Health ประกอบไปด้วยสิ่งก่อสร้างทั้งหมด 3 ยูนิตด้วยกันคือ Jupe Plus, Jupe Care และ Jupe Rest ที่สร้างขึ้นมาตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่าง แต่สิ่งอำนวยความสะดวกในยูนิตต่าง ๆ จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มาทำความรู้จักไปพร้อมกัน เริ่มกันที่ Jupe Plus อาคารดูแลผู้ป่วยหนักแบบ Stand-Alone ยูนิตแรกของโลก ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นห้องดูแลผู้ป่วย ICU
สำหรับหนุ่ม ๆ ที่หลงใหลในซูเปอร์คาร์ของค่ายรถยนต์สุดแรงจากอิตาลีอย่าง Ferrari คงจะตื่นเต้นไม่น้อยกับงานเรนเดอร์คอนเซ็ปต์คาร์คันล่าสุดที่ว่ากันว่ามาจะพร้อมเครื่องยนต์ V12 ที่ใช้ชื่อว่า STALLONE STALLONE คือคอนเซ็ปต์ซูเปอร์คาร์ผลงานการออกแบบของ Murray Sharp นักออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตั้งใจดีไซน์รถคันนี้ขึ้นมาเพื่อสืบทอดตำนานความยิ่งใหญ่ของ LaFerrari ด้วยงานออกและระบบอากาศพลศาสตร์ใหม่ที่ลงตัว งานดีไซน์ตั้งแต่หัวจรดท้ายของ STALLONE ได้แรงบันดาลใจดีไซน์โค้งมนสุดคลาสสิกของ Ferrari 250 GTO ผสมรวมกับกลิ่นอายสปอร์ตของ Ferrari F40 ออกมาเป็นรถดีไซน์แห่งอนาคตที่มาพร้อมช่องลมขนาดใหญ่ด้านหน้า และ 2 ช่องเล็กบนฝากระโปรง ทั้งหมดวางอยู่ในตัวถังแบบ Monocoque ด้านข้างตัวรถโดดเด่นด้วยกระจกมองข้างที่ใช้กล้องความละเอียดสูงดีไซน์ยื่นออกจากตัวรถ พร้อมช่องลมด้านข้างขนาดใหญ่ ในขณะที่ส่วนท้ายของตัวรถทั้งกระจกและชุดแต่งได้แรงบันดาลจากโมเดลในตำนานอย่าง Ferrari Rosso Corsa มาพร้อมท่อไอเสียคู่ที่ถูกเอาวางไว้ด้านหลังของหลังคา โดยงานดีไซน์ที่สมบูรณ์แบบของมันทำให้หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่านี่คือรถที่จะเข้ามาแทนที่สานต่อตำนานของ LaFerrari ให้กับค่ายม้าคะนอง ด้าน Murray Sharp ตั้งใจให้รถคันนี้เป็นแพลตฟอร์มสำหรับวางเครื่องยนต์ตัวแรงของค่ายกับเครื่องยนต์ V12 ซึ่งเป็นระบบเครื่องยนต์ที่ถูกใช้มาตั้งแต่รถรุ่นเก๋าของค่าย ไม่ว่าจะเป็น 125 S หรือใน 250 GTO ในเวลาต่อมาเครื่องยนต์ V12 ยังถูกพัฒนาและใช้ในซูเปอร์คาร์ตัวกลั่นทั้งในโมเดล
ช่วงหลายปีที่ผ่านมา คนเจ๋ง ๆ หลายคนหันไปทำเกษตร เรียกว่าเป็นกราฟที่สวนทางกับยุคที่เรายังเด็กแบบกลับหัวกลับหาง แม้ไม่อยากจะเรียกว่าเป็นเทรนด์ แต่ก็ต้องยอมรับว่าปลายทางการเกษียณที่หลายคนมองไว้วันนี้ มันเป็นความรู้สึกพอเพียงที่ไม่ได้เน้นตัวเลขในบัญชี เปลี่ยนมาเน้นการได้ออกไป “มีที่สักที่” ให้ไปเดินรดน้ำ เก็บผักเก็บไข่ที่มีคุณภาพกินอย่างมีความสุขและอยู่ท่ามกลางอากาศบริสุทธิ์ ทว่าฝันส่วนใหญ่มันเริ่มต้นใกล้ ๆ วัยเกษียณที่มีเงินก้อน กระทั่งเรามีโอกาสแวะมาที่และได้พูดคุยกับรีย์ – ชารีย์ บุญญวินิจ เกษตรกรหนุ่มเมืองพันธุ์แท้ ที่ล่อแหกทุกกฎการทำเกษตร เฮี้ยนหาหนทางเลี้ยงไส้เดือน ปลูกผักบนปูน แถมในฟาร์มยังมีไก่มากกว่า 5 ตัวแน่ ๆ เท่าที่มองเห็น นี่ยังไม่นับรวมเป็ด เต่า ไปจนถึงหมูขนาดยักษ์อีก 2 ตัว ชีวิตเขาเนี่ย คนจะว่า “บ้า” ก็คงได้ เพราะถ้าใครยืนยันว่าจะสร้างฟาร์มในกรุงเทพฯ จากพื้นที่ขนาดเล็กที่เคยเริ่มต้นจากโรงรถ เกษตรบนพื้นปูน มันก็แปลกจริง ๆ “เราใช้ข้อดีของกรุงเทพฯ แต่ว่าเราก็รู้ว่าข้อเสียของกรุงเทพฯ มันคืออะไร ความวุ่นวาย ฝุ่น โน่นนี่นั่นทุกอย่าง เราก็อยู่กับมัน เราไม่มีต่างจังหวัดให้กลับ อยู่กรุงเทพฯ ไปทั้งชีวิต ไม่งั้นทำยังไงอะ ? ต้องรอเกษียณ 60-70