ไม่นานมานี้หนุ่ม ๆ ที่ชื่นชอบเรื่องราวของญี่ปุ่นและโปรดปรานการลิ้มรสชาติแสนเฉพาะตัวของซูชิต่างต้องตกใจไปตาม ๆ กัน เมื่อร้านซูชิโคตรดังอย่าง Sukiyabashi Jiro Honten ที่ซ่อนตัวอยู่ในชั้นใต้ดินย่านกินซ่าใจกลางกรุงโตเกียวถูกถอดดาว 3 ดวง และลบชื่อออกจาก Michelin Guide ทั้งที่เป็นร้านซูชิที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้วยความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการอาหารญี่ปุ่นทำให้คนทั่วโลกต่างจับตามอง UNLOCKMEN จึงไม่พลาดนำเรื่องราวของเจ้าของร้าน Sukiyabashi Jiro นามว่า Jiro Ono มาบอกเล่าให้ฟังกันว่าเพราะเหตุใดเขาถึงกลายเป็นชายที่โลกเรียกว่า ‘ปรมาจารย์ซูชิที่ไม่มีใครเทียบชั้น’ และทำไมร้านอาหารเล็ก ๆ ของเขาถึงกลายเป็นร้านที่เหล่านักชิมทั่วโลกต้องมาเยือนสักครั้ง JIRO ONO ตำนานของวงการซูชิที่ยังมีลมหายใจ แรกเริ่มเดิมทีเรื่องราวของ Jiro Ono และร้านซูชิ Sukiyabashi Jiro ของเขาไม่ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขนาดนี้ เขาเป็นเพียงแค่ผู้ชายที่เปิดร้านซูชิต้นทุนต่ำประทังชีวิตเท่านั้น เพราะฐานะทางบ้านของ Jiro ไม่ได้มั่งคั่งร่ำรวย เขาต้องแอบทำงานพิเศษในร้านอาหารตั้งแต่ 7 ขวบ (ที่ต้องแอบทำเพราะผิดกฎหมายแรงงาน) ถูกพร่ำสอนเสมอว่าเมื่อโตขึ้นเราจะไม่หันหลังกลับ บ้านที่อยู่อาจจะหายไปเมื่อไรก็ได้ ดังนั้นสิ่งที่จะติดตัวเราไปทุกที่คือความตั้งใจและการไม่ยอมแพ้ เมื่อ Jiro เปิดร้านซูชิช่วงแรกเขาไม่สามารถเรียกตัวเองว่าเป็นเชฟได้เต็มปาก ลูกค้าที่เข้ามาในร้านก็ถือว่าเป็นคนหลงเข้ามาเสียมากกว่า
ขณะที่เราใช้เวลาเดินทางมาถึงกระดาษแผ่นสุดท้ายของปฏิทิน อีกไม่กี่อาทิตย์ข้างหน้าก็ถึงเวลาเตรียมเข้าสู่ศักราชใหม่ เชื่อว่าหลายคนคงเริ่มจินตนาการว่าปีหน้าจะเป็นอย่างไร มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง แล้วจะดีกว่าปีนี้หรือเปล่า ? เพื่อคลายความสงสัย และตั้งหลักได้ก่อนใคร UNLOCKMEN ขอนำเทรนด์ในปี 2020 ที่ TrendWatching รวบรวมไว้ทั้ง 5 ข้อมาแบ่งปันให้เกาะกระแสดังนี้ GREEN PRESSURE ปรากฏการณ์กดดันให้ใช้สีเขียว อย่างที่รู้ ๆ กันแล้วว่าปี 2019 ที่คือปีแห่งการรณรงค์เพื่อความยั่งยืน ช่วยโลก อุดหนุนเครื่องอุปโภคบริโภคที่ตามกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อม จนทำให้ใครก็ตามที่ใช้สิ่งของจากแบรนด์เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นรองเท้าอีโคทำจากขยะพลาสติก นันยางทำจากขยะรองเท้าแตะในทะเล ขวดสไปร์ทใส หรือการลดใช้ทุกสรรพสิ่งที่ก่อมลพิษ เป็นคนเท่ เป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม แต่ปี 2020 จากความเท่จะกลายเป็นความธรรมดา เพราะผลิตภัณฑ์แนว Eco ต่าง ๆ เริ่มมีราคาถูกลง คนสามารถเอื้อมถึงได้ไม่ต่างจากการใช้สินค้าปกติ เรื่องปฏิเสธการใช้งานจึงไม่ใช่ข้ออ้างอีกต่อไป! ดังนั้น ปีหน้าถ้าคุณไม่ทำ คุณจะถูกทำให้ต้องจำยอมด้วยกระแสสังคมที่เริ่มหันมาประณามคุณ และแบรนด์ที่ออกมาต่อต้านกลาย ๆ เพื่อบังคับให้ทำตามด้วย ตัวอย่างของแคมเปญและแบรนด์สินค้าที่จะมาบีบให้รักษ์โลก ‘Doconomy’ พาร์ตเนอร์บัตรเครดิต Mastercard ที่สร้างระบบเครดิตสกอร์จากพฤติกรรมการลดคาร์บอนของผู้ใช้ ถ้าผู้ใช้ไม่ช่วยโลกลดคาร์บอนระบบจะบล็อกการใช้งานของบัญชีจนไม่สามารถทำธุรกรรมได้
คุณคิดว่ามนุษย์แต่ละคนมีพื้นที่เป็นของตัวเองเท่าไหร่ ? บางคนมีพื้นที่ของตัวเองเท่ากับห้อง Standard ของคอนโดมิเนียมใจกลางเมือง บางคนมีพื้นที่ของตัวเองเท่ากับบ้านชานเมืองหนึ่งหลัง หรือหลาย ๆ คนมีพื้นที่มากกว่าสิบ ๆ ไร่ในต่างจังหวัด แต่ก็มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งมีพื้นที่แสนแคบจนแทบทำอะไรไม่ได้ ถ้าพูดถึงห้องพักแสนแคบเราก็มักจะนึกถึงเมืองใหญ่อย่างฮ่องกงมีไมโครอพาร์ตเมนต์ หรือประเทศญี่ปุ่นซึ่งขึ้นชื่อเรื่องที่พักสไตล์โรงแรมแคปซูลกับห้องพักขนาด 2-3 เสื่อทาทามิ ด้วยความโด่งดังเรื่องที่พักแสนแคบของทั้งสองประเทศจึงทำให้ใครหลายคนไม่รู้จัก Koshiwon (โคชิวอน) อีกหนึ่งห้องพักโคตรแคบใจกลางกรุงโซล Koshiwon หรือ Gositel เป็นห้องพักสำหรับผู้เช่ารายเดือนราคาถูก โดยค่าเช่าของอพาร์ตเมนต์สไตล์นี้จะมีราคาราว 200,000 – 650,000 วอนต่อเดือน คิดเป็นเงินไทยราว 5,000 – 15,000 บาท ซึ่งถ้าเทียบกับประเทศไทยราคาเดียวกันนี้อาจเช่าคอนโดมิเนียมห้อง Standard ติดแนวรถไฟฟ้าได้เลย แต่สำหรับใจกลางกรุงโซลที่ค่าครองชีพและรายได้ขั้นต่ำแตกต่างกับประเทศไทยคงมีโอกาสอาศัยได้ห้องแบบ Koshiwon แทน ค่าแรงขั้นต่ำของประเทศเกาหลีใต้ในปี 2019 อยู่ที่ 8,350 วอน หรือประมาณ 219 บาทต่อชั่วโมง และปี 2020 รัฐบาลเกาหลีเตรียมปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเป็น 8,590 วอน ราว 225
แต่ละประเทศต่างมีธรรมเนียมพิธีสำเร็จการศึกษาต่างกัน ประเทศไทยมีรูปแบบพิธีทางการ ส่วนงานรับปริญญาทางฝั่งอเมริกาให้ความรู้สึกที่เป็นกันเองมากกว่า นักศึกษาอเมริกันสามารถสวมใส่เสื้ออะไรก็ได้ข้างในแล้วจึงสวมชุดครุยทับอีกที แต่สำหรับญี่ปุ่นกลับล้ำกว่าประเทศไหน ๆ เมื่อนักศึกษาทุกคนประชันการแต่งตัวเหมือนอยู่ในงานคอสเพลย์ พิธีรับปริญญาที่ว่าเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยชื่อดังย่านคันไซอย่างมหาวิทยาลัยเกียวโต (Kyoto daigaku) โดยแบ่งช่วงรับปริญญาตามคณะและสาขาวิชาที่เรียน นักศึกษาจากคณะศิลปกรรม คณะดุริยางคศิลป์ รับปริญญาในวันเดียวกัน โดยมหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและอาจารย์ที่อยู่กับเด็ก ๆ มาตลอด 4 ปี มานั่งในหอประชุมเพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในความสำเร็จของบัณฑิตใหม่ด้วย บรรยากาศงานดี ๆ แสนอบอุ่นกึ่งทางการที่ใครต่างคิดว่าจะดำเนินไปอย่างเงียบเชียบเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ เมื่อนักศึกษาต่างแต่งตัวหลุดโลกเพื่อทำให้งานรับปริญญาของตัวเองเป็นงานที่จะต้องจดจำไม่ลืมไปตลอดชีวิต นายไดซากุ คาโดกาวะ (Daisaku Kadokawa) นายกเทศมนตรีเมืองเกียวโตได้เข้าร่วมงานครั้งนี้ ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์น่าสนใจว่า ตัวเขาก็เป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยเกียวโต ได้เจอเรื่องราวดี ๆ ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนฝูง และถกเถียงด้วยหลักการและเหตุผลในชั้นเรียน “เราต้องมีความสุขก่อน แล้วโลกถึงจะเต็มไปด้วยความสุข” สิ่งที่เราได้ร่ำเรียนอย่างศิลปะ มันสามารถสร้างแรงกระตุ้นที่ทำให้ผู้คนใจเต้น ปลอบโยนจากความเศร้า และสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และเต็มไปด้วยความสนุก ถือเป็นคำพูดที่น่าประทับใจไม่น้อย และในที่สุดพิธีรับปริญญาของมหาวิทยาลัยเกียวโตก็เริ่มต้นขึ้น “เราจะเห็นความสนใจหรือความชอบของแต่ละคนได้จากการแต่งตัว” ประโยคดังกล่าวสามารถยืนยันว่าสไตล์สะท้อนความชอบของคนได้จริงจากงานรับปริญญาครั้งนี้ นักศึกษาจากคณะศิลปะและดนตรีต่างแต่งกายตามใจตัวเอง บางคนมาด้วยชุดกิโมโนซึ่งเป็นชุดประจำชาติที่ใคร ๆ ก็ใส่ บางคนแต่งตัวสไตล์สาวกอธิค บางคนแต่งตัวเป็นสาวแกล ขณะที่นักศึกษาบางคนที่ชอบแอนิเมชันก็แต่งกายตามตัวละครที่ชอบถึงกับใส่หัวแมวขนาดใหญ่มารับปริญญาเลยก็มี มีนักศึกษาสาวคนหนึ่งขึ้นเวทีพร้อมกับชุดแบบจัดเต็ม เธอโปะหน้าขาววอก เกล้าผมขึ้นเป็นมวยใหญ่พร้อมกับเครื่องประดับหลายชิ้นบนศีรษะ แถมยังรำโชว์ทุกคนในหอประชุมก่อนจะรับใบปริญญาด้วย หากเป็นคนที่ชื่นชอบวัฒนธรรมของญี่ปุ่นรวมถึงคนญี่ปุ่นทั่วไปเมื่อเห็นก็จะรู้ทันทีว่าเธอแต่งตัวแบบสาวเกอิชา
เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักกระบะหน้าตาแปลก Tesla Cybertruck ผลงานล่าสุดของ Elon Musk กันไปเรียบร้อยแล้ว และน่าจะได้เห็นคลิปโชว์พละกำลังของมันจากการทำ Tug War ระหว่างสองรุ่นใหญ่ Cybertruck vs Ford F-150 Pick Up Truck ซึ่งผลก็คือ Cybertruck ลาก F-150 ปลิวไปตามแรงราวกับลากปุยนุ่น ผลที่ตามมาจึงเหมือนกับที่หลายสื่อคาดการณ์เอาไว้ นั่นคือดราม่าที่ต่างออกมาชี้ว่าผลการทำ Tug War ครั้งนี้โคตรจะไม่แฟร์เลยครับคุณ Musk ล่าสุดทาง Vice President ของ Ford, Sunny Madra, ที่เห็นภาพ Ford F-150 โดนกระทำชำเราแบบผิด ๆ ก็ออกมาปกป้องศักดิ์ศรีรถ Pick Up ของตัวเองทันที พร้อมท้าทาย Elon Musk ผ่านการ Tweet อย่างดุเดือดว่า “Hey Elon Musk, send
อาชีพนักรีวิวกัญชากำลังเป็นอาชีพในฝันของหนุ่มสาย ๆ เขียวทั่วโลก หลังจากเว็บไซต์แนะนำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกัญชาในสหรัฐอเมริกาเสนอค่าเหนื่อยหลักเก้าหมื่นบาทต่อเดือน แลกเปลี่ยนกับการทดสอบผลิตภัณฑ์จากกัญชาและเขียนรีวิว American Marijuana เว็บไซต์ทางการแพทย์และวิจัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากกัญชา กำลังมองหาพนักงานตำแหน่งผู้รีวิวผลิตภัณฑ์กัญชา โดยมีหน้าที่ทดสอบสินค้าพืชสายเขียวต่าง ๆ ในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นกัญชาสำหรับสูบเพื่อสันทนาการ, กัญชาไฟฟ้า, น้ำมันกัญชา ไปจนถึงอาหารต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของกัญชา เพื่อทดสอบสาร CBD และ THC จากการใช้ผลิตภัณฑ์แบบต่าง ๆ เรื่องที่ทาง American Marijuana ให้ความสำคัญมากที่สุด คือการเขียนรีวิวอย่างตรงไปตรงมา รวมถึงมีช่วงเวลาที่ต้องอยู่ต่อหน้ากล่องวิดีโอเพื่อบันทึกภาพซึ่งจะไม่ถูกเปิดเผย เพื่อดูว่าสินค้าแต่ละชนิดมีผลต่อพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้รีวิวอย่างไร เพื่อนำข้อมูลมาตัดสินใจว่าผลิตภัณฑ์ตัวไหนมีความโดดเด่นและตัวไหนต้องพัฒนาต่อไป คุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิ์สมัครงานในตำแหน่งนี้ จะต้องมีอายุมากกว่า 18 ปี สุขภาพแข็งแรงและไม่มีโรคประจำตัว โดยผู้สมัครจะต้องมีวิดีโอแนะนำตัวที่เล่าความหลงใหลที่มีต่อกัญชาความยาว 60 วินาที (ในแอปพลิเคชัน) ซึ่งจะผูกกับบัญชีโซเชียลมีเดียเพื่อแสดงจำนวนผู้ติดตามของผู้สมัคร ทางบริษัทเสนอค่าเหนื่อยตอบแทนเป็นเงิน 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน คิดเป็น 47,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี หรือคิดเป็นเงินประมาณ 1,410,000 บาท โดยจะมีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่จะผ่านการคัดเลือก ซึ่งจะประกาศชื่อผู้โชคดีในวันที่
หากต้องตกอยู่ในสถานการณ์แผ่นดินไหว เราต้องทำอย่างไรถึงจะอยู่รอด?
ค่ำคืนหนึ่งในเยอรมนีที่เงียบสงบดูเหมือนว่าทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดีเหมือนทุกวัน แต่แล้วเมื่อรุ่งเช้าชาวเมืองตื่นขึ้นมาพบกับกำแพงลวดหนามที่ฉีกประเทศให้แยกออกจากกัน เพียงข้ามคืนการเดินทางอย่างอิสระไปทั่วประเทศถูกปิดกั้นเพราะอุดมการณ์ที่แตกต่างช่วงสงครามเย็น UNLOCKMEN อยากพาทุกคนย้อนเวลากลับไปยังยุคสมัยแห่งความตึงเครียดอย่างสงครามเย็นที่ทำให้เยอรมนีแตกออกเป็นสองฝั่ง แต่ใต้ความเครียดอันกดดันแสนหดหู่ก็ยังมีเรื่องเท่ ๆ เกิดขึ้นฝั่งเยอรมนีตะวันออก เมื่อเหล่าปัญญาชนและผู้คิดนอกกรอบจะไม่ยอมอยู่ภายใต้เผด็จการอีกต่อไป การต่อต้านของเหล่าขบถมีหลายแบบ แต่สิ่งที่รวมคนหลากกลุ่มในเยอรมนีทั้งเด็กนักเรียน เด็กเกเร คนทำงานที่ไม่ชื่นชอบระบอบการปกครองที่ตัวเองกำลังเผชิญอยู่คือเสียงดนตรีและวงดนตรีที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์อย่างพังก์ (Punk) เมื่อพังก์กลายเป็นสัญลักษณ์ของเหล่าขบถ กำแพงลวดหนามถูกเปลี่ยนเป็นกำแพงใหญ่คล้ายม่านเหล็ก ระเบิดจำนวนมากถูกวางไว้นอกเขตพร้อมกับการคุ้มกันหนาแน่น มีหอสังเกตการณ์ของพลซุ่มยิง เพื่อให้แน่ใจว่าคนทั้งสองฝั่งไม่เล็ดลอดสายตาแอบไปมาหาสู่กันโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้คนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในเยอรมนีตะวันออกอย่างเลี่ยงไม่ได้ต้องการชีวิตเสรีภาพดั่งเคยมีมาตลอด หลาย ๆ คนออกมาแสดงความคิดเห็น ออกมาชุมนุมกันเพื่อเรียกร้องขอเสรีภาพแต่ก็ต้องล้มเหลวไปทุกครั้งเพราะผู้มีอำนาจทำเป็นมองไม่เห็นเสียงเหล่านี้ เมื่อพูดคุยกันอย่างปัญญาชนไม่สำเร็จ พวกคนที่พยายามเรียกร้องจากการชุมนุมประท้วงก็ยังคงเดินหน้ากันต่อ แต่บางคนมองว่าสุดท้ายคนเบื้องบนก็ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นต่อไปอยู่ดี พวกเขาจึงหันเดินลงสู่ใต้ดินและทำอะไรนอกกรอบกันบ้าง วัยรุ่นหลายคนที่ชำนาญการช่างหันมาแต่งรถซิ่งสร้างแก๊งเพื่อขับรถก่อกวนเจ้าหน้าที่ทั่วเมือง เหล่าศิลปินที่ไม่สามารถเข้าไปแสดงดนตรีได้ดังเดิมหันมาจัดงานคอนเสิร์ตผิดกฎหมายผ่านการชักชวนกันแบบปากต่อปาก บางครั้งจัดคอนเสิร์ตเถื่อนในโบสถ์ บ้างก็เปลี่ยนไปจัดในชั้นใต้ดินของร้านเล็ก ๆ ตามตรอกที่ไม่มีใครสนใจ และไม่ลืมถ่ายวิดีโอเก็บไว้และส่งเทปบันทึกภาพเหล่านั้นให้คนในเยอรมนีตะวันออกที่ไม่ได้ไปดูคอนเสิร์ต การกระทำนอกกรอบของกลุ่มต่อต้านสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนห่อเหี่ยวหลังม่านเหล็กได้อย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อความห่ามอันบ้าคลั่งของเหล่าวัยรุ่นและนักดนตรีรู้ไปถึงหูของผู้มีอำนาจ สิ่งที่ตามมาคือกฎระเบียบเข้มงวดขึ้นกว่าเดิม กลุ่มเครือข่ายดนตรีพังก์ใต้ดินของเยอรมนีตะวันออกถูกจับตามองโดยรัฐบาลเผด็จการ แม้จะมีศิลปินตั้งหลายแนวที่แอบจัดคอนเสิร์ตผิดกฎหมายแต่ทำไมวงพังก์ถึงถูกจับตามองเป็นพิเศษ ? นั่นเป็นเพราะวงดนตรีพังก์เปี่ยมด้วยเอกลักษณ์อันแตกต่าง การแต่งตัวจัดจ้าน บุคลิกพร้อมเผชิญหน้า รวมถึงบทเพลงเต็มไปด้วยอารมณ์ ความหมายของเนื้อเพลงที่บอกเล่ารุนแรง ส่วนพังก์จากเกาะอังกฤษมีเนื้อเพลงที่ว่าด้วยอนาคต สังคมและเศรษฐกิจที่พร้อมก้าวไปข้างหน้า แต่ปัญหาที่ผู้คนในเยอรมนีตะวันออกกำลังเผชิญมันตรงกันข้ามกับบทเพลงพังก์แบบอังกฤษอย่างสิ้นเชิง พวกเขาตกงาน ถูกกดขี่ ไม่มีเวลามานั่งนึกถึงอนาคตสว่างไสวอันแสนไกลเหมือนคนอังกฤษ สิ่งเหล่านี้หลอมรวมให้วงพังก์ในเยอรมนีตะวันออกมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากกว่าที่ไหน ๆ ด้วยความร้อนแรงแบบนี้จึงไม่แปลกที่ผู้มีอำนาจมองว่า
SWATCH (สวอท์ช) เปิดตัวสำนักงานใหญ่อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงสร้างแบบไม้ที่ใหญ่ที่สุดของโลก หลังการก่อสร้างอย่างยาวนานและพิถีพิถันกว่า 5 ปี พร้อมเผยโฉมให้เห็นถึงการออกแบบและคัดสรรวัสดุก่อสร้างที่ถูกคิดมาอย่างละเอียดอ่อนและหลักแหลม โดย Shigeru Ban สถาปนิกชาวญี่ปุ่น ผู้ชนะรางวัลพริตซ์เกอร์ (Pritzker Prize) ที่เรียกได้ว่าเปรียบเสมือนรางวัลโนเบลทางด้านสถาปัตยกรรม อาคารทรงโค้งแปลกตา ความยาว 240 เมตร สะท้อนแสงแดดเป็นประกายเห็นถึงความสง่างามที่ถูกวางพาดกลางเมือง Biel ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดีไซน์สุดแหวกแนวนี้เปลี่ยนสำนักงาน หรือออฟฟิศแบบเดิมๆ ให้กลายเป็นที่ปลุกจินตนาการของพนักงานและผู้คนที่สัญจรไปมา ทั้งยังผสมผสานแรงบันดาลใจในการสร้างเข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเมืองอย่างลงตัวราวกับงานศิลปะ เปลือกภายนอกอาคาร ครอบคลุมพื้นที่กว่า 11,000 ตารางเมตร รอบอาคาร ทั้งด้านในและด้านนอกถูกออกแบบให้เกิดมิติที่มีความหลากหลายทางสถาปัตยกรรม พิเศษที่การผสมผสานระหว่างดีไซน์และนวัตกรรม ด้วยการวางแพทเทิร์นซ้ำๆ สลับกับวัสดุที่ต่างกันออกไปบนโครงสร้างเปลือกทำจากไม้สนลายกริด (Grid Facade) ไม่ว่าจะเป็นไม้ หรือกระจกที่โค้งไปตามสรีระโครงสร้างของตัวอาคาร ตอกย้ำความละเอียดและประณีตด้วยการใช้ไม้สนเป็นวัสดุสำคัญของโครงสร้าง ที่มีความแข็งแรง ทนทาน ในขณะเดียวกันกลับมีน้ำหนักที่เบาและให้สีอ่อน สบายตา เปลือกลายกริดถูกยึดกันด้วยคานกว่า 4,600 ชิ้น โดยแต่ละช่อง หรือกริด (Grid) ถอดฟอร์มมาจากทรงรังผึ้ง (Honeycomb) ที่ประกอบกันกว่า 2,800
คุณเคยเห็นคนโดนมัดไหม? น่าจะเคย แล้วคุณเคยเห็นคนโดนมัดแล้วดูมีความสุขปนงดงามหรือเปล่า? คุณอาจสงสัยว่าเมื่อเรือนร่างถูกพันธนาการด้วยเส้นเชือกทบแล้วทบเล่า เนื้อถูกบีบ เรือนร่างถูกเน้น แล้วเราจะรู้สึกเป็นสุข รู้สึกงดงามหรือแม้กระทั่งรู้สึกราวกับถูกปลดปล่อยได้อย่างไร? มนุษย์เราคงไม่อาจถูกปลดปล่อยจากการมัดได้ ถ้าไม่ได้รู้จักชิบาริ (Shibari) ศิลปะแห่งเส้นเชือกจากแดนอาทิตย์อุทัย และหากว่าคุณยังไม่เคยรู้มาก่อนว่าชิบาริคืออะไร NIHON STORIES จะพาคุณดำดิ่งไปในศาสตร์และศิลป์นี้ไปพร้อม ๆ กัน การใช้เชือกพันธนาการร่างกายเพื่อลงโทษ จุดเริ่มต้นของการนำเชือกมาพันธนาการร่างกายมนุษย์ของชาวญี่ปุ่นไม่ได้เริ่มต้นมาจากเรื่องเซ็กซ์ แต่เริ่มมาจากการมัดเพื่อลงโทษ โดยใช้ศิลปะการป้องกันตัวแบบโบราณที่เรียกว่า โฮโจจุตสึ (Hojojutsu) มาพันธนาการนักโทษทั้งชาย-หญิง เชลยศึกต่างเมือง ตัวประกัน และภรรยาหรือบุตรสาวของขุนนางระดับสูงที่ทำความผิด ซึ่งการมัดจะเริ่มมีบันทึกแน่ชัดช่วงยุคมุโรมาจิ (Muromachi-jidai) แต่แพร่หลายมากในยุคเอโดะ เหตุที่ต้องใช้เชือกมามัดแทนการจับผู้กระทำผิดยัดเข้าตารางเป็นเพราะญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้นขาดแคลนทรัพยากรเหล็ก การใช้เหล็กต้องสงวนไว้สำหรับของจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น ทำให้คุกแน่นหนามีไม่มากในญี่ปุ่น เชือกจึงกลายเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดแทนการขังนักโทษไว้ในลูกกรงเหล็ก จุดมุ่งหมายหลักของการมัดของชาวญี่ปุ่นสมัยโบราณคือ พยายามทำให้ผู้ถูกมัดรู้สึกอับอายคล้ายกับว่าถูกประจาน ผู้ถูกมัดจะรู้สึกทรมานและอยากได้รับการปลดปล่อยจากพันธนาการเร็ว ๆ ซึ่งการมัดเพื่อลงโทษจะสามารถแบ่งระดับความรุนแรงได้ 4 ขั้น ตามแต่โทษหนักเบา เริ่มจากระดับแรกคือมัดแล้วโบย ระดับต่อมาคือการมัดแล้วปาหินใส่ ระดับที่สามหนักขึ้นมาอีกด้วยการจับนักโทษมามัดเชือกให้แน่นมากขึ้นกว่าเดิม ให้ร่างกายงอเหมือนกุ้งจากนั้นนำไปแขวนเพื่อประจานให้อับอาย ส่วนระดับสุดท้ายจะต้องมัดให้แน่นหนาดิ้นไม่หลุดและทำให้ผู้ถูกมัดรู้สึกทรมานที่สุด แต่ต้องไม่ให้เชือกทำให้ร่างกายนักโทษถึงขั้นหลอดเลือดอุดตันหรือทำลายเส้นประสาท แม้ถูกมัดทิ้งไว้เป็นเวลานาน ซึ่งข้อบังคับเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการมัดเพื่อลงโทษของคนญี่ปุ่นสมัยโบราณก็มีกฎที่เคร่งครัด เป็นศาสตร์ที่ไม่ใช่การมัดอย่างไรก็ได้ตามใจ