เหล้ากับบุหรี่นับเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันเสมอในร้านเหล้า บางคนอยู่ข้างนอกไม่แตะบุหรี่เลย แต่พอเข้าร้านเหล้ากลับกลายเป็นสิงห์อมควันไปซะงั้นก็มี UNLOCKMEN อยากมาอธิบายว่าทำไมเวลาดื่ม เราถึงรู้สึกอยากดูดบุหรี่ ทำไมคนถึงอยากสูบบุหรี่ตอนดื่ม ความต้องการอยากสูบบุหรี่เกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัย โดยปัจจัยแรก ได้แก่ ความสามารถของนิโคตินที่มีผลต่อความทรงจำของเรา ส่วนปัจจัยที่สอง คือ ความสามารถของนิโคตินในการทำงานร่วมกับแอลกอฮอล์เพื่อลดระดับโดปามีนในร่างกาย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Baylor College of Medicine ได้ทำการศึกษาสมองของหนูทดลองที่ได้รับ ‘นิโคติน’ สารเสพติดที่อยู่ในบุหรี่ โดยพวกเขาปล่อยให้หนูใช้ชีวิตในสิ่งแวดล้อมจำลองที่มีลักษณะเป็นสองห้องแยกกัน โดยห้องแรกหนูจะได้รับนิโคติน ส่วนอีกห้องหนูจะได้รับน้ำเกลือ และหลังจากนั้นนักวิจัยจะทำการศึกษากิจกรรมที่เกิดขึ้นใน hippocampus หรือ สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความทรงจำของหนู ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเทียบกับน้ำเกลือ การได้รับนิโคตินจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างความทรงจำที่แข็งแรง เพราะสารเคมีได้ทำให้การเชื่อมต่อของเส้นประสาทมีความแข็งแกร่งขึ้นมากถึง 2 เท่า ซึ่งปรากฎการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการสร้างความทรงจำที่แข็งแกร่งด้วย หนูทดลองยังเรียนรู้ที่จะใช้เวลาในห้องนิโคตินมากกว่าส่วนอื่นด้วย เพราะเวลาได้รับนิโคติน การเชื่อมต่อของเส้นประสาทไซแนปส์ติกมีความแข็งแรงขึ้น โดยเฉพาะในเวลาที่ศูนย์การให้รางวัลของสมองส่งสัญญาณโดปามีน (สารเคมีที่ทำให้เรารู้สึกดี) กล่าวคือ สมองสร้างความทรงจำที่จับคู่นิโคตินกับความรู้สึกดี (หรือ การทำงานของโดปามีน) หนูจึงรู้สึกชอบห้องที่มีนิโคตินมากกว่าห้องอื่น นอกจากนี้ทีมวิจัยยังทดสอบสมมติฐานที่ว่า การรับนิโคตินและแอลกอฮอล์พร้อมกันจะช่วยให้ระดับของโดปามีนสูงขึ้นด้วย แต่ผลที่ออกมากลับไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ แม้หนูที่ได้รับนิโคตินจะบริโภคแอลกอฮอล์มากขึ้น แต่ระดับโดปามีนของพวกมันกลับไม่เพิ่มขึ้นเลย หลังจากทดลองซ้ำหลายครั้งผลก็ออกมาเป็นเหมือนเดิม
คนส่วนมากอยากเป็นเจ้าของชีวิตของตัวเอง อยากมีอิสระในการตัดสินใจ หรือ ควบคุมทุกเหตุการณ์ที่ตัวเองเผชิญ แต่ก็มีหลายคนเหมือนกันที่รู้สึกว่าชีวิตของตัวเองไม่มีอิสระเอาเสียเลย เพราะเจอกับเจ้านายที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางและไม่ยอมรับฟังสิ่งที่พวกเขาพูด หรือ พวกเขากำลังอยู่ในความสัมพันธ์แบบ Toxic Relationship ที่ต้องยอมทนกับอีกฝ่ายทุกอย่าง และสะสมความอึดอัดใจไว้ที่ตัวเองเดียว หากเราไม่มีอิสระในการตัดสินใจหรือในการจัดการกับชีวิตตัวเอง เราจะมีปัญหาทั้งเรื่องการใช้ชีวิตและการทำงาน เพราะเราจะรู้สึกแย่และหมดแรงจูงใจในการใช้ชีวิต UNLOCKMEN เลยอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับทฤษฎีที่เรียกว่า Self-determination หรือ การกำหนดตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้เราใช้ชีวิตอย่างมีแพสชันไปยาวนาน เกี่ยวกับทฤษฎี Self-determination ย้อนกลับไปเมื่อ 1971 นักจิตวิทยาชื่อว่า Edward Deci ได้ทำงานวิจัยชื้นหนึ่ง โดยเขามอบหมายให้นักเรียนจิตวิทยา 2 กลุ่มทำการแก้ไขปริศนาลูกบาศก์โซมา (Soma cube) เป็นเวลา 3 ช่วง โดยในช่วงที่สอง นักเรียนกลุ่มหนึ่งจะได้รับเงินตอบแทนทุกครั้งที่แก้ไขปริศนาได้สำเร็จและอีกกลุ่มจะไม่ได้อะไรเลย ส่วนในช่วงที่หนึ่งและสาม ไม่มีนักเรียนกลุ่มใดที่ได้รับเงินตอบแทนจากการแก้ปริศนาสำเร็จ หลังจากที่ Deci ประกาศว่าหมดเวลาในการแก้ไขปริศนา และนักเรียนถูกทิ้งไว้ในห้องทดลองสักพัก กลุ่มนักเรียนที่เคยได้รับเงินจากการแก้ไขปริศนา ก็หันเหความสนใจจากภารกิจไปทำอย่างอื่น เช่น อ่านนิตยสาร ในขณะที่กลุ่มที่ไม่เคยได้รับเงินเลยจะพยายามแก้ไขปริศนาต่อไป นำไปสู่ข้อสรุปของการทดลองที่ว่า “คนที่ได้รับเงินไม่รู้สึกถึงแรงจูงใจภายใน (intrinsic motivation)
การจบบทสนทนานับเป็นสกิลที่ผู้ชายทุกคนควรมี เพราะผู้ชายอย่างเราต้องเข้าสังคม และทักษะการจบบทสนทนาจะช่วยให้เราสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนอื่นได้ แต่หลายคนคงพบว่าการจบบทสนทนาเป็นเรื่องยากมาก เพราะไม่รู้ว่าควรจะตัดจบยังไงให้ดูไม่น่าเกลียด UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำเทคนิคการจบบทสนทนาอย่างสมูท โดยไม่ทำให้อีกฝ่ายต้องเสียความรู้สึก มีเป้าหมายที่ชัดเจน เวลาจะไปพบใครก็ตาม เราควรจำไว้เสมอว่าเราไปพบกับเขาเพื่ออะไร เช่น ต้องการหาคู่ หรือ ต้องการเจรจาทางธุรกิจ การตั้งเป้าหมายจะช่วยให้เรารู้ว่าควรพูดคุยกับอีกฝ่ายประมาณไหน ป้องกันการพูดหรือฟังมากเกินไป จนจบบทสนทนาได้ยาก แถมยังช่วยให้เรากล้าตัดสินใจมากขึ้นด้วย ถ้าเราเจอกับสถานการณ์ที่ต้องทำร้ายจิตใจอีกฝ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รอจนบทสนทนาเริ่มสงบ รอสัญญาณจากอีกฝ่ายที่แสดงให้เห็นว่าบทสนทนากำลังจะจบลงแล้ว ซึ่งสัญญาณมักมาในรูปแบบของคำพูด เช่น “อืม” “โอเค” หรือ “เออ” เป็นต้น คำเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าอีกฝ่ายเริ่มหมดเรื่องที่จะพูดกับเราแล้ว และเราสามารถใช้โอกาสนี้ในการเปลี่ยนเรื่องคุย หรือ ตัดจบบทสนทนาที่กำลังเกิดขึ้นได้ จบด้วยเป้าหมายในการสนทนา เราควรยึดเป้าหมายในการสนทนาตั้งแต่ต้นจนจบบทสนทนา ยกตัวอย่างเช่น ถ้าตอนแรกเราขอคำแนะนำจากเพื่อนเรื่องคลาสที่น่าเข้าเรียน เราอาจออกจากบทสนทนาโดยใช้ประโยคจบที่เชื่อมกับเป้าหมายในตอนแรก เช่น “ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ เราจะลงเรียนวิชานี้ให้ทันในเทอมหน้า” เป็นต้น จบด้วยการขอบคุณ ไม่ว่าคุณจะสนทนากับใคร หากต้องการจบบทสนทนาอย่างสุภาพ ควรจบด้วยการขอบคุณเสมอ เช่น ขอบคุณที่อีกฝ่ายสละเวลามาคุยกับเรา หรือ บอกกับอีกฝ่ายว่าการพูดคุยในครั้งนั้นสนุกมากแค่ไหน เป็นต้น
เราสามารถคิดมากได้ทุกที่ทุกเวลา นอน ๆ อยู่ เราก็สามารถคิดถึงคนรักเก่าในอดีต หรือ กลัวเรื่องการทำงานพลาดขึ้่นมา ซึ่งความกังวลที่แสนจะไร้เหตุผล และดูไม่มีปี่มีขลุ่ยแบบนี้ เรามักเรียกกันว่าเป็น Free Floating Anxiety ซึ่งถ้ามันเกิดขึ้นบ่อย ก็อาจเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการทำงานและการใช้ชีวิตของได้เหมือนกัน Free Floating Anxiety คือ ความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว โดยความรู้สึกนี้อาจถูกกระตุ้นโดยสิ่งของหรือสถานการณ์บางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น อยู่ดี ๆ เราก็เกิดกังวลเรื่องการ pitch งาน หรือ การสอบที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ขึ้นมา เป็นต้น อาการนี้มักเกิดขึ้นร่วมกับ อาการวิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder หรือ GAD) และทำให้เราเกิดความรู้สึกไม่สบายใจ กังวล หรือ ตื่นตระหนก และใช้ชีวิตประจำวันได้ยากเย็นมากขึ้น ดังนั้น หากเกิดอาการนี้ถี่และบ่อยการพบจิตแพทย์ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง คนที่เป็น Free Floating Anxiety มักวิตกกังวลมากจนขาดสมาธิในการใช้ชีวิตและการทำงาน มักรู้สึกกลัวเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและรู้สึกตื่นตระหนกอยู่ตลอดเวลา แถมยังรู้สึกว่าตัวเองเครียดจนนอนไม่หลับบ่อย และมีปัญหาเรื่องความเหนื่อยล้าอีกด้วย ปัญหานี้จึงแย่ต่อเรามากพอสมควร อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีใครอธิบายได้ว่า
ตอนนี้การลงทุนในทรัพย์สินดิจิทัล เช่น สกุลเงินคริปโต (Cryptocurrency) กำลังเป็นเทรนด์ยอดฮิตที่หลายคนให้ความสนใจ บางคนอาจซื้อเหรียญคริปโต เช่น Bitcoin หรือ Ethereum เก็บไว้รอเกร็งกำไรในอนาคต หรือ บางคนอาจลงทุนใน GameFi และใช้มันในการทำรายได้ให้ตัวเอง แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนดิจิทัลแบบไหนก็ควรระวังสิ่งที่เรียกว่า ‘เสพติดการลงทุนในสกุลเงินคริปโต’ (Cryptocurrency Addiction) ซึ่งเป็นอาการที่ทำให้ชีวิตของเราย่ำแย่ลงได้เหมือนกัน Cryptocurrency Addiction เกิดขึ้นได้อย่างไร เนื่องตลาดซื้อขายคริปโตไม่มีตัวกลาง (เช่น ธนาคาร) ที่ทำหน้าที่ดูแลการทำธุรกรรมของคนในตลาด การซื้อขายเงินสกุลนี้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ราคาของสกุลเงินคริปโตจึงผันผวนได้ง่ายกว่าการลงทุนประเภทอื่น กล่าวคือ ในเวลาเพียงแค่เสี้ยววินาที เราอาจได้รับเงินจำนวนมหาศาล และสูญเสียเงินจำนวนมหาศาลได้ นอกจากนี้เป็นตลาดที่เปลี่ยนแปลงง่ายแล้ว มันยังเป็นตลาดที่เปิดแบบไม่มีวันหยุด และเปิดตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้หลายคนเสพติดการลงทุนในคริปโตไม่ต่างจากการเสพติดการพนัน หากใครสงสัยว่าตัวเองเสพติด ลองเช็คดูว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ ได้แก่ เสียเวลาไปกับการเทรดคริปโตมากเกินไป เช็คและกังวลเรืองราคาของหรียญตลอดเวลา จนลืมเรื่องงาน หรือ การทำกิจกรรมอื่นไป มีหนี้สิ้นสะสม หรือ เจอกับปัญหาด้านการเงิน เนื่องจากการเทรดคริปโต โกหกคนรอบตัวเรื่องพฤติกรรมการเทรดคริปโต อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย (mood swing)
ประสบการณ์ที่เลวร้ายมักทำให้หลายคนเกิดอาการคิดมากจนเกินไปอยู่เสมอ เช่น บางคนไม่กล้าเปลี่ยนงานใหม่ เพราะกลัวว่าตัวเองจะหางานไม่ได้ หรือ ไม่เจองานที่ดีกว่า หรือ บางคนอาจเครียดเรื่องการเรียน เพราะกลัวว่าผลการศึกษาที่ไม่ดีจะทำให้ตัวเองกลายเป็นแรงงานที่ไร้คุณค่า เป็นต้น เรามักเรียกความกังวลที่เกิดขึ้นว่าเป็น Catastrophizing และถ้าเราไม่รู้จักวิธีการป้องกัน อาจทำให้เราเสียสุขภาพจิตได้ ความหมายของ Catastrophizing Catastrophizing คือ การจินตนาการถึงเหตุการณ์ที่เลวร้าย และเชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นกับตัวเองอย่างแน่นอน โดยคนที่มีอาการนี้มักมองโลกในแง่ลบ และมองเห็นปัญหาที่ตัวเองกำลังเผชิญอยู่นั่นหนักหนาสาหัสเกินความเป็นจริง จนพวกเขารู้สึกสิ้นหวังและตกอยู่ในความเครียดตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพวกเขากังวลกับการสอบตก พวกเขาจะคิดว่า การสอบตกทำให้ตัวเองกลายเป็นนักศึกษาที่ไม่ดี เรียนไม่จบ หรือ ไม่ได้รับใบปริญญา และไม่มีใครรับเข้าทำงาน สุดท้ายพวกเขาจึงด่วนสรุปไปเองว่า การสอบตกจะทำให้พวกเขาไม่มีความมั่นคงในชีวิต ซึ่งในเป็นความจริง คนที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากก็เรียนหนังสือไม่จบ หรือ เคยสอบตกมาก่อน แต่คนที่ Catastrophizing มักไม่คิดถึงเรื่องนี้ และหมกหมุ่นกับความคิดอันเลวร้ายของตัวเองเป็นตุเป็นตะ จนได้รับความเสียหายทางจิตใจอย่างแสนสาหัส ยังไม่มีใครตอบได้ว่า Catastrophizing เกิดขึ้นได้อะไร แต่หลายคนคาดว่ามันเกิดขึ้นได้หลากสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ได้รับข้อความที่มีความหมายกำกวมจนเราเกิดอาการคิดไปไกล เราให้ความสำคัญกับอะไรมากเกินไปจนคิดมาก หรือ เรากลัวอะไรบางอย่างมาเกินไป จนเรายิ่งคิดถึงผลลัพธ์แย่ ๆ ที่จะได้รับจากมัน
คงไม่มีใครอยากพัฒนาคนที่ทำกำไรให้กับธุรกิจของตัวเอง เพราะนอกจากจะทำให้เสียทุนเปล่าแล้ว มันทำให้บริษัทไม่พัฒนาไปข้างหน้าอีกด้วย ผู้บริหารย่อมอยากพัฒนาคนที่สามารถทำกำไรให้บริษัทได้มากขึ้น และอยู่กับบริษัทไปนาน ซึ่งเครื่องมือนึงที่จะช่วยให้ผู้บริหารเลือกพัฒนาคนได้ถูกจุด คือ กฎ 10-80-10 ที่มาของ 10-80-10 rule กฎ 10-80-10 คือ กฎที่พัฒนามาจาก Pareto principle ของ Vifredo Pareto นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาลี ซึ่งอธิบายว่า ผลงานหรือความร่ำรวย 80% เกิดขึ้นจากประชากรเพียง 20% เท่านั้น ต่อมาในช่วงปี 1940 Joseph M. Juran วิศวกรชาวอเมริกัน ได้นำกฎนี้มาประยุกต์ให้เข้ากับพฤติกรรมของคนมากขึ้น โดยมีใจความว่า 80% ของความสำเร็จในโปรเจ็กต์ใดโปรเจ็กต์หนึ่ง เกิดขึ้นจากการลงแรงของทีมเพียง 20% จนถึงปัจจุบันมีกลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่ เช่น John Leach นำ Pareto principle มาพัฒนาให้เข้ากับพฤติกรรมของคนมากขึ้น จนเกิดเป็นกฎใหม่ชื่อว่า 10-80-10 ซึ่งแบ่งความสำคัญของสิ่งต่าง ๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม
หลายคน พอยิ่งโต อาจยิ่งควบคุมอารมณ์ได้เก่งขึ้น แต่ก็มีบางคนเหมือนกันที่ถูกมองว่าเป็นเด็กอยู่ตลอดเวลา เพราะพวกเขาชอบทำอะไรตามใจ และไม่ค่อยคิดถึงผลของการกระทำของตัวเอง สุดท้ายพวกเขาก็ตัดสินใจได้แย่อยู่เสมอ จนเกิดผลเสียต่อตัวเองและคนรอบข้าง เราเรียกพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นว่า ’Impulsivity’ ซึ่ง UNLOCKMEN ได้นำวิธีป้องกันพฤติกรรมดังกล่าวมาฝากทุกคนด้วย อะไร คือ Impulsivity นักจิตวิทยาใช้คำว่า ‘Impulsivity’ ในการอธิบายพฤติกรรมลงมือทำอะไรบางอย่างโดยไม่คิดถึงผลลัพธ์ที่ตามมา เช่น การเสียเงินให้กับสิ่งล่อตาล่อใจได้ง่าย หริอ เดินข้ามถนนโดยไม่มองซ้ายมองขวา เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้มักส่งผลเสียต่อเราและคนรอบข้าง เพราะการทำอะไรแบบไม่ยั้งคิด อาจนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ไม่คาดฝันได้ เช่น การสูญเสียคนรัก การสูญเสียเงินโดยใช้เหตุ หรือ การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นต้น Impulsivity เกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยเฉพาะกับเด็กที่ยังไม่ค่อยมีวุฒิภาวะมากนัก และสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ความผิดปกติของสมองส่วน Prefrontal Cortex ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลในการตัดสินใจ การสืบทอดความผิดปกติทางกรรมพันธ์ุ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิด Impulsivity ไปจนถึงความผิดปกติทางจิตประเภทต่าง ๆ เช่น ภาวะอารมณ์สองขั่ว โรคสมาธิสั้น (ADHD) ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD) รวมไปถึง ความผิดปกติในการควบคุมตัวเอง
พอรู้ว่าลูกชายหรือลูกสาวที่ตัวเองเลี้ยงมากับมือตั้งแต่เล็กจนโต จะต้องออกจากบ้านไปทำงานหรือเรียนในที่ห่างไกลการดูแล ผู้ปกครองมักรู้สึกสับสนหรือรู้สึกไม่สบายใจจากการสูญเสียสมาชิกในบ้าน และบรรยากาศรอบตัวที่เหงาลง เราเรียกอาการที่เกิดขึ้นว่าเป็น ‘Empty Nest Syndrome’ ซึ่งทำลายสุขภาพจิตของผู้นำครอบครัวได้อย่างมาก หากไม่ได้รับการดูแลที่ดี UNLOCKMEN จึงอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จักวิธีรับมือกับอาการนี้ให้อยู่หมัดกัน Empty Nest Syndrome คือ อะไร Empty Nest Syndrome คือ อาการโศกเศร้าของผู้ปกครองที่เกิดขึ้นหลังจากลูกของพวกเขาได้ออกจากรังหรือบ้านของพวกเขาไป การสูญเสียสมาชิกในบ้านทำให้ผู้ปกครองต้องเจอกับการสูญเสียครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น สูญเสียหน้าที่และชีวิตประจำวันในฐานะผู้ปกครอง หรือ สูญเสียการใช้เวลาร่วมกับลูกตัวเอง เป็นต้น ส่งผลให้พวกเขาเกิดความเจ็บปวด และอาจต้องใช้เวลาพักใหญ่กว่าจะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ ความน่ากลัวของอาการ Empty Nest คือ มันทำให้ผู้ปกครองเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและอาการติดสุรามากขึ้น เพราะความรู้สึกแย่ ๆ ที่เกิดขึ้นค่อนข้างบั่นทอนจิตใจพวกเขามากสมควร จนบางคนอาจเลือกที่จะหนีจากความเจ็บปวดโดยการใช้ของมึนเมาเป็นตัวช่วย แต่ในอีกด้านหนึ่ง มันก็ช่วยลดความขัดแย้งเรื่องงานหรือครอบครัวได้เหมือนกัน เพราะคู่รักบางคู่อาจโฟกัสกับเรื่องลูกเป็นหลักมาตลอด จนเมื่อภาระเรื่องลูกหายไป พวกเขาก็สามารถกลับมาโฟกัสกับเรื่องความสัมพันธ์ได้มากขึ้น และมีชีวิตสมรสที่มีคุณภาพมากกว่าเดิม เราจะรับมือกับ Empty Nest Syndrome ได้อย่างไรบ้าง คนที่เจอกับ Empty Nest
เวลาทำงานสักชิ้น หลายคนคงอยากจะทำให้มันดีที่สุด ผิดพลาดน้อยที่สุด และเป็นไปตามที่เราหวังไว้มากที่สุด แต่หลายครั้งเหมือนกันที่เราพบว่า แม้งานโดยรวมจะออกมาจะดี แต่ข้อผิดพลาดเล็กบ้างน้อยบ้างที่เกิดขึ้น ทำให้เรารู้สึกหัวเสียมากกว่าที่จะดีใจกับงานที่สำเร็จแล้ว เป็นเพราะธรรมชาติของเรามีกลไกที่เรียกว่า ‘อคติเชิงลบ (negativity bias)’ ที่ทำให้สมองของเรามองว่าเรื่องเลวร้าย ข้อผิดพลาด หรือ ข้อเสีย มีความสำคัญมากกว่า เรื่องดี ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต งานวิจัยที่ทำโดย John Cacioppo ได้ทำการโชว์ภาพที่กระตุ้นอารมณ์เชิงบวก (เช่น ภาพรถเฟอร์รารี่ หรือ พิซซ่า) ภาพที่กระตุ้นอารมณ์ด้านลบ (เช่น ภาพแมวตาย) และภาพที่ให้อารมณ์เป็นกลาง (เช่น ภาพจาน หรือ เครื่องเป่าผม) แก่ผู้ที่เข้าร่วมการทดลอง พร้อมกับทำการบันทึกกิจกรรมของกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นใน เปลือกสมอง (cerebral cortex) ซึ่งมีความสำคัญต่อการรับข้อมูล จากงานวิจัย Cacioppo พบว่า สมองจะมีปฏิกริยาอย่างรุนแรงต่อสิ่งเร้าเชิงลบ โดยมันจะทำให้เกิดการทำงานของกระแสไฟฟ้ามากขึ้นในสมอง กล่าวได้ว่า ทัศนคติของเราได้รับอิทธิพลอย่างมากจากข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี ด้วยการทำงานของสมองแบบนี้ เราจึง ‘วิจารณ์ตัวเอง (self-criticism)’ บ่อยครั้งด้วยคำพูด เช่น