เนื่องด้วยเรากำลังใช้ชีวิตท่ามกลางป่าคอนกรีตที่มีสิ่งปลูกสร้างหลากระดับ ตั้งแต่บ้านแนวราบ อาคารแนวตั้ง ไปจนถึงตึกระฟ้าสูงลิบลิ่ว จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีสถาปัตยกรรมสอดแทรกอยู่ในแทบทุกรายละเอียดยิบย่อยของชีวิตเสมอ ไม่เพียงนิยามถึงสิ่งปลูกสร้างอย่างบ้าน อาคาร หรือคอนโดมิเนียมที่มนุษย์อาศัยอยู่ หากสถาปัตยกรรมกว้างขวางจนครอบคลุมไปถึงเจดีย์ สถูป และอนุสาวรีย์ที่ปราศจากผู้อยู่อาศัย ในยุคกระแสนิยมที่ทุกอย่างมาเร็วไปเร็วเฉกเช่นตอนนี้ ต้องยอมรับว่าแนวคิดการสร้างสถาปัตยกรรมแบบเดิมถูกปรับแต่งและโละทิ้งไป แทนที่ด้วยแนวคิดสมัยใหม่ จนบางครั้งค่านิยมของสถาปัตยกรรมปัจจุบันโน้มเอียงไปทางสุนทรียศาสตร์ซึ่งกระทบต่อความรู้สึกและรสนิยม มากกว่าความหมายดั้งเดิมทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ชั่งตวงระหว่างเทคนิควิทยาศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมอย่างละเท่า ๆ กัน แต่น่าแปลกที่การตอกเสาเข็มสร้างสถาปัตยกรรมของ ‘บุญเสริม เปรมธาดา’ กลับต่างออกไป เขาไม่ได้ใช้สถาปัตยกรรมเพื่อขับเน้นความงามให้ตกกระทบต่อสายตาผู้ชมเท่านั้น ทว่ายึดมั่นการขับเคลื่อนบริบทแวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในเวลาเดียวกัน วิธีการทางสถาปัตยกรรมที่ปลีกออกไปของ ‘บุญเสริม เปรมธาดา’ ความสงสัยใคร่รู้เรื่องมุมมองการสร้างสถาปัตยกรรมพาเราเดินดุ่มเข้ามาคุยกับ ผศ.บุญเสริม เปรมธาดา สถาปนิกเจ้าของรางวัลศิลปาธร สาขาออกแบบเชิงสร้างสรรค์ (สถาปัตยกรรม) ในปีล่าสุด ปัจจุบันเขาเป็นเจ้าของสตูดิโอออกแบบเล็ก ๆ ชื่อว่า ‘Bangkok Project Studio’ และสอนหนังสือที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาร่วม 20 ปี “หลังเรียนจบผมก็เหมือนคนทั่ว ๆ ไปที่ทำงานในสตูดิโอออกแบบและสร้างงานตามคำสั่งลูกค้า แต่พอทำมาได้สักพักมันก็เบื่อ และรู้สึกว่าสถาปัตยกรรมมันไม่ได้ส่งผลอะไรต่อคุณภาพชีวิตคนเลย ตั้งแต่นั้นผมจึงตัดสินใจออกมาเปิดสตูดิโอของตัวเอง เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกในการออกแบบ แต่เผอิญมันดันเป็นวิธีการทางสถาปัตยกรรมที่โลกกำลังสนใจตอนนี้” “ผมคิดว่าสถาปัตยกรรมคือความจริงใจ” ไม่แปลกถ้าคุณไม่เคยเห็นผลงานของสถาปนิกคนนี้ในกรุงเทพฯ
“ความรักทำให้คนตาบอด” คุณอาจเคยได้ยินประโยคนี้ ในขณะที่ “แหม่ม-วีรพร นิติประภา” นักเขียนดับเบิลซีไรต์ผู้เขียนนิยาย 2 เล่ม (ที่ล้วนพัวพันกับความรัก) อาจบอกคุณว่าความรักเป็นมายาคติ และมันทำให้คุณเพ้อฝัน “มายาคติความรักมันทำให้เราเพ้อ เพ้อฝัน ซึ่งก็ดีนะ ในนัยยะหนึ่งคุณก็ไม่ได้ฝันถึงอะไรมากมายเนอะในชีวิตจริง” เธอบอกกับเราแบบนั้น เราทุกคนล้วนจมอยู่กับมายาคติความรัก ละครหลายต่อหลายเรื่องที่มักบอกเราว่าความรักต้องจบลงอย่างสวยงาม นิยายหลายเล่มที่กระซิบกระซาบกรอกหูเราว่าความรักมีรสหวานลิ้น คนรอบข้างที่พากันทำให้เราเชื่อว่าความรักที่จบอย่างเป็นสุขคือจุดสูงสุดของชีวิต แต่เมื่อพ้นไปจากมายาคติฝันเพ้อแห่งรัก ความรักกลับปรากฏกายในหลายรูปแบบ มีความรักระยำหมา มีความรักที่เราอยากลืม มีความรักตัวเอง มีความรักแบบครอบครัว ฯลฯ รักอื่น ๆ นี่เองที่เรามองว่าช่างน่าหลงใหล และนั่นคือจุดเริ่มต้นที่เราอยากคุยกับ แหม่ม-วีรพร นิติประภา ว่าด้วยความรัก ทั้งรักที่เราฝันเพ้อ รักที่ทำให้เรารีบอยากปลุกตัวเองให้ตื่นไว ๆ ไปจนถึงรักรูปแบบอื่น ๆ รักคืออะไร?: เพราะครบทุกรสชาติ รักจึงสมบูรณ์แบบ “ความรักคืออะไร?” เราไม่พูดพล่ามทำเพลง ถามคำถามแรกกับวีรพรด้วยคำถามคลาสสิก คาดหวังคำตอบหวือหวาสวิงสวาย แต่ความรักสำหรับนักเขียนนิยายรักอย่างเธอกลับตรงไปตรงมาเกินคาด ความเป็นเพื่อน ผสมเข้ากับการรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร กลายมาเป็นความรักในนิยามของวีรพร นิติประภา “ความรักเหรอ? พี่คิดว่า พี่ยังยืนยันนะว่าความรักคือส่วนประกอบของมิตรภาพค่อนข้างเยอะ ความเป็นเพื่อน ความสัมพันธ์ที่มีความเป็นเพื่อน มีความห่วงใยกันระดับหนึ่ง
หากกล่าวถึงนักแสดงชายดาวรุ่งพุ่งแรงผู้กำลังเป็นที่จับตามองในยุคนี้ เชื่อว่าชื่อของ ‘นน – ชานน สันตินธรกุล’ หรือที่เรามักเรียกเขาติดปากว่า ‘นนกุล’ คือหนึ่งในชื่อแรก ๆ ที่หลายคนคิดถึง ย้อนไปเมื่อสองปีก่อน ตอนที่เขาได้รับบทบาท ‘แบงค์’ ในภาพยนตร์เรื่องฉลาดเกมส์โกง ทำให้ชื่อเสียงของนนกุลกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากภาพยนตร์จะประสบความสำเร็จทำรายได้ว่าทะลุหลักพันล้านแล้ว นนกุลยังคว้ารางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมถึง 3 รางวัลติดจากบทบาทนี้ โดยได้ทั้งรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์, รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี และรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ในขณะนั้นเขามีอายุเพียง 21 ปีเท่านั้น ปัจจุบันนนกุลเติบโตขึ้นอีกก้าว เพราะงานแสดงของเขาไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในประเทศ แต่ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมบันเทิงของจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเขาต้องสวมบทบาทใหม่ ๆ ที่ไม่ได้พูดภาษาบ้านเกิดตัวเองแม้เพียงประโยค UNLOCKMEN ขอชวนคุณมาฟังวิถีคิด วิธีเอาชนะอุปสรรค และการพิชิตเป้าหมายของนนกุล กว่าจะเป็นนักแสดงอาชีพที่ได้รับการยอมรับ ล้วนแล้วแต่ผ่านการฝึกฝนทุ่มเทอย่างหนักจากเจ้าตัว จึงไม่แปลกที่นนกุลจะมาไกลในสายอาชีพ แม้อายุจะยังน้อย การแสดงคือศิลปะแขนงหนึ่ง แล้ว ‘ศิลปะ’ ในแบบของนนกุลคืออะไร ศิลปะในแบบของผมคือการตีความตัวตนของตัวเองออกมา แต่ไม่ใช่เพียงการตีความผ่านประสบการณ์ แต่ต้องผ่านการฝึกซ้อมอย่างหนัก ผ่านการเตรียมตัวให้พร้อม ทั้งการทำการบ้านตัวละคร ผ่านการ Acting workshop ต่าง ๆ จนกว่าจะสวมบทบาทที่แท้จริงได้ครับ
“โปรดเห็นใจฉันหน่อย ปล่อยให้ตัวฉันไป” ประโยคเชือดเฉือนใจบนทำนองเศร้าซึมจาก Moving and Cut ได้เข้าไปครอบครองหัวใจใครหลายคน จนเหล่าสมาชิกศาลาคนเศร้าต่างสถาปนาตัวเองเป็นแฟนเพลงของเขา ตั้งแต่ยังมีสมาชิกวงเพียงคนเดียว และไม่ได้ทำเพลงกันเป็นอาชีพ บ้างก็พบเจอพวกเขาจาก Youtube ได้ยินผ่านคลื่นวิทยุเพลงอินดี้ หรือรู้จักผ่านเพลย์ลิสต์เพลงเศร้าในช่องทางสตรีมมิงต่าง ๆ เรื่องมันเริ่มจาก มีน (นักร้องนำ) เริ่มปล่อยเพลงที่เขาทำเองลงบน Youtube โดยตั้งใจให้สิ่งนี้เป็นเพียงงานอดิเรก จนกระทั่งเพลงที่ปล่อยไว้เริ่มมีผู้คนให้ความสนใจ ยอดวิวพิ่มพูนขึ้นและเกิดการติดต่อจ้างงาน Moving and Cut ให้ไปเล่นสด ๆ ต่อหน้าผู้ชม ทำให้มีนตัดสินใจชวนสมาชิกที่เหลือมารวมตัวกัน ได้แก่ การ์ตูน เพื่อนสมัยเรียนลาดกระบังมาเป็นมือซินธิไซเซอร์ บุ๊ค มาเป็นมือกีตาร์ ต้น มาเป็นมือกลอง และ ต้นหยาง อดีตสมาชิกวง SomeMary มาเป็นมือเบส ก็เป็นอันสมบูรณ์ครบในที่สุด จากจุดเริ่มต้นที่สวยงามสู่คอนเสิร์ตสุดประทับใจที่เพิ่งผ่านมาในอีเวนต์คอนเสิร์ตต่อเนื่องตลอด 5 วันในเชียงใหม่งาน “Independence Day” (สัปดาห์แห่งการปลดปล่อย) ที่จัดขึ้นโดย LEO หลายคนยังคงประทับใจการขึ้นเวทีแสดงสดวันสุดท้ายของพวกเขาและยังกระหายเรื่องราวเพิ่มขึ้น วันนี้ UNLOCKMEN จึงมาเยือนเขาถึงบ้านพักย่านพระโขนง สถานที่รวมตัวของสมาชิกวง
‘วงดนตรียิ่งอยู่นาน ๆ พลังยิ่งหมด’ วลีนี้อาจไม่จริงเสมอไป เพราะในโลกดนตรีอันแสนกว้างใหญ่ยังมีวงดนตรีอีกมากที่ ‘ยิ่งแก่ยิ่งเก๋า’ ยิ่งอายุมากประสบการณ์ก็มากตาม และถ้าจะพูดถึงวงดนตรีแถวหน้าสักวงในไทยที่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ เราเชื่อว่า Paradox อาจเป็นชื่อแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึง ช่วงชีวิตของใครหลายคน อาจเคยมีบทเพลงของพวกเขาเป็นซาวด์แทร็กประกอบ ผลงานของพวกเขามีตั้งแต่เพลงรักหวานซึ้ง จนไปถึงบ้าระห่ำสุดขั้ว ราวกับพจนานุกรมของวง Paradox ไม่มีคำว่าจำเจ วันนี้เราจะพาทุกคนไปล้วงลึกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของวง Paradox จากปากสมาชิกทั้งสี่ ต้า (ร้องนำ), สอง (มือเบส), บิ๊ก (มือกีตาร์) และโจอี้ (มือกลอง) ตัวจริงเสียงจริง อะไรที่ทำให้พวกเขายังผงาดง้ำค้ำโลก รักษาความสดใหม่ พร้อมจะยิงมุกใส่แฟนเพลงได้ราวกับกระสุนที่ไม่เคยหมดแม็ก ตบท้ายด้วยไฮไลต์เด็ดที่ทุกคนอยากรู้ ‘เคล็ดลับซื้อหวยอย่างไรให้ถูก’ จาก สอง Paradox! เข้าปีที่เท่าไหร่แล้วสำหรับวง Paradox สอง: 22 ปีแล้วครับ ผมขอนับตั้งแต่อัลบั้มแรกวางแผง ไม่ได้นับตั้งแต่ตอนตั้งวงละกัน เพราะเดี๋ยวมันจะแก่ไปกว่านี้ (หัวเราะ) จากเพลง ‘ฤดูร้อน’ ถึงเพลง ‘ฤดูฝน’ การเดินทางของวง เป็นอย่างไรบ้าง ต้า:
“แค่นี้ เราก็ทำได้วะ” จังหวะพูดคำนี้แหละที่คนเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงตัวเอง หันไปลองสิ่งที่ตัวเองไม่เคยทำ สำหรับผู้ชายเรา แค่ประโยคนี้ประโยคเดียวกลายเป็นจุดเปลี่ยนให้เราค้นพบอะไรบางอย่างที่เราต้องอยู่ด้วยไปทั้งชีวิต จากที่นั่งดูภาพยนตร์ต่างประเทศที่เห็นคนเต้นหมุน ๆ เอาหัวเป็นแกนแนบพื้น แข้งขาเคลื่อนไหวเป็นวงกลมเหมือนลูกข่าง หรือซีนเต้นไปฟรีซไป เบรกไป จนดูเท่ มันทำให้เราสงสัย หลงใหลและรู้จักวัฒนธรรมจากอีกซีกโลกด้านการเต้นที่เรียกว่า B-Boy เราเห็นคนเก่งตาสีน้ำข้าวมาเยอะ แต่ในเอเชียไลฟ์สไตล์การเต้น B-Boy ก็ไม่ได้น้อยหน้า เรามีคนเจ๋ง มีสังคม B-Boy ที่เติบโตในไทย อยู่กับมันมาหลายสิบปีและมีคน Generation ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน ใครที่วนเวียนอยู่ในวงการอาจจะเคยเห็นเขา 2 คนนี้มาแล้วตามงานประกวด โซเชียล หรือมีตติ้งปาร์ตี้ เพราะคนหนึ่งคือ ชิน – ชินวุฒิ จันทตรัตน์ AKA “Cheno” หนึ่งในสมาชิกวัย 34 จาก 99 Flava ทีมแข่งระดับประเทศ ส่วนอีกคนคือ หมู – กฤษภาณุ วัฒนพงษ์ AKA “Coundpig” วัยรุ่นอารมณ์ดีที่เต้นเน้นกวน เป็นตัวป่วนให้คนจดจำ เต้นจากราก
ในยุคที่มีช่องทางเผยแพร่ผลงานเยอะยิ่งกว่าเยอะ ผลงานที่ผู้คนสร้างสรรค์จึงผุดขึ้นมายิ่งกว่าดอกเห็ด เราอยู่ในยุคสมัยที่ใครก็มีเพลงเป็นของตัวเองได้ ใคร ๆ ก็แสดงผลงานศิลปะของตัวเองได้ ใคร ๆ ก็มีงานเขียนเผยแพร่ได้เช่นกัน ปี 2019 จึงไม่ได้วัดกันแค่ “ผลงาน” อีกต่อไป “ตัวตน ทัศนคติ การเรียนรู้ไม่รู้จบ และกาลเวลา” กลายเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่าคุณคือ “Legend” ไหม? คุณเป็น “ระดับตำนาน” ได้หรือยัง? ไม่เพียงเท่านั้นสถานะ Legend ไม่ใช่สิ่งที่คุณจะนิยามตัวเอง หรือเที่ยวประกาศบอกใคร ๆ ได้ คล้ายเป็นถ้วยเกียรติยศที่ผู้คนจะมอบให้คุณเอง ตลอดปี 2019 UNLOCMEN ได้พบปะและสนทนากับบุคคลสำคัญจำนวนมาก ทุกคนมีความงดงาม เก่งกาจ และโดดเด่นหาตัวจับยากในทางทางของตัวเอง แต่ถ้าจะให้นิยามคำว่า “Legend” มอบความหมายของตัวตน ผลงานที่ท้าทายเหนือกาลเวลา เราเชื่อว่านี่คือ “LEGEND OF THE YEAR: 5 LEGENDS แห่งปี 2019 ที่ไม่ได้มีแค่ผลงาน แต่คือความเป็นตำนานที่เราชื่นชม พงษ์สิทธ์
คุณหยุดเรียนรู้เมื่อไหร่? เมื่อเรียนจบ เมื่อสอบวัดผลเสร็จ หรือเมื่อใดกันแน่? ใครหลายคนหยุดเรียนรู้ เมื่อคิดว่าตัวเองเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่ไม่ใช่กับผู้ชายคนนี้ ผู้ชายที่มีตัวตนสุขุม นิ่งลึก ผู้เชื่อว่ายิ่งเป็นผู้ใหญ่มากเท่าใด ยิ่งมีความรับผิดชอบมากเท่าไหน ยิ่งต้องเรียนรู้ เพราะสำหรับเขาการเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด การเรียนรู้เป็น Eternity และทำให้เขาเป็นเขาในวันนี้ “ฌอห์ณ จินดาโชติ” ใต้ชื่อของผู้ชายคนนี้มีนิยามจำนวนมากที่ใช้บ่งบอกความเป็นเขา พิธีกรมืออาชีพ นักแสดงฝีมือโดดเด่น นักเขียนที่มีภาษาเฉพาะตัว จนกระทั่งช่างภาพที่มีมุมมองแตกต่าง แม้จุดเริ่มต้นของเขาคือการเริ่มเป็นนักแสดงตั้งแต่อายุ 18 ปี ก่อนจะรับผิดชอบบทบาทที่หลากหลาย แต่ไม่ว่าจะหยิบจับอะไรก็ดูประสบความสำเร็จไปทั้งหมด อะไรคือกุญแจที่ทำให้เขาสามารถทำทุกอย่างได้ดีขนาดนี้? เบื้องหลังตัวตน วิธีคิดสุดหนักแน่นของเขาคืออะไร? เราอยากชวนทุกคนมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กัน “ปรับตัวให้เข้ากับทุกสิ่งได้” นิยามความเป็นผู้ใหญ่ในแบบ ฌอห์ณ จินดาโชติ เพราะเขาคนนี้ทำงานที่หลากหลาย แต่ก็สามารถทำทุกอย่างออกมาได้อย่างมืออาชีพ ทำให้เราสัมผัสได้ว่าเขามีความเป็นผู้ใหญ่ มีความสุขุมนิ่งลึกไหลเวียนอยู่ภายในตัวเสมอ ไม่ใช่แค่ในปัจจุบันเท่านั้น แต่นับย้อนกลับไปถึงวันที่เขาเริ่มเล่นละครเรื่องแรกด้วยวัยเพียง 18 ปี แม้จะยังเด็กมาก แต่ฌอห์ณ จินดาโชติกลับสามารถรับผิดชอบบทบาทหน้าที่ตัวเองได้เกินอายุ “ผมว่าความเป็นผู้ใหญ่ ความสุขุมคือการที่เราเลือกใช้เหตุและผล การแก้ไข หรือปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และสิ่งรอบตัวได้อย่างสมดุล อย่างมีเสน่ห์ การเป็นผู้ใหญ่ไม่จำเป็นต้องคีปคูลอยู่ตลอดเวลาเพื่อทำให้คุณเท่
2 ปีก่อนตอนที่ตัดสินใจว่าจะทำงานด้านออนไลน์แทนออฟไลน์ เพราะรู้ปรากฏการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงของวงการสื่อสารมวลชน จำได้ว่าสื่อออนไลน์ที่เป็นที่รู้จักในตลาดมีอยู่เพียงไม่กี่เจ้าในวันนั้น ส่วนมากมักเป็นบริษัทใหญ่หรือองค์กรที่อยากผันจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ 700 กว่าวันที่ผ่านมาสอนให้รู้ว่า “สื่อ” วันนี้แตกต่างจากที่เราคิดไปโดยสิ้นเชิง เพราะเบื้องหลังของคอนเทนต์ไวรัลที่มีคนติดตามหลักแสนหลักล้านวันนี้ อาจเกิดขึ้นจากคนเพียงคนเดียวที่นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเครื่องเดียวเท่านั้น อินเทอร์เน็ตกับความไฮเทคของเทคโนโลยีบีบช่องว่างที่เคยกว้างให้แคบ และระยะห่างที่หดตัวทำให้ทุกคนต้องวิ่งนำขึ้นไปอีกสเต็ปก่อนจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง หาเครื่องมือใหม่มาเพื่อสร้างความยั่งยืน นั่นจึงเป็นสิ่งที่ทำให้ “Data” กลายเป็นคีย์เมสเสจมาตลอดหลายปี เริ่มจากวงการธุรกิจและบริการ จนถึงตอนนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า “สื่อ” เองก็จำเป็นต้องใช้เครื่องมือนี้แล้ว และถ้าใครไม่มี…อีกไม่นานอาจจะเกมก่อนเจ้าอื่นไม่รู้ตัว เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ Gilad Lotan รองประธานและหัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์ข้อมูลจากสื่อใหญ่อย่าง BuzzFeed เว็บไซต์สื่อระดับโลกจากสหรัฐฯ ที่มีผู้ใช้หน้าใหม่เยี่ยมชมจำนวนกว่า 200 ล้าน ประเด็นการใช้ Data และบทบาทหลังจาก Specialist ด้านข้อมูลอย่างเขาเข้ามาทำงานได้ 3 ปีและใช้เทคโนโลยีด้านข้อมูลหนุน BuzzFeed ขึ้นเป็นผู้นำ ที่งาน Digital Thailand BigBang 2019 ที่ผ่านมา จริง ๆ แล้วการเข้ามาของ Gilad นับว่าสร้างความเปลี่ยนแปลงและความแข็งแรงกับมีเดียอย่าง BuzzFeed มาก เพราะส่วนตัวเขามีพื้นความสามารถด้าน Data
ก่อนจะส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ นี่คือฤกษ์งามยามดีที่ UNLOCKMEN จะจัดอันดับผู้ที่เป็นที่สุดแห่งปี 2019 ในสาขาต่าง ๆ โดยก่อนหน้านี้มีทั้ง GIRL WE LOVE และ ZERO TO HERO กันไปแล้ว คราวนี้ก็ถึงหัวข้อที่เหล่าคอเพลงรอคอย นั่นก็คือ GARAGE OF THE YEAR นั่นเอง สำหรับปีนี้ทีมเราก็มีโอกาสได้เข้าไปพูดคุยกับเหล่าศิลปินเจ๋ง ๆ ทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่มากมายหลายชีวิต อีกทั้งยังได้ฟังเพลงเพราะ ๆ สัมผัสความเป็นตัวตนของพวกเขามากกว่าที่เคย จัดว่าเป็นอีกหนึ่งปีที่ดีในการเปิดประสบการณ์ทางดนตรีใหม่ ๆ และนี่คือ 5 ศิลปินที่เราขอยกย่องพวกเขาให้เป็นที่สุดของ UNLOCKMEN ประจำปีนี้ บอกเลยว่าแต่ละคนไม่ธรรมดาจริง ๆ HUGO อีกหนึ่งศิลปินที่เรามีโอกาสได้เข้าไปสัมผัสความเท่จากตัวจริงเสียงจริงของ ‘ฮิวโก้ จุลจักร จักรพงษ์’ เรื่องราวการเดินทางอันยาวนานบนถนนสายดนตรีกว่า 19 ปีของเขาไม่ได้เรียบง่ายอย่างที่ใครหลายคนคิด แม้ภายนอกเขาดูจะเป็นชายที่เพียบพร้อม แต่ในฐานะนักดนตรีก็ไม่พ้นกับการพบเจออุปสรรคมากมายถาโถมเข้ามา ฮิวโก้ยังเลือกจะยืนหยัดบนความเป็นตัวเองพร้อมจะฝ่าฟันเพื่อทำสิ่งที่รักต่อไป คำว่ายิ่งดังยิ่งเปลี่ยนแนว ใช้ไม่ได้กับชายคนนี้ เพราะเขาได้พูดกับเราอย่างเต็มปากเต็มคำว่า “ตราบใดที่เราเอาแต่นั่งคิดว่าคนฟังอยากฟังอะไร เราคงเดาใจเขาไม่ถูกและนั่นก็ไม่ใช่หน้าที่เรา หน้าที่เราคือการนำเสนอ