การปฏิเสธงานเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเสมอ เพราะหลายคนกลัวว่าการเซย์โน หรือ การโยนงานให้คนอื่น จะทำให้ตัวเองสูญเสียความน่าเชื่อถือ หรือ ทำให้ตัวเองดูไม่ดีในสายตาของเพื่อนร่วมงาน จนการงานไม่มีความมั่นคง สุดท้ายก็เลยรับงานที่ไม่พร้อมจะทำมาสะสมไว้ จนนาน ๆ เข้า เราก็ต้องปวดหัวกับ to-do list ที่ยาวเป็นหางว่าว และประกอบไปด้วยงานที่ดูดพลังอย่างแสนสาหัส เราจึงจำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์ที่จะช่วยให้เรากำจัดงานที่ไม่จำเป็นออกจากชีวิต นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรมี รายการของสิ่งที่ไม่ควรทำ (not-to-do-list) รายการของสิ่งที่เราไม่ควรทำ หรือ ควรหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด วิธีการทำ not-to-do-list สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการจัดการเวลา not-to-do-list จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยได้มาก เพราะมันเหมือนเป็นกรอบ หรือ ตัวช่วยเตือนเราถึงสิ่งที่ไม่ควรทำ เราจะกำจัดงานที่ไม่มีคุณค่าได้ง่ายขึ้น สามารถโฟกัสกับงานที่สำคัญได้มากขึ้น และท้ายที่สุดเราก็จะมีเวลาในการหายใจหายคอมากขึ้น มันยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้นิสัยแย่ ๆ (เช่น การผลัดวันประกันพรุ่ง หรือ การไม่กล้าปฏิเสธงานคนอื่น) ได้อย่างอยู่หมัด UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีการทำ not-to-do-list ที่ทุกคนสามารถทำกันได้ง่ายแต่ให้ประโยชน์มหาศาล 1.เริ่มจากการกำหนดสิ่งที่ควรอยู่ใน not-to-do-list งานที่เราไม่ถนัด งานที่ทำให้เราไม่มีสมาธิ งานที่เราไม่จำเป็นต้องทำ งานที่เราให้คนอื่นทำแทนได้ งานที่ไม่ใช่ความรับผิดชอบของเรา
เวลาป่วยหลายคนอาจไม่กล้าที่จะลางานด้วยหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาด้านการเงิน ภาระงานที่กองเป็นภูเขา หรือ การอยู่ในสังคมที่มองคนลาหยุดไม่ดี สุดท้ายพวกเขาก็พยายามพาตัวเองมาทำงานในสภาพที่ไม่พร้อมเต็มที่ และทำผิดพลาดได้บ่อยขึ้นในที่สุด ปัญหาเรื่องพนักงานไม่ยอมลาหยุดงาน และมาทำงานตอนป่วย หรือ บาดเจ็บ เราเรียกกันว่า ‘Presenteeism’ ซึ่งสามารถทำลาย Productivity ในการทำงานของคนได้มากถึง 1 ใน 3 แถมปัญหานี้ยังอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิดด้วย มีคนทำงานชาวไทยจำนวนมากที่ไม่ยอมลาป่วย และมาทำงานในสภาพที่ไม่พร้อม ส่งผลให้พวกเขาทำงานได้ไม่เต็มที่ อ้างอิงจาก การสำรวจของบริษัทประกันซิกน่า (2018) พบว่า คนไทยราว 89% ยังคงไปทำงานแม้ตัวเองจะป่วย หรือ มีสภาพจิตใจที่ไม่พร้อม ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของพวกเขาลดลงเหลือเพียง 74% เท่านั้น นอกจากจะทำให้งานเสียแล้ว ปัญหานี้อาจนำไปสู่ปัญหาหนักข้ออื่น ๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเรื่องความเหนื่อยล้าของพนักงาน หรือ ปัญหาที่ร้ายแรงกว่านั้นอย่างการแพร่ระบาดของโรคในออฟฟิศ Presenteeism จึงเป็นปัญหาที่ส่งผลเสียต่อภาคธุรกิจอย่างมาก และคนระดับผู้นำไม่ควรมองข้ามปัญหานี้ ทำไมพนักงานถึงไม่ยอมลาป่วย ? ภาระงานที่มากเกินไป นโยบายที่กระตุ้นให้พนักงานลาหยุดน้อยลง วัฒนธรรมที่สนับสนุนการทำงานหนัก จนถึง มุมมองที่มีต่อการลาหยุดว่าเป็นเรื่องเลวร้าย ล้วนกระตุ้นให้เกิด
โลกใบนี้มีความกังวลสารพัดรูปแบบ บางความรู้สึกสามารถคลี่คลายได้ด้วยการจัดการอย่างเป็นระบบ แต่บางความรู้สึกพัฒนาจนเป็นภาวะเรื้อรังที่อาจส่งผลกระทบกับชีวิต หรือนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ตามมาได้ ในขณะที่โลกมีคนหลงตัวเอง มีคนที่คิดว่าทำดีเท่าไรก็ยังไม่พอ บนโลกใบนี้ก็มีคนที่ประสบความสำเร็จแล้ว หรือให้ทำอะไรก็ทำได้ไปหมด ดูไม่ติดขัดอะไร แต่ลึก ๆ แล้วพวกเขากลับรู้สึกว่าพวกเขาไม่ได้เก่งจริง ๆ แค่ฟลุคทำได้เฉย ๆ ดังนั้นจึงรู้สึกว่าตัวเองไม่คู่ควรกับความสำเร็จหรือคำชื่นชมที่ได้รับมาเลย ภาวะแบบนี้มีชื่อเรียกว่า Imposter Syndrome แม้จะไม่ได้ถูกจัดเป็นอาการป่วย แต่การลดทอนคุณค่าและความสามารถของตัวเองก็บั่นทอนสุขภาพจิตจนทำให้เสียการเสียงานหรือป่วยได้เช่นกัน ดังนั้นอย่ามัวปล่อยให้ความรู้สึกนี้ครอบงำ มาเอาชนะมันไปด้วยกัน “จดบันทึกความสำเร็จ” เพราะทุกชัยชนะ ควรค่าแก่การจดจำ ในสังคมที่สอนให้เราเอาแต่ถ่อมตัว บางครั้งเราก็ถ่อมตัวตามมารยาท แต่หลายครั้งก็เป็นปฏิกิริยาตอบกลับเหมือนถูกฝังอยู่ในสมอง เวลาใครชมว่าเก่งแล้วต้อง “ไม่หรอกครับ” “ผมไม่เก่งเลย” อยู่ตลอด จนหลายครั้งตัวเราเองก็อาจเชื่อไปด้วยจริง ๆ ว่าเราไม่เก่ง เราอาจแค่โชคดี อาจมีคนช่วย วิธีการหนึ่งที่จะทำให้เรายอมรับความสำเร็จของตัวเรามากขึ้น คือการจดบันทึกความสำเร็จลงไป โดยความสำเร็จที่ว่าไมจำเป็นต้องรอให้เป็นความสำเร็จใหญ่ ๆ หรือแค่เรื่องหน้าที่การงานเท่านั้น ทุกความสำเร็จล้วนมีความหมาย การจดบันทึกทำให้เราเห็นความสามารถและชัยชนะของเราแต่ละวัน ฝึกให้เราเคารพศักยภาพของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ มากไปกว่านั้นถ้าสามารถจดเป็นสถิติเป็นตัวเลขได้ ก็จะยิ่งทำให้เราไม่รู้สึกว่าเราชมตัวเองลอย ๆ แต่เราทำงานนั้น ๆ แบบมีมาตรฐานจริง
Mindset ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเวลาทำงาน เพราะคนที่มีมายเซทเติบโต หรือ Growth Mindset มักจะแก้ไขปัญหาในชีวิตหรือการทำงานได้ดีกว่าคนอื่นเสมอ แต่น่าเสียดายที่เราไม่ได้เรียนเรื่องนี้กันมากเท่าไหร่นัก ส่วนใหญ่จะเรียนรู้จากประสบการณ์และการขวนขวายด้วยตัวเองมากกว่า UNLOCKMEN จึงอยากแนะนำวิธีการพัฒนา growth mindset เพื่อให้เรากลายเป็นคนที่แก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น และมีความสุขกับชีวิตมากขึ้นตามมา Growth Mindset คืออะไร? Growth Mindset เป็นคำที่ Carol Dweck ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และเจ้าของหนังสือ Mindset ใช้อธิบายประเภทของคนที่เชื่อว่าความสำเร็จขึ้นอยู่กับเวลาและความพยายาม พวกเขาจะรู้สึกว่าตัวเองสามารถพัฒนาได้ หากทุ่มเทเวลา ความพยายาม และพลังงานให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจริงจัง หากมีความวิริยะอุตสาหะ พวกเขาจะไม่ย่อท้อต่อุปสรรค ความท้าทาย และคำวิจารณ์โดยง่าย และมองหาแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของคนอื่นเพื่อเอามาปรับใช้พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ คำว่ายอมแพ้ จะไม่มีอยู่ในหัวของคนที่ Mindset ดี คนกลุ่มนี้จะแตกต่างจากคนที่มี Fixed Mindset ซึ่งเชื่อว่า ตัวเองจะดีหรือแย่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติแต่กำเนิด พวกเขาจะไม่เผชิญหน้ากับความท้าทาย ไม่พยายามฝึกฝนเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง หลีกเลี่ยงคำวิจารณ์ และยอมแพ้ต่ออุปสรรค์อย่างง่ายดาย มี Growth Mindset แล้วดีอย่างไร ? งานวิจัยเมื่อปี
ในช่วงนี้ เรื่อง เศรษฐกิจ หรือ สังคม น่าจะทำให้ใครหลายคนรู้สึกไม่สบายใจ และเครียดไม่มากก็น้อย ซึ่งเรามองว่า ความเครียดเป็นปัญหาที่ค่อนข้างใหญ่สำหรับมนุษย์ เพราะมันสามารถทำร้ายเราได้ทั้งกายและใจ UNLOCKMEN อยากให้ทุกคนออกจากความเครียดให้ได้โดยเร็ว จึงอยากแนะนำวิธีการผ่อนคลายจากความเครียดที่ทำได้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน แต่ก่อนอื่นเลย เราอยากให้ทุกคนมีความเข้าใจในเรื่องของ ‘ความเครียด’ ก่อน เพราะพอได้ยินคำนี้แล้ว หลายคนอาจเริ่มทำหน้าบูดบึ้ง หวนนึกถึงประสบการณ์แย่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น ชีวิตการทำงานที่มีความกดดันสูง หรือ ชีวิตคู่ที่ไม่มีความสุขสมหวัง แต่เรื่องเหล่านี้เป็นเพียงความเครียดประเภทหนึ่งที่เรียกว่า ความเครียดเรื้อรัง (chronic stress) เท่านั้น ซึ่งสาเหตุหลักของความเครียดประเภทนี้ เกิดจากการอยู่ในสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดเป็นประจำ บางเคสรู้สึกอยากหนีก็หนีไม่ได้ ต้องทนอยู่ต่อไป ส่งผลให้ร่างกายและจิตใจได้รับความเสียหายอย่างหนัก เราจึงเรียกความเครียดประเภทนี้ว่าเป็น ‘ความเครียดเลว’ และบทความนี้จะโฟกัสไปที่การเอาชนะความเครียดประเภทนี้เป็นหลัก นอกจากความเครียดเรื้อรังแล้ว ยังมีความเครียดประเภทอื่นอีก 2 ประเภท ได้แก่ ยูสเตรส (eustress) ซึ่งเป็นความเครียดประเภทที่เราเรียกกันว่า ‘ความเครียดดี ’ มันช่วยให้เรารู้สึกมีชีวิตชีวา และรู้สึกตื่นเต้นในช่วงเวลาสำคัญของชีวิต เราจะมียูสเตรสกันก็ตอนที่อยู่ในสถานการณ์ที่น่าตื่นเต้น เช่น ตอนเล่นโรลเลอร์โคสเตอร์ หรือ ตอนแข่งขันกับเพื่อนร่วมงาน
เมื่อเจอกับเหตุการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์บางอย่าง เช่น ตกใจ โกรธ หรือ กลัว หลายคนคงอยากระบายอารมณ์เหล่านั้นออกมาด้วยการพูดคำหยาบ หรือ สบถ แต่บางครั้งก็เลือกที่จะไม่ทำ เพราะค่านิยมของสังคมทำให้การสบถกลายเป็นเรื่องต้องห้าม ใครที่ทำแล้วจะดูเป็นคนป่าเถื่อน ไม่มีความน่าเชื่อถือ และอยู่ในสังคมได้ยากลำบากมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การสบถอาจส่งผลดีต่อเรามากกว่าที่หลายคิด UNLOCKMEN จะพาทุกคนไปดูว่าประโยชน์ของการสบถมีอะไรบ้าง ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น การพูดคำหยาบคายถือเป็นวิธีการแสดงอารมณ์อย่างหนึ่ง หากเราใช้คำหยาบคายเวลาพูด มันช่วยจึงทำให้ประโยคคำพูดของเราเต็มเปี่ยมไปด้วยอารมณ์มากขึ้น และทำให้คนอื่นสนใจคำพูดของเรามากขึ้นเช่นกัน งานวิจัยจาก Communication Studies, Ithaca College (2012) ได้ทำการศึกษาวิธีการรับรู้คำสบถของคน และพบว่า การสบถสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร และทำให้สิ่งที่เราพูดสามารถโน้มน้าวจิตใจคนฟังได้มากขึ้น เมื่อมันทำให้เกิดความรู้สึกด้านบวกแบบ positive surprise นอกจากนี้งานวิจัยทำให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้มองการสบถแย่เสมอไป ช่วยให้เราทนทานต่อความเจ็บปวดมากขึ้น นอกจากจะช่วยให้เราคุยกับคนอื่นได้ดีขึ้นแล้ว การสบถคำหยาบยังช่วยเราอึดทนทานต่อความเจ็บปวดได้มากขึ้นด้วย งานวิจัยจาก Keele University (2009) ได้ทดลองให้นักศึกษาจุ่มมือข้างหนึ่งลงไปในน้ำเย็น พร้อมพูดคำหยาบ หรือ คำปกติ และพบว่า เมื่อผู้เข้าร่วมการทดลองพูดคำหยาบคายดัง ๆ ซ้ำ ๆ พวกเขาสามารถแช่นิ้วในน้ำได้นานขึ้น
หลายคนเวลาเริ่มทำงานกลุ่ม หรือ โปรเจ็กต์ อาจประสบกับปัญหาสมองค้าง เพราะต้องรับข้อมูลมากมาย จนไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหนก่อนดี หรือ บางคนอาจเริ่มจากการรวบรวมความคิดเห็นของสมาชิกในนกลุ่มทุกคนก่อน ก่อนที่จะพบว่าทุกคนต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันจนไม่สามารถหาจุดตรงกลางได้ การคิดไอเดียมักเป็นเรื่องยากเสมอ UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีการที่เรียกว่า HMW ซึ่งจะช่วยให้เรามองปัญหาถูกจุด และคิดไอเดียการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น HMW คืออะไร HWM เป็นวิธีการคิดแก้ปัญหาที่ได้รับความนิยมในหมู่ดีไซนเนอร์ มันมักถูกใช้ในเวลา brainstorming เพื่อทำโปรเพื่อเจ็กต์ใหญ่ หรือ คิดกลยุทธ์ในการทำงาน โดย HMW เป็นคำย่อของประโยคภาษาอังกฤษ How might we ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า “เป็นไปได้ไหมที่จะ…” คนมักจะเขียนประโยคนี้ลงในโน้ตหรือโพสอิท เพื่อสำรวจว่ามีอะไรคือปัญหาที่ควรแก้ไข หรือ สิ่งที่เราควรทำให้สำเร็จ ซึ่งมักใช้งานได้ดี เพราะการตั้งคำถามมักทำให้คนคิดถึงปัญหาอย่างลึกซึ้งมากขึ้น มองเห็นปัญหาที่ชัดเจนมากขึ้น ช่วยให้คิดวิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามมา ดังนั้น หากทุกคนสามารถ HMW ไปใช้ได้ จะสามารถแก้ปัญหา และคิดไอเดียได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน วิธีการนำ HMW ไปใช้ เริ่มจากการเตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำโน้ต HMW ก่อน ได้แก่ โพสอิท อุปกรณ์ในการเขียนหนังสือ
มนุษย์ใช้ประโยชน์จากอารมณ์ขัน (humor) มานานกว่าหลายพันปี และพบว่ามันมีประโยชน์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ช่วยคลายความเครียด หรือ ช่วยให้เข้าสังคมได้ดีขึ้น ฯลฯ แต่การเล่นมุกมันก็มีความยากอยู่ เพราะมันต้องคำนึงถึงบริบท เวลา และความเหมาะสมในการเล่นมุกด้วย หากเราละเลยเรื่องเหล่านี้ไป เราอาจได้รับผลเสียจากการทำตัวตลกได้ UNLOCKMEN จึงอยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจว่า ผู้นำควรใช้มุกตลกตอนไหนดี ถึงจะไม่ดูน่าเกลียด และส่งผลดีต่อการทำงานมากที่สุด ประโยชน์และโทษของมุกตลก งานวิจัยหลายชิ้นได้ศึกษาและค้นพบประโยชน์ของการใช้ อารมณ์ขัน หรือ มุกตลก ในการสื่อสาร การทำงาน หรือ การเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็น ช่วยให้กระปรี้กระเปร่ามากขึ้น ลดความเครียด ให้ประโยชน์ด้านการเรียนหนังสือ (เช่น เด็กนักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนมากขึ้น หรือ มีความสุขกับการเรียนมากขึ้น) รวมไปถึง ช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ หรือ ช่วยให้วัฒนธรรมการทำงานดีขึ้น ในทางกลับกัน เมื่อเราใช้มุกตลกผิดประเภท หรือ ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ มันก็ทำให้เกิดโทษได้เหมือนกัน เช่น การใช้มุกตลกเกรี้ยวกราดในการสอนหนังสือ อาจทำให้เด็กเรียนรู้ได้แย่ลง หรือ การใช้มุกตลกเวลาพูดถึงปัญหาทางการเมืองและสังคม ก็อาจทำให้ผู้นำเสียเครดิต และกลายเป็นคนที่ไม่จริงจังในสายของคนทั่วไปได้ อีกทั้งการใช้มุกตลกสามารถส่งผลเสียต่อการทำงานได้เหมือนกัน ถ้าเราโฟกัสกับมันมากเกินไป
มองผ่าน ๆ อาจจะเห็นแค่ตู้ที่ปิดทึบ ไม่มีฟังก์ชันอะไร แต่เมื่อเปิดออกมา จะกลายเป็น workstation ที่สามารถปรับประโยชน์ใช้สอยได้ตามต้องการ ‘Des Vorstand‘ หรือ Slender Wall Cabinet ออกแบบโดย Nils Holger Moormann ตู้ที่ซ่อนพื้นที่ทำงานไวด้านใน ออกแบบให้ฝั่งนึงพิงติดกำแพง ส่วนบานด้านนอกมีล้อที่สามารถเปิดออก เผยให้เห็นทุก facilities ที่คนทำงานต้องการ ไม่ว่าจะเป็นไฟส่องสว่างด้านบน ชั้นวางของ โต๊ะวาง laptop เป็นโปรเจคที่ช่วยประหยัดพื้นที่ใช้สอย พร้อมคำนึงถึงการสร้างสมาธิสำหรับคนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกรายละเอียดการออกแบบของ Moormann เรียบง่ายแต่ใช้งานได้จริง เช่นดีไซน์ panel ด้านบนที่นอกจากจะมีช่องไฟที่เหมาะกับการทำงาน ยังช่วยลดแสงสว่างส่วนเกินในช่วงเวลาต่าง ๆ ของวันได้ด้วย การเปิดปิดยึดติดแน่นอย่างง่ายดายด้วยระบบแม่เหล็กและล้อช่วยอำนวยความสะดวก ที่วางปากกา ชั้นวางของ รูสำหรับชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ซ่อนไว้อย่างมิดชิด และในช่วงที่ต้องการความเป็นส่วนตัว สามารถเพิ่มม่านด้านข้างได้ตามที่ต้องการ เหมาะสำหรับเทรนด์การ Work From Home ที่ช่วยให้เราโฟกัสกับงานโดยตัดขาดจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ได้ Dimensions folded in: 37.5
เมื่อก่อนพวกเราเรียกร้องอยากทำงานที่บ้าน แต่วันนี้ดูเหมือนการ Work From Home จะกลายเป็นวิถีชีวิตหลักไปเรียบร้อยแล้ว Designer หลายคนจึงหันมาออกแบบเพื่อสร้างประสบการณ์เปลี่ยนบ้านให้เหมาะกับการทำงาน และยังช่วยประหยัดพื้นที่มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นที่หลายคนมีพื้นที่บ้านจำกัด ทีมนักออกแบบจาก OPEN SOHKO DESIGN และ NOSIGNER จึงร่วมกันออกแบบพื้นที่การทำงานคอนเซปต์ใหม่แบบ DIY home office ที่มาในรูปแบบกล่องสี่เหลี่ยม เรียกว่า ‘Re-SOHKO TRANSFORM BOX’ กล่องมหัศจรรย์ที่ทำได้หลากหลายหน้าที่ และสามารถช่วยประหยัดพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แค่กางและพับเก็บ! Re-SOHKO TRANSFORM BOX กล่องมากฟังก์ชันที่พร้อมเปลี่ยนแปลงพื้นที่ภายในให้ตอบโจทย์แต่ละคนได้ เมื่อกางกล่องสี่เหลี่ยมสูงประมาณตู้เย็นออก ก็จะเจอกับ Workspace พร้อมโต๊ะทำงานสำหรับวาง laptop พร้อมขั้นวางของ ตู้เก็บของแบบ Built-in พับเก็บและขยายการใช้งานได้สารพัด สามารถเลือก DIY ฟังก์ชันที่ต้องการแตกต่างกันไป และยกไปใช้งานนอกบ้านได้ง่ายเมื่อพับเก็บ เป็นดีไซน์ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของดีไซน์เนอร์ญี่ปุ่น ที่ผสมผสานตอบโจทย์ได้ทั้ง Form และ Function เพราะการดีไซน์ที่มีประโยชน์ ไม่ใช่การออกแบบแค่ความสวยงาม แต่ต้องตอบโจทย์ปัญหาที่พวกผู้คนต้องเจอในชีวิตประจำวันให้ดีขึ้นได้ด้วยนั่นเองครับ