Entertainment
LATEST FILMS MUSIC AND MORE
  • Entertainment

    “ยิ่งห้ามก็ยิ่งอยากอ่าน” รวม 6 หนังสือต้องห้ามที่ถูกแบนไม่ให้อ่าน

    By: GEESUCH May 10, 2023

    ในวรรณกรรมดิสโทเปียชื่อ Fahrenheit 451 โดยนักเขียนชาวอเมริกัน Ray Bradbury นั้น เล่าเรื่องของโลกที่รัฐบาลลงมติว่า ‘หนังสือ’ คือสิ่งผิดกฎหมาย ประชาชนห้ามอ่านเด็ดขาด ถึงขนาดว่ามีหน่วยชื่อ Firemen คอยเผาหนังสือทุกที่ที่มีอยู่ในสังคมให้หมดไป Guy Montag ตัวเอกของเรื่องก็คือหนึ่งในหน่วยสุมเพลิงนั้น ก่อนที่เขาจะค่อย ๆ ตั้งคำถามว่าสิ่งที่รัฐบาลบอกว่าผิด   ใครที่เป็นแฟนคลับตัวยงของมังงะโจรสลัด One Piece น่าจะรู้ถึงความโหดร้ายของรัฐบาลโลกในเรื่องดี ซึ่งหนึ่งในสิ่งชั่วร้ายที่รัฐบาลคอยทำมาตลอดตั้งแต่เล่มที่ 1 ของมังงะเรื่องนี้ คือการปิดบังข้อมูลกับประชาชน จากตัวอักษรโบราณที่ชื่อว่า ‘โพเนกรีฟ’ เพราะกลัวว่าประชาชนจะล่วงรู้ประวัติศาสตร์แห่งความว่างเปล่าหลายร้อยปีก่อนที่อาจจะมีศพซุกซ่อนอยู่ใต้พรหมที่ตัวเองซุกซ่อนเอาไว้ ถึงขนาดว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนที่อ่านตัวอักษรนี้ทิ้งไปเลย  เรื่องแต่งว่าด้วยการห้ามอ่านของหนังสือ 2 เล่มที่กล่าวไปในข้างต้น มีจุดเชื่อมโยงน่ากลัวร่วมกันอยู่ตรงที่ ‘พลังของตัวอักษร’ มีพลังสามารถเปลี่ยนความคิด ความรู้สึกคนอ่านแบบฉับพลันโดยใช้เวลาเพียงจบหน้ากระดาษ 100-300 หน้าเท่านั้น และการห้ามอ่านมันเกิดขึ้นในชีวิตจริงของพวกเราด้วย ! ในปี 1982 จำนวนหนังสือที่ถูกแบนจากห้องสมุดโรงเรียน และจากรัฐบางรัฐในอเมริกามีปริมาณที่สูงขึ้นมาก ถึงขนาดทำให้องค์กร ​Free-Speech หลายแห่งรวมตัวกันตั้ง ‘งานสัปดาห์หนังสือที่ถูกแบน (Banned Books Week)’ ครั้งที่

    อ่านต่อ
  • Entertainment

    “INDUSTRIAL ROCK” จากดนตรีของชนชั้นที่ถูกกดขี่ สู่ความเกรี้ยวกราดบนโลกเมนสตรีมยุค 90

    By: Synthkid May 7, 2023

    หากคุณเป็นหนึ่งคนที่วนเวียนอยู่ในแวดวงเพลงร็อก เมื่อเอ่ยคำว่า ‘Industrial Rock’ (อินดัสเทรียลร็อก) ศิลปินคนแรกที่คุณจะนึกถึง คงหนีไม่พ้น Nine Inch Nails หรือ Marilyn Manson สำหรับดนตรีแนวนี้ ถึงจะเป็น Genre ที่แตกแขนงออกมาจากร็อก มีความคล้ายคลึงกับอิเล็กทรอนิกส์ร็อกอยู่หลายประการ แต่ก็ไม่สามารถถูกเหมารวมได้ เพราะดนตรีแนวนี้มีความแปลกแตกต่าง ทั้งในแง่ซาวด์ แนวคิด และประวัติความเป็นมา เอกลักษณ์ของอินดัสเทรียลร็อกคือการหลอมรวมระหว่าง ‘ร็อก’ กับ ‘อิเล็กทรอนิกส์’ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีหัวใจหลักคือความดุดัน ก้าวร้าว และตีแผ่ความไม่น่าอภิรมย์ทั้งหลาย ก่อนหน้าจะมีอินดัสเทรียลร็อก โลกของเรามี ‘ดนตรีอินดัสเทรียล’ แบบดั้งเดิมมาก่อนตั้งแต่ยุค 70’s ถึงแม้จะไม่เกรี้ยวกราดบาดหูเท่า แต่ก็เต็มไปด้วยความสิ้นหวังมืดหม่นไม่แพ้กัน เพราะอะไรพวกเขาถึงนำเอาความบันเทิงที่ควรจะสร้างความสุข มาถ่ายทอดความอับเฉาของโลกใบนี้เท่านั้น ? กำเนิดดนตรี Industrial ค.ศ. 1970 เมื่อเครื่องซินธิไซเซอร์ คอมพิวเตอร์ และดนตรีอิเล็กทรอนิกส์เริ่มเข้ามามีบทบาทกับอุตสาหกรรมดนตรี กลุ่มศิลปินทั่วโลกทั้งในและนอกกระแสต่างให้ความสนและนำดนตรีประเภทนี้มาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ในแบบฉบับของตัวเอง ‘ดนตรีทดลอง’ หรือที่เรียกว่าแนว avant-garde เริ่มแพร่กระจายไปทุกหนทุกแห่ง

    อ่านต่อ