เราพูดถึงคนทำงานกันมานาน แต่ฝั่งผู้บริหารระดับสูงล่ะเขาคิดอย่างไรกันบ้าง เคยสงสัยกันบ้างไหม ? หลายคนหวั่นใจแต่ไม่กล้าถาม หลายคนก็ยังคลุมเครือว่า “Work from Home” ของเรากับมุมมองของเจ้านายมันต่างกันไหม เรื่องนี้คงไม่มีให้ใครตอบได้ดีไปกว่า “ผู้บริหาร” ที่มีลูกน้องในปกครองซึ่งวันนี้ก็ต้องรับมือกับสภาพวิกฤตจากผลกระทบโควิด-19 UNLOCKMEN จึงถือโอกาสนี้สอบถามผู้บริหารทั้ง 4 คนจากบริษัทชั้นนำที่หลายคนรู้จักว่าพวกเขาคิดอย่างไรกับวิกฤตนี้ และสำหรับพวกเขา คำว่า “Work from Home” ที่มันมีประสิทธิภาพจริง ๆ ควรเป็นแบบไหน ได้แก่ คุณเก่ง – สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม CEO บริษัท RGB72 และ Creative Talk, คุณกลาง – สุจารี อัศวมงคลกุล CEO บริษัท Whiteline Group, คุณป๊อก–อติพล อิทธิวัฒนะ Head of Media บริษัท Publicis Group และคุณตูน – สุธีรพันธุ์
ช่วงนี้เราผ่านระยะการ Work From Home กันมาสักระยะหนึ่งแล้ว ตื่นลืมตามาก็ทำงานได้ทันทีโดยไม่มีอะไรมาคั่นกลาง ถึงหลายคนจะบอกว่าทำงานเหมือนเดิมแค่เปลี่ยนสถานที่ แต่ลึก ๆ แล้วเราทุกคนรู้แก่ใจดีว่าสถานการณ์ทรง ๆ ของบริษัท โชคอาจจะไม่เข้าข้างชาวมนุษย์เงินเดือนพลัดออฟฟิศอย่างเราก็ได้ การต่อสู้กับวิกฤตที่เห็นแววชัดว่าคงจะยืดเยื้อมันน่ากลัว ทั้งการความเปลี่ยนแปลงส่วนตัวและส่วนรวม โดยไม่รู้ว่าวันข้างหน้าเราจะเสี่ยงตกงานไหม เพื่อขจัดความกลัวของชาวมนุษย์ออฟฟิศให้ฟิตได้เสมอไม่ว่าจะทำงานที่ไหนทั้งกายและใจ UNLOCKMEN จึงขอคำแนะนำ เคล็ดลับการทำงานดี ๆ จากคุณตูน – สุธีรพันธุ์ สักรวัตร EVP Head of Marketing of SCB ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการสื่อสารแบรนด์ ซึ่งเปรียบเสมือนขงเบ้งทัพธนาคารสีม่วงมาฝาก โดยเขาบอกเราว่า 3 สิ่งนี้อาจช่วยให้การ Work From Home ไม่น่ากลัวทั้งกับนายจ้างและลูกจ้าง และวิธีนี้คือวิธีที่เขากำลังใช้เป็นแนวทางการทำงานในองค์กร 3 เคล็ดลับพิชิต Work From Home การมีวินัย (Discipline) “การมีวินัยคือหัวใจสำคัญของเรื่องนี้ และเป็นข้อแรกของการบรีฟสมาชิกในทีม ในวันก่อนที่พวกเราจะต้อง Work From Home เป็นวันแรก เหตุผลสำคัญก็คือ
ไม่ใช่ว่าไม่อยากใส่นะ แต่ไม่มีให้ใส่ ขณะที่หน้ากากอนามัยหายไปจากสารระบบร้านขายยาและห้างสรรพสินค้าทุกแห่ง ถ้าคุณเคยเดินไปหลายกิโลฯ เพื่อตามหาซื้อแต่เจอแต่ร้านปิดป้ายว่า “ไม่มีหน้ากากอนามัย” พวกเราคือเพื่อนร่วมชะตากรรมเดียวกันในช่วงหนึ่งของชีวิต เชื่อแล้วแหละว่า “เงิน” มันซื้อไม่ได้ทุกอย่างจริง ๆ กระทั่งไม่นานมานี้มีเว็บไซต์หนึ่งเปิดตัวในโลกออนไลน์และใช้ชื่อว่า “Mask Map Thai” เจาะพิกัดหน้ากากอนามัยที่อยู่ใกล้ตัวเรา บอกราคาและเส้นทางเสร็จสรรพ เข้าใช้ง่าย แถมยังระบุรายละเอียดครบถ้วนว่าราคาเท่าไหร่ให้ตัดสินใจ ชีวิตหลายคนวันนี้ก็เลยพอมีทางออกมากขึ้น เมื่อติดตามรายละเอียดไปเรื่อย ๆ ยังได้รู้ว่าคนพัฒนาเว็บฯ คือ “คนไทย” ด้วยกัน UNLOCKMEN จึงถือโอกาสขอพูดคุยกับเขาด้วยตัวเองผ่าน Call Conference เพราะช่วงนี้เราทุกคนควรงดเดินทางเพื่อเป็นอีกวิธีรับผิดชอบทางสังคมทั้งกับตัวเราและกับผู้ที่ปฏิสัมพันธ์ด้วย (ภาพประกอบที่เห็นจึงเห็นเขาอยู่ภายในรถส่วนตัวแบบนี้) “เอฟ” หรือ เอกโยธิน พิลา หนุ่มไทยที่มีอาชีพเป็นอาจารย์สอนเขียนโปรแกรมของสถาบันแห่งหนึ่ง ปัจจุบันเขาอยู่ที่จังหวัดนครนายก ชายคนนี้คือนักพัฒนาเว็บไซต์ Mask Map Thai แพลตฟอร์มฟรี ชี้พิกัดหน้ากากอนามัยพร้อมจำนวนสต๊อกสินค้าที่มีในไทยขณะนี้ “ผมไม่ได้ตั้งใจให้มันเป็นของจังหวัดใดจังหวัดนึงครับ คือทำปุ๊บเราตั้งใจให้เป็น Open Project เลย โปรเจกต์นี้เราเป็นแค่คนพัฒนาแต่เจ้าของจริง ๆ ก็คือคนทั้งประเทศ เหมือนเป็น Open Data
ไม่รู้ว่าตั้งแต่เมื่อไรที่สิทธิในเรือนร่างเรากลายเป็นของสังคม แม้ไม่ใช่ด้วยกฎหมายกำหนดแต่ก็ด้วยไม้บรรทัดอีกชิ้นจากสายตาผู้คนรอบข้าง สำหรับผู้หญิงคงมีเรื่อง “โป๊เปลือย” กำกับส่วนผู้ชายมักเป็นเรื่อง “รอยสัก” ที่นำมาตีตราว่าเป็นคนไม่น่าวางใจ เป็นนักเลงหัวไม้ สารพัดความหมายเชิงลบมาผสมกัน “Exaggerate” คือ Solo Exhibition หนึ่งที่กำลังจัดแสดงที่ Green Lantern Gallery ใกล้ BTS ทองหล่อ เล่าเรื่องราวของศิลปะบนร่างกายทั้งหญิงและชายผ่านภาพถ่าย เพื่อดึงให้เรากลับมาคิด คิดถึงความหมายที่แท้จริงผ่านศิลปะบนร่างกายที่เปลือยเปล่า คิดถึงลวดลายสักยันต์โบราณและความคิดคำนึงที่แท้จริงของชายคนหนึ่งที่มีอักขระจารทั่วร่างไปจนถึงกระหม่อม บันทึกช่วงเวลาเปิดเผยเนื้อหนัง ไร้เสื้อผ้าและเส้นผมปิดบังผ่านชัตเตอร์ เรื่องราวเหล่านี้มีความหมายอย่างไร แบบไหนที่ “ว่าเกินจริง (Exaggerate)” แบบไหนที่เป็นของจริง คงไม่มีใครพูดถึงมันได้ดีกว่าเจ้าของผลงานชิ้นนี้ ภัทร – พงศ์ธวัช พยุงชัยธนานนท์ ชายที่มีอาชีพช่างภาพอิสระจบการศึกษาด้านศิลปะการถ่ายภาพจากวิทยาลัยเพาะช่าง ที่หลายคนอาจคุ้นเคยหน้าตาของเขาจากการจำหน่ายกล้องฟิล์ม เพราะเขาคือเจ้าของ House of Film Camera สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็น ศิลปะที่รอการพิสูจน์ เราบุกมานั่งคุยกับภัทรถึงสตูดิโอส่วนตัวของเขา หลังจากดูงานนิทรรศการเดี่ยวของเขาจบลง ภาพผู้ชายท่าทีสุภาพที่มีรอยสักหลายจุดบนเนื้อตัว ทั้งท่อนแขนและขา ชวนให้เราคิดถึงภาพที่จัดแสดงในห้องสีแดงอีกครั้ง จนเราต้องเอ่ยถามคอนเซ็ปต์งานที่เขาต้องการสื่อในนิทรรศการครั้งนี้ “คอนเซ็ปต์คือ Exagerate หรือ ‘ว่าเกินจริง’ เกินจริงที่แปลว่าพูดเกินความจริงที่เห็น และเกินจริงที่เป็นเรื่องเหนือจริงผสมกัน
เราให้โอกาสคุณย้อนมองภาพ Cover คอนเทนต์นี้อีกรอบ คุณเห็นอะไร? มนุษย์ผู้หญิงหวานใสใต้ผมหน้าม้า สายตาคล้ายกำลังพยายามบอกอะไรบางอย่าง ถ้าคุณมองเผิน ๆ คุณจะบอกว่าเธอคือ “ผู้หญิงหน้าตาน่ารักคนหนึ่ง” แต่ถ้ามองลึกลงไปกว่านั้นอีกนิดคุณจะรู้ว่าเธอคือ “BINKO” หรือ “บิ๊ง–ภาพฟ้า พุทธรักษา” Illustrator สาวฝีมือเก่งกาจหาตัวจับยาก มีผลงานวาดภาพประกอบ ศิลปะ รวมถึงทำบล็อกที่ใคร ๆ หลายคนติดตามอยู่ในขณะนี้ แต่ถ้ามองลึกลงไปกว่านั้นใต้ความเป็น Illustrator หน้าหวานใส ที่บางครั้งอาจดูนิ่ง ๆ มีเรื่องราวซ่อนอยู่อีกมากมาย เพราะการประสบความสำเร็จไม่เคยโรยด้วยกลีบกุหลาบ โดยเฉพาะกับ BINKO ที่เคยถูกสบประมาททั้งจากคนใกล้และไกลตัวว่าคนแบบเธอไม่เก่งพอจะวาดรูปได้แน่ ๆ แต่เพราะเธอไม่เคยคิดว่าจะต้องแข่งกับใคร ความสามารถ ความพยายาม และความตั้งใจที่จะมีชีวิตที่เป็นสุข เธอจะแข่งแค่กับคนคนเดียว คือตัวเธอเองเท่านั้น… ทุกภาพวาดที่คนชื่นชม จุดเริ่มต้นมาจากเด็กสาวที่วาดรูปไม่เป็น บางคนเชื่อในพรสวรรค์ บางคนเชื่อในพรแสวง คุณจะเชื่อในอะไรก็ได้ แต่หลายครั้งที่เราเห็นภาพวาดเทพ ๆ จากฝีมือ BINKO เรามักคิดว่านี่แม่งพรสวรรค์ชัด ๆ แต่ไม่ใช่ น้อยคนที่จะรู้ว่า Illustrator ที่ใคร ๆ
“หมอตั้ม มาสเตอร์เชฟ” ใครหลายคนเรียกเขาแบบนั้น ด้านหนึ่งเขาคือ “นายแพทย์ดิษกุล ประสิทธิ์เรืองสุข” หมอหนุ่มไฟแรงที่ทุ่มเทสุดความสามารถให้กับการเป็นแพทย์ประจำบ้าน ณ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลจุฬา และอีกด้านหนึ่งเขาคือเชฟมากความสามารถที่ทำอาหารอร่อย ๆ ควบคู่ไปกับการเปิดเพจ Eat Matter ผลิตคอนเทนต์ให้ความรู้เรื่องอาหารที่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงเปิดร้านกาแฟและขนมเพื่อสุขภาพไปในคราวเดียวกัน จากสายตาคนภายนอกหมอตั้มคือคนที่ประสบความสำเร็จ จนเรายินดีมอบตำแหน่ง “THE WINNER” ให้เขาได้อย่างไม่ลังเล เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่คนเป็นหมอ จะสามารถแบ่งเวลามาทำสิ่งที่เต็มไปด้วยแพสชัน แถมยังผสานทั้งอาชีพหลักและความฝันให้ไปด้วยกันได้อย่างน่าภูมิใจ แต่กว่าจะมาเป็น THE WINNER ในวันนี้ได้ ไม่ใช่เรื่องง่าย เขาฟันฝ่าความท้าท้าย อุปสรรค และความพ่ายแพ้มานับไม่ถ้วน อะไรคือหัวใจสำคัญที่ทำให้เขาไม่แพ้? เราอยากชวนทุกคนมารู้จัก “นายแพทย์ดิษกุล ประสิทธิ์เรืองสุข” หรือ “หมอตั้ม” ไปพร้อม ๆ กัน จากเด็กชายที่แพ้มาตลอด สู่แรงผลักดันให้ยิ่งสู้ ภาพจำของพวกเราทุกคนล้วนเข้าใจว่าคนเป็นหมอคือคนที่ประสบความสำเร็จ ชีวิตของเขาคงลิ้มรสชาติ “การชนะ” มาโดยตลอด แต่เปล่าเลย ชีวิตของหมอตั้มเริ่มจากการเรียนรู้ความพ่ายแพ้สม่ำเสมอตั้งแต่ยังเด็ก เพราะเขาไม่ใช่คนที่เก่งเรื่องกีฬา เกม หรือแม้แต่เรื่องเรียนที่ก็ท้อ และแพ้มาหลายครั้งเช่นกัน แต่ยิ่งแพ้ก็เหมือนยิ่งเป็นกุญแจสำคัญที่ผลักให้หมอตั้มเอาชนะให้ดีกว่าเดิม
พูดถึงแฟชั่นคุณนึกถึงอะไร? รันเวย์ นายแบบหน้าคม แบรนด์หรู หรือบางสิ่งบางอย่างที่ดูไกลตัวเราออกไป? แต่ถ้าเราบอกว่าแฟชั่นเกี่ยวกับโลกใบนี้ทั้งใบ ตั้งแต่ปัญหาขยะล้นโลกที่เรากำลังตื่นตัว เพราะขยะเสื้อผ้านั้นมีปริมาณมหาศาลมากกว่าที่เราคิด ไปจนถึงปัญหาสิทธิแรงงาน เพราะเบื้องหลังเสื้อผ้าที่เราใส่อยู่ทุกตัวมีใครบางคนในโรงงานที่ผลิตมันอยู่ หรือปัญหาการบริโภคแบบสุดขีดคลั่ง ที่เราอาจไม่รู้ตัวว่าการซื้อเสื้อผ้าราคาถูกมาก เพื่อเปลี่ยนบ่อยเท่าไรก็ได้ที่เราทำอยู่ก็เป็นปัญหา อุตสาหกรรมแฟชั่นสำหรับใครหลายคนจึงอาจมีภาพแบบหนึ่ง แต่กับเธอ “อุ้ง-กมลนาถ องค์วรรณดี” ผู้ประสานงานเครือข่าย Fashion Revolution Thailand พ่วงการเป็นนักออกแบบอิสระและอาจารย์พิเศษที่ภาคศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แฟชั่นไม่ใช่แค่เสื้อผ้าสวย ๆ บนรันเวย์ แต่หมายถึงเสื้อผ้า สไตล์ หมายถึงสิ่งที่เธอรัก และหมายถึงการที่เธออยากเห็นอุตสาหกรรมแฟชั่นดีขึ้นไปพร้อม ๆ กัน แล้วแฟชั่นจะไปกันได้กับสิ่งแวดล้อม สิทธิแรงงาน การบริโภคที่ช้าลงได้จริงไหม? ถ้าได้จริง มันลงมือทำได้ง่าย ๆ หรือเปล่า? เราอยากสปอยล์คำตอบตรงนี้ว่า “ทำได้จริง และง่าย ง่ายจนเริ่มลงมือทำทันทีที่อ่านจบก็ยังได้” แต่ทำอย่างไร? เราก็อยากชวนมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กัน ‘Fashion Revolution’ กลุ่มคนรักแฟชั่นที่อยากเห็นแฟชั่นดีขึ้น การอยากเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง ไม่ได้หมายความแค่ว่าเราไม่ชอบสิ่งนั้น แต่อาจหมายความว่าเรารักสิ่งนั้นมาก ๆ จนอยากเห็นสิ่งนั้นดีขึ้น
ทำร้าย, วันเกิด, คืนนี้ขอหอม, ยิ้ม, อีกแล้ว, คำตอบ, สารภาพ, โปรดเถอะ, คำที่เป็นสุข, คนที่เดินผ่าน ฯลฯ แม้ไม่ต้องบอก แต่แทบทุกคนคงรู้ดีว่าเพลงที่คุ้นเคยเหล่านี้ คือผลงานของ ‘โป้ ปิยะ ศาสตรวาหา’ หรือ ‘โป้ โยคีเพลย์บอย’ ศิลปินที่บทเพลงซึ่งถูกถ่ายทอดผ่านปลายปากกา ท่วงทำนอง เสียงร้อง และลีลาของเขาหลายต่อหลายเพลงได้กลายมาเป็นซาวด์แทร็กประกอบช่วงชีวิตของผู้คนมากมาย ที่เติบโตมาขึ้นมาในช่วงเวลาที่ผู้ชายคนนี้มุ่งบำเพ็ญเพียรสร้างสรรค์ผลงานดนตรีตลอด 24 ปี วันนี้คอลัมน์ ZERO TO HERO จะพาชาว UNLOCKMEN ย้อนอดีตสู่เรื่องราวนับตั้งแต่ปี 2539 ปีแห่งการเริ่มต้นในฐานะศิลปินหน้าใหม่ ที่ซ่า บ้า กล้า แหวกแนวทางดนตรีเมนสตรีมในยุคนั้น จนมาถึงวันที่ผลงานอันเป็นเอกลักษณ์นั้นมีการยอมรับในวงกว้างยืนยันได้จากเพลงฮิตมากมายของเขาที่ยังคงถูกนำมาเล่นซ้ำอยู่เสมอ ต่อเนื่องไปถึงจุดเปลี่ยนในชีวิตบางอย่าง ก่อนที่จะก้าวผ่านมาถึงขวบปีที่ 24 แห่งเส้นทางดนตรี ซึ่งถือเป็นปีที่ ‘โป้ โยคีเพลย์บอย’ กำลังจะรีบอร์นอีกครั้ง มือใหม่ไร้ชื่อกับเวทีใหญ่ครั้งแรก “ขอย้อนไปอีกนิดนึงช่วงก่อนจะได้เซ็นสัญญาเป็นศิลปินในนามโยคีเพลย์บอย คุณโต้งมือกีต้าร์ของคุณอรอรีย์ ซึ่งเป็นเพื่อนกันนี่แหละ อยู่ ๆ โต้งก็โทรมาชวนให้ไปเป็นนักดนตรีสมทบช่วยเล่นเบสให้หน่อย ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดอะไรมาก
จิ๋มมีกลิ่นเหมือนปลาเค็ม? เราอนุญาตให้คุณสารภาพมาที่นี่ ตอนนี้ ว่าคุณคือคนหนึ่งที่เคยคิด เคยเชื่อ เคยเล่นมุกตลกโปกฮาว่า “จิ๋มมีกลิ่นเหมือนปลาเค็ม” อาจเพราะฟังต่อ ๆ กันมา อาจเพราะเชื่ออย่างนั้นจริง ๆ หรือเคยมีประสบการณ์ตรงกับกลิ่นปลาเค็มจากอวัยวะร่องแคบด้วยตัวเอง แต่ไม่ว่าอย่างไหน SEX CONVERSATION วันนี้อยากกระซิบบอกคุณว่า ไม่! จิ๋มไม่ได้มีกลิ่นปลาเค็มเสมอไป “บางคนอาจมีจิ๋มกลิ่นปลาแซลมอนก็ได้” พญ.ขวัญชนก หอมแสงประดิษฐ หรือ คุณหมอน้ำอ้อย หมอเวชศาสตร์ครอบครัว ผู้เป็นแอดมินเพจน้องสาว (เพจที่ว่าด้วยเรื่องสุขอนามัยทางเพศของสาว ๆ ) บอกเราแบบนั้น และแน่นอนว่าแต่ละคนย่อมมีกลิ่นเฉพาะตัวแบบไหนก็ได้ สำคัญที่ว่าเรารู้จักกลิ่นของเราดีแค่ไหน? เราเคยสำรวจสุขภาพทางเพศของตัวเราเอง หรือคนที่เรารักหรือไม่? จิ๋มไม่ได้มีกลิ่นปลาเค็มไปหมด, จิ๋มดำไม่เกี่ยวกับทำบ่อย, จิ๋มตดไม่ได้แปลว่าจิ๋มหลวม และอีกสารพัดเรื่องจิ๋ม ๆ ที่ผู้ชาย (และบางครั้งก็ผู้หญิงและอีกหลาย ๆ เพศ) เข้าใจผิด มาดำดิ่งไปใน (บทสนทนาว่าด้วย) จิ๋มและการดูแลสุขภาพทางเพศไปพร้อม ๆ กัน สัญญาว่าหลังอ่านจบ คุณจะเข้าใจจิ๋มขึ้นอีกเยอะ! สำหรับสาว ๆ เราคงไม่ต้องแนะนำว่า “เพจน้องสาว”
เท่าที่พอจำความได้มีวงดนตรีเพียงไม่กี่วงที่ถูกบรรจุในความทรงจำวัยเด็กของเรา และยังแน่วแน่ทำเพลงใหม่อย่างไม่เคยหมดมุขหรือเหน็ดเหนื่อยจนถึงปัจจุบัน แล้วคงพูดได้เต็มปากว่า ‘Scrubb’ (สครับ) เป็นหนึ่งในไม่กี่วงนั้น Scrubb คือวงดนตรีป๊อปร็อกอายุ 20 ปี ของ บอล – ต่อพงศ์ จันทบุบผา และ เมื่อย – ธวัชพนธ์ วงศ์บุญศิริ คู่หูต่างชั้นปีจากรั้วมหาวิทยาลัยเดียวกัน พวกเขาสร้างสรรค์ดนตรีหลากสไตล์ กลั่นกรองคำร้องและท่วงทำนองที่บางครั้งก็อบอุ่นฟังสบาย แต่บางทีก็ลึกซึ้งราวกับพาเราดำดิ่งไปสัมผัสอารมณ์โคตรเศร้าที่เป็นหนึ่งส่วนของความสัมพันธ์ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่โตมากับเพลงเธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ ฟังเพลงกลัวและผ่านไปแล้วตอนเศร้าหม่น เปิดเพลงใกล้และรอยยิ้มฟังเพลิน ๆ ตอนแอบชอบใครสักคน หรือเคยใช้เพลงคู่กัน คนนี้ และเข้ากันดีมอบให้แฟนคนใดคนหนึ่ง เราอยากให้คุณรู้จักและหลงรัก Scrubb อีกครั้ง ผ่านบทสนทนาของสองหนุ่มต่างสไตล์ที่โลดแล่นบนเส้นทางดนตรีมา 20 ปี ซึ่งสิ่งที่เหมือนกันและยังทำมาจนถึงทุกวันนี้คือ ‘การทำเพลง’ หลายคน ‘ยังอยากรู้’ ว่าจุดเริ่มต้นของ Scrubb เกิดขึ้นตอนไหน? เมื่อย: เราเจอกันในมหาวิทยาลัยศิลปากร อยู่ในชมรมดนตรีเหมือนกัน จนวันนึงอยากมีเพลงเป็นของตัวเอง เลยพยายามไปเสนอค่าย แต่ก็ไม่มีใครเอา (หัวเราะ) ก็เลยลองทำเพลงใต้ดินกันเอง มีเครื่องอัดสี่แทร็ก