แฟชั่นเสื้อวงในบ้านเราถือว่าบูมขึ้นมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเสื้อวงแนว Rock หรือ Metal นี่ยิ่งแล้วใหญ่ หลังจากที่มี Celebrity หยิบเอาเสื้อเหล่านี้มาใส่จนกลายเป็นกระแสเมนสตรีม และยิ่งถ้าตัวไหนหายาก เก่าเก็บ เข้าขั้นเป็นของเสื้อสะสมเสื้อวินเทจแล้วด้วยล่ะก็ ราคาอาจจะพุ่งทะยานไปไกลกว่าที่หลายคนคิด แต่พวกเราจะรู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังของเสื้อวงระดับโลกที่มีลวดลายเท่ ๆ หรือบางลวดลายที่มีเอกลักษณ์จนกลายเป็นภาพจำของวงเหล่า หนึ่งในนั้นมีฝีมือคนไทยอยู่ด้วย ซึ่งวันนี้ UNLOCKMEN จะพาทุกคนไปรู้จักกับ คุณ หนุ่ย – ธนฤทธิ์ พรมภา หรือชื่อในวงการก็คือ “NAMSING” ศิลปินชาวไทยที่มีผลงานไปไกลระดับโลก และฝากผลงานการออกแบบลายเสื้อให้กับวง Rock/Metal ระดับรุ่นใหญ่ระดับตำนานมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็น AC/DC, Slayer, Slipknot, Muse, Rob Zombie และอื่น ๆ อีกมากมาย หากอยากรู้ว่าเขามีจุดเริ่มในเส้นทางสายนี้ได้ยังไง และอะไรคือแรงบันดาลใจที่ทำให้เขาก้าวมาถึงจุดนี้ได้ วันนี้เราจะไปพูดคุยกับ คุณ หนุ่ย กันแบบเจาะลึกแน่นอน จุดเริ่มต้นของการเป็นนักวาด “เริ่มจากผมเรียนจบวาดรูปมา พอจบมาก็มาเริ่มทำงาน แต่ต้องเปลี่ยนจากการวาดมือมาเป็นการใช้คอม แต่อย่างน้อยมันก็ยังเป็นงานที่ได้วาดรูปค่อนข้างจะตรงสาย แต่ถ้าจะพูดไปมันก็อาจจะไม่ได้ตรงขนาดนั้น เพราะเราใช้คอมวาดไม่ค่อยเป็นในตอนแรก
ในห้วงเวลานี้ คงไม่มีข่าวไหนที่ช็อคและเสียใจไปกว่าการจากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับของ ตลกอารมณ์ดี ผู้สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะมาอย่างยาวนานของ อาคม ปรีดากุล หรือที่คนไทยทั้งประเทศรู้จักเขาในนาม “น้าค่อม ชวนชื่น” นอกจากมรดกทางเสียงหัวเราะ ทั้งจากคลิปตลกสมัยที่แกเล่นตามคาเฟ่ ในนาม น้าเหยิน ชวนชื่น ก่อนจะสร้างเสียงฮาในฐานะตลกขโมยซีนที่ไม่ว่าแกไปเจิมเรื่องไหน เรื่องนั้นจะดังเปรี้ยงอย่างแน่นอน ตั้งแต่หนังตลกระดับบล็อกบัสเตอร์ 7 ประจัญบาน / ผีหัวขาด / แสบสนิท ศิษย์ส่ายหน้า / โกยเถอะโยม / 32 ธันวา / น้ำ ผีนองสยองขวัญ / อีเรียมซิ่ง ไปจนถึงหนังอินดี้ของเต๋อ นวพล อย่าง Die Tomorrow หรือรายการทีวีที่สร้างชื่ออย่าง บริษัทฮาไม่จำกัด / ก็มาดิคร้าบ ที่สร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ รวมไปถึงวลีเด็ดอย่าง “ไอ้สัส!!!” คำด่าที่เหมือนรับพร และคงมีเพียงคนเดียวในประเทศไทยที่ให้พรแบบนี้ได้ สิ่งที่ทำให้น้าค่อม ทิ้งเอาไว้ให้โลกได้จดจำ คือความเป็นมืออาชีพ และการทำงานระดับอัจฉริยะ
เมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว หากเอ่ยชื่ออนิเมะและมังงะชื่อดังอย่าง คินนิคุแมน คนในวัยที่เติบโตมาในยุค 80s-90s ต่างก็คิดถึงแต่การ์ตูนมวยปล้ำตลก ๆ เบาสมอง ที่ครองความนิยมด้วยมุกตลกและเพลงประจำตัวอย่าง “ข้าวหน้าเนื้อเจ้าเก่า 300 ปี อะโจ๊ะ โจ๊ะ” ร้องโดยน้าต๋อยเซมเบ้ จนติดปากของเด็กในยุคนั้น กาลเวลาผ่านไป จากเด็กกลายเป็นผู้ใหญ่ ใครเลยจะรู้ว่าการ์ตูนที่ดูเหมือนจะไร้สาระเรื่องนั้น จะมีอายุยืนยาวจวบจนปัจจุบัน เพราะอะไรการ์ตูนที่เหมือนจะล้มเหลวในตอนต้น ถึงกลายร่างเป็นการ์ตูนยอดนิยมที่ไม่ใช่เพียงแค่ญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังดังไปทั่วทั้งโลกมาอย่างยาวนานขนาดนี้ รวมถึงความเป็นลูกผู้ชายที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากชายคนนี้ เรามาถอดหน้ากากตัวตนที่แท้จริงของมังงะอมตะนิรันดร์กาลเรื่องนี้ไปพร้อมๆกัน Kinnikuman ถือกำเนิดจากคู่หูนักเขียนที่เรียกตัวเองว่า Yudetamago หรือ คู่หูไข่ต้ม นามปากกาของ 2 นักเขียนดาวรุ่ง Yoshinori Nakai และ Takashi Shimada เพื่อนซี้จากโอซาก้า ที่มาตามฝันในเมืองโตเกียวด้วยการเขียนการ์ตูนส่งสำนักพิมพ์ชูเอะฉะ ท่ามกลางการห้ามปรามของพ่อแม่ เพราะอาชีพศิลปินวาดการ์ตูนในช่วงปลายยุค 70s นั้นยังไม่ใช่อาชีพที่สามารถทำเงินทำทองได้มากนักในสายตาของพ่อแม่ยุคนั้น แต่เด็กหนุ่มทั้ง 2 ก็รั้นที่จะเขียนส่งประกวดรางวัล Akatsuka Award แม้จะไม่ได้รางวัล แต่การ์ตูนสั้นเรื่อง Kinnikuman
เป็นความจริงที่ว่าชีวิตของทุกคนมีความไม่แน่นอนสูง เพราะการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดฝันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา วันหนึ่งเรากับแฟนกำลังไปกันได้ดี วันรุ่งขึ้นอาจถูกบอกเลิกแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยก็เป็นได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ไม่น่าพอใจมักสร้างความเจ็บปวดให้กับคนไม่มากก็น้อย และพอเราเจอกับเหตุการณ์แบบนี้กันบ่อย ๆ มันก็สร้างบาดแผลหยั่งลึกในจิตใจให้เราได้เหมือนกัน UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีการรับมือกับความทรมานที่ชื่อว่า Radical Acceptance ซึ่งเป็น Distress Tolerance Skill ที่จำเป็นมากสำหรับปี 2021 WHAT IS RADICAL ACCEPTANCE ? Radical Acceptance เป็นหนึ่งในทักษะที่อยู่ใน Dialectical Behavioral Therapy (DBT) วิธีการทำจิตบำบัดรูปแบบหนึ่งที่พัฒนาโดย Marsha M. Linehan นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน โดย Radical Acceptance จะหมายถึง ความสามารถในการรับรู้ความทรมานทางกายและใจ และทำใจยอมรับมันได้ทั้งหมด ซึ่งทักษะนี้จะช่วยให้เราสามารถเผชิญหน้ากับอารมณ์หรือเหตุการณ์ที่สร้างความเจ็บปวดได้ดีขึ้น รักษาอารมณ์ของเราในช่วงที่เจอความเจ็บปวด ช่วยให้เราก้าวข้ามสถานการณ์ที่ยากลำบากได้ง่ายขึ้น พร้อมลดความทุกข์ทรมานที่ไม่จำเป็นให้เราใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นด้วย HOW TO PRACTICE RADICAL ACCEPTANCE ? เมื่อ Radical Acceptance เป็นเหมือนกับ
เราอยู่ในยุคที่ทุกอย่างดูจะเดินทางได้เร็วไปหมด ไม่ว่าจะเป็น การพูดคุย การรับส่งข่าวสาร หรือ การทำงาน ฯลฯ ซึ่งวิถีชีวิตที่เร็วขึ้นกว่าแต่ก่อนนี้ อาจทำให้เรากลัวการใช้ชีวิตแบบ slow life ขึ้นมา ด้วยเหตุผลหลายอย่าง เช่น กลัวว่าจะตามกระแสไม่ทัน กลัวว่าจะทำงานไม่ทัน เป็นต้น และถ้าความกลัวหนักข้อขึ้น มันจะพัฒนาเป็น Hurry Sickness ได้ ซึ่งอาการนี้กระทบต่อความสุขของเราได้พอสมควร เราเลยอยากมาพูดถึงวิธีการรับมือกับ Hurry Sickness ให้อยู่หมัด Hurry Sickness คือ ภาวะที่เรารู้สึกว่าต้องทำทุกอย่างด้วยความเร่งรีบตลอดเวลา โดยคนที่มีอาการนี้มักจะรู้สึกกดดันหรือตื่นตระหนกเหมือนต้องแข่งขันกับเวลา ส่งผลให้พวกเขาทำทุกเรื่องด้วยความเร่งรีบ ซึ่งสาเหตุที่อาการนี้เกิดขึ้นมา อาจเป็นเพราะรู้สึกว่าเวลาหนึ่งวันมีน้อยเกินไปสำหรับทำสิ่งต่าง ๆ หรือกลัวว่าถ้าทำอะไรช้าไปแล้ว จะพลาดอะไรบางอย่างไป จึงต้องรีบทำสิ่งต่าง ๆ ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว กล่าวคือ Hurry Sickness เกิดขึ้นจากอาการยอดฮิตอย่าง Fear of Missing Out (FOMO) ได้เหมือนกัน พฤติกรรมที่ชัดเจนในกลุ่มที่เป็น Hurry Sickness คือ
มนูษย์กำลังแข่งขันกับไวรัส SARS-CoV-2 หรือโควิด-19 ว่าใครจะสามารถพัฒนาตัวเองได้เร็วกว่ากัน แม้ตอนนี้หลายประเทศที่ฉีดวัคซีนให้ประชาชนเป็นวงกว้างจะเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในทางที่ดีขึ้น แต่ Pfizer ก็ยังไม่หยุดพัฒนา solution ที่ดีกว่า และสิ่งที่กำลังอยู่ในขั้นตอนทดสอบตอนนี้ก็คือยาแบบรับประทาน ที่จะเปลี่ยนวิธีป้องกันโควิด-19 ให้ง่ายขึ้นได้ที่บ้าน ลดภาระหมอพยาบาล และสามารถผลิตจำนวนมากเพื่อการเข้าถึงที่ง่ายกว่าภายในปีนี้ รายงานจาก Telegraph บอกว่า ณ Pfizer กำลังทดสอบยาต้านไวรัสโควิด-19 อยู่ใน USA และ Belgium โดยมีอาสาสมัครจำนวน 60 คน อายุ 18 – 60 ปี ซึ่งถ้าผลออกมาในทางที่ดี จะสามารถผลิตยาดังกล่าวออกมาได้ภายในปีนี้ ยารับประทานที่ Pfizer กำลังพัฒนาอยู่ตอนนี้มีรหัส codename ว่า “PF-07321332” เป็นยาจำพวก Protease inhibitors (PIs) ทำหน้าที่ยับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัส คล้ายการทำงานของยาต้านไวรัส HIV จำพวก Darunavir (DRV), Indinavir (IDV), Nelfinavir (NFV),
ใคร ๆ ต่างก็รู้ว่าญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องความบันเทิงยามค่ำคืน หากคุณเดินไปถูกที่ ถูกทาง ถูกแหล่ง คุณจะพบกับความมหัศจรรย์เหมือนเปิดประตูโลกใบใหม่ตั้งแต่ ‘เกอิชา’ ที่มอบความบันเทิงด้านศิลปะและดนตรีชั้นสูง พบกับ JK Bussiness บริการเพื่อนคุยยามเหงาและการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กสาวมัธยมปลาย คลับเฉพาะทางที่มี ‘เด็กนั่งดริ๊ง’ คอยต้อนรับ ไปจนถึง ‘บาร์โฮสต์’ ที่เหล่าบริกรชายจะดลบันดาลความสุขให้ตามต้องการ เมื่อเอ่ยถึงบาร์โฮสต์ ภาพในความทรงจำของคนไทยมักเป็นผู้ชายใส่สูท ผมซอยสั้นสไตล์ญี่ปุ่น ที่มักยืนต้อนรับลูกค้าอยู่หน้าร้าน หรือบางร้านก็ให้หนุ่ม ๆ ไปยืนเรียกลูกค้าตามย่านท่องเที่ยวดัง ทว่าชายที่ถูกเรียกว่า King of Hosts หรือ ‘ราชาแห่งบาร์โฮสต์’ กลับฉีกแนวภาพจำเดิม ๆ ไปไกลกว่าที่คิด เมื่อเขาไว้ผมสีทองยาวสลวยกว่าสุภาพสตรีบางคนที่เป็นลูกค้าของเขาเสียอีก ชายคนดังกล่าวถูกขนานนามด้วยชื่อในวงการว่า “โรแลนด์” โรแลนด์เข้าวงการบาร์โฮสต์ตั้งแต่อายุ 18 ปี ชื่อจริงของเขาคือ โทโจ มาโคโตะ (Toujou Makoto) นักเรียนดีเด่นที่เพิ่งสอบติดมหาวิทยาลัยโตเกียว ทว่าเริ่มเรียนได้นิดเดียวเขาเริ่มตั้งคำถามกับชีวิตตัวเองว่า ‘เรียนจบไปแล้วจะทำอาชีพอะไร?’ คิดใคร่ครวญอยู่นานว่าตัวเองชอบอะไร อยากทำอะไร มีความถนัดอะไร พอคิดวาดภาพชีวิตตัวเองเป็นพนักงานออฟฟิศที่ต้องสวมสูทสีดำเหมือนคนอื่น ๆ เดินไปยังสถานีรถไฟที่อัดคนทำงานเบียดแน่นเต็มโบกี้
แน่นอนว่าช่วงเวลานี้ สำหรับนักดูหนังแล้ว ไม่มีอะไรจะน่าตื่นเต้นไปกว่าการมาของหนังตัวอย่างและโปสเตอร์ของหนังฮีโร่เรื่องใหม่ของ Marvel Studio เรื่อง Shang-Chi and the Legend of the Ten Rings นั่นเอง แต่ที่น่าจะตื่นเต้นปนฉงนยิ่งกว่า นั่นก็คือผู้ที่มารับบทบาทนี้กลับเป็นคนโนเนมที่มีชื่อเสียงระดับปานกลางอย่าง Simu Liu ซึ่งเมื่อประกาศชื่อชายคนนี้มา ก็มีทั้งกระแสแง่บวกและแง่ลบเกี่ยวกับผู้ชายคนนี้สนั่นโลกโซเชียล แต่เราไม่อยากให้คุณตีตนไปก่อนไข้ และลองเปิดใจมาทำความรู้จักผู้ชายคนนี้กันให้ลึกซึ้งก่อนที่จะตัดสินเขากันดีกว่า ว่าสรุปแล้วเขาเหมาะหรือไม่สำหรับการแบกรับบทบาทซูเปอร์ฮีโร่ที่ไม่เพียงเป็นบทบาทในโลกภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังแบกศักดิ์ศรีของชาวเอเชียให้โลกได้ประจักษ์อีกด้วย Simu Liu ชีวิตที่ลิขิตในวงการบันเทิง Simu Liu เกิดที่เมือง ฮาร์บิน มณฑลเฮย์หลงเจียง ก่อนจะย้ายถิ่นฐานตามพ่อและแม่มาอยู่ที่ประเทศแคนาดาตอนอายุ 5 ขวบ แรกเริ่มเดิมทีเขามีความใฝ่ฝันในอาชีพนักแสดง แต่ก็ไกลเกินเอื้อมคว้าสำหรับชายหนุ่มหน้าตี๋ที่พร้อมจะถูกรังแกจากฝรั่งตาน้ำข้าวง่ายๆ เขาร่ำเรียนธุรกิจตามความคาดหวังของครอบครัวจนจบปริญญาตรีและทำงานเป็นมนุษย์กินเงินเดือนในฐานะนักบัญชี แต่ก็ทำได้เพียงปีเดียวเขาก็ออกจากงานเพื่อตามล่าความฝันอย่างจริงจัง โดย Simu ได้กล่าวถึงการตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวครั้งนี้ในงาน Comic Con ว่า “สิ่งที่ผมอยากทำเมื่อโตขึ้นคือทำให้พ่อและแม่ภาคภูมิใจ มากกว่าจะเจ้ากี้เจ้าการให้ทำอะไรที่ไม่ชอบ มันมีความสุขมากนะที่พ่อและแม่ไม่ได้คาดหวังให้ผมเป็นในสิ่งที่ผมไม่อยากจะเป็น…เช่นหมอเป็นต้น” Simu Liu เริ่มต้นด้วยการเป็นตัวประกอบในหนังหุ่นยนต์สู้กับสัตว์ประหลาดไคจู ในหนัง Pacific Rim
แม้ญี่ปุ่นจะเต็มไปด้วยดินแดนแห่งโอกาส แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะโดดเด่นและเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศได้ในเวลาไม่นาน หลายปีที่ผ่านมา ชาวญี่ปุ่นที่ชื่นชอบการดูกีฬาหรืออ่านหนังสือพิมพ์กีฬาอยู่บ่อย ๆ จะต้องเคยได้ยินหรือได้เห็นชื่อของ อิเคเอะ ริคาโกะ (Ikee Rikako) อยู่เสมอ ชื่อของนักว่ายน้ำดาวรุ่งที่ประสบความสำเร็จในสายอาชีพตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี เธอสามารถพาตัวเองไต่ทะยานไปตามเส้นทางนักกีฬา ควบคู่กับการพาธงชาติญี่ปุ่นไปให้โลกได้รู้จัก ในฐานะประเทศที่มีนักว่ายน้ำหญิงอายุน้อยที่เปี่ยมด้วยพรสวรรค์อันแสนน่าจับตามอง เส้นทางชีวิตของริคาโกะถูกชาวญี่ปุ่นยกย่องชื่นชม หลายปีก่อน คนใกล้ชิดต่างแนะนำให้เธอลงชื่อเป็นหนึ่งในตัวแทนคัดเลือกนักกีฬาทีมชาติญี่ปุ่นในการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิก เพราะอยากให้เป็นตัวแทนแข่งขันในปีที่บ้านเกิดของตัวเองเป็นเจ้าภาพ สื่อและนักวิจารณ์ในญี่ปุ่นต่างมั่นใจว่าดาวรุ่งคนนี้จะต้องได้สิทธิเข้าแข่งมาอย่างไม่ยากเย็น ทว่าชีวิตของนักกีฬาหญิงคนนี้กลับต้องเปลี่ยนไปตลอดกาล เมื่อเธอไปตรวจร่างกายแล้วพบว่าตัวเองกำลังเป็นโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อ ‘ลูคีเมีย’ โรคร้ายส่งผลให้เส้นทางชีวิตอันรุ่งโรจน์ของ อิเคเอะ ริคาโกะ หยุดชะงักกลางคัน ฝันที่วางไว้อาจไม่มีวันเป็นจริงอีกต่อไป คนไทยที่ไม่ได้ตามข่าววงการว่ายน้ำอาจไม่รู้ว่า อิเคเอะ ริคาโกะ ประสบความสำเร็จมากถึงขั้นไหน เธอหัดว่ายน้ำก่อนจะเรียนรู้ตัวอักษรคันจิเสียอีก เด็กสาวชื่นชอบการว่ายน้ำเป็นชีวิตจิตใจ และไม่ใช่แค่การว่ายเล่นเอาสนุก เธอหมั่นฝึกฝนอย่างหนักเป็นประจำ ข้อได้เปรียบใหญ่ที่ทำให้เธอโดดเด่นกว่านักกีฬาว่ายน้ำคนอื่น ๆ คือ ริคาโกะพบความฝันของตัวเองตั้งแต่อายุยังน้อย ก่อนตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขันว่ายน้ำเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ 13 ปี และคว้าแชมป์ระดับประเทศในประเภทที่ตัวเองแข่งขัน ถือเป็นใบเบิกทางให้เธอติดหนึ่งในเยาวชนทีมชาติ เธอเป็นเด็กสาวที่มีความสามารถ เปี่ยมด้วยความมั่นใจ และขยันทำลายสถิติการว่ายน้ำท่าต่าง ๆ อยู่เสมอ แม้จะเต็มไปด้วยพรสวรรค์ที่มาคู่กับความพยายาม แต่คนที่เพอร์เฟกต์ที่สุดย่อมต้องเคยพบกับความผิดหวัง
เมื่อต้องอยู่กับปัญหาโลกแตก และไม่สามารถ MOVE ON ได้เป็นเวลานาน สิ่งที่มักเกิดขึ้นกับเรา คือ การสูญเสียความสามารถในการมองเห็นคุณค่าชีวิตของตัวเอง เราอาจเริ่มรู้สึกเหมือนไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร ส่งผลให้เราใช้ชีวิตได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก ปัญหานี้เรียกกันว่า “Existential Crisis” WHAT IS EXISTENTIAL CRISIS? Existential Crisis คือ ภาวะที่เราเกิดความไม่สบายใจในเรื่องความหมาย ทางเลือก และอิสระในชีวิตของตัวเอง โดยคำนี้มีรากมาจาก ปรัชญาอัตถิภาวนิยม (Existentialism) ที่ให้ความสำคัญกับทางเลือกหรือการใช้ชีวิตอย่างมีเสรีภาพของมนุษย์ ภาวะนี้เกิดขึ้นได้ เมื่อเราเจอกับปัญหาชีวิตหรือความยากลำบากที่สามารถแก้ไขได้ยาก ต่อให้หาคำตอบมาเป็นเวลานานเท่าใด ก็ยังไม่เจอทางออกที่น่าพอใจสักที และพอเราจมอยู่กับปัญหานาน เราก็จะไม่สบายใจจนรู้สึกสิ้นหวังเรื้อรัง และสูญเสียความสุขในการใช้ชีวิตอย่างหนัก นอกจากนี้มันยังเกิดขึ้นได้เมื่อเรารู้สึกผิดต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต สูญเสียคนรัก ไม่พอใจในตัวเอง หรือ เก็บกักความรู้สึกแย่ ๆ เอาไว้ในใจเป็นเวลานานเกินไป เพราะสิ่งเหล่านี้มักทำให้เราจมปัก และรู้สึกสิ้นหวังกับชีวิตได้ คนที่เป็น Existential Crisis มักจะรู้สึกว่าชีวิตของตัวเองไร้ค่าไร้ความหมาย และเกิดอาการสิ้นหวังในการใช้ชีวิต เพราะเหมือนกับว่า โลกทั้งใบของพวกเขาได้พังลงแล้ว จะทำอะไรต่อไปก็คงไม่ดีขึ้น พวกเขาจึงตั้งคำถามกับการมีตัวตนของตัวเอง เช่น ”เกิดมาเพื่ออะไร” หรือ