เราควรตัดสินใจด้วยอารมณ์ไหม? . . คำถามนี้หลายคนพยายามหาคำตอบกันมาตั้งแต่อดีต และปัจจุบัน เริ่มมีคำตอบที่ชัดเจนมากขึ้นว่า การตัดสินใจด้วยเหตุผลอย่างเดียวอาจไม่เวิร์ก… ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น UNLOCKMEN จะอธิบายให้ฟัง ความเป็นเหตุผลเป็นผลทำให้เราสามารถตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ อยู่บนฐานของความเป็นจริงมากที่สุด เช่น หลักฐานหรือข้อมูล หลายคนจึงพยายามข่มอารมณ์ เมื่อต้องตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ อย่างที่คิดว่าควรจะเป็น แต่ที่จริงอารมณ์ก็ช่วยให้ความสามารถในการตัดสินใจของเราเพิ่มขึ้นได้เหมือนกันนะ ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการรับรองทางวิทยาศาสตร์แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ความสุข (ช่วยให้เราเห็นตัวเลือกในการตัดสินใจที่มากขึ้น และทำให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น) หรือความกลัว (ทำให้เราตัดสินใจได้อย่างระมัดระวังมากขึ้น) นอกจากนี้ อารมณ์ยังทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้เฝ้าระวังความผิดปกติด้วย ซึ่งจะทำให้เรารับรู้ปัญหาและแก้ไขได้ตรงจุด เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ขอยกตัวอย่างสถานการณ์หนึ่ง เป็นการนำเสนอโปรเจกต์ของคนอื่นที่เราต้องนำไปต่อยอด และเราในฐานะผู้ชี้เป็นชี้ตายโปรเจคนั้น ขณะฟังและคิดตาม อยู่ ๆ ก็รู้สึกอึดอัดแบบไม่ทราบสาเหตุ นั่นคืออารมณ์กำลังเตือนเราว่ากำลังมีสิ่งที่ผิดปกติเกิดขึ้น และเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องหาที่มาและวิธีการแก้ไข อาจเริ่มจากการตั้งคำถาม เช่น เรามีอคติกับคนพูดหรือเปล่า? หรือ การบรรยายโปรเจกต์นั้นมีข้อผิดพลาดอะไรรึเปล่า? เมื่อเราเข้าใจ เราก็จะตัดสินใจเกี่ยวกับโปรเจกต์นั้นได้อย่างถี่ถ้วนมากขึ้น เช่น ถ้าเรารู้ว่าตัวเองมีอคติกับคนพูด เราก็อาจจะถามความเห็นจากคนอื่นเกี่ยวกับโปรเจ็กต์นั้นมากขึ้น หรือ ถ้ารู้ว่าโปรเจ็กต์นั้นมีข้อผิดพลาด ก็อาจจะยังไม่ลงมือทำ แต่พยายามคิดหาทางแก้ไข หรือ
เซ็กซ์เป็นกิจกรรมที่สร้างสุนทรียภาพให้ชีวิตมนุษย์อย่างหนึ่ง การที่เราสามารถเข้าถึงเซ็กซ์ที่ปลอดภัย แถมรื่นรมย์จึงถือเป็นความสุขง่าย ๆ อย่างหนึ่งของชีวิต แต่เมื่อใดก็ตามที่ผู้ชายก็โหยอยากต้องการกิจกรรมชวนระทวย ทว่าอวัยวะแกนกลางดันไม่เป็นใจ เมื่อนั้นเองที่ความทรมานทรกรรมทั้งใจทั้งกายเริ่มมาเยือน Erectile Dysfunction (ED) หรือการที่น้องชายไม่แข็งตัว จึงเป็นสภาวะแสนกระอักกระอ่วนที่ผู้ชายคนไหนก็ไม่อยากเผชิญ นกเขาไม่ขัน ไม่ใช่แค่สูงวัย แต่อ่อนวัยก็เกิดขึ้นได้ ส่วนมากเรามักเข้าใจว่า Erectile Dysfunction (ED) หรือนกเขาไม่ขันนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ชายอายุมากขึ้น ๆ เท่านั้น แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมากลับพบว่าไม่ได้มีแค่ชายสูงอายุเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับการไม่แข็งตัว โดยผลสำรวจหลายชิ้นระบุไปในทิศทางเดียวกันว่าแม้แต่คนอายุน้อย ๆ หลัก 20 ต้น ๆ ก็ประสบปัญหานี้แล้ว! ผลสำรวจชิ้นหนึ่งมาจากบริษัทยาไวอากร้า ปกติตลาดหลักที่พวกเขาจำหน่ายยาให้คือชายสูงวัย แต่การสำรวจทางการตลาดล่าสุดพบว่าชายหนุ่มราว 14%-35% ก็เผชิญภาวะนกเขาไม่แข็งด้วยเช่นกัน ในขณะที่ Mary Sharpe จากองค์กรการกุศลด้านการศึกษาเรื่องความรัก เพศและอินเทอร์เน็ตกล่าวว่านับตั้งแต่ปี 2002 มานี้ผู้ชายที่อายุต่ำกว่า 40 เผชิญกับอาการนกเขาไม่ขัน 2-3% กระทั่งช่วงปีที่หนังโป๊ออนไลน์เริ่มแพร่หลายมากขึ้น และเราสามารถหาดูหนังโป๊แบบสตรีมมิงได้ง่ายขึ้น จำนวนผู้ชายอายุน้อยที่มีภาวะนกเขาไม่ขันก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงงานวิจัยที่หลายฝ่ายฮือฮาเมื่อปี 2016 ที่มีกลุ่มตัวอย่างเป็นทหารสหรัฐฯ ซึ่งออกมารายงานว่าทหารสหรัฐฯ นั้นมีภาวะอวัยวะเพศไม่แข็งตัวเพิ่มมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ และเมื่อสำรวจแล้วก็พบว่าสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งคือการเสพหนังผู้ใหญ่ในปริมาณที่ล้นเกิน นั่นเป็นที่มาของ Porn-Induced
ความรัก ความสัมพันธ์ไม่ใช่แค่ความหอมหวานราบรื่น ถึงตอนจีบกันใหม่ ๆ ดูจะใช่ไปหมด น่ารักไปทุกสิ่ง แต่ทันทีที่มนุษย์สองคนต้องใช้ชีวิตร่วมกัน (โดยเฉพาะเมื่อต้องย้ายมาอยู่ด้วยกัน) ความน่ารักโรมแมนติกสวยหรูที่เคยฉาบไว้ตอนต้น ก็จะค่อย ๆ หลุดร่อนเผยให้เห็นแก่นแห่งความสัมพันธ์ บางเรื่องก็ยังน่าหลงใหล แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่ชวนให้เบือนหน้าหนี จึงเป็นเรื่องปกติที่เมื่อความสัมพันธ์ดำเนินไป หลายคู่เข้ากันได้ดีกว่าเดิม แต่อีกหลายคู่ที่ไปกันไม่รอด แต่เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางคู่ก็เห็นทะเลาะกันแสนจะบ่อย มีเรื่องให้ต้องถกเถียงกันก็หลายครั้ง แต่ยังไม่เลิกกันสักที? แถมบางหนคู่ที่ดูทะเลาะ ๆ กันนี่แหละดันคบกันยาวยิ่งกว่าคู่ที่ดูราบรื่นเสียอีก? ผลสำรวจชิ้นหนึ่งระบุว่าคู่ที่ทะเลาะกันอย่างมีประสิทธิภาพมีแนวโน้มที่จะมีความสุขกับความสัมพันธ์มากกว่าคู่รักที่ไม่ทะเลาะกัน 10 เท่า! ถ้าอ่านเผิน ๆ คงรู้สึกว่าจะเป็นไปได้ไง? คนทะเลาะกันก็ต้องแปลว่ามีเรื่องคิดเห็นไม่ตรงกัน หรือมีอะไรขัดแย้งกันสิ มันจะมีความสุขกว่าหรือคบกันนานกว่าได้ด้วยเหรอ? แต่การทะเลาะกันอาจไม่ได้เป็นแบบที่เราเข้าใจเสมอไป การเติบโตมาในสังคมที่ทำให้เข้าใจว่าความขัดแย้งหรือการคิดเห็นไม่ตรงกันเป็นเรื่องไม่สงบ แต่จริง ๆ แล้วการที่เรารู้สึกไม่พอใจแล้วเลือกบอกอย่างตรงไปตรงมา หรือคิดเห็นไม่ตรงกันแล้วเลือกแลกเปลี่ยนกันให้ชัดเจนนั้น ถือเป็นการทะเลาะกันอย่างมีประสิทธิภาพที่จะทำให้เราเข้าใจกันได้มากขึ้น ในขณะที่การเงียบ นิ่งเฉย ไม่เคยทะเลาะกันเลย (ถ้าเป็นไปเพราะเข้ากันได้ทุกเรื่องก็นับเป็นกรณีหนึ่ง) แต่จริง ๆ แล้วมีปัญหาสารพัด เรื่องไม่พอใจหลาย ๆ แบบ แล้วเลือกซุกซ่อนปัญหานั้นไว้ใต้พรม สักวันหนึ่งความไม่พอใจเล็ก ๆ เหล่านั้นก็จะสะสมจนเป็นปัญหาเรื้อรังที่แก้ไม่ได้อีกต่อไป คู่รักหลาย ๆ
บนโลกใบนี้จะมีคนที่หลงใหลในการแข่งขันรถยนต์สักกี่คน ที่มีโอกาสได้ใช้เวลาอยู่กับสิ่งที่ตัวเองรักนานกว่า 50 ปี พร้อมผ่านการทำงานในวงการมอเตอร์สปอร์ตมาครบถ้วนทุกตำแหน่ง ตั้งแต่การเป็นนักแข่ง ทีมช่างและผู้พัฒนารถแข่ง รวมไปถึงตำแหน่งเจ้าของทีมแข่งรถสูตร 1 ที่สร้างความสำเร็จเอาไว้มากมายจนกลายเป็นตำนานอีกหนึ่งบทของวงการ Formula 1 เหมือนกับชีวิตของชายที่ชื่อ แฟรงค์ วิลเลียมส์ กับทีม Williams Racing อย่างไรก็ตามแม้จะประสบความสำเร็จและสร้างเกียรติประวัติเอาไว้มากมาย แต่ด้วยปัญหาทางด้านการเงินที่พยายามต่อสู้มานานหลายปี ก็ทำให้ครอบครัววิลเลียมส์ต้องยอมลดบทบาทของตัวเองเพื่อความอยู่รอดทีมรถสูตร 1 ซึ่งปัจจุบันเป็นการแข่งขันที่ต้องใช้เงินทุนในการทำทีมด้วยเงินมูลค่าหลักหลายพันล้านบาท แม้การยุติบทบาทของครอบครัววิลเลียมส์จะทำให้ แคลร์ วิลเลียมส์ รวมถึงตัวของ เซอร์แฟรงค์ วิลเลียมส์ ต้องถอยออกมาจากการทำทีมเพื่อหลีกทางให้กับกลุ่มทุนใหม่ แต่จิตวิญญาณที่หลงใหลในการแข่งรถของชายคนนี้ยังคงถูกจดจำจากคนที่รักในความเร็วเสมอ และวันนี้เราจะพาทุกคนย้อนชมความสำเร็จบนเส้นทางการแข่งขันแห่งโลกความเร็วของชายคนนี้ไปพร้อมกันครับ ฟรานซิส โวเอน กาเบท วิลเลียมส์ หรือ แฟรงค์ วิลเลียมส์ เกิดและเติบโตในย่านเซ้าท์ชีลด์ส เมืองเล็ก ๆ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอังกฤษ ถูกเลี้ยงดูโดยลุงและป้าหลังจากที่พ่อแม่แยกทางกัน ก่อนตัวเขาจำเป็นต้องย้ายเข้าโรงเรียนประจำในประเทศสกอตแลนด์ เพื่อรับโอกาสชีวิตที่ดีขึ้นตามความต้องการของคุณยาย แฟรงค์ในวัยเด็กสนใจในรถยนต์และการแข่งรถอย่างกระตือรือร้นเกินวัย ช่วงเวลาว่างเขามักจะวิ่งไปรอบ ๆ โรงเรียนเพื่อแกล้งทำว่าตัวเองกำลังอยู่ในรถแข่ง รวมถึงชอบเวลามีโอกาสได้นั่งรถยนต์ของผู้ปกครองเพื่อน ๆ แฟรงค์เล่าว่าเมื่อมองย้อนกลับไปมันค่อนข้างไร้สาระ แต่ทั้งหมดก็ได้สร้างตัวตนของเขาที่เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทุกอย่างขึ้นมา เมื่อโตขึ้น
มนุษย์เราใช้เวลากว่า 1 ใน 3 ของชีวิตไปกับการนอนหลับพักผ่อน พวกเราคงทราบดีว่าคุณภาพในการนอนที่ดีจะตามมาด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งความพร้อมในการทำงานรวมไปถึงการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามมีข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับหนุ่ม ๆ ผู้ชื่นชอบการนอนแก้ผ้าหรือ Sleeping Naked เพราะการหลับใหลแบบไร้อาภรณ์ส่งผลดีหลายต่อหลายด้านกับผู้ชายอย่างเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพทางกาย (Physical Health) และสุขภาพจิต (Mental Health) ซึ่งข้อดีทั้งหมดประกอบด้วยอะไรบ้าง มาทำความรู้จักไปพร้อมกันเลย ประโยชน์ข้อแรกของการ Sleeping Naked คือการช่วยให้นอนหลับหรือเข้าสู่วงจรการนอนหลับ (REM Cycle) ได้เร็วยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการนอนหลับสนิทคือระหว่าง 15.6 ถึง 19.4 องศาเซลเซียส (*source: https://www.sleep.org) ซึ่งการ Sleeping Naked จะช่วยให้ร่างกายปรับอุณหภูมิลดลงจนถึงจุดที่เหมาะสมได้เร็วกว่าการนอนแบบใส่เสื้อผ้าร่างกายจึงการเข้าสู้ภาวะหลับเร็วขึ้น Tip: เลิกใช้งานสมาร์ตโฟน แล็ปท็อปและทีวีก่อนเวลาเข้านอนอย่างน้อย 40 นาทีจะช่วยให้นอนหลับได้เร็วขึ้น ประโยชน์ข้อต่อมาของ Sleeping Naked คือช่วยให้เราจัดการอารมณ์ระหว่างวันได้ดีขึ้นจากการนอนที่มีคุณภาพ โดยจากการศึกษาของ The Journal of Gerontology ระบุว่ารูปแบบและคุณภาพในการนอนหลับมีผลโดยตรงกับระดับความเครียด
การจากไปของแชดวิก โบสแมน นักแสดงวัย 43 ด้วยโลกมะเร็งลำไส้ถือเป็นข่าวร้ายและการสูญเสียครั้งสำคัญกับแฟน ๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ตามแม้ตัวจะจากไปแต่ผลงานการแสดงในภาพยนตร์หลายเรื่องที่เขาเคยฝากฝีมือการแสดงเอาไว้ล้วนแล้วแต่มีคุณค่าน่าจดจำ และวันนี้เราอยากขอนำเอา 5 ภาพยนตร์สำคัญในชีวิตการแสดงของ แชดวิก โบสแมน มาแนะนำให้ทุกคนได้ชมกันอีกครั้ง จะประกอบไปด้วยเรื่องไหนมาทำความรู้จักไปพร้อมกันได้เลยครับ 42 (2013) 42 ภาพยนตร์ที่พูดถึงชีวประวัติของแจ็คกี้ โรบินสัน ตำนานนักเบสบอลผิวดำผู้ทำลายกฎแห่งสีผิวที่เคยมีอยู่ในวงการเบสบอลว่าครั้งหนึ่งนี่คือกีฬาของคนขาวเท่านั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องแรก ๆ ที่แชดวิก โบสแมนได้รับบทนำโดยก่อนหน้านั้นเขาปรากฏตัวอยู่ในผลงานอย่าง Third Watch และ CSI: NY อย่างไรก็ตามการแคสต์เลือกแชดวิก โบสแมนมารับบทนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่เหมาะสม เพราะเขาได้ถ่ายทอดตัวตนของแจ็คกี้ โรบินสันออกมาได้อย่างน่าสนใจไม่ว่าจะเป็นความทุ่มเทในสนามแข่งในฐานะยอดนักกีฬาจนสามารถเอาชนะใจของผู้คนที่รอบ ๆ ตัวได้ รวมถึงบทบาทของสามีผู้แข็งแกร่งที่เคียงข้างภรรยาอย่างอบอุ่นในทุกสถานการณ์ ทั้งหมดทำให้ 42 เป็นอีกหนึ่งผลงานที่ไม่ควรพลาดของนักแสดงคนนี้ Get On Up (2014) Get On Up ภาพยนตร์ชีวประวัติอีกเรื่องที่พิสูจน์ฝีมือการแสดงของแชดวิก โบสแมน ได้เป็นอย่างดีกับการรับบทเป็นเจมส์ บราวน์ (James Brown) ตำนานนักร้องและนักแต่งเพลงโซลผิวดำผู้เป็นต้นแบบให้กับบบทเพลงโซลและริธึ่ม-บูลในยุคปัจจุบัน
หลายคนอาจไม่ค่อยชอบสิ่งที่เรียกว่า ‘ความกลัว’ เท่าไหร่ เพราะมันทำให้เราทุกข์ และบางครั้งมันก็รบกวนชีวิตเราจนเราไม่เป็นอันทำอะไร แต่รู้ไหมว่า ความกลัวส่วนใหญ่มักไม่เกิดขึ้นจริง เป็นเพียงสิ่งที่เราคิดไปเอง และความกลัวก็มีประโยชน์ถ้าเรารู้จักใช้ประโยชน์จากมัน ซึ่งในบทความนี้ UNLOCKMEN อยากให้อธิบายเรื่องเหล่านี้ให้ทุกคนฟัง หลายคนอาจคุ้นเคยกับแนวคิดที่ว่า ‘ความกลัวเป็นสิ่งที่ไม่จริง’ เพราะเคยดูภาพยนตร์แนวไซไฟเรื่อง ‘After Earth (2013)’ ซึ่งมีฉากหนึ่งที่ ตัวละครเอก Cypher Raige (Will Smith) ผู้บัญชาการหน่วยยูไนเต็ด เรนเจอร์ ได้สั่งสอนลูกชายของเขา Kitai Raige (Jaden Smith) ถึงเรื่องของความกลัวไว้ได้อย่างคมคายว่า “ความกลัวเป็นสิ่งที่ไม่จริง ความกลัวอยู่ได้แค่ในการคิดถึงอนาคตของเราเอง มันเป็นผลผลิตของจินตนาการ ทำให้เรากลัวในสิ่งที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นเลยในปัจจุบัน และอาจจะไม่มีวันเกิดขึ้น (Fear is not real. The only place that fear can exist is in our thoughts of the future.
ย้อนเวลากลับไปก่อนหน้านี้ไม่กี่ปี ใครจะเชื่อว่า “รอยสัก” ที่เคยเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนหวาดกลัว ถูกตีตราว่าจะเป็นหนทางดับความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ติดอยู่กับวงจรภาพลักษณ์สีเทา-ดำ วันนี้จะพลิกผันกลายเป็นสิ่งที่สังคมเปิดรับในฐานะศิลปะ เป็นจุดเริ่มต้นบทสนทนาระหว่างคนแปลกหน้า และถึงขนาดส่งเสริมคาแรกเตอร์ให้กับคนบางสาขาอาชีพเสียด้วยซ้ำ เวลาเปลี่ยนขั้วลบเป็นขั้วบวก เปลี่ยนมุมมองผู้คน แต่ทุกอย่างยังต้องอาศัยความกล้าจากการบุกเบิกทั้งนั้น “ปอ หรือดีเจปอ – วรฐก์ ปิฏกานนท์” เท่าที่คนทั่วไปและเรารู้จักคือชายในวงการบันเทิงคนแรก ๆ ที่เปิดเผยรอยสัก และวันนี้เขาเองก็ยังคงเป็นคนไทยคนแรก ๆ ที่สร้างแชนแนลพูดถึงศิลปะบนเรือนร่างแขนงนี้อย่างเปิดเผยในรายการ “Tattoo Brothers สักแต่พูด” รายการมันส์ ๆ เสพง่ายที่ไม่ได้เริ่มต้นมาง่าย ๆ แต่มีเบื้องหลังมากมายที่ทำให้ UNLOCKMEN ต้องหาโอกาสคุยกับเขาวันนี้ “สักตามใจ” ที่ไม่ได้แปลว่า “สักตามใคร” วัย 17-18 ปี ปอมีรอยสักรอยแรกจากความผิดพลาด วัย 47 ปีในวันนี้ ปอมีรอยสักหลายตำแหน่งบนร่างกาย เขาอยู่ในวงการบันเทิง และผันตัวกลายเป็น YouTuber รายการ “Tattoo Brothers – สักแต่พูด” ที่ใครหลายคนติดตาม บางคนก็ได้เขาเป็นไอดอลจนอยากไปเริ่มสัก
หลายคนคงเคยมีช่วงเวลาที่เรียกตัวเองว่าเป็น ไอ้ขี้แพ้ (Losers) อยู่บ้าง บางคนอาจจะเรียกตัวเองแบบนั้นเพียงชั่วคราว เพราะเจอกับความล้มเหลวมา แต่พอเวลาผ่านไปสักพักก็อาจลืมมันไป แต่สำหรับบางคนอาจเจอกับปัญหาที่ซับซ้อนกว่านั้น จนอาจตัดสินไปแล้วว่าตัวเองเป็นไอ้ขี้แพ้ตัวจริง และไม่มีวันที่จะเป็นผู้ชนะได้ (winners) หรือ ผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ ซึ่งในบทความนี้ UNLOCKMEN อยากอธิบายให้ฟังทุกคนเข้าใจว่า ไอ้ขี้แพ้ อาจเป็นสิ่งที่เราสร้างกันขึ้นมาเอง และสามารถเปลี่ยนแปลงกันได้ ก่อนอื่นเราอยากให้ทุกคนเข้าใจความหมายของคำว่า ‘ไอ้ขี้แพ้’ (Losers) ตรงกันก่อน ในบทความนี้เราหมายถึง “คนที่อยากเป็นเหมือนกับคนอื่นที่ประสบความสำเร็จ แต่ไม่ยอมลงมือทำอะไรเพื่อให้ตัวเองไปอยู่ในจุดเดียวกับคนเหล่านั้น อาจเป็นเพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีพรสวรรค์ หรือความสามารถเหมือนคนอื่น (แต่ก็ไม่ยอมพัฒนาตัวเอง) กล่าวโทษเรื่องนั้น เรื่องนี้ว่าเป็นอุปสรรค์ (แต่ก็ไม่ยอมลงมือแก้ไข)” ซึ่งที่มาของ losers เราเชื่อว่า ไม่มีใครเกิดมาพร้อมกับนิสัยขี้แพ้ แต่พวกเขาล้วนเคยผ่านประสบการณ์แย่ๆ มาก่อน เช่น เคยถูกผู้ที่มีอำนาจ (เช่น ครู หรือผู้ปกครอง) คุกคาม เคยถูกกลั่นแกล้งในวัยเด็ก เคยอกหักจากคนรัก หรืออาจเคยพยายามทำงานที่ยิ่งใหญ่ให้ประสบความสำเร็จ แต่สุดท้ายต่อให้พยายามยังไงก็ล้มเหลวอยู่ดี เหตุการณ์นี้จึงกลายเป็นปมในใจของเขา และทำให้เขาสูญเสียความทะเยอทะยานในการทำสิ่งต่างๆ ไป เป็นต้น ประสบการณ์แย่ ๆ เหล่านี้ได้หล่อหลอมให้พวกเขากลายเป็นไอ้ขี้แพ้
เคยสงสัยไหมว่าทำไมเราเห็นคนยากคนจน หรือคนป่วยหนักจนใช้ชีวิตลำบากแล้วรู้สึกสงสาร พร้อมจะควักเงินในกระเป๋ามอบให้เพื่อช่วยเหลือทันที หรือเห็นคอมเม้นด้านลบในโพส Facebook ของเพื่อนเราแล้วอยากช่วยปกป้อง พฤติกรรมเหล่านี้คือการช่วยเหลือคนอื่น หรือ Altruism ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งวันนี้ UNLOCKMEN จะอธิบายให้ฟังว่า Altruism คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร? และจะพัฒนาให้ช่วยเหลืออย่างเหมาะสมจนไม่เดือนร้อนตัวเองได้อย่างไร? Altruism คือ ลักษณะของมนุษย์ที่ใส่ใขความอยู่เย็นเป็นสุข และทำในสิ่งที่ช่วยเหลือผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น อาจจะยอมสละชีวิตเพื่อปกป้องคนอื่น หรือ บริจาคเงินช่วยเหลือให้มูลนิธิต่างๆ เป็นต้น โดย altruism มักจะมาพร้อมกับลักษณะของมนุษย์อีกอย่างหนึ่ง คือ ความเห็นอกเห็นใจ (empathy) ที่เกิดควบคู่กัน ในสถานการณ์ที่เราพบกับคนที่ตกอยู่ในสถานการณที่ยากลำบาก เราเกิดความเข้าอกเข้าใจเขา พร้อมความรู้สึกอยากช่วยเหลือ ส่วนเหตุผลที่ทำให้เราเป็นคนที่มี altruism นั่นมีหลากหลาย โดย นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ยกทฤษฎี และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มาอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น – เหตุผลทางชีววิทยา (biological reasons) ตามที่หลักทฤษฏีวิวัฒนาการว่าด้วยการคัดเลือกโดยญาติ (Kin Selection) ได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์มักช่วยเหลือคนที่มีสายเลือดเดียวกันมากกว่าคนอื่น เพราะมีความต้องการที่จะส่งต่อพันธุกรรมของเผ่าพันธ์ุตัวเองไปยังคนรุ่นถัดไป ดังนั้น