GEL-NIMBUS ถือเป็นรองเท้าซีรี่ส์รุ่นแรก ๆ ที่ถูกออกแบบมาสำหรับนักวิ่งที่มีระยะทางไกล โดยรองเท้ารุ่นนี้ได้รับความนิยมยาวนานถึง 20 ปี และเนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี ทาง ASICS จึงถือโอกาสเปิดตัวแนะนำคอลเลคชั่นใหม่ในนามว่า GEL-NIMBUS 20 ซึ่งเป็นที่เล่าขานว่าเป็นรองเท้าวิ่งรุ่นที่เบาที่สุดในตระกูล Nimbus ที่ผ่านมา และสิ่งที่พิเศษสุดสำหรับคอลเลคชั่นนี้คือการออกแบบเพื่อรองรับแรงกระแทกอย่างดีเยี่ยม เหมาะสำหรับผู้รักการวิ่งทั้งระยะสั้น และระยะยาวเลยทีเดียว สำหรับฟังก์ชั่นเด่นของ GEL-NIMBUS 20 คือ ความรู้สึกสบายเท้าในทุกก้าววิ่ง ด้วยนวัตกรรมการรองรับทุกแรงกระแทก เพื่อเสริมความมั่นใจ และพาคุณเข้าสู่จุดปลายทางได้อย่างสวยงาม ครบถ้วนทั้งประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม ในวันนี้ GEL-NIMBUS ถือเป็นหนึ่งในตำนานของรองเท้าวิ่งระยะไกลที่รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และเลื่องลือในความนุ่มสบายด้วยแผ่นรองรับแรงจากนวัตกรรมของ FlyteFoam ที่ผสมผสานเข้ากับเจลในส่วนบริเวณส้นเท้าออกแบบโดยเฉพาะ GEL-NIMBUS 20 รองรับการกระแทกที่มีประสิทธิภาพสูง และอีกหนึ่งนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่ผนวกเข้ากับคอลเลคชั่นนี้คือ Gradient Jacquard Mesh คือการออกแบบ 3 มิติ เพื่อส่งเสริมการออกแบบที่ลงตัว และพิถีพิถันให้ความโดดเด่นด้านรูปลักษณ์น่าสวมใส่ แต่ก็ไม่ละเว้นการใส่ใจในด้านประสิทธิภาพในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นความนุ่มเบา สบาย สามารถใส่วิ่งหรือทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างคล่องแคล่ว ช่วยปกป้องเท้าคุณจากการบาดเจ็บ ทั้งยังมีการระบายอากาศที่ดี ไม่ทำให้เกิดปัญหากลิ่นอับ
สำหรับนักลงทุน หรือผู้ที่พอจะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องของตลาดซื้อขายหุ้น อาจจะคุ้นหูกับคำว่า “Panic Buying” หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า อาการลนลานเมื่อเห็นราคาตลาดกำลังพุ่งแรง หรือดิ่งจนน่าตกใจก็รีบซื้อหรือขายหุ้นมั่วซั่วโดยไม่ได้ผ่านการเช็ค และตรวจสอบพื้นฐานอย่างถี่ถ้วน สุดท้ายกลายเป็นขายหมู หรือเป็นเม่าชั้นดีติดดอยหนาวเหน็บกันไปก็หลายราย ซึ่งไอ้คำว่า Panic Buying ก็ไม่ได้ถูกบัญญัติใช้เฉพาะวงการหุ้นเพียงอย่างเดียว เพราะมันได้กลายเป็นแนวคิดทางจิตวิทยาอย่างหนึ่ง ที่แม้กระทั่งตามตลาดนัดเองก็ยังมีการนำมาใช้ ลองคิดภาพ mc สาวสวยถือไมค์ประกาศว่า “นาทีทอง สินค้าชิ้นเดียวเราไม่ขาย เราขายสินค้าสองชิ้นในราคาชิ้นเดียว 1 แถม 1 กันไปเลย !!” โดยอันที่จริงแล้วสินค้าดังกล่าว อาจจะไม่ได้เป็นสิ่งของที่ตัวเราต้องการเลยก็ได้ เพียงแต่ด้วยกลยุทธ์ที่ออกมาล่อตาล่อใจ จนทำให้เราต้องใช้จ่ายเงินแบบที่เรียกว่า Panic Buying ทำให้สูญเสียเงินไปไม่ใช่น้อย แต่ถ้าจะเล่าอาการของ Panic Buying ให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นตามแบบทฤษฎี คือการที่ผู้บริโภคต้องตัดสินใจซื้อของบางอย่าง ภายใต้ความกดดัน ไม่ว่าจะเป็นกรอบของเวลา การบีบคั้นด้วยจำนวนสินค้าที่จำกัด หรือสถานการณ์บังคับ จนทำให้นักช็อปปิ้งส่วนใหญ่รู้สึกตื่นตระหนก สูญเสีย และให้ความสำคัญกับการจับจ่ายช่วงเวลาดังกล่าวอย่างมาก เพราะกลัวจะพลาดโอกาสนี้ไป นอกเหนือจากนี้อาการ Panic Buying ยังส่งผลต่อการตัดสินซื้อที่ขาดไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนอีกด้วย โดยเรามีตัวอย่าง 2 กรณีเกี่ยวกับ Panic Buying