วันหยุด วันว่าง อากาศร้อนระอุ ใครวางแผนว่าจะอยู่บ้านยาว ๆ ใช้เวลาดูหนังเพลิน ๆ UNLOCKMEN ขอแนะนำหนัง 10 เรื่อง ที่มีธีม ‘หน้าร้อน’ เป็นฉากหลัง ฤดูกาลซึ่งถูกใช้เป็นตัวเปลี่ยนผ่านการเติบโตของตัวละครในโลกภาพยนตร์อย่างงดงามมาโดยเสมอ : ) It’s a Summer Film (2021) Soushi Matsumoto เรื่องย่อ : นี่คือเรื่องราวของกลุ่มเด็กสาววัยมัธยม 3 คน ที่คลั่งหนังซามูไรยุคคลาสสิกอย่างเข้าเส้น และต้องการจะถ่ายหนังซามูไรย้อนยุคในแบบของตัวเองเพื่อเข้าฉายในงานเทศกาลโรงเรียน แต่ทว่า ติดที่ไม่ได้งบจากชมรม ทีมงานก็ก็เป็นตัวเฉพาะกิจที่ยื้มจากชมรมอื่นเสียเกือบหมด ที่แย่ที่สุดคือหาคนมาแสดงเป็นพระเอกของเรื่องไม่ได้อีก แล้วปิดเทอมหน้าร้อนนี้จะถ่ายหนังเสร็จมั้ยนะ ! หนังญี่ปุ่นที่ว่าด้วยการทำตามความฝันของวัยรุ่นนี่มันฮีลใจดีจริง ๆ อาาา ‘เกือบจะไม่ได้ฉายแล้วหน้าร้อนนี้’ (ชื่อไทยของหนัง) ก็เป็นหนังแบบนั้นล่ะ เป็นหนังที่เคารพการมีอยู่ของภาพยนตร์ ผ่านความรัก ความเสียใจ และความหวังของเหล่าหนุ่มสาว Stand By Me (1986) Rob Reiner เรื่องย่อ
บทนำ By UNLOCKMEN : ถึงทุกคนที่มีความทรงจำผูกพันธ์กับครอบครัวผ่านอาหาร (โดยเฉพาะกับแม่) หนังสือบันเล่มนี้อาจจะคล้ายเป็นเหมือนบันทึกช่วงเวลาของคุณด้วยเหมือนกัน มันอาจจะเป็นหนังสือต้องห้ามในวันที่ใครคนนั้นจากไป และก็สามารถเป็นหนังสือเพื่ออ่านให้คิดถึงเขาอย่างหมดใจในวันที่จู่ ๆ ความทรงจำก็ย้อนกลับคืนมาอย่างไม่ตั้งใจอีกครั้งนึง เรื่องย่อจากปกหลัง : นี่คือบันทึกความทรงจำพาร์ทหนึ่งในชีวิตของ Michelle Zauner หรือที่เราทุกคนรู้จักเธอในฐานะฟรอนท์แมน ร้องนำ เล่นกีตาร์ และแต่งเพลงของวงดนตรีดรีม-ป็อปชื่อดัง Japanese Breakfast เล่าย้อนกลับไปในช่วงที่วงยังไม่เกิดขึ้น ในช่วงเวลาที่เธอเป็นออนนีของผู้เป็นแม่ที่เป็นเหมือนทุกอย่างของชีวิต ผู้ซึ่งจู่ ๆ วันหนึ่งก็พบว่าตัวเองเป็น ‘โรคมะเร็ง’ แล้วความรัก ความสับสน การตัดสินใจที่ยากลำบาก ที่มีมื้ออาหารเป็นเหมือนกาวใจของสายสัมพันธ์อันพิเศษนี้ก็เริ่มต้น “H-MART คืออะไร ?” พูดง่าย ๆ มันคือซุปเปอร์มาร์เก็ตในอเมริกา ที่ขายข้าวสารอาหารแห้งทุกสิ่งอย่างจากเอเชีย (ฟีล Makro บ้านเรา) แต่สำหรับมิเชลล์ ซอเนอร์ มันคือสถานที่ ‘ของ’ เธอกับแม่ตั้งแต่เด็กจนโต ตั้งแต่ตอนที่แม่เข็นรถเข็นแล้วเธอเดินตามต้อย ๆ จนถึงวันที่มิเชลล์กลายเป็นคนเข็นเองในขณะที่อีกมือหนึ่งก็ถือโทรศัพท์ถามสูตรอาหารเกาหลีจากผู้เป็นแม่ ในบทที่ 1 มิเชลล์ให้คำนิยาม H-MART ของตัวเองเอาไว้ว่าแบบนี้