‘ฝันร้าย ฝันร้าย และฝันร้าย’ คงจะเป็นหนึ่งในคำที่เหมาะที่สุดสำหรับแฟนผลงานมังงะสยองขวัญของอาจารย์อิโต้ จุนจิ เพื่อใช้นิยาม Junji Ito Maniac: Japanese Tales of the Macabre ออริจินอลซีรีส์ของ Netflix ซึ่งดัดแปลงมาจากรวมเรื่องสั้น One-Shot เลื่องชื่อ ‘คลังสยอง’ ที่หลอนกันมาตั้งแต่เวอร์ชั่นมังงะ และหลอนทะลุขึ้นอันดับ 1 ซีรีส์ของไทยในช่วงเวลานี้ (24/01/2023) สำหรับคอมังงะที่อยากรู้จักอาจารย์ Junji Ito ให้มากขึ้น สามารถอ่านบทความ NIHON STORIES ของ UNLOCKMEN จะอ่านก่อนหรือหลังบทความนี้ก็ได้เลย : https://www.unlockmen.com/nihon-stories-ito-junji/ แล้วถ้าพูดมังงะเรื่องไหนก็ได้ของอาจารย์อิโต้ จุนจิกันบ้างล่ะ ฝันร้ายของพวกคุณคือเล่มไหนกัน ? สาวแววตาเสน่ห์สุดอันตราย ‘โทมิเอะ (Tomie)’ เหล่าซากปลาเน่าใน ‘ปลามรณะ (Gyo)’ หรือความตายสุดเซอร์เรียลแบบหัวลอยได้ใน ‘ลูกโป่งหัวมนุษย์ (Hanging Balloons)’ แต่เชื่อได้เลย คำตอบต้องไม่ได้มีน้อยกว่า 1 เรื่องแน่
การฟังเพลงให้ถูกจังหวะ ให้เข้ากับสถานการณ์ ว่ากันว่ามันสามารถช่วยปรับอารมณ์ของเราได้ไม่น้อยทีเดียว เช่น เพลงแนวแอมเบียนต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาช่วยทำให้เรารู้สึกผอ่นคลาย โดยมากมักจะได้ยินในร้านสปา หรือจะเป็นเพลงที่มีเนื้อหาอกหัก แม้ว่าจะมีเนื้อหาที่เศร้าแต่กลับช่วยทำให้รู้สึกดีขึ้นเพราะมันเปรียบเสมือนมีเพื่อนที่เข้าใจความรู้สึกของเรา ส่วนใครที่กำลังรู้สึกขาดชีวิตชีวา รู้สึกหมดพลังที่จะลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่าง การฟังเพลงแนวเฮฟวี่เมทัลก็อาจจะเป็นตัวช่วยที่ดี เพราะพลังและความรวดเร็วที่ถูกถ่ายทอดออกมาน่าจะไปช่วยกระตุ้นอะดรีนาลีนให้ตื่นตัวได้ไม่ยาก ด้วยเหตุนี้เราจึงได้รวบรวม “6 เพลงเฮฟวี่เมทัลไทยยุค 80’s-90’s” มาให้ทุกคนเก็บไว้ในเพลย์ลิสต์ส่วนตัวกัน “ร็อกเกอร์” หิน เหล็ก ไฟ เราอาจจะคุ้นเคยกับเพลงดังของหิน เหล็ก ไฟ อย่าง “นางแมว”, “ยอม” หรือ “พลังร็อก” เป็นต้น แต่นั่นก็แค่น้ำจิ้มของความสุดยอดทางดนตรีในรูปแบบเฮฟวี่ เมทัล เพราะหากให้มาเทียบกับเพลง “ร็อกเกอร์” เพลงปิดอัลบั้มแรกที่ใช้ชื่อเดียวกับวง (วางจำหน่ายปี 1993) บอกได้เลยว่าคนละเรื่อง เพราะเพลงนี้เรียกได้ว่าจัดจ้าน ทักษะทางดนตรีถูกปลดปล่อยกันออกมาอย่างไม่มีกั๊ก ทำให้เราได้ฟังจังหวะดนตรีสุดเร่งเร้า เช่นเดียวกับเสียงร้องของโป่ง ปฐมพงศ์ ที่พีคด้วยการโหนโทนแหลมสูงได้อย่างแสบแก้วหู ราวกับถูกวิญญาณของ Rob Halford แห่งวง Judas Priest มาประทับร่างเลยทีเดียว “คนหูเหล็ก” THE OLARN PROJECT