โลกมนุษย์คือการเรียนรู้และปรับตัว นอกจากวิถีชีวิตแบบใหม่ที่เรียกว่า New Normal จะทำให้คนเคยชินกับการเว้นระยะห่าง การใส่หน้ากาก การล้างมือ และการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าสู่ที่สาธารณะแล้ว เรายังจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในด้านการออกแบบ Interior Design ของร้านค้าหรือร้านอาหาร ที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยลูกค้า และทำให้ลูกค้ารู้สึกปลอดภัยทั้งในแง่ความรู้สึกและการสัมผัส เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้าแบบ New Normal ซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาวจาก Coronavirus ถ้าวันนี้คุณกำลังทำธุรกิจร้านอาหาร หรือมีแผนว่าจะเปิดร้านอาหารเพื่อรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวในอนาคต จากเดิมที่ร้านสวย บรรยากาศดี อาหารอร่อย จะการันตีความสำเร็จของร้านอาหารได้ แต่อนาคตมันจะไม่เพียงพออีกต่อไป และนี่คือเทรนด์การออกแบบ Interior Design เกี่ยวกับ Layout, Spacing และ Experience ในโลกหลัง Coronavirus ที่คุณต้องรู้เอาไว้ การมีระยะห่าง เป็นสิ่งที่จะสร้างความสบายใจในการใช้บริการให้ลูกค้า ปัจจุบันร้านอาหารที่เปิดให้บริการในช่วงใกล้ปลด Lockdown อาจจะทราบดีว่าการใช้ Layout จัดวางโต๊ะแบบเดิม ๆ ที่ต้องเว้นระยะห่าง 1.5 – 2 เมตร ตามมาตรการควบคุมนั้นเป็นการเสียพื้นที่มากเกินไป นั่นเพราะการออกแบบตั้งแต่แรกมีจุดประสงค์เพื่อเน้นจำนวนคนต่อพื้นที่เพื่อให้เกิดรายได้มากที่สุด ดังนั้นร้านอาหาร (รวมถึงร้านค้า)
ยุคสมัยที่ผู้นำส่วนใหญ่บนดาวเคราะห์ดวงนี้มีแต่ผู้ชายสุดแข็งแกร่งนั้นอาจเลือนรางลงไปนานแล้ว ความเท่าเทียมในหลายมิติทำให้มนุษย์ไม่ว่าเพศสภาพไหน ๆ ก็สามารถขึ้นกุมบังเหียนเพื่อบริหารองค์กรหรือประเทศได้ แม้ภายนอกคล้ายจะเป็นแบบนั้น แต่การเป็นผู้นำผู้หญิงนั้นกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เนื่องจากผู้นำผู้หญิงมักถูกกล่าวหาด้วยภาพเหมารวมความเป็นหญิงบางอย่าง เช่น ผู้หญิงนั้นเจ้าอารมณ์ ไม่มั่นคง ไม่เด็ดขาด ผู้หญิงไม่แข็งแกร่งพอ ผู้หญิงไม่มีความรู้เรื่องการบริหารดีเท่าผู้ชาย ฯลฯ รวมไปถึงความกดดันที่ผู้นำผู้หญิงต้องพยายามพิสูจน์ตัวเองมากกว่าผู้นำผู้ชาย เพื่อให้ทุกคนในองค์กร (หรือแม้แต่ระดับประเทศ) ยอมรับ Abbie Griffith Oliver ผู้ช่วยศาสตราจารย์จาก Georgia State University ทำงานวิจัยสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกันพบว่าเมื่อพูดถึง “ผู้นำที่พวกเขาชื่นชม” คนจำนวน 80% จะนึกถึงผู้ชาย และเมื่อ Abbie Griffith Oliver ถามนักศึกษาในชั้นเรียนว่าคิดอย่างไรกับผู้นำผู้หญิง มีเพียง 5% เท่านั้นที่พอจะนึกถึงผู้นำหญิงออกสักคน แน่นอนว่ามีผู้นำหญิงในหลายองค์กรที่ทำให้เห็นว่าผู้หญิงเองก็สามารถบริหารจัดการได้ดีไม่แพ้ผู้ชาย แต่เมื่อ COVID-19 ที่ถือเป็นวิกฤตการณ์สำคัญระดับโลกมาเยือน ทั้งโลกต่างได้เห็นบทบาทของผู้นำหญิงชัดเจนขึ้น เนื่องจากหลายประเทศที่มีผู้นำหญิงเป็นผู้บริหารนั้นสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือแม้แต่มีจำนวนผู้เสียชีวิตน้อยกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ ผู้นำหญิงจากหลายประเทศถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง ทั้ง Angela Merkel จาก Germany, Jacinda Ardern จาก
ในภาวะที่ตลาดหุ้นการลงทุนแปรปรวนแบบนี้ มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุนมากมาย นักลงทุนทุกคนควรศึกษา และหาความรู้ให้เพียงพอก่อนการตัดสินใจในการลงทุน วันนี้ INVESTOR’S VIEWPOINT จะพาท่านมาเปิดไอเดียการลงทุนกับคุณ Tar Kawin แห่ง AOM MONEY ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนในรูปแบบของ DCA ( Dollar Cost Averaging) ก่อนอื่น ถ้าถามว่าการลงทุนแบบ DCA เป็นรูปแบบการลงทุนอย่างไร ต้องบอกว่า DCA หรือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน คือ การกำหนดเงินลงทุนเป็นจำนวนคงที่ทุก ๆ งวด งวดละเท่า ๆ กัน อาจจะเป็นการลงทุนแบบรายเดือน รายไตรมาส เพื่อลงทุนในหุ้นที่ดี มีคุณภาพโดยไม่สนใจราคา แต่มองอนาคตการเติบโต โดยให้เรามองว่า การกำหนดเงินจำนวนเท่า ๆ กันในการซื้อหุ้น เป็นการซื้อแบบเฉลี่ยต้นทุน ถ้าในมุมที่พี่ต้าร์จะบอกบ่อย ๆ ก็คือ เป็นวิธีการที่ทำให้หุ้นขึ้นก็มีความสุข หุ้นลงก็มีความสุขได้ ถามมุมมอง TAR KAWIN ต่อตลาดหุ้นในขณะนี้ มุมมองตอนนี้ พี่คิดว่าประเด็นปัญหาคือเรื่องไวรัสที่ยังไม่มีไวรัสรักษาได้ จึงยังคงเป็นความเสี่ยงครับ
หลายคนสูญเสียหลายอย่างไปกับโรคระบาดที่เราไม่ได้ตั้งตัวมาก่อน ความมั่นคง เงิน งาน สุขภาพจิต แต่นอกจากความปกติในชีวิตที่เราต้องเสียไปแล้ว COVID-19 ยังเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งวิธีคิดเรื่องการรักษาความสะอาดเพื่อสุขอนามัย วิธีคิดเรื่องการกินอาหาร วิธีคิดเรื่องการพักผ่อน ฯลฯ ความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ส่งผลไปถึงเทคโนโลยี ธุรกิจอีกหลายรูปแบบที่จะต้องปรับตัว แต่น่าเสียดายที่บางอย่างต่อให้ปรับตัวก็ไม่สามารถรอดไปได้ หลัง COVID-19 จึงไม่ได้มีแค่เทคโนโลยีและธุรกิจใหม่ ๆ ที่ผุดขึ้นมาเพื่อเติมเต็มความต้องการของผู้คนที่เปลี่ยนไปในช่วงนี้ แต่เทคโนโลยีหรือธุรกิจบางแบบต้องหายไปตลอดกาลเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน Touch Screens ในที่สาธารณะ ครั้งหนึ่งการไปเดินห้างสรรพสินค้า หรือต้องการข้อมูลจากจุดไหนเป็นพิเศษแล้วมีหน้าจอ Touch Screens วางหารอให้เราพุ่งตรงเข้าไปใช้บริการ มันช่างเป็นตัวแทนของความทันสมัย ใช้งานง่าย สะดวก ตอบโจทย์ผู้บริโภค และเป็นภาพลักษณ์เชิงบวกกับธุรกิจหรือองค์กรนั้น ๆ จนไม่ว่ามองไปทางไหน Touch Screens ก็มีให้เห็นละลานตา แต่เมื่อ COVID-19 มาถึง Touch Screens ที่เคยเป็นตัวแทนความสะดวก กลายเป็นพื้นที่รวบรวมนิ้วใครต่อนิ้วใคร และอาจรวมถึงเชื้อโรคไม่พึงประสงค์นานาชนิด ดังนั้นธุรกิจจะต้องพิจารณาเรื่องนี้ใหม่ Touch Screens ทำให้ลูกค้าจำนวนมากมองว่านี่คือความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ไม่ว่าพวกจะพยายามทำความสะอาดบ่อยแค่ไหน บรรดาตู้ ATM จอในรถเช่า
สั่งอาหารมากี่มื้อ แกะกล่องกินก็ไม่ได้ฟีลเหมือนกินที่ร้าน ทำไมเราถึงยอมจ่ายราคาอาหารแสนแพงกับบางร้านทั้งที่เป็นเมนูชนิดเดียวกัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็เพราะบรรยากาศนั่งกินในร้านที่เจริญอาหาร สุนทรีย์กว่าที่อื่น แต่มาตรการป้องกันโรคระบาด COVID-19 ตอนนี้ ล้วนทำให้ร้านอาหารกับคนกินแยกออกจากกัน ตั้งแต่เกิดการระบาดช่วงแรก ๆ มาจนถึงตอนนี้ ต่อให้เราไปยืนซื้อถึงหน้าร้าน ร้านก็ไม่มีที่นั่งให้เรานั่งกินอยู่ดี จนมาถึงจุดที่ทั้งร้านอาหาร ทั้งเรา คิดถึงกันใจจะขาด ปัญหาที่คนทั่วโลกกำลังเผชิญจึงเป็น การทำอย่างไรให้คนได้ใช้ชีวิตเหมือน 2 เดือนก่อนหน้านี้ ตอนที่เรายังใช้ชีวิตปกติ DOOR DASH กับบริการส่งอาหารเดลิเวอรีที่กินให้เหมือนอยู่ในร้าน Door Dash บริษัทสตาร์ตอัปสัญชาติอเมริกันที่ให้บริการส่งอาหารเดลิเวอรีเปิดโปรเจกต์ใหม่ดึงประสบการณ์ที่บ้านเหมือนกินที่ร้านที่เรียกว่า “The Lunchroom” โปรเจ็กต์นี้ดึงร้านอาหารอเมริกาในเครือชื่อดังหลายแห่งมาเข้าร่วมด้วย ได้แก่ Auntie Anne’s, The Cheesecake Factory, Baskin Robbins, Cracker Barrel, Outback Steakhouse McDonald’s ฯลฯ จากนั้นจะใช้วิธีดึงคนมาร้านอาหารผ่านวิดีโอแชทในรูปแบบ Virtual “สิ่งที่สำคัญที่สุดในมุมมองของผมคือการที่เราได้กินข้าวกับเพื่อนและครอบครัว ออกไปเดต หรือเลิกงานแล้วไปที่ร้านอาหาร เพื่อสร้างชั่วโมงแห่งความสุขกับมื้ออาหารสุดพิเศษที่ร้านอาหารดี ๆ สั่งแห่ง ซึ่งตอนนี้คุณจะได้มันครบทั้ง 2
Amazon คือหนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่สวนกระแสอยู่ในขาขึ้นช่วงโควิด-19 เพราะต้องการคนเข้าทำงานเพิ่ม โดยระบุตัวเลขที่ต้องการไว้ที่ 175,000 คน Jeff Bezos มหาเศรษฐีแห่ง Amazon เผยมุมมองและทิศทางการปรับจากประสบการณ์ตรงผ่านจดหมายผู้ถือหุ้น และข้อมูลในจดหมายเป็นข้อมูลเชิงลึกที่นักธุรกิจทุกระดับ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่สามารถนำไปปรับใช้งานได้ ในโลกของการลงทุน เรารู้ดีว่าบริษัทระดับมหาชน ระดมซื้อขายหุ้นกันในตลาดหลักทรัพย์ จึงแปลว่าในบริษัทใหญ่ ๆ เหล่านั้นมีเจ้าของหลายคน และหน้าที่ของเจ้าของหรือผู้บริหารก็คือการสื่อสารการประกอบกิจการให้คนที่เป็นเจ้าของเงินทุนรับรู้และเชื่อมั่น จดหมายถึงผู้ถือหุ้น หรือ Shareholder Letter ที่อาจมีข้อความไม่กี่อักษรบนจดหมายเหล่านั้นจึงเป็นเรื่องน่าสนใจสำหรับนักลงทุนทุกคน เพราะทุกประโยคของจดหมายเปิดผนึกของบรรดา CEO เป็นหนึ่งในการโชว์กึ๋นด้านวิสัยทัศน์ความเก่งเรื่องการบริหาร และการสื่อสาร วัดใจไปเลยว่าจะรอดหรือไม่ Bezos เจ้าของอาณาจักร Amazon คือคนหนึ่งที่พอเจอโควิด-19 กลับอยู่ในช่วงขาขึ้น ต้องจ้างคนทำงานเพิ่มนับแสนราย แต่เขาไม่ได้ยิ้มยินดีเฉย ๆ เขาเตรียมการหลายเรื่องมาก่อนแล้ว และ 5 ข้อตามประเด็นเหล่านี้คือสิ่งที่เขาเตรียมและระบุไว้ในจดหมายว่าจะเป็นทิศทางสำหรับ Amazon Amazon ดูแลพนักงานอย่างไร มากคนก็มากเรื่อง ช่วงนี้ต้อง Social Distancing การรวมคนก็เหมือนดาบสองคม แต่เรื่องนี้ Bezos มองออก และเตรียมวิธีดูแลความปลอดภัยของพนักงานไว้มาถึง 150
ตลาดหุ้นปี 2020 ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้นั้น ถือว่าเป็นปีที่ ที่เข้าขั้นว่า “สวิงรุนแรงที่สุดครั้งนึงในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นโลก” ก็ว่าได้ เรามาดูกันว่าวิกฤตตลาดทุนรอบนี้ สินทรัพย์การลงทุนประเภทไหนที่ได้รับผลกระทบทั้งแง่ดีและแง่ร้ายกันบ้าง วิกฤตน้ำมันโลก ราคาน้ำมันโลกช่วงสัปดาห์แรกของปี 2020 ถือว่าเปิดตัวได้อย่างหวือหวามากๆ สาเหตุจากความตึงเครียดระหว่าง อิหร่านและอเมริกา ที่ทางอเมริกาได้สังหารนายพลสุเลมานี และการประกาศจะคว่ำบาตรอิหร่าน จนทำให้ทั่วโลกวิตกกังวลว่าชนวนเหตุนี้จะก่อให้เกิดสงครามระหว่างอิหร่านและอเมริกาขึ้นได้ แน่นอนเลยว่าความกังวลช่วงอาทิตย์แรกของปีนี้ ทำให้ราคาน้ำมันวิ่งแรงเกือบ 10% แล้วก็ร่วงหล่นมาต่ำกว่าที่เดิม ในวันเดียวกันนี้เองนั่นเอง! นี่แหละเสน่ห์ของตลาดทุนโลก….มันคาดเดาไม่ได้ เมื่อเวลาผ่านไป ราคาน้ำมันก็ค่อย ๆ ปรับตัวลงเรื่อย ๆ แต่ก็ไม่ได้ลงแบบรุนแรงอะไรมากมาย จนกระทั่งการระบาดของไวรัสโคโรน่าหรือ Covid-19 ที่เรารู้จักกันดีตอนนี้ ผลกระทบของ Covid-19 แน่นอนว่าทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ต้องหยุดนิ่งแทบจะทุกประเทศทั่วโลก หลายประเทศมีการ lock down ปิดประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ “ธุรกิจสายการบิน” นั่นเอง และนี่คือจุดเริ่มต้นของความโหดร้ายของราคาน้ำมันโลกครับ เมื่อสายการบินทั่วโลกต้องหยุดการบิน แน่นอนเลยว่าอุปสงค์ (Demand) ของการใช้น้ำมันก็จะหายไปในพริบตา นี่คือสาเหตุหลักแรก ๆ ที่ทำให้ราคาน้ำมันโลกมีความเสี่ยงที่จะถูกลงแบบคาดไม่ถึง ที่สำคัญที่สุดคือการที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย “เปิดเกมสงครามราคาน้ำมัน” หลังจากการประชุม
เงินกู้สินเชื่อกลายเป็นหนึ่งในทางเลือกของเจ้าของกิจการทั่วโลกช่วงโควิด-19 แต่การได้เงินง่าย ๆ แบบนี้ต้องวางแผนการใช้เงินก้อนให้ดี Travis Hornsby ผู้ก่อตั้ง Student Loan Planner และเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาที่แก้ไขปัญหาหนี้รวมแล้วกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้คำแนะนำ 6 เทคนิคการใช้เงินอย่างชาญฉลาดในภาวะจำเป็น ได้แก่ การเข้าร่วมโครงการรัฐ การลดรายจ่ายพยุงพนักงานและองค์กร การลงทุนสวนกระแสหากสายป่านยาว การลดรายได้ลงเพื่อซื้อใจลูกค้า การเตรียมกองทุนสำรองฉุกเฉินและสร้างหนทางเคลียร์สมองตัวเองเพื่อแก้ปัญหา เทคนิคเหล่านี้ต้องปรับใช้ตามความเหมาะสม เพราะแต่ละประเทศมีพื้นหลังและรายละเอียดที่แตกต่างกัน และถ้าคุณมีธุรกิจตัวเองอยากฝากร้าน เชิญที่ UNLOCKMEN MARKET OFFICIAL พื้นที่ใหม่ที่เราเปิดให้ฝากขายและซื้อของกันฟรี ๆ สิ่งที่จำเป็นสำหรับเจ้าของธุรกิจทุกคนตอนนี้คือการหาเงิน และสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การหาเงินที่หลายคนยังไม่พูดถึงคือการใช้เงินก้อนที่หามา หรือก้อนที่สำรองอยู่เพื่อพยุงตัวเอง นี่คือ 6 วิธีทั้งหาเงินและใช้เงินอย่างชาญฉลาดช่วงวิกฤตที่ได้จาก Travis Hornsby ผู้ก่อตั้ง Student Loan Planner ซึ่งคลุกคลีทั้งเรื่องหนี้และรายจ่ายมายาวนาน เขาแก้ไขปัญหาหนี้มารวมแล้วกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 6 ข้อจากนี้ไม่ใช่ความรู้เก่า ๆ ที่เอามาปัดฝุ่น แต่เป็นวิธีที่เขาใช้มันจริง ๆ กับกิจการตัวเองท่ามกลางโควิด-19 เทคนิคของเขาน่าสนใจจนเราต้องเลือกเรื่องนี้มาบอกต่อและถ้าคุณไม่มองข้าม
ช่วงนี้หลายคนแห่กันไปถอนเงิน ขายกองทุน ขายหุ้น ไปออกันหน้าธนาคารสีต่าง ๆ มันทำให้เราอดคิดถึงศัพท์ทางการเงินตัวนึงที่เรียกว่า “Bank Run” ไม่ได้ Bank Run คืออะไร? คนที่ไม่ได้ติดตามเรื่องเศรษฐกิจการลงทุนเท่าไร อาจจะไม่คุ้นหูกับคำนี้นัก แต่คนที่อยู่ในวงการลงทุน คลุกคลีกับธนาคารอยู่บ้าง ได้ฟังคำนี้แล้วคงสยองน่าดู เพราะอะไร มาทำความรู้จักไปพร้อมกัน BANK RUN คือวิ่งไปแบงก์…ไปเอาเงินออก คำว่า “Bank Run” มันเป็นสัญญาณอันตรายตัวหนึ่ง ที่คนแห่กันไปสถาบันการเงินเพื่อถอนเงินออกมา เพราะขาดความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินที่ฝาก ว่าง่าย ๆ ว่าเรากลัวสถาบันการเงินนั้นล้มละลายนั่นแหละ หรืออาจจะเพราะผลกระทบอะไรบางอย่างที่ทำให้เรารู้สึกไม่ปลอดภัย เมื่อไหร่ที่มันมีสัญญาณพะงาบ ๆ ต้องกู้คนอื่น โดนคนอื่นกู้ หรือดูทรงจะไปไม่ไหวก็หมายความว่าโอกาสจะล้มอาจจะสูง จนเงินที่เราฝากไว้มลายหายไปต่อหน้า งั้นจะรออะไรล่ะ…ถ้าเราเป็นเจ้าของเงินที่รู้สึกเสี่ยง เราก็วิ่งไปเอาเงินออก ก่อนจะเอาเงินออกมาไม่ได้อยู่แล้ว เอาจริง ๆ ถ้าให้อธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ เราคิดว่ามันเป็นกลไกนึงของพฤติกรรมมนุษย์ที่มีกลิ่นความคล้ายพฤติกรรมการลงทุนปกติ เวลาที่ตลาดตกใจ คนจะก็แห่ไปเทขายหุ้นหรือกองทุนที่ตัวเองลงทุน แต่ลองคิดภาพตามดี ๆ สิ ว่าถ้าทุกคนไปที่แบงก์ เพื่อถอนเงินออกจากบัญชีทั้งหมดมันจะน่ากลัวขนาดไหน ถ้าคนแห่มาถอนเงินทั้งหมดไปพร้อมกัน หลายคนถามว่าก็แค่คนไปถอนเอาเงินเขาออกมา
วิกฤตเศรษฐกิจโลกตอนนี้ พยากรณ์กันว่าสหรัฐฯ จะแย่กว่าตอนเจอวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เพราะ Social Distancing สร้างปรากฏการณ์ Economic Distancing ตามมา คนไม่ได้ตกงานจากการเลิกจ้างแต่มาจากการกักกัน ภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบ่งเป็นระลอกคลื่น 4 ลูก ได้แก่ สภาวะสังคมแช่แข็งกะทันหัน, คนตกงาน, คนเกษียณบั้นปลายพัง และอุตสาหกรรมการลงทุนที่โดนตัดแขนขา ตามลำดับ ไทยอยู่ในเฟสแจกเงิน แต่หากเป็นไปตามการพยากรณ์ที่เทียบกับสหรัฐฯ การแจกเงินให้คนไปเก็บไว้ ไม่ได้ทำให้คนหายตกงานและคนจะไม่ออกมาใช้เงิน ธุรกิจขนาดเล็กและ SMEs ที่โดนก่อนอาจจะไม่รอด จึงควรมีมาตรการด้านอื่นช่วยส่งเสริมและธุรกิจเหล่านี้ก่อนลูกโซ่ของโดมิโนตัวแรกจะล้มลง เมื่อถึงคราวอัดฉีดเงินหลังไวรัสจากไป รัฐควรมีส่วนสนับสนุนและอัดฉีดเพื่อให้กราฟที่ดิ่งเด้งขึ้นในเร็ววัน หากสถานการณ์ยืดเกินเดือน พ.ค. ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขหลายประเทศคาดการณ์ว่าอาจยาวได้ถึงปลายปี ก็มีโอกาสสูงที่บาดแผลนี้จะยิงยาวไป 4-5 ปี เมื่อไม่กี่วันก่อน เรามีโอกาสได้ออกไปข้างนอกซื้อของเข้าบ้าน เห็นชัดว่าธนาคารสีชมพูสาขาใกล้บ้านมีคนมาอออยู่หน้าธนาคารเพียบ มั่นใจได้ว่าช่วงนี้คงไม่ได้ออกันเพื่อเอาเงินเข้า แต่เป็นยืนรอถอนเงินออกเพราะไม่มั่นใจว่าสภาวะนี้เงินสดในมือจะพอใช้หรือเปล่า หรือถ้าวันไหนเกิดธนาคารปิด ถอนเงินออกมาไม่ได้เราจะเอาอะไรกินกัน? แล้วไวรัสหรือข้าวปลา อันไหนที่น่ากลัวกว่ากัน ? เศรษฐกิจตอนนี้มันตกหรือกระทบกันแค่ไหน UNLOCKMEN ขอสรุปเรื่องนี้เป็นเรื่องเล่าง่าย ๆ ที่เราย่อยมาจากบทความสัมภาษณ์ Mark Zandi หัวหน้าเศรษฐศาสตร์ของ