ชีวิตมนุษย์เต็มไปด้วยการสื่อสาร ไม่ว่าจะการทำงาน ความสัมพันธ์ หรือเรื่องยิบย่อยอะไรก็ตาม เมื่อใดก็ตามที่เราพูดถึงการสื่อสาร เราก็มักเชื่อมโยงมันเข้ากับการพูดหรือการส่งเสียงเสมอ ใครจะรู้ว่า “ความเงียบ”ก็เป็นการสื่อสารที่ทรงพลังได้เช่นกัน และนี่คือ 6 วิธีที่เหล่าผู้นำและผู้มีอิทธิพลเลือกใช้ เพื่อแปรเปลี่ยนความเงียบใบ้ให้การเป็นการสื่อสารสุดทรงพลังได้ เงียบเพื่อสร้างความเชื่อใจ ถ้าเราคือคนหนึ่งที่ต้องการพัฒนาความสัมพันธ์ไปถึงขั้นที่ทรงประสิทธิภาพ อย่างหนึ่งที่เราจะขาดไม่ได้คือการสร้าง “ความเชื่อใจ” กับคนตรงหน้า และความเชื่อใจนั้นจะเกิดไม่ได้เลยถ้าเราไม่รู้จักเงียบลงบ้าง ดังนั้นความเงียบจึงเป็นอีกหัวใจสำคัญในการสร้างความเชื่อใจในบทสนทนา การเงียบเพื่อฟัง จะทำให้เราเรียนรู้ตัวตนอีกฝ่ายมากขึ้น และเมื่อใดที่เขาสัมผัสได้ว่าเรากำลังรับฟังเขา เมื่อนั้นเขาก็จะรับฟังเราเช่นกัน เงียบเพื่อเน้นประเด็นให้ชัด คำพูดคือการสื่อสารที่ทรงพลัง แต่ถ้าพูดมากไป อาจทำให้ผู้ฟังไม่สามารถเข้าใจได้เลยว่าเราสนใจประเด็นไหนที่สุด หรือประเด็นไหนที่เราให้ความสำคัญที่สุดกันแน่ ? ดังนั้นในที่ประชุม การใช้ความเงียบในบางประเด็นที่เรารู้ไม่จริง หรือไม่ได้มีความเห็นเป็นพิเศษ เราอาจแค่นิ่งเงียบไว้ รอจังหวะที่เรารวบรวมประเด็นได้ดีแล้ว หรือถึงหัวข้อที่เราสนใจเป็นพิเศษแล้วแสดงความเห็นออกมา ประเด็นที่เราพูดจะได้รับความสนใจมากกว่าการพูดไม่หยุดตลอดการประชุมแน่นอน เงียบเพื่อเป็นฝ่ายเหนือกว่าในการต่อรอง ระหว่างการต่อรองอะไรบางอย่าง ความเงียบอาจทำให้เรากลายเป็นผู้คุมเกมที่เหนือกว่า จินตนาการถึงการต่อรองอะไรสักอย่างที่ดุเดือด เมื่อคู่สนทนาของเราเงียบลง เรามักจะสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นวะ!? เขาคิดอะไรอยู่กันแน่นะ ? เราเองก็ใช้ไม้นี้ได้เช่นกัน หรือเมื่อมีคนถามคำถามเพื่อหยั่งเชิงอะไรเราบางอย่าง แทนที่เราจะตอบรับหรือปฏิเสธไปในทันที ลองนิ่งเงียบดูสักพัก ให้เขาเกิดความลังเลสงสัย หลายครั้งที่คู่สนทนาเราจะทนไม่ได้ ต้องสร้างบทสนทนาขึ้นมาเติมเต็ม และเมื่อนั้นเราจะเป็นต่อทันที เพราะเราจะได้ข้อมูลจากฝั่งนั้นมาเพื่อพิจารณามากขึ้น เงียบเพื่อเพิ่มพลังให้คนอื่น ผู้นำที่ดีต้องรู้จักเงียบเพื่อรับฟังความคิดเห็นคนในปกครอง
การเริ่มต้นสิ่งใหม่เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นและชวนประหม่าเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ย้อนกลับไปเมื่อก่อนเราอาจจะตื่นเต้นจนนอนไม่หลับในคืนก่อนเปิดเรียนวันแรกหลังจากที่ย้ายโรงเรียนใหม่ และถึงแม้ว่าเราจะโตขึ้น ประสบการณ์เยอะขึ้น เข้าสู่วัยทำงานเต็มตัว แต่ก็อดไม่ได้อยู่ดีที่จะประหม่าในการเริ่มต้นทำงานวันแรก ดังนั้นเพื่อให้ทุกอย่างผ่านพ้นไปได้ด้วยดี วันแรกของการทำงานนั้นเราควรวางตัวยังไงหรือทำอะไรบ้างถึงจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพื่อนร่วมงานรัก เจ้านายชอบ เพื่อความราบรื่นของการทำงานในอนาคต ห้ามสายเด็ดขาด! การไปสายตั้งแต่วันแรกเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งเพราะจะทำให้ภาพลักษณ์ของคุณเสียหายอย่างหนัก คุณจะดูเป็นคนไม่รับผิดชอบ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน เป็นการเปิดตัวที่ไม่ดีเสียเลย ทางที่ดีควรจะไปถึงก่อนเวลาสัก 15 นาทีด้วยซ้ำ จะได้มีเวลาเตรียมตัว เดินสำรวจออฟฟิศ เมื่อเริ่มงานจริง ๆ จะได้ไม่งก ๆ เงิ่น ๆ ดังนั้นก่อนนอนเช็กให้แน่ใจว่าตั้งนาฬิกาปลุกเรียบร้อยแล้ว แสดงความกระตือรือร้น การเอาแต่นั่งเงียบ ๆ อยู่กับตัวเองในวันแรกของการทำงานไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก เพราะจะทำให้เพื่อนร่วมงานรวมถึงเจ้านายมองว่าคุณไม่กระตือรือร้นกับงานที่ทำ ดังนั้นสิ่งที่คุณควรทำคือตั้งใจทำงานเต็มที่ และเมื่อมีเรื่องสงสัยให้รีบถามทันที ทุกคนยินดีที่จะตอบคุณแน่นอน ดีกว่าทำงานจนเสร็จแต่มารู้ทีหลังว่าสิ่งที่ทำมาผิดทั้งหมด อย่าปฏิเสธมื้อกลางวัน โดยทั่วไปเมื่อคุณเริ่มงานวันแรก เพื่อนร่วมงานหรือเจ้านายมักจะชวนคุณไปรับประทานอาหารกลางวันด้วย คุณห้ามปฏิเสธโดยเด็ดขาดเนื่องจากนี่เป็นโอกาสดีที่คุณจะได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ได้ถามคำถามที่คุณอยากรู้เกี่ยวกับที่ทำงานแห่งใหม่ ได้รู้จักนิสัยใจคอว่าของแต่ละคน และในทางตรงกันข้ามถ้าคุณปฏิเสธคำชวนคุณจะโดนมองว่าเป็นคนมนุษย์สัมพันธ์ไม่ดีไปในทันที ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานในอนาคตที่อาจจะลำบากขึ้น สร้างเพื่อนให้ได้อย่างน้อย 1 คน การหาเพื่อให้ได้สักคนหรืออย่างน้อยก็หาคนที่คุยด้วยแล้วรู้สึกสบายใจเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นเลยในการทำงานวันแรก เพราะมันจะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายขึ้น ไม่เครียดจนเกินไป ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่จะดีขึ้นตามไปด้วย นอกจากนั้นคุณจะรู้สึกตื่นเต้นน้อยลงในการมาทำงานวันต่อ ๆ