สำหรับใครที่เป็นคอซีรีส์หรือชื่นชอบหนังแนวสืบสวนสอบสวนคงไม่พลาดดู Mindhunter จาก Netflix ผลงานของผู้กำกับ David Fincher ที่หลงใหลในเรื่องราวของเหล่าฆาตกร และต้องการเจาะลึกถึงความคิด ความรู้สึกในการสังหารคนว่าในช่วงเวลานั้นเขาคิดอะไร สภาพแวดล้อมหล่อหลอมให้กลายเป็นคนชั่วหรือทั้งหมดมันเกิดขึ้นเพราะจิตใจที่ดำมืดอยู่แล้ว ซีรีส์เรื่อง Mindhunter จำลองการพูดคุยระหว่างเจ้าหน้าที่ FBI กับผู้ต้องหาคดีหนักในยุค 70 เนื้อหาของบทสนทนาจะเล่าถึงการก่อเหตุในแต่ละครั้ง เพื่อทำความเข้าใจวิธีคิดของฆาตกรโรคจิตและหาทางยับยั้งการเกิดเหตุน่าสลดในภายภาคหน้า หรือสำหรับบางคดีที่ฆาตกรยังไม่ยอมบอกว่าฝังศพของเหยื่อไว้ที่ไหนบ้าง พวกเขาจะต้องพูดคุยเพื่อไขคดีไปพร้อมกัน ด้วยเรื่องราวที่หนักหน่วงของ Mindhunter ทำให้ UNLOCKMEN สนใจหยิบเรื่องราวของฆาตกรต่อเนื่องรายหนึ่งนาม Edmund Kemper มาเล่าสู่กันฟังว่าชายคนนี้เพี้ยนจนกู่ไม่กลับและสร้างความสะพรึงกลัวให้กับสังคมได้มากน้อยแค่ไหน เด็กหนุ่มกับพฤติกรรมวิกลจริต เด็กชายเคมเปอร์เติบโตในรัฐแคลิฟอร์เนียร์ ท่ามกลางครอบครัวที่ไม่อบอุ่น พ่อแม่ของเขามีปากเสียงกันแทบจะตลอดเวลา สุดท้ายทั้งสองคนหย่าร้างและส่งลูกชายของตัวเองไปอยู่กับตายาย ความประหลาดในตัวเขาเริ่มแสดงออกผ่านพฤติกรรม เขาชอบเล่นเป็นนักโทษประหารกับน้องสาว โดยแบ่งกันเลือกว่าจะตายด้วยวิธีไหนทั้งเก้าอี้ไฟฟ้า หรือโดนรมควันในห้องแก๊ส เมื่ออายุ 10 ขวบ เด็กชายฆ่าแมวและฝังไว้ในสวนข้างบ้าน เวลาผ่านไปก็ฆ่าแมวอีกหนึ่งตัวเพราะเห็นว่าน้องสาวของเขาชอบมันมากเกิน แถมยังเก็บซากแมวไว้ในตู้จนสุดท้ายแม่ก็มาเจอซากศพแมวที่ส่งกลิ่นชวนคลื่นไส้ เด็กชายเคมเปอร์มีความสุขกับการฆ่า สนใจใคร่รู้ในเรื่องพิธีกรรมลี้ลับ เขาเคยเอาตุ๊กตาของน้องสาวมาทำพิธีบางอย่างด้วยการตัดหัวตุ๊กตา รวมถึงเรื่องเล่าเกี่ยวกับบทสนทนาระหว่างเขากับพี่สาวอีกคนว่าทำไมไม่ลองจูบครูของตัวเองดูล่ะ และเธอก็ได้คำตอบที่ชวนตกใจจากน้องชายว่า “ถ้าผมจะจูบเธอ ผมต้องฆ่าเธอก่อน” นอกจากนี้แม่ขี้เมาของเขาอาจเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เด็กชายโตมาเป็นคนวิกลจริต คุณนายเคมเปอร์เลี้ยงเขามาด้วยความลำเอียง ชอบพูดถ้อยคำดูถูกเหยียดหยามใส่ ไล่ให้เขาไปนอนในห้องใต้ดินเพราะกลัวว่าเขาจะทำร้ายน้องสาวของตัวเอง ไม่ยอมกอดลูกชายเพราะการกอดจะเปลี่ยนให้เขาเป็นเกย์ และในที่สุดเวลาที่เขาก่อคดีฆาตกรรมก็มาถึง
กว่าที่นักบินอวกาศจะผ่านการฝึกเพื่อเข้ามาประกอบอาชีพนี้ได้นั้น พวกเขาจะต้องเผชิญกับแบบทดสอบที่ท้าทายทั้งศักยภาพด้านร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก เพื่อให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์หลายรูปแบบที่ไม่อาจคาดเดาได้จากนอกโลก ซึ่งมีผลต่อความเป็นความตายของพวกเขาได้เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม นักบินอวกาศเหล่านี้ก็ยังเป็นมนุษย์ธรรมดาไม่ต่างไปจากพวกเราทุกคน จินตนาการว่าเราเจอหลุมอากาศหนัก ๆ บนเครื่องบินยังกลัวชนิดลืมหายใจ นับประสาอะไรกับการนั่งยานอวกาศออกไปนอกโลกอันมืดมิด ซึ่งในอดีตก็มีเหตุการณ์ที่สภาพจิตใจของพวกเขาเคยมีปัญหามาแล้วหลายครั้ง เช่นในปี ค.ศ. 1973 ลูกเรือภารกิจ Skylab 4 ตัดสินใจประท้วงหยุดงานกลางอวกาศ โดยการยุติระบบสื่อสารกับภาคพื้น และหยุดการทำงานทุกอย่างลง สาเหตุมาจากการถูก NASA อัดตารางทำงานให้โดยไม่คำนึงถึงการพักผ่อนของนักบินอวกาศ แน่นอนว่าพอหลังเปิดระบบสื่อสารในวันกลับมา พวกเขาก็โดนตำหนิจากการกระทำดังกล่าวอย่างหนัก แต่นั่นก็ทำให้ NASA ปรับปรุงการจัดตารางทำงานให้กับลูกเรือ โดยคำนึงถึงสภาพร่างกายและจิตใจของนักบินอวกาศมากยิ่งขึ้น ลูกเรือ Skylab 4 ทั้งสามคนได้รับเหรียญรางวัลขั้นสูงสุดของ NASA แต่น่าเสียดายที่พวกเขาไม่ได้รับโอกาสให้กลับไปสู่อวกาศอีกเลย และเมื่อดูภารกิจในปัจจุบันที่แต่ละประเทศก็ต่างอยากส่งมนุษย์ออกไปสำรวจดาวอังคาร รวมทั้งวัตถุที่อยู่ไกลออกไปจากนั้นอีก นั่นทำให้สภาพจิตใจของนักบินอวกาศจะต้องถูกศึกษาและได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการ Freak Out ขึ้นระหว่างการเดินทางนานแรมปีในแต่ละภารกิจ มาดูเทคนิคที่บรรดาหน่วยงานอวกาศต่าง ๆ กำลังศึกษา เพื่อดูแลสุขภาพจิตของนักบินอวกาศกัน เริ่มแรกให้เราลืมภาพยานอวกาศที่พบเห็นตามหนังไปให้หมด เพราะการส่งยานแต่ละครั้งมีข้อจำกัดที่โหดร้าย และค่าใช้จ่ายมหาศาล ทำให้ทุก ๆ ภารกิจต้องนำไปเพียงแค่ของที่จำเป็นเท่านั้น ยังไม่รวมถึงขนาดของยานที่ค่อนข้างแคบและแออัด ลองนึกภาพการถูกกักบริเวณไว้ในรถยนต์ส่วนตัวที่มีระบบคอมพิวเตอร์มากมาย kไม่รู้จะมีปัญหาอะไรขึ้นมาเมื่อไหร่เป็นเวลา