อย่างที่รู้กันดีอยู่แล้วว่ารอยสักสำหรับคนญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่จะต้องถูกซ่อนเอาไว้ใต้ร่มผ้า หรือไม่เปิดเผยให้คนอื่นเห็นมากนักเพราะไม่อย่างนั้นคุณจะต้องพบกับสายตาดูแคลนปะปนกับสายตาหวาดกลัว ซ้ำยังถูกโรงอาบน้ำสาธารณะหรือซาวน่าหลายที่ปฏิเสธที่จะให้เข้าไปใช้บริการ แม้ว่าเราจะมีเงินและเป็นลูกค้าคนหนึ่งเหมือนกัน ก่อนหน้านี้ UNLOCKMEN เคยเล่าเรื่องราวความเป็นมาของการสักและรอยสักที่ชาวญี่ปุ่นมองว่าเป็นสิ่งผิดแปลกจากสังคมหรือจารีตไปแล้วใน (NIHON STORIES: รอยสักญี่ปุ่น ศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ที่ผู้คนทั่วโลกจับตามอง) ทั้งที่ในเวลาเดียวกันชาวต่างชาติกลับรู้สึกยกย่องและชื่นชมศิลปะญี่ปุ่นอันเป็นเอกลักษณ์ที่ถูกเล่าบนเนื้อหนังของบุคคลนั้น ๆ ซึ่งผู้สักชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักจะเป็นยากูซ่าหรือไม่ก็เป็นศิลปินที่ไม่ต้องทำงานออฟฟิศ ซึ่งบุคลิกและการทำงานอาจมีส่วนเล็กน้อยที่ทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างในสังคม เมื่อพูดถึงรอยสักเราจะไม่พูดถึงช่างสักก็คงไม่ได้ เพราะพวกเขาคือผู้สร้างสรรค์ศิลปะอันประณีตที่จะอยู่กับคนที่มาสักไปตลอดชั่วชีวิต และในประเทศญี่ปุ่นมีช่างสักผู้โด่งดังคนหนึ่งนามว่า ‘Horimitsu’ (โฮริมิตสึ) ที่มีส่วนช่วยทำให้วัฒนธรรมการสักของญี่ปุ่นยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน ซ้ำยังสร้างชื่อไปทั่วทุกมุมโลก และช่างสักก็ได้มีส่วนช่วยให้คนรุ่นใหม่เริ่มไม่ได้มองว่ารอยสักเป็นเรื่องน่ากลัวอีกต่อไป แต่มันคือศิลปะแขนงหนึ่งที่งดงามต่างหาก “คนที่ไม่มีรอยสักหรือไม่ชอบการสักมักมองว่าคนที่มีรอยสักจะต้องเกี่ยวข้องกับยากูซ่า แต่ทั้งสองสิ่งอย่างยากูซ่าและรอยสักไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องลึกซึ้งกันขนาดนั้น” – Horimitsu โฮริมิตสึ หรืออีกชื่อที่คนในวงการเรียกสั้น ๆ ว่า ‘มิตสึซัง’ เป็นช่างสักที่เปิดร้านสักอยู่ในย่านอิเคะบุคุโระ ณ กรุงโตเกียว ด้วยประสบการณ์ที่เรียกได้ว่าคร่ำหวอดในวงการนานกว่า 30 ปี ทำให้ชื่อเสียงของเขาถูกพูดถึงในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบการสักและช่างสักด้วยกัน ประกอบกับสไตล์การใช้เข็มวาดลวดลายของเขาจะใช้เทคนิคการสักญี่ปุ่นดั้งเดิมที่เรียกว่า ‘Tebori’ (เทโบริ) อายุกว่า 400 ปี ที่ขึ้นชื่อเรื่องสีสันสดสวยคงทนเหมือนกับวันแรกที่ไปสักแม้จะเวลาจะล่วงเลยมาพักหนึ่งแล้วก็ตาม เทคนิคการสักแบบเก่าแก่ของมิตสึซังจะกินเวลานานกว่าการสักแบบปกติ เขาจะใช้ปากกาสีส้มวาดภาพที่ต้องสักบนผิวหนังแบบช้า ๆ ด้วยความพิถีพิถัน จากนั้นค่อยใช้ปากกาเส้นพู่กันวาดซ้ำอีกรอบ มิตสึซังมักไม่ใช่เครื่องสักในการทำงาน และชอบใช้ใบมีดสเตนเลสแบบด้านเดียวที่ติดอยู่กับด้ามไม้แท่งยาวกรีดลงไปบนเนื้อ ย้ำซ้ำไปซ้ำมาจนกว่าจะได้สีสันลวดลายตามที่เขาพอใจ
การออกกำลังเพื่อลดไขมันหน้าท้องหรือสร้างซิกแพคคือเรื่องที่ผู้ชายหลายคนให้ความสำคัญทำให้ท่าออกกำลังที่เผาผลาญไขมันและบริหารกล้ามเนื้อส่วนท้องได้ดีอย่างท่า Sit-Ups หรือ Crunch กลายมาเป็นท่าออกกำลังยอดนิยม อย่างไรก็ตามทั้ง 2 ท่ายังเทียบไม่ได้กับท่าออกกำลังอย่าง Plank ที่สร้างกล้ามเนื้อได้ดีกว่าในปริมาณเวลาการฝึกเท่ากัน Plank คือท่าออกกำลังที่เราคุ้นเคยซึ่งช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อแกนกลางร่างกายได้ครบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น Rectus Abdominus หรือกล้ามเนื้อท้องส่วนที่ทำให้เกิดซิกแพค, Transverse Abdominus กล้ามเนื้อส่วนที่เรียงตัวตามแนวขวางของท้อง รวมถึง Internal/External Obliques หรือกล้ามเนื้อท้องด้านข้างไปจนถึงกล้ามเนื้อหลังและสะโพกบางส่วน จึงไม่แปลกที่ Plank จะกลายเป็นท่าออกกำลังยอดนิยมที่หลายคนเลือกมาฝึกโปรแกรมออกกำลังประจำวัน แต่นอกจากประโยชน์ที่มีต่อกล้ามเนื้ออย่างครบครัน ท่า Plank ยังมีเทคนิคให้ฝึกอีกหลายรูปแบบ ซึ่งคอลัมน์ QUICK WORKOUT วันนี้จะมาแนะนำท่า Plank 7 สไตล์ที่จะท้าทายการฝึกมากขึ้น โดยแต่ละท่าจะมีเทคนิครวมถึงให้ประโยชน์กับร่างกายส่วนไหนบ้าง มาทำความรู้และเตรียมฝึกไปพร้อมกันได้เลยครับ Forearm Plank Forearm Plank คือท่าแรกที่เราอยากแนะนำและหนุ่ม ๆ อาจจำ Forearm Plank ว่าเป็นการ Plank ท่ามาตรฐานที่หลายคนนิยมฝึก โดยลักษณะเด่นของ Forearm Plank คือการงอข้อศอกเพื่อรองรับน้ำหนักและมือทั้ง
คนมีคู่เคยเคยรู้สึกไหมว่า “ทำไมการอยู่กับแฟนทำให้รู้สึกไม่สบายใจจัง?” รู้สึกเหมือนเราต้องเอาอกเอาใจเขาตลอดเวลา ไม่ว่าเขาจะทำตัวแย่แค่ไหน เราก็ต้องให้อภัยเขาอยู่เสมอ หากมีความรู้สึกประมาณนี้ อาจเป็นไปได้ว่า คุณกำลังติดนิสัย ‘codependency’ ซึ่งเป็นนิสัยแบบที่ไม่ได้ส่งผลดีต่อความสัมพันธ์เลย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ? เดี๋ยว UNLOCKMEN จะอธิบายให้ทุกคนฟัง อะไร คือ ‘codependency’ ก่อนอื่นเราอยากพูดถึงความหมายก่อน codependency หมายถึง บุคลิกภาพแบบที่พึ่งพาอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อตอบสนองความต้องการหรือคุณค่าของตัวเองมากเกินไป คนที่มีนิสัยแบบนี้มักจะตามใจคนอื่นมาก ถ้าเป็นในความสัมพันธ์แบบคู่รัก คือ คนที่มักตอบรับคำขอของอีกฝ่ายโดยไม่กล้าปฏิเสธ และมีความกังวลอย่างมากต่อการสูญเสียอีกฝ่าย codependency ยังมีอีกความหมาย คือ พฤติกรรมที่อนุญาตให้อีกฝ่ายมีพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น ไม่รับผิดชอบ เสพติดสุรา ไม่ยอมทำงานทำการ เป็นต้น ทั้งหมดนี้สรุปได้ว่า codependency หมายถึง นิสัยที่ยอมอีกฝ่ายทุกอย่าง เนื่องจากโหยหาการยอมรับจากอีกฝ่ายอย่างหนัก และกังวลมากว่าอีกฝ่ายจะทอดทิ้งตนไปเมื่อขัดใจ ซึ่งเราอาจรับนิสัยนี้มาจากคนในครอบครัว โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีปัญหา (dysfunctional family) หรือ พ่อแม่ป่วยไข้ ซึ่งงานวิจัยระบุว่า มนุษย์เรียนรู้นิสัย codependency ผ่านการสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมสมาชิกในครอบครัว กล่าวคือ ถ้าเราอยู่ในครอบครัวที่เคร่งเรื่องระเบียบในบ้าน
ย้อนกลับไปสมัยเด็ก ๆ ตอนนั้นเราอาจมองว่าโลกนี้เปรียบเหมือนสนามเด็กเล่น ที่เราสามารถมีความสุขและทดลองทำอะไรใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา แต่พอกลับมาดูตอนนี้ เหมือนกับว่า “ยิ่งโต ยิ่งเจ็บ” เพราะเราต้องแบกรับความคาดหวังอะไรหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องความสัมพันธ์ ฐานะทางการเงิน หรือ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ฯลฯ และพอคาดหวังมาก แน่นอนว่าความทุกข์ที่เกิดจากความผิดหวังก็มากตามมาเหมือนกัน จนบางคนอาจสิ้นหวังไปเลยก็ได้ UNLOCKMEN เข้าใจว่าความสิ้นหวังเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ของผู้ใหญ่ทุกคน จึงอยากแนะนำวิธีการเอาชนะความสิ้นหวัง ให้ทุกคนสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุข และมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นกันถ้วนหน้าได้ แต่ก่อนอื่นขอพูดถึงเรื่องความสิ้นหวังสักเล็กน้อยก่อนเข้าเรื่อง… ว่าด้วยเรื่องอาการสิ้นหวัง (hopelessness) เมื่อเราเจอกับเรื่องที่น่าผิดหวังซ้ำๆ เป็นเวลานานๆ แน่นอนว่าจิตใจของพวกเราคงเกิดบาดแผล และเกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมา เพราะความผิดหวัง (disappointment) ที่สะสมมาเป็นเวลานาน หากไม่มีวิธีการรับมือที่ถูกต้อง จะก่อให้เกิดความเครียดเรื้อรัง พร้อมก่อภาวะซึมเศร้า จนทำให้พวกเรารู้สึกสิ้นหวังกันได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อการใข้ชีวิตของเราอย่างมาก เพราะความสิ้นหวัง (hopelessness) ทำให้เราคิดแต่อะไรลบๆ โดยเฉพาะเรื่องการทำลายความคาดหวังของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น คิดว่าชีวิตจะต้องแย่แบบนี้ตลอดไปโดยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หรือ คิดว่าความเศร้าของตัวเองจะคงอยู่ตลอดไป ความสิ้นหวังยังนำมาซึ่งพฤติกรรมแย่ๆ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.ติดอยู่ในวงจรของความรู้สึกแย่ๆ และการกระทำแย่ๆ และ
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเวลาคนอื่นรู้สึกเครียด เราถึงรู้สึกเครียดไปด้วย? ทั้งๆ ที่บางครั้งเรื่องที่คนอื่นเครียดก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรา เช่น เวลาเราเห็นเจ้านายกำลังทำงานด้วยสีหน้าเคร่งเครียด เราถึงได้รู้สึกเครียดตามเจ้านายไปด้วย เรื่องนี้อาจอธิบายได้จาก ธรรมชาติของมนุษย์มี่ชอบปรับตัวให้เข้ากับคนในสังคม โดยหนึ่งในวิธีการปรับตัวของมนุษย์ คือ การเรียนรู้พฤติกรรมของคนอื่นผ่านการเลียนแบบ และทำให้เกิดปรากฎการณ์การส่งต่ออารมณ์ไปยังผู้อื่น หรือที่เรียกว่า ‘Emotional contagion’ ต่อไป ในบทความนี้ UNLOCKMEN อยากเล่าให้ทุกคนฟังว่า Emotional contagion เกิดขึ้นได้อย่างไร และเราจะป้องกันการติดอารมณ์ด้านลบจากคนอื่นได้อย่างไรบ้าง Emotional contagion คืออะไร ? การติดต่อทางอารมณ์ (Emotional contagion) คือ สถานการณ์ที่อารมณ์หรือพฤติกรรมของคนหรือกลุ่มเป็นตัวกระตุ้นให้คนอื่นเกิดอารมณ์และแสดงพฤติกรรมที่คล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็น การเลียนแบบท่าทาง การแสดงออก การเคลื่อนไหว ซึ่งการส่งต่อพฤติกรรมและอารมณ์แบบนี้ อาจเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เพราะงานวิจัยหลายชิ้นได้ชี้ให้เห็นว่า คนเรามักจะจับอารมณ์ของคนอื่นได้บ่อยๆ การส่งต่ออารมณ์จึงเกิดขึ้นได่ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งต่ออารมณ์ด้านลบหนักหน่วงที่มีการแสดงออกมาอย่างชัดเจน จะง่ายกว่าการส่งต่ออารมณ์อื่นๆ กล่าวคือ ถ้าเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานของคุณเครียดหนีอย่างเห็นได้ชัด มันก็มีโอกาสสูงที่คุณจะเครียดตามหัวหน้าได้นั่นเอง การทำงานของ Emotional contagion มักเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว เริ่มจาก
ความรักสำหรับบางคน คงเปรียบเหมือนดาบสองคม ตอนคบกันอยู่มีความสุขกันเหลือเกิน แต่พอเลิกกันกลับเจ็บปวดรวดร้าว จะเป็น จะตาย! บางเคสอาจเจอการนอกใจ โกหก หรือ หลอกลวง และประสบการณ์เหล่านี้ได้แปรเปลี่ยนเป็นบาดแผลในใจ จนทำให้พวกเขาไม่กล้าไว้วางใจที่จะมีความสัมพันธ์กับใครอีก และเป็นโรคทางจิตเวชที่ชื่อว่า โรคกลัวการไว้ใจผู้อื่น (pistanthrophobia) วันนี้ UNLOCKMEN อยากเล่าให้ฟังว่าโรคนี้มีที่มาอย่างไร ร้ายแรงแค่ไหน และ จะป้องกันเยียวยามันได้อย่างไรบ้าง Pistanthrophobia เกิดขึ้นได้อย่างไร ? โรคกลัวการไว้ใจผู้อื่น (pistanthrophobia) เป็นโรคที่กลัวความเจ็บปวดจากการไว้วางใจคนอื่นมากเกินไป (โดยเฉพาะคนรัก) ซึ่งเกิดขึ้นได้จากประสบการณ์การถูกหักหลังในความรักครั้งก่อน เช่น โดนนอกใจ หรือ หลอกลวง เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยจะเกิดเป็นความวิตกกังวลเวลาจะมีความสัมพันธ์ครั้งใหม่ เพราะไม่กล้าไว้วางใจใคร และกลัวว่าเหตุการณ์แบบเดิมจะเกิดขึ้นซ้ำอีก และทำให้พวกเขาไม่สามารถมีความรักครั้งใหม่ได้ สำหรับอาการของที่คนเป็นโรค pistanthrophobia จะมีทั้ง อยากหลีกหนีจากเหตุการณ์ ผู้คน หรือ วัตถุ ที่ทำให้เกิดความกลัว, หายใจไม่ทั่วท้อง, หัวใจเต้นรั่ว และตัวสั่น ในสถานการณ์ทางสังคม พวกเขามักหลีกเลี่ยงการสนทนา หรือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับคนที่อาจเป็นคู่รักของเขาในอนาคต
หลายคนคงเคยได้ยินประโยคบอกเลิกยอดฮิต “เธอดีเกินไป เราเลิกกันเถอะ” ซึ่งทำให้เกิดความสงสัยว่า การเป็นคนดีจะทำให้เราล้มเหลวในความสัมพันธ์จริงหรือไม่ ในเมื่อความดีเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับมากกว่าความเลว แถมเรายิ่งจะปวดหัวมากขึ้นมากไปอีก เมื่อรู้ว่า ผู้หญิงชอบผู้ชายเลว (Bad boys) มากกว่า ผู้ชายดี (Nice guys) มันเป็นไปได้ยังไง ยิ่งคิด ยิ่งปวดหัว! บทความนี้ UNLOCKMEN อยากจะมาไขข้อข้องใจในเรื่องนี้ ผู้ชายเลวต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ? เวลาพวกเราพูดถึงผู้ชายเลว แต่ละคนอาจมีนิยามไม่เหมือนกัน บางคนอาจมองว่าผู้ชายเลวคือคนที่เห็นแก่ตัว บางคนอาจมองว่าผู้ชายเลวคือคนที่ไม่ยอมทำตามสิ่งที่เราต้องการ ฯลฯ ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนที่อ่านบทความนี้เข้าใจสิ่งที่เรียกว่าความเลวตรงกัน เราเลยอยากขอยกหลักคำสอนของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิคเรื่อง ‘บาป 7 ประการ’ มาเป็นแนวทางในการนิยามความเลวของผู้ชาย ซึ่งบาป 7 ประการนี้ จะประกอบไปด้วย พฤติกรรม 7 อย่างที่สะท้อนความเห็นแก่ตัวที่มากเกินไปของมนุษย์ อันได้แก่ ราคะ (lust) คือ หมกหมุ่นในเรื่องเพศมากเกินไป จนทำให้เกิดพฤติกรรมที่ทำร้ายคนอื่น เช่น การข่มขืน การคบชู้ ตะกละ (gluttony) คือ ตอบสนองต่อความต้องการของตัวเองมากเกินไปโดยไม่คิดถึงผู้ถึงผู้อื่น
เคยรู้สึกเบื่องานกันบ้างไหม? รู้สึกว่างานที่ทำอยู่ช่างไม่มีความสุขเอาซะเลย? หลายคนน่าจะเคย และรู้สึกว่า ความน่าเบื่อ (boredom) เป็นพิษภัยต่อการทำงานอย่างมาก เพราะมันทำให้ ‘ซัฟเฟอร์’ กับการทำงาน ทำให้รู้สึกว่าต้องอดทนทำงานไปวันๆ ไม่มีแพสชั่นกับสิ่งที่ทำอยู่เลย ผลร้ายที่สุด คือ ทำให้ไม่สามารถก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้ และท้ายที่สุดก็อาจลาออกจากงาน แต่ไม่ว่าความน่าเบื่อจะเป็นพิษกับเรามากแค่ไหน เราก็อาจจะขาดความเบื่อไม่ได้! เพราะมันเหมือนเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีวิวัฒนาการและไม่หยุดนิ่ง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ? วันนี้ UNLOCKMEN จะพาทุกคนไปเข้าใจอาการเบื่อ และแนะนำวิธีการป้องกันและหลีกเลี่ยงผลเสียจากมัน เพื่อให้ทุกคนมีความสุขในชีวิตการทำงาน หลายคนพอได้ยินคำว่า “น่าเบื่อ” จากอารมณ์ดีอยู่ๆ ก็อาจหม่นหมองได้ เพราะทำให้นึกถึงอะไรลบๆ หลายอย่าง แต่อย่าเพิ่งดาวน์นะ! ทำใจให้สบายๆ แล้วมาฟังเราอธิบายเรื่องความเบื่อเสียก่อน ไม่แน่ว่าหลังจากอ่านบทความนี้จบ คุณอาจเปลี่ยนมุมมองต่อความน่าเบื่อก็เป็นได้! ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญได้ชี้ให้เราเห็นว่า ความน่าเบื่อมีบทบาทสำคัญต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน เพราะถ้าเราไม่เบื่อ เราคงไม่ออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เราไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในชีวิตของตัวเองได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นในเรื่องงาน ความเบื่อจะเตือนเราว่า งานที่เราทำอยู่อาจไม่ทำให้เราบรรลุเป้าหมายในการทำงานของตัวเอง (เช่น มีเงินเก็บมากพอที่จะซื้อรถยนต์ภายใน 2 ปี หรือ ไต่เต้าขึ้นไปทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้นไม่ได้ เป็นต้น
ตอนนี้หลายคนอาจกำลังเป็น “Passive Employee” คือเป็นพนักงานบริษัทที่ทำงานไปวันๆ และไม่มีความทะเยอทะยานใดๆ ในหน้าที่การงาน ซึ่งภาวะนี้เกิดขึ้นได้จากภาวะผู้นำในองค์กรที่ไม่ดี ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลเสียต่อเราได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ไม่มีความสุขในการทำงาน หรือ คุณภาพของงานที่ทำตกต่ำ ซึ่งเราเห็นว่าการอยู่ในสถานะของผู้นำจะช่วยทุกคนแก้ไขปัญหานี้ได้ ด้วยเหตุผลต่างๆ ซึ่ง UNLOCKMEN จะอธิบายต่อไป การเป็นผู้นำจะทำให้เรามีความสุขในการทำงาน คนที่พยายามเป็นผู้นำในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ผู้เสนอไอเดียใหม่ๆ หรือ ผู้ดูแลโปรเจคใหญ่ของบริษัทหรือองค์กร แสดงให้เห็นว่ามีความทะเยอทะยาน ซึ่งเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่จะทำให้พวกเขาเติบโตและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน นอกจากนี้คนที่มีความทะเยอะทะยานจะมีความสุขมากกว่าคนที่ไม่มีความทะเยอทะยานด้วย ซึ่งงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบคนสองกลุ่ม ได้แก่ 1.คนที่ตั้งเป้าหมายแบบทะเยอทะยาน (ambitious goals) และ 2.คนที่ตั้งเป้าหมายแบบเซฟตัวเอง (conservative goals) และพบว่า คนที่ตั้งเป้าแบบทะเยอทะยานจะมีความสุขในระยะยาวมากกว่าคนอีกกลุ่ม งานวิจัยชิ้นนี้ทำการทดลอง 2 ครั้ง โดย ครั้งแรกจะให้ผู้เข้าร่วมการทดลองเล่นเกมเลือกหุ้น (stock-picking) และการทดลองครั้งสุดท้ายจะให้ผู้เข้าร่วมการทดลองแก้ไขปริศนา (puzzles) ในการทดลองแรก ผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งหมด 134 ราย จะต้องกำหนดอัตราผลตอบแทน (target rate of
หากจะให้พูดถึงสนามแข่งที่โหดและหินที่สุด ในการแข่งขันประชันความเร็ว เพื่อเฟ้นหาสุดยอดนักขับที่สามารถพิชิตสภาวะแวดล้อมสุดอันตรายได้นั้น ทุกคนจะนึกการแข่งขันแบบไหนกันบ้าง ? แน่นอนว่าหนึ่งในนั้น จะต้องเป็นกีฬารถแข่งที่จะทำให้คุณหัวใจเต้นแรงและตื่นเต้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งกีฬาที่เราหมายถึงก็คือ การแข่งรถทางฝุ่น หรือ การแข่งขันแรลลี่ (Rally) นั่นเอง โดยกีฬาประเภทนี้นับเป็นการแข่งรถที่ “โคตร” จะเร้าใจ ไม่ต่างกับดูหนังแอคชันเลย ด้วยสนามแข่งที่ขรุขระ เต็มไปด้วยอุปสรรคที่คาดเดาไม่ได้มากมาย ทุกการวิ่งคือสภาพพื้นฝุ่นและเศษหินที่เปลี่ยนแปลงไปเสมอ การเพ่งสมาธิไปข้างหน้าพร้อมฟังเพื่อนร่วมทีมบอกองศาการเลี้ยวอีกสามสี่โค้งข้างหน้าอย่างรวดเร็ว รวมทั้งสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการแข่งรถอย่างมาก และทั้งหมดที่ว่าไปนั้น เป็น “เสน่ห์” ที่ทำให้การแข่งรถแรลลี่เป็นอีกหนึ่งกีฬาที่ผู้คนให้ความสนใจเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก โดยมียอดผู้ชมจากทั่วทุกสารทิศที่ดูผ่านหน้าจอมากกว่า 700 ล้านคนเลยทีเดียว! ซึ่งกว่าจะผ่านไปสู่ลีกสูงสุด ต้องผ่านการคัดเลือกเพื่อไปสู่ WRC-3, WRC-2 และ WRC ซึ่งเส้นทางกว่าจะไปถึงนั้น ยากลำบากไม่แพ้พื้นถนนฝุ่นที่ด้านข้างคือหน้าผาและร่องหลุมสารพัด การเสียสมาธิแม้เพียงเสี้ยววินาทีบนสนาม Rally อาจหมายถึงความเป็นความตายได้ แต่น่าแปลกว่าทำไม การแข่งขันแรลลี่ที่น่าตื่นเต้นนี้กลับไม่เป็นที่พูดถึงมากนักในประเทศไทย หรือถ้ามี ก็อยู่ในกลุ่มคนหมู่น้อยมาก ๆ โดยเฉพาะความเสี่ยงจากอันตรายที่ทำให้นักขับไทยมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับการแข่งขันความเร็วทางเรียบ และเพราะความนิยมที่น้อยนิดนี้เอง ทำให้คนไทยหลายคนต้องพลาดโอกาสในการก้าวไปสู่ระดับโลก เพียงเพราะไม่มีสปอนเซอร์สนับสนุนพวกเขา ทั้งที่การแข่งขันระดับโลกแบบนี้ สามารถทำชื่อเสียงและดึงเงินเข้าประเทศได้อย่างมหาศาล