“ความจนมันน่ากลัว” คนที่ลำบากทำงานเดือนชนเดือนสายตัวแทบขาดย่อมเข้าใจคำพูดนี้ดี และมันคงยิ่งการันตีได้ชัดเจนขึ้นกับประเทศที่เราอยู่ เพราะดันมีรายงานจาก CS Global Wealth Report 2018 เผยว่าระดับความเหลื่อมล้ำในไทยติดอันดับแรกของโลก เนื่องจากคนที่ร่ำรวยที่สุดซึ่งคิดเป็น 1% มีทรัพย์สินรวมคิดเป็น 66.9 % ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ ล้มอดีตแชมป์อย่างรัสเซีย พอเงินไม่มีแล้วรัฐในฐานะผู้ปกครองก็เริ่มมานั่งกุมขมับว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ลงเอยแล้วนโยบายการให้เงินอุดหนุนหรือสวัสดิการอุดช่องว่างจึงเหมือนสูตรสำเร็จที่ใช้กันทุกประเทศมาหลายทศวรรษ ไม่เว้นแม้แต่ในไทยที่นายกรัฐมนตรีนักทำตามสัญญา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพิ่งทำล่าสุดกับการให้เพิ่มบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอีก 3.1 ล้านใบ ซึ่งเมื่อรวมทั้งหมดราว 14.5 ล้านใบ แหวกกระเป๋างบจากกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม มาใส่ในบัตรให้กดกันเพลิน ๆ เปย์เงินท่วมท้นด้วยงบประมาณ 7,250 ล้านบาทเพื่อเป็นของขวัญรับปีหมา ทว่าประเด็นเรื่องการให้เงินเป็นเรื่องทอดทิ้งหรือโอบอุ้มคนจน เราต้องสอนคนจับปลาหรือจับปลามาให้เขากิน ก็ยังถกกันอยู่ไม่หยุดหย่อน เพื่อให้ชาว UNLOCKMEN ได้ใช้ดุลยพินิจกับมันให้เต็มที่ เราขอส่งต่อแง่มุมเรื่องการอุดหนุนเงินคนจนจากภาครัฐทุกแง่มุมมาฝากกัน ให้เงินมันดีอย่างไร มองกันให้เป็นกลางเรื่องนโยบายที่หลายคนสงสัยกันนักกันหนาว่าการเอาภาษีของเราไปแจกเป็นเงินสดมันช่วยอะไรได้ เรื่องนี้อธิบายไว้ในงานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ใน published research paper (paywall) ของ David Evans จากธนาคารโลกและ Anna Popava จาก Standford
แค่ได้ยินคำว่า SET Awards 2018 นักลงทุนหลายคนก็คงอยากรู้แล้วว่าใครบ้างที่ได้รางวัลนี้ เพราะมันเป็นรางวัลที่ถือว่าเป็นรางวัลเกียรติยศทรงคุณค่าในตลาดทุนไทย ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิคัดเลือกการมอบรางวัลกันอย่างเข้มข้น เรียกได้ว่า คนทำงานชื่นใจ นักลงทุนก็ยิ่งกระชุ่มกระชวยถ้าบังเอิญได้เอี่ยวกับบริษัทที่ได้รางวัลเหล่านั้นเพราะหมายถึงแนวโน้มการทำงานของบริษัทนั้นเชื่อถือได้ ส่วนใครที่กำลังจะลงทุนก็ต้องรีบโหมกระพือปีกเข้ากองไฟอุ่น ๆ ให้ไม่ต้องขึ้นดอยหนาวได้ พร้อมแล้วอย่ารอช้า UNLOCKMEN ได้ Recap เก็บมาให้ครบทุกรางวัลตามลำดับ พร้อมบทสัมภาษณ์จากรางวัลไฮไลต์คือ Best CEO 2018 ไว้ทุกคำแล้ว BEST INVESTOR RELATIONS AWARD รางวัลบริษัทจดทะเบียนด้านนักลงทุนสัมพันธ์ยอดเยี่ยม แบ่งออกเป็น 5 รางวัลตามประเภทดังต่อไปนี้ 1. รางวัลบริษัทจดทะเบียนด้านนักลงทุนสัมพันธ์ยอดเยี่ยม บริษัทที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในตลาดหลักทรัพย์ MAI : บมจ. สยามเวลเนสกรุ๊ป 2. รางวัลบริษัทจดทะเบียนด้านนักลงทุนสัมพันธ์ยอดเยี่ยม Market Cap ระหว่าง 3,000 – 10,000 ล้านบาท : บมจ. สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี 3. รางวัลบริษัทจดทะเบียนด้านนักลงทุนสัมพันธ์ยอดเยี่ยม Market
หนุ่มเมืองทุกคนรู้กันดีว่าหัวมุมถนนของประเทศเราไม่เคยเงียบเหงา เพราะเราจะได้แสงสว่างของป้ายร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่นอีเลฟเว่นมาเป็นเพื่อนคู่ใจเสมอ ยิ่งเป็นชายโสดยิ่งได้ใช้บริการบ่อยกว่าเพราะที่แห่งนี้มันช่วยเติมความอิ่มท้อง กับแกล้มเคี้ยวเพลิน พร้อมกับแอลกอฮอล์สะดวกซื้อให้พวกเราได้จิบกันชุ่มคอ แต่อาทิตย์ที่ผ่านมาหลังเจอดราม่าจดหมายคุณอลงกรณ์ พลบุตร ส่งถึงเจ้าสัว CP ธนินทร์ เจียรวนนท์ เข้าไป เราเชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนคงอยากรู้เรื่องราวเส้นทางธุรกิจของ 7-Eleven มากขึ้น ว่าเส้นทางบริการเติบโตมาอย่างไรและจริงหรือที่เซเว่นจะทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยทยอยตายไปเรื่อย ๆ UNLOCKMEN ขอไล่เรียง Timeline ธุรกิจเซเว่นในประเทศไทยเพื่อให้การพูดคุยของพวกเรามันส์และจริงจังขึ้น ใครพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกัน จากร้านขายน้ำแข็งใน Taxas สู่ร้านสะดวกซื้อทั่วโลก เริ่มกันที่ภาพกว้างกันก่อนลงดีเทลในบ้านเรา จุดเริ่มต้นของเซเว่น อีเลฟเว่น (ที่ยังไม่ได้ชื่อว่าเซเว่น) กำเนิดขึ้นครั้งแรก พ.ศ. 2470 ณ เมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา โดยบริษัทเซาท์แลนด์คอร์ปอเรชั่น ดำเนินกิจการผลิตและจัดจำหน่ายน้ำแข็ง แต่หลังจากขายน้ำแข็งแล้วก็เริ่มขยายกิจการต่อด้วยการเอาสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นมาขายเพิ่มเติมด้วย พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อว่า “Tote’M store” ก่อนจะมีการปรับเปลี่ยนชื่ออีกครั้ง พ.ศ. 2489 เป็น “เซเว่น – อีเลฟเว่น” โฆษณาชิ้นแรกของเซเว่น ทำไมต้องเซเว่น – อีเลฟเว่น
ตอนนี้กระแส Apple Store ที่มาเปิดในบ้านเราฟู่ฟ่าสุด ๆ เรียกได้ว่าสาวก Apple ทุกคนคงต้องอยากไปเยือน ไปซื้ออะไรติดไม้ติดมือกลับบ้านมาสักอย่าง แต่ดูเหมือนจะโคตรตรงกันข้ามกับสถานการณ์ภาพรวมธุรกิจเวทีโลกโดยสิ้นเชิง เพราะตอนนี้ฝั่งนั้นเขาประกาศว่า “ขอไม่รายงานยอดขายทุกโปรดักส์ในเครือแบบไตรมาสละนะ ตอนนี้ขอไปโฟกัสเรื่องธุรกิจบริการก่อน อีกอย่างมันไม่ได้โชว์ประสิทธิภาพของเราด้วย” เหตุผลที่จู่ ๆ ขา Tech ยักษ์อย่าง Apple ขาดส่งสมุดพกรายงานยอดขายรายไตรมาสครั้งนี้ นักวิเคราะห์ตลาดหลายคนเขาออกมาให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นเพราะไม่อยากจะเผยยอดขายให้ช้ำนัก ขอแอบเลียแผลใจลำพังไปก่อน เพราะมันโตขึ้นจากปีที่แล้วเพียงนิดเดียวเท่านั้น แต่ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นครั้งนี้ก็ส่อให้เห็นว่าไม่ใช่แค่ Apple เท่านั้นที่ต้องกล้ำกลืนกับยอดขาย เหล่าหุ้นเทพสาย Tech ทั้ง 5 ตัวที่มีผลการดำเนินงานดีที่สุดของกลุ่มเทคโนโลยี อย่าง FAANG ซึ่อย่อมาจากตัวอักษรของแบรนด์ทั้ง 5 ได้แก่ F – Facebook(FB), A – Apple(AAPL), A – Amazon(AMZN), N – Netflix(NFLX) และ G – Google(GOOG) เองทุกตัวก็กำลังชะลอตัวเช่นกัน APPLE ประกาศอุบตัวเลขไตรมาสนี้
ทุกครั้งที่มีเหตุให้ต้องเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะออกเดินทางท่องเที่ยวพักร้อน หรือไปคุยงานเจรจาธุรกิจ เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ชาว UNLOCKMEN ให้ความสำคัญไม่แพ้การเตรียมตัวซื้อตั๋ว จองที่พัก จัดกระเป๋าให้พร้อมสำหรับทริปนั้น ๆ นั่นก็คือเรื่องของความรวดเร็วสะดวกสบายระหว่างการเดินทาง ตามสัญชาตญาณพื้นฐานของผู้ชายอย่างเรา ๆ ที่ไม่ชอบอะไรวุ่นวาย เน้นง่ายเข้าว่า จนเลือกที่จะยอมจ่ายมากกว่าเพื่อแลกกับบริการหรือสิทธิพิเศษต่าง ๆ ซึ่งช่วยเติมเต็มประสบการณ์การเดินทางให้ดีกว่า ไม่ต้องเหนื่อยกับขั้นตอนที่ยุ่งยาก จนต้องเสียแรง เปลืองเวลามากมายเกินความจำเป็น เพราะคงไม่มีอะไรดีไปกว่าในวันเดินทางมีรถลีมูซีนสุดหรูมารับถึงหน้าบ้านยิงตรงเข้าสู่สนามบิน พร้อมผู้ช่วยส่วนตัว ที่คอยอำนวยความสะดวกในการเช็คอินรวมถึงขั้นตอนตรวจคนเข้าเมืองแบบสะดวกรวดเร็วผ่านช่องทาง Fast Track มีเวลาเหลือเฟือให้แวะนั่งจิบกาแฟเพลิน ๆ ในเล้าจ์รับรองพิเศษระหว่างรอขึ้นเครื่อง ลืมภาพที่ต้องลากกระเป๋าพะรุงพะรัง เดินงมหาเคาน์เตอร์เช็คอิน เข้าคิวต่อแถวต.ม. ยาวเหยียดไปได้เลย ซึ่งสิทธิพิเศษเหล่านี้ ในบางเรื่องใช่ว่าจะสามารถควักเงินจ่ายกันไปโต้ง ๆ แล้วจะได้มา แต่มันเป็นเรื่องของการบริหารเงิน รู้จักใช้เงินให้เป็น ในเมื่อมีทุนอยู่กับตัวก็ต้องมองหาช่องทางใช้จ่ายให้คุ้มค่า หรือจะเรียกว่าเป็นการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิประโยชน์มากมายที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้ชายสายเดินทางอย่างพวกเราก็คงไม่ผิดนัก และช่องทาง ที่เราเองประทับใจในสิทธิพิเศษต่าง ๆ มากมายจากที่นี่ จนอยากแนะนำให้ชาว UNLOCKMEN ได้รู้จัก นั่นก็คือ การมีสถานะเป็นลูกค้า Citigold ซึ่งสถานะนี้ได้มาจากการฝากเงิน หรือนำเงินไปลงทุนกับกองทุนต่าง ๆ ผ่านธนาคารซิตี้แบงก์ ในยอดเงินตั้งแต่
ถ้าไม่นับกลิ่นน้ำหอมของสาว ๆ แล้ว “ฮอปส์” คือกลิ่นที่ผู้ชายอย่างเราพร้อมใจกันยกนิ้วให้ว่าหอมสุดในฤดูหนาวนี้ เพราะพอตะวันตกดินร่างกายมันก็เริ่มเรียกร้องให้เราออกไปปะทะลมหนาวและชิมยอดข้าวทันที แต่ใครที่อยากกินเบียร์สะดวก ๆ ใกล้บ้านแบบไม่ต้องดั้นด้นออกหาร้าน คงต้องไว้อาลัยกับสงครามการจิบที่วันนี้รัฐประกาศออกมาให้ช้ำใจกับการ “งด” ขายเบียร์สดในร้านสะดวกซื้ออย่างเป็นทางการ เรื่องอุดเบียร์หัวจ่ายในร้านสะดวกซื้อครั้งนี้ แม้จะไม่ได้รับผลกระทบกับเรามากนัก เพราะหลายคนคงยังไม่เคยใช้บริการของมันด้วยซ้ำ แต่มันก็มีอยู่จริง แถมยังลงทุนติดตั้งไปแล้วในบางสถานที่ด้วย สมรภูมิก่อนวันที่กฎหมายจะลงดาบเอาจริงมีเรื่องราวเป็นมาอย่างไร UNLOCKMEN จะขอ Recap ตำนานนี้ไว้เอง (ใส่หมายเหตุว่าถ้าอ่านไปจิบไปเพลิน ๆ จะได้อรรถรสเรื่องนี้มากขึ้น) ชนวนยก “เบียร์” ขึ้นจ่าย ว่าด้วยเรื่องยกเบียร์ขึ้นหัวจ่าย หรือเบียร์สดในบ้านเรา ก่อนที่ใครจะเข้าใจผิดต้องบอกก่อนว่ากฎหมายฉบับที่กำลังพูดถึงน้ีไม่ได้ห้ามการค้าเบียร์สดตามสถานที่เรากินตามร้านอาหาร หรือบาร์ แต่ว่าห้ามการขายเบียร์สดตามร้านสะดวกซื้อ ซึ่งช่วงหลายปีที่ผ่านมามีกระแสการขายเบียร์สดแบบใช้แก้วพลาสติกกดทำนองเดียวกับแก้ว Gulf ในเซเว่นกำลังมาในหลายประเทศ อิสระการดื่มแบบไม่ต้องมีเด็กเชียร์ก็ยังดื่มด่ำได้ทุกเวลา แม้เราจะยังไม่ทราบว่าเริ่มต้นจากประเทศไหนเป็นแห่งแรก แต่กระแสที่เห็นได้ชัดคือเพื่อนบ้านเอเชียแดนมังกร ที่กดเบียร์สดยี่ห้อดังชิงเต่าจากร้านค้าสะดวกซื้อใส่ถุงพลาสติกใบใหญ่อัดแน่นสะใจ พ.ศ.2555 กลายเป็นเรื่องสุดว้าว ภาพหอยและถั่วกับแกล้มที่อยู่ด้านข้างใต้แสง daylight บอกเราได้ว่าถึงบ้านต้องมีเมา มีมันส์ แน่ ๆ ทำให้ธุรกิจหลายประเทศอยากจะเอาใจบุรุษคอทองแดงแบบนั้นบ้าง เช่นเดียวกับเราชาวไทยที่ช่วงปีที่แล้ว 2 แบรนด์เบียร์ยักษ์ทั้งเสือและช้างออกโรงมาแข่งกันวางผลิตภัณฑ์ทดลองแบบนั้นบ้างกับร้านสะดวกซื้อในบ้านเราเมื่อกลางปีที่แล้ว BEGINS
ทำมาค้าขึ้นคงเป็นสิ่งที่บุรุษนักธุรกิจอย่างเราไม่ว่าจะเป็นมือสมัครเล่น หรือมือฉมังต้องการ แต่เราเรียนรู้ว่าโลกของตลาดมันขึ้น-ลง อยู่เสมอ ถ้าปรับไม่ทัน สต๊อกของเยอะ หรือดันเจอกระแสลบของสินค้าที่นำมาขายก็มีโอกาสจะจมทุนกันเห็น ๆ เพื่อไม่ให้เรื่องการค้ากำไร กลายเป็นการค้าขาดทุน เราได้ติดตามข้อมูลเทรนด์การค้าปลีกในเอเชียที่จะรุ่งในปีหมูที่กำลังจะมาถึงทั้ง 5 เทรนด์จาก Trend Watching มาฝากกัน เผื่อใครเห็นช่วงนี้ยอดตกจะได้เข้าใจว่าเป็นเพราะอะไร และปรับตัวได้ทันก่อนกระแสมันจะโหมใส่ในปีหน้าจาก 5 เรื่องนี้ 1. ZERO-WASTE SHOPPING เรื่อง Zero-waste หรือแนวคิด “ขยะเหลือศูนย์” ตอนนี้มันมาถึงเรื่องการค้าขายแล้ว และกำลังเบียดตัวเข้ามาเป็นกระแสหลักของการชอปปิ้งที่หนุ่มนักขายอย่างเราไม่ควรเพิกเฉย ทำไมต้อง Zero Wasting Shopping: ปัญหาขยะเป็นปัญหาระดับโลก หนุ่มเมืองอย่างเราคงเข้าใจปัญหาเรื่องนี้ดี ส่วนเหตุผลที่จะทำให้เรื่องนี้ฮิตในกลุ่มทวีปเอเชียเพราะหลายคนเริ่มตระหนักเรื่องนี้แล้ว เพราะกลุ่มประเทศในเอเชียไมว่าจะเป็น จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม รวมทั้งประเทศเราเอง เป็นต้นเหตุของกองขยะในมหาสมุทรจำนวนกว่า 80% ในโลก ที่สำคัญหลายประเทศใหญ่ ๆ อย่างจีนเองก็เริ่มขยับตัวแล้วไม่ว่าจะเป็นมาตรการลดการนำเข้าพลาสติกเข้าประเทศและรีไซเคิลพลาสติกจริงจังตั้งแต่ต้นปี 2018 หรือในไต้หวันที่ออกมาแบนการใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งเพียงครั้งเดียวทั้งประเทศ KEY TO SUCCESS: ใครที่มองภาพไม่ออกว่ามันมีเรื่องแบบนี้ในบ้านเราด้วยเหรอ ในสายของ retail
หลังห่างหายจากการส่งผลงานเข้าประกวดมา1 ปีเต็มๆ ลีโอเบอร์เนทท์ ประเทศไทย กลับมาผงาดอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้ง คว้ารางวัลเอเจนซี่ยอดเยี่ยมแห่งปี (Agency Of The Year) พร้อมรางวัลดิจิตอลเอเจนซี่ยอดเยี่ยม (Digital Agency of The Year) และอีก 39 รางวัลบนเวทีประกวดแอดแมน อวอร์ด ตอกย้ำภาพความสำเร็จจากโซลูชั่นธุรกิจที่ ‘สงกรานต์ เศรษฐสมภพ’ ประธานกรรมการบริหารเคยประกาศไว้เมื่อปี 2015 ว่าลีโอเบอร์เนทท์ คือ ‘นักแก้ปัญหาทางธุรกิจ’ หรือที่เรียกว่า Creativity for Business Solution นำเสนอพลังความคิดสร้างสรรค์จากคนคุณภาพ ตอบโจทย์ทุกปัญหาธุรกิจลูกค้าอย่างครบวงจร นายสมพัฒน์ ทฤษฎิคุณ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายสร้างสรรค์ เดอะ ลีโอ เบอร์เนทท์ กรุ๊ป ประเทศไทย (The Leo Burnett Group Thailand) เปิดใจถึงเบื้องหลังความสำเร็จจากงานประกวด แอดแมน อวอร์ด แอนด์ ซิมโปเซี่ยม 2018” (Adman Awards
ผู้ชายอย่างเราลืมตาตื่นขึ้นมาในแต่ละวันต้องเผชิญกับการงานที่เรารัก แถมพ่วงมาด้วยปัญหา อุปสรรคไม่ค่อยน่ารักทุกรูปแบบ แม้จะเป็นแบบนั้นเราก็พร้อมตื่นมาพุ่งชนฟันฝ่าทุกปัญหาเรื่องงานไม่หยุด ตัวเนื้องานก็หนักหนาสาหัสมากพออยู่แล้ว แต่หลาย ๆ ครั้งอุปสรรคก็มาในรูปแบบคำหวานหรือคำพูดจากคนในองค์กรที่เหมือนจะดี แต่จริง ๆ มันคือยาพิษที่กัดกร่อนเราจากภายในอยู่ทุกวันโดยที่เราไม่รู้ตัว อย่าปล่อยให้คำพูดจากคนในองค์กรเหล่านี้ค่อย ๆ ปลิดชีวิตและบ่อนทำลายพลังในการลุยงานของเรา รู้เท่าทันตั้งแต่วันนี้ แล้วหาทางรับมือให้ดี เพราะบางทีคำพูดหวานหู แต่ใครจะรู้ว่าเบื้องหลังมันร้ายกว่าที่คิด “เอาน่า ช่วยกันไว้ ที่นี่เราอยู่กันแบบครอบครัว” คำว่าครอบครัวคือคำพูดเชิงบวกสำหรับชาวไทยเป็นอย่างมาก เพราะมันหมายถึงความรัก ความอบอุ่น ความผูกพันแบบที่ความสัมพันธ์รูปไหนก็ไม่อาจเทียบเทียม ถ้าเป็นการช่วยเหลือกันไปตามภาระหน้าที่รับผิดชอบของเรา มนุษย์ผู้นั้นก็คงไม่ต้องอ้างคำว่า “ครอบครัว” เพื่อให้เราลงแรงช่วยเหลือ รู้ไว้เลยว่าเมื่อไหร่ที่องค์กรเริ่มอ้างคำว่าครอบครัวนั่นแปลว่าเขากำลังเรียกร้องอะไรที่นอกเหนือจากความรับผิดชอบเรานั่นเอง เมื่อเกิดวิกฤตหรือช่วงงานหนักเป็นครั้งคราวแล้วเราต้องทำงานเกินเวลานั่นเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ แต่ถ้าองค์กรไหนอ้างคำว่าครอบครัวพร่ำเพรื่อเพื่อละเมิดเวลาและความรับผิดชอบของเราโดยไม่มีการตอบแทนอย่างเป็นระบบ เมื่อนั้นคำหวานหูอย่างครอบครัว อาจจะเป็นยาพิษโดยไม่รู้ตัวก็ได้ “อย่าบ่นไปเลย ทุกคนก็เหนื่อยมากเหมือนกัน” เมื่อไหร่ที่เราเริ่มท้อ วิพากษ์วิจารณ์ปริมาณงานและเวลางานที่ดูไม่สมดุลออกมา หรือบางทียังไม่ทันบ่นเพราะมือเป็นระวิงกับทุกอย่างที่ทำตรงหน้า แล้วมีคนในองค์กรพยายามมาให้กำลังใจด้วยการบอกว่า “ทุกคนก็เหนื่อยมากเหมือนกัน” เราเองอาจจะหลงคิดว่า เออ ดีสิ บริษัทงานเยอะ ทุกคนเหนื่อยขนาดนี้ ผลประกอบการดีแน่นอน! แต่อย่าลืมว่าการทำงานยาวนาน หรือปริมาณงานที่จัดการเท่าไหร่ก็ไม่ลดลงสักที มันอาจไม่ได้หมายถึงผลประกอบการที่ดีมาก ๆ แต่อาจเป็นระบบงานที่ไร้ประสิทธิภาพ แต่คนในองค์กรไม่ยอมรับฟัง ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง
ท่ามกลางกระแสการ Disruption ในยุคดิจิทัล มีองค์กรจำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นลูกนี้ สิ่งที่ถือเป็นความท้าทายสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ โดยเฉพาะธนาคารที่ต้องพาพนักงานทุกคนให้พร้อมวิ่งไปด้วยกันไม่ว่าสนามแข่งขันจะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน หรือในปัจจุบันคือ การเปลี่ยนจากยุคออฟไลน์ที่คนต้องใช้บริการที่สาขาธนาคารหรือพกเงินสดติดตัวเพื่อจับจ่ายใช้สอยมาสู่ยุค Digital ที่ทุกคนแค่มองหน้าจอก็สามารถทำธุรกรรมได้อย่างสมบูรณ์แบบ แถมยังมีเทคโนโลยีใหม่ออกมาช่วยปรับเปลี่ยนประสบการณ์ให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา ด้วยความรวดเร็วของเทคโนโลยี ทั้งองค์กรและคนทำงานจึงต้องร่วมมือวิ่งไปพร้อมกันเท่านั้นถึงจะเวิร์ค ดังนั้น เมื่อถึงวันนี้ที่ความรู้ และทักษะ Digital มีความจำเป็นสำหรับคนธนาคารทุกแผนก “SCB Academy” จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ด้าน Digital ที่มีความล้ำหน้าทั้งด้านเทคโนโลยี บุคลากร และบรรยากาศการทำงาน ปรับกันได้ทั้งด้าน Knowledge, Skill, Experience และ Mindset นับว่าเป็นทางออกในการเตรียมความพร้อมให้คนทุกเจนเนอเรชั่นในองค์กรมีสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงได้อย่างมั่นใจและยั่งยืน คุยกับทีมสร้าง SCB ACADEMY ศูนย์กลางการเรียนรู้เฉพาะด้านการเงินการธนาคาร เพื่อไขข้อข้องใจของวิธีสวนกระแสในยุคที่องค์กรส่วนใหญ่มุ่ง Lean และคาดเข็มขัดการพัฒนาบุคลากร แต่ SCB กลับ มุ่ง Learn แถมยังปรับเปลี่ยนพื้นที่ถึง 2 ชั้นในตึก SCB สำนักงานใหญ่ เป็นพื้นที่สำหรับพัฒนาองค์ความรู้และทักษะใหม่ ๆ ยกอนาคตมาไว้ในบ้านให้พนักงานได้ใช้พื้นที่กันแบบฟรี ๆ เพื่อให้พนักงานนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน
คงต้องมีสักครั้งที่เราเคยไปงานอีเวนต์ หรือเห็นฟีดในหน้าโซเชียลมีเดียโชว์งานอีเวนต์สุดเจ๋งในเมืองไทยของแบรนด์ต่าง ๆ แล้วอุทานออกมาให้กับงานคอมเมอร์เชียลเหล่านั้นว่า “เฮ้ย อย่างนี้ก็ได้เหรอ เจ๋งอ่ะ คิดได้ไงวะเนี่ย” เชื่อเถอะว่า หนึ่งในงานเหล่านั้นเป็นผลงานที่ “เบียร์-พันธวิศ ลวเรืองโชค” พ่อมดแห่งวงการอีเวนต์จากอาณาจักร Apostrophys Group เป็นผู้สร้างสรรค์อยู่เบื้องหลังแน่นอน เขาไม่เพียงเป็นนักสร้างสรรค์ประสบการณ์ชั้นยอดไม่รู้จบเท่านั้น แต่ยังเป็นเจ้าของบริษัทอื่น ๆ อีกถึง 4 แห่ง ได้แก่ Sense.S (บริษัทด้าน New media และ Interactive Media), Synonym (บริษัทตกแต่งภายในสำหรับส่งเสริมธุรกิจหรือบุคคลที่ต้องการสร้างโปรไฟล์จากที่พักอาศัย), Happening Design (บริษัทร่วมทุนรับเหมาก่อสร้าง เพื่อส่งเสริมภาคการผลิต) และ SOURCE บริษัทด้านดิจิทัล เอเจนซี่น้องใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นปลายปีนี้ ท่ามกลางยุคที่พวกเราพยายามวิ่งตามหาบางสิ่งมาต่อไฟฝัน เพิ่มพลังการทำงานที่พร้อมจะมอดดับตลอดเวลาของตัวเอง UNLOCKMEN เชื่อว่าไม่บ่อยนักที่เราจะเจอนักสร้างสรรค์ที่มีไอเดียใหม่ไม่รู้จบอยู่ในสมอง และเหลือพลังมากพอที่จะทำงานสร้างสรรค์งานด้านอื่นด้วยอย่างเขาคนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเขาทิ้งน้ำเสียงสบาย ๆ ว่า “ตลอด 13 ปีที่ผ่านมา ผมไม่เคยคิดงานไม่ออกเลยครับ” มันก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เราบุกเข้าไปถึงออฟฟิศใหม่ Apos the HQ เพื่อพูดคุยค้นหาที่มาของไอเดียความคิดสร้างสรรค์ไม่รู้จบเหล่านั้น วัยเรียน วัย Real : จุดเริ่มต้นอาณาจักรนักสร้างประสบการณ์
“ถ้าคุณอธิบายมันให้เข้าใจง่ายไม่ได้ แสดงว่าคุณยังเข้าใจมันไม่ดีพอ” นักวิทยาศาสตร์ระดับโลกอย่างอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เคยพูดประโยคนี้ไว้และ UNLOCKMEN ก็ขออนุญาตเห็นด้วย เพราะในโลกที่การสื่อสารคือเรื่องสำคัญไม่แพ้กับความเก่ง ความฉลาด ถ้าเราเก่งสุด ๆ หรือเข้าขั้นอัจฉริยะในทางใดทางหนึ่ง แต่ไม่สามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจสิ่งที่เรากำลังทำหรือสิ่งที่เราอยากถ่ายทอดได้ ความเก่งของเรานั้นก็อาจต้องเก็บไว้เชยชมเพียงลำพังหรือเฉพาะในกลุ่มคนที่สนใจ แต่ถ้าก้าวเข้าสู่โลกของการทำงาน และองค์กรของเราไม่ได้พึ่งพาแค่ความเก่งกาจของเราคนเดียว การอธิบายเรื่องยาก ๆ หรือเรื่องที่เราทำให้คนอื่นในองค์กรเข้าใจก็เป็นอีกสกิลสำคัญที่เราควรมีติดตัวไว้ เพราะแค่เก่งเพื่อบุกเดี่ยวอย่างเดียวมันอาจไม่พออีกต่อไป แต่มันต้องสามารถพูดเรื่องยาก ๆ ที่เราทำให้คนอื่นในทีมเข้าใจไปพร้อม ๆ กับเราด้วย พูดรายละเอียดเหมือนเราไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน บ่อยครั้งที่เราเชี่ยวชาญงานด้านที่เราทำแบบสุดลิ่มทิ่มประตู เมื่อถึงคราวได้รับเชิญให้ไปบรีฟ หรือพูดในที่ประชุมที่มีคนมาจากหลาย ๆ ฝ่าย เราจะเผลอพูดอะไรแบบรวบรัดเพราะเคยชินกับการพูดแบบนี้กับคนในทีมที่ทำงานด้วยกัน เช่น ถ้าเราเป็นทีมดิจิทัล มาร์เก็ตติงขององค์กร เราอาจเผลอพูดเรื่องที่ทีมมาร์เก็ตติงรู้อยู่แล้ว แต่อย่าลืมว่าในห้องประชุม อาจมีฝ่ายบัญชี ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายครีเอทีฟ ฝ่ายบริหาร ฯลฯ อยู่ด้วย ซึ่งพวกเขาอาจไม่เข้าใจขั้นตอนที่เรารวบรัดไป ดังนั้นทุกครั้งที่เราพูดอะไร อย่าคิดว่าทุกคนจะต้องรู้ทุกอย่างเหมือนที่เราและทีมเรารู้ ต่อให้มีแค่หนึ่งคนในห้องที่ไม่รู้ เราก็ต้องอธิบายให้เขาเข้าใจ อาจไม่จำเป็นต้องละเอียดยิบ แต่ไม่ควรข้ามขั้น ลองจินตนาการว่าถ้าเราไม่ใช่เราคนนี้ แต่เป็นเราที่ไม่เชี่ยวชาญเรื่องนี้มาก่อน จะฟังตัวเองเข้าใจไหม ? ถ้าไม่ก็ลองหาวิธีพูดให้ตัวเองคนที่ไม่เชี่ยวชาญเข้าใจให้ได้ ใช้คำง่าย