หลาย ๆ คนมักจะตีความดนตรีแนว “ฮาร์ดคอร์” กันผิด เพราะคนส่วนใหญ่ชอบเหมารวมว่าเพลงที่หนัก ๆ แหกปาก รุนแรง คือแนวฮาร์ดคอร์ไปซะทั้งหมด โดยเฉพาะในยุคนูเมทัลที่ในเริ่มแรกก็ถูกเรียกแบบนั้นเช่นกัน แต่แท้จริงแล้วซาวด์ของมันไม่ได้มีความใกล้เคียงเลย ดังนั้นเราลองมาทำความรู้จักพื้นฐานของฮาร์ดคอร์กันซักนิดก่อนดีกว่า ดนตรีฮาร์ดคอร์มีพื้นฐานมาจาดนตรีพังก์ ก่อตัวขึ้นในช่วงปลายยุค 70’s ถึงช่วงต้นยุค 80’s โดยเฉพาะในวอชิงตัน ดี.ซี. และนิวยอร์ก แต่ดนตรีของฮาร์ดคอร์จะมีความดิบกว่า หนักกว่า รวดเร็วกว่า และเสียงดังกว่า พังก์ขึ้นไปอีกเท่าตัว แถมยังใช้การแหกปากในการร้องเพลงด้วยเช่นกัน มีวงอย่าง Minor Treat, Bad Brains, Black Flag, Circle Jerks และ Dead Kennedys เป็นศิลปินบุกเบิกและเป็นต้นแบบให้กับวงในยุคต่อมา ดนตรีฮาร์ดคอร์ ยังมีวัฒนธรรมที่น่าสนใจที่แฝงตัวอยู่ ไม่ว่าการนิยมใช้ระบบ D.I.Y., การมอชพิต รวมไปถึงการใช้ชีวิตแบบ Straight Edge (ไม่ดื่ม ไม่เสพ ไม่มั่วเซ็กส์) เป็นต้น นอกจากนี้ดนตรีฮาร์ดคอร์ยังกลายเป็นอิทธิพลสำคัญให้กับดนตรีแนวอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นแธรช
เชื่อว่าชาว UNLOCKMEN หลายคนต่างเติบโตมา พร้อมความสุขบนหน้าจอ ที่เต็มไปด้วยฉากชวนตื่นตาตื่นใจระหว่างรับชมการต่อสู้ของฮีโร่ร่างยักษ์ซึ่งทำหน้าที่พิทักษ์โลกจากเหล่าสัตว์ประหลาดไคจูตัวร้าย พร้อมเอาใจช่วยด้วยความลุ้นระทึกกับเงื่อนไขเวลาจำกัดของพระเอกขณะที่อยู่ในร่างยอดมนุษย์นามว่า Ultraseven โดยเรื่องราวของ Ultraseven นักรบผู้ผดุงความยุติธรรมจากดวงดาวแห่งแสงใน Nebular M78 ที่ออกอากาศเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1967 – 1968 ได้กลายเป็นตำนานสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนรุ่นสู่รุ่นมายาวนานกว่า 55 ปี เช่นเดียวกันกับเรือนเวลา SEIKO 5 SPORTS ซึ่งยืนหยัดในฐานะ Automatic Day-Date Watch รุ่นแรกของญี่ปุ่น ที่มาพร้อมราคาคุ้มค่า คุณภาพน่าเชื่อถือ และดีไซน์ที่ถูกพัฒนาให้ร่วมสมัยสำหรับหนุ่มสาวหัวใจสปอร์ตมาเป็นเวลา 55 ปี นับตั้งแต่การเปิดตัวในปี 1968 ด้วยช่วงเวลาที่เหมาะเจาะพอดิบพอดี ทำให้ยอดมนุษย์ Ultraseven และเรือนเวลาชั้นยอดอย่าง SEIKO 5 SPORTS มีโอกาสได้โคจรมาเจอกันในคอลเลกชั่น SEIKO 5 SPORTS 55th ANNIVERSARY ULTRASEVEN LIMITED EDITION เรือนเวลารุ่นพิเศษ ตัวแทนการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 55 ปีของทั้งคู่ ที่บอกเลยว่าแฟน
สร้างสรรค์สไตล์ให้โดดเด่นและเป็นตัวเองด้วยนาฬิกาเรือนโปรดไปกับแบรนด์ “ทิสโซต์” (Tissot) ที่หลังประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจากการนำคอลเลกชั่น “พีอาร์เอ็กซ์” (PRX) ที่ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี 1978 กลับมาสร้างสรรค์ใหม่อีกครั้งในขนาด 40 มม. เมื่อปี 2021 โดยล่าสุด “ทิสโซต์” (Tissot) ได้ประกาศเปิดตัวเรือนเวลาคอลเลกชั่นใหม่ที่ชื่อว่า “พีอาร์เอ็กซ์ 35 มม.” (PRX 35MM) กับการปรับขนาดนาฬิกาให้เล็กลงด้วยขนาด 35 มม. เพื่อตอบโจทย์หนุ่มสาวที่ต้องการความคล่องตัว แต่ยังคงไว้ซึ่งความเท่และกลิ่นอายของยุค 70s โดย “ทิสโซต์” (Tissot) ได้บอกเล่าจุดเด่นของคอลเลกชั่นนี้ผ่านการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้นสะท้อนถึงวัฒนธรรมป๊อปคลาสสิกของกลุ่มวัยรุ่นในช่วงยุค 70s “ทิสโซต์” (Tissot) แบรนด์นาฬิกาสัญชาติสวิส ในเครือเดอะ สวอท์ช กรุ๊ป เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1853 ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นาฬิกาประสิทธิภาพสูงในดีไซน์ที่ความทันสมัยอย่างมีเอกลักษณ์ อีกทั้งยังเป็นแบรนด์ได้การยอมรับในแวดวงกีฬา ในฐานะผู้ผลิตนาฬิกาที่มีเทคโนโลยีระบบจับเวลาด้านความเที่ยงตรงแม่นยำสูงสุด สำหรับภาพยนตร์สั้นจากคอลเลกชั่น “พีอาร์เอ็กซ์ 35 มม.” (PRX 35MM) ถูกถ่ายทอดเรื่องราวผ่านกลุ่มเพื่อนที่ทั้ง 5
ตรงกับช่วงเวลาของการเฉลิมฉลองปีเถาะ หรือ The Year of the Rabbit ที่ใกล้จะมาถึง แฟรงค์ มุลเลอร์ (Franck Muller) และแบรนด์สตรีทแวร์จากโตเกียว #FR2 ได้จับมือกันเผยโฉมนาฬิกา #FR2NCK MULLER Vanguard ซึ่งนับเป็นความร่วมมือกันครั้งแรกระหว่างสองแบรนด์ ทั้งยังเป็นโอกาสที่จะได้เห็น แฟรงค์ มุลเลอร์ นำภาษาการออกแบบอันโดดเด่นของ #FR2 มาใช้บนนาฬิกาเอกลักษณ์อย่าง แวงการ์ด (Vanguard) โดยผลลัพธ์แห่งความร่วมมือนี้คือเรือนเวลาอันล้ำนำแฟชั่นและทันสมัย ด้วยหน้าปัดที่ประดับตกแต่งลวดลายกระต่ายอันเป็นไอคอนิกตลอดกาลของ #FR2 ซึ่งนั่งอยู่ท่ามกลางตัวเลขรูปทรงสัญลักษณ์ และตัวเรือนทรงตอนโนของ แฟรงค์ มุลเลอร์ โดย #FR2NCK MULLER Vanguard นับเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างประเพณีการประดิษฐ์นาฬิกาหรูของสวิส และสตรีทแฟชั่นของญี่ปุ่น จากการหลอมรวมองค์ประกอบต่างๆ ของแต่ละจักรวาล และเติมเต็มด้วยสัมผัสอันเป็นเอกลักษณ์ของทั้งสองนักสร้างสรรค์ ผลงานนี้จึงมีความโดดเด่นอย่างชัดเจนบนหน้าปัด ที่ซึ่งเผยความสวยงามอันล้ำสมัย แต่ยังคงความเหนือกาลเวลาของ แฟรงค์ มุลเลอร์ ที่สะท้อนผ่านอารมณ์สัมผัสแห่งสตรีทสไตล์ ประกอบด้วยฐานหน้าปัดสีขาวแบบด้านที่นับเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งต่างๆ ซึ่งก่อร่างขึ้นกลายเป็นความสวยงามอันเป็นหัวใจ และเหนือขึ้นไปนั้นยังบรรจุไว้ด้วยเข็มชี้บอกเวลา มาร์กเกอร์ และเครื่องหมายขีดแบบนำมาติดที่เป็นสีดำ ด้วยลุคสไตล์โมโนโครมที่ตัดกันอย่างชัดเจนยังได้มอบซึ่งความสมบูรณ์ลงตัวจากการเล่น
เปิดปี 2023 กับวงที่เราอยากให้ทุกคนได้รู้จักตั้งแต่ปี 2022 แต่ปลายปีของชาวออฟฟิศก็วุ่นวายกันนิดหน่อย เราเลยขอยกยอดวงนี้มาเป็นศิลปินเบอร์แรกเปิดซีรีย์ Next Cover, Same Mood ของปีเลยละกัน กับ Lemony จาก Sanamluang Music แนะนำประวัติวงคร่าว ๆ กันเล็กน้อย เนื่องจากว่าเป็นวง New Blood ที่น่าสนใจมาก เพราะเอาจริง ๆ พวกเขาก็ไม่ใช่วงหน้าใหม่ของวงการเสียทีเดียว ก่อนหน้าที่จะเป็นวง Lemony พวกเขาทั้ง 4 คนเคยใช้ชื่อว่า Kordyim (อ่านว่า ‘โคตรยิ้ม’) แต่ด้วยที่ต้องการปรับเปลี่ยนแนวทางของดนตรี + ทิศทางของวงใหม่ จึงจัดการรีเซ็ทใหม่หมด กว่าจะออกมาเป็น Lemony กับอัลบั้มแรกให้ทุกคนได้รู้จักในวันนี้ ก็ใช้เวลากว่า 10 ปีเลยทีเดียว ! ถ้าคุณเคยรู้จัก Lemony ในร่างที่แล้วมาก่อน จะเข้าใจเลยว่า Why Don’t I …..? เป็นอัลบั้มที่ย้ำคาแรคเตอร์ของวง Lemony
Ferrari F512 M รุ่นสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของ Ferrari เปิดตัวในปี 1994 ในฐานะโมเดลปิดท้ายตำนานยิ่งใหญ่ของ “Testarossa” และยังเป็น Ferrari รุ่นสุดท้ายที่ใช้เครื่องยนต์ 12-cylinder 440 แรงม้า ทุกรายละเอียดของรถออกแบบโดยคำนึงถึงจุดเด่นและดีไซน์ของ Testarossa ใส่ความพิถีพิถันมากขึ้นตั้งแต่ chassis เครื่องยนต์ ไปจนถึงการตกแต่งทุกจุด เครื่องยนต์ของ F512 M ได้รับการอัพเกรดวัสดุภายในเป็น titanium ที่แข็งแกร่งและน้ำหนักเบา ช่วยให้ทนต่อรอบเครื่องที่จัดจ้านยิ่งกว่าในรุ่น 512 TR นอกจากนี้ยังมีการอัพเกรดระบบท่อไอเสียใหม่ อัพเกรดระบบกันสะเทือน จนสามารถกระจายน้ำหนักหน้าหลังได้ 50:50 ช่วยให้ควบคุมรถได้เฉียบคมแม้ในความเร็วสูง ไฟท้ายที่โดดเด่นไม่มีใครเหมือน ล้อแบบ 3-piece จาก Speedline กันชนหน้าที่ได้แรงบันดาลใจจาก F40 และ 512 BB/LM โดยเฉพาะไฟหน้าแบบ fixed Ferrari ผลิต F512 M ออกมาทั้งหมดเพียง 501 คันเพื่อกระจายขายทั่วโลก แม้แต่ในตลาด
นักฟุตบอลระดับตำนานต่างบอกว่า พระเจ้าสร้างกีฬาฟุตบอลขึ้นมาเพื่อ Pele’ โดยเฉพาะ ทั้งสปีดความเร็วและเทคนิคการเล่นที่สวยงาม การจบสกอร์ที่ยอดเยี่ยม ทำให้ Pele’ ถูกยกขึ้นบูชาในฐานะ National Hero ของ Brazil เป็นสมบัติของชาติที่หวงแหน แม้จะไม่มีโอกาสได้ไปค้าแข้งลีกยุโรป แต่ก็เป็นนักบอลเพียงคนเดียวที่ได้สามแชมป์ World Cup สถิติที่ยังห่างไกลจากนักเตะแถวหน้าในโลกใบนี้ ชื่อจริงของ Pele’ คือ Edson Arantes do Nascimento ได้แรงบันดาลใจมาจาก Thomas Alva Edison ผู้คิดค้นไฟฟ้า โดยเอาตัว i ออกไปเหลือแค่ Edson เหตุผลเพราะบ้านของ Pele’ พึ่งจะมีไฟฟ้าเข้าถึงก่อนเขาเกิดมาเพียงไม่กี่วันเท่านั้น โดยตามทะเบียนบ้านระบุว่าเกิดในวันที่ 23 ตุลาคม 1940 ในเมือง Tres Coracoes ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ Brazil แต่ตัว Pele เองกลับยืนยันว่าเจ้าตัวเกิดวันที่ 21 ตุลาคม แต่เป็นความผิดพลาดด้านเอกสาร ซึ่งคน Brazil
ช่วงปีใหม่ที่มาพร้อมกับอากาศเย็น ๆ แบบนี้ ถือได้ว่าเป็นบรรยากาศดี ๆ ที่เราควรจะใช้เวลากับมันให้เต็มที่ เพราะในหนึ่งปีมันจะผ่านมาแค่วูบเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะในกรุงเทพ แต่นอกจากอากาศที่เป็นใจให้กับเราแล้ว การได้ฟังเพลงดี ๆ ที่เข้ากับช่วงเวลาเหล่านี้ก็เป็นอะไรที่ดีต่อใจไม่แพ้กัน ด้วยเหตุนี้เราจึงขอคัดเลือกเพลงอะคูสติคแนวอีโม/ป๊อปพังก์ มาให้ทุกคนได้ลองฟังกัน HOOBASTANK “THE REASON” (2020 ACOUSTIC VERSION) ชาวร็อกยุค 2000’s ไม่มีใครไม่รู้จักเพลงนี้แน่นอน โดยเฉพาะสายที่ชอบฟังเพลงสากล สำหรับเพลง “The Reason” กลายเป็นผลงานที่ทำให้วง Hoobastank เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก มันถูกเผยแพร่ให้ฟังครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 มกราคม ปี 2004 โดยมีดนตรีที่เต็มไปด้วยเมโลดี้สุละมุมหู ชวนเคลิบเคลิ้ม และไพเราะจนสะกดใจ เวอร์ชั่นปกติก็ว่าดีแล้ว พอมาเจอเวอร์ชั่นอะคูสติคที่ทางวงทำมาฉลองครบรอบ 15 ปี ให้กับเพลงนี้ก็ยังคงน่าฟังไม่แพ้กัน ถือเป็นอีกฟีลหนึ่งที่แฟนเพลง Hoobastank จะต้องไม่พลาด MY CHEMICAL ROMANCE “CANCER” (ACOUSTIC VERSION) ผลงานเพลงจากอัลบั้ม “The Black Parade” ของหนึ่งในสุดยอดวงสายอีโม/พังก์
อีก 2 วันสุดท้ายก็จะเข้าปีใหม่แล้ว (ไวมาก !) ใครที่ยังเลือกกิจกรรมทำในช่วงวันหยุดยาวอยู่ UNLOCKMEN ขอแนะนำมังงะ 6 เล่มที่ต้องอ่านก่อนหมดปี 2022 เพราะในหน้ากระดาษเหล่านั้นเต็มไปด้วยข้อคิดในการใช้ชีวิตดีมากมาย ซึ่งจะเป็นแรงซัพพอร์ตชีวิตในปี 2023 ของทุกคนได้เป็นอย่างดี : ) Look Back (Tatsuki Fujimoto) ตั้งคำถามกับความฝันของตัวเองให้แน่ใจ ว่ามันใช่ความฝันของเราจริงมั้ย ? ที่สุดของมังงะ One Short (ตอนเดียวจบไม่มีภาคต่อ) ของปี 2022 และของชีวิตเรา ในช่วงเวลาที่มังงะโชเน็นเรื่อง Chainsaw Man กำลังไฮป์อย่างสุดขีด ทั้งยอดขายต่อเล่ม และการถูกนำไปต่อยอดทำเป็นอนิเมะโดยสตูดิโอ MAPPA จนทำให้เกิดคำถามมากมายว่า ‘สมการความเก่งของนักเขียนการ์ตูนที่ชื่อ ‘ฟูจิโมโตะ ทัตสึกิ’ มาจากไหน’ มังงะเรื่อง Look Back มีคำตอบของคำถามนั้นซ่อนอยู่ในรูปแบบของจดหมายที่คุณฟูจิโมโตะเขียนถึงตัวของเขาเองในฐานะของนักเขียนการ์ตูนคนหนึ่ง เรื่องย่อ : Fujino เด็กนักเรียนหญิงชั้นประถมที่เป็นมือวาดการ์ตูนแก๊กประจำหนังสือพิมพ์ประจำสัปดาห์ของห้อง ถูกอาจารย์ประชั้นไหว้วานขอให้ช่วยแบ่งพื้นที่บนหน้าหนังสือพิมพ์ให้หน่อย เพราะอยากให้เพื่อนที่อยู่ห้องข้าง ๆ ชื่อ